วันเวลาปัจจุบัน 16 เม.ย. 2024, 15:41  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ค. 2016, 20:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ


พจน, พจน์ ๑ (พตจะนะ,พต) น. คำพูด, ถ้อยคำ (ป วจน)

พจนา (พตจะ) น. การเปล่งวาจา, การพูด, คำพูด (ป)

พจนานุกรม (-กฺรม) น. หนังสือสำหรับค้นความหมายของคำที่เรียงลำดับตามตัวอักษร

พจน์ ๒ (คณิต) น. สัญลักษณ์ที่แทนจำนวนจริงหรือจำนวนเชิงซ้อน ซึ่งจะเป็นจำนวนเดียวหรือหลายจำนวนคูณ หรือหารกันก็ได้ (อ. Term)


พจนานุกรม คือ หนังสือสำหรับค้นความหมายของถ้อยคำ..นะ มิใช่พระแต่งเองนะอ่ะ :b9:

viewtopic.php?f=1&t=52898

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ค. 2016, 20:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อุเบกขาๆๆ พูดกันบ่อย ขึ้นก่อนเลย


ฉฬังคุเบกขา อุเบกขามีองค์ ๖ คือ ด้วยตา เห็นรูป หู ได้ยินเสียง จมูก ดมกลิ่น ลิ้น ลิ้มรส กายถูกต้องโผฏฐัพพะ ใจรู้ธรรมารมณ์แล้วไม่ดีใจ ไม่เสียใจ วางจิตอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ (ขุ.ม.29/413/289) เป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งของพระอรหันต์ ซึ่งมีอุเบกขาด้วยญาณ คือ ด้วยความรู้เท่าทันถึงสภาวะของสิ่งทั้งหลาย อันทำให้ไม่ถูกความชอบ ความยินดี ยินร้าย ครอบงำ ในการรับรู้อารมณ์ทั้งหลาย ตลอดจนไม่หวั่นไหวเพราะโลกธรรมทั้งปวง


อุเบกขา ๑ ความวางใจเป็นกลาง ไม่เอนเอียงด้วยชอบหรือชัง, ความวางใจเฉยได้ ไม่ยินดียินร้าย เมื่อได้ปัญญาพิจารณาเห็นผลอันเกิดขึ้นโดยสมควรแก่เหตุ และรู้ว่าพึงปฏิบัติต่อไปตามธรรม หรือตามควรแก่เหตุนั้น,

ความรู้จักวางใจเฉยดู เมื่อเห็นว่าเขารับผิดชอบตนเองได้ หรือในเมื่อเขาควรต้องได้รับผลอันสมควรแก่ความรับผิดชอบของเขาเอง, ความวางทีเฉยคอยดูอยู่ในเมื่อคนนั้นๆ สิ่งนั้นๆ ดำรงอยู่หรือดำเนินไปตามควรของเขาตามควรของมัน ไม่เข้าข้างไม่ตกเป็นฝักฝ่าย ไม่สอดแส่ ไม่จู้จี้สาระแน ไม่ก้าวก่ายแทรกแซง

(ข้อ ๔ ในพรหมวิหาร ๔ ข้อ ๗ ในโพชฌงค์ ๗ ข้อ ๑๐ ในบารมี ๑๐ ข้อ ๙ ในวิปัสสนูปกิเลส ๑๐)

๒. ความรู้สึกเฉยๆ ไม่สุขไม่ทุกข์ เรียกเต็มว่า อุเบกขาเวทนา (= อทุกขมสุข) (ข้อ ๓ ในเวทนา ๓)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ค. 2016, 20:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ฉัน กิน, รับประทาน (ใช้สำหรับภิกษุ และสามเณร)


ฉันท์ คำประพันธ์ประเภทหนึ่ง กำหนดด้วยครุลหุ และกำหนดจำนวนคำตามข้อบังคับ


ฉันทะ ๑ ความพอใจ, ความชอบใจ, ความยินดี, ความต้องการ, ความรักใคร่ใฝ่ปรารถนาในสิ่งนั้นๆ (เป็นกลางๆเป็นอกุศลก็ได้ เป็นกุศลก็ได้) เป็นอัญญสมานเจตสิก ข้อ ๑๓

ที่เป็นอกุศล เช่น ในคำว่า กามฉันทะ

ที่เป็นกุศล เช่น ในคำว่า อวิหิงสาฉันทะ

๒. ฉันทะ ที่ใช้เป็นคำเฉพาะ มาเดี่ยวๆ โดยทั่วไปหมายถึงกุศลฉันทะ หรือธรรมฉันทะ ได้แก่ กัตตุกัมยตาฉันทะ คือ ความต้องการที่จะทำหรือความอยากทำ (ให้ดี) เช่น ฉันทะทีเป็นข้อ ๑ ในอิทธิบาท ๔ ตรงข้ามกับ ตัณหาฉันทะ คือ ความอยากเสพ อยากได้ อยากเอาเพื่อตัว ที่เป็นฝ่ายอกุศล

๓. ความยินยอม ความยินยอมให้ที่ประชุมทำกิจนั้นๆ ในเมื่อตนมิได้ร่วมอยู่ด้วย เป็นธรรมเนียมของภิกษุที่อยู่ในวัดเดียวกันภายในสีมา มีสิทธิที่จะเข้าประชุมทำกิจของสงฆ์ พึงเข้าร่วมประชุมทำสังฆกรรม เว้นแต่ภิกษุใดมีเหตุจำเป็นจะเข้าร่วมประชุมด้วยไม่ได้ เช่น อาพาธ ก็มอบฉันทะ คือ แสดงความยินยอมให้สงฆ์ทำกิจนั้นๆได้


ฉกามาพจรสวรรค์ สวรรค์ที่ยังเกี่ยวข้องกาม ๖ ชั้น คือ ๑. จาตุมมหาราชิกา ๒. ดาวดึงส์ ๓. ยามา ๔. ดุสิต ๕ นิมมานรดี ๖. ปรนิมมิตวสวัตดี


ฉ้อ โกง เช่นรับฝากของ ครั้นเจ้าของมาขอคืน กล่าวปฏิเสธว่าไม่ได้รับไว้ หรือได้ให้คืนไปแล้ว


ฉันทราคะ ความพอใจติดใคร่, ความชอบใจจนติด, ความอยากที่แรงขึ้นเป็นความติด

ฉันทะในที่นี้ หมายถึงอกุศลฉันทะ คือ ตัณหาฉันทะ ซึ่งในขั้นต้น เมื่อเป็นราคะอย่างอ่อน (ทุพพลราคะ) ก็เรียกแค่ว่าเป็นฉันทะ

แต่เมื่อมีกำลังมากขึ้น ก็กลายเป็นฉันทราคะ คือราคะอย่างแรง (พลวราคะ หรือสิเนหะ)


ฉันทาคติ ลำเอียงเพราะรักใคร่ (ข้อ ๑ ในอคติ ๔)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2016, 07:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ฉันมื้อเดียว ข้อความในภาษาไทยนี้ ในแง่ธรรมวินัย ยังมีความหมายกำกวม เมื่อจะทำความเข้าใจ พึงแยกเป็น ๒ นัย คือ

๑. ตามคำบรรยายวิถีชีวิตของพระภิกษุ เช่น ในจูฬศีล ว่า ภิกษุเป็นผู้ ”ฉันมื้อเดียว” นี้คือคำแปลจากคำบาลีว่า “เอกภัตติกะ” ซึ่งแปลรักษาศัพท์ว่า “มีภัตเดียว”

ตามวัฒนธรรมของชมพูทวีป สมัยนั้น ภัต หมายถึงอาหารที่จัดเป็นมื้อ ตามช่วงเวลาของวัน ซึ่งมีมื้อหลัก ๒ มื้อ คือ ปาตราสภัต (มื้อเช้า) ได้แก่ อาหารที่กินในช่วงเช้าถึงก่อนเที่ยงวัน และ สายมาสภัต (มื้อสาย, สายในภาษาบาลี คือ คำเดียวกับสายัณห์) ได้แก่

อาหารที่กินในช่วงหลังเที่ยงวันถึงก่อนอรุณวันใหม่ ตามความหมายนี้ ภิกษุฉันมื้อเดียว (มีภัตเดียว) จึงหมายถึง ฉันอาหารมื้อก่อนเที่ยงวันที่ว่ามานี้ ตรงกับข้อความบาลีที่นำมาให้ครบว่า (เช่น ที.สี.9/103/84) เอกภตฺติโก โหติ รตฺตูปรโต วิรโต วิกาลโภชนา” (แปลว่า เป็นผู้ฉันมื้อเดียว/มีภัตเดียว งดอาหารค่ำคืน เว้นจากโภชนะนอกเวลา) นี่คือ เมื่อบอกว่าฉันมื้อเดียวแล้ว

ก็อาจถามว่ามื้อไหน จึงพูดกันช่วงเวลาใหญ่คือกลางคืนที่ตรงข้ามกับกลางวันออกไปก่อน แล้วก็กำกับท้ายว่า ถึงแม้ในช่วงกลางวันนั้น ก็ไม่ฉันนอกเวลา คือไม่เลยเที่ยงวัน โดยนัยนี้ ภิกษุตามปกติจึงเป็นผู้ฉันภัตเดียวคืออาหารมื้อก่อนเทียงวันนี้ และ
อรรถกถาจึงอธิบายว่า ฉันมื้อเดียวนี้ ถึงจะฉัน ๑๐ ครั้ง เมื่อไม่เลยเที่ยง ก็เป็นเอกภัตติกะ (เช่น ที.อ. 1/10/74)

๒. ภิกษุที่ตามปกติ เป็นเอกภัตติกะฉันฉันมื้อเดียวนี้แหละ เมื่อจะฝึกตนให้ยิ่งขึ้นไปอีก อาจปฏิบัติให้เคร่งครัด โดยเป็นเอกภัตติกะ แปลว่า “ผู้ฉันที่นั่งเดียว” หรือฉันที่อาสนะเดียว หมายความว่า

ในวันหนึ่งๆ ก่อนเที่ยงนั้น เมื่อลงนั่งฉันจนเสร็จ ลุกจากที่นั่นแล้ว จะไม่ฉันอีกเลย นี่คือ

ฉันมื้อเดียวในความหมายว่า ฉันวันละครั้งเดียว (เป็นทั้งเอกภัตติกะ และเอกาสนิกะ) และ

ถ้าต้องการ จะถือปฏิบัติจริงจังเป็นวัตรเลยก็ได้ เรียกว่าถือธุดงค์ ข้อ “เอกาสนิกังคะ” โดยสมาทานว่า (เช่น วิสุทธิ. 1/15) นานาสนโภชนํ ปฏิกฺขิปามิ เอกาสนิกงฺคํ สมาทิยามิ” (แปลว่า ข้าพเจ้างดการฉันที่อาสนะต่างๆ ข้าพเจ้าสมาทานองค์แห่งภิกษุ ผู้มีการฉันที่อาสนะเดียวเป็นวัตร)

ผู้ที่เป็นเอกาสนิกะอย่างเคร่งที่สุด (เรียกว่าถืออย่างอุกฤษฎ์) เมื่อนั่งลงเข้าที่ ตนมีอาหารเท่าใดก็ตาม พอหย่อนมือลงที่โภชนะจะฉัน ก็ไม่รับอาหารเพิ่มเติมใดๆอีก จนลุกจากที่ทีเดียว


ฉันทารหะ "ผู้ควรแก่ฉันทะ" ภิกษุที่สงฆ์ควรได้รับมอบฉันทะของเธอ คือ เมื่อสงฆ์ครบองค์ประชุมแล้ว ภิกษุใดในสีมานั้น มีสิทธิเข้าร่วมประชุม แต่เธออาพาธ หรือติดกิจจำเป็น ไม่อาจมาร่วมประชุม ภิกษุนั้นเป็นฉันทารหะ (ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง พึงรับมอบฉันทะของเธอมาแจ้งแก่สงฆ์ คือแก่ที่ประชุมนั้น)

(ให้ดูความหมาย ฉันทะ ที่เราพูดกันแง่เดียวความหมายเดียว แต่ของเขาใช้หลายความหมาย)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 29 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร