วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 16:43  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 21 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ต.ค. 2016, 19:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณสมบัติของบุคคลโสดาบัน

คุณสมบัติของพระโสดาบันเท่าที่รู้กันดีโดยทั่วไป ก็คือ การละสังโยชน์ ๓ ข้อต้น (สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส) ได้ ซึ่งนับว่าเป็นคุณสมบัติฝ่ายลบ หรือฝ่ายหมดไป แต่ความจริง มีคุณสมบัติฝ่ายบวก หรือฝ่ายมีด้วย และตามหลักฐานปรากฏว่า ท่านเน้นคุณสมบัติฝ่ายมีเป็นอย่างมาก


คุณสมบัติฝ่ายมีนั้น มีหลายอย่าง แต่เมื่อกล่าวโดยสรุป ก็รวมอยู่ในหลักธรรมสำคัญสำหรับตั้งเป็นเกณฑ์ ได้ ๕ อย่าง คือ ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา

ในที่นี้ จะรวบรวมคุณสมบัติต่างๆทั้งฝ่ายหมดและฝ่ายมีมาเรียงไว้ โดยแสดงเฉพาะสาระสำคัญ ดังนี้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ต.ค. 2016, 19:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ก. คุณสมบัติฝ่ายมี

๑. ด้านศรัทธา: เชื่อมีเหตุผล เชื่อมั่นในความจริง ความดีงาม และกฎธรรมดาแห่งเหตุและผล มั่นใจในปัญญาของมนุษย์ที่จะดับทุกข์หรือแก้ไขปัญหาได้ตามทางแห่งเหตุผล และเชื่อในสังคมที่ดีงามของมนุษย์ ซึ่งจะเจริญงอกงามขึ้นได้ตามแนวทางเช่นนั้น ความเชื่อมั่นนี้แสดงออกด้วยความเลื่อมใสอันหยั่งลงมั่นด้วยปัญญาในพระรัตนตรัย เป็นศรัทธาซึ่งแน่วแน่ มั่นคง ไม่มีทางผันแปร เพราะเกิดจากญาณ คือ ความรู้ ความเข้าใจ

๒. ด้านศีล: มีความประพฤติ ทั้งทางกาย วาจา และการเลี้ยงชีพ สุจริต เป็นที่พอใจของอริยชน มีศีลที่เป็นไท คือ เป็นอิสระ ไม่เป็นทาสของตัณหา * ประพฤติตามหลักการ ตามความหมายที่แท้ เพื่อความดี ความงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความขัดเกลาลดกิเลส ความสงบใจ เป็นไปเพื่อสมาธิ โดยทั่วไปหมายถึงศีล ๕ ที่ประพฤติอย่างถูกต้อง จัดเป็นขั้นที่บำเพ็ญศีลได้บริบูรณ์

๓. ด้านสุตะ: เป็นสุตวา อริยสาวก หรือ อริยสาวกผู้มีสุตะ คือ ได้เรียนรู้อริยธรรม รู้จักอารยธรรม นับว่าเป็นผู้มีการศึกษา


๔. ด้านจาคะ: อยู่ครองเรือนด้วยใจที่ปราศจากความตระหนี่ มีน้ำใจเผื่อแผ่เสียสละ ยินดีในการให้ การเฉลี่ยเจือจานแบ่งปัน

๕.ด้านปัญญา: มีปัญญาอย่างเสขะ คือรู้ชัดในอริยสัจ ๔ มองเห็นปฏิจจสมุปบาท เข้าใจไตรลักษณ์ คือ อนิจจตา ทุกขตา และอนัตตตา เป็นอย่างดี จนสลัดมิจฉาทิฏฐิทั้งหลายในรูปแบบต่างๆ ได้สิ้นเชิง หมดความสงสัยในอริยสัจ ๔ นั้น เรียกตามสำนวนธรรมว่า เป็นผู้รู้จักโลกแท้จริง

๖. ด้านสังคม: พระโสดาบันเป็นผู้ปฏิบัติตามหลักธรรมสำหรับสร้างความสามัคคี และเอกภาพของหมู่ชน ที่เรียกว่า สาราณียธรรม ได้ครบถ้วนบริบูรณ์ เพราะสามารถปฏิบัติได้ถูกต้องตามหลักข้อสุดท้ายที่ท่านถือว่าเป็นดุจยอดที่ยึดคุมหลักข้ออื่นๆ เข้าไว้ทั้งหมด กล่าวคือ ข้อว่าด้วยทิฏฐิสามัญญตา



สาราณียธรรมมี ๖ ข้อ คือ

๑) เมตตากายกรรม แสดงออกทางกายด้วยเมตตา เช่น ช่วยเหลือกัน และแสดงกิริยาสุภาพเคารพนับถือกัน

๒) เมตตาวจีกรรม แสดงออกทางวาจาด้วยเมตตา เช่น บอกแจ้งแนะนำตักเตือนด้วยความหวังดี กล่าววาจาสุภาพต่อกัน

๓) เมตตามโนกรรม คิดต่อกันด้วยเมตตา เช่น มองกันในแง่ดี คิดดทำประโยชน์แก่กัน ยิ้มแย้มแจ่มใส

๔) สาธารณโภคี แบ่งปันลาภอันชอบธรรม เฉลี่ยเจือจานให้ได้มีส่วนร่วมทั่วกัน

๕) สีลสามัญญตา มีความประพฤติสุจริตเสมอกับผู้อื่น ไม่ทำตนให้เป็นที่น่ารังเกียจของหมู่

๖) ทิฏฐิสามัญญตา มีความเห็นชอบร่วมกับเพื่อนร่วมหมู่ ในอารยทฤษฎี ซึ่งนำไปสู่การกำจัดทุกข์




ในข้อความที่ชี้แจงความหมายของอารยทฤษฎี หรือทิฏฐิที่เป็นอริยะ ในข้อ ๖ นั้น มีลักษณะที่เป็นธรรมของพระโสดาบัน ซึ่งควรนำมากล่าวในที่นี้ ๒ อย่าง คือ

๑) เป็นธรรมดาของบุคคลโสดาบันที่ว่า เมื่อต้องอาบัติ (ละเมิดวินัย) ซึ่งแก้ไขได้ ก็จะรีบเปิดเผยแสดงให้พระศาสดาหรือเพื่อนหมู่คณะที่เป็นวิญญูได้ทราบทันที แล้วสังวรต่อไป เปรียบเหมือนเด็กอ่อนแบเบาะเหยียดมือหรือเท้าไปถูกถ่านไฟเข้าจะรีบชักกลับทันที

๒) เป็นธรรมดาของบุคคลโสดาบันที่ว่า ทั้งที่เป็นผู้เอาใจใส่คอยขวนขวายช่วยเหลือกิจธุระทั้งหลาย ทั้งงานสูงงานต่ำ ทั้งเรื่องใหญ่เรื่องย่อย ของเพื่อร่วมหมู่คณะ แต่ในเวลาเดียวกัน ก็มีความใฝ่ใจอย่างแรงกล้าในอธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา ไปด้วย เหมือนแม่โคลูกอ่อน เล็มหญ้ากินไป ก็คอยแลระวังลูกน้อยไปด้วย คือ ทั้งช่วยส่วนรวม ทั้งคอยฝึกตนให้ก้าวต่อไปในมรรคา *

๗. ด้านความสุข: เริ่มรู้จักโลกุตรสุข ที่ประณีตลึกซึ้ง ซึ่งไม่ต้องอาศัยอามิส (เพราะได้บรรลุอริยวิมุตติแล้ว)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ต.ค. 2016, 19:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่อ้างอิงข้างบนตามลำดับ *

* ศีลที่เป็นไท ไม่เป็นทาสของตัณหา คือมิได้ประพฤติเพื่อหวังผลตอบแทน เช่น โลกิยสุข การเกิดในสวรรค์ เป็นต้น อนึ่ง พึงระลึกว่า ศีลรวมถึงสัมมาชีพด้วยเสมอ

บรรดาคำบาลีแสดงลักษณะศีลของพระโสดาบันนั้น มีอยู่ ๒ คำ ที่นิยมนำมาใช้เรียกในภาษาไทย คือ อริยกันตศีล แปลว่า ศีลที่พระโสดาบันใคร่หรือชื่นชม คือ เป็นที่ยอมรับของอริยชน และอปรามัฏฐศีล แปลว่า ศีลที่ไม่ถูกจับฉวย ท่านให้แปลว่า ศีลที่ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิจับฉวย คือ ไม่เปรอะเปื้อนหรือมีราคีด้วยตัณหาและทิฏฐิ (= บริสุทธิ์) ...ให้แปลอีกอย่างหนึ่งว่า ศีลที่ไม่ถูกถือมั่น หรือศีลที่ไม่ต้องยึดมั่น หมายความว่า เป็นศีลที่เกิดจากคุณธรรมภายใน ไม่มีกิเลสเป็นเหตุให้ละเมิด จึงเป็นไปเองเป็นปกติธรรมดา โดยไม่ต้องยึดถือเอาไว้

* ความจริงคุณสมบัติที่เป็นส่วนพิเศษนี้ เป็นเรื่องของ (สัมมา) ทิฏฐิ ซึ่งจัดเข้าในข้อปัญญานั่นเอง แต่ในที่นี้ เห็นว่ามีข้อความยาว จึงแยกออกมาเป็นอีกข้อหนึ่ง....

สูตรนี้ เรื่องเดิมพระพุทธเจ้าตรัสสำหรับพระโสดาบันที่เป็นพระภิกษุ แต่ก็พึงยักใช้กับคฤหัสถ์ได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ต.ค. 2016, 20:29 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


เขียนเอง....รึเอาของใคร..ดัดแปลงของใครมาโพสต์..

ถ้าเอาของใครมา..ก็บอกต้นตอให้เกียรติ์เขาหน่อย..

หากเขียนเอง.รึเรียบเรียงเอง...ก็ลงชื่อตัวเองว่าเป็นผู้เขียน..ด้วย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ต.ค. 2016, 20:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
เขียนเอง....รึเอาของใคร..ดัดแปลงของใครมาโพสต์..

ถ้าเอาของใครมา..ก็บอกต้นตอให้เกียรติ์เขาหน่อย..

หากเขียนเอง.รึเรียบเรียงเอง...ก็ลงชื่อตัวเองว่าเป็นผู้เขียน..ด้วย


ไม่ลงทั้งนั้น มีอะไรไหม

รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ต.ค. 2016, 20:50 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้าว...ถ้าจะตำนิ..ผมจะตำนิใครละ..ทีนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ต.ค. 2016, 20:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
อ้าว...ถ้าจะตำนิ..ผมจะตำนิใครละ..ทีนี้


ตำนิกบนรกเองนั่นแหละ :b1: เออ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2016, 06:20 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่แน่จริง....นี้หว่า..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2016, 07:12 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b12:
คัดลอกตำรามากล่าวได้ดี น่าอ่านน่าฟังและเป็นประโยชน์แก่ผู้คนทั้งหลายนะกรัชกาย.....อนุโมทนาด้วย

แต่กลับเป็นโทษสำหรับตัวกรัชกายเองมากยิ่งขึ้นๆ เพราะเป็นน้ำในทะเลบัญญัติที่เพิ่มจำนวนขึ้นท่วมทับหูตาของกรัชกายให้จมลึกลงในทะเลแห่งบัญญัติ เพิ่มอัตติมานะ ทิฏฐิมานะของตนให้ใหญ่โต หนักอึ้งมากยิ่งขึ้น

ที่เป็นเช่นนี้เพราะเรียนรู้หลักทฤษฎีแล้วไม่ยอมลงมือปฏิบัติจริง ไม่ยอมพิสูจน์ธรรม จนแม้กระทั่งความเห็นผิดเบื้องต้น ง่ายๆ ว่ากายใจนี้เป็นอัตตาตัวกูของกูก็ยังสัมผัสรู้ สังเกตเห็นไม่ได้ด้วยจิตใจและสติปัญญาของตน เป็นคัมภีร์เปล่าอีกคนหนึ่งแล้วในช่วงกึ่งพุทธกาล

คนไม่ปฏิบัติจริง คอยแต่คัดลอกธรรมมาแสดงเพื่ออวดภูมิรู้ของตนอย่างนี้ ชีวิตชาตินี้จะสูญเปล่านะ จะบอกให้
onion onion
:b7:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2016, 08:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b1: :b32:

ข. คุณสมบัติฝ่ายหมด หรือฝ่ายละ (แสดงเฉพาะที่สำคัญ และน่าสนใจพิเศษ)

๑. ละสังโยชน์ คือกิเลสที่ผูกมัดใจได้ ๓ อย่าง คือ

๑) สักกกายทิฏฐิ ความเห็นผิดว่าเป็นตัวของตน ติดสมมติเหนียวแน่น ซึ่งทำให้เห็นแก่ตัวอย่างหยาบ และเกิดความกระทบกระทั่ง มีทุกข์ได้มาก

๒) วิจิกิจฉา ความสงสัยไม่แน่ใจต่างๆเกี่ยวกับพระศาสดา พระธรรม พระสงฆ์ และสิกขา เป็นต้น ซึ่งทำให้จิตไม่น้อมดิ่งไปในทางที่จะระดมความเพียรมุ่งหน้าปฏิบัติให้เร่งรุดไปในมรรคา

๓) สีลัพพตปรามาส ความถือเขวเกี่ยวกับศีลพรต คือการถือปฏิบัติศีล กฎเกณฑ์ ระเบียบ วินัย ข้อปฏิบัติ ขนบธรรมเนียมต่างๆ ไม่บริสุทธิ์ตามหลักการ ตามความมุ่งหมาย ที่มุ่งเพื่อความดีงาม เช่น ความสงบเรียบร้อย และความเป็นบาทฐานของสมาธิ เป็นต้น แต่ประพฤติด้วยตัณหาและทิฏฐิ เช่น หวังผลประโยชน์ตอบแทน หวังจะได้เป็นนั่นเป็นนี่ เป็นต้น ตลอดจนประพฤติด้วยงมงายสักว่าทำตามๆกันมา

๒. ละมัจฉริยะ คือ ความตระหนี่ ความใจคับแคบ หวงแหน คอยกีดกันผู้อื่น ทั้ง ๕ อย่าง คือ

๑) อาวาสมัจฉริยะ หวงที่อยู่อาศัย หวงถิ่น

๒) กุลมัจฉริยะ หวงตระกูล หวงพวก หวงสำนัก หวงสายสัมพันธ์ เทียบกับที่พูดกันบัดนี้ว่า เล่นพวก

๓) ลาภมัจฉริยะ หวงลาภ หวงผลประโยชน์ คิดกีดกันไม่ให้คนอื่นได้

๔) วัณณมัจฉริยะ หวงกิตติคุณ หวงคำสรรเสริญ ไม่พอใจให้ใครมีอะไรดีมาแข่งตน ไม่พอใจใจให้ใครสวยงาม ได้ยินคำสรรเสริญคุณความดีของคนอื่นแล้ว ทนไม่ได้

๕) ธรรมมัจฉริยะ หวงธรรม หวงวิชาความรู้ หวงคุณพิเศษที่ได้บรรลุ กลัวคนอื่นจะรู้หรือประสบผลสำเร็จเทียมเท่าหรือเกินกว่าตน (องฺ.ปญฺจก. 22/256-9/302-3)

๓. ละอคติ คือ ความประพฤติผิดทาง หือความลำเอียง ได้ทั้ง ๔ อย่าง คือ

๑) ฉันทาคติ ลำเอียงเพราะชอบ

๒) โทสาคติ ลำเอียงเพราะชัง

๓) โมหาคติ ลำเอียงเพราะหลง หรือเขลา

๔) ภยาคติ ลำเอียงเพราะกลัว (วินย.7/615/380...)


๔. ละราคะ โทสะ โมหะ หรือ โลภ โกรธ หลง ขั้นหยาบหรือรุนแรง ที่จะทำให้ถึงอบาย ไม่ทำกรรมชั่วขั้นร้ายแรงที่จะเป็นเหตุให้ไปอบาย (สํ.ข.17/469/278...)


๕. ระงับภัยเวร โทมนัส และทุกข์ทางใจต่างๆ ที่จะพึงเกิดจากการไม่ปฏิบัติตามศีล เป็นผู้พ้นจากอบายสิ้นเชิง ความทุกข์ส่วนใหญ่หมดสิ้นไปแล้ว ความทุกข์ที่ยังเหลืออยู่บ้าง เป็นเพียงเศษน้อยนิดที่นับเป็นส่วนไม่ได้ (สํ.ม.19/157/489....)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2016, 08:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b12:
คัดลอกตำรามากล่าวได้ดี น่าอ่านน่าฟังและเป็นประโยชน์แก่ผู้คนทั้งหลายนะกรัชกาย.....อนุโมทนาด้วย

แต่กลับเป็นโทษสำหรับตัวกรัชกายเองมากยิ่งขึ้นๆ เพราะเป็นน้ำในทะเลบัญญัติที่เพิ่มจำนวนขึ้นท่วมทับหูตาของกรัชกายให้จมลึกลงในทะเลแห่งบัญญัติ เพิ่มอัตติมานะ ทิฏฐิมานะของตนให้ใหญ่โต หนักอึ้งมากยิ่งขึ้น

ที่เป็นเช่นนี้เพราะเรียนรู้หลักทฤษฎีแล้วไม่ยอมลงมือปฏิบัติจริง ไม่ยอมพิสูจน์ธรรม จนแม้กระทั่งความเห็นผิดเบื้องต้น ง่ายๆ ว่ากายใจนี้เป็นอัตตาตัวกูของกูก็ยังสัมผัสรู้ สังเกตเห็นไม่ได้ด้วยจิตใจและสติปัญญาของตน เป็นคัมภีร์เปล่าอีกคนหนึ่งแล้วในช่วงกึ่งพุทธกาล

คนไม่ปฏิบัติจริง คอยแต่คัดลอกธรรมมาแสดงเพื่ออวดภูมิรู้ของตนอย่างนี้ ชีวิตชาตินี้จะสูญเปล่านะ จะบอกให้


ค้นหาอัตตาต่อไปนะ :b32:


อ้างคำพูด:
กรัชกายถาม
กรัชกายชอบของหลวงพ่อธี


อโศกะตอบ

อนัตตา
ท่องอนัตตา
บริกรรมอนัตตา
พิสูจน์อนัตตา
อนัตตาลูกเดียวกับทุกการกระทบสัมผัสและอารมณ์


ของหลวงพ่อธีกับของอโศกะคนละอันกันครับ

หลวงพ่อธี เน้นให้ค้นหาอนัตตา พิสูจน์อนัตตา

ของอโศกะ เน้นค้นหาอัตตา ทำลายอัตตาได้แล้วจะพบอนัตตา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2016, 09:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความจริง คุณสมบัติฝ่ายหมดและฝ่ายมีนี้ ว่าโดยสาระสำคัญ ก็เป็นอย่างเดียวกัน กล่าวคือ

จะละสักกายทิฏฐิได้ ก็เพราะมีปัญญาหยั่งรู้สภาวธรรมที่เป็นไปตามเหตุปัจจัยพอสมควร เมื่อเกิดปัญญาเข้าใจชัดขึ้นอย่างนี้ วิจิกิจฉา คือ ความสงสัยคลางแคลงใจก็หมดไป ศรัทธาที่อาศัยปัญญาก็แน่นแฟ้น

พร้อมนั้น ก็จะรักษาศีลได้ถูกต้องตามหลักการ ตามความมุ่งหมาย กลายเป็นอริยกันตศีล คือ ศีลที่อริยชนชื่นชมยอมรับ สีลัพพตปรามาสก็พลอยสิ้นไป เมื่อจาคะเจริญขึ้น มัจฉริยะก็หมดไป เมื่อราคะ โทสะ โมหะเบาบางลง ก็ไม่ตกไปในอำนาจของอคติ และราคะ โทสะ โมหะเบาบางลง ก็เพราะปัญญาที่มองเห็นความจริงของโลกและชีวิต ทำให้คลายความยึดติด เมื่อสิ้นยึดติด ถือมั่นน้อยลง ความทุกข์ก็ผ่อนคลาย และรู้จักความสุขที่ประณีตยิ่งขึ้น


กล่าวโดยย่อว่า ความเป็นโสดาบัน เป็นชีวิตระดับที่ยอมรับได้ว่าน่าพอใจ และวางใจได้ ทั้งในด้านคุณธรรม และในด้านความสุข

ในด้านคุณธรรม ก็มีคุณความดีเพียงพอที่จะเป็นหลักประกันว่า จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายหรือความเดือดร้อนเสื่อมโทรมเสียหายเป็นภัยแก่สังคมหรือแก่ใครๆ ตรงข้าม จะมีแตพฤติกรรมที่อำนวยประโยชน์เกื้อกูลแก่การดำรงอยู่และดำเนินไปด้วยดีของชีวิตตนและสังคม และคุณธรรมนั้นก็มั่นคง เพราะเป็นสิ่งที่เป็นไปเองตามธรรมดาแห่งเหตุปัจจัยของมัน คือ เพราะมีปรีชาญาณที่ให้เกิดทัศนคติอย่างใหม่ต่อโลกและชีวิตเป็นฐานรองรับ

ส่วนในด้านความสุข พระโสดาบันก็ได้พบกับความสุขอย่างใหม่ทางจิต ที่ประณีตล้ำลึก อันประจักษ์เฉพาะตนว่าเป็นสิ่งมีคุณค่าสูงล้ำ ซึ่งแม้ตนจะเสวยกามสุขและหรือโลกิยสุขอื่นๆ อยู่ ก็จะไม่ยอมให้ความสุขที่หยาบกว่าเหล่านั้นเกินเลยออกนอกขอบเขต ซึ่งจะเป็นเหตุบั่นรอนความสุขที่ประณีต คือจะไม่ยอมสละโลกุตรสุขอันประณีต เพื่อมาเติมส่วนขยายปริมาณให้แก่โลกิยสุขอันหยาบกว่าอีกต่อไป พูดอีกนัยหนึ่งว่า กามสุขและโลกิยสุขอันหยาบ ถูกทำให้สมดุลด้วยโลกุตรสุขอันประณีต

ความสุขนี้ เป็นทั้งผล และเป็นปัจจัยพันเนื่องอยู่ด้วยกันกับคุณธรรมที่ประพฤติ จึงเป็นหลักยืนยันถึงความไม่ไหลเวียนกลับลงต่ำอีกต่อไป มีแต่จะช่วยค้ำชูส่งเสริมให้ก้าวสูงขึ้นไปในเบื้องหน้า

ความเป็นโสดาบัน มีคุณค่าเป็นที่น่าพอใจ ทั้งแก่ตัวบุคคลนั้นเองและแก่สังคมอย่างนี้ ท่านจึงจัดผู้บรรลุโสดาปัตติผลเป็นสมาชิกแรกเข้าใหม่ของชุมชนอารยะ เป็นจุดต้นที่ชีวิตอารยชนเริ่มแรก นับเนื่องในอริยสงฆ์หรือสาวกสงฆ์ที่แท้ อันเป็นสังคมแม่พิมพ์ที่พระพุทธศาสนามุ่งประสงค์จะให้เป็นแบบหล่อหลอมมนุษยชาติ


(ยังไม่อีก แต่เอาแค่นี้พอ จากพุทธรรมหน้า 882)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ต.ค. 2016, 09:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

คั่นก่อนต่อหน้า 902

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ต.ค. 2016, 09:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความเข้าใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับคุณสมบัติสำคัญของบุคคลโสดาบัน

เนื่องด้วยธรรม ๕ ประการ คือ ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา เป็นคุณสมบัติสำคัญของอริยสาวก ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ตรัสเน้นอยู่เสมอ และใช้เป็นเครื่องวัดความเจริญก้าวหน้าของอริยสาวก ทั้งก่อนบรรุโสดาปัตติผล และเมื่อเป็นพระโสดาบันแล้ว นอกจากนั้น ยังมีขอบเขตครอบคลุมโสตาปัตติยังคะ (องค์คุณของพระโสดาบัน) เข้าไว้ทั้งหมด เห็นควรกล่าวถึงคุณสมบัติ ๕ ข้อนี้ไว้เป็นการเฉพาะอีกครั้งหนึ่ง

ในการนี้ ขอให้สังเกตคุณสมบัติข้อที่ ๑ คือ ศรัทธาไว้เป็นพิเศษ ว่าเหตุใดจึงเป็นคุณสมบัติที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในทุกรณี สำหรับการปฏิบัติระดับนี้ ทั้งที่พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งปัญญา ถือปัญญาเป็นธรรมสำคัญสุดยอดในกระบวนการปฏิบัติ

เมื่อพูดอย่างภาษาของคนสมัยปัจจุบัน ธรรม ๕ ประการ ที่เรียกว่า สัมปทา บ้าง ทรัพย์ บ้าง อริยวัฒิ (อารยวัฒิ) บ้าง มีความหมายโดยย่อ ดังนี้

๑.ศรัทธา คือ ความเชื่อ ความมั่นใจ เพราะได้พิจารณาไตร่ตรองมองเห็นเหตุผลด้วยปัญญาแล้ว แยกย่อยออกได้เป็น ๓ ด้าน คือ

ก. ความเชื่อ ความมั่นใจในพระพุทธเจ้า ในฐานะที่เป็นบุคคลต้นแบบ ซึ่งยืนยันถึงวิสัยความสามารถของมนุษย์ว่า มนุษย์หยั่งรู้สัจธรรม เข้าถึงความจริงและความดีงามสูงสุดได้ ด้วยสติปัญญา และความเพียรพยายามของมนุษย์เอง

มนุษย์เป็นสัตว์ที่ฝึกได้ เจริญงอกงามขึ้นได้ ทั้งในด้านระเบียบชีวิต ที่สัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมทางกาย วาจา ทั้งในด้านคุณธรรม ที่พึงอบรมให้แก่กล้าขึ้นในจิตใจ ทั้งใน้ดานปัญญาความรู้คิดเหตุผล จนสามารถหลุดพ้นจากเครื่องผูกมัดบีบคั้น ที่เรียกว่ากิเลสและกองทุกข์ ทำทุกข์ให้หมดสิ้นไป ประสบความเป็นอิสระดีงามเลิศล้ำสมบูรณ์ได้ และในการที่จะเข้าถึงภาวะเช่นนี้ ย่อมไม่มีสัตว์วิเศษใดๆ ไม่ว่าจะโดยชื่อว่า เทพ มาร หรือพรหม ที่จะเป็นผู้ประเสริฐ มีความสามารถเกินกว่ามนุษย์ ซึ่งมนุษย์จะต้องหันไปหา หรือรีรอเพื่อขอฤทธานุภาพดดลบันดาล

อนึ่ง บุคคลผู้ฝึกตนจนลุถึงภาวะนี้แล้ว ย่อมมีคุณความดีพิเศษมากมาย ซึ่งสมควรดำเนินตาม และเมื่อมนุษย์มั่นใจในความสามารถที่จะทำเช่นนั้นได้ ก็ควรพยายามปฏิบัติสร้างคุณความดีพิเศษนั้นให้มีขึ้นในตน หรือปฏิบัติให้เข้าถึงธรรมที่บุคคลต้นแบบนั้นได้ค้นพบและนำมาแสดงไว้แล้ว

ข. ความเชื่อ ความมั่นใจในธรรม ทั้งความจริงและความดีงาม ที่บุคคลต้นแบบซึ่งเรียกว่า พระพุทธเจ้าได้แสดงไว้นั้น ว่าเป็นสิ่งที่พรองค์ได้ปฏิบัติเห็นผลประจักษ์กับตนเองมาก่อน เรียกว่าค้นพบแล้ว จึงนำมาประกาศเปิดเผยไว้

ธรรมนั้น เป็นภาวะดำรงอยู่ หรือเป็นไปตามธรรมดาของมันเอง เป็นกฎเกณฑ์อันแน่นนอน คือนิยามแห่งเหตุและผล อย่างที่เรียกว่าเป็นกฎธรรมชาติ ไม่ขึ้นกับการอุบัติของตถาคต คือ ไม่ว่าจะมีใครค้นพบหรือไม่ เป็นกลาง เที่ยงธรรมต่อบุคคล ท้าทายต่อปัญญาและการเพียรพยายามฝึกอบรมตนของมนุษย์ บุคคลทุกคน เมื่อพัฒนาตนให้พร้อม มีปัญญาแก่กล้าพอแล้ว ก็รู้และลุได้ประจักษ์กับตน เมื่อรู้หรือบรรลุแล้ว ก็สามารถแก้ปัญหา ดับทุกข์ หลุดพ้นเป็นอิสระได้จริง

ค. ความเชื่อ ความมั่นใจในสงฆ์ คือ ชุมชน หรือสังคมแบบอย่าง ซึ่งเป็นพยานยืนยันว่า มนุษย์ทั่วไปมีความสามารถที่จะบรรลุความจริงความดีงามสูงสุดได้อย่างบุคคลต้นแบบ แต่ชุมชนหรือสังคมนั้น จะมีขึ้นได้ เป็นไปได้ ก็ด้วยการยอมให้ธรรม คือความจริงความดีงาม ปรากฏผลประจักษ์ออกมาทางบุคคล ด้วยการปฏิบัติ

ชุมชน หรือสังคมนี้ ย่อมประกอบด้วยบุคคลทั้งหลาย ผู้ฝึกปรือ ศึกษา ซึ่งมีความสุกงอมแก่กล้าไม่เท่ากัน ก้าวหน้างอกงามอยู่ในระดับแห่งพัฒนาการต่างๆกัน แต่มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพราะมีหลักการร่วมกัน คือมีธรรมเป็นแกนร่วม มีธรรมเป็นเครื่องวัด เป็นที่รองรับผลประจักษ์ และเป็นที่แสดงออกของธรรม จึงเป็นชุมชนที่มีความดีงามน่าชื่นชม ควรเชิดชูรักษาและเข้าร่วม เพราะเป็นสังคมที่มีสภาพเอื้ออำนวยมากที่สุด แก่การที่จะดำรงธรรมให้สืบต่อไว้ในโลก เป็นแหล่งแพร่ขยายความดีงามและประโยชน์สุขแก่โลก



รวมความหมายของศรัทธา ๓ อย่างนั้น ได้แก่ ความมั่นใจว่า ความจริง ความดีงาม และกฎเกณฑ์แห่งเหตุและผล มีอยู่ตามธรรมดาของธรรมชาติ มนุษย์มีความสามารถที่จะเข้าถึงและหยั่งรู้ ความจริงความดีงามและกฎธรรมชาตินั้นได้ และได้มีบุคคลผู้ประเสริฐ ซึ่งได้ค้นพบ เข้าถึง และนำความจริงนั้นมาเปิดเผย เป็นเครื่องยืนยันและนำทางไว้แล้ว ผู้ที่มีความมั่นใจในกฎธรรมดาแห่งเหตุผล และมั่นใจในความสามารถของมนุษย์แล้ว ย่อมเพียรพยายามปฏิบัติเพื่อให้ผลสำเร็จเกิดจากเหตุคือการกระทำ เชื่อการกระทำ และผลของการกระทำ ที่เป็นไปตามนิยามแห่งเหตุและผล จนมีหลักประกันความเข้มแข็งทางจริยธรรม พยายามศึกษาให้รู้เข้าใจและกระทำการไปตามทางแห่งเหตุปัจจัยอย่างมั่นคง ไม่หวังพึ่งอำนาจดลบันดาลจากภายนอก และจะมั่นใจว่า สังคมที่ดีงาม หรือสังคมอุดมคตินั้น มนุษย์สามารถช่วยกันสร้างขึ้นได้ และประกอบด้วยมนุษย์ผู้ดำเนินชีวิตดีงามตามเหตุผลนี้เอง ซึ่งได้ฝึกอบรมตนเพื่อเข้าถึงธรรม หรือเพื่อบรรลุคุณความดีพิเศษอย่างพระพุทธเจ้า


สรุปคุมอีกชั้นหนึ่งว่า เมื่อตรองเห็นเหตุผลแล้ว มั่นใจว่าพระพุทธเจ้ารู้จริงดีจริง จึงเชื่อว่าธรรมที่พระองค์ตรัสเป็นจริงดีจริง แล้วเชื่อว่า หมู่ชนที่เป็นอยู่ด้วยธรรมนั้น มีได้จริง ได้มีจริง ควรให้มี และควรเข้าร่วมจริง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ต.ค. 2016, 10:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๒. ศีล คือ ระเบียบความประพฤติ หรือถ้าจะพูดให้เต็มความหมายแท้จริง คือ ระเบียบความเป็นอยู่ ทั้งส่วนตัว และที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมทางกาย วาจา ตลอดถึงการทำมาหาเลี้ยงชีพ ซึ่งได้กำหนดวางไว้ เพื่อทำให้ความเป็นอยู่นั้น กลายเป็นสภาพอันเอื้ออำนวยแก่การปฏิบัติกิจต่างๆ ที่เป็นไปเพื่อเข้าถึงจุดหมายที่ดีงาม ซึ่งเป็นอุดมคติของคนในสังคมหรือชุมชนนั้น


โดยทั่วไป ระเบียบความประพฤตินี้ มีลักษณะเป็นการปิดกั้นโอกาสที่จะทำความชั่ว และส่งเสริมโอกาสสำหรับทำความดี โดยฝึกคนให้รู้จักสร้างความสัมพันธ์ด้าน กาย วาจา ที่ดีงาม กับสภาพแวดล้อม อันจะก่อผลเอื้ออำนวยแก่การดำรงอยู่ ทั้งของตน และชุมชนหรือสังคมของตน และเอื้ออำนวยแก่การทำกิจต่างๆ ที่ยิ่งๆขึ้นไป พร้อมกันนั้น ก็เป็นการฝึกอบรมชีวิตด้าน กาย และวาจาของบุคคล ให้มีความพร้อมยิ่งขึ้น ในอันที่จะเสวยผลและที่จะทำกิจเช่นนั้นด้วย


เฉพาะอย่างยิ่ง เน้นความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมทางสังคม คือการอยู่ร่วมกันด้วยดีระหว่างมนุษย์ด้วยกัน เพื่อว่า ในสภาพที่เกื้อกูลเช่นนั้น สมาชิกแต่ละคน นอกจากจะสมารถดำรงตนอยู่ได้ด้วยดีแล้ว ก็จะมีโอกาสกระทำสิ่งที่ดีงาม และพัฒนาคนให้เข้าถึงสิ่งที่มีคุณค่าสูงขึ้นไปอีกด้วย


สำหรับมนุษย์ในวงกว้าง ระเบียบความประพฤติขั้นต้นอย่างน้อยที่สุด หรือศีลขั้นพื้นฐานที่จะสร้างสภาพเกื้อกูลให้เกิดขึ้น ก็คือหลักที่เรียกว่า ศีล ๕ ซึ่งมีสาระสำคัญ ได้แก่ การไม่ละเมิดต่อชีวิต ต่อทรัพย์สิน ต่อของรักของกันและกัน การไม่ใช้วาจาละเมิดความจริง เพราะเห็นแก่ตนและมุ่งทำลายผู้อื่น และการไม่ยอมทำลายสติสัมปชัญญะ หรือความสำนึกผิดชอบชั่วดีของตนด้วยการตกไปในอำนาจของสิ่งเสพติด (สติสัมปชัญญะ หรือความสำนึกผิดชอบชั่วดีนี้ ย่อมเป็นหลักประกันหรือเครื่องคุ้มกันของศีลทั้งหมด)


ส่วนระเบียบความประพฤติที่ซับซ้อนไปกว่านี้ ย่อมรวมไปถึงข้อกำหนดกฎเกณฑ์ ขนบธรรมเนียมและข้อปฏิบัติปลีกย่อยต่างๆ ที่วางไว้เพื่อความเรียบร้อยดีงาม และเพื่อให้เกิดสภาพดำรงชีวิตอันเกื้อกูลแก่การที่จะเข้าถึงจุดมุ่งหมายจำเพาะของชุมชนนั้น สังคมนั้น หรือระบบการนั้นๆ ศีลจึงมีความเข้มงวดกวดขัน เคร่งครัด หยาบ ประณีต และรายละเอียดต่างๆ กัน ดังมีศีล ๘ ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗ เป็นตัวอย่าง


เมื่อว่าโดยสรุป ศีลตามความหมายของพระพุทธศาสนา มีลักษณะสำคัญ คือ

๑) ทำให้เกิดสภาพความเป็นอยู่ ที่เกื้อกูลแก่การปฏิบัติกิจต่างๆ รวมทั้งการพัฒนาตน เพื่อเข้าถึงจุดหมายที่ดีงามโดยลำดับ จนถึงจุดหมายสูงสุดของชีวิต

๒) ทำให้สมาชิกของสังคม หรือชุมชนนั้นอยู่ร่วมกันด้วยดี สังคมสงบเรียบร้อย สมาชิกต่างดำรงอยู่ด้วยดี และมุ่งหน้าปฏิบัติกิจของตนๆ โดยสะดวก

๓) ฝึกหัดขัดเกลาตนเอง ทำให้กิเลสเบาบางลง ด้วยการควบคุมยับยั้งสังวร ปรับการแสดงออกทางกาย วาจา ให้เอื้อแก่สภาพความเป็นอยู่ที่เกื้อกูลและการอยู่ร่วมกันด้วยดีนั้น อันเป็นขั้นต้นของการพัฒนาชีวิตของตน ให้พร้อมที่จะเป็นที่รองรับของกุศลธรรมทั้งหลาย เฉพาะอย่างยิ่ง คือ เป็นพื้นฐานของสมาธิ หรือการฝึกปรือคุณธรรมทางจิตใจที่สูงขึ้นไป *

แม้จะมีศีลที่สูงกว่าศีล ๕ อีกหลายระดับ หลายประเภท แต่ศีล หรือระเบียบความประพฤติทุกอย่าง ซึ่งเป็นที่ต้องการในการปฏิบัติธรรม ดังที่เรียกว่า ศีลซึ่งอริยชนชื่นชม (อริยกันตศีล) นั้น ถือสาระสำคัญอย่างเดียวกันทั้งหมด คือ เป็นศีลที่ประพฤติถูกต้องตามหลักการ ไม่เขวไปเพราะตัณหา ที่มุ่งแสวงหาอิฏฐารมณ์เป็นผลตอบแทน หรือเพราะทิฏฐิ ที่นำเอาความยึดถือเกี่ยวกับตัวตนมาปิดบังวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของศีล ปฏิบัติโดยเข้าใจความมุ่งหมาย ไม่ใช่สักว่ายึดถือ ทำตามๆกันไปโดยงมงาย

สำหรับชาวบ้านทั่วไป เมื่อปฏิบัติถูกต้องอย่างนี้แล้ว แม้เพียงศีล ๕ ก็เป็นปฏิปทาของพระโสดาบัน

.....

ที่อ้างอิง *

*พึงสังเกตว่า ศีลขั้นพื้นฐานที่สุด (เช่น ศีล ๕) จะมีสาระที่มุ่งเพื่อการไม่เบียดเบียน ซึ่งเป็นขั้นต้นที่สุดของการสร้างสภาพแวดล้อมทางสังคมที่เกื้อกูล ศีลต่อจากนั้นขึ้นไป จะหันไปเน้นการสร้างสภาพเกื้อกูล ทั้งของสิ่งแวดล้อม และความเป็นอยู่ส่วนตัว และการฝึกหัดขัดเกลาตนเอง เพื่อจุดหมายที่จำเพาะมากยิ่งขึ้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 21 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 133 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร