วันเวลาปัจจุบัน 16 เม.ย. 2024, 18:13  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 29 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2016, 08:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

พจน, พจน์ ๑ (พตจะนะ,พต) น. คำพูด, ถ้อยคำ (ป วจน)

พจนา (พตจะ) น. การเปล่งวาจา, การพูด, คำพูด (ป)

พจนานุกรม (-กฺรม) น. หนังสือสำหรับค้นความหมายของคำที่เรียงลำดับตามตัวอักษร

พจน์ ๒ (คณิต) น. สัญลักษณ์ที่แทนจำนวนจริงหรือจำนวนเชิงซ้อน ซึ่งจะเป็นจำนวนเดียวหรือหลายจำนวนคูณ หรือหารกันก็ได้ (อ. Term)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2016, 08:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทวาร ประตู, ทาง, ช่องตามร่างกาย

๑. ทางรับรู้อารมณ์ มี ๖ คือ

๑. จักขุทวาร - ทางตา

๒. โสตทวาร - ทางหู

๓. ฆานทวาร - ทางจมูก

๔. ชิวหาทวาร - ทางลิ้น

๕. กายทวาร - ทางกาย

๖. มโนทวาร - ทางใจ

๒. ทางทำกรรม

๑. กายทวาร - ทางกาย

๒. วจีทวาร - ทางวาจา

๓. มโนทวาร - ทางใจ


อารมณ์ เครื่องยึดหน่วงของจิต, สิ่งที่จิตยึดหน่วง, สิ่งที่ถูกรู้หรือถูกรับรู้ ได้แก่ อายตนะภายนอก ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธัมมารมณ์,

ในภาษาไทย ความหมายเลือนไปเป็นความรู้สึก หรือความเป็นไปแห่งจิตใจ ในขณะหรือช่วงเวลาหนึ่งๆ เช่นว่า อย่าทำตามอารมณ์ วันนี้อารมณ์ดี อารมณ์เสีย เป็นต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2016, 09:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ส่งข่าวถึงศาสดาโฮฮับ และสาวก :b1: ศึกษาความหมาย ทวาร + อารมณ์ ให้ชัดก่อนนะขอรับ แล้วค่อยไปเรื่องอื่นๆ กายอายแทนจริงๆ :b13:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2016, 09:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทวัตติงสาการ อาการ ๓๒
ส่วนประกอบที่มีลักษณะต่างๆ กัน ๓๒ อย่าง ในร่างกาย คือ ผล ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า (อุจจาระ) เหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร (ปัสสาวะ)

ในขุททกปาฐะ (ฉบับสยามรัฐ) เรียงลำดับมันสมองไว้เป็นข้อสุดท้าย

ทวัตดึงสาการ หรือ ทวดึงสาการ ก็เขียน


ทมะ การฝึก, การฝึกฝนปรับปรุงตน, การรู้จักข่มจิตข่มใจ บังคับควรคุมตนเองได้ ไม่พูดไม่ทำเพียงตามที่อยาก แต่พูดและทำตามเหตุผลที่พิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่ามีงามสมควรเป็นประโยชน์ รู้จักปรับตัวปรับใจ และแก้ไขปรับปรุงตนด้วยปัญญาไตร่ตรองให้งอกงามดียิ่งขึ้นอยู่เสมอ (ข้อ ๒ ในฆราวาสธรรม ๔)


ทมิฬ ชื่อชนเผ่าหนึ่งในเกาะลังกา เคยชิงราสมบัติพระเจ้าวัฏฏคามินีอภัยได้


ทรกรรม การทำให้ลำบาก


ทรง ใช้, ถือครอง, เก็บไว้, มีไว้เป็นสิทธิ์, ครอบครอง, ครอง, นุ่งห่ม เช่น ในประโยคว่า “พึงทรงอติเรกบาตรไว้ ๑๐ วันเป็นอย่างยิ่ง” และ ในประโยคว่า “ภิกษุทรงอติเรกจีวรได้ ๑๐ วันเป็นอย่างยิ่ง”


ทรมาน ข่ม, ปราบ, ฝึก, ทำให้เสื่อมพยศ, ทำให้เสื่อมการถือตัว, ทำให้กลับใจ
บัดนี้ มักหมายถึง ทำให้ลำบาก


ทรยศ คิดร้ายต่อมิตรหรือผู้มีบุญคุณ


ทวดึงสกรรมกรณ์ วิธีลงโทษ ๓๒ อย่าง ซึ่งใช้ในสมัยโบราณ เช่น โบยด้วยแส้ โบยด้วยหวาย ตีด้วยกระบอง ตัดมือ ตัดเท้า ตัดหู ตัดจมูก ตัดหัว เอาขวานผ่าอก เป็นต้น


ทวิช ชื่อหนึ่งสำหรับเรียกพราหมณ์ ในภาษาไทยเป็น ทิชาจารย์ หรือ ทวิชาจารย์ ก็มี แปลว่า “เกิดสองหน” หมายถึง เกิดโดยกำเนิดครั้งหนึ่ง เกิดโดยได้รับครอบเป็นพราหมณ์ครั้งหนึ่ง เปรียบเหมือนนก ซึ่งเกิดสองหนเหมือนกัน คือ เกิดจากท้องแม่ออกเป็นไข่หนหนึ่ง เกิดจากไข่เป็นตัวอีกหนหนึ่ง นกจึงมีชื่อเรียกว่า ทวิช หรือ ทิช ซึ่งแปลว่า “เกิดสองหน” อีกชื่อหนึ่งด้วย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2016, 10:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทอด ในประโยคว่า “ทอดกรรมสิทธิ์ของตนเสีย” ทิ้ง, ปล่อย, ละ


ทอดธุระ ไม่เอาใจใส่, ไม่สนใจ, ไม่เอาธุระ


ทอดผ้าป่า เอาผ้าถวายโดยทิ้งไว้เพื่อให้พระชักเอาเอง


ผ้าป่า ผ้าที่ทายกถวายแก่พระโดยวิธีปล่อยทิ้งให้พระมาชักเอาไปเอง อย่างเป็นผ้าบังสุกุล, ตามธรรมเนียมจะถวายหลังเทศกาลกฐินออกไป


ทักขิณทิส “ทิศเบื้องขวา” หมายถึง อาจารย์ (ตามความหมายในทิศ ๖)


ทักขิณา, ทักษิณา ทานที่ถวายเพื่อผลอันดีงาม, ของทำบุญ, สิ่งที่สละให้, ปัจจัยสี่ที่เมื่อถวายจะเป็นเหตุให้ประโยชน์สุขเจริญเพิ่มพูน, ของที่ถวายที่ช่วยให้สัตว์ทั้งหลายเจริญ้วยสมบัติดังปรารถนา, สิ่งที่ให้โดยเชื่อกรรม และผลแห่งกรรม (หรือโดยเชื่อปรโลก)

ทักขิณา” เดิมเป็นคำที่ใช้ในศาสนาพราหมณ์ (เขียนอย่างสันสกฤต เป็นทักษิณา) หมายถึง ของที่มอบให้แก่พราหมณ์ เป็นค่าตอบแทนในการประกอบพิธีบูชายัญ

เมื่อนำมาใช้ในพระพุทธศาสนา นิยมหมายถึงปัจจัย ๔ ที่ถวายแก่พระภิกษุสงฆ์ หรือให้แก่ทักขิไณยบุคคล ซึ่งในความหมายอย่างสูง ได้แก่ พระอริยสงฆ์ และในความหมายที่กว้างออกไป ได้แก่ ท่านผู้มีศีล ผู้ทรงคุณทรงธรรม แม้เป็นคฤหัสถ์ เช่น บิดามารดา

ตลอดจนในความหมายกว้างที่สุด ของที่ให้เพื่อช่วยเหลือเกื้อกูล แม้แต่ให้แก่สัตว์ดิรัจฉาน ก็เป็นทักขิณา (ดังที่ตรัสในทักขิณาวิภังคสูตร ม.อุ.14/710/458)

แต่มีผลมากน้อยต่างกันตามหลักทักขิณาวิสุทธิ์ ๔ และตรัสไว้อีกแห่งหนึ่งว่า (ทานสูตร อง.ฉกฺก.22/308/375)

ทักขิณาที่พร้อมด้วยองค์ ๖ คือ

ทายกมีองค์ ๓ (ก่อนให้ ก็ดีใจ, กำลังให้อยู่ ก็ทำจิตให้ผุดผ่องเลื่อมใส, ครั้นให้แล้ว ก็ชื่นชมปลื้มใจ)
และ
ปฏิคาหก มีองค์ ๓ (เป็นผู้ปราศจากราคะ หรือปฏิบัติเพื่อบำราศราคะ, เป็นผู้ปราศจากโทสะ หรือปฏิบัติเพื่อบำราศโทสะ, เป็นผู้ปราศจากโมหะ หรือปฏิบัติเพื่อบำราศโมหะ)

ทักขิณานั้น เป็นบุญยิ่งใหญ่ มีผลมากยากจะประมาณได้ (ดู เจตนา)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2016, 10:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เจตนา ความตั้งใจ, ความมุ่งใจหมายจะทำ, เจตจำนง, ความจำนง, ความจงใจ, เป็นเจตสิกที่เกิดกับจิตทุกดวง

เป็นตัวนำในการคิดปรุงแต่ง หรือเป็นตัวการในการทำกรรม หรือกล่าวได้ว่าเป็นตัวกรรมทีเดียว ดังพุทธพจน์ว่า "เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ" แปลว่า "เรากล่าวเจตนาวาเป็นกรรม"

เจตนา ๓ คือ เจตนาใน ๓ กาล ซึ่งใช้เป็นข้อพิจารณาในเรื่องกรรม และการให้ผลของกรรม ได้แก่
๑. ปุพพเจตนา - เจตนาก่อนจะทำ
๒. สันนิฏฐาปกเจตนา - เจตนาอันให้สำเร็จในการทำ หรือให้สำเร็จความมุ่งหมาย
๓. อปรเจตนา - เจตนา สืบเนื่องต่อๆไปจากการกระทำนั้น (อปราปรเจตนา ก็เรียก)

เจตนา ๓ นี้ เป็นคำในชั้นอรรถกถา แต่ก็โยงกับพระไตรปิฎก โดยเป็นการสรุปความในพระไตรปิฎกบ้าง เป็นการสรรถ้อยคำที่จะใช้อธิบายหลักกรรมตามพระไตรปิฎกนั้นบ้าง

เฉพาะอย่างยิ่ง ใช้แนะนำเป็นหลักในการที่จะทำบุญ คือ กรรมทีดี ให้ได้ผลมาก และมักเน้นในเรื่องทาน (แต่ในเรื่องทานนี้ เจตนาที่ ๒ ท่านมักเรียกว่า "มุญจนเจตนา" เพื่อให้ชัดว่าเป็นความตั้งใจในขณะให้ทานจริงๆ คือขณะที่ปล่อยของออกไป แทนที่จะใช้ว่าสันนิฏฐาปกเจตนา หรือความจงใจอันให้สำเร็จการกระทำ ซึ่งในหลายกรณี ไม่ตรงกับเวลาของเหตุการณ์ เช่น

คนที่ทำบาปโดยขุดหลุมดักให้คนอื่นตกลงไปตาย เมื่อคนตกลงไปตายสมใจ เจตนาที่ลุผลให้ขุดหลุมดักสำเร็จในวันก่อน เป็นสันนิฏฐาปกเจตนา) ดังที่ท่านสอนว่า

ควรถวายทานหรือให้ทานด้วยเจตนาในการให้ ที่ครบทั้ง ๓ กาล คือ

๑. ก่อนให้ มีใจยินดี (ปุพพเจตนา หรือ บุพเจตนา)

๒. ขณะให้ทำใจให้ผ่องใส (มุญจนเจตนา)

๓. ให้แล้ว ชื่นชมปลื้มใจ (อปรเจตนา)

คำอธิบายของอรรถกถานี้ ก็อ้างพุทธพจน์ในพระไตรปิฎกนั่นเอง โดยเฉพาะหลักเรื่องทักขิณาที่พร้อมด้วยองค์ ๖ อันมีผลยิ่งใหญ่ ซึ่งในด้านทายก หรือทายิกา คือฝ่ายผู้ให้ มีองค์ ๓ ดังที่ พระพุทธเจ้าตรัสในเรื่องการถวายทาน ของเวฬุกัณฎกีนันทมารดา (องฺ.ฉกฺก.22/308/375) ว่า
"ปุพฺเพว ทานา สุมโน โหติ ก่อนให้ ก็ดีใจ,

ททํ จิตฺตํ ปสาเทติ กำลังให้อยู่ ก็ทำจิตให้ผุดผ่องเลื่อมใส,

ทตฺวา อตฺตมโน โหติ ครั้นให้แล้ว ก็ชื่นชมปลื้มใจ"

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2016, 11:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทักขิเณยยบุคคล บุคคลผู้ควรรับทักษิณา


ทกฺขิเณยฺโย (พระสงฆ์) เป็นผู้ควรแก่ทักขิณา คือ มีคุณความดีสมควรแก่ของทำบุญ มีอาหาร ผ้านุ่งห่ม เป็นต้น ช่วยเอื้ออำนวยให้ของที่เขาถวายมีผลมาก (ข้อ ๗ ในสังฆคุณ ๙)


ทักขิโณทก, ทักษิโณทก น้ำที่หลั่งในเวลาทำทาน, น้ำกรวด, คือเอาน้ำหลั่งเป็นเครื่องหมายของการให้แทนสิ่งของที่ให้ เช่น ที่ดิน ศาลา กุฎี บุญกุศล เป็นต้น ซึ่งใหญ่โตเกินกว่าที่จะยกไหว หรือไม่มีรูปที่จะยกขึ้นได้


ทักขิณาวัฏฏ์ เวียนขวา, วนไปทางขวา คือ วนเลี้ยวทางขวาอย่างเข็มนาฬิกา

เขียนทักณิณาวัฏ หรือทักษิณาวรรต ก็มี ตรงข้ามกับอุตตราวัฏฏ์


ทัณฑกรรม การลงอาชญา, การลงโทษ,

ในที่นี้ หมายถึงการลงโทษสามเณร คล้ายกับการปรับอาบัติภิกษุ ได้แก่ กักบริเวณ ห้ามไม่ให้เข้า ห้ามไม่ให้ออกจากอาราม หรือการใช้ตักน้ำ ขนฟืน ขนทราย เป็นต้น


ทัณฑกรรมนาสนา ให้ฉิบหายด้วยการลงโทษ หมายถึงการไล่ออกจากสำนัก เช่น ที่ทำแก่ กัณฑกสามเณร ผู้กล่าวตู่พระธรรมเทศนาว่า ธรรมที่ตรัสว่าเป็นอันตราย ไม่สามารถทำอันตรายแก่ผู้เสพได้จริง


ทันตชะ อักษรเกิดที่ฟัน คือ ต ถ ท ธ น กับ ล และ ส


ทัพสัมภาระ เครื่องเครา และส่วนประกอบทั้งหลาย, สิ่งและเครื่องอันเป็นส่วนประกอบที่จะคุมกันเข้าเป็น เรือน เรือ รถ หรือเกวียน เป็นต้น

เขียนเต็มทัพพสัมภาระ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2016, 18:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทิฏฐิ ความเห็น, ความเข้าใจ, ความเชื่อถือ,

ทั้งนี้ มักมีคำขยายนำหน้า เช่น สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ) มิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด)

แต่ถ้า ทิฏฐิ มาคำเดียวโดด มักมีนัยไม่ดี หมายถึง ความยึดถือตามความเห็น, ความถือมั่นที่จะให้เป็นไปตามความเชื่อถือ หรือความเห็นของตน, การถือยุติเอาความเห็นเป็นความจริง, ความเห็นผิด, ความยึดติดทฤษฎี

ในภาษาไทยมักหมายถึงความดึงดื้อถือรั้นในความเห็น (พจนานุกรม เขียน ทิฐิ) (ข้อ ๔ ในสังโยชน์ ๑๐ ตามนัยพระอภิธรรม ข้อ ๓ ในอนุสัย ๗ ข้อ ๓ ในปปัญจะ ๓)

ทิฏฐิ คือความเห็นผิด มี ๒ ได้แก่

๑. สัสสตทิฏฐิ - ความเห็นว่าเที่ยง

๒. อุจเฉททิฏฐิ - ความเห็นว่าขาดสูญ

อีกหมวดหนึ่ง มี ๓ คือ

๑. อกิริยทิฏฐิ - ความเห็นว่าไม่เป็นอันทำ

๒. อเหตุกทิฏฐิ - ความเห็นว่าไม่มีเหตุ

๓. นัตถิกทิฏฐิ - ความเห็นว่าไม่มี คือถืออะไรเป็นหลักไม่ได้ เช่น มารดาบิดาไม่มี เป็นต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2016, 18:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทักขิณาวิสุทธิ์ ความบริสุทธิ์แห่งทักขิณา, ข้อที่เป็นเหตุให้ทักขิณา คือสิ่งที่ให้ที่ถวาย เป็นของบริสุทธิ์ และจึงเกิดมีผลมาก มี ๔ คือ (ม.อุ.14/714/461)

๑. ทักขิณา บริสุทธิ์ฝ่ายทายก (มีศีล มีกัลยาณธรรม) ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก (ทุศีล มีปาปธรรม)

๒. ทักขิณา บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก

๓. ทักขิณา ไม่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายก ไม่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายปฏิคาหก

๔. ทักขิณา บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายก บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายปฏิคาหก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2016, 18:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทัศ สิบ, จำนวน ๑๐ (สันสกฤต ทศ บาลี ทส)
ในข้อความว่า “บารมี ๓๐ ทัศ” หรือ “บารมีสามสิบทัศ”

มักให้ถือว่า “ทัศ” แปลว่า ครบ หรือถ้วน แต่อาจเป็นได้ว่า “ทัศ” ก็คือสิบนั่นแหละ

แต่สันนิษฐานว่า “บารมีสามสิบทัศ” เป็นคำพูดซ้อน โดยซ่อนความหมายว่า สามสิบนี้ มิใช่แค่ว่านับรายหน่วยเป็น ๓๐ แต่นับเป็นชุดได้ ๓ ทัศ (คือ จำนวนสืบ ๓ ชุด หรือ ๓ สิบ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2016, 18:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทิฏฐธรรม, ทิฏฐธัมม์ สิ่งที่มองเห็น, สภาวะหรือเรื่องซึ่งเห็นได้ คือ ปัจจุบัน, ชีวิตนี้, ชาตินี้,ทันเห็น, จำพวกวัตถุ, ด้านรูปธรรม

ทิฏฐธัมมิกัตถะ ประโยชน์ในปัจจุบัน, ประโยชน์สุขสามัญที่มองเห็นกันในชาตินี้ ที่คนทั่วไปปรารถนา มีทรัพย์ ยศ เกียรติ ไมตรี เป็นต้น อันจะสำเร็จด้วยธรรม


(เรียกเต็มว่า ทิฏฐธัมมิกัตถสังวัตตนิกธรรม ธรรมอันเป็นไปเพื่อทิฏฐธัมมิกัตถะ) ๔ ประการ คือ


๑. อุฏฐานสัมปทา ถึงพร้อมด้วยความหมั่น

๒. อารักขสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการรักษา

๓. กัลยามิตตตา ความมีเพื่อนเป็นคนดี

๔. สมชีวิตา การเลี้ยงชีวิตตามสมควรแก่กำลังทรัพย์ที่หาได้
มักเรียกคล่องปากว่า ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์


ทิฏฐธัมมเวทนียกรรม กรรมอันให้ผลในปัจจุบัน, กรรมทั้งที่เป็นกุศลและอกุศล ซึ่งให้ผลทันตาเห็น (ข้อ ๑ ในกรรม ๑๒)


ทิฏฐานุคติ การดำเนินตามสิ่งที่ได้เห็น, การทำตามอย่าง, การเอาอย่าง ในทางดี หรือร้าย ก็ได้ มักใช้ในข้อความว่า “จะถึงทิฏฐานุคติของผู้นั้น”

แต่ในภาษาไทย นิยมนำมาใช้ด้านดี หมายถึง ทางดำเนินตามที่ได้มองเห็น, แบบอย่าง, ตัวอย่าง เช่น พระผู้ใหญ่ปฏิบัติตนชอบ พระผู้น้อยจะได้ถือเอาเป็นทิฏฐานุคติ


ทิฏฐาวิกัมม์ การทำความเห็นให้แจ้ง ได้แก่ แสดงความเห็นแย้ง คือ ภิกษุผู้เข้าประชุมในสงฆ์บางรูปไม่เห็นร่วมด้วยคำวินิจฉัยอันสงฆ์รับรองแล้วก็ให้แสดงความเห็นแย้งได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 29 ม.ค. 2017, 17:43, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2016, 21:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ทุกข์ ๓ ความหมาย)

ทุกข์ ๑ สภาพที่ทนอยู่ได้ยาก, สภาพที่คงทนอยู่ไม่ได้ เพราะถูกบีบคั้นด้วยความเกิดขึ้นและความดับสลาย เนื่องจากต้องเป็นไปตามเหตุปัจจัยที่ไม่ขึ้นต่อตัวมันเอง (ข้อ ๒ ในไตรลักษณ์)

๒. อาการแห่งทุกข์ที่ปรากฏขึ้นหรืออาจปรากฏขึ้น ได้แก่ คน (ได้ในคำว่า ทุกขสัจจะ หรือ ทุกขอริยสัจจ์ ซึ่งเป็นข้อที่ ๑ ในอริยสัจจ์ ๔)

๓. สภาพที่ทนได้ยาก, ความรู้สึกไม่สบาย ได้แก่ ทุกขเวทนา, ถ้ามาคู่กับโทมนัส (ในเวทนา ๕) ทุกข์ หมายถึง ความไม่สบายกาย คือ ทุกข์กาย (โทมนัส คือ ไม่สบายใจ)

แต่ถ้ามาลำพัง (ในเวทนา ๓) ทุกข์ หมายถึง ความไม่สบายกายไม่สบายใจ คือ ทั้งทุกข์กายและทุกข์ใจ



ทุกข์ขันธ์ กองทุกข์


ทุกข์ขัย สิ้นทุกข์, หมดทุกข์



ทุกข์ขตา ความเป็นทุกข์, ภาวะที่คงทนอยู่ไม่ได้


ทุกขสมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์ หมายถึงตัณหา ๓ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา เรียกสั้นๆว่า สมุทัย (ข้อ ๒ ในอริยสัจจ์ ๔) เรียกเต็มว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจจ์


ทุกขนิโรธ ความดับทุกข์ หมายถึงพระนิพพาน เรียกสั้นๆ ว่า นิโรธ เรียกเต็มว่า ทุกขนิโรธอริยสัจจ์



ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ หมายถึงมรรคมีองค์แปด เรียกสั้นๆ ว่า มรรค เรียกเต็มว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจจ์



ทุกขลักษณะ เครื่องกำหนดว่าเป็นทุกข์, ลักษณะที่จัดว่าเป็นทุกข์, ลักษณะที่แสดงให้เห็นว่าเป็นทุกข์ คือ

๑. ถูกการเกิดขึ้นและการดับสลายบีบคั้นอยู่ตลอดเวลา

๒. ทนได้ยาก หรือคงอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้

๓. เป็นที่ตั้งแห่งความทุกข์

๔. แย้งต่อสุขหรือเป็นสภาวะที่ปฏิเสธความสุข



ทุกขเวทนา ความรู้สึกลำบาก, ความรู้สึกเจ็บปวด, ความรู้สึกเป็นทุกข์, การเสวยอารมณ์ที่ไม่สบาย (ข้อ ๒ ในเวทนา ๓)


ทุกขสัญญา ความหมายรู้ว่าเป็นทุกข์, การกำหนดหมายให้มองเห็นสังขารว่าเป็นทุกข์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2016, 07:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทีฆนขะ ชื่อปริพาชกผู้หนึ่ง ตระกูลอัคคิเวสสนะ เป็นหลานของพระสารีบุตร, ขณะที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมแก่ปริพาชกผู้นี้ (คือทีฆนขสูตร แต่ในอรรถกถามักเรียกว่า เวทนาปริคคหสูตร)

พระสารีบุตรนั่งถวายงานพัดอยู่ ณ เบื้องหลังของพระพุทธองค์ ได้ฟังเทศนานั้น และได้สำเร็จพระอรหัต

ส่วนทีฆนขะ เพียงแต่ได้ดวงตาเห็นธรรม แสดงตนเป็นอุบาสก


ทีฆนขสูตร พระสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ทีฆนขปริพาชก (ม.ม.13/267/263) ในอรรถกถาเรียกว่า เวทนาปริคคหสูตร) ที่ถ้ำสุกรขาตา เขาคิชฌกูฏ เมืองราชคฤห์ ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ แห่งมาฆมาส หลังตรัสรู้ได้ ๙ เดือน ซึ่งพระสารีบุตรสดับแล้วได้บรรลุอรหัตผล, ว่า

ด้วยการยึดถือทิฏฐิ หรือทฤษฎีต่างๆ ซึ่งเป็นเหตุให้ทะเลาะวิวาทกัน ทรงสอนว่า เมื่อมองเห็นสภาวะของชีวิตร่างกายนี้ ที่ไม่เที่ยง ไม่คงทน เป็นต้น ตลอดจนไม่เป็นตัวตนจริงแท้แล้ว ก็จะละความติดใคร่เยื่อใย และความเป็นทาสตามสนองร่างกายเสียได้

อีกทั้งเมื่อรู้เข้าใจเวทนาทั้ง ๓ ว่าไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งขึ้นมา ปรากฏขึ้นเพราะเหตุปัจจัย จะต้องสิ้นสลายไปเป็นธรรมดา ก็จะจางคลายหายติดในเวทนาทั้งสามนั้น หลุดพ้นเป็นอิสระได้ และผู้ที่จิตหลุดพ้นแล้วอย่างนี้ ก็จะไม่เข้าข้างใคร ไม่วิวาทกับใคร อันใดเขาใช้พูดจากันในโลก ก็กล่าวไปตามนั้น โดยไม่ยึดติดถือมั่น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2016, 07:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ข้างบนพาดพิงตอนปลงอายุสังขาร



"อานนท์ เธอยังจำได้ไหม ครั้งหนึ่ง ณ ภูเขาซึ่งมีลักษณะยอดเหมือนนกแร้ง อันมีนามว่า "คิชฌกูฏ" ภายใต้ภูเขานี้ มีถ้ำอันขจรนามชื่อ สุกรขาตา ที่ถ้ำนี้เอง สาวกผู้เลื่องลือว่าเลิศทางปัญญาของเราคือ สารีบุตร ได้ถอนตัณหานุสัย โดยสิ้นเชิงเพียงเพราะฟังคำที่เราสนทนากับหลานชายของเธอ ผู้มีนามว่า ทีฆนขะ เพราะไว้เล็บยาว"

"เมื่อพระสารีบุตรบวชในสำนักของเราแล้ว ทีฆนขะปริพาชก เที่ยวตามหาลุงของตน มาพบลุงของเขาคือสารีบุตร ถวายงานพัดเราอยู่ จึงพูดเปรยๆ เป็นเชิงกระทบกระเทียบเราว่า พระโคดม ทุกสิ่งทุกอย่างข้าพเจ้าไม่พอใจหมด ซึ่งรวมความว่า เขาไม่พอใจเราด้วย เพราะตถาคตก็รวมอยู่ในคำว่าทุกสิ่งทุกอย่าง เราได้ตอบเขาไปว่า ถ้าอย่างนั้น เธอก็ควรไม่พอใจ ความคิดเห็นอันนั้นของเธอเสียด้วย"


"อานนท์ เราได้แสดงธรรมอื่นอีกเป็นอเนกปริยาย สารีบุตรถวายงานพัดไปฟังไป จนจิตของเธอหลุดพ้นจากอาสวะทั้งปวง"

"อานนท์ เอ๋ย ณ ภูเขาคิชฌกูฏดังกล่าวนี้ เราเคยพูดกับเธอว่า คนอย่างเรานี้ถ้าจะอยู่ต่อไปอีกหนึ่งกัปป์ (120 ปี) หรือเกินกว่านั้นก็พอได้ แต่เธอก็หารู้ความหมายแห่งคำที่เราพูดไม่"

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2016, 07:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทัสสนะ การเห็น, การเห็นด้วยปัญญา,ความเห็น, สิ่งทีเห็น,


ทัสสนานุตตริยะ การเห็นที่ยอดเยี่ยม

(ข้อ ๑ ในอนุตตริยะ ๓ หมายถึงปัญญาอันเห็นธรรม ตลอดถึงเห็นนิพพาน ข้อ ๑ ในอนุตตริยะ ๖ หมายถึง เห็นพระตถาคต ตถาคตสาวก และสิ่งอันบำรุงจิตใจให้เจริญ)


ทัฬหีกรรม การทำให้มั่น เช่น การให้อุปสมบทซ้ำ


ทิฏฐิปปัตตะ ผู้ถึงทิฏฐิ คือ บรรลุสัมมาทิฏฐิ พระอริยบุคคลตั้งแต่โสดาบันขึ้นไป จนถึงผู้ตั้งอยู่ในอรหัตมรรค ที่เป็นผู้มีปัญญินทรีย์แรงกล้า ไม่สัผผัสวิโมกข์ ๘ (เมื่อบรรลุอรหัตผล กลายเป็นปัญญาวิมุต)


ทิฏฐิมานะ ทิฏฐิ และมานะ (พึงทราบความหมายของแต่ละคำ ซึ่งแสดงไว้ต่างพวกกัน)

แต่ตามที่ใช้ในภาษาไทย ซึ่งนิยมเขียนเป็น “ทิฐิมานะ” มีความหมายแบบปนๆคลุมๆ

ทิฏฐิ ในที่นี้ หมายถึงความเห็นดื้อดึง ถึงผิดก็ไม่ยอมแก้ไข และ มานะ คือความถือตัว รวม ๒ คำ เป็นทิฏฐิมานะ หมายถึง ถือรั้นอวดดี หรือดึงดื้อถือตัว


ทิฏฐิวิบัติ วิบัติแห่งทิฏฐิ ความผิดพลาดเคลื่อนผิดธรรมวินัย ทำให้ประพฤติตนนอกแบบแผน ทำความผิดอยู่เสมอ (ข้อ ๓ ในวิบัติ ๔)


ทิฏฐิวิสุทธิ ความหมดจดแห่งความเห็น คือ เกิดความรู้ความเข้าใจ มองเห็นนามรูปตามสภาวะที่เป็นจริง คลายความหลงผิดว่าเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน ลงได้ (ข้อ ๓ ในวิสุทธิ ๗)


ทิฏฐิสามัญญตา ความเป็นผู้มีความเสมอกันโดยทิฏฐิ มีความเห็นร่วมกัน มีความคิดเห็นลงกันได้ (ข้อ ๖ ในสาราณียธรรม ๖)


ทิฏฐุกัมม์ การทำความเห็นให้ตรง, การแก้ไขปรับปรุงความคิดเห็นให้ถูกต้อง (ข้อ ๑๐ ในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐)


ทิฏฐุปาทาน ความถือมั่นในทิฏฐิ, ความยึดติดฝังใจในลัทธิ และหลักความเชื่อต่างๆ (ข้อ ๒ ในอุปาทาน ๔)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 29 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 22 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร