วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 03:32  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2016, 07:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สัมพันธ์กับหัวข้อนี้

viewtopic.php?f=1&t=53204


หัวข้อนี้จะนำหลักลงให้ครบ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2016, 08:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รู้ทุกข์จึงดับทุกข์ได้ ไม่ใช่รู้ทุกข์ไปแล้วกลายเป็นทุกข์

ธรรมของพระพุทธเจ้านั้น ทุกอย่าง ถ้าเราจับจุดถูกแล้ว มันอยู่ในระบบความสัมพันธ์ จึงโยงถึงกันหมดทุกอย่าง จับที่นี่ ก็ถึงที่อื่นทั้งหมดด้วย

ดังนั้น ถ้าจับหลักการนี้ได้ ไม่ว่าใครจะพูดธรรมข้อไหนมา ก็จับโยงได้หมด ว่าธรรมนี้อยู่ที่จุดนั้น อยู่ในระดับนี้ สัมพันธ์ส่งผลต่อไปยังข้อโน้น มองเห็นธรรมนั้นในภาพรวมของระบบใหญ่ ความหมายในการปฏิบัติก็ชัดเจนโล่งไป อย่างพระพุทธเจ้า ก็ทรงมีวิธีสรุปธรรมมากมายหลายแบบ


วิธีสรุปธรรมของพระพุทธเจ้า เช่น สรุปลงในอริยสัจ ๔ แล้ว พระองค์ก็ยังโยงอริยสัจ ๔ ไปสู่ธรรมทุกสิ่งทุกประการ

จะขอพูดให้ฟังสักนิด ให้เห็นตัวอย่างวิธีสรุปของพระพุทธเจ้า ที่พระองค์สรุปไว้หลายนัย สรุปเป็น ๒ ก็ได้ สรุปเป็น ๓ ก็ได้ สรุปเป็น ๔ ก็ได้ ไม่ต้องมาเถียงกัน


บางคนไปยึดอย่างเดียว แล้วไปเถียงกับคนอื่น ก็ยุ่งอยู่นั่นแหละ ทั้งๆที่ว่าธรรมนั้นเป็นความจริงตามธรรมดาที่มีระบบของมัน และในระบบสัมพันธ์นั้น ก็เอามาแสดงให้เห็นได้หลายอย่าง เป็นเรื่องของวิธีการจำแนก แต่ไม่ว่าจะแสดงอย่างไร มันก็เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

ดังตัวอย่าง เช่น พระพุทธเจ้าตรัสว่า ทั้งหมดรวมในอริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

จากอริยสัจนั้น พระองค์ก็โยงไปหาหลักอีกชุดหนึ่ง ซึ่งเป็นการประมวลธรรมทั้งปวงให้เข้าเป็นชุดเดียวกันอีก โดยตรัสว่า ทุกขํ อริยสจฺจํ ปริญฺเญญฺยํ เป็นต้น

นี่คือหลักที่เรียกว่ากิจในอริยสัจ ๔ ถ้าใครจะปฏิบัติต่ออริยสัจ ๔ให้ถูกต้อง ไม่รู้หลักกิจในอริยสัจ ก็พลาด

อริยสัจ ๔ จะรู้แต่อริยสัจไม่ได้ ต้องรู้กิจในอริยสัจด้วย มิฉะนั้นจะเสียดุลอีก ถ้าปฏิบัติหน้าที่ต่ออริยสัจผิด ก็พลาดไปเลย เพราะว่าอริยสัจ ๔ แต่ละข้อเรามีหน้าที่ต่อมัน

หน้าที่เหล่านั้นตรัสไว้แล้วในธัมมจักกปัปปวัตตนสุตรนี่แหละ ซึ่งเราก็สวดกันอยู่เรื่อยว่า ทุกขอริยสัจนั้น เป็นสิ่งที่จะต้องปริญญา หน้าที่ต่อทุกข์ คือ ปริญญา แปลว่ากำหนดรู้

เรามีหน้าที่รู้ทุกข์ เราไม่มีหน้าที่เป็นทุกข์

- คุณหมอรู้โรค ก็ไม่ใช่คุณหมอเป็นโรค แต่คุณหมอต้องรู้โรค คุณหมอจึงจะบำบัดโรครักษาคนได้

- คนที่รู้ปัญหา ก็ไม่ใช่คนเป็นปัญหา แต่คนต้องรู้ปัญหา คนจึงจะแก้ปัญหาได้

- คนที่รู้ทุกข์ ก็ไม่ใช่คนเป็นทุกข์ แต่คนต้องรู้ทุกข์ คนจึงจะดับทุกข์ได้


การรู้ทันทุกข์ หรือรู้จักทุกข์ กับการเป็นทุกข์ ไม่ใช่อย่างเดียวกัน

การเป็นทุกข์ เป็นการปฏิบัติผิดหน้าที่ต่ออริยสัจ ถ้าใครปฏิบัติหน้าที่ต่อริยสัจผิด ก็ผิดพลาดออกนอกทาง

พระพุทธเจ้าไม่เคยสอนให้ใครเป็นทุกข์ แต่ทรงสอนให้รู้ทันทุกข์ แค่กิจในอริยสัจข้อที่หนึ่งนี้ หลายคนก็พลาด


เป็นอันว่า ทุกข์เป็นสภาวะสำหรับปัญญารู้ เอาปัญญาเผชิญหน้ากับมัน ทุกข์นี้เราต้องมีปริญญา คือรู้ทันมัน

ดูกันให้ครบ กิจในอริยสัจทั้ง ๔ ข้อ

๑. ทุกฺขํ อริยสจฺจํ ปริญฺเญยฺยํ

ทุกขอริยสัจ เป็นสิ่งที่พึงกำหนด-รู้


๒. ทุกฺขสมุทโย อริยสจฺจํ ปหาตพฺพํ

ทุกขสมุทัย เป็นสิ่งทีพึง-ละ


๓. ทุกฺขนิโรโธ อริยสจฺจํ สจฺฉิกาตพฺพํ

ทุกฺขนิโรธอริยสัจ เป็นสิ่งที่ต้องทำให้- แจ้ง ทำให้เป็นจริง บรลลุถึง


๔. ทุกฺขนิโรธคามินี ปฏิปทา อริยสจฺจํ ภาเวตพฺพํ

ทุกฺขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นสิ่งที่พึง- เจริญ ปฏิบัติ ลงมือทำ



พูดให้เข้าใจง่ายขึ้นในภาษาไทยว่า

๑. หน้าที่ต่ออริยสัจข้อที่หนึ่ง คือทุกข์ ได้แก่ ปริญญา การกำหนดรู้ รู้จัก รู้เข้าใจ รู้ทัน

๒. หน้าที่ต่ออริยสัจข้อที่สองหนึ่ง คือสมุทัย ได้แก่ ปหานะ การละ หรือกำจัด

๓. หน้าที่ต่ออริยสัจข้อที่สาม คือนิโรธ ได้แก่ สัจฉิกิริยา การทำให้แจ้ง บรรลุ หรือทำให้เป็นจริง

๔. หน้าที่ต่ออริยสัจข้อที่สี่ คือ มรรค ได้แก่ ภาวนา การลงมือปฏิบัติ


การปฏิบัติอยู่ที่ข้อ ๔ เรียกว่า “ภาวนา” เราต้องปฏิบัติข้อเดียว คือ ข้อที่สี่- มรรค

นอกนั้น เมื่อเราปฏิบัติไปตามข้อที่สี่แล้ว มันถึงเองหมด แต่เรารู้ไว้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2016, 10:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
รู้ทุกข์ ละสมุทัย ถึงมรรค ผล นิพพาน ตามลำดับที่สติปัญญารู้ทัน
ไม่ใช่มีตัวตนไปทำขึ้นหรือไปกำหนดให้เกิดขึ้นอีกเพราะว่าความจริง
ธัมมะคือสิ่งที่มีจริงที่กำลังปรากฏว่ามีจิตกำลังเกิด-ดับตามเหตุปัจจัย
แต่ความไม่รู้ทำให้หลงไปยึดมั่นในขันธ์5ว่าเป็นเราคือมีอุปาทานขันธ์
โดยเป็นผู้มีปกติหลงลืมสติคือสัญญาไม่มั่นคงว่าทุกอย่างที่มีเป็นธัมมะ
ธรรมทั้งหลายเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาที่เกิดมีขึ้นตั้งอยู่และดับไปแล้ว
แต่หลงคิดว่ามีเราไปทำขึ้นมาใหม่ซึ่งเป็นความไม่รู้คือปกติอวิชชาปรากฏ
ด้วยเหตุที่อวิชชาปรากฏจิตจึงมีกิเลสคือโลภ โกรธ หลง เป็นธรรมดาโลก
ไม่มีใครสามารถเอากิเลสออกไปจากจิตได้นอกจากตามรู้จิตตนเองที่มีแล้ว
จนกว่าละอกุศลได้ทั้งหมดแล้วมีสติปัญญารู้รอบในพระพุทธพจน์ตามเป็นจริง
พระพุทธเจ้าสอนว่าละชั่ว(ที่ไม่รู้ว่าไม่ใช่เรา)ทำดี(รู้ว่าเป็นธัมมะ)และทำจิตใจ
ให้ถึงพร้อมโดยละอุปาทานขันธ์ไม่ใช่ตัวตนแต่เป็นธรรมะถึงความบริสุทธิ์ในจิต
:b8: :b8: :b8:
:b16: :b16: :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2016, 19:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เข้าถึงระบบสัมพันธ์ของธรรมแล้ว ก็จัดแยกจับโยงได้ทั่วสรรพสิ่ง


จากหลักหน้าที่ต่ออริยสัจนี้ พระพุทธเจ้าก็ทรงจัดหมวดธรรมขึ้นอีกชุดหนึ่ง คือ

๑. ปริญไญยธรรม ธรรมที่พึงปริญญา คือ พึงกำหนดรู้ ต้องรู้จัก รู้เท่าทัน เช่น ขันธ์ ๕ ไตรลักษณ์ เป็นต้น ตลอดจนอายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ ฯลฯ

๒. ปหาตัพพธรรม ธรรมที่ต้องปหานะ คือ ต้องละ เช่น อกุศลมูล โลภะ โทสะ โมหะ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ พวกบาปอกุศลต่างๆ ทั้งหลายทั้งปวง ตลอดจนในที่สุด คืออวิชชา

๓. สัจฉิกาตัพพธรรม ธรรมที่ต้องสัจฉิกิริยา พึงทำให้แจ้ง ต้องบรรลุถึง เช่น สันติ ความสงบ วิสุทธิ ความบริสุทธิ์ ความสะอาด วิมุตติ ความหลุดพ้น ความเป็นอิสระ พระนิพพาน

๔. ภาเวตัพพธรรม ธรรมที่ต้องภาวนา พึงปฏิบัติ พึงทำให้มีให้เป็นขึ้นมา พึงเจริญ พึงพัฒนา ยกตัวอย่าง ศรัทธาก็ดี ศีลก็ดี ปัญญาก็ดี สมาธิก็ดี หิริโอตตัปปะเป็นต้นก็ดี ธรรมต่างๆ เหล่านี้เป็นข้อปฏิบัติ จัดเป็นภาเวตัพพธรรม ธรรมที่พึงเจริญ


ภาเวตัพพธรรม ธรรมที่พึงทำให้เกิดมี พึงปฏิบัติ รวมเข้าด้วยกันก็มี ๓ หมวด เรียกง่ายๆว่า ศีล สมาธิ ปัญญา มรรคมีองค์ ๘ หรือจะเป็นโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ก็ตาม รวมอยู่ในภาเวตัพพธรรมทั้งหมด

ธรรมทั้งหมดบรรดามีนั้น จัดลงในชุด ๔ นี้ เป็นปริญไญยธรรมพวกหนึ่ง เป็นปหาตัพพธรรมพวกหนึ่ง เป็นสัจฉิกาตัพพธรรมพวกหนึ่ง เป็นภาเวตัพพธรรมพวกหนึ่ง

พอจัดแล้วก็ประสานกับหลักอริยสัจ ๔ โยงไปสู่เรื่องกิจต่ออริยสัจ

เมื่อปฏิบัติกิจต่ออริยสัจถูกต้อง ก็คือปฏิบัติต่อธรรม ๔ หมวดในชุดท้ายนี้

นี้เป็นตัวอย่างของการจัดแยกและจับโยง ซึ่งทำให้เห็นภาพรวมของธรรม ที่เราจะต้องเกี่ยวข้อ และจะนำเราเข้าสู่ทางของพระพุทธศาสนาอย่างถูกต้อง

ทั้งนี้ให้เห็นภาพรวมของพระพุทธศาสนาที่เป็นหลักธรรมวินัย และประชุมลงในการปฏิบัติด้วยความไม่ประมาท ย้อนกลับเข้าสู่มัชฌิมาปฏิปทา ที่ดำเนินไปในไตรสิกขา อันจะทำให้ปฏิบัติหน้าที่ถูกต้องสมบูรณ์ต่อทุกสิ่งทุกอย่าง ที่พระพุทธเจ้าทรงประมวลเข้าไว้แล้วในอริยสัจ ๔ ประการ


คิดว่าผู้มีศรัทธาทั้งหลายคงจะมีความเข้าใจ และจะทำให้มีผลในการดำเนินชีวิต คือในการปฏิบัติธรรม อันจะทำให้ธรรมที่เจริญพัฒนาขึ้นแล้วประชุมกันเป็นธรรมกายในตัวเรา อันเป็นกายที่ไม่มีรูปร่าง ไม่ต้องเห็นด้วยตา แต่เห็นด้วยปัญญาที่เห็นธรรม

เมื่อเราปฏิบัติธรรมหนึ่งข้อ ก็ได้เข้ามาข้อหนึ่ง ปฏิบัติอีกข้อก็ได้เป็นสอง ปฏิบัติไปอีกก็ได้ ๓-๔-๕ หรือบางทีได้มาเป็นหมวดเป็นชุด ธรรมกายก็เจริญพัฒนาขยายใหญ่ขึ้นไปเรื่อยๆ

แต่ในระยะแรกธรรมกายนี้ก็มีเสื่อมบ้างเจริญบ้าง อันนั้นหายไป อันนี้เข้ามาใหม่ ธรรมกายพอง-ธรรมกายยุบ จนกระทั่งไปถึงมรรคผลนิพพานเมื่อไร ก็จะเป็นเป็นธรรมกายที่แน่นแฟ้นมั่นคง

จึงขอให้ผู้มีศรัทธาทุกท่านพัฒนาธรรมกายด้วยการปฏิบัติธรรม จนกว่าจะเป็นธรรมกายอันมั่นคง ที่ยืนยงอยู่ตลอดไป คือมรรคผลนิพพาน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2016, 19:50 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ม.ค. 2011, 17:26
โพสต์: 353


 ข้อมูลส่วนตัว


กระหายน้ำ จึงรู้ทุกข์ของการกระหายน้ำ
จึงไปหาน้ำมาดื่ม ทุกข์ของการกระหายน้ำหายไป

แบบนี้ คือ รู้ทุกข์จึงดับทุกข์ ใช่ไหมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2016, 19:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


deecup เขียน:
กระหายน้ำ จึงรู้ทุกข์ของการกระหายน้ำ
จึงไปหาน้ำมาดื่ม ทุกข์ของการกระหายน้ำหายไป

แบบนี้ คือ รู้ทุกข์จึงดับทุกข์ ใช่ไหมครับ


ก็ทำนองเดียวกับปวดหนักปวดเบา รู้ว่าทุกข์ ไปถ่ายหนักถ่ายเบาสะทุกข์ก็ดับไป :b32: เพราะเหตุนั้น บ้านเราจึงมีผู้บันลุออระหันขณะยืนฉี่แล :b13:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2016, 23:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


deecup เขียน:
กระหายน้ำ จึงรู้ทุกข์ของการกระหายน้ำ
จึงไปหาน้ำมาดื่ม ทุกข์ของการกระหายน้ำหายไป

แบบนี้ คือ รู้ทุกข์จึงดับทุกข์ ใช่ไหมครับ


การหาน้ำมาดื่มคือการแก้ปัญหาสนองตอบอารมณ์ที่เป็นอุปาทาน เป็นการดับอุปทานในช่วงนั้น

ทุกข์ของการกระหายน้ำไม่ได้หายไปเพียงแต่เบาบางลงและกลับมาในทุกระยะในแต่ละวัน

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ต.ค. 2016, 00:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
deecup เขียน:
กระหายน้ำ จึงรู้ทุกข์ของการกระหายน้ำ
จึงไปหาน้ำมาดื่ม ทุกข์ของการกระหายน้ำหายไป

แบบนี้ คือ รู้ทุกข์จึงดับทุกข์ ใช่ไหมครับ


ก็ทำนองเดียวกับปวดหนักปวดเบา รู้ว่าทุกข์ ไปถ่ายหนักถ่ายเบาสะทุกข์ก็ดับไป :b32: เพราะเหตุนั้น บ้านเราจึงมีผู้บันลุออระหันขณะยืนฉี่แล :b13:

:b32: :b32: :b32: :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ต.ค. 2016, 00:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
:b12:
รู้ทุกข์เพราะว่ากิเลสเกิดแล้วเมื่อเป็นเราทำเป็นความไม่รู้ที่ยึดขันธ์5ว่าเป็นเรา
ละสมุทัยคือการทำความเห็นให้ถูกต้องตามคำสอนเพื่อละความไม่รู้ก่อน
ถึงมรรคคือเมื่อเริ่มมีความเห็นถูกตามคำสอนคือการถึงมรรคแรกคือสัมมาทิฏฐิ
ถึงผลคือการถึงมรรคที่ค่อยๆอบรมจิตให้เจริญจนมั่นคงว่าไม่ใช่ตัวตน
และนิพพานไม่กลับมาเกิดอีกคือรู้ทุกข์ละสมุทัยถึงมรรค-ผลจนกว่านิพพาน
การเริ่มต้นฟังคำจริงตรงตามคำสอนเพื่อละสมุทัยคือการเริ่มรู้เพื่อละไม่รู้ก่อน
https://m.youtube.com/watch?v=Gy-fGQVILq8
onion onion onion


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 87 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron