วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 18:41  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 14 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2016, 21:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภาวนา การทำให้มีขึ้นเป็นขึ้น, การทำให้เกิดขึ้น, การเจริญ, การบำเพ็ญ, การพัฒนา

1. การฝึกอบรม หรือการเจริญพัฒนา มี ๒ อย่าง คือ

๑. สมถภาวนา ฝึกอบรมจิตใจให้อยู่กับความดีงามเกิดความสงบ

๒. วิปัสสนาภาวนา ฝึกอบรมเจริญปัญญาให้เกิดความรู้แจ้งชัดตามเป็นจริง

อีกนัยหนึ่ง จัดเป็น ๒ เหมือนกัน คือ

๑. จิตตภาวนา ฝึกอบรมจิตใจให้เจริญงอกงามด้วยคุณธรรม มีความเข้มแข็งมั่นคง เบิกบาน สงบสุขผ่องใส พร้อมด้วยความเพียร สติ และสมาธิ

๒. ปัญญาภาวนา ฝึกอบรมเจริญปัญญา ให้รู้เท่าทันเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง จนมีจิตใจเป็นอิสระ ไม่ถูกครอบงำด้วยกิเลส และความทุกข์,

2. การเจริญสมถกัมมัฏฐาน เพื่อให้เกิดสมาธิ มี ๓ ขั้น คือ

๑. บริกรรมภาวนา - ภาวนาขั้นเตรียม คือ กำหนดอารมณ์กัมมัฏฐาน

๒. อุปจารภาวนา - ภาวนาขั้นจวนเจียน คือ เกิดอุปจารสมาธิ

๓. อัปปนาภาวนา - ภาวนาขั้นแน่วแน่ คือ เกิดอัปปนาสมาธิเข้าถึงฌาน

3. ในภาษาไทย ความหมายเลือนมาเป็นการท่องบ่นหรือว่าซ้ำๆ ให้ขลัง ก็มี

(ภาวนา ๓ ความหมาย)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2016, 21:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภาษา เสียงหรือกิริยาอาการซึ่งทำความเข้าใจซึ่งกันและกันได้, ถ้อยคำที่ใช้พูดจากัน, คำพูด


ภาษามคธ ภาษาที่ใช้พูดในแคว้นมคธ, ภาษาของชาวมคธ หมายถึงภาษาบาลี


ภังคญาณ ปัญญาหยั่งเห็นความย่อยยับ คือ เห็นความดับแห่งสังขาร ภังคานุปัสสนาญาณ ก็เรียก


ภังคานุปัสสนาญาณ ญาณตามเหนความสลาย, ปรีชาหยั่งเห็นเฉพาะความดับของสังขารเด่นชัดขึ้นมาว่าสังขารทั้งปวงล้วนจะ ต้องแตกสลายไปทั้งหมด (ข้อ ๒ ในวิปัสสนาญาณ ๙)


ภยตูปัฏฐานญาณ ปรีชาหยั่งเห็นสังขารปรากฏโดยความเป็นของน่ากลัว เพราะสังขารทั้งปวงนั้นล้วนแต่จะต้องแตกสลายไป ไม่ปลอดภัยทั้งสิ้น (ข้อ ๓ ใน วิปัสสนาญาณ ๙)


ภควา พระผู้มีพระภาค, เป็นพระนามหนึ่งของพระพุทธเจ้า และเป็นคำแสดงพระพุทธคุณอย่างหนึ่ง แปลว่า ทรงเป็นผู้มีโชค คือ หวังพระโพธิญาณก็ได้สมหวัง ประกาศพระศาสนาก็ชักจูงผู้คนให้ได้บรรลุธรรมสมปรารถนา มีผู้คิดร้ายก็ไม่อาจทำร้ายได้,
อีกนัยหนึ่งว่า ทรงเป็นผู้จำแนกแจกธรรม (ข้อ ๙ ในพุทธคุณ ๙)


ภพ โลกเป็นที่อยู่ของสัตว์, ภาวะชีวิตของสัตว์ มี ๓ คือ

๑. กามภพ - ภพของผู้ยังเสวยกามคุณ

๒. รูปภพ - ภพของผู้เข้าถึงรูปฌาน

๓. อรูปภพ - ภพของผู้เข้าถึงอรูปฌาน


ภุมมเทวะ เทวดาผู้อาศัยอยู่บนแผ่นดิน เช่น พระภูมิ เป็นต้น


โภชเนมัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร, รู้จักประมาณในการกิน คือ กินเพื่อหล่อเลี้ยงร่างกายให้ชีวิตเป็นอยู่ได้ผาสุก มิใช่เพื่อสนุกสนานมัวเมา (ข้อ ๒ ในอปัณณกปฏิปทา ๗)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2016, 05:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โภควิภาค การจัดสรรแบ่งทรัพย์ ซึ่งหามาได้ ด้วยความขยันหมั่นเพียรออกเป็น ๔ ส่วน

คือ ๑. ส่วน เลี้ยงตัว เลี้ยงครอบครัว ดูแลคนที่เกี่ยวข้อง และทำความดี

๒ ส่วน ใช้ทำหน้าที่การงานประกอบกิจการอาชีพ

๑ ส่วน เก็บไว้เป็นหลักประกันชีวิต และกิจการคราวจำเป็น


โภคอาทิยะ, โภคาอาทิยะ ประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์ มี ๕ คือ

๑. เลี้ยงตัว มารดา บิดา บุตร ภรรยา บ่าวไพร่ ให้เป็นสุข

๒. เลี้ยงเพื่อนฝูง ผู้ร่วมงาน ร่วมกิจการให้เป็นสุข

๓. บำบัดป้องกันภยันตราย

๔. ทำพลี ๕ อย่าง

๕ ทำทานในสมณพราหมณ์ผู้ประพฤติชอบ


ภาระ "สิ่งที่ต้องนำพา" ธุระหนัก, การงานที่หนัก, หน้าที่ที่ต้องรับเอา, เรื่องที่พึงรับผิดชอบ, เรื่องหนักที่จะต้องเอาใจใส่หรือจัดทำ


ภาวรูป รูปที่เป็นภาวะแห่งเพศ มี ๒ คือ อิตถีภาวะ ความเป็นหญิง และ ปุริสภาวะ ความเป็นชาย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2016, 05:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


http://www.lakdharma.com/wp-content/upl ... ersion.jpg

พจน, พจน์ (พตจะนะ,พต) น. คำพูด, ถ้อยคำ (ป วจน)

พจนา (พตจะ) น. การเปล่งวาจา, การพูด, คำพูด (ป)

พจนานุกรม (-กฺรม) น. หนังสือสำหรับค้นความหมายของคำที่เรียงลำดับตามตัวอักษร

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2016, 05:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภูต, ภูต ๑ สัตว์ผู้เกิดแล้ว หรือเกิดเสร็จแล้ว ,

นัยหนึ่ง หมายถึงพระอรหันต์ เพราะไม่แสวงหาภพเป็นที่เกิดอีก

อีกนัยหนึ่ง หมายถึงสัตว์ที่เกิดเต็มตัวแล้ว เช่น คนคลอดจากครรภ์แล้ว ไก่ออกจากไข่แล้ว เป็นต้น

ต่างกับ สัมภเวสี คือ สัตว์ผู้ยังแสวงหาที่เกิด ซึ่งได้แก่ ปุถุชน และพระเสขะ ผู้ยังแสดงหาภพที่เกิดอีก หรือสัตว์ในครรภ์และในไข่ ที่ยังอยู่ระหว่างจะเกิด ๒. ผี, อมนุษย์ ๓. ภูตรูป คือ ธาตุ ๔ มักเรียก มหาภูต


ภูมิ ๑ พื้นเพ, พื้น, ชั้น, ที่ดิน, แผ่นดิน ๒. ชั้นแห่งจิต, ระดับจิตใจ, ระดับชีวิต มี ๔ คือ

๑. กามาวจรภูมิ - ชั้นที่ยังท่องเที่ยวอยู่ในกาม

๒. รูปาวจรภูมิ - ชั้นที่ยังท่องเที่ยวอยู่ในรูป หรือชั้นของพวกที่ได้รูปฌาน

๓. อรูปาวจรภูมิ - ชั้นที่ยังท่องเที่ยวอยู่ในอรูป หรือชั้นของพวกที่ได้อรูปฌาน

๔. โลกุตรภูมิ - ชั้น่ที่พ้นโลก หรือระดับพระอริยบุคคล, เรียกให้สั้นว่า กามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ และโลกุตรภูมิ


ภูมิ ๔ นี้ จัดประเภทได้ ๒ ระดับ คือ สามภูมิแรก เป็นโลกียภูมิ

ส่วนภูมิที่สี่ เป็นโลกุตรภูมิ,

บางทีเรียกโลกียภูมิ ๓ นั้นว่า "ไตรภูมิ"


ในภูมิ ๔ นี้ สามภูมิแรก คือ โลกียภูมิ ๓ แยกย่อยออกไปได้ เป็น ภูมิ ๓๑ คือ

๑. กามาวจรภูมิ ๑๑ แบ่งเป็นอบายภูมิ ๔ (นิรยะ - นรก, ติรัจฉานโยนิ - กำเนิดดิรัจฉาน, ปิตติวิสัย - แดนเปรต, อสุรกาย - พวกอสูร)
และ
กามสุคติภูมิ ๗ (กามาวจรภูมิ ที่เป็นสุคติ คือ มนุษย์ และเทพชั้นจาตุมมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี ปรนิมมิตวสวัตตี)

๒. รูปาวจรภูมิ ๑๖ ระดับของรูปพรหม แบ่งเป็น
ก. ปฐมฌานภูมิ ๓ (พรหมระดับปฐมฌาน ๓ คือ พรหมปาริสัชชา พรหมปุโรหิตา มหาพรหมา)
ข. ทุติยฌานภูมิ ๓ (พรหมระดับทุติยฌาน ๓ คือ ปริตตาภา อัปปมาณาภา อภัสสรา)
ค. ตติยฌานภูมิ ๓ (พรหมระดับตติยฌาน ๓ คือ ปริตตสุภา อัปปมาณสุภา สุภกิณหา)
ง. จตุตถฌานภูมิ ๗ (พรหมระดับจตุตถฌาน ๗ คือ เวหัปผลา อสัญญีสัตว์ สุทธาวาส ๕ (ที่เกิดของพระอนาคามี ๕ คือ อวิหา อตัปปา สุทัสสา สุทัสสี อกนิฏฐา)

๓. อรูปาวจรภูมิ ๔ ระดับ ของอรูปพรหม (พรหมระดับอรูปฌาน ๔ คือ อากาสานัญจายตนภูมิ วิญญาณัญจายตนภูมิ อากิญจัญญายตนภูมิ เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ)

คำว่า "ภูมิ" นี้มีความหมายใกล้เคียงกับคำว่า "ภพ" ซึ่งบางทีก็พูดควบคู่ไปด้วยกัน
แต่ที่แท้นั้น ภูมิหมายถึงระดับของจิตใจ

ส่วนภพหมายถึงภาวะชีวิตของสัตว์ หรือโลกที่อยู่ของสัตว์

ดังนั้น ภูมิจึงมี ๔ เพราะนับโลกุตรภูมิด้วย

ส่วนภพมีเพียง ๓ เพราะโลกุตรภพไม่มี


แต่ในที่ทั่วไป เมื่อยกโลกุตรภูมิออกไปแล้ว ภูมิ ๓ ที่เป็นโลกีย์
บางทีก็ใช้อย่างคลุมๆ รวมไปถึงโลกที่อยู่ของสัตว์ มีความหมายคล้ายกับคำว่า ภพ ๓ ด้วย

(เช่น คำว่า "ไตรภูมิ" ที่นำมาพูดกันในภาษาไทย)


(ศัพท์เดียวแต่มีหลายความหมาย เช่น ภูต, ภพ ภูมิ เป็นต้น ก่อนใช้ก่อนพูด พึงเข้าใจให้ชัดว่าจะสื่อถึงอะไร)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2016, 07:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภวังคจิต จิตที่เป็นองค์แห่งภพ, ตามหลักอภิธรรมว่า จิตที่เป็นพื้นอยู่ระหว่างปฏิสนธิและจุติ คือ ตั้งแต่เกิดจนถึงตาย ในเวลาที่มิได้เสวยอารมณ์ทางทวารทั้ง ๖ มีจักขุทวาร เป็นต้น
แต่เมื่อใดมีการรับรู้อารมณ์ เช่น เกิดการเห็น การได้ยิน เป็นต้น ก็เกิดเป็นวิถีจิตขึ้นแทนภวังคจิต เมื่อวิถีจิตดับไป ก็เกิดเป็นภวัคจิตขึ้นอย่างเดิม

ภวังคจิตนี้คือมโน ที่เป็นมนายตะ ที่ ๖ หรือมโนทวาร อันเป็นวิบาก เป็นอัพยากฤต ซึ่งเป็นจิตตามสภาพ หรือตามปกติของมัน ยังไม่ขึ้นสู่วิถีรับรู้อารมณ์ (เป็นเพียงมโน ยังไม่เป็นมโนวิญญาณ)

พุทธพจน์ว่า "จิตนี้ประภัสสร (ผุดผ่อง ผ่องใส บริสุทธิ์) แต่เศร้าหมอง เพราะอุปกิเลสที่จรมา) มีความหมายว่า จิตนี้โดยธรรมชาติของมันเอง มิใช่เป็นสภาวะที่แปดเปื้อนสกปรก หรือมีสิ่งเศร้าหมองเจือปนอยู่
แต่สภาพเศร้าหมองนั้นเป็นของแปลกปลอมเข้ามา
ฉะนั้น การชำระจิตให้สะอาดหมดจดจึงเป็นสิ่งที่ไปได้,
จิตที่ประภัสสรนี้ พระอรรถกถาจารย์อธิบายว่า ได้แก่ ภวังคจิต
เทียบ ่วิถีจิต

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2016, 07:49 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2016, 08:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภาษิต คำกล่าว, คำหรือข้อความที่พูดไว้


ภิกขา การขออาหาร, อาหารอันพึงขอ, อาหารที่ข้อได้มา, อาหารบิณฑบาต


ภิกขาจาร เที่ยวไปเพื่อภิกขา, เที่ยวไปเพื่ออาหารอันพึงขอ, เที่ยวบิณฑบาต


ภวาสวะ อาสวะคือภพ, กิเลสที่หมักหมมหรือองอยู่ในสันดาน ทำให้อยากเป็นอยากเกิดอยากมีอยู่คงอยู่ตลอดไป (ข้อ ๒ ในอาสวะ ๓ และ ๔)


ภักษา, ภักษาหาร เหยื่อ, อาหาร


ภัณฑาคาริก ภิกษุผู้ได้รับสมมติ คือ แต่งตั้งจากสงฆ์ ให้เป็นผู้มีหน้าที่รักษาเรือนคลังเก็บพัสดุของสงฆ์, ผู้รักษาคลังสิ่งของ, เป็นตำแหน่งหนึ่งในบรรดา เจ้าอธิการแห่งคลัง


ภัณฑูกัมม์ การปลงผม, การบอกขออนุญาตกะสงฆ์เพื่อปลงผมคนผู้ขอจะบวชในกรณีที่ภิกษุจะปลงให้เอง เป็นอปโลกนกรรมอย่างหนึ่ง


ภัต, ภัตร อาหาร, ของกิน, ของฉัน, อาหารที่รับประทาน (หรือฉัน) เป็นมื้อๆ


ภัตกาล เวลาฉันอาหาร, เวลารับประทานอาหาร เดิมเขียน ภัตตกาล


ภัตกิจ การบริโภคอาหาร เดิมเขียน ภัตตกิจ


ภัตตาหาร อาหารคือข้าวของฉัน, อาหารที่สำหรับฉันเป็นมื้อๆ


ภัตตุทเทสกะ ผู้แจกภัตต์, ภิกษุที่สงฆ์สมมติ คือแต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่จัดแจกภัต,

นิยมเขียน ภัตตุเทศก์, เป็นตำแหน่งหนึ่งในบรรดา เจ้าอธิการแห่งอาหาร

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2016, 08:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภัตตัคควัตร ข้อควรปฏิบัติในหอฉัน, ธรรมเนียมในโรงอาการ ท่านจัดเข้าเป็นกิจวัตรประเภทหนึ่ง กล่าวย่อ มี ๑๑ ข้อ คือ

นุ่งห่มให้เรียบร้อย,

รู้จักอาสนะอันสมควรแก่ตน

ไม่นั่งทับสังฆาฏิในบ้าน,

รับน้ำและโภชนะของถวายจากทายกโดยเอื้อเฟื้อ และคอยระวังให้ได้รับทั่วกัน,

ถ้าพอจะแลเห็นทั่วกัน พระสังฆเถระพึงลงมือฉันเมื่อภิกษุทั้งหมดได้รับโภชนะทั่วกันแล้ว

ฉันด้วยอาการเรียบร้อยตามหลักเสขิยวัตร

อิ่มพร้อมกัน (หัวหน้ารอยังไม่บ้วนปากและล้างมือ)

บ้วนปาก และล้างมือระวังไม่ให้น้ำกระเซ็น

ฉันในที่มีทายกจัดถวายเสร็จแล้วอนุโมทนา

เมื่อกลับ อย่าเบียดเสียดกันออกมา

ไม่เทน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวหรือของเป็นเดนในบ้านเขา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2016, 08:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภัททากัจจานา พระมหาสาวิกาองค์หนึ่งเป็นธิดาของพระเจ้าสุปปพุทธะแห่งโกลิยวงศ์ พระนามเดิมว่า ยโสธรา หรือ พิมพา เป็นพระมารดาของพระราหุล พุทธชิโนรส ได้นามว่า ภัททากัจจานา เพราะทรงมีฉวีวรรณดุจทองคำเนื้อเกลี้ยง บวชเป็นภิกษุณีในพระพุทธศาสนาเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน ไม่ช้าก็ได้สำเร็จพระอรหัต

ได้รับยกย่องว่า เป็นเอตทัคคะในทางบรรลุมหาภิญญา เรียก ภัททกัจจานา ก็มี


ภัทเทกรัตตสูตร ชื่อสูตรหนึ่งในมัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ แห่งพระสุตตันตปิฎก แสดงเรื่องบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญ คือ คนที่เวลาวันคืนหนึ่งๆ มีแต่ความดีงาม ความเจริญก้าวหน้า ได้แก่ ผู้ที่ไม่มัวครุ่นคำนึงอดีต ไม่เพ้อหวังอนาคต ใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นแจ้งประจักษ์สิ่งที่เป็นปัจจุบันทำความเพิ่มพูนขึ้นเรื่อยไป มีความเพียรพยายาม ทำกิจที่ควรทำเสียแต่วันนี้ ไม่รอวันพรุ่ง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2016, 09:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภิกษุณี หญิงที่ได้อุปสมบทแล้ว, พระผู้หญิงในพระพุทธศาสนา


ภิกษุณีสงฆ์ หมู่แห่งภิกษุณี, ประดาภิกษุณีทั้งหมดกล่าวโดยส่วนรวมหรือโดยฐานเป็นชุมนุมหนึ่ง, ภิกษุณีตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป ประชุมกันเนื่องในกิจพิธี,

ภิกษุณีสงฆ์ เกิดขึ้นในพรรษาที่ ๕ แห่งการบำเพ็ญพุทธกิจโดยมี พระมหาปชาบดีโคตมี พระมาตุจฉา ซึ่งเป็นพระมารดาเลี้ยงของเจ้าชายสิทธัตถะ เป็นพระภิกษุณีรูปแรก

ดังเรื่องปรากฏในภิกขุณีขันธกะ และในอรรถกถา สรุปได้ความว่า

หลังจากพระเจ้าสุทโธทนะปรินิพพานแล้ว วันหนึ่ง ขณะที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่นิโครธารามในเมืองกบิลพัสดุ์ พระนางมหาปชาบดีโคตมี เสด็จเข้าไปเฝ้า และทูลขออนุญาตให้สตรีสละเรือนออกบวชในพระธรรมวินัย

แต่การณ์นั้น มิใช่ง่าย พระพุทธเจ้าตรัสห้ามเสียถึง ๓ ครั้ง

ต่อมาพระพุทธเจ้าเสด็จไปยังเมืองเวสาลี ประทับที่กูฏาคารศาลาในป่ามหาวัน

พระนางมหาปชาบดีโคตมี ไม่ละความพยายาม ถึงกับปลงผมนุ่งห่มผ้ากาสาวะเอง ออกเดินทางพร้อมด้วยเจ้าหญิงศากยะจำนวนมาก (อรรถกถาว่า ๕๐๐ นาง) ไปยังเมืองเวสาลี และได้มายืนกันแสงอยู่ที่ซุ้มประตูนอกกูฏาคารศาลา พระบาทบวม พระวรกายเปรอะเปื้อนธุลี

พระอานนท์มาพบเข้า สอนถามทราบความแล้วรีบช่วยไปกราบทูลขออนุญาตให้

แต่เมื่อพระอานนท์กราบทูลต่อพระพุทธเจ้า ก็ถูกพระองค์ตรัสห้ามเสียถึง ๕ ครั้ง

ในที่สุด พระอานนท์เปลี่ยนวิธีใหม่ โดยกราบทูลถามว่า สตรีออกบวชในพระธรรมวินัยแล้ว จะสามารถบรรลุโสดาปัตติผลจนถึงอรหัตผลได้หรือไม่

พระพุทธเจ้า ตรัสตอบว่า ได้

พระอานนท์ จึงอ้างเหตุผลนั้น พร้อมทั้งการที่พระนางมหาปชาบดีเป็นพระมาตุจฉาและเป็นพระมารดาเลี้ยง มีอุปการะมากต่อพระองค์ แล้วขอให้อนุญาตให้สตรีออกบวช

พระพุทธเจ้า ทรงอนุญาตโดยมีเงื่อนไขว่า พระนางจะต้องรับปฏิบัติตาม ครุธรรม ๘ ประการ พระนางยอมรับ ตามพุทธานุญาตที่ให้ถือว่า การรับครุธรรมนั้นเป็นการอุปสมบทของพระนาง

ส่วนเจ้าหญิงศากยะที่ตามมาทั้งหมด พระพุทธเจ้าตรัสอนุญาตให้ภิกษุสงฆ์อุปสมบทให้

ในคราวนั้น พระพุทธเจ้าได้ตรัสแก่พระอานนท์ว่า การให้สตรีบวช จะเป็นเหตุให้พรหมจรรย์ คือ พระศาสนาหรือสัทธรรมตั้งอยู่ได้ไม่ยั่งยืน จะมีอายุสั้นเข้า เปรียบเหมือนตระกูลที่มีบุรุษน้อยมีสตรีมาก ถูกผู้ร้ายทำลายได้ง่าย หรือเหมือนนาข้าวที่มีหนอนขยอกลงหรือเหมือนไร่อ้อยที่มีเพลี้ยลง ย่อมอยู่ได้ไม่ยืนนาน

พระองค์ทรงบัญญัติครุธรรม ๘ ประการกำกับไว้ก็เพื่อเป็นหลักคุ้มกันพระศาสนา เหมือนสร้างคันกั้นสระใหญ่ไว้ก่อนเพื่อกันไม่ให้น้ำไหลท้นออกไป (พระศาสนาจักอยู่ได้ยั่งยืนเช่นเดิม)

และได้ทรงแสดงเหตุผลที่ไม่ให้ภิกษุไหว้ภิกษุณี ให้ภิกษุณีไหว้ภิกษุได้ฝ่ายเดียว เพราะนักบวชในลัทธิศาสนาอื่นทั้งหลายไม่มีใครไหว้สตรีกันเลย

กล่าวโดยสรุปว่า หากถือเหตุผลทางด้านสภาพสังคม – ศาสนาแล้ว จะไม่ทรงอนุญาตให้สตรีบวชเลย

แต่ด้วยเหตุผลในด้านความสามารถโดยธรรมชาติ จึงทรงยอมให้สตรีบวชได้

เมื่อภิกษุณีสงฆ์เกิดขึ้นแล้ว สตรีจะบวช ต่อมาต้องเป็น สิกขมานา รักษาสิกขาบท ๖ (คือ ๖ ข้อแรกในศีล ๑๐) ไม่ให้ขาดตลอด ๒ ปีก่อน จึงขออุปสมบทได้

และต้องรับการอุปสมบทโดยสงฆ์ทั้งสองฝ่าย คือ บวชโดยภิกษุณีสงฆ์แล้ว ต้องบวชโดยภิกษุสงฆ์อีกชั้นหนึ่ง

เมื่อเป็นภิกษุณีแล้ว ต้องรักษาสิกขาบท ๓๑๑ ข้อ (ศีล ๓๑๑)

ภิกษุณีสงฆ์เจริญแพร่หลายในชมพูทวีปอยู่ช้านาน เป็นแหล่งให้การศึกษาแหล่งใหญ่แก่สตรีทั้งหลาย

ภิกษุณีสงฆ์ประดิษฐานในลังกาทวีปในรัชกาลของพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ โดยพระสังฆมิตตาเถรี พระราชธิดาของพระเจ้าอโศกมหาราช เดินทางจากชมพูทวีปมาประกอบอุปสมบทกรรมแก่พระนางอนุฬาเทวี ชายาของเจ้ามหานาค อนุชาของพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ พร้อมด้วยสตรีอื่นอีก ๑ พัน คน

ภิกษุณีสงฆ์เจริญรุ่งเรืองในลังกาทวีปยาวนานไม่น้อยกว่า ๑,๐๐๐ ปี แต่ในที่สุดได้สูญสิ้นไป ด้วยเหตุใดและกาลใดไม่ปรากฏชัด

ส่วนในประเทศไทย ไม่ปรากฏหลักฐานว่า ได้เคยมีภิกษุณีสงฆ์ แม้ว่าในการที่พระโสณะและพระอุตตระมาประดิษฐานพระพุทธศาสนาในสุวรรณภูมิ จะมีเรื่องเล่าที่ทำให้ฉงนและชวนให้ตีความกัน ก็เป็นการเล่าอย่างตำนานเพียงสั้นๆ แบบที่เต็มไปด้วยอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ว่า (วินย.อ. ๑/๖๘) ที่นั่นมีนางผีเสื้อน้ำ ซึ่งเมื่อมีทารกเกิในราชสกุล เมื่อใด ก็จะขึ้นมาจากทะเลและจับทารกกินเสีย
เมื่อพระเถระทั้งสองไปถึงนั้น ก็พอดีมีทารกเกิดในราชสกุลคนหนึ่ง เมื่อนางผีเสื้อน้ำและบริวารขึ้นมาจากทะเล

พระเถระเนรมิตร่างที่ใหญ่โตเป็นสองเท่าของพวกรากษสขึ้นมาจำนวนหนึ่งเข้าล้อมพวกรากษสไว้ ทำให้พวกรากษสกลัวพากันหนีไป แล้วพระเถระก็แสดงธรรมแก่มหาชน มีคนบรรลุธรรมถึงหกหมื่นคน มีกุลทารก ๓๕๐๐ คน และกุลธิดา ๕๐๐ คน บรรพชา (น่าสังเกตท่านใช้คำว่า “กุลทารก)

เป็นอันว่า พระโสณกเถระได้ประดิษฐานพระพุทธศาสนาในสุวรรณภูมิแล้วอย่างนี้

เรื่องที่เล่านี้ แตกต่างมากจากเรื่องการประดิษฐานพระพุทธศาสนาในลังกาทวีป ซึ่งแม้จะมีเรื่องอัศจรรย์แทรกอยู่ไม่น้อย แต่มีความเป็นมาของเรื่องเป็นลำดับนับว่าชัดเจน เฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อชาวเกาะลังกานับถือพระพุทธศาสนาแล้ว พระนางอนุฬาเทวีต้องการจะผนวช (วินย. อ.๘๙๑) และทูลแจ้งแก่พระราชา พระองค์ได้ตรัสขอให้พระมหินทเถรบวชให้แก่พระเทวีนั้น

แต่พระเถระ ได้ถวายพระพรว่า ท่านจะบรรพชาให้แก่สตรีเป็นการไม่สมควร และได้ชี้แจงให้พระราชานิมนต์พระสังฆมิตตาเถรีมาบวชให้ พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ แห่งลังกาทวีป จึงได้ส่งสาส์นไปนิมนต์พระภิกษุณีสังฆมิตตาเถรีเดินทางจากชมพูทวีปพร้อมด้วยกิ่งพระศรีมหาโพธิ์ มายังลังกาทวีป และประดิษฐานภิกษุณีสงฆ์ขึ้นในดินแดนนั้น แล้วก็มีเรื่องสืบต่อมาอีกยาว

แต่ในด้านสุวรรณภูมิ ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม หลังจากเรื่องเล่าที่ไม่ชัดข้างต้นนั้นแล้ว ก็ไม่มีหลักฐานว่า มีภิกษุณีหรือสามเณรีแต่อย่างใด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2016, 14:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภันเต “ข้าแต่ท่านผู้เจริญ” เป็นคำที่ภิกษุผู้อ่อนพรรษากว่า เรียกภิกษุผู้แก่พรรษากว่า (ผู้น้อยเรียกผู้ใหญ่) หรือคฤหัสถ์กล่าวเรียกพระภิกษุ
คู่กับคำว่า อาวุโส


อาวุโส “ผู้มีอายุ” เป็นคำเรียก หรือทักทาย ที่ภิกษุผู้แก่พรรษาใช้ร้องเรียกภิกษุผู้อ่อนพรรษากว่า (ภิกษุผู้ใหญ่ร้องเรียกภิกษุผู้น้อย) หรือ ภิกษุร้องเรียกคฤหัสถ์ คู่กับคำว่า ภนฺเต ซึ่งภิกษุผู้อ่อนกว่าใช้ร้องเรียกภิกษุผู้แก่กว่าหรือคฤหัสถ์ร้องเรียกภิกษุ

ในภาษาไทยมักใช้เพี้ยนไปในทางตรงข้าม หมายถึง เก่ากว่า หรือแก่กว่าในวงงาน กิจการ หรือความเป็นสมาชิก



ภัพพบุคคล คนที่ควรบรรลุธรรมพิเศษได้ เทียบ อภัพพบุคคล


ภิกขุนูปัสสยะ สำนักนางภิกษุณี, เขตที่อยู่อาศัยของ ภิกษุณีซึ่งเป็นส่วนหนึ่งอยู่ในวัด


ภิกขุปาฏิโมกข์ ประมวลสิกขาบทที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้สำหรับภิกษุ มี ๒๒๗ ข้อ


ภิกษาจารกาล เวลาเป็นที่เที่ยวไปเพื่อภิกษา, เวลาบิณฑบาต


ภิกษุ ชายที่ได้อุปสมบทแล้ว, ชายที่บวชเป็นพระ, พระผู้ชาย, แปลตามรูปศัพท์ว่า “ผู้ขอ” หรือ “ผู้มองเห็นภัยในสงสาร” หรือ “ผู้ทำลายกิเลส”


ภิกษุณี หญิงที่ได้อุปสมบทแล้ว, พระผู้หญิงในพระพุทธศาสนา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 24 ก.ค. 2016, 22:06, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2016, 15:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภยาคติ ลำเอียงเพราะกลัว (ข้อ ๔ ในอคติ ๔)


ภูตกสิณ (ภูต+กสิณ) กสิณคือภูตรูป, กสิณคือธาตุ ๔ ได้แก่ ปฐวี ดิน, อาโป น้ำ, เตโช ไฟ, วาโย ลม

ภูตคาม (ภูต+คาม) ของเขียวหรือพืชพรรณอันเป็นอยู่กับที่ มี ๕ ชนิด
๑. พืชเกิดจากเหง้า คือ ใช้เหง้าเพราะ เช่น ขมิ้น

๒. พืชเกิดจากต้น คือ ตอนออกได้จากไม้ต้นทั้งหลาย เช่น ต้นโพธิ์

๔. พืชเกิดจากข้อ คือใช้ข้อปลูก ได้แก่ ไม้ลำ เช่น อ้อย ไม้ไผ่

๔. พืชเกิดจากยอด คือใช้ยอดปักก็เป็น ได้แก่ ผักต่างๆ มีผักชีล้อม ผักบุ้ง เป็นต้น

๕. พืชเกิดจากเมล็ด คือ ใช้เมล็ดเพาะ ได้แก่ งา ข้าว, แปลตามรูปศัพท์ว่า บ้านของภูต คู่กับพืชคาม


เภสัช ยา , ยารักษาโรค, ยาแก้โรค เป็นอย่างหนึ่งในปัจจัย ๔,
เภสัช ๕ ที่เป็นสัตตาหกาลิก รับไว้ฉันได้ตลอด ๗ วัน คือ ๑. สัปปิ เนยใส ๒. นวนีตะ เนยข้น ๓. เตละ น้ำมัน ๔. มธุ น้ำผึ้ง ๕. ผาณิต น้ำอ้อย
ส่วนยาแก้โรคที่ทำจากรากไม้ เปลือกไม้ ใบไม้ เป็นต้น จัดเป็น ยาวชีวิก คือรับประเคนไว้แล้วเก็บไว้ฉันได้ตลอดชีวิต ดู เวชกรรม


โภชนะ ของฉัน, ของกิน, โภชนะทั้ง ๕ ที่กล่าวถึงบ่อย ในพระวินัย เฉพาะอย่างยิ่งในโภชนวรรค ได้แก่ ข้าวสุก ขนมสด ขนมแห้ง ปลา เนื้อ (ปญฺจ โภชนานิ โอทโน กุมฺมาโส สตฺตุ มจฺโฉ มํสํ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2016, 22:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภาณยักษ์ บทสวดของยักษ์, คำบอกของยักษ์, สวด หรือบอกแบบยักษ์, เป็นคำที่คนไทยเรียกอาฎานาฎิยสูตร ที่นำมาใช้เป็นทบสวดมนต์ในจำพวกพระปริตร

(เป็นพระสูตรขนาดยาวสูตรหนึ่ง นิยมคัดตัดมาเฉพาะตอนที่มีสาระเกี่ยวกับความคุ้มครองป้องกันโดยตรง และเรียกส่วนที่ตัดตอนมาใช้นั้นว่า อาฎานาฎิยปริตร)


การที่นิยม เรียกชื่อพระสูตรนี้ให้ง่ายว่า "ภาณยักษ์" นั้น เนื่องจากพระสูตรนี้ มีเนื้อหาซึ่งเป็นคำกล่าวของยักษ์ คือ ท้าวเวสสวัณ ที่มากราบทูลถวายคำประพันธ์ของพวกตน

ที่เรียกว่า "อาฎานาฎิยา รกฺขา" (อาฎานาฎิยรักขา หรือ อาฎานาฎิยารักษ์) แด่พระพุทธเจ้า ดังมีความเป็นมาโดยย่อว่า
ยามดึกราตรีหนึ่ง ท้าวมหาราชสี่ (จาตุมมหาราช หรือจตุโลกบาล) พร้อมด้วยบริวารจำนวนมาก ได้มาเฝ้าพระพุทธเจ้า ที่เขาคิชฌกูฎ เมือราชคฤห์
ครั้นแล้ว ท้าวเวสสวัณ ผู้ครองทิศอุดร (ไทยมักเรียก เวสสุวัณ, มีอีกชื่อหนึ่งว่า กุเวร) ได้กราบทูล (ในนามของผู้มาเฝ้าทั้งหมด) ว่าพวกยักษ์ที่ไม่เลื่อมใสพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็มี ที่เลื่อมใส ก็มี ส่วนมากที่ไม่เลื่อมใสเพราะตนเองทำปาณาติบาต จนถึงดื่มสุราเมรัย เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าสอนให้งดเว้นกรรมชั่วเหล่านั้น จึงไม่ชอบใจ

ท้าวมหาราชทรงห่วงใยว่า มีพระสาวกที่ไปอยู่ในป่าดงเงียบเปลี่ยวห่างไกลอันน่ากลัว จึงขอถวายคาถา "อาฎานาฎิยา รกฺขา" (อาฎานาฎิยรักขา เรียกง่ายๆว่า อาฎานาฎิยารักข์ โดยเรียกตามชื่อเทพนครอาฎานาฎา ที่ท้าวมหาราชประชุมกันประพันธ์อาฎานาฎิยรักขานี้ขึ้น) โดยขอให้ทรงรับไว้ เพื่อทำให้ยักษ์พวกนั้นเลื่อมใส เป็นเครื่องคุ้มครองรักษาภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ให้อยู่ผาสุก ปลอดจากการถูกเบียดเบียน

แล้วท้าวเวสสวัณก็กล่าวคำอารักขานั้น เริ่มต้น ด้วยคำนมัสการพระพุทธเจ้า ๗ พระองค์ มีพระวิปัสสี เป็นต้น ต่อด้วยเรื่องของท้าวมหาราชสี่รายองค์ที่พร้อมด้วยโอรส และเหล่าอมนุษย์พากันน้อมวันทาพระพุทธเจ้า,


คาถาอาฎานาฎิยารักข์นี้ เมื่อเรียนไว้แม่นยำดีแล้ว หากอมนุษย์เช่นยักษ์ เป็นต้น ตนใดมีใจประทุษร้ายมากล้ำกราย อมนุษย์ตนนั้นก็จะถูกต่อต้นและถูกลงโทษ โดยพวกอมนุษย์ทั้งหลาย
หากตนใดไม่เชื่อฟัง ก็ถือว่าเป็นขบถต่อท้าวมหาราชสี่นั้น กล่าวแล้วก็พากันกราบทูลลากลับไป

ครั้นผ่านราตรีนั้นไปแล้ว พระพุทธเจ้าได้ตรัสเล่าเรื่องทั้งหมดแก่ภิกษุทั้งหลาย ตรัสว่า อาฎานาฎิยรักขานั้นกอปรด้วยประโยชน์ในการคุ้มครองรักษาดังกล่าวแล้ว และทรงแนะนำให้เรียนไว้

พึงสังเกตว่า ความในอาฏานาฏิยสูตรนี้ทั้งหมด แยกเป็น ๒ ตอนใหญ่ คือ

ตอนแรก เป็น เรื่องของท้าวเวสสวัณ และท้าวมหาราชอื่นพร้อมทั้งบริวาร (เรียกง่ายๆว่า พวกยักษ์) ที่มาเฝ้าและกราบทูลถวายอาฏานาฏิยารักข์จนจบแล้วกราบลากลับไป

ตอนหลัง คือ เมื่อพวกท้าวมหาราชกลับไปแล้ว ผ่านตราตรีนั้น ถึงวันรุ่งขึ้น พระพุทธเจ้าได้ตรัสเล่าเรื่องแก่ภิกษุทั้งหลายซ้ำตลอดทั้งหมด พร้อมทั้งทรงนะนำให้เรียนจำอาฏานาฎิยารักข์เป็นเครื่องคุ้มครองรักษาพุทธ บริษัททั้งสี่

ในพระไตรปิฎกบาลี ท่านเล่าเรื่องและแสดงเนื้อความเต็มทั้งหมดเฉพาะในตอนแรก
ส่วนตอนหลัง แสดงไว้เฉพาะพระพุทธดำรัส ที่เริ่มตรัสเล่าแก่ภิกษุทั้งหลาย และพระดำรัสสรุปท้ายที่ให้เรียนจำอาฏานาฎิยารักข์นั้นไว้

ส่วนเนื้อความที่ทรงเล่าซ้ำ ท่านทำไปยาลใหญ่ (ฯปฯ คือ ฯลฯ) แล้วข้ามไปเลย ตอนหลังนั้นจึงสั้นนิดเดียว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 14 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 54 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร