วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 05:49  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 13 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2016, 18:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ


พุทธปณิธาน กับ หน้าที่ของพุทธศาสนิกชน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2016, 18:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธปณิธาน กับ หน้าที่ของพุทธศาสนิกชน


ความเป็นมาของพุทธปณิธาน


พุทธปณิธาน คือ ความตั้งใจอย่างแน่วแน่ของพระพุทธเจ้า ในอันที่จะเผยแผ่ศาสนธรรม ก่อตั้งประดิษฐานพระพุทธศาสนาให้ดำรงมั่นคงก่อนที่จะเสด็จดับขันธปรินิพพาน มีหลักฐานปรากฏในมหาปริพานสูตร ทีฆนิกาย มหาวรรค (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐) โดยสรุปความว่า

ครั้งหนึ่ง พระพุทธองค์ได้เล่าย้อนถึงเหตุการณ์เมื่อแรกตรัสรู้ให้พระอานนท์ฟังเกี่ยวกับเรื่องที่มารใจบาปตนหนึ่ง ซึ่งมีความประสงค์ไม่ให้พระพุทธองค์สั่งสอนเวไนยสัตว์ จึงมาทูลให้รีบดับขันธปรินิพพานไปเสีย พระพุทธองค์ได้ตรัสตอบ ถึงเหตุผลในการดำรงพระชนม์ชีพอยู่ มีความว่า

มารเราจักยังไม่ปรินิพพาน ตราบเท่าที่ภิกษุสาวก...ภิกษุณีสาวก...อุบาสกสาวก....อุบาสิกาสาวิการของเราจักยังไม่ฉลาด ยังไม่ได้รับแนะนำอย่างดี ไม่แกล้วกล้า ไม่เป็นพหูสูต ไม่ทรงธรรม ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ไม่ปฏิบัติชอบ ไม่ประพฤติตามธรรม เรียนกับอาจารย์ตนแล้วยังบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายไม่ได้ ยังแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ข่มขี่ปรับปวาทที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยสหธรรมไมได้...”


พุทธดำรัสตรัสตอบมาร เมื่อแรกตรัสรู้ในครั้งนั้น พุทธเมธีบัณฑิตทางพระพุทธศาสนาทั้งหลายต่างลงความเห็นว่าเป็นพุทธปณิธาน คือความตั้งใจที่จะดำรงพระชนม์ชีพเพื่อประดิษฐานเผยแผ่หลักธรรมวินัย คือพระพุทธศาสนาให้เป็นปึกแผ่นมั่นคงเสียก่อน โดยรับคำอาราธนาของพญามารที่ต้องการให้รีบปรินิพพานเสียหลังจากตรัสรู้แล้ว ภายใต้เงื่อนไขว่า

จะดำรงพระชนม์ชีพอยู่เพื่อทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้สำเร็จเสียก่อนแล้วจึงจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน ซึ่งพุทธปณิธานดังกล่าวนี้ สรุปความหมายเชิงปฏิบัติได้ ๔ ประการ คือ

๑) พุทธบริษัทควรได้ศึกษาพระสัทธรรมอย่างเข้าใจแจ่มแจ้ง


๒) พุทธบริษัทควรได้ประพฤติปฏิบัติตามพระสัทธรรมที่ทรงแสดงไว้นั้นได้อย่างประจักษ์ในผลขอบงการประพฤติปฏิบัติ


๓) พุทธบริษัทควรช่วยกันเผยแผ่พระสัทธรรมที่ได้ศึกษาปฏิบัติมาแล้วได้อย่างลุ่มลึกและกว้างขวาง


๔) พุทธบริษัทควรสามารถแก้ไขตอบโต้การกล่าววิจารณ์จ้วงจาบบิดเบือนหลักพระสัทธรรมให้ยุติลงด้วยความเรียบร้อย


สรุปสั้นๆ ก็คือ พระพุทธองค์ทรงเน้นย้ำให้พุทธบริษัท ๔ ศึกษา ปฏิบัติ เผยแผ่ธรรม และแก้ข้อกล่าวหาจาบจ้วงธรรมได้


กล่าวอีกนัยหนึ่ง พุทธปณิธานนี้ก็คือข้อกำหนด กฎบัตร บังคับ เป็นหน้าที่ของพุทธศาสนิกชน ควรปฏิบัติต่อพระพุทธศาสนา ๔ ประการ คือ ศึกษา ปฏิบัติ เผยแผ่ และปกป้อง อุปถัมภ์คุ้มครองพระพุทธศาสนา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2016, 18:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพื่อให้พุทธบริษัทฝ่ายคฤหัสถ์ได้ตระหนักถึงการเป็นพุทธศาสนิกชนตามพระพุทธปณิธาน ในที่นี้ จึงขอนำหน้าที่ของพุทธศาสนิกชนทั้ง ๔ ด้าน คือ ศึกษา ปฏิบัติ เผยแผ่ และปกป้องพระพุทธศาสนา มาให้คำจำกัดความ ดังนี้

๑) หน้าที่ศึกษาธรรม คำว่า ศึกษา ในความหมาย ทางพระพุทธศาสนานั้นกินความกว้างถึงกระบวนการฝึกฝน อบรม พัฒนาตนด้วยหลักการศึกษา ๓ ขั้น คือ ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อให้บรรลุถึงจุดหมายสูงสุดคือสำเร็จเป็นอเสขบุคคล หรือพระอรหันต์ ผู้ไม่ต้องศึกษา

แต่ในที่นี้ มุ่งเฉพาะหน้าที่ศึกษาธรรม ซึ่งมีความหมายจำกัดเพียงแค่การศึกษาเล่าเรียนหลักธรรม ที่เรียกว่า พระปริยัติธรรม คือการศึกษาพระสัทธรรมที่ต้องเล่าเรียน ซึ่งได้แก่หลักพระพุทธพจน์ในพระไตรปิฎก หมายถึงการมีประสบการณ์ได้สัมผัส รับรู้สบทราบหลักพระธรรมคำสอน หรือเรื่องราวที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาทางประสาทสัมผัส คือ ตา และหู ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม กล่าวง่ายๆ ก็คือ การได้อารมณ์ และได้รับฟังพระสัทธรรมโดยตรงนั่นเอง เช่น

การค้นอ่านคัมภีร์พระไตรปิฎก และคัมภีร์ที่อธิบายขยายความที่เรียกว่า อรรถกถา ฎีกา หรือการอ่านหนังสืออธิบายหลักพุทธธรรม ตลอดจนการอ่านหนังสือที่ว่าด้วยหลักพระพุทธศาสนาอื่นๆ

การตั้งใจเล่าเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรมศึกษา ซึ่งเป็นหลักสูตรที่คณะสงฆ์ไทยจัดให้สำหรับประชาชนทั่วไป การตั้งใจฟังธรรมเทศนา หรือการแสดงธรรมจากพระภิกษุในงานบุญพิธีต่างๆ ตลอดจนการสนทนาธรรมตามกาลที่สมควร เป็นต้น ดังกล่าวมานี้ ล้วนแต่จัดเป็นการศึกษาธรรมทั้งสิ้น

การศึกษาธรรม นอกจากจะทำให้ผู้ศึกษาเป็นพหูสูต คือ ผู้คงแก่เรียนในหลักพุทธธรรมหรือหลักพระพุทธศาสนาแล้ว ยังเป็นการฝึกพัฒนาให้ผู้ศึกษามีความฉลาดรอบรู้สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงสอน ซึ่งเรียกว่า เกิดปัญญาขั้นสุตมยปัญญา คือ ปัญญาที่เกิดจากการฟัง หรือศึกษาเล่าเรียนธรรม และหากนำหลักธรรมนั้นมาวิเคราะห์พิจารณาหาเหตุผล ก็เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดปัญญาขั้นสูงยิ่งขึ้นกว่านั้น ที่เรียกว่า จินตามยปัญญา คือปัญญาที่เกิดจากการขบคิดพิจารณาธรรมอีกด้วย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2016, 18:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๒) หน้าที่ปฏิบัติธรรม หมายถึงการปฏิบัติตามธรรมที่ได้ศึกษาเล่าเรียนแล้วนั้น โดยนำมาประพฤติปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน หลักธรรมที่ชาวพุทธ ซึ่งเป็นฆราวาสควรน้อมนำมาปฏิบัตินั้น มี ๓ ระดับ คือ ธรรมะระดับต้น ธรรมะระดับกลาง และธรรมะระดับสูง

ธรรมะระดับต้น ได้แก่ ธรรมะขั้นพื้นฐาน หรือธรรมะระดับศีลธรรมสำหรับควบคุมกิเลสที่ละเมิดแสดงออกมาทางกาย และวาจา (วีติกกมกิเลส) ซึ่งพุทธศาสนิกชนทุกคนควรประพฤติปฏิบัติให้เป็นนิสัยมาตรฐานชีวิตของชาวพุทธ เช่น การรักษาศีล ๕ การรักษาศีล ๘ หรืออุโบสถศีล เว้นอคติ ๔ และอบายมุข (ช่องทางเสื่อมทรัพย์อับชีวิต)

ธรรมะระดับกลาง ได้แก่ ธรรมะระดับสมาธิ เป็นหลักธรรมที่มุ่งฝึกอบรมจิตใจให้สงบจากกิเลสที่เข้ามารุมเร้ารบกวน (ปริยุฏฐานกิเลส) โดยอาศัยหลักการทำสมาธิ ที่เรียกว่า การเจริญสมถกัมมัฏฐาน หรือการปฏิบัติธรรม (แบบเข้มข้น) เพื่อความสงบจิต ซึ่งเป็นกระบวนการฝึกฝนพัฒนาจิตให้สงบปลอดจากนิวรณ์กิเลสที่คอยขวางกั้นจิตมิให้เข้าถึงคุณธรรมความดี ๕ อย่าง คือ

กามฉันทะ ความยินดีติดใจในรสกามคุณลุ่มหลงสยบตกอยู่ในอำนาจของรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ (อิฏฐารมณ์)

พยาบาท ความคิดที่จะกระทำการเบียดเบียนทำร้ายทำลาย

ถีนมิทธะ ความหดหู่ท้อแท้เซื่องซึม ไม่สดชื่นกระปรี้กระเปร่า มีแต่ซึมเซาเศร้าเหงาหงอย ซึ่งเป็นอาการของจิตที่มีแต่ความเบื่อหน่ายท้อถอย ง่วงเหงาหาวนอน ไม่อยากประกอบกิจบำเพ็ญกุศลใดๆ

อุทธพัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านและรำคาญใจ เป็นอาการของจิตที่มีความเครียดความเซ็งในสิ่งที่ได้กระทำและในภาวะที่เป็นอยู่ และ

วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยไม่แน่ใจในคุณธรรมความดี ความไม่เชื่อในพระรัตนตรัยและผลของการกระทำ

เมื่อคนเราได้ฝึกอบรมจิตให้เป็นสมาธิ ตามหลักการเจริญสมถกัมมัฏฐาน จิตก็จะปลอดจากนิวรณ์กิเลส ๕ อย่างดังกล่าว พร้อมที่จะรองรับกุศลธรรมความดีอื่นๆ เช่น ศรัทธา วิริยะ สติ สัมปชัญญะ หิริโอตตัปปะ สัจจะ ขันติ จาคะ เมตตา กรุณา เป็นต้น ให้เข้ามาเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดำเนินชีวิตให้เป็นไปในทางคิดดี พูดดี และทำดีอยู่เสมอ ซึ่งจะส่งผลให้มีคุณภาพจิตสูงขึ้นประณีตขึ้นไปตามลำดับ โดยมีความพร้อม และมีความสามารถที่จะสรรค์สร้างกระทำแต่คุณงามความดีทั้งแก่ตนและผู้อื่นต่อไป



ธรรมะระดับสูง ได้แก่ ธรรมะระดับปัญญา เป็นหลักธรรมที่มุ่งฝึกฝนพัฒนาจิต และปัญญา สามารถเอาชนะอนุสัยกิเลสที่นอนเนื่องแอบแนบสนิทประจำอยู่ในจิตสันดาน หรือจิตใต้สำนึกได้อย่างรู้เท่าทัน โดยมีความรอบรู้สภาวะที่เป็นจริงของสรรพสิ่งตามที่มันเป็นหรือตามความเป็นจริง เช่น รู้และเข้าใจว่าทุกชีวิตที่เกิดมา ย่อมมีความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เสื่อมสลายไปในที่สุดเป็นธรรมดา สังขารธรรม คือ สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งทั้งที่มีใจครอง เช่น มนุษย์ หรือไม่มีใจครอง เช่น แผ่นดิน ล้วนแต่มีสามัญลักษณะ คือ ลักษณะความเปลี่ยนแปลงร่วมที่เหมือนกันอยู่ ๓ ประการ ซึ่งเรียกว่าตกอยู่ในภายใต้กฎไตรลักษณ์ คือ อนิจจตา ความไม่เที่ยง ทุกขตา ความเป็นทุกข์ อนัตตตา ความไม่ใช่ตน


กระบวนการฝึกจิตให้เกิดปัญญาที่สามารถตัดกิเลสที่แอบแฝงทำให้จิตเศร้าหมองต่างๆ ได้อย่างเฉียบพลันเด็ดขาดนี้ เรียกว่า การเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน จัดเป็นการเจริญปัญญาที่เรียกว่า ภาวนามยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการฝึกฝนอบรมจิต

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2016, 19:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๓) หน้าที่เผยแผ่ธรรม หมายถึง การที่พุทธศาสนิกชน เมื่อได้ศึกษาปฏิบัติธรรมจนได้รับผลประจักษ์เป็นความสุขกายสบายใจ หรือมีจิตสงบพบความสุขที่เยือกเย็นด้วยตนเองแล้ว ไม่ควรตระหนี่ หรือหวงแหนหลักธรรมไว้ แต่ควรดำเนินตนตามแบบอย่างพระพุทธจริยาวัตร และการดำรงชีวิตของพุทธสาวกด้วยการเป็นผู้เผยแผ่ธรรม ป่าวประกาศหลักพุทธธรรมโดยการแนะนำชักชวนให้ผู้อื่นหันมาศึกษาปฏิบัติธรรมเยี่ยงอย่างตนบ้าง เพื่อให้รู้จัก เข้าใจ และเข้าถึงหลักพระพุทธศาสนา คือ ได้รับประโยชน์สุขแห่งการปฏิบัติธรรมเฉกเช่นเดียวกับตน อันจะก่อให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองและความมั่นคงแห่งบวรพระพุทธศาสนา

การเผยแผ่ธรรมนั้น จัดว่าเป็นการบำเพ็ญธรรมทาน คือการให้ธรรมเป็นทาน และเป็นการแสดงออกถึงการเคารพบูชายกย่องเทิดทูนพระพุทธศาสนาอย่างสูง ความข้อนี้ มีพระพุทธภาษิตตรัสรับรองไว้ว่า สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ ซึ่งแปลว่า การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง หมายถึงการให้ธรรมเป็นทานโดยการแสดงธรรม การแนะนำพร่ำสอนธรรมแก่ผู้อื่นที่ยังไม่รู้ ไม่เข้าใจในธรรมให้ได้รู้ได้เข้าใจในธรรม จัดเป็นยอดของทาน คือ การให้ที่ดียิ่งกว่าการให้วัตถุสิ่งของทุกอย่าง เพราะเป็นเหตุให้บุคคลผู้รับธรรมทานนั้น นำหลักธรรมไประพฤติปฏิบัติสามารถหลุดพ้นจากความทุกข์ได้ ความข้อนี้

จะเห็นได้ชัดจากพุทธพจน์ที่ตรัสถึงการที่บุตรธิดาจะทำการตอบแทนคุณของมารดาบิดาได้ดีที่สุด ก็คือการให้ธรรมในเชิงแนะนำว่าอะไรดี อะไรชั่ว เป็นต้น แก่มารดาบิดา โดยใช้ธรรมะเป็นเครื่องอบรมจิตใจ และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของมารดาบิดาที่เป็นคนขาดศรัทธาให้เป็นคนมีศรัทธา ที่เป็นคนทุศีลให้เป็นคนมีศีล ที่เป็นคนขาดจาคะ ให้เป็นคนมีจาคะ และที่เป็นคนไร้ปัญญาให้เป็นคนมีปัญญา ดังที่พุทธพจน์ตรัสแก่ภิกษุสงฆ์ไว้ในทุกนิบาต อังคุตตรนิกาย (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ ข้อที่ ๖๔๒) ความว่า

ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการทำตอนแทนไม่ได้ง่ายสำหรับคน ๒ คน คือ มารดา กับ บิดา บุตรพึง ประคับประคองมารดาด้วยบ่าข้างหนึ่ง พึงประคับประคองบิดาด้วยบ่าข้างหนึ่ง เขามีอายุ มีชีวิตอยู่ ๑๐๐ ปี และพึงปฏิบัติท่านทั้งสองนั้นด้วยการอบกลิ่น การนวด การอาบน้ำให้ และการดัดกาย และท่านทั้งสองนั้น พึงถ่ายอุจจาระปัสสาวะบนบ่าทั้งสองของเขานั่นแหละ การทำอย่างนั้น ก็ยังไม่ชื่อว่าบุตรทำแล้วหรือทำตอบแทนแล้วแก่มารดาบิดาเลย



อนึ่ง บุตรพึงสถาปนามารดาบิดา ไว้ในราชสมบัติอันเป็นอิสราธิปย์ในแผ่นดินใหญ่ ซึ่งมีรัตนะ ๗ ประการมากหลายนี้ การทำอย่างนั้นก็ยังไม่ชื่อว่าบุตรทำแล้วหรือทำตอบแทนแล้วแก่มารดาบิดาเลย ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะว่ามารดาบิดามีอุปการะมาก บำรุงเลี้ยงดู แสดงโลกนี้แก่บุตรทั้งหลาย


ส่วนบุตรคนใด ทำมารดาบิดา ผู้ไม่มีศรัทธาให้ตั้งมั่นอยู่ในความถึงพร้อมด้วยศรัทธาได้ ทำมาดาบิดาผู้ทุศีลให้ตั้งมั่นอยู่ในความถึงพร้อมด้วยศีลได้ ทำมารดาบิดา ผู้มีความตระหนี่ให้ตั้งมั่นอยู่ในความถึงพร้อมด้วยการบริจาคได้ ทำมารดาบิดาผู้ด้อยปัญญาให้ตั้งมั่นอยู่ในความถึงพร้อมด้วยปัญญาได้ การทำอย่างนั้น จึงชื่อว่าเป็นอันบุตรผู้นั้นทำแล้ว และทำตอบแทนแล้วแก่มารดาบิดา”

ดังนั้น ธรรมทาน การให้ธรรมะ หรือการเผยแผ่ธรรม การแสดงธรรม การแนะนำธรรมะแก่ผู้ที่ยังไม่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาให้ได้เลื่อมใส หรือการแนะนำพร่ำสอนธรรมะแก่ผู้เลื่อมใสแล้วให้ได้เลื่อมใสยิ่งขึ้น จึงนับเป็นหน้าที่อันสำคัญยิ่งของพุทธศาสนิกชนทั้งฝ่ายบรรพชิต และฝ่ายคฤหัสถ์ เพราะเป็นความเจริญรุ่งเรืองมั่นคงแห่งพระพุทธศาสนา โดยเหตุที่ พระพุทธศาสนาดำรงสืบทอดมาถึงปัจจุบันนี้ ก็เพราะการมุ่งมั่นดำเนินงานด้านการเผยแผ่พุทธธรรมของพุทธบริษัท ๔ นั่นเอง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2016, 19:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๔) หน้าที่ปกป้องพระพุทธศาสนา หมายถึง การที่พุทธศาสนิกขน เมื่อได้รับทราบว่าพระพุทธศาสนากำลังมีภัย ทั้งภัยภายในที่เกิดจากพุทธบริษัท ๔ ไม่ตั้งใจศึกษา ไม่ตั้งใจปฏิบัติ ไม่ตั้งใจเผยแผ่สัทธรรม คือ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ และภัยภายนอก ที่เกิดจากการรุกรานของพวกคนนอกศาสนา ก็กล้าที่จะแสดงตนออกมาปกป้องอุปถัมภ์คุ้มครองให้อยู่รอดปลอดภัยในทุกวิถีทาง

ทำได้เช่นนี้ ชื่อว่าเป็นชาวพุทธแท้ มิใช่เป็นคนไทยพุทธเทียมที่เหนียมเสงี่ยมอยู่ในสำมะโนครัวทะเบียนบ้าน ว่าเป็นแต่เพียงผู้นับถือพระพุทธศาสนา ถึงคราวที่พระพุทธศาสนาเกิดวิกฤตมีภัยทำให้เสื่อมถอยด้อยความรุ่งเรื่องแล้ว ไปกล้าแสดงตนออกมาปกป้อง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2016, 08:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปณิธาน การตั้งความปรารถนา


ปฏิบัติ กระทำ, ประพฤติ, บำรุง,เลี้ยงดู



ปฏิปทา ข้อปฏิบัติ, ทางดำเนิน, ความประพฤติ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2016, 13:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อยากรู้จริงว่า มันไปรู้ปณิธานของพุทธองค์ได้อย่างไร
งานนี้ไม่โม้ก็มั่ว



.....................รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2016, 09:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
:b1: พี่กายมีแหล่งอ้างอิงในการนำเสนอ :b12:
:b13: พี่โฮวิจารณ์ไปตามอ้างอิงพี่กายนะ :b32:
:b9: :b32: :b31: :b31: :b31: :b31: :b31: :b31: :b31: :b32: :b9:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2016, 20:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
อยากรู้จริงว่า มันไปรู้ปณิธานของพุทธองค์ได้อย่างไร
งานนี้ไม่โม้ก็มั่ว



...................



เขาก็ดูจากหลักฐานนั่นไง หรือไม่เชื่อ


ปณิธาน การตั้งความปรารถนา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2016, 07:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
โฮฮับ เขียน:
อยากรู้จริงว่า มันไปรู้ปณิธานของพุทธองค์ได้อย่างไร
งานนี้ไม่โม้ก็มั่ว



...................



เขาก็ดูจากหลักฐานนั่นไง หรือไม่เชื่อ


ปณิธาน การตั้งความปรารถนา


หลักแถมากกว่ามั้ง!


รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2016, 08:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:
โฮฮับ เขียน:
อยากรู้จริงว่า มันไปรู้ปณิธานของพุทธองค์ได้อย่างไร
งานนี้ไม่โม้ก็มั่ว



...................



เขาก็ดูจากหลักฐานนั่นไง หรือไม่เชื่อ


ปณิธาน การตั้งความปรารถนา


หลักแถมากกว่ามั้ง!




ก็เอาหลักจริงมายันซี่ คิกๆๆ

:b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ส.ค. 2016, 14:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
:b12: ต่างคนต่างมุ่งมั่นในหลักการจริงๆคุยยังไงก็จบไม่ลง :b32:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 13 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 47 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร