วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 18:03  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ค. 2016, 08:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พจน, พจน์ ๑ (พตจะนะ,พต) น. คำพูด, ถ้อยคำ (ป วจน)

พจนา (พตจะ) น. การเปล่งวาจา, การพูด, คำพูด (ป)

พจนานุกรม (-กฺรม) น. หนังสือสำหรับค้นความหมายของคำที่เรียงลำดับตามตัวอักษร

พจน์ ๒ (คณิต) น. สัญลักษณ์ที่แทนจำนวนจริงหรือจำนวนเชิงซ้อน ซึ่งจะเป็นจำนวนเดียวหรือหลายจำนวนคูณ หรือหารกันก็ได้ (อ. Term)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ค. 2016, 08:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดวงตาเห็นธรรม แปลจากคำว่า ธรรมจักษุ หมายถึง ความรู้เห็นตามเป็นจริงด้วยปัญญาว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา


ธรรมจักษุ ดวงตาเห็นธรรม คือ ปัญญารู้เห็นความจริงว่า สิ่งใดก็ตามมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา, ธรรมจักษุโดยทั่วไป เช่น ที่เกิดแก่ท่านโกณฑัญญะ เมื่อสดับธรรมจักร ได้แก่ โสดาปัตติมรรค หรือโสดาปัตติมัคคญาณ คือ ญาณที่ทำให้เป็นโสดาบัน


ธรรมดา อาการหรือความเป็นไปแห่งธรรมชาติ, สามัญ, ปกติ, พื้นๆ


ธรรมชาติ ของที่เกิดเองตามวิสัยของโลก เช่น คน, สัตว์ ต้นไม้ เป็นต้น


ดับไม่มีเชื้อเหลือ ดับหมด คือดับทั้งกิเลสทั้งขันธ์ (= อนุปาทิเสสนิพพาน)


ดาบส ผู้บำเพ็ญตบะ, ผู้เผากิเลส

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ค. 2016, 08:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดาวดึงส์ สวรรค์ชั้นที่ ๒ แห่งสวรรค์ ๖ ชั้น มีจอมเทพผู้ปกครองชื่อท้าวสักกะ ซึ่งโดยทั่วไป เรียกกันว่าพระอินทร์,

อรรถกถาอธิบายความหมายของ ดาวดึงส์ ว่า คือ แดนที่คน ๓๓ คนผู้ทำบุญร่วมกันได้อุบัติ

(จำนวน ๓๓ บาลีว่า เตตฺตึส, เขียนตามรูปสันสกฤต เป็น ตรัยตรึงศ์ หรือ เพี้ยนเป็น ไตรตรึงษ์ ซึ่งในภาษาไทยก็ใช้เป็นคำเรียกดาวดึงส์นี้ด้วย)

มีตำนานว่า ครั้งหนึ่ง ที่มจลคาม ในมคธรัฐ มีนักบำเพ็ญประโยชน์คณะหนึ่ง จำนวน ๓๓ คน นำโดยมฆมาณพ ได้ร่วมกันทำบุญต่างๆ เช่น ทำถนน สร้างสะพาน ขุดบ่อน้ำ ปูลกสวนป่า สร้างศาลาที่พักคนเดินทาง ให้แก่ ชุมชนและทำถนน ชวนชาวบ้านตั้งอยู่ในศีล และทำความดีทั้งหลาย เฉพาะอย่างยิ่งตัวมฆมาณพเอง ยังรักษาข้อปฏิบัติพิเศษ ที่เรียกว่า วัตรบท ๗ อีกด้วย


ครั้นตายไป ทั้ง ๓๓ คน ก็ได้เกิดในสวรรค์ที่เรียกชื่อว่า ดาวดึงส์นี้ โดยมฆมาณพได้เป็นท้าวสักกะ คือ พระอินทร์

ดังที่พระอินทร์นั้น มีพระนามหนึ่งว่า “มฆวา”

(ในภาษาไทย เขียน มฆวัน มัฆวา หรือมัฆวาน)



วัตตบท ๗ หลักปฏิบัติ หรือข้อที่ถือปฏิบัติประจำ ๗ ข้อ ที่ทำให้มฆมาณพ ได้เป็นท้าวสักกะ หรือพระอินทร์ คือ

๑. มาตาเปติภโร - เลี้ยงมารดาบิดา

๒. กุเลเชฏฺฐปจายี - เคารพผู้ใหญ่ในตระกูล

๓. สณฺหวาโจ - พูดคำสุภาพอ่อนหวาน

๔. อปิสุณวาโจ หรือเปสุเณยฺยปฺปหายี - ไม่พูดส่อเสียด พูดสมานสามัคคี

๕. ทานสํวิภาครโต หรือมจฺเฉรวินย - ชอบเผื่อแผ่ให้ปั่น ปราศจากความตระหนี่

๖. สจฺจวาโจ - มีวาจาสัตย์

๗. อโกธโน หรือ โกธาภิภู - ไม่โกรธ ระงับความโกรธได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ค. 2016, 08:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดำริ คิด, ตริตรอง


ดำริชอบ ดำริออกจากกาม, ดำริในอันไม่พยาบาท ดำริในอันไม่เบียดเบียน


ดำฤษณา ความอยาก, ความดิ้นรน, ความปรารถนา, ความเสน่หา (แผลงมาจากคำสันสกฤตว่า ตฤษณา ตรงกับคำที่มาจากบาลีว่า ตัณหา)


ดิถี วันตามจันทรคติ ใช้ว่า ค่ำหนึ่ง สองค่ำ เป็นต้น


ดิถีเพ็ญ ดิถีมีพระจันทร์เต็มดวง, วันขึ้น ๑๕ ค่ำ


ดิรัจฉาน สัตว์มีร่างกายเจริญโดยขวาง, สัตว์เว้นจากมนุษย์,
เดียรัจฉาน ก็ใช้


ดิรัจฉานวิชา ความรู้ที่ขวางต่อทางพระนิพพาน เช่น รู้ในการทำเสน่ห์ รู้เวทมนตร์ ที่จะทำให้คนถึงวิบัติ เป็นหมอผี หมอดู หมองู หมอยา ทำพิธีบวงสรวง บนบาน แก้บน เป็นต้น
เมื่อเรียนหรือใช้ปฏิบัติ ตนเองก็หลงเพลินหมกมุ่น และส่วนมากทำให้ผู้คนลุ่มหลงงามงาย ไม่เป็นอันปฏิบัติกิจหน้าที่หรือประกอบการตามเหตุผล โดยเฉพาะตัวพระภิกษุก็จะขวางกั้นขัดถ่วงตนเองให้ไม่มีกำลังและเวลาที่จะบำเพ็ญสมณธรรม,

การงดเว้นจากการเลี้ยงชีพด้วยดิรัจฉานวิชา เป็นศีลของพระภิกษุตามหลักมหาศีล (ที.สี. 9/11-25/11-15) ศีลนี้สำเร็จด้วยการปฏิบัติตามสิกขาบทในพระวินัยปิฎกข้อที่กำหนดแก่ภิกษุทั้งหลาย มิให้เรียน มิให้สอนดิรัจฉานวิชา (วินย.7/183-4/71) และแก่ภิกษุณีทั้งหลายเช่นเดียวกัน (วินย.3/322/177...)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ค. 2016, 08:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูกร, ดูก่อน คำเอ่ยเรียกให้เตรียมตัวฟังความที่จะพูดต่อไป, “แน่ะ” หรือ “ดูรา” ก็ใช้บ้าง


ได้รับสมมติ ได้รับมติเห็นชอบร่วมกันของที่ประชุมสงฆ์ตั้งให้เป็นเจ้าที่หรือทำกิจที่สงฆ์มอบหมาย อย่างใดอย่างหนึ่ง


ดุษณีภาพ ความเป็นผู้นิ่ง


ดุสิต สวรรค์ชั้นที่ ๔ แห่งสวรรค์ ๖ ชั้น มีท้าวสันดุสิตเทวราชปกครอง สวรรค์ชั้นนี้ เป็นที่สถิตของพระโพธิสัตว์ก่อนจุติลฝมาสู่มนุษยโลกและตรัสรู้ในชาติสุดท้าย



เดาะ (ในคำว่า การเดาะกฐิน” เสียหาย คือ กฐินใช้ไม่ได้ หมดประโยชน์ หมดอานิสงส์ ออกมาจากคำว่า อุพฺภาโร, อุทฺธาโร แปลว่า ยกขึ้น หรือรื้อ เข้ากับศัพท์ว่า กฐิน แปลว่า รื้อไม้สะดึง คือหมดโอกาสได้ประโยชน์จากกฐิน


เดียงสา รู้ความควรและไม่ควร, รู้ความเป็นไปบริบูรณ์แล้ว เข้าใจความ


เดียรฉาน, เดียรัจฉาน สัตว์อื่นจากมนุษย์, สัตว์ผู้มีร่างกายเจริญขวางออกไป คือ ไม่เจริญตั้งขึ้นไปเหมือนคนหรือต้นไม้


เดียรถีย์ นักบวชนอกพระพุทธศาสนา


โดยชอบ ในประโยคว่า “เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ” ความตรัสรู้นั้นชอบ ถูกต้อง ครบถ้วนสมบูรณ์ ไม่วิปริต ให้สำเร็จประโยชน์แก่พระองค์เองและผู้อื่น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2016, 07:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เดน ของเศษของเหลือที่ไม่ต้องการ, ของเหลืออันเกินจากที่ต้องการ,

“เดน” ตามที่เข้าใจกันในภาษาไทยปัจจุบัน มีความหมายไม่สู้ตรงกับที่ใช้ในทางพระวินัย อย่างน้อย ในภาษาไทย มักใช้แต่ในแง่ที่พ่วงมากับความรู้สึกเชิงว่า ต่ำทราม หรือน่ารังเกียจ

“เดน” ที่ใช้ในทางพระวินัย พึงแยกว่าเป็นคำแปลของคำบาลี ๒ อย่าง คือ

๑. ตรงกับคำบาลี “วิฆาส” หรือ “อุจฉิฏฺฐ” หมายถึงของเศษของเหลือจากที่กินที่ใช้ เช่น ภิกษุพบเนื้อเดนที่สัตว์กิน (สีหวิฆาส - เดนราชสีห์กิน พยัคฆวิฆาส - เดนเสือโคร่งกิน โกกวิฆาส - เดนหมาป่ากิน เป็นต้น)

จะให้อนุปสัมบันต้มย่างทอดแกงแล้วฉัน ก็ได้ ไม่เป็นอาบัติ (วินย.1/137109) มีสิกขาบทห้ามภิกษุณี มิให้เทหรือสั่งให้เทอุจจาระ ปัสสาวะ หยากเยื่อหรือขงเป็นเดน ออกไปนอกฝากหรือนอกกำแพง (วินย.3/175/106...) มิให้เทของเหล่านี้ลงไปบนพืชพันธุ์ของสดเขียวที่ชาวบ้านปลูกไว้ ทั้งนี้ ภิกษุก็ต้องปฏิบัติตามด้วยเช่นกัน) ฯลฯ

๒. ตรงกับคำบาลีว่า “อติริตฺต” ซึ่งมีรากศัพท์เดียวกับอติเรก หรืออดิเรก แปลว่า ส่วนเกิน เหลือเฟือ เกินใช้ หรือเกินต้องการ หมายถึงของเหลือซึ่งเกินจากที่ต้องการ เช่นในคำว่า “คิลานติริตฺต” ที่แปลว่า “เดนภิกษุไข้” ก็คือ ของเกินฉัน หรือเกินความต้องการของพระอาพาธ

ทั้งนี้ พึงเข้าใจตามความในพระบาลี ดังเรื่องว่า ภิกษุทั้งหลายนำบิณฑบาตอันประณีตไปถวายพวกภิกษุอาพาธ

ภิกษุอาพาธฉันไม่ได้ดังใจประสงค์ ภิกษุทั้งหลาย จึงทิ้งบิณฑบาตเหล่านั้นเสีย

พระผู้มีพระภาคทรงสดับเสียงนกการ้องเซ็งแซ่ จึงรับสั่งถามพระอานนท์ เมื่อทรงทราบความตามที่พระอานนท์กราบทูลแล้ว ได้ทรงอนุญาตให้ฉันอาหารอันเป็นเดน (อติริตต์) ของภิกษุอาพาธได้ แต่ (สำหรับอย่างหลัง) พึงทำให้เป็นเดน โดยบอกว่า “ทั้งหมดนั่น พอแล้ว” และทรงบัญญัติสิกขาบทว่า (วินย.2/500/328) “ภิกษุใดฉันเสร็จแล้ว ห้ามภัตแล้ว เคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ซึ่งของเคี้ยวก็ดี ซึ่งของฉันก็ดี อันมิใช่เดน เป็นปาจิตตีย์”

ที่ว่าเดน หรือเกินฉัน ก็คือ ๒ อย่าง ได้แก่ เดนของภิกษุอาพาธ และเดนของภิกษุไม่อาพาธ ดังกล่าวแล้ว

แต่เดนชนิดหลัง คืออติริตต์ ของภิกษุซึ่งมิใช่ผู้อาพาธนั้น จะต้องทำให้ถูกต้องใน ๗ ประการ คือได้ทำให้เป็นกัปปิยะแล้ว, ภิกษุรับประเคนแล้ว, ยกขึ้นส่งให้, ทำในหัตถบาส, เธอฉันแล้วจึงทำ, เธอฉันเสร็จห้ามภัตแล้ว ยังมิได้ลุกจากอาสนะ ก็ทำ, และเธอกล่าวว่า ”ทั้งหมดนั่น พอแล้ว”

บางทีท่านตัดเป็น ๕ ข้อ คือ ทำให้เป็นกัปปิยะแล้ว ภิกษุรับประเคนแล้ว, (เธอฉันเสร็จ ห้ามภัตแล้ว ยังไม่ลุกจากอาสนะ) ยกขึ้นส่งให้, ทำในหัตถบาส, และกล่าวว่า ”ทั้งหมดนั่น พอแล้ว”

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 47 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร