วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 23:05  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 33 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ต.ค. 2016, 15:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านอโศก นำการสนทนาระหว่างพระคุณเจ้าสองรูป...ชื่อหัวข้อ สัญญากับปัญญาที่นี่

viewtopic.php?f=1&t=53281

กท.นี้ขอนำหน้าที่ระหว่างสัญญากับปัญญาลงให้ศึกษาดู :b1:

อันที่จริง ทั้งสัญญาทั้งปัญญาต่างก็เป็นธรรมชาติ (นามธรรม) ชนิดหนึ่งซึ่งอยู่ในตัวมนุษย์เอง ถ้าจัดเป็นขันธ์ สัญญาเป็นสัญญาขันธ์ ปัญญาอยู่ฝ่ายสังขารขันธ์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ต.ค. 2016, 15:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สัญญา (Perception) ได้แก่ ความกำหนดได้ หรือหมายรู้ คือ กำหนดรู้อาการเครื่องหมายลักษณะต่างๆ อันเป็นเหตุให้จำอารมณ์ (object) นั้นๆได้

........

* คัมภีร์ชั้นอรรถกถา แสดงลักษณะหน้าที่เป็นต้น ของสัญญาไว้ว่า สัญญา มีลักษณะจำเพาะคือสัญชานน์ (จำได้, รู้จัก) มีหน้าที่ทำเครื่องหมายไว้เป็นปัจจัยแห่งการจำได้ (หรือ รู้จัก) ต่อไปว่า "นั่นคือสิ่งนั้น" เหมือนดังช่างไม้ เป็นต้น ทำเครื่องหมายไว้ที่วัสดุมีตัวไม้เป็นอาทิ
มีผลปรากฏ คือ เกิดความยึดถือไปตามเครื่องหมายที่กำหนดเอาไว้ เหมือนพวกคนตาบอดคลำช้าง ยึดถือไปตามเครื่องหมายที่ตนจับได้ (ว่าช้างเป็นอย่างนั้นๆ)
มีปทัฏฐาน คือ อารมณ์ตามที่ปรากฏ เหมือนลูกเนื้อเห็นหุ่นคนที่ผูกด้วยมัดหญ้า สำคัญหมายว่าเป็นคนจริงๆ (วิสุทธิมัคค์ 3/35)
ถ้าเทียบกับหลักจิตวิทยาฝ่ายตะวันตก สัญญาจะครอบคลุมเรื่อง perception, conception และ recognition (แต่ไม่ใช่ memory ทั้งหมด)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ต.ค. 2016, 15:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สัญญา เป็นความรู้จำพวกหนึ่ง หมายถึง การหมายรู้ หรือกำหนดรู้อาการของอารมณ์ เช่น ลักษณะทรวดทรง สี สัณฐาน ฯลฯ ตลอดจนชื่อเรียกและสมมติบัญญัติต่างๆ ว่า เขียว ขาว ดำ แดง ดัง เบา ทุ้ม แหลม อ้วน ผอม โต๊ะ ปากกา หมู หมา ปลา แมว คน เขา เรา ท่าน เป็นต้น

การหมายรู้หรือกำหนดรู้นี้ อาศัยการเทียบเคียงระหว่างประสบการณ์หรือความรู้เก่า กับ ประสบการณ์หรือความรู้ใหม่

ถ้าประสบการณ์ใหม่ตรงกับประสบการณ์เก่า เช่น พบเห็นคนหรือสิ่งของที่เคยรู้จักแล้ว ได้ยินเสียงที่เคยได้ยินแล้ว

ดังตัวอย่าง

นาย ก. รู้จักนาย เขียว ต่อมาอีกเดือนหนึ่ง นาย ก. เห็นนายเขียวอีก และรู้ว่าคนที่เขาเห็นนั้นคือนายเขียว อย่างนี้เรียกว่า “จำได้”

ถ้าประสบการณ์ใหม่ไม่ตรงกับประสบการณ์เก่า เราย่อมนำเอาประสบการณ์ หรือความรู้เก่าที่มีอยู่แล้วนั่นเอง มาเทียบเคียงว่าเหมือนกัน และไม่เหมือนในส่วนไหน อย่างไร แล้วหมายรู้สิ่งนั้นตามคำบอกเล่า หรือตามที่ตนกำหนดเอาว่า เป็นนั่น เป็นนี่ ไม่ใช่นั่น ไม่ใช่นี่ อย่างนี้ เรียกว่า “กำหนดหมาย” หรือ “หมายรู้”

การหมายรู้เช่นนี้ ย่อมมีหลายชั้น หมายรู้ไปตามความตกลงอันเนื่องด้วยความรู้สามัญบ้าง เช่น ว่า เขียว ขาว เหลือง แดง เป็นต้น ตามนิยมของโลก ของสังคม ของวัฒนธรรม ประเพณี เป็นต้น บ้าง เช่นว่า

อย่างนี้สุภาพ อย่างนั้นสวยงาม อย่างนั้นถูกธรรมเนียม อย่างนี้ผิดธรรมเนียม เป็นต้น ตามนิยมปรุงแต่งจำเพาะตนบ้าง เช่นว่า อย่างนี้สวย อย่างนั้นน่าชม อย่างนี้น่าหมั่นไส้ เป็นต้น

หมายรู้สองชั้น (แบบสัญลักษณ์) บ้าง เช่นว่า สีเขียวแดงหมายถึงมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง เสียงระฆังสองครั้งหมายถึงการกินอาหาร

ตลอดจนตามการศึกษาอบรม ในทางธรรม เช่น หมายรู้ในภาวะที่ไม่เที่ยง หมายรู้ในภาวะที่เป็นอนัตตา เป็นต้น มีทั้งความหมายรู้สามัญและความหมายรู้ที่ละเอียดซับซ้อน (คือสัมพันธ์กับขันธ์อื่นมากขึ้น) มีทั้งหมายรู้เกี่ยวกับรูปธรรม และหมายรู้เกี่ยวกับนามธรรม

คำแปล สัญญาว่า จำได้ กำหนดได้ หมายรู้ กำหนดหมาย จำหมาย สำคัญหมาย ล้วนแสดงแง่ต่างๆ แห่งความหมายของกองสัญญานี้ทั้งสิ้น

พูดเพื่อให้เข้าใจอย่างง่ายๆ สัญญาก็คือกระบวนการเรียกเก็บ รวบรวม และสั่งสมข้อมูลของการเรียนรู้ และวัตถุดิบสำหรับความคิดนั่นเอง


สัญญา เกื้อกูลแก่การดำเนินชีวิตของมนุษย์อย่างมาก แต่ในเวลาเดียวกัน ก็มีโทษมิใช่น้อย เพราะมนุษย์จะยึดติดตามสัญญา ทำให้สัญญากลายเป็นเครื่องกีดกั้นกำบังตนเอง และห่อหุ้มคลุมตัวสภาวะไว้ ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงความจริงแท้ที่อยู่ลึกลงไป

สัญญา แยกออกคร่าวๆ เป็น ๒ ระดับ คือสัญญาอย่างสามัญ ซึ่งกำหนดหมายอาการของอารมณ์ที่เกิดขึ้นหรือเป็นไปอยู่ตามปกติธรรมดาของมัน อย่างหนึ่ง
และ
สัญญาสืบทอด หรือสัญญาอย่างซับซ้อน ที่บางคราวก็ใช้คำเรียกให้ต่างออกไป เฉพาะอย่างยิ่ง "ปปัญจสัญญา" อันหมายถึงสัญญาเนื่องด้วยอารมณ์ที่คิดปรุงแต่งขึ้นให้ซับซ้อนพิสดาร ด้วยแรงผลักดันของตัณหา มานะ และทิฏฐิ ซึ่งเป็นสังขารชั้นนำฝ่ายร้าย อีกอย่างหนึ่ง

การแยกเช่นนี้ จะช่วยให้มองเห็นความหมายของสัญญาที่กำลังแสดงบทบาทอยู่ พร้อมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างสัญญากับขันธ์อื่นภายในกระบวนธรรมได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ต.ค. 2016, 07:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญญา * แปลกันว่า ความรอบรู้ เติมเข้าไปอีกว่า ความรู้ทั่ว ความรู้ชัด คือ รู้ทั่วถึงความจริงหรือรู้ตรงตามความเป็นจริง ท่านอธิบายขยายความกันออกไปต่างๆ เช่นว่า รู้เหตุรู้ผล รู้ดีรู้ชั่ว รู้ถูกรู้ผิด รู้ควรไม่ควร รู้คุณรู้โทษ รู้ประโยชน์มิใช่ประโยชน์ รู้เท่าทันสังขาร รู้องค์ประกอบ รู้เหตุปัจจัย รู้ที่ไปที่มา รู้ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งทั้งหลาย รู้ตามความเป็นจริง รู้ถ่องแท้ เข้าใจถ่องแท้ รู้เข้าใจสภาวะ รู้คิด รู้พินิจพิจารณา รู้วินิจฉัย รู้ที่จะจัดแจงจัดการหรือดำเนินการอย่างไรๆ

แปลกันอย่างง่ายๆ พื้นๆ ปัญญา คือความเข้าใจ (หมายถึงเข้าใจถูก เข้าใจชัด หรือเข้าใจถ่องแท้) เป็นการมองทะลุสภาวะหรือมองทะลุปัญหา ปัญญาช่วยเสริมสัญญาและวิญญาณ ช่วยขยายขอบเขตของวิญญาณให้กว้างขวางออกไปและลึกซึ้งยิ่งขึ้น ส่องทางให้สัญญามี สิ่งกำหนดหมายรวมเก็บได้มากขึ้น เพราะเมื่อเข้าใจเพียงใด ก็รับรู้และกำหนดหมายในวิสัยแห่งความเข้าใจเพียงนั้น เหมือนคิดโจทย์เลขคณิตข้อหนึ่ง เมื่อยังคิดไม่ออก ก็ไม่มีอะไรให้รับรู้และกำหนดหมายต่อไปได้ ต่อเมื่อเข้าใจ คิดแก้ปัญหาได้แล้ว ก็มีเรื่องให้รับรู้ และกำหนดหมายต่อไปอีก

ปัญญา ที่เป็นตัวความรู้ในสังขารขันธ์นั้น เป็นสิ่งที่จะต้องทำให้เกิดให้มีขึ้น ต้องฝึกปรือ ทำให้เจริญเพิ่มพูนขึ้นไปโดยลำดับ ปัญญาเป็นคำกลางจึงมีหลายขั้นหลายระดับ เช่น ที่แบ่งเป็นโลกิยปัญญา โลกุตรปัญญา เป็นต้น และมีชื่อเรียกต่างๆ ตามขั้นของความเจริญบ้าง ตามทางเกิดของปัญญานั้นบ้าง ตามลักษณะเฉพาะของปัญญาชนิดนั้นบ้าง

จะขอยกชื่อของปัญญามาให้ดูเป็นตัวอย่าง เช่น วิปัสสนา ปริญญา ญาณ วิชชา สัมปชัญญะ ปฏิสัมภิทา อัญญา อภิญญา พุทธิ โพธิ สัมโพธิ เป็นต้น


ปัญญาตรงข้ามกับโมหะ ซึ่งแปลว่า ความหลง ความไม่รู้ ความเข้าใจผิด

……

ปัญญา มักแปลกันว่า wisdom หรือ understanding

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ต.ค. 2016, 07:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สัญญา โดยทั่วไปเป็นปริญไญยธรรม คือ เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้หรือทำความรู้จักเท่านั้น แต่สัญญาเจือกิเลสหรือปปัญจสัญญา เป็นปหาตัพพธรรม คือ เป็นสิ่งที่ควรละหรือกำจัดให้สิ้นไป ส่วนสัญญาที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนาความรู้ และส่งเสริมกุศลธรรม เป็นภาเวตัพพธรรม คือ สิ่งที่ควรเจริญ ควรทำให้เกิดให้มี และให้เพิ่มพูนขึ้นจนใช้ประโยชน์ได้บริบูรณ์

ส่วนปัญญา เป็นภาเวตัพพธรรม คือ เป็นสิ่งที่ควรฝึกอบรม ทำให้เกิดให้มี และให้เจริญยิ่งขึ้นไป จนทำลายโมหะหรืออวิชชาได้โดยสิ้นเชิง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ต.ค. 2016, 08:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คำว่า “ปปัญจสัญญา” หมายถึง อาการที่คลอเคลียพัวพัน อยู่กับอารมณ์นั้น และคิดปรุงแต่งไปต่างๆด้วยแรงตัณหา มานะ และทิฏฐิผลักดัน หรือเพื่อสนองตัณหา มานะ และทิฏฐิ คือปรุงแต่งในแง่ที่จะเป็นของฉัน ให้ตัวฉันเป็นนั่นเป็นนี่ หรือเป็นไปตามความเห็นของฉัน ออกรูปออกร่างต่างๆ มากมายพิสดาร จึงทำให้เกิดปปัญจสัญญาแง่ต่างๆ คือสัญญาทั้งหลายที่เนื่องด้วยปปัญจะนั่นเอง

คำว่า "อารมณ์" หมายถึงสิ่งที่จิตรับรู้ หรือสิ่งที่ถูกรับรู้ โดยอาศัยทวารทั้ง ๖ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ (ความนึกคิดต่างๆ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ต.ค. 2016, 08:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลงหน้าที่ของสภาวะซึ่งเป็นชื่อ กท.นี้อีกหน่อย

........

ความรู้ เป็นนามธรรมจำพวกหนึ่ง ซึ่งกระจายอยู่ในนามขันธ์ (ขันธ์ที่เป็นนามธรรมหรือ หมวดนามธรรม) ๓ ขันธ์ คือ สัญญาขันธ์ (สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์) ความรู้ที่จำแนกตามสภาวะของขันธ์ ได้แก่ สัญญา วิญญาณ และปัญญา


สัญญา คือ ความรู้ทั้งหมดที่อยู่ในสัญญาขันธ์ ได้แก่ ความกำหนดได้ หมายรู้ รวมทั้งความรู้ที่เกิดจากการกำหนดหมาย หรือหมายรู้แล้วบันทึกเก็บรวมไว้เป็นวัตถุดิบของความคิดต่อๆไป ทำให้มีการรู้จัก จำได้ รู้ เข้าใจ และคิดได้ยิ่งๆขึ้นไป


สัญญา แบ่งตามอารมณ์ คือ สิ่งที่หมายรู้ หรือ กำหนดจดหมายไว้ มี ๖ ชนิด คือ

รูปสัญญา (สัญญาเกี่ยวกับรูป)

สัททสัญญา (สัญญาเกี่ยวกับเสียง)

คันธสัญญา (สัญญาเกี่ยวกับกลิ่น)

รสสัญญา (สัญญาเกี่ยวกับรส)

โผฏฐัพพสัญญา (สัญญาเกี่ยวกับสิ่งต้องกาย)

ธัมมสัญญา (สัญญาเกี่ยวกับเรื่องในใจ หรือสิ่งที่ใจรู้ และนึกคิด)


ว่าโดยสภาพปรุงแต่ง สัญญาอาจแบ่งคร่าวๆได้ ๒ ระดับ คือ


๑) สัญญาขั้นต้น ได้แก่ ความหมายรู้ลักษณะอาการตามสภาวะของสิ่งนั้นๆ โดยตรง เช่น หมายรู้ สีเขียว ขาว ดำ แดง แข็ง อ่อน รสเปรี้ยว หวาน รูปร่างกลม แบน ยาว สั้น เป็นต้น * รวมทั้งความหมายรู้เกี่ยวกับบัญญัติต่างๆว่า แมว ว่าโต๊ะ ว่าเก้าอี้ ฯลฯ


๒) สัญญาซ้อนเสริม ได้แก่ ความหมายรู้ไปตามความคิดปรุงแต่ง หรือตามความรู้ความเข้าใจในระดับต่างๆ เช่น หมายรู้ว่า สวย ว่าน่าเกลียด น่าชัง ว่าไม่เที่ยง ว่าไม่ใช่ตัวตน เป็นต้น ถ้าแยกย่อยออกไป สัญญาซ้อนเสริม หรือสัญญาสืบทอดนี้ ก็แบ่งได้เป็น ๒ พวกคือ


- สัญญา ซึ่งเกิดจากความคิดปรุงแต่งที่เป็นอกุศล เรียกปปัญจสัญญา คือสัญญาฟ่ามเฝือ หรือสัญญาซับซ้อนหลากหลาย ซึ่งเกิดจากการแต่งเสริมเติมต่อให้พิสดาร ของตัณหา มานะ และทิฏฐิ

เรียกอีกอย่างหนึ่ง ตามสำนวนอรรถกถาบางแห่งว่า กิเลสสัญญา แปลว่า สัญญาที่เกิดจากกิเลส หรือสัญญาที่ประกอบด้วยกิเลส (สัญญาเจือกิเลส)

สัญญาพวกนี้ถูกกิเลสปรุงแต่งให้ฟั่นเฝือ และห่างเหเฉไฉออกไปจากทางแห่งความรู้ ไม่เป็นเรื่องของความรู้ แต่เป็นเรื่องของการที่จะให้เกิดโลภะ โทสะ โมหะ แทนที่จะช่วยให้เกิดความรู้ กลับเป็นเครื่องปิดกั้นบิดเบือนความรู้ ดังได้เคยอธิบายแล้วข้างต้น

ยกตัวอย่าง เช่น หมายรู้ลักษณะที่ตนถือว่าน่าชัง หมายรู้ลักษณะอาการที่สนองความอยากได้อยากเอา หมายรู้ลักษณะอาการที่ตนเป็นคนยิ่งใหญ่ หมายรู้ลักษณะอาการในผู้อื่นที่ตนถือว่าต่ำต้อยด้อยกว่า หมายรู้ภาวะที่ตนเป็นเจ้าของ เป็นผู้ครอบครอง ฯลฯ


- สัญญา ที่เกิดจากความคิดดีงาม หรือเกิดจากความรู้ความเข้าใจถูกต้อง เรียกว่า กุศลสัญญาบ้าง วิชชาภาคิยสัญญา (สัญญาที่ช่วยให้เกิดวิชชา) บ้าง หรือเรียกชื่ออื่นๆในทำนองนี้บ้าง

เป็นสัญญาที่ช่วยส่งเสริมความเจริญปัญญา และความงอกงามแห่งกุสลธรรม เช่น หมายรู้ลักษณะอาการที่ชวนให้เกิดความเป็นมิตร หมายรู้ลักษณะอาการซึ่งแสดงภาวะที่เป็นไปตามเหตุปัจจัย ภาวะที่เป็นของไม่เที่ยง ภาวะที่ไร้ตัวตน เป็นต้น


พระอรหันต์ก็มีสัญญา แต่เป็นสัญญาที่ปราศจากอาสวะ คือสัญญาไร้กิเลส (ดู ม.อุ.14/341/232) พระอรหันต์ก็หมายรู้ปปัญจสัญญาตามที่ปุถุชนเข้าใจ หรือตามที่ท่านเองเคยเข้าใจเมื่อครั้งยังเป็นปุถุชน แต่ท่านหมายรู้เพียงเพื่อเป็นความรู้ เพื่อใช้ประโยชน์ เช่นในการช่วยแก้ไขปัญหาของผู้อื่น ไม่หมายรู้ในแง่ที่จะมีตัวตนออกรับความกระทบ แม้ผู้ปฏิบัติธรรมก็พึงดำเนินตามแนวทางเช่นนั้น

…..

ที่อ้างอิง *

* เรียกว่า ปัญจทวาริกสัญญา แปลว่า สัญญาที่เป็นไปทางปัญจทวาร คือ ความหมายรู้เกี่ยวกับ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ สัญญาอื่นๆต่อจากนี้ไป เป็นสัญญาทางมโนทวารทั้งหมด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ต.ค. 2016, 09:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รอให้เช่นนั้น กับ กบนอกกะลามาค้านหน่อย ถ้าไม่มา จะตัดที่ท่านอโศกโพสต์นั่นมาลงให้ถกเถียงกันที่ กท.นี้อีก :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2016, 07:51 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


s004
บอกเทคนิควิธีการลบสัญญามาให้ฟังหน่อย กรัชกาย นักวิชาการใหญ่ จะไปค้นไปหาในตำราเล่มไหนมาอ้างอิงให้เห็นจริงและน่าเชื่อถือด้วยก็ได้
ครับ
s006


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2016, 11:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
s004
บอกเทคนิควิธีการลบสัญญามาให้ฟังหน่อย กรัชกาย นักวิชาการใหญ่ จะไปค้นไปหาในตำราเล่มไหนมาอ้างอิงให้เห็นจริงและน่าเชื่อถือด้วยก็ได้
ครับ


อ้างคำพูด:
บอกเทคนิควิธีการลบสัญญามาให้ฟังหน่อย กรัชกาย นักวิชาการใหญ่


"ลบสัญญา" ลบ (หน่วย) ความจำเนี่ยน่ะ โอ่โอ้ปักษ์ใต้บ้านเรา :b1:

ท่านอโศกจะลบความจำทำไมขอรับ อยากเออเร่อหรา ? :b32:

อยากเป็นคนความจำเสื่อมหรอยังไง ?

อยากเป็นคนจำบ้านเลขที่ไม่ได้หรอ?

อยากเป็นคนกินแล้วบอกยังไม่ได้กินยังงั้นหรอ ?

อี้เต็มโกงเกงก็จำมิได้ว่าอี้ของใครยังงั้นหรือขอรับ ? :b32:

คิดแบบนี้ไม่ใครเขาเอาด้วยหรอกอ่ะ ลูกหลานรังเกียจเอาเปล่าๆ เมีย-ผัวทิ้งกัน มีตังพอว่า ไม่ตัง นอนจมกองมูตรกองคูถอยู่คนเดียว ทำเป็นเล่นไป :b13:

ข้อสังเกต. ท่านอโศกพูดแบบนี้แสดงว่าอ่านหนังสือไม่เป็น จับประเด็นไม่ได้ :b1: เด๋วก็ฟาดๆด้วยไม้หน้าสาม :b13:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ต.ค. 2016, 10:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:
s004
บอกเทคนิควิธีการลบสัญญามาให้ฟังหน่อย กรัชกาย นักวิชาการใหญ่ จะไปค้นไปหาในตำราเล่มไหนมาอ้างอิงให้เห็นจริงและน่าเชื่อถือด้วยก็ได้
ครับ


อ้างคำพูด:
บอกเทคนิควิธีการลบสัญญามาให้ฟังหน่อย กรัชกาย นักวิชาการใหญ่


"ลบสัญญา" ลบ (หน่วย) ความจำเนี่ยน่ะ โอ่โอ้ปักษ์ใต้บ้านเรา :b1:

ท่านอโศกจะลบความจำทำไมขอรับ อยากเออเร่อหรา ? :b32:

อยากเป็นคนความจำเสื่อมหรอยังไง ?

อยากเป็นคนจำบ้านเลขที่ไม่ได้หรอ?

อยากเป็นคนกินแล้วบอกยังไม่ได้กินยังงั้นหรอ ?

อี้เต็มโกงเกงก็จำมิได้ว่าอี้ของใครยังงั้นหรือขอรับ ? :b32:

คิดแบบนี้ไม่ใครเขาเอาด้วยหรอกอ่ะ ลูกหลานรังเกียจเอาเปล่าๆ เมีย-ผัวทิ้งกัน มีตังพอว่า ไม่ตัง นอนจมกองมูตรกองคูถอยู่คนเดียว ทำเป็นเล่นไป :b13:

ข้อสังเกต. ท่านอโศกพูดแบบนี้แสดงว่าอ่านหนังสือไม่เป็น จับประเด็นไม่ได้ :b1: เด๋วก็ฟาดๆด้วยไม้หน้าสาม :b13:

Kiss
:b32: ตลกบริโภคอโศกะเลย :b32:
อ้างคำพูด:
อ้างคำพูด:
บอกเทคนิควิธีการลบสัญญามาให้ฟังหน่อย กรัชกาย นักวิชาการใหญ่


พระพุทธเจ้าสอนว่าจิตเกิดดับสืบต่อไม่ขาดสายเป็นจิต+เจตสิก+รูปสะสมในจิต
เก่งขนาดจะลบสัญญาเจตสิกเกินคำสอนไปหน่อยละมั๊งแล้วก็ที่แน่นอนที่สุดคือ
สัญญาเจตสิกชอบจำว่าเป็นตัวตน555 ลบตัวตนออกได้ไหมถ้ามีมิจฉาทิฏฐิ
ทุกอย่างที่มีเกิดแล้วและดับสะสมในจิตไม่มีใครลบกิเลสความไม่รู้ออกได้
นอกจากทำความเห็นให้ตรงคำสอนแล้วความรู้ที่เพิ่มจะค่อยละไม่รู้น๊า
อยู่เฉยจะให้รู้ขึ้นมาเองไม่มีทางเป็นไปได้เพราะทรงสอนให้รู้จริงๆ
ว่าทุกอย่างเป็นธัมมะที่เกิด-ดับตามเหตุตามปัจจัยกำลังมีและ
กำลังเกิดดับเป็นทุกขณะในชีวิตประจำวันคือเดี๋ยวนี้ที่ไม่รู้
จะรู้ได้เมื่อเริ่มไตร่ตรองตามคำของพระองค์เท่านั้น
คิดเองไม่ชื่อว่าเป็นสาวกเพราะสาวกคือฟังแล้ว
ไตร่ตรองตามความจริงจนเกิดสติปัญญา
สติปัญญาที่เกิดกับสัญญาจึงสะสมถูก
จึงปรุงแต่งเป็นกุศลสะสมในจิต
เป็นความเห็นถูกตามคำสอน
เป็นสัมมาทิฏฐิคือมรรค
เพราะพุทธะคือผู้รู้
สติระลึกได้ตรง
ปัญญาเข้าใจ
สัญญาจำถูก
ที่1ขณะจิต
ทีละ1ทาง
ที่จิตสะสม
ต้องรู้ชัดน๊า
เพราะแต่ละ1ขณะจิตที่สะสมรู้ผ่านอินทรีย์5ค่ะ
รู้เป็นธาตุสี่ขันธ์5ผ่านอายตนะ6ตรงๆทีละทาง
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ต.ค. 2016, 02:28 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b38:
มีสัญญาอะไรผุดขึ้นมาในจิต ให้นิ่งรู้นิ่งสังเกตจนมันดับไป สัญญาความจำนั้นดับไป วันข้างหน้าสัญญานั้นๆจะไม่เกิด ไม่ลุกขึ้นมากวนอีก นี่คือวิธีลบสัญญาอย่างง่ายๆ

อารมณ์ ความรู้สึกต่างๆก็เช่นกัน ใช้วิธีเดียวกัน

อนุสัยต่างๆ ก็ใช้วิธีเดียวกัน

อาสวะต่างๆ ก็ใช้วิธีเดียวกัน

โอฆะต่างๆ ก็ใช้วิธีเดียวกัน

การกระทำบ่อยๆ....ความเคยชิน....นิสัย....อุปนิสัย....
สันดาน......สัญชาตญาณ ก็ใช้วิธีเดียวกันขุดถอน

วิธีที่บอก กับวิปัสสนาภาวนาหรือการเจริญมรรค 8 เป็นอันเดียวกัน

ลองทำดู พิสูจน์ดูแล้วจะรู้เองนะกรัชกาย.....รสริน


"นิ่งรู้นิ่งสังเกตจนมันดับไป"

onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ต.ค. 2016, 06:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b38:
มีสัญญาอะไรผุดขึ้นมาในจิต ให้นิ่งรู้นิ่งสังเกตจนมันดับไป สัญญาความจำนั้นดับไป วันข้างหน้าสัญญานั้นๆจะไม่เกิด ไม่ลุกขึ้นมากวนอีก นี่คือวิธีลบสัญญาอย่างง่ายๆ

อารมณ์ ความรู้สึกต่างๆก็เช่นกัน ใช้วิธีเดียวกัน

อนุสัยต่างๆ ก็ใช้วิธีเดียวกัน

อาสวะต่างๆ ก็ใช้วิธีเดียวกัน

โอฆะต่างๆ ก็ใช้วิธีเดียวกัน

การกระทำบ่อยๆ....ความเคยชิน....นิสัย....อุปนิสัย....
สันดาน......สัญชาตญาณ ก็ใช้วิธีเดียวกันขุดถอน

วิธีที่บอก กับวิปัสสนาภาวนาหรือการเจริญมรรค 8 เป็นอันเดียวกัน

ลองทำดู พิสูจน์ดูแล้วจะรู้เองนะกรัชกาย.....รสริน

"นิ่งรู้นิ่งสังเกตจนมันดับไป"


ท่องเอานี่ๆนั่นๆนิ่งรู้นิ่งสังเกตจนมันดับไปต่อหน้าต่อตาได้ยังไง ก็ขณะนั้น จิตมันเจ็บปวดรวดร้าวทุกข์ระทมตรมใจ จนขมิบก้นเนี่ย คิกๆๆ ท่านอโศกดูตัวอย่าง



ขณะสวดมนต์แล้วได้เอนตัวลงนอนอย่างมีสติ...ได้บริกรรมพอง กับ ยุบ ไปเรื่อย ๆ ไม่ได้คิดอะไร...จนหลับไปไม่รู้ตัว...ระยะหนึ่ง...จิตได้เกิดกลางดึก คือ มีสติรู้ขึ้นมาทันทีของการพองยุบของท้อง และรู้สึกว่ามีนิ้วมือมากดที่สะดือแรงมาก เวลาที่พองออก ท้องก็จะพองออกมาก มือที่กดก็จะแรงไปตามการพองและยุบ จนรู้สึกกลัวมากเหมือนไส้จะหลุดออกมา.. แต่ผมก็พยายามดึงสติให้อยู่กับคำบริกรรมพอง ยุบอีก แต่พยายามแล้วจิตก็ทนไม่ได้ จิตสั่นไปหมดเหมือนท้องจะแตก จิตคิดตอนนั้นครับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ต.ค. 2016, 07:25 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว




1477771005854.jpg
1477771005854.jpg [ 39.41 KiB | เปิดดู 2476 ครั้ง ]
กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:
:b38:
มีสัญญาอะไรผุดขึ้นมาในจิต ให้นิ่งรู้นิ่งสังเกตจนมันดับไป สัญญาความจำนั้นดับไป วันข้างหน้าสัญญานั้นๆจะไม่เกิด ไม่ลุกขึ้นมากวนอีก นี่คือวิธีลบสัญญาอย่างง่ายๆ

อารมณ์ ความรู้สึกต่างๆก็เช่นกัน ใช้วิธีเดียวกัน

อนุสัยต่างๆ ก็ใช้วิธีเดียวกัน

อาสวะต่างๆ ก็ใช้วิธีเดียวกัน

โอฆะต่างๆ ก็ใช้วิธีเดียวกัน

การกระทำบ่อยๆ....ความเคยชิน....นิสัย....อุปนิสัย....
สันดาน......สัญชาตญาณ ก็ใช้วิธีเดียวกันขุดถอน

วิธีที่บอก กับวิปัสสนาภาวนาหรือการเจริญมรรค 8 เป็นอันเดียวกัน

ลองทำดู พิสูจน์ดูแล้วจะรู้เองนะกรัชกาย.....รสริน

"นิ่งรู้นิ่งสังเกตจนมันดับไป"


ท่องเอานี่ๆนั่นๆนิ่งรู้นิ่งสังเกตจนมันดับไปต่อหน้าต่อตาได้ยังไง ก็ขณะนั้น จิตมันเจ็บปวดรวดร้าวทุกข์ระทมตรมใจ จนขมิบก้นเนี่ย คิกๆๆ ท่านอโศกดูตัวอย่าง



ขณะสวดมนต์แล้วได้เอนตัวลงนอนอย่างมีสติ...ได้บริกรรมพอง กับ ยุบ ไปเรื่อย ๆ ไม่ได้คิดอะไร...จนหลับไปไม่รู้ตัว...ระยะหนึ่ง...จิตได้เกิดกลางดึก คือ มีสติรู้ขึ้นมาทันทีของการพองยุบของท้อง และรู้สึกว่ามีนิ้วมือมากดที่สะดือแรงมาก เวลาที่พองออก ท้องก็จะพองออกมาก มือที่กดก็จะแรงไปตามการพองและยุบ จนรู้สึกกลัวมากเหมือนไส้จะหลุดออกมา.. แต่ผมก็พยายามดึงสติให้อยู่กับคำบริกรรมพอง ยุบอีก แต่พยายามแล้วจิตก็ทนไม่ได้ จิตสั่นไปหมดเหมือนท้องจะแตก จิตคิดตอนนั้นครับ

:b7:
นี่แหละลักษณะคนทำวิปัสสนาภาวนาไม่เป็นทั้งลูกศิษย์และครูผู้สอนที่เที่ยวเอาปัญหาไปโพสต์ถามลองภูมิผู้อื่นไปทั่ว

onion
เจ็บ ก็รู้ว่าเจ็บ
ปวดรวดร้าว ก็รู้ว่าปวดรวดร้าว
ทุกข์ระทมตรมใจ ก็รู้ว่าทุกข์ระทมตรมใจ
ขมิบก้น ก็รู้ว่าขมิบก้น

อะไรมันจะเกิดขึ้นมาเป็นปัจจุบันอารมณ์ ก็จงนิ่งรู้นิ่งสังเกตมันจนมันดับไปหรือเปลี่ยนไปต่อหน้าต่อตา ด้วยวิริยะ ตะบะ อุตสาหะ ขันติอธิษฐานและสัจจะ ไม่มีอารมณ์ความรู้สึกใดจะทนทานได้ต่อการพิสูจน์ของญาณวิปัสสนาภาวนา คือปัญญาที่ตามรู้เห็นความเป็นจริงอันแสดงอยู่ในกายในใจ ไม่เนิ่นช้าจนขาดใจหรอก ทุกอารมณ์ความรู้สึกก็จะต้องดับไปเปลี่ยนไปด้วยอำนาจของ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ขอแต่อย่าใส่เจตนาเข้าไปแทรกแซงยุ่งเกี่ยวคิดแก้ไขกระบวนการแห่งธรรมที่กำลังแสดงด้วยกำลังแห่งเหตุและปัจจัยไปตาม ตถตานั้นๆ

เท่านั้นเอง.....ง่ายจะตาย.....วิปัสสนาภาวนา


:b37:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ต.ค. 2016, 09:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:
:b38:
มีสัญญาอะไรผุดขึ้นมาในจิต ให้นิ่งรู้นิ่งสังเกตจนมันดับไป สัญญาความจำนั้นดับไป วันข้างหน้าสัญญานั้นๆจะไม่เกิด ไม่ลุกขึ้นมากวนอีก นี่คือวิธีลบสัญญาอย่างง่ายๆ

อารมณ์ ความรู้สึกต่างๆก็เช่นกัน ใช้วิธีเดียวกัน

อนุสัยต่างๆ ก็ใช้วิธีเดียวกัน

อาสวะต่างๆ ก็ใช้วิธีเดียวกัน

โอฆะต่างๆ ก็ใช้วิธีเดียวกัน

การกระทำบ่อยๆ....ความเคยชิน....นิสัย....อุปนิสัย....
สันดาน......สัญชาตญาณ ก็ใช้วิธีเดียวกันขุดถอน

วิธีที่บอก กับวิปัสสนาภาวนาหรือการเจริญมรรค 8 เป็นอันเดียวกัน

ลองทำดู พิสูจน์ดูแล้วจะรู้เองนะกรัชกาย.....รสริน

"นิ่งรู้นิ่งสังเกตจนมันดับไป"


ท่องเอานี่ๆนั่นๆนิ่งรู้นิ่งสังเกตจนมันดับไปต่อหน้าต่อตาได้ยังไง ก็ขณะนั้น จิตมันเจ็บปวดรวดร้าวทุกข์ระทมตรมใจ จนขมิบก้นเนี่ย คิกๆๆ ท่านอโศกดูตัวอย่าง



ขณะสวดมนต์แล้วได้เอนตัวลงนอนอย่างมีสติ...ได้บริกรรมพอง กับ ยุบ ไปเรื่อย ๆ ไม่ได้คิดอะไร...จนหลับไปไม่รู้ตัว...ระยะหนึ่ง...จิตได้เกิดกลางดึก คือ มีสติรู้ขึ้นมาทันทีของการพองยุบของท้อง และรู้สึกว่ามีนิ้วมือมากดที่สะดือแรงมาก เวลาที่พองออก ท้องก็จะพองออกมาก มือที่กดก็จะแรงไปตามการพองและยุบ จนรู้สึกกลัวมากเหมือนไส้จะหลุดออกมา.. แต่ผมก็พยายามดึงสติให้อยู่กับคำบริกรรมพอง ยุบอีก แต่พยายามแล้วจิตก็ทนไม่ได้ จิตสั่นไปหมดเหมือนท้องจะแตก จิตคิดตอนนั้นครับ


นี่แหละลักษณะคนทำวิปัสสนาภาวนาไม่เป็นทั้งลูกศิษย์และครูผู้สอนที่เที่ยวเอาปัญหาไปโพสต์ถามลองภูมิผู้อื่นไปทั่ว[/color]

เจ็บ ก็รู้ว่าเจ็บ
ปวดรวดร้าว ก็รู้ว่าปวดรวดร้าว
ทุกข์ระทมตรมใจ ก็รู้ว่าทุกข์ระทมตรมใจ
ขมิบก้น ก็รู้ว่าขมิบก้น

อะไรมันจะเกิดขึ้นมาเป็นปัจจุบันอารมณ์ ก็จงนิ่งรู้นิ่งสังเกตมันจนมันดับไปหรือเปลี่ยนไปต่อหน้าต่อตา ด้วยวิริยะ ตะบะ อุตสาหะ ขันติอธิษฐานและสัจจะ ไม่มีอารมณ์ความรู้สึกใดจะทนทานได้ต่อการพิสูจน์ของญาณวิปัสสนาภาวนา คือปัญญาที่ตามรู้เห็นความเป็นจริงอันแสดงอยู่ในกายในใจ ไม่เนิ่นช้าจนขาดใจหรอก ทุกอารมณ์ความรู้สึกก็จะต้องดับไปเปลี่ยนไปด้วยอำนาจของ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ขอแต่อย่าใส่เจตนาเข้าไปแทรกแซงยุ่งเกี่ยวคิดแก้ไขกระบวนการแห่งธรรมที่กำลังแสดงด้วยกำลังแห่งเหตุและปัจจัยไปตาม ตถตานั้นๆ

เท่านั้นเอง.....ง่ายจะตาย.....วิปัสสนาภาวนา


(สงสัยท่านอโศกตาไม่ดี ทำตัวใหญ่เกินเหตุต้องแก้ทุกที)

อย่าบ่น ๆ


ถามนะ ในเมือว่า วิปัสสนาภาวนาง่ายจะตาย (จะตาย :b32: )

ถามนะ ตอบให้ตรงคำถาม

วิปัสสนา ได้แก่ อะไร

ภาวนา ได้แก่อะไร

ในเมื่อว่าวิปัสสนาภาวนาง่ายแล้ว อะไรยาก สมถภาวนายากหรือยังงั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 33 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 51 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร