วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 14:57  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 52 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2016, 09:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรรมฐาน (สันสกฤต) หรือเขียนรูปบาลี กัมมัฏฐาน ก็ได้

กรรมฐาน บ้านเรานำมาพูดกันบ่อยๆ แต่สื่อความหมายเพี้ยนไม่ตรงกับของเขา เมื่อเข้าใจผิดแล้ว เมื่อตนนำไปใช้ไปปฏิบัติก็พลอยผิดเพี้ยนไปด้วย

รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2016, 09:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตย. เข้าใจผิด ตรงขีดเส้นใต้


อ้างคำพูด:
สนใจอยากรู้ว่าอโศกะเคยทำภาวนาแบบไหน แล้วไปเกิดญาณ 16 จากการภาวนาแบบไหน เชนนั้นหรือ?

ถ้าสนใจก็จะเล่าให้ฟังคร่าวๆเป็นวิทยาทาน

ภาวนาที่อโศกะเคยทำมา

1.พองหนอยุบหนอ....หรือหนอให้ทันปัจจุบันอารมณ์

2.ท่องคาถาปลุกพระ ท่องคาถาหัวใจต่างๆเป็นคาบๆ

3.กำหนดต้นธรรม ตามแบบเจ้ามาวหลวง อ.อริยวังโส(ไทยใหญ่)

4.พิจารณาอนิจจัง ตามแบบหลวงพ่อพุทธวาที (พม่า)

5.สมาธิหมุน (พระอาจารย์รัตน์ รัตนยาโน)

6.พุทโธ (สายหนองป่าพง)

7.อนัตตา (หลวงพ่อธี)

8.กำหนดกระแสสั่นสะเทือนในร่างกาย(ท่านโกเอ็นก้า)

9.เจริญสติปัญญาอยู่กับปัจจุบันอารมณ์(ตามภัทเทกรัตคาถา)
ใช้อยู่ประจำในปัจจุบัน

ตอนที่จะรู้ชัดญาณ 16 และปฏิจจสมุปบาทนั้นเป็นการเจริญภาวนาตามแบบที่ 9 โดยธรรมชาติ ไม่ได้ตั้งท่า ไม่ได้เข้ากรรมฐาน มันเกิดขึ้น เจริญไปและไหลไปเองตามธรรมตอน
วันแรม 14 ค่ำหลังวิสาจะบูชาปี 2542 เริ่มประมาณตีสามกว่า
จบปัจจเวกตอนเกือบหกโมงเช้า

แค่นี้ก็พอละมั้งครับกรัชกาย


viewtopic.php?f=1&t=53339&p=402763#p402763

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2016, 09:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กัมมัฏฐาน แปลว่า ที่ตั้งแห่งการทำงานของจิต หรือที่ให้จิตทำงาน
กล่าวคือ
สิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์ในการเจริญภาวนา
หรือ
อุปกรณ์ในการฝึกอบรมจิต
หรือ อุบาย หรือกลวิธีเหนี่ยวนำสมาธิ
พูดง่ายๆว่า สิ่งที่เอามาให้จิตกำหนด (ด้วยสติ) จิตจะได้มีงานทำเป็นเรื่องเป็นราว สงบอยู่ที่ได้ ไม่เที่ยววิ่งแล่นเตลิด หรือเลื่อนลอยฟุ้งซ่านไปอย่างไร้จุดหมาย

พูดสั้นๆ กรรมฐาน คือสิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์ของจิต ที่จะชักนำให้เกิดสมาธิ หรือ
อะไรก็ได้ ที่พอจิตเพ่ง หรือจับแล้วจะช่วยให้จิตแน่วแน่อยู่กับมันเป็นสมาธิได้เร็ว และมั่นคงที่สุด
พูดให้สั้นที่สุดว่า สิ่งที่ใช้ฝึกสมาธิ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2016, 10:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2016, 11:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เท่าที่พระอรรถกถาจารย์รวบรวมแสดงไว้ มี กรรมฐาน 40 อย่าง คือ

ก. กสิณ 10 แปลกันว่า วัตถุอันจูงใจ หรือวัตถุสำหรับเพ่ง เพื่อจูงจิตให้เป็นสมาธิ เป็นวิธีใช้วัตถุภายนอกเข้าช่วย โดยวิธีเพ่ง เพื่อรวมจิตให้เป็นหนึ่งมี 10 อย่าง คือ

ก) ภูตกสิณ (กสิณคือ มหาภูตรูป) 4 คือ ปฐวี (ดิน) อาโป (น้ำ) เตโช (ไฟ) วาโย (ลม)

ข) วรรณกสิณ (กสิณ คือ สี) 4 คือ นีล (เขียว) ปีต (เหลือง) โลหิต (แดง) โอทาต (ขาว)

ค) กสิณอื่น ๆ คือ อาโลก (แสงสว่าง) ปริจฉินนากาส เรียกสั้นว่า อากาศ (ช่องว่าง) *


กสิณ 10 นี้จะใช้ของที่อยู่ตามธรรมชาติก็ได้ ตกแต่งจัดทำขึ้นให้เหมาะกับการใช้เพ่งโดยเฉพาะก็ได้ แต่โดยมากนิยมวิธีหลัง


ข. อสุภะ 10 ได้แก่ พิจารณาซากศพในระยะต่างๆ กัน รวม 10 ระยะ เริ่มแต่ศพที่ขึ้นอืด ไปจนถึงศพที่เหลือแต่โครงกระดูก

อสุภะ 10 คนปัจจุบันคงหาโอกาสพิจารณายาก จึงสรุปไว้แต่ใจความ รายชื่อเต็ม คือ

อุทธุมาตกะ (ศพขึ้นอืด)
วินีลกะ (ศพเป็นสีเขียวคล้ำคละสีต่างๆ)
วิปุพพกะ (ศพมีน้ำเหลืองไหลเยิ้มตามที่แตกปริ)
วิจฉิททกะ (ศพขาดจากกันเป็น 2 ท่อน)
วิกขายิตกะ (ศพถูกสัตว์จิกทิ้งกัดกินแล้ว)
วิกขิตตกะ (ศพกระจุยกระจาย มือตีนหัวหลุดไปอยู่ข้างๆ)
หตวิกขิตตกะ (ศพถูกสับเป็นท่อนๆ กระจาย)
โลหิตกะ (ศพมีโลหิตอาบ)
ปุฬุวกะ (ศพมีหนอนคลาคล่ำ)
อัฏฐิกะ (ศพเหลือแต่กระดูก หรือท่อนกระดูก)


ค. อนุสติ 10 คือ อารมณ์ที่ดีงามที่ควรระลึกถึงเนื่องๆ ได้แก่ *

1. พุทธานุสติ ระลึกถึงพระพุทธเจ้า และพิจารณาคุณของพระองค์

2. ธัมมานุสติ ระลึกถึงพระธรรม และพิจารณาคุณของพระธรรม

3. สังฆานุสติ ระลึกถึงพระสงฆ์ และพิจารณาคุณของพระสงฆ์

4. สีลานุสติ ระลึกถึงศีล พิจารณาศีลของตนที่ได้ประพฤติบริสุทธิ์ ไม่ด่างพร้อย

5. จาคานุสติ ระลึกถึงจาคะ ทานที่ตนได้บริจาคแล้ว และพิจารณาเห็นคุณธรรม คือ ความเผื่อแผ่เสียสละที่มีในตน

6. เทวตานุสติ ระลึกถึงเทวดา หมายถึงเทวดาที่ตนเคยได้รู้ได้ยินมา และพิจารณาเห็นคุณธรรมซึ่งทำคนให้เป็นเทวดา ตามที่มีในตน

7. มรณสติ ระลึกถึงความตายอันจะต้องมีถึงตนเป็นธรรมดา พิจารณาให้เกิดความไม่
ประมาท

8. กายคตาสติ สติอันไปในกาย หรือระลึกถึงเกี่ยวกับร่างกาย คือ กำหนดพิจารณากายนี้ ให้เห็นว่าประกอบด้วยส่วนต่างๆ คืออาการ 32 อันไม่สะอาด ไม่งาม น่าเกลียด เป็นทางรู้เท่าทันสภาวะของกายนี้ มิให้หลงใหลมัวเมา

9. อานาปานสติ สติกำหนดลมหายใจเข้า หายใจออก

10. อุปสมานุสติ ระลึกถึงธรรมเป็นที่สงบ คือนิพพาน และพิจารณาคุณของนิพพาน อันเป็นที่หายร้อน ดับกิเลส และไร้ทุกข์

.......

อ้างอิง *

* กสิณ ๑๐ มีอยู่แล้วในวิสุทธิมัคค์ แต่พึงทราบพิเศษว่า ในบาลีเดิม ไม่มีอาโลกสิณ แต่มีวิญญาณกสิณแทน เป็นข้อที่ ๑๐ และเลื่อนอากาศกสิณเข้ามาเป็นข้อที่ ๙ เช่น ที.ปา.11/358/283; 467/336 ฯลฯ)

* ที่มาในบาลีเดิม คือ องฺ.เอก.20/179-180/39-40; 224/54 ฯลฯ ...นอกจากนี้ ที่มาต่างหากกันไม่ครบชุดอีกหลายแห่ง ข้อที่พบต่างหาก หรือมาในชุดอื่นอีกมาก ได้แก่ กายคตสติ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง อานาปานสติ ซึ่งเป็นข้อเด่นที่สุด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2016, 11:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ง. อัปปมัญญา 4 คือ ธรรมที่พึงแผ่ออกไปในสัตว์มนุษย์ทั้งหลาย อย่างมีจิตใจสม่ำเสมอทั่วกัน ไม่มีประมาณ ไม่จำกัดขอบเขต โดยมากเรียกกันว่า พรหมวิหาร 4 (ธรรมเครื่องอยู่อย่างประเสริฐ ธรรมประจำใจที่ประเสริฐ บริสุทธิ์ หรือคุณธรรมประจำใจ ของท่านผู้มีจิตใจกว้างขวางยิ่งใหญ่) คือ

1. เมตตา ความรัก คือ ปรารถนาดี มีไมตรี อยากให้มนุษย์สัตว์มีสุขทั่วหน้า
2. กรุณา ความสงสาร คือ อยากช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์
3. มุทิตา ความพลอยยินดี คือ พลอยมีใจแช่มชื่นเบิกบาน เมื่อผู้อื่นอยู่ดีมี สุข และเจริญงอกงามประสบความสำเร็จยิ่งขึ้นไป
4. อุเบกขา ความมีใจเป็นกลาง คือ วางจิตเรียบสงบ สม่ำเสมอเที่ยงตรงดุจตรา ชั่ง มองเห็นมนุษย์สัตว์ทั้งหลายได้รับผลดีร้ายตามเหตุปัจจัยที่ ประกอบ ไม่เอนเอียงไปด้วยชอบหรือชัง

จ. อาหาเร ปฏิกูลสัญญา กำหนดหมายความเป็นปฏิกูลในอาหาร[/u]

ฉ. จตุธาตุววัฏฐาน กำหนดพิจารณาธาตุ 4 คือ พิจารณาเห็นร่างกายของตน โดยสักว่าเป็นธาตุ 4 แต่ละอย่างๆ *

ช. อรูปหรืออารุปป์ 4 ได้แก่ กำหนดภาวะที่เป็นอรูปธรรมเป็นอารมณ์ ใช้ได้เฉพาะผู้ที่เพ่งกสิณ 9 อย่างแรก ข้อใดข้อหนึ่งจนได้จตุตถฌานมาแล้ว คือ *

1. อากาสานัญญายตนะ กำหนดช่องว่างหาที่สุดมิได้ (ซึ่งเกิดจากการเพิกกสิณออกไป) เป็นอารมณ์
2. วิญญาณัญจายตนะ กำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้ (คือเลิกกำหนดที่ว่าง เลยไปกำหนดวิญญาณ ที่แผ่ไปสู่ที่ว่างแทน) เป็นอารมณ์
3. อากิญจัญญายตนะ (เลิกกำหนดวิญญาณเป็นอารมณ์ เลยไป) กำหนดภาวะไม่มีอะไรเลย เป็น อารมณ์
4. เนวสัญญานาสัญญายตนะ (เลิกกำหนดแม้แต่ภาวะไม่มีอะไรเลย) เข้าถึงภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่

…….

ที่อ้างอิง *

* บางทีเรียกสั้นๆว่า ธาตุววัตถาน บ้าง ธาตุมนสิการ บ้าง ธาตุกัมมัฏฐาน หรือธาตุกรรมฐาน บ้าง ที่มาในบาลี คือ ที.ม. 10/278/329 ฯลฯ (มาใน กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน นั่นเอง)

* ที่มาในบาลี เช่น ที.ปา. 11/235/235 ฯลฯ เฉพาะเนวสัญญานาสัญญายตนะ วิสุทธิมัคค์ว่า กำหนดอากิญจัญญายตนะนั่นเองเป็นอารมณ์ แต่กำหนด มิใช่เพื่อเข้า แต่เพื่อผ่านเลย (ดู วิสุทธิ.2/145,151)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2016, 18:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านว่า กรรมฐาน 40 อย่างนั้น แตกต่างกันโดยความเหมาะสมแก่ผู้ปฏิบัติ ซึ่งควรเลือกใช้ให้เหมาะกับลักษณะนิสัยความโน้มเอียงของแต่ละบุคคล ที่เรียกว่าจริยาต่างๆ ถ้าเลือกได้ถูกกันเหมาะกัน ก็ปฏิบัติได้ผลดีและรวดเร็ว ถ้าเลือกผิดอาจทำให้ปฏิบัติได้ล่าช้าหรือไม่สำเร็จผล

รูปภาพ

กรัชกายใช้อานาปานสติ (ลมหายใจเข้าท้องพอง ลมหายใจออกท้องยุบ ท้องพองว่า พองหนอ ท้องยุบว่ายุบหนอ ฯลฯ ) อย่างเดียว ควบกับเดินจงกรมสลับกัน ครั้งละ 1 ชม. ยามใช้ชีวิตปกติประจำวันก็ควบคุมจิตใจให้อยู่กับงานกับสิ่งที่เราเกี่ยวข้องต้องทำในขณะนั้น

เขาให้เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ท่านอโศกฟาดเข้าไปตั้ง 9 อย่าง 10 อย่าง :b1: ไหนๆก็ไหนแล้วทำไมไม่เอาสะให้ครบ 40 อย่างเลยนิ :b13:

http://f.ptcdn.info/917/047/000/oi69oy6 ... 3WEP-o.jpg


ขัดข้องประการใดก็เข้ามาบอกได้นะขอรับ :b13:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2016, 01:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่ตั้งของจิตเพื่อผลคือ ญาณสมาธิ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ธ.ค. 2016, 09:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตามดูบอร์ดหลังจากหลวงพ่อจรัญมรณภาพแล้ว ไม่เคลื่อนไหว

http://www.jarun.org/webboard/boardmain ... idcat=Mw==

หากแอดมินปล่อยทิ้งแล้วมอบให้กรัชกายดูแลก็ได้ก็ดีนะครับ :b8:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ธ.ค. 2016, 17:12 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b13:
555555
โหนอโศกะมาตั้งกระทู้เชียวรึ.......หากินง่ายจัง ดารากระทู้แห่งลานธรรมจักร

เอาพัฒนาการแห่งการศึกษาธรรมและปฏิบัติภาวนาตั้งแต่อายุได้ 6 ขวบมาจนถึงปัจจุบันมาเล่าให้ฟังเพราะเห็นกรัชกายสนใจ แต่กรัชกายกลับจับจุดจับประเด็นไม่ได้ ไม่เห็นจุดสูงสุดของการปฏิบัติภาวนา ดึงเรื่องทั้งหลายไปเทียบกับกรรมฐาน 40

กรรมฐาน 40 ไม่ใช่วิชาของพระพุทธเจ้าโดยตรง เป็นการประยุกต์วิธีการเก่าแก่คู่โลกมาสนับสนุนวิธีการของพระพุทธเจ้าเท่านั้น

วิธีการที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบด้วยพระองค์จริงๆคือ วิปัสสนาภาวนา หรือการเจริญมรรค 8 หรือการเจริญสติปัฏฐาน 4 หรือการเจริญปัจจุบันอารมณ์

อโศกะได้บอกชัดเจนแล้วว่าวิธีการภาวนาของอโศกะเมื่อพัฒนาการขึ้นสูงสุดแล้วคือวิธีการที่ 9 คือ

"การเจริญสติปัญญาอยู่กับปัจจุบันอารมณ์"

จนเกิดคำพูดสรุปนี้ว่า

"สำรวมกายใจมานิ่งรู้นิ่งสังเกตปัจจุบันอารมณ์จนมันดับไปต่อหน้าต่อตา"

นี่คือคำย่อ ส่วนคำยาว เคยบอกไว้หลายที่ถ้ามีใครสนใจถามมาก็ค่อยบอกทีหลังนะครับ

"ปัจจุบันอารมณ์เป็นที่รวมของกรรมฐานทั้งปวง"

เมื่อทำตามวิธีการที่อโศกะสรุปให้ฟังนี้โดยไร้เจตนา ทำให้อโศกะได้รู้ได้สัมผัสได้เข้าใจวิปัสสนาญาณ 16 ด้วยตัวเอง
ดังที่ได้เล่ามา

onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ธ.ค. 2016, 17:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b13:
โหนอโศกะมาตั้งกระทู้เชียวรึ.......หากินง่ายจัง ดารากระทู้แห่งลานธรรมจักร

เอาพัฒนาการแห่งการศึกษาธรรมและปฏิบัติภาวนาตั้งแต่อายุได้ 6 ขวบมาจนถึงปัจจุบันมาเล่าให้ฟังเพราะเห็นกรัชกายสนใจ แต่กรัชกายกลับจับจุดจับประเด็นไม่ได้ ไม่เห็นจุดสูงสุดของการปฏิบัติภาวนา ดึงเรื่องทั้งหลายไปเทียบกับกรรมฐาน 40

กรรมฐาน 40 ไม่ใช่วิชาของพระพุทธเจ้าโดยตรง เป็นการประยุกต์วิธีการเก่าแก่คู่โลกมาสนับสนุนวิธีการของพระพุทธเจ้าเท่านั้น

วิธีการที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบด้วยพระองค์จริงๆคือ วิปัสสนาภาวนา หรือการเจริญมรรค 8 หรือการเจริญสติปัฏฐาน 4 หรือการเจริญปัจจุบันอารมณ์

อโศกะได้บอกชัดเจนแล้วว่าวิธีการภาวนาของอโศกะเมื่อพัฒนาการขึ้นสูงสุดแล้วคือวิธีการที่ 9 คือ

"การเจริญสติปัญญาอยู่กับปัจจุบันอารมณ์"

จนเกิดคำพูดสรุปนี้ว่า

"สำรวมกายใจมานิ่งรู้นิ่งสังเกตปัจจุบันอารมณ์จนมันดับไปต่อหน้าต่อตา"

นี่คือคำย่อ ส่วนคำยาว เคยบอกไว้หลายที่ถ้ามีใครสนใจถามมาก็ค่อยบอกทีหลังนะครับ

"ปัจจุบันอารมณ์เป็นที่รวมของกรรมฐานทั้งปวง"

เมื่อทำตามวิธีการที่อโศกะสรุปให้ฟังนี้โดยไร้เจตนา ทำให้อโศกะได้รู้ได้สัมผัสได้เข้าใจวิปัสสนาญาณ 16 ด้วยตัวเอง
ดังที่ได้เล่ามา


ท่านอโศกเพิ่งเห็น โหนมาตั้งหลายกระทู้แล้วนิ :b1:

อ้างคำพูด:
"ปัจจุบันอารมณ์เป็นที่รวมของกรรมฐานทั้งปวง"


ปัจจุบันอารมณ์ ที่ท่านอโศกว่ามานี่ ขณะปฏิบัติกรรมฐาน แค่ไหนเรียกว่าปัจจุบันอารมณ์ เอาชัดๆ เพื่อให้ผู้ฟังนำไปปฏิบัติกันได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ธ.ค. 2016, 17:59 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b4:
อะไรที่รู้ขึ้นมาในจิตขณะนั้น อันนั้นแหละ ปัจจุบันอารมณ์
ตั้งสติให้ดี มีโยนิโสมนสิการให้มาก สติ ปัญญาจึงจะรู้ทันปัจจุบันอารมณ์

onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ธ.ค. 2016, 18:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
กรัชกายถาม
ปัจจุบันอารมณ์ ที่ท่านอโศกว่ามานี่ ขณะปฏิบัติกรรมฐาน แค่ไหนเรียกว่าปัจจุบันอารมณ์ เอาชัดๆ เพื่อให้ผู้ฟังนำไปปฏิบัติกันได้


อโศกตอบ

asoka เขียน:

อะไรที่รู้ขึ้นมาในจิตขณะนั้น อันนั้นแหละ ปัจจุบันอารมณ์
ตั้งสติให้ดี มีโยนิโสมนสิการให้มาก สติ ปัญญาจึงจะรู้ทันปัจจุบันอารมณ์[/size][/color]



ท่านอโศกบอกว่า ตั้งสติให้ดี มีโยนิโสมนิการให้มาก สติปัญญาก็จะรู้ทันปัจจุบันอารมณ์ว่า :b13:

ใครนำไปใช้ไปปฏิบัติกรรมฐานได้ก็เชิญ :b32: ตั้งสติให้ดี

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ธ.ค. 2016, 19:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูกรัชกายว่ามั่ง


ในทางธรรม เมื่อว่าถึงการปฏิบัติทางจิต “ปัจจุบัน” หมายถึงขณะเดียวที่กำลังเกิดขึ้นเป็นอยู่
ในความหมายที่ลึกลงไปนี้ เป็นอยู่ในปัจจุบัน หรืออยู่กับปัจจุบัน หมายถึงมีสติทันอยู่กับสิ่งที่รับรู้ เกี่ยวข้อง หรือต้องทำในเวลานั้นๆ และละขณะ ทุกๆขณะ

พูดถึงปฏิบัติธรรม หรือจะเรียกว่า ปฏิบัติกรรมฐานก็เอา ถ้าใช้ลมเข้า ลมออก ตามลมเข้า (ขณะหนึ่ง) ตามลมออก (ขณะหนึ่ง) ทันทุกๆขณะไม่หลง ตลอดสายเป็นเวลานานๆ

ตัวอย่างเช่น

ในการนั่งสมาธิครั้งนี้ ผมสามารถรับรู้ลมหายใจได้ตลอดสายเป็นเวลานาน

http://larndham.org/index.php?/topic/27 ... ntry393770

ถ้าใช้อาการท้องพอง ท้องยุบ

ท้องพองขึ้น (ขณะหนึ่ง) ท้องยุบลง (ขณะหนึ่ง) พองก็พอง ยุบก็ยุบ ไม่หลง ตามทันแต่ละขณะๆ ทุกๆขณะ ได้นานๆ

รูปภาพ

เช่นนี้แหละอยู่กับปัจจุบันอารมณ์

ถ้าท้องพอง ไปคิดถึงเรื่องอื่น นั่นหลุดจากปัจจุบันอารมณ์ หลงอดีตแล้ว

ดูวิธีปฏิบัติที่ขีดเส้นใต้ คือนอกจากนั้น โยคีใช้ชีวิตประจำวัน ก็รับรู้สิ่งที่ตนเองเกี่ยวข้อง ต้องทำขณะนั้นๆทันแต่ละขณะๆ

ก็จะเห็นว่าใช้ได้หมด ทั้งยืน เดิน นั่ง กิน ทำ ฯลฯ


ไม่เลื่อนลอยโหนสติ โหนโยเย โหนอริยสัจ ๔ โหนมรรค ๘ โหนนั่นนี่แบบท่านอโศกว่านี่

อ้างคำพูด:
อะไรที่รู้ขึ้นมาในจิตขณะนั้น อันนั้นแหละ ปัจจุบันอารมณ์
ตั้งสติให้ดี มีโยนิโสมนสิการให้มาก สติ ปัญญาจึงจะรู้ทันปัจจุบันอารมณ์


ถ้ามีคำถามว่า โหนทำไม ? ตอบเพราะกลัวไม่เป็นธรรมะ คิกๆๆ

ถามนะที่ว่า ว่าตั้งสติให้ดี ตั้งยังไง บอกชัดๆสิ

บอกให้เห็นภาพแล้วทำตามได้ เหมือนบอกลูกบอกหลานว่า ลูกเอาแก้วไปเก็บนะ ตั้งดีดีนะแก้วจะตกลงมาแตก :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ธ.ค. 2016, 19:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ไหนๆก็ไหนๆแล้ว พูดเรื่องเดินจงกรมสะด้วยเลย รู้แล้วรู้รอดไป

รูปภาพ

ในทางธรรม เมื่อว่าถึงการปฏิบัติทางจิต “ปัจจุบัน” หมายถึงขณะเดียวที่กำลังเกิดขึ้นเป็นอยู่
ในความหมายที่ลึกลงไปนี้ เป็นอยู่ในปัจจุบันหรืออยู่กับปัจจุบัน หมายถึงมีสติทันอยู่กับสิ่งที่รับรู้ เกี่ยวข้อง หรือต้องทำในเวลานั้นๆ และละขณะ ทุกๆขณะ


เดินจงกรมก็ทำนองเดียวกับที่ว่าข้างบนแล้ว

เดินจงกรมจะเห็นกุสโลบายเจริญสติ ท่านจึงแบ่งการตามดูรู้ทันไว้ 6 ระยะ

ก้าวเท้าซ้าย (ระยะหนึ่ง) ก้าวเท้าขวา (ระยะหนึ่ง) ฯลฯ สติต้องกำหนดชัด เท้าซ้ายก้าวไปก็ซ้าย เท้าขวาก้าวไปก็ขวา (ขวาก็ขวา ซ้ายก็ซ้าย ไม่สับสน ไม่เบลอ) ไม่หลง ตามดูรู้ทันเป็นเวลานานๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 52 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 37 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร