วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 06:09  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2016, 14:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กาม ภพ ทิฏฐิ อวิชชา ชื่อเหล่านี้ เป็นองค์ธรรมในวงปฏิจจสมุปบาท โดยเฉพาะอวิชชาถูกยกขึ้นพูดบ่อยๆ ขอนำความหมายมาให้พิจารณา smiley เอาตรงนี้ก่อน

กล่าวโดยสรุป เพื่อตัดตอนให้ชัด ภาวะที่เป็นอวิชชาก็คือ การไม่มองเห็นไตรลักษณ์ โดยเฉพาะความเป็นอนัตตา ตามแนวปฏิจจสมุปบาท คือ ไม่รู้ตระหนักว่า สภาพที่ถือกันว่าเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา นั้น เป็นเพียงกระแสแห่งรูปธรรม นามธรรมส่วนย่อยต่างๆมากมาย ที่สัมพันธ์เนื่องอาศัยกันเป็นเหตุปัจจัยสืบต่อกัน โดยอาการเกิดสลายๆ ทำให้กระแสนั้นอยู่ในภาวะที่กำลังแปรรูปอยู่ตลอดเวลา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2016, 14:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความหมายลึกลงไปขององค์ธรรมบางข้อ

ตามปกติ มนุษย์ปุถุชนทุกคน เมื่อประสบสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรืออยู่ในสถานการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง จะแปลความหมาย ตัดสินสิ่งหรอเหตุการณ์นั้น พร้อมทั้งคิดหมายเจตจำนง (เจตนา) แสดงออกซึ่งพฤติกรรมและการกระทำการต่างๆ ตามความโน้มเอียง หรือตามแรงผลักดันต่อไปนี้ คือ

๑. ความใฝ่ในการสนองความต้องการทางประสาททั้ง ๕ (กาม)

๒. ความใฝ่หรือห่วงในความมีอยู่คงอยู่ของตัวตน ตลอดจนการที่ตัวตนจะได้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ และการที่จะดำรงอยู่ในภาวะที่อยากเป็นนั่นยั่งยืนตลอดไป (ภพ)

๓. ความเห็น ความเชื่อถือ ความเข้าใจ แนวคิด ที่สั่งสมอบรมมา และยึดถือเชิดชูไว้ (ทิฏฐิ)

๔. ความหลง ความไม่เข้าใจ คือ ความไม่ตระหนักรู้ และไม่กำหนดรู้ ความเป็นมาเป็นไป เหตุ ผล ความหมาย คุณค่า วัตถุประสงค์ ตลอดจนความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ หรือเหตุการณ์ทั้งหลายตามสภาวะโดยธรรมชาติของมันเอง ความหลงความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ หรือเหตุการณ์ทั้งหลายตามสภาวะโดยธรรมชาติของมันเอง ความหลงผิดว่ามีตัวตนที่เข้าไปกระทำและถูกกระทำกับสิ่งต่างๆ ไม่มองเห็นความสัมพันธ์ทั้งหลายในรูปของกระบวนการแห่งสภาวธรรมที่เป็นไปตาม เหตุปัจจัย พูดสั้นๆว่า ไม่รู้เห็นตามที่มันเป็น แต่รู้เห็นตามที่คิดว่ามันเป็น หรือคิดให้มันเป็น (อวิชชา)


โดยเฉพาะข้อ ๓ และ ๔ จะ เห็นได้ว่าเป็นสภาพที่สัมพันธ์ต่อเนื่องกัน คือ เมื่อไม่ได้กำหนดรู้ ไม่เข้าใจชัด หรือหลงเพลินไป ก็ย่อมทำไปตามความเห็น ความเชื่อถือ ความเข้าใจที่สั่งสมอบรมมาก่อน หรือแนวคิด ความประพฤติที่ยึดถือเคยชินอยู่


อนึ่ง ข้อ ๓ และ ๔ นี้ มีความหมายกว้างมาก รวมไปถึงทัศนคติ แบบแผน ความประพฤติต่างๆ ที่เป็นผลมาจากการศึกษาอบรม นิสัย ความเคยชิน ค่านิยมหรือคตินิยมทางสังคม การถ่ายทอดทางวัฒนธรรม เป็นต้น

สิ่งเหล่านี้ แสดงอิทธิพลสัมพันธ์กับข้อที่ ๑ และ ๒ กลายเป็นตัวการกำหนด และควบคุมความรู้สึกนึกคิด และพฤติกรรมทั้งหมดของบุคคล ตั้งต้นแต่ว่าจะให้ชอบอะไร ต้องการอะไร จะสนองความต้องการของตนในรูปแบบ และทิศทางใด แสดงพฤติกรรมออกมาอย่างไร คือเป็นสิ่งที่แฝงอยู่ลึกซึ้งในบุคคล และคอยบัญชาพฤติกรรมของบุคคลนั้น โดยเจ้าตัวไม่รู้ตัวเลย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2016, 14:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในความเข้าใจตามปกติ บุคคลนั้น ย่อมรู้สึกว่าตัวเขากำลังกระทำกำลังประพฤติอย่างนั้นๆ ด้วยตนเองตามความต้องการของตนเองอย่างเต็มที่

แต่แท้จริงแล้ว นับเป็นความหลงผิดทั้งสิ้น เพราะถ้าสืบสาวลึกลงไปให้ชัดว่า เขาต้องการอะไรแน่ ทำไมเขาจึงต้องการสิ่งที่เขาต้องการอยู่นั้น ทำไมเขาจึงกระทำอย่างที่กระทำอยู่นั้น ทำไมจึงประพฤติอย่างที่ประพฤติอยู่นั้น ก็จะเห็นว่า

ไม่มีอะไรที่เป็นตัวของเขาเองเลย เป็นแบบแผนความประพฤติ ที่เขาได้รับถ่ายทอดในการศึกษาอบรมบ้าง วัฒนธรรมบ้าง ความเชื่อถือทางศาสนาบ้าง เป็นความนิยมในทางสังคมบ้าง
เขาเพียงแต่เลือกและกระทำในขอบเขตแนวทางของสิ่งเหล่านี้ หรือทำให้แปลกไปอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยเอาสิ่งเหล่านี้ เป็นหลักคิดแยกออกไป และสำหรับเทียบเคียงเท่านั้นเอง

สิ่งที่เขายึดถือว่าเป็นตัวตนของเขานั้น จึงไม่มีอะไรนอกไปจากสิ่งที่อยู่ในข้อ ๑ ถึง ข้อ ๔ (ทั้งหมดอยู่ในขันธ์ ๕) เท่านั้นเอง

สิ่งเหล่านี้นอกจากไม่มีตัวตนแล้ว ยังเป็นพลังผลักดันที่อยู่พ้นอำนาจควบคุมของเขาด้วย จึงไม่มีทางเป็นตัวตนเขาได้เลย

ในทางธรรมเรียกสิ่งทั้งสี่นี้ว่า อาสวะ แปลตามรูปศัพท์ว่า สิ่งที่ไหลซ่านไปทั่ว หรืออีกนัยหนึ่งว่า

สิ่งที่หมักหมมหรือหมักดอง หมายความว่า เป็นสิ่งที่หมักดองสันดาน คอยมอมพื้นจิตไว้ และเป็นสิ่งที่ไหลซ่านไปอาบย้อมจิตใจ เมื่อประสบอารมณ์ต่างๆ ไม่ว่าคนจะรับรู้อะไรทางอายตนะใด หรือจะคิดนึกสิ่งใด

อาสวะเหล่านี้ ก็เที่ยวกำซาบซ่านไปแสดงอิทธิพล อาบ ย้อมมอมมัวสิ่งที่รับรู้เข้ามา และความนึกคิดนั้นๆ แทนที่จะเป็นอารมณ์ของจิต และปัญญาล้วนๆ กลับเสมือนเป็นอารมณ์ของอาสวะไปหมด ทำให้ไม่ได้ความรู้ความคิดที่บริสุทธิ์ และเป็นเหตุก่อทุกข์ก่อปัญหาเรื่อยไป



อาสวะอย่างที่ ๑ เรียก กามาสวะ ที่ ๒ เรียก ภวาสวะ ที่ ๓ เรียก ทิฏฐาสวะ ที่ ๔ เรียก อวิชชาสวะ


อาสวะ ๔ นี้ เป็นการแสดงตามแนวอภิธรรม ในพระสูตรท่านนิยมแบ่งอาสวะเพียง ๓ อย่าง คือ ไม่มีทิฏฐาสวะ ทั้งนี้ พอจับเหตุผลได้ว่า

เป็นเพราะในพระสูตร ท่านกำหนดเฉพาะอาสวะที่เป็นตัวเจ้าของบทบาทเด่นชัด ท่านไม่ระบุทิฏฐาสวะ เพราะอยู่ระหว่างอวิชชา กับ ภวาสวะ กล่าวคือ ทิฏฐาสวะ อาศัยอวิชชาเป็นฐานก่อตัวแล้วแสดงอิทธิพลออกมาทางภวาสวะ ส่วนในอภิธรรม ท่านต้องการจำแนกให้ละเอียดจึงแสดงเป็น ๔



จึงเห็นได้ว่า อาสวะต่างๆเหล่านี้ เป็นที่มาแห่งพฤติกรรมของมนุษย์ปุถุชนทุกคน เป็นตัวการที่ทำให้มนุษย์หลงผิด มองเห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นตัวตนของตน อันเป็นอวิชชาชั้นพื้นฐานที่สุด แล้วบังคับบัญชาให้นึกคิดปรุงแต่ง แสดงพฤติกรรม และกระทำการต่างๆ ตามอำนาจของมันโดยไม่รู้ตัว เป็นขั้นเริ่มต้นวงจรแห่งปฏิจจสมุปบาท คือเมื่ออาสวะเกิดขึ้น อวิชชาก็เกิดขึ้น แล้วอวิชชาก็เป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร ในภาวะที่แสดงพฤติกรรมถูกบังคับบัญชาด้วยสังขารที่เป็นแรงขับไร้สำนึกทั้งสิ้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 12 พ.ย. 2016, 15:32, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2016, 15:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กล่าวโดยสรุป เพื่อตัดตอนให้ชัด ภาวะที่เป็นอวิชชา ก็คือ การไม่มองเห็นไตรลักษณ์ โดยเฉพาะความเป็นอนัตตา ตามแนวปฏิจจสมุปบาท คือ ไม่รู้ตระหนักว่า สภาพที่ถือกันว่าเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา นั้น เป็นเพียงกระแสแห่งรูปธรรม นามธรรมส่วนย่อยต่างๆมากมาย ที่สัมพันธ์เนื่องอาศัยกันเป็นเหตุปัจจัยสืบต่อกัน โดยอาการเกิดสลายๆ ทำให้กระแสนั้นอยู่ในภาวะที่กำลังแปรรูปอยู่ตลอดเวลา


หรือพูดให้ง่ายขึ้นว่า บุคคลก็คือผลรวมแห่งความรู้สึกนึกคิด ความปรารถนา ความเคยชิน ความโน้มเอง ทัศนคติ ความรู้ ความเข้าใจ ความเชื่อถือ (ตั้งแต่ขั้นหยาบที่ผิดหรือไม่มีเหตุผล จนถึงขั้นละเอียดที่ถูกต้องและมีเหตุผล) ความคิดเห็น ความรู้สึก ในคุณค่าต่างๆ ฯลฯ ทั้งหมดในขณะนั้นๆ ที่เป็นผลมาจากการถ่ายทอดทางวัฒนธรรม การศึกษาอบรม และปฏิกิริยาต่างๆ ทั้งที่เกิดขึ้นภายใน และที่มีต่อสิ่งแวดล้อมทั้งหลาย อันกำลังดำเนินไปอยู่ตลอดเวลา


เมื่อไม่ตระหนักรู้เช่นนี้ จึงยึดถือเอาสิ่งเหล่านั้นอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นตัวตนของตนในขณะหนึ่งๆ เมื่อยึดถือสิ่งเหล่านี้เป็นตัวตน ก็คือถูกสิ่งเหล่านั้นหลอกเอา จึงเท่ากับตกอยู่ในอำนาจของมัน ถูกมันชักจูงบังคับเอาให้เห็นว่าตัวตนนั้นเป็นไปต่างๆ พร้อมทั้งความเข้าใจว่า ตนเองกำลังทำการต่างๆตามความต้องการของตน เป็นต้น

ที่กล่าวมานี้ นับว่าเป็นคำอธิบายในหัวข้ออวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร ในระดับที่จัดว่าละเอียดลึกซึ้งกว่าก่อน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2016, 16:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ข้ามมาถึงตอนสำคัญอีกช่วงหนึ่ง คือ ตัณหาเป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทาน ซึ่งเป็นช่วงของกิเลสเหมือนกัน


ตัณหาทั้ง ๓ อย่างก็คืออาการแสดงออกของตัณหาอย่างเดียวกัน และมีอยู่เป็นสามัญโดยครบถ้วนในชีวิตประจำวันของปุถุชนทุกคน

แต่จะเห็นได้ต่อเมื่อวิเคราะห์ดูสภาพการทำงานของจิตในส่วนลึก เริ่มแต่

มนุษย์ไม่รู้ไม่เข้าใจ และไม่รู้จักมองสิ่งทั้งหลาย ในรูปของกระบวนการแห่งความสัมพันธ์กันของเหตุ ปัจจัยต่างๆตามธรรมชาติ จึงมีความรู้สึกมัวๆ อยู่ว่ามีตัวตนของตนอยู่ในรูปใดรูปหนึ่ง
มนุษย์จึงมีความอยากที่เป็นพื้นฐานสำคัญ คือ

ความอยากมีอยู่เป็นอยู่ หรืออยากมีชีวิตอยู่ ซึ่งหมายถึงความอยากให้ตัวตนในความรู้สึกมัวๆ นั้นคงอยู่ยั่งยืนต่อไป


แต่ความอยากเป็นอยู่นี้ สัมพันธ์กับความอยากได้ คือ ไม่ใช่อยากเป็นอยู่เฉยๆ แต่อยากอยู่เพื่อเสวยสิ่งที่อยากได้ คือ เพื่อเสวยสิ่งที่จะให้สุขเวทนาสนองความต้องการของตนต่อไป จึงกล่าวได้ว่า ที่อยากเป็นอยู่ ก็เพราะอยากได้ เมื่ออยากได้ ความอยากเป็นอยู่ก็ยิ่งรุนแรงขึ้น


เมื่อความอยากเป็นอยู่รุนแรง อาจเกิดกรณีที่ ๑ คือ ไม่ได้สิ่งที่อยากทันอยาก จึงเกิดปฏิกิริยาขึ้นคือภพ หรือความมีชีวิตเป็นอยู่ในขณะนั้น ไม่เป็นที่น่าชื่นชม
ชีวิตขณะนั้น เป็นที่ขัดใจ ทนไม่ได้ อยากให้ดับสูญไปเสีย ความอยากให้ดับสูญจึงติดตามมา

แต่ทันทีนั้นเอง ความอยากได้ก็แสดงตัวออกมาอีก จึงกลัวว่าถ้าดับสูญไปเสีย ก็จะไม่ได้เสวยสุขเวทนาที่อยากได้ต่อไป ความอยากเป็นอยู่ จึงเกิดตามมาอีก

ในกรณีที่ ๒ ไม่ได้สิ่งที่อยาก หรือกรณีที่ ๓ ได้ไม่เต็มขีดที่อยาก ได้ไม่สมอยาก หรือกรณีที่ ๔ ได้แล้ว อยากได้อื่นต่อไป กระบวนการก็ดำเนินไปในแนวเดียวกัน

แต่กรณีที่นับว่าเป็นพื้นฐานที่สุดและครอบคลุมกรณีอื่นๆทั้งหมดก็คืออยากยิ่งๆขึ้นไป


เมื่อกำหนดจับลงที่ขณะใดก็ตาม จะปรากฏว่ามนุษย์กำลังแส่หาภาวะที่เป็นสุขกว่าขณะที่กำหนดนั้นเสมอไป

ปุถุชนจึงปัดหรือผละทิ้งจากขณะปัจจุบันทุกขณะ ขณะปัจจุบันแต่ละขณะ เป็นภาวะชีวิตที่ทนอยู่ไม่ได้ อยากให้ดับสูญหมดไปเสีย อยากให้ตนพ้นไป ไปหาภาวะที่สนองความอยากได้ต่อไป

ความอยากได้ อยากอยู่ อยากไม่อยู่ จึงหมุนเวียนอยู่ตลอดเวลาในชีวิตประจำวันของมนุษย์ปุถุชน แต่เป็นวงจรที่ละเอียดชนิดทุกขณะจิต อย่างที่แต่ละคนไม่รู้ตัวเลยว่า ชีวิตที่เป็นอยู่แต่ละขณะของตน ก็คือ

การดิ้นรนให้พ้นไปจากภาวะชีวิตในขณะเก่า และแส่หาสิ่งสนองความต้องการในภาวะชีวิตใหม่อยู่ทุกขณะนั่นเอง


เมื่อสืบสาวลึกลงไป ย่อมเห็นได้ว่า ตัณหาเหล่านี้ สืบเนื่องมาจากอวิชชานั่นเอง กล่าวคือ

เพราะไม่รู้สิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็น ไม่รู้จักมันในฐานะกระบวนการแห่งเหตุปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อเนื่องกัน จึงเกิดความเห็นผิดพื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องตัวตนขึ้นมาในรูปใดรูปหนึ่ง คือ เห็นว่าสิ่งทั้งหลายมีตัวมีตนเป็นชิ้นเป็นอัน เป็นแน่นอนตายตัว ซึ่งจะยั่งยืนอยู่ได้ หรือไม่ก็เห็นว่าสิ่งทั้งหลายแตกดับสิ้นสลายตัวหมดไปได้เป็นสิ่งๆ เป็นชิ้นๆ เป็นอันๆไป


มนุษย์ปุถุชนทุกคน มีความเห็นผิดในรูปละเอียดอยู่ในตัวทั้งสองอย่าง จึงมีตัณหา ๓ อย่างนั้น คือ เพราะเข้าใจมืดมัวอยู่ในจิตส่วนลึกว่า

สิ่งทั้งหลายมีตัวตนยิ่งยืนแน่นอนเป็นชิ้นเป็นอัน จึงเกิดความอยาก ในความเป็นอยู่ หรือภวตัณหาได้ และในอีกด้านหนึ่ง

ด้วยความไม่รู้ไม่แน่ใจ ก็เข้าใจไปได้อีกแนวหนึ่งว่า สิ่งทั้งหลายเป็นตัวเป็นตน เป็นชิ้นเป็นอันแต่ละส่วนละส่วนไป มันสูญสิ้นหมดไป ขาดหายไปได้ จึงเกิดความอยากในความไม่เป็นอยู่ หรือ วิภวตัณหาได้


ความเห็นผิดทั้งสองนี้ สัมพันธ์กับตัณหาในรูปของการเปิดโอกาสหรือช่องทางให้

ถ้ารู้เข้าใจเห็นเสียแล้วว่า สิ่งทั้งหลายเป็นกระแส เป็นกระบวนแห่งเหตุปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อเนื่องกัน ก็ย่อมไม่มีตัวตนที่จะยั่งยืนตายตัวเป็นชิ้นเป็นอันได้ และก็ย่อมไม่มีตัวตนเป็นเป็นอันที่จะหายจะขาดสูญไปได้ ภวตัณหาและวิภวตัณหาก็ไม่มีฐานที่ก่อตัวได้

ส่วนกามตัณหานั้น ก็ย่อมสืบเนื่องมาจากความเห็นผิดทั้งสองนั้นด้วย เพราะกลัวว่าตัวตนหรือสุขเวทนาก็ตามจะขาดสูญ สิ้นหายหมดไปเสีย จึงดิ้นรนไขว่คว้า กระทำย้ำให้หนักแน่นให้มั่นคงอยู่ให้ได้

ในรูปหยาบ ตัณหาแสดงอาการออกมาเป็นการดิ้นรนแส่หาสิ่งสนองความต้องการต่างๆ การแส่หาภาวะชีวิตที่ให้สิ่งสนองความต้องการเหล่านั้น ความเบื่อหน่ายสิ่งที่มีแล้ว ได้แล้ว เป็นแล้ว ความหมดอาลัยตายอยาก ทนอยู่ไม่ได้โดยไม่มีสิ่งสนองความต้องการใหม่ๆเรื่อยๆไป

ภาพที่เห็นได้ชัดก็คือ มนุษย์ที่เป็นตัวของเองไม่ได้ ถ้าปราศจากสิ่งสนองความต้องการทางประสาททั้ง ๕ แล้ว ก็มีแต่ความเบื่อหน่ายว้าเหว่ทนไม่ไหว ต้องเที่ยวดิ้นรนไขว่คว้าสิ่งสนองความต้องการใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา เพื่อหนีจากภาวะเบื่อหน่ายตัวเอง

ถ้าขาดสิ่งสนองความต้องการ หรือไม่ได้ตามที่ต้องการเมื่อใด ก็ผิดหวัง หมออาลัยตายอยาก เบื่อตัวเอง ชังตัวเอง ความสุขความทุกข์จึงขึ้นต่อปัจจัยภายนอกอย่างเดียว

เวลาว่างจึงกลับเป็นโทษเป็นภัยแก่มนุษย์ได้ทั้งส่วนบุคคลและสังคม


ความเบื่อหน่าย ความซึมเศร้า ความว้าเหว่ ความไม่พอใจ จึงมีมากขึ้น ทั้งที่มีสิ่งสนองความต้องการมากขึ้น และการแสวงหาความปรนปรือทางประสาทสัมผัสต่างๆ จึงหยาบและร้อนแรงยิ่งขึ้น

การติดสิ่งเสพติดต่างๆ ก็ดี การใช้เวลาว่างทำความผิดความชั่วของเด็กวัยรุ่น ก็ดี ถ้าสืบค้นลงไปในจิตใจอย่างลึกซึ้งแล้ว จะเห็นว่าสาเหตุสำคัญ ก็คือ ความทนอยู่ไม่ได้ ความเบื่อหน่ายจะหนีไปให้พ้นจากภพที่เขาเกิดอยู่ในขณะนั้นนั่นเอง

ในกรณีที่มีการศึกษาอบรม การได้รับคำแนะนำสั่งสอนทางศาสนา การมีความเชื่อถือในทางที่ถูกต้อง การยึดถือในอุดมคติที่ดีงามต่างๆ (ในข้ออวิชชา) ตัณหาย่อมถูกชักจูงมาใช้ในทางที่ดีได้ จึงมีการทำดีเพื่อจะได้เป็นคนดี
การขยันหมั่นเพียร เพื่อผลที่หมายระยะยาว
การบำเพ็ญประโยชน์เพื่อเกียรติคุณหรือเพื่อไปเกิดในสวรรค์
การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ตลอดจนการอาศัยตัณหาเพื่อละตัณหาก็ได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ย. 2016, 16:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่ออุปาทาน 4

viewtopic.php?f=1&t=53381

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 90 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร