วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 17:21  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 23 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ธ.ค. 2016, 17:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทิศ ๖: ปฏิบัติหน้าที่ต่อบุคคลที่สัมพันธ์กับตนให้ถูกต้องตามฐานะทั้ง ๖ คือ

๑. ก. บุตรธิดา บำรุงมารดาบิดาผู้เป็นเหมือนทิศเบื้องหน้า โดย
๑) ท่านเลี้ยงเรามาแล้ว เลี้ยงท่านตอบ
๒) ช่วยทำกิจธุระการงานของท่าน
๓) ดำรงวงศ์สกุล
๔) ประพฤติตนให้เหมาะสมกับความเป็นทายาท
๕) เมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ทำบุญอุทิศให้ท่าน

ข. มารดาบิดา อนุเคราะห์บุตรธิดา ดังนี้
๑) ห้ามกันจากความชั่ว
๒) ฝึกอบรมให้ตั้งอยู่ในความดี
๓) ให้ศึกษาศิลปวิทยา
๔) เป็นธุระในการมีคู่ครองที่สมควร
๕) มอบทรัพย์สมบัติให้เมื่อถึงโอกาส


๑. มารดาบิดากับบุตรธิดา

--- --- ---- --- --- มารดาบิดา
คือทิศเบื้องหน้า -- ของลูกหญิงชาย
หน้าที่ห้าอย่าง -- ท่านต่างขวนขวาย
เพื่อลูกหญิงชาย -- ได้ดิบได้ดี
--- ---- --- ---- -- หนึ่ง กันความชั่ว
กลัวลูกหมองมัว -- เสื่อมเสียศักดิ์ศรี
สอง ให้มั่นคง -- ดำรงความดี
สามให้ลูกมี -- โอกาสศึกษา
--- ---- --- --- สี่ เมื่อเติบใหญ่
หาคู่ครองให้ -- สมหน้าสมตา
ห้าให้ทรัพย์สิน -- เรือกสวนไร่นา
หรือให้ทุนค้า -- ตั้งหลักปักฐาน

---- ---- ----- เราผู้เป็นลูก
ทำหน้าที่ถูก -- ทั้งห้าประการ
ข้อหนึ่งพึงรู้ -- ต้องเลี้ยงดูท่าน
รักษาพยาบาล -- ยามท่านป่วยไข้
--- -- ---- --- --- ข้อสองการงาน
ต้องช่วยเหลือท่าน -- อย่านิ่งนอนใจ
สามสกุลวงศ์ -- ต้องดำรงไว้
สี่วางตนให้ -- สมเป็นทายาท
---- ---- ---- --- ข้อห้า เมื่อท่าน
ดับสิ้นลมปราณ - สูญเสียชีวาตม์
จัดงานศพให้ -- อย่าได้ประมาท
ทำบุญตักบาตร - อุทิศให้ท่าน

--- --- ---- --- พ่อแม่กับลูก
ทำหน้าที่ถูก -- ครบทุกประการ
อยู่เย็นเป็นสุข -- เกษมสำราญ
พ่อแม่ลูกหลาน -- ทุกคนเปรมปรีดิ์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 06 ก.พ. 2017, 16:54, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ธ.ค. 2016, 18:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภูมิ เว สปฺปุริสานํ กตญฺญูกตเวทิตา. ความกตัญญูกตเวที เป็นพื้นฐานของคนดี

ภูมิ เว สปฺปุริสานํ กตญฺญูกตเวทิตา

รู้จักบุพการี - ทำความดีตอบแทนท่าน
ธรรมนี้เป็นพื้นฐาน - ของคนดีศรีแผ่นดิน

@ เรามีพ่อมีแม่มีแต่รัก - - ท่านฟูมฟักรักเราเฝ้าถนอม
เหลือบริ้นยุงเลือดไรมิให้ตอม - - ทุกข์ก็ยอมทนทุกข์ทุกประการ
@ นับเป็นบุญวาสนาเรามาเกิด - - เป็นสัตว์เลิศกว่าสัตว์เดรัจฉาน
มีปัญญามีสติดำริการ - - รู้คิดอ่านชั่วดีมีศีลธรรม
@ เราได้พึ่งพ่อแม่มาแต่ต้น - - จึงผ่านพ้นเภทภัยไม่ถลำ
พระคุณท่านทั้งหมดจงจดจำ - - แล้วคิดทำตอบแทนจึงแสนดี
@ เราเติบใหญ่สองท่านสังขารแย่ - - ร่างกายแก่อ่อนล้าเราอย่าหนี
อยู่กับท่านเลี้ยงดูให้อยู่ดี - - ยามท่านมีไข้ป่วยช่วยเยียวยา
@ ท่านมีงานช่วยงานของท่านบ้าง - - อย่าปล่อยวางเมินเฉยเสียเลยหนา
นึกถึงท่านเคยเฝ้าช่วยเรามา - - มากยิ่งกว่าใครใครในสังคม
@ อีกชื่อเสียงสกุลวงศ์ดำรงไว้ - - อย่าทำให้เสียชื่อเขาลือขรม
รักพ่อแม่รักวงศ์จงปรารมภ์ - - ให้สังคมยอมรับนับถือเรา
@ ทรัพย์สินมรดกท่านยกให้ - - อย่านำไปใช้ผิดด้วยจิตเขลา
เก็บไว้เป็นต้นทุนอุดหนุนเรา - - กินใช้เอาแต่ผลต้นทุนคง
@ ยามเมื่อท่านลาลับดับสังขาร - - ทำบุญทานแผ่ผลกุศลส่ง
เป็นหนี้ท่านใช้หนี้อย่างนี้ตรง - - จุดประสงค์โอวาทพระศาสดา ฯ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ธ.ค. 2016, 18:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๒. ก. ศิษย์ บำรุงครูอาจารย์ ผู้เป็นเหมือนทิศเบื้องขวา โดย
๑) ลุกรับ แสดงความเคารพ
๒) เข้าไปหา (เช่น ช่วยรับใช้ ปรึกษาซักถาม รับคำแนะนำ)
๓) ตั้งใจฟังและรู้จักฟัง
๔) ปรนนิบัติ ช่วยบริการ
๕) เรียนศิลปวิทยาโดยเคารพ เอาจริงเอาจัง ถือเป็นกิจสำคัญ

ข. ครูอาจารย์ อนุเคราะห์ศิษย์ ดังนี้
๑) แนะนำฝึกอบรมให้เป็นคนดี
๒) สอนให้เข้าใจแจ่มแจ้ง
๓) สอนศิลปวิทยาให้สิ้นเชิง
๔) ยกย่องให้ปรากฏในหมู่พวก
๕) สร้างเครื่องคุ้มภัยในสารทิศ (สอนให้เอาไปใช้งานเลี้ยงชีพได้จริง)


๒.อาจารย์กับศิษย์

--- --- ---- --- หน้าที่อาจารย์
มีห้าประการ - - หนึ่ง แนะนำดี
ประพฤติให้ศิษย์ - - เห็นเป็นสักขี
สอง ให้เรียนดี - - ทั้งอ่านทั้งเขียน
--- --- --- --- --- สาม ไม่อำพราง
ศิลปะทุกอย่าง ที่ศิษย์อยากเรียน
สี่ ยกย่องศิษย์ เก่งดีมีเพียร
ห้า ให้ศิษย์เรียน รู้รักษาตน

--- --- --- - - - เป็นศิษย์มีครู
ต้องกตัญญู - - คุณครูทุกคน
หนึ่ง เมื่อพบท่าน - ทุกแห่งทุกหน
ยืนน้อมเศียรตน - ยกมือวันทา
--- --- --- - - - - สอง รับใช้ท่าน
เมื่อคราวมีงาน - ให้ท่านหรรษา
สาม ท่านสอนสั่ง - เชื่อฟังวาจา
อย่าได้โกรธา - ถ้าท่านตักเตือน
--- --- ---- --- สี่ อยู่บ้านท่าน
ช่วยบริการ กวาดบ้านถูเรือน
คอยดูแลท่าน อย่าได้แชเชือน
เที่ยวไปกับเพื่อน ผิดกาลเวลา
---- --- --- --- ห้า เวลาเรียน
ตั้งใจพากเพียร - แต่ละวิชา
ควรจดต้องจด - ไว้เป็นตำรา
ภายหลังกังขา - ค้นหาง่ายดาย

--- --- ---- --- ครูดีศิษย์ดี
สังคมไม่มี - เรื่องยุ่งวุ่นวาย
ศิษย์เชื่อฟังครู - จึงอยู่สบาย
ขออภิปราย - พอเข้าใจความ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ธ.ค. 2016, 20:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๓. ก. สามี บำรุงภรรยา ผู้เป็นเหมือนทิศเบื้องหลัง โดย
๑) ยกย่องให้เกียรติสมฐานะภรรยา
๒) ไม่ดูหมิ่น
๓) ไม่นอกใจ
๔) มอบความเป็นใหญ่ในงานบ้าน
๕) หาเครื่องแต่งตัวมาให้เป็นของขวัญตามโอกาส


ข. ภรรยา อนุเคราะห์สามี ดังนี้
๑) จัดงานบ้านให้เรียบร้อย
๒) สงเคราะห์ญาติมิตรทั้งสองฝ่ายด้วยดี
๓) ไม่นอกใจ
๔) รักษาทรัพย์สมบัติที่หามาได้
๕) ขยันช่างจัดช่างทำเอางานทุกอย่าง


๓.สามีกับภรรยา
- - - - - - - - - คนเป็นสามี
ปฏิบัติหน้าที่ พอดีพองาม
หนึ่งต้องยกย่อง สองไม่เหยียดหยาม
ซื่อสัตย์ข้อสาม ไม่คิดนอกใจ
- - - - - - - - - - ข้อสี่กิจการ
เรื่องภายในบ้าน ให้เธอเป็นใหญ่
ข้อห้าอาภรณ์ งามงอนอยากได้
จัดหามาให้ เอาใจนงคราญ

- - - - - - - - - ภรรยาที่ดี
ต้องทำหน้าที่ ให้สอดประสาน
หนึ่งงานน้อย เข้าใจจัดการ
สองเอื้อบริวาร ญาติฝ่ายสามี
- - - - - - - - - - สามไม่นอกใจ
ทุกข์ยากอย่างไร ไม่คิดหน่ายหนี
สี่รักษาทรัพย์ สมบัติให้ดี
ข้อห้าต้องมี ใจรักการงาน

- - - - - - - - ภรรยาสามี
ต่างทำหน้าที่ ดีทุกประการ
มีสุขร่วมสุข มีทุกข์ร่วมต้าน
อยู่สุขสำราญ สวัสดีมีชัย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 06 ธ.ค. 2016, 17:51, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ธ.ค. 2016, 08:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๔. ก. บำรุงมิตรสหาย ผู้เป็นเหมือนทิศเบื้องซ้าย โดย
๑) เผื่อแผ่แบ่งปัน
๒) พูดอย่างรักกัน
๓) ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
๔) มีตนเสมอ ร่วมสุขร่วมทุกข์กัน
๕) ซื่อสัตย์จริงใจต่อกัน

ข. มิตรสหาย อนุเคราะห์ตอบ ดังนี้
๑) เมื่อเพื่อนประมาท ช่วยรักษาป้องกัน
๒) เมื่อเพื่อนประมาท ช่วยรักษาทรัพย์สมบัติของเพื่อน
๓) ในคราวมีภัย เป็นที่พึ่งได้
๔) ไม่ละทิ้งในยามทุกข์ยาก
๕) นับถือตลอดวงศ์ญาติของมิตร


๔. มิตรกับมิตร
- - - - - - - คนเราต้องมี
น้ำใจไมตรี ดีต่อกันไว้
อยู่ไหนมีเพื่อน ย่อมอบอุ่นใจ
มีเหตุเภทภัย ได้ช่วยเหลือกัน
- - - - - - - - คบกันเป็นมิตร
มีลาภต้องคิด เฉลี่ยแบ่งปัน
พูดจาน่ารัก ไพเราะเสนาะกรรณ
มีงานสำคัญ อย่านิ่งดูดาย
- - - - - - - - รู้จักวางตน
สมเหตุสมผล เสมอต้นเสมอปลาย
ไม่พูดบิดเบือน ให้เพื่อนงมงาย
ยามสุขสบาย ต้องไม่ลืมกัน
- - - - - - - - - - เมื่อเพื่อนเผลอเรอ
ต้องตักเตือนเธอ ให้รู้เท่าทัน
เพื่อนลืมทรัพย์สิน ต้องช่วยป้องกัน
เพื่อนพบภัยพาล ช่วยต้านช่วยตี
- - - - - - - - - - เมื่อเพื่อนวิบัติ
ต้องช่วยยืนหยัด อย่าปลีกตัวหนี
รักญาติของเพื่อน เหมือนน้องเหมือนพี่
สัมพันธ์กันดี กับญาติทั้งหลาย

- - - - - - มิตรกับมิตรมี
ใจรักภักดี มีจิตมุ่งหมาย
คอยช่วยป้องกัน ภยันตราย
อย่างนี้สบาย ไร้ความกังวล

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ธ.ค. 2016, 17:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๕. ก. นาย บำรุงคนรับใช้และคนงาน ผู้เป็นเหมือนทิศเบื้องล่าง โดย
๑) จัดงานให้ทำตามความเหมาะสมกับกำลังเพศวัยและความสามารถ
๒) ให้ค่าจ้างรางวัลสมควรแก่งานและความเป็นอยู่
๓) จัดสวัสดิการดี มีช่วยรักษาพยาบาลในยามเจ็บไข้ เป็นต้น
๔) มีอะไรได้พิเศษมา ก็แบ่งปันให้
๕) ให้มีวันหยุดและพักผ่อนหย่อนใจตามโอกาส

ข. คนรับใช้และคนงาน อนุเคราะห์นาย ดังนี้
๑) เริ่มทำงานก่อน
๒) เลิกงานทีหลัง
๓) เอาแต่ของที่นายให้
๔) ทำการงานให้เรียบร้อยและดียิ่งขึ้น
๕) นำความดีของนายงานและกิจการไปเผยแพร่


๕. นายจ้างกับลูกจ้าง
- - - - - - - - - คนเป็นนายจ้าง
รู้ความแตกต่าง ลูกจ้างของตน
ใช้งานให้เหมาะ แต่ละบุคคล
จึงจะได้ผล ตามที่ต้องการ
- - - - - - - - ใครทำงานดี
รางวัลต้องมี ให้พอประมาณ
ลูกจ้างเจ็บป่วย ช่วยพยาบาล
ข้าวปลาอาหาร เลี้ยงดูให้ดี
- - - - - - - - - วันตรุษสงกรานต์
ให้เขาหยุดงาน เที่ยวอย่างเสรี

ลูกจ้างทั้งหลาย เห็นนายใจดี
พวกเขาต้องมี ใจคิดแทนคุณ
- - - - - - - - - ไม่นอนตื่นสาย
ลุกขึ้นขวนขวาย ก่อนรุ่งอรุณ
รีบไปทำงาน ทดแทนบุญคุณ
- - - - - - - - - เวลาเลิกงาน
ให้นายกลับบ้าน ก่อนจึงค่อยไป
เครื่องมือเก็บงำ ดูน้ำดูไฟ
ปิดเสียก่อนไป ช่วยนายประหยัด

- - - - - - - - - นายจ้างใจดี
ลูกจ้างต้องมี จิตใจซื่อสัตย์
ไม่เห็นแก่ได้ นิสัยมัธยัสถ์
ไม่คิดเอารัด เอาเปรียบผู้ใด
- - - - - - พัฒนาตนเอง
ให้ดีให้เก่ง ยิ่งยิ่งขึ้นไป
สรรเสริญนายจ้าง เกียรติขจรไกล
แบ่งดีกันได้ ได้ดีทุกคน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ธ.ค. 2016, 18:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๖. ก. คฤหัสถ์ บำรุงพระสงฆ์ ผู้เป็นเหมือนทิศเบื้องบน โดย
๑) จะทำสิ่งใด ก็ทำด้วยเมตตา
๒) จะพูดสิ่งใด ก็พูดด้วยเมตตา
๓) คิดสิ่งใด ก็คิดด้วยเมตตา
๔) ต้อนรับด้วยความเต็มใจ
๕) อุปถัมภ์ ด้วยปัจจัย ๔

ข. พระสงฆ์ ย่อมอนุเคราะห์คฤหัสถ์ ดังนี้
๑) ห้ามปรามสอนให้เว้นจากความชั่ว
๒) แนะนำสั่งสอนให้ตั้งอยู่ในความดี
๓) อนุเคราะห์ด้วยน้ำใจงาม
๔) ให้ได้ฟังได้รู้สิ่งที่ยังไม่เคยรู้ไม่เคยฟัง
๕) ชี้แจงอธิบายสิ่งที่เคยฟังแล้วให้เข้าใจแจ่มแจ้ง
๖) บอกทางสวรรค์ให้ (สอนวิธีดำเนินชีวิตให้ประสบความสุข)


๖. พระกับประชาชน
- - - - - - - - - หน้าที่ของพระ
คือสอนธรรมะ แก่ประชาชน
สอนให้ลดละ บาปอกุศล
ให้ดำรงตน อยู่ในความดี
- - - - - - - - - - - เห็นเขามีทุกข์
ช่วยปลอบช่วยปลุก แนะนำวิธี
ชี้ให้เห็นเหตุ แห่งทุกข์ที่มี
ทุกข์ในเรื่องนี้ ดับด้วยอะไร
- - - - - - - - - - หิวข้าวกินข้าว
ทุกข์ดับชั่วคราว เปรียบให้เข้าใจ
เมื่อเขาเห็นเหตุ ดับทุกข์ลงได้
ย่อมซาบซึ้งใน เมตตาการุณย์
- - - - - - - - เมื่อเขามาหา
ชวนสนทนา เรื่องบาปเรื่องบุญ
ยกเหตุผลให้- เห็นโทษเห็นคุณ
มุ่งทำแต่บุญ ไม่ก่อบาปกรรม
- - - - - - - - - เขาไม่เข้าใจ
เรื่องเก่าเล่าใหม่ นำมาสอนซ้ำ
ชี้แจงประเด็น อธิบายเน้นย้ำ
จนเขาจดจำ เข้าอกเข้าใจ
- - - - - - - - นรกสวรรค์
เรื่องนี้สำคัญ ชาติใหม่ภพใหม่
อย่าให้เขาเห็น เป็นเรื่องเหลวไหล
ให้เขารู้ไว้ เพื่อไม่ประมาท
- - - - - - - - - - สัตว์โลกทั้งหลาย
เวียนเกิดเวียนตาย ร้อยชาติพันชาติ
กิเลสตัณหา ยังตัดไม่ขาด
เกิดดับกลับชาติ วนเวียนวุ่นวาย
- - - - - - - - ถ้าทำกรรมชั่ว
บาปจะนำตัว ไปสู่อบาย
ถ้าทำกรรมดี เมื่อชีวีวาย
บุญพาเยื้องกราย ไปสรวงสวรรค์

- - - - - - เมื่อประชาชน
รู้จักตัวตน บุญบาปสร้างสรรค์
ทำแต่ความดี ทุกวี่ทุกวัน
ประสบสุขสันต์ ไม่ลืมคุณพระ
- - - - - - - - - - - เมื่อพบเห็นท่าน
ก้มเกล้ากราบกราน สัมมาคารวะ
พูดจาปราศรัย ไม่ใช้วาทะ
หยาบคายกักขฬะ ให้ระคายเคือง
- - - - - - - - - เลือกใช้ถ้อยคำ
หวานซึ้งดื่มด่ำ อารมณ์ฟูเฟื่อง
ไพเราะเพราะหู ฟังแล้วรู้เรื่อง
ทุกคำประเทือง อารมณ์บันเทิง
- - - - - - - ไปไหนมาไหน
พระอยู่กับใจ แจ่มใสร่าเริง
ยามหลับสดชื่น ยามตื่นบันเทิง
หรรษาร่าเริง ทุกวันเวลา
- - - - - - เปิดประตูบ้าน
ปฏิสันถาร ถ้าท่านมาหา
ของคาวของหวาน ใส่บาตรท่านมา
เลื่อมใสศรัทธา ทานบารมี

- - - - - - - - หน้าที่ทั้งหก
ตามที่หยิบยก มากล่าวไว้นี้
ศึกษาค้นคว้า มาจากคัมภีร์
ภาษาบาลี สิงคาลสูตร
- - - - - - - ทุกคนต่างมี
ภารหน้าที่ ต้องทำต้องพูด
น่ารักน่าชม สังคมมนุษย์
ถ้าทำถ้าพูด- กันด้วยเมตตา
- - - - - - - - - - - ตัวเราอยู่กลาง
เบื้องบนเบื้องล่าง หน้า-หลัง-ซ้ายขวา

มีคนหกกลุ่ม รุมล้อมพร้อมหน้า
เราต้องศึกษา หน้าที่ให้ดี
- - - - - - - - - ปฏิบัติให้ถูก
พยายามฝังปลูก ผูกมิตรไมตรี
กับคนทุกคน จักเกิดผลดี
ทำถูกหน้าที่ ได้ดีทุกคน

- - - - - - - - - - - เรียบเรียงคำสอน
เป็นกาพย์เป็นกลอน สอนประชาชน
ให้รู้ ชั่ว-ดี หน้าที่ของตน
ตามหลักสากล ทั่วโลกรับรอง
- - - - - - - - แต่งเป็นกาพย์ไว้
เพื่อนำไปใช้ สวดใส่ทำนอง
ถ้อยคำไพเราะ เหมาะเจาะคล้องจอง
สวดเป็นทำนอง ฟังเพลินดีเอย ฯ

...........

พุทธธรรม หน้า 729 กับ หนังสือเล่มนี้

http://g-picture2.wunjun.com/5/full/7b2 ... s=768x1024

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ธ.ค. 2016, 18:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
อโศกะ
โลกียะ โลกของปุถุชน เรื่องของปุถุชน กัลยาชนเขาไม่อยากจะพูดถึงกัน ยิ่งผู้เจริญมรรค 8 เต็มที่แล้วเขาจะไม่พูดถึงเรื่องเหล่านี้เลย มันเป็นมิจฉาวาจา

viewtopic.php?f=1&t=53281&p=402299#p402299

เพื่อไม่ให้ท่านอโศกเห็นสุดโต่งไปทางใดทางหนึ่งเช่นว่านั้น จึงนำคำสอนของพระพุทธเจ้ามาให้ศึกษาให้ถ้วนทั่ว :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.พ. 2017, 10:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ราชสังคหวัตถุ สังคหวัตถุของพระราชา, หลักการสงเคราะห์ประชาชนของนักปกครอง มี ๔ คือ

๑. สัสสเมธะ ฉลาดบำรุงธัญญาหาร

๒. ปุริสเมธะ ฉลาดบำรุงข้าราชการ

๓. สัมมาปาสะ ผูกประสานรวมใจประชา (ด้วยส่งเสริมสัมมาชีพให้คนจนตั้งตัวได้)

๔. วาชไปยะ มีวาทะดูดดื่มใจ


วาชเปยะ, วาชไปยะ “วาจาดูดดื่มใจ” “น้ำคำควรดื่ม” ความรู้จักพูด คือ รู้จักทักทายปราศรัย ใช้วาจาสุภาพนุ่มนวล ประกอบด้วยเหตุผล มีประโยชน์ เป็นทางแห่งสามัคคี ทำให้เกิดความเข้าใจอันดี ความเชื่อถือและความนิยมนับถือ


ปกครอง คุ้มครอง, ดูแล, รักษา, ควบคุม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 02 ก.พ. 2017, 17:58, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.พ. 2017, 19:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บูชา นำดอกไม้ ของหอม อาหาร ทรัพย์สินเงินทอง หรือของมีค่า มามอบให้เพื่อแสดงความซาบซึ้งพระคุณ มองเห็นความดีงาม เคารพนับถือ ชื่นชม เชิดชู หรือนำมาประกอบกิริยาอาการในการแสดงความยอมรับนับถือ ตลอดจนจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อแสดงความเคารพนับถือเช่นนั้น, แสดงความเคารพเทิดทูน, เชิดชูคุณความดี, ยกย่องให้ปรากฏความสำคัญ, บูชา มี ๒ (องฺ.ทุก. 20/401/117) คือ

๑. อามิสบูชา (บูชาด้วยอามิส คือ ด้วยวัตถุสิ่งของ) และ

๒. ธรรมบูชา (บูชาด้วยธรรม คือด้วยการปฏิบัติให้บรรลุจุดหมายที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรมไว้)

ในอรรถกถาแห่งมงคลสูตร (ขุทฺทก.อ.113 ฯลฯ) ท่านกล่าวถึงบูชา ๒ อย่าง เป็นอามิสบูชา และ ปฏิบัติบูชา

(บูชาด้วยการปฏิบัติ คือ บูชาพระพุทธเจ้าด้วยสรณคมน์ การรับสิกขาบทมารักษาเพื่อให้เป็นผู้มีศีล การถืออุโบสถ และคุณความดีต่างๆ ของตน มีปาริสุทธิศีล ๔ เป็นต้น ตลอดจนการเคารพดูแลมารดาบิดา และบูชาปูชนียบุคคลทั้งหลาย)

โดยเฉพาะปฏิบัติบูชานั้น ท่านอ้างพุทธพจน์ในมหาปรินิพพานสูตร (ที.ม.10/124/160) ที่ตรัสว่า "ดูกรอานนท์ ผู้ใดแล จะเป็นภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรืออุบาสิกา ก็ตาม เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติธรรมอยู่ ผู้นั้น ชื่อว่า สักการะ เคารพ นับถือ บูชา ตถาคตด้วยการบูชาอย่างยิ่ง" กล่าวย่อ ปฏิบัติบูชา ได้แก่ ธรรมานุธรรมปฏิบัติ


บูชามยบุญราศี กองบุญที่สำเร็จด้วยการบูชา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.พ. 2017, 19:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


งง! ห้ามรำบูชาพระคู่บ้านคู่เมือง ปราชญ์โผล่อ้างผิดหลักพระพุทธศาสนา

กลุ่มนางรำบูชาพระมงคลมิ่งเมือง พระคู่บ้านคู่เมืองอำนาจเจริญ ที่มากันด้วยความสมัครใจกว่า 1,000 คน ถึงกับงง ถูกกลุ่มคนอ้างตนเป็นนักปราชญ์ ระบุการรำบูชาผิดหลักพระพุทธศาสนา ร้องผู้ว่าฯ สั่งห้าม...

อ่านข่าวต่อได้ที่: http://www.thairath.co.th/content/848188

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.พ. 2017, 19:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุ “ดีแล้ว” “ชอบแล้ว” คำที่พระสงฆ์เปล่งออกมาเพื่อแสดงความเห็นชอบต่อการกระทำ ต่อเรื่องราวที่ดำเนินไป หรือต่อกิจกรรมในพิธีนั้นๆ โดยนัย หมายถึง เปล่งวาจาแสดงความชื่นชม อนุโมทนาหรือเห็นชอบ,

อีกนัยหนึ่ง มักใช้เป็นคำบอกแก่เด็ก เพื่อให้แสดงความเคารพด้วยการทำกิริยาไหว้ (บางทีคำกร่อนลงเหลือเพียงพูดสั้นๆว่า “ธุ”)


สาธุการ 1. การเปล่งวาจาว่า สาธุ (แปลว่า ดีแล้ว ชอบแล้ว) เพื่อแสดงความเห็นชอบด้วย ชื่นชม หรือยกย่องสรรเสริญ 2. ชื่อเพลงหน้าพาทย์เพลงหนึ่ง ถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง ใช้บรรเลงในการเริ่มพิธี เพื่อบูชาพระรัตนตรัย เช่น ในเวลาที่พระธรรมกถึกขึ้นสู่ธรรมาสน์เพื่อแสดงธรรม ตลอดจนใช้อัญเชิญเทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์อื่นๆ ฯลฯ


สาธุกีฬา กีฬาที่ดี, การละเล่นที่ดีงามเป็นประโยชน์, เป็นคำในชั้นอรรถกถา เฉพาะอย่างยิ่งที่เล่าว่า เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว มีสาธุกีฬา ๗ วัน ต่อเนื่องและประสานกับการบูชาพระบรมสารีริกธาตุ, แม้ในการปรินิพพานของพระปัจเจกพุทธเจ้าและพระอรหันต์หลายท่าน ก็มีเรื่องเล่าถึงการเล่นสาธุกีฬา ๗ วัน และการบูชาพระธาตุ

สาธุกีฬามีลักษณะสำคัญคือ มิใช่เล่นเพื่อความสนุกสนานบันเทิงของตนเอง แต่เล่นให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น และไม่ขัดต่อสัมปรายิกัตถะ (ประโยชน์ด้านจิตใจ และปัญญา) ให้ก่อกุศลมาก เช่น มีคีตะ คือเพลงหรือการขับร้องที่กระตุ้นเตือนใจให้ระลึกถึงความจริงของชีวิต และคิดที่จะไม่ประมาทเร่งสร้างสรรค์ทำความดี พร้อมทั้งเป็นการสักการะบูชาพระผู้ปรินิพพาน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.พ. 2017, 17:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธเจ้าตรัสจำแนกกามโภคี คือชาวบ้านออกเป็น ๑๐ ประเภท พร้อมทั้งส่วนดี และส่วนเสีย ของแต่ละประเภท มีใจความดังนี้

กลุ่มที่ 1 แสวงหาไม่ชอบธรรม

1. พวกหนึ่ง แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม ได้ทรัพย์มาแล้วไม่เลี้ยงตนให้เป็นสุข, ทั้งไม่เผื่อแผ่แบ่งปัน และไม่ใช้ทรัพย์ทำความดี - ควรตำหนิทั้ง 3 สถาน

2. พวกหนึ่ง แสวงหาทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม ได้ทรัพย์แล้วเลี้ยงตนให้เป็นสุข, แต่ไม่เผื่อแผ่จ่ายแบ่งปัน และไม่ใช้ทรัพย์นั้นทำความดี - ควรตำหนิ 2 สถาน ควรชม 1 สถาน

3. พวกหนึ่ง แสวงหาทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม ได้ทรัพย์มาแล้ว เลี้ยงตนให้เป็นสุข, ทั้งเผื่อแผ่แบ่งปัน และใช้ทรัพย์นั้นทำความดี - ควรตำหนิ 1 สถาน ควรชม 2 สถาน

กลุ่มที่ 2 แสวงหาชอบธรรมบ้าง ไม่ชอบธรรมบ้าง

4. พวกหนึ่ง แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรมบ้างไม่ชอบธรรมบ้าง ได้ทรัพย์มาแล้ว ไม่เลี้ยงตนให้เป็นสุข. ไม่เผื่อแผ่แบ่งปัน และไม่ใช้ทรัพย์นั้นทำความดี – ควรตำหนิ 3 สถาน ควรชม 1 สถาน

5. พวกหนึ่ง แสวงหาทรัพย์โดยชอบธรรมบ้าง ไม่ชอบธรรมบ้าง ได้ทรัพย์มาแล้ว เลี้ยงตนให้เป็นสุข, แต่ไม่เผื่อแผ่แบ่งปัน และไม่ใช้ทรัพย์นั้นทำความดี - ควรตำหนิ 2 สถาน ควรชม 2 สถาน

6. พวกหนึ่ง แสวงหาทรัพย์โดยชอบธรรมบ้าง ไม่ชอบธรรมบ้าง ได้ทรัพย์มาแล้ว เลี้ยงตนให้เป็นสุข, ทั้งเผื่อแผ่แบ่งปัน และใช้ทรัพย์นั้นทำความดี - ควรตำหนิ 1 สถาน ควรชม 3 สถาน

กลุ่มที่ 3 แสวงหาชอบธรรม

7. พวกหนึ่ง แสวงหาทรัพย์โดยชอบธรรม ได้ทรัพย์มาแล้ว ไม่เลี้ยงตนให้เป็นสุข, ทั้งไม่เผื่อแผ่แบ่ง และไม่ใช้ทรัพย์นั้นทำความดี - ควรตำหนิ 2 สถาน ควรชม 1 สถาน

8. พวกหนึ่ง แสวงหาทรัพย์โดยชอบธรรม ได้ทรัพย์มาแล้ว เลี้ยงตนให้เป็นสุข, แต่ไม่เผื่อแผ่แบ่งปัน และไม่ใช้ทรัพย์นั้นทำความดี - ควรตำหนิ 1 สถาน ควรชม 2 สถาน

9. พวกหนึ่ง แสวงหาทรัพย์โดยชอบธรรม ได้ทรัพย์มาแล้ว เลี้ยงตนให้เป็นสุข, ทั้งเผื่อแผ่แบ่งปัน และใช้ทำความดี; แต่ยังติด ยังหมกมุ่น กินใช้ทรัพย์สมบัติ โดยไม่รู้เท่าทันเห็นโทษ ไม่มีปัญญาที่จะทำตนให้เป็นอิสระเป็นนายเหนือโภคทรัพย์ - ควรตำหนิ 3 สถาน ควรชม 1 สถาน

พวกพิเศษ : แสวงหาชอบธรรม และกินใช้อย่างมีสติสัมปชัญญะ มีจิตใจเป็นอิสระ

10. พวกหนึ่ง แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม ได้ทรัพย์มาแล้ว เลี้ยงตนให้เป็นสุข, เผื่อแผ่แบ่งปัน และใช้ทรัพย์นั้นทำความดี; ไม่ลุ่มหลง ไม่หมกมุ่นมัวเมา กินใช้ทรัพย์สมบัติ โดยรู้เท่าทัน เห็นคุณโทษ ทางดีทางเสียของมัน มีปัญญาทำตนให้เป็นอิสระ - เป็นชาวบ้านชนิดที่เลิศ ประเสริฐ สูงสุด ควรชมทั้ง 4 สถาน

(สํ.สฬ.18/631-643/408-451 …)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.พ. 2017, 17:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คิดถึงท่านอโศกจัง หายไปเลย กลับมาเป็นเพื่อนพูดคุยสนทนาสากัจฉากันเถอะขอรับ กรัชกายรู้วังเวง :b7: เหมือนอยู่คนเดียวในลาน s004

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.พ. 2017, 04:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมก็รู้สึกเช่นเดียวกัน
คงเปลี่ยนไปสนทนาใน LINE กันเป็นหลัก

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 23 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 39 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร