วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 05:57  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 20 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2016, 07:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


http://www.lakdharma.com/wp-content/upl ... ersion.jpg


คิหิปฏิบัติ ข้อปฏิบัติสำหรับคฤหัสถ์

คฤหัสถ์ ผู้ครองเรือน, ชาวบ้าน

คิหิวินัย วินัยของคฤหัสถ์, คำสอนทั้งหมดในสิ่งคาลกสูตร (ที.ปา.๑๑/๒๗๒/๑๙๔ สิคาโลวาทสูตรก็เรียก)
ที่พระพุทธเจ้าตรัสแก่นายสิงคาลกะ คหบดีบุตร ผู้กำลังไหว้ทิศ บนทางเสด็จจะเข้าไปบิณฑบาตในเมืองราชคฤห์ ชื่อว่าเป็นคิหิวินัย มีใจความว่าให้ละเว้นความชั่ว ๑๔ อย่าง (กรรมกิเลส ๔ อคติ ๔ อบายมุข ๖) แล้วเป็นผู้ปกแผ่ทิศทั้ง ๖

(เว้นห่างมิตรเทียม ๔ คบหามิตรแท้ ๔ จัดสรรทรัพย์เป็นโภควิภาค ๔ บำรุงทิศ ๖)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2016, 07:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตย. คิหิวินัย




ศีลเพื่อเสริมความดีงามของชีวิต และสังคม มาในสิงคาลสูตร ที่พระอรรถกถาจารย์กล่าวว่า พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ให้เป็น คิหิวินัย คือ วินัยของคฤหัสถ์ หรือศีลสำหรับชาวบ้าน ดังสาระที่สรุปได้ ดังต่อไปนี้

หมวด ๑: ปลอดความชั่ว ๑๔ ประการ คือ

ก. ละกรรมกิเลส (ข้อเสื่อมเสียของความประพฤติ) ๔ อย่าง ได้แก่

๑. ปาณาติบาต
๒ อทินนาทาน
๓. กาเมสุมิจฉาจาร
๔. มุสาวาท


ข. ไม่กระทำบาปกรรมโดย ๔ สถาน คือ ไม่ทำกรรมชั่วด้วยลุแก่

๑. ฉันทาคติ ลำเอียงเพราะชอบ
๒. โทสาคติ ลำเอียงเพราะชัง
๓. โมหาคติ ลำเอียงเพราะเขลา
๔. ภยาคติ ลำเอียงเพราะกลัว

ค. ไม่เสพอบายมุข (ช่องทางเสื่อมเสีย หรือหายหมดไป) แห่งโภคะ ๖ ประการ คือ

๑. ติดสุรา และของมึนเมา
๒. ติดเที่ยวกลางคืน
๓. ติดเที่ยวดูการเล่น
๔. ติดการพนัน
๕. ติดคบเพื่อนชั่ว
๖. เกียจคร้านการงาน


หมวด ๒: (เตรียมทุนชีวิต ๒ ด้าน คือ)

- รู้จักมิตรแท้ มิตรเทียม ซึ่งควรคบ และไม่ควรคบ ได้แก่

ก. มิตรเทียม ๔ จำพวก คือ

๑. คนปอกลอก
๒. คนดีแต่พูด
๓. คนหัวประจบ
๔. คนชวนฉิบหาย

ข. มิตรแท้ ๔ จำพวก คือ

๑. มิตรอุปการะ
๒. มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์
๓. มิตรแนะนำประโยชน์
๔. มิตรมีน้ำใจ

- เก็บรักษาสะสมทรัพย์ เหมือนดังผึ้งขยันรวบรวมน้ำเกสรดอกไม้สร้างรัง หรือเหมือนตัวปลวก ก่อสร้างจอมปลวก แล้วพึงจัดสรรทรัพย์ใช้สอย โดยแบ่งเป็น ๔ ส่วน

ก. กินใช้ เลี้ยงดูคน และทำประโยชน์ ๑ ส่วน
ข. ทำทุนประกอบการงาน ๒ ส่วน
ค. เก็บไว้ใช้คราวจำเป็น ๑ ส่วน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2016, 07:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ

หมวด ๓: ปกแผ่ทิศทั้ง ๖

- ทิศ ๖ ปฏิบัติหน้าที่ต่อบุคคลที่สัมพันธ์กับตนให้ถูกต้องตามฐานะทั้ง ๖ คือ

๑. ก. บุตรธิดา บำรุงมารดาบิดาผู้เป็นเหมือนทิศเบื้องหน้า โดย

๑) ท่านเลี้ยงเรามาแล้ว เลี้ยงท่านตอบ
๒) ช่วยทำกิจธุระการงานของท่าน
๓) ดำรงวงศ์สกุล
๔) ประพฤติตนให้เหมาะสมกับความเป็นทายาท
๕) เมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ทำบุญอุทิศให้ท่าน

ข. มารดาบิดา อนุเคราะห์บุตรธิดา ดังนี้

๑) ห้ามกันจากความชั่ว
๒) ฝึกอบรมให้ตั้งอยู่ในความดี
๓) ให้ศึกษาศิลปวิทยา
๔) เป็นธุระในการมีคู่ครองที่สมควร
๕) มอบทรัพย์สมบัติให้เมื่อถึงโอกาส

๒. ก. ศิษย์ บำรุงครูอาจารย์ ผู้เป็นเหมือนทิศเบื้องขวา โดย

๑) ลุกรับ แสดงความเคารพ
๒) เข้าไปหา (เช่น ช่วยรับใช้ ปรึกษาซักถาม รับคำแนะนำ)
๓) ตั้งใจฟังและรู้จักฟัง
๔) ปรนนิบัติ ช่วยบริการ
๕) เรียนศิลปวิทยาโดยเคารพ เอาจริงเอาจัง ถือเป็นกิจสำคัญ

ข. ครูอาจารย์ อนุเคราะห์ศิษย์ ดังนี้

๑) แนะนำฝึกอบรมให้เป็นคนดี
๒) สอนให้เข้าใจแจ่มแจ้ง
๓) สอนศิลปวิทยาให้สิ้นเชิง
๔) ยกย่องให้ปรากฏในหมู่พวก
๕) สร้างเครื่องคุ้มภัยในสารทิศ (สอนให้เอาไปใช้งานเลี้ยงชีพได้จริง)

๓. ก. สามี บำรุงภรรยา ผู้เป็นเหมือนทิศเบื้องหลัง โดย

๑) ยกย่องให้เกียรติสมฐานะภรรยา
๒) ไม่ดูหมิ่น
๓) ไม่นอกใจ
๔) มอบความเป็นใหญ่ในงานบ้าน
๕) หาเครื่องแต่งตัวมาให้เป็นของขวัญตามโอกาส


ข. ภรรยา อนุเคราะห์สามี ดังนี้

๑) จัดงานบ้านให้เรียบร้อย
๒) สงเคราะห์ญาติมิตรทั้งสองฝ่ายด้วยดี
๓) ไม่นอกใจ
๔) รักษาทรัพย์สมบัติที่หามาได้
๕) ขยันช่างจัดช่างทำเอางานทุกอย่าง

๔. ก. บำรุงมิตรสหาย ผู้เป็นเหมือนทิศเบื้องซ้าย โดย

๑) เผื่อแผ่แบ่งปัน
๒) พูดอย่างรักกัน
๓) ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
๔) มีตนเสมอ ร่วมสุขร่วมทุกข์กัน
๕) ซื่อสัตย์จริงใจต่อกัน

ข. มิตรสหาย อนุเคราะห์ตอบ ดังนี้

๑) เมื่อเพื่อนประมาท ช่วยรักษาป้องกัน
๒) เมื่อเพื่อนประมาท ช่วยรักษาทรัพย์สมบัติของเพื่อน
๓) ในคราวมีภัย เป็นที่พึ่งได้
๔) ไม่ละทิ้งในยามทุกข์ยาก
๕) นับถือตลอดวงศ์ญาติของมิตร

๕. ก. นาย บำรุงคนรับใช้และคนงาน ผู้เป็นเหมือนทิศเบื้องล่าง โดย

๑) จัดงานให้ทำตามความเหมาะสมกับกำลังเพศวัยและความสามารถ
๒) ให้ค่าจ้างรางวัลสมควรแก่งานและความเป็นอยู่
๓) จัดสวัสดิการดี มีช่วยรักษาพยาบาลในยามเจ็บไข้ เป็นต้น
๔) มีอะไรได้พิเศษมา ก็แบ่งปันให้
๕) ให้มีวันหยุดและพักผ่อนหย่อนใจตามโอกาส

ข. คนรับใช้และคนงาน อนุเคราะห์นาย ดังนี้

๑) เริ่มทำงานก่อน
๒) เลิกงานทีหลัง
๓) เอาแต่ของที่นายให้
๔) ทำการงานให้เรียบร้อยและดียิ่งขึ้น
๕) นำความดีของนายงานและกิจการไปเผยแพร่

๖. ก. คฤหัสถ์ บำรุงพระสงฆ์ ผู้เป็นเหมือนทิศเบื้องบน โดย

๑) จะทำสิ่งใด ก็ทำด้วยเมตตา
๒) จะพูดสิ่งใด ก็พูดด้วยเมตตา
๓) คิดสิ่งใด ก็คิดด้วยเมตตา
๔) ต้อนรับด้วยความเต็มใจ
๕) อุปถัมภ์ ด้วยปัจจัย ๔

ข. พระสงฆ์ ย่อมอนุเคราะห์คฤหัสถ์ ดังนี้

๑) ห้ามปรามสอนให้เว้นจากความชั่ว
๒) แนะนำสั่งสอนให้ตั้งอยู่ในความดี
๓) อนุเคราะห์ด้วยน้ำใจงาม
๔) ให้ได้ฟังได้รู้สิ่งที่ยังไม่เคยรู้ไม่เคยฟัง
๕) ชี้แจงอธิบายสิ่งที่เคยฟังแล้วให้เข้าใจแจ่มแจ้ง
๖) บอกทางสวรรค์ให้ (สอนวิธีดำเนินชีวิตให้ประสบความสุข)

สังคหวัตถุ ๔: บำเพ็ญหลักการสงเคราะห์ เพื่อยึดเหนี่ยวใจคนและประสานสังคม ๔ ประการ คือ

๑. ทาน - เผื่อแผ่แบ่งปัน
๒ ปิยวาจา - พูดอย่างรักกัน
๓. อัตถจริยา - ทำประโยชน์แก่เขา
๔. สมานัตตตา - เอาตัวเข้าสมาน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2016, 07:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คติ ๑ การไป, ทางไป, ความเป็นไป, ทางดำเนิน, วิธี, แนวทาง, แบบอย่าง, ๒. ที่ไปเกิดของสัตว์, ภพที่สัตว์ไปเกิด, แบบการดำเนินชีวิต มี ๕ คือ

๑. นิรยะ - นรก
๒. ดิรัจฉานโยนิ - กำเนิดดิรัจฉาน
๓. เปตติวิสัย - แดนเปรต
๔. มนุษย์ - สัตว์มีใจสูงรู้คิดเหตุผล
๕.เทพ - ชาวสวรรค์ ตั้งแต่ชั้นจาตุมมหาราชิกา ถึง อกนิษฐพรหม, ใช้คำเรียกเป็นชุดว่า นิรยคติ ดิรัจฉานคติ เปตคติ มนุษยคติ เทวคติ

๓ คติแรก เป็นทุคติ (ที่ไปเกิดอันชั่ว หรือแบบดำเนินชีวิตที่ไม่ดี)
๒ คติหลัง สุคติ (ที่ไปเกิดอันดี หรือแบบดำเนินชีวิตที่ดี)

สำหรับทุคติ ๓ มีข้อสังเกตว่า บางทีเรียกว่า อบาย หรืออบายภูมิ แต่อบายภูมินั้น มี ๔ คือ นรก เปรต อสุรกาย ดิรัจฉาน

อรรถกถากล่าวว่า (อุ.อ.๑๔๕ อิติ.อ.๑๔๕) การที่มีจำนวนไม่เท่ากัน ก็เพราะรวมอสุรกาย เข้าในเปตติวิสัยด้วย จึงเป็นทุคติ ๓

ส่วนคติที่ ๕ คือ เทพ มีทั้งกามภพ รูปภพ และรูปภพ (เทพนั้น แบ่งออกไปเป็น ก.เทวดาในสวรรค์ ๖ ชั้น อยู่ในกามภพ ข.รูปพรหม ๑๖ ชั้น อยู่ในรูปภพ และ ค.อรูปพรหม ๔ ชั้น อยู่ในอรูปภพ) เทียบ ภพ

เมื่อจัดเข้าในภูมิ ๔ พึงทราบว่า ๔ คติแรกเป็นกามาวจรภูมิทั้งหมด

ส่วนคติที่ ๕ คือ เทพ มีทั้งกามาวจรภูมิ รูปาวจรภูมิ และ อรูปาวจรภูมิ (ทำนองเดียวกับที่กล่าวแล้วใน ภพ ๓) แต่มีข้อพิเศษว่า ภูมิสูงสุด คือ ภูมิที่ ๔ อันได้แก่ โลกุตรภูมินั้น แม้ว่าพวกเทพจะอาจเข้าถึงได้ แต่มนุษย์คติเป็นวิสัยที่มีโอกาสลุถึงได้ดีที่สุด เทียบ ภูมิ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2016, 20:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธัตถจริย ทรงประพฤติเป็นประโยชน์แก่สัตว์โลก โดยฐานเป็นพระพุทธเจ้า เช่น ทรงแสดงธรรมแก่เวไนยสัตว์ และบัญญัติวินัยขึ้นบริหารหมู่คณะ ทรงประดิษฐานพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืนมาตราบเท่าทุกวันนี้

คณะ กลุ่มคน, หมู่, พวก, ในพระวินัยโดยเฉพาะในสังฆกรรม มีกำหนดว่า
สงฆ์ คือชุมนุมภิกษุตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป
คณะ คือชุมนุมภิกษุ ๒ หรือ ๓ รูป
บุคคล คือภิกษุรูปเดียว
เมื่อใช้อย่างทั่วไป แม้แต่ในพระวินัย “คณะ” มิใช่หมายความจำเพาะอย่างนี้ เช่นในคณโภชน์ คำว่าฉันเป็นคณะ หมายถึง ๔ รูปขึ้นไป

คณโภชน์ ฉันเป็นหมู่ คือ ภิกษุตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป รับนิมนต์ออกชื่อโภชนะแล้วฉัน ในหนังสือวินัยมุข มีข้อพิจารณาว่า บางทีจะหมายถึงการนั่งล้อมโภชนะฉัน หรือฉันเข้าวง

คณปูรกะ ภิกษุผู้เป็นที่ครบจำนวนในคณะนั้นๆ เช่น สังฆกรรมที่ต้องมีภิกษุ ๔ รูป หรือยิ่งขึ้นไป เป็นผู้ทำ ยังขาดอยู่เพียงจำนวนใดจำนวนหนึ่ง มีภิกษุอื่นมาสมทบ ทำให้ครบองค์สงฆ์ในสังฆกรรมนั้นๆ ภิกษุอื่นมาสมทบนั้น เรียกว่า คณปูรกะ

คณะธรรมยุต คณะสงฆ์ที่ตั้งขึ้นใหม่ เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ผนวชเป็นภิกษุในรัชกาลที่ ๓ (เรียกว่า ธรรมยุตติกา หรือธรรมยุติกนิกาย ก็มี) สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงให้ความหมายว่า “พระสงฆ์ออกจากมหานิกายนั้นเอง แต่ได้รับอุปสมบทในรามัญนิกายด้วย” (การคณะสงฆ์ น. ๑๐)

คณะมหานิกาย คณะสงฆ์ไทยเดิมที่สืบมาแต่สมัยสุโขทัย, เป็นชื่อที่ใช้เรียกในเมื่อได้เกิดมีคณะธรรมยุตขึ้นแล้ว
สมเด็จมหาสมณเจ้า ฯ ทรงให้ความหมายว่า “พระสงฆ์อันมีเป็นพื้นเมือง (ของประเทศไทย ....การคณะสงฆ์ น. ๙๐)

คมิยภัต ภัตเพื่อผู้ไป, อาหารที่เขาถวายเฉพาะภิกษุผู้จะเดินทางไปอยู่ที่อื่น คมิกภัต ก็ว่า

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2016, 21:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คยา จังหวัดที่พระพุทธเจ้าเคยเสด็จเมื่อครั้งโปรดนักบวชชฎิล และได้แสดงพระธรรมเทศนาอาทิตตปริยายสูตรที่ตำบลคยาสีสะในจังหวัดนี้ ปัจจุบันตัวเมืองคยาอยู่ห่างจากพุทธคยา สถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าประมาณ ๗ ไมล์

คราวใหญ่ คราวที่ภิกษุอยู่มากด้วยกัน บิณฑบาตไม่พอฉัน (ฉันเป็นหมู่ได้ ไม่ต้องอาบัติปาจิตตีย์)


คามวาสี “ผู้อยู่บ้าน” พระบ้าน หมายถึงพระภิกษุที่อยู่วัดในเขตหมู่บ้าน ใกล้ชุมชนชาวบ้าน หรือในเมือง, เป็นคู่กับอรัญวาสี หรือพระป่า ซึ่งหมายถึงพระภิกษุที่อยู่วัดในป่า

คำทั้งสอง คือ คามวาสี และอรัญวาสี นี้ ไม่มีในพระไตรปิฎก (ในคัมภีร์มิลินทปัญหา ประมาณ พ.ศ.๕๐๐ ก็ยังไม่มี) พึงมีใช้ในอรรถกถา (ก่อน พ.ศ. ๑๐๐๐) แต่เป็นถ้อยคำสามัญ หมายถึงใครก็ได้ ตั้งแต่พระสงฆ์ ไปจนถึงสิงสาราสัตว์ (มักใช้แก่ชาวบ้านทั่วไป) ที่อยู่บ้าน อยู่ใกล้บ้าน หรืออยู่ในป่า

การแบ่งพระสงฆ์เป็น ๒ ฝ่าย คือ คามวาสี และอรัญวาสี เกิดขึ้นในลังกาทวีป และปรากฏชัดเจนในรัชกาลพระเจ้าปรักกมพาหุ ที่ ๑ มหาราช (พ.ศ.๑๖๙๖ – ๑๗๒๙)

ต่อมา เมื่อพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแห่งอาณาจักรสุโขทัย รับพระพุทธศาสนา และพระสงฆ์ลังกาวงศ์ อันสืบเนื่องจากสมัยพระเจ้าปรักกมพาหุนี้เข้ามาในช่วงใกล้ พ.ศ.๑๘๒๐ ระบบพระสงฆ์ ๒ แบบ คามวาสี และอรัญวาสี ก็มาจากศรีลังกาเข้าสู่ประเทศไทยด้วย

พร้อมกับความเป็นมาอย่างนี้ พระคามวาสี ก็ได้เป็นผู้หนักในคันถธุระ (ธุระในการเล่าเรียนพระคัมภีร์) และพระอรัญวาสี เป็นผู้หนักในวิปัสสนาธุระ (ธุระในการเจริญกรรมฐานอันมีวิปัสสนาเป็นยอด)



คันถธุระ ธุระฝ่ายคัมภีร์, ธุระ คือ การเรียนพระคัมภีร์, การศึกษาปริยัติธรรม, เป็นคำที่ใช้ในชั้นอรรถกถาลงมา (ไม่มีในพระไตรปิฎก) เทียบ วิปัสสนาธุระ


คามสีมา “แดนบ้าน” คือเขตที่กำหนดด้วยบ้าน, สีมาที่ถือกำหนดตามเขตบ้าน เป็นอพัทธสีมาอย่างหนึ่ง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2016, 21:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โคจร “ที่โคเที่ยวไป” “เที่ยวไปดังโค” ๑. ที่ซึ่งอินทรีย์ทั้งหลาย มีตา เป็นต้น ท่องเที่ยวไป ได้แก่ อารมณ์ (กรรมฐาน บางครั้งก็เรียกว่า “โคจร” เพราะเป็นอารมณ์ของการเจริญภาวนา) ๒. สถานที่ที่เที่ยวไปเสมอ หรือไปเป็นประจำ เช่น ที่ภิกษุไปเที่ยวบิณฑบาต, บุคคลหรือสถานที่ที่ไปมาหาสู่ เทียบ อโคจร ๓. เที่ยวไป, แวะเวียนไป, ดำเนินไปตามวิถี เช่น ดวงดาวโคจร,
การดำเนินไปในวิถีแห่งการปฏิบัติ เช่น ในการเจริญสมาธิ ซึ่งจะก้าวไปด้วยดีได้ ต้องมีสติสัมปชัญญะที่จะให้รู้จักหลีกเร้นธรรมที่ไม่เหมาะไม่เอื้อ และเสพธรรมอันเอื้อเกื้อกูล เป็นต้น

ครุกรรม กรรมหนักทั้งที่เป็นกุศล และกุศล ในฝ่ายกุศล ได้แก่ ฌานสมาบัติ
ในฝ่ายอกุศล ได้แก่ อนันตริยกรรม กรรมนี้ให้ผลก่อนกรรมอื่นเหมือนคนอยู่บนที่สูงเอาวัตถุต่างๆ ทิ้งลงมาอย่างไหนหนักที่สุด อย่างนั้นถึงพื้นก่อน


ครุธรรม ธรรมอันหนัก, หลักความประพฤติสำหรับนางภิกษุณีจะพึงถือเป็นเรื่องสำคัญอันต้องปฏิบัติด้วยความเคารพไม่ละเมิดตลอดชีวิต


คันถะ ๑ กิเลสที่ร้อยรัดมัดใจสัตว์ให้ติดอยู่ ตำรา, คัมภีร์


โคจรคาม หมู่บ้านที่อาศัยเที่ยวภิกขาจาร, หมู่บ้านที่ภิกษุไปเที่ยวบิณฑบาตประจำ


โคดม, โคตรมะ ชื่อตระกูลของพระพุทธเจ้า มหาชนเรียกพระพุทธเจ้าตามพระโคตรว่า พระโคดม พระโคตรมะ หรือ พระสมณโคดม

โคตรภู ผู้ตั้งอยู่ในญาณ ซึ่งเป็นลำดับที่จะถึงอริยมรรค, ผู้อยู่ในหัวต่อระหว่างความเป็นปุถุชนกับความเป็นอริยบุคคล


โคตรภูญาณ “ญาณครอบโคตร” คือปัญญาที่อยู่ในลำดับจะถึงอริยมรรค หรืออยู่ในหัวต่อที่จะข้ามพ้นภาวะปุถุชนขึ้นสู่ภาวะเป็นอริยะ

โครส “รสแห่งโค หรือ รสเกิดแต่โค” คือ ผลผลิตจากนมโค ซึ่งมี ๕ อย่าง ได้แก่ นมสด (ขีระ) นมส้ม (ทธิ) เปรียง (ตักกะ) เนยใส (สัปปิ) เนยข้น (นวนีตะ) เรียกรวมว่า เบญจโครส

คูถภักขา มีคูถเป็นอาหาร ได้แก่ สัตว์จำพวก ไก่ สุกร สุนัข เป็นต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2016, 22:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
A nu no ta na sa tu kaa
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2016, 08:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ได้ข้อคิดจากกระทู้ที่โฮฮับตั้ง "ผลของการศึกษาธรรมด้วยการท่องพจนานุกรมที่พระแต่งขึ้นเอง"

นี่

viewtopic.php?f=1&t=52898


ฉุกคิดขึ้น โดยนำศัพท์ทางธรรม แต่ไม่มีความหมายให้ ใครอ่านดูแล้ว ถามตัวเองสิรู้เข้าใจมั้ยว่า เขาหมายถึงอะไร ยังไง

คุณโรส เป็นหนูทดลองยาก่อน อ่านแล้วคิดว่าหมายถึงอะไร บอกด้วย :b1:


ฆนะ

ฆนสัญญา


ฆราวาส


ฆราวาสธรรม


ฆราวาสวิสัย


ฆราวาสสมบัติ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2016, 08:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ฆานะ


ฆานวิญญาณ


ฆานสัมผัส


ฆานสัมผัสสชาเวทนา


โฆสัปปมาณิกา


งมงาย


คัมภีร์

คาถา

คาถาพัน


คารวโวหาร

คารวะ

คำรบ

คุณธรรม


คุณบท

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2016, 09:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ได้ข้อคิดจากกระทู้ที่โฮฮับตั้ง "ผลของการศึกษาธรรมด้วยการท่องพจนานุกรมที่พระแต่งขึ้นเอง"

นี่

viewtopic.php?f=1&t=52898


ฉุกคิดขึ้น โดยนำศัพท์ทางธรรม แต่ไม่มีความหมายให้ ใครอ่านดูแล้ว ถามตัวเองสิรู้เข้าใจมั้ยว่า เขาหมายถึงอะไร ยังไง

คุณโรส เป็นหนูทดลองยาก่อน อ่านแล้วคิดว่าหมายถึงอะไร บอกด้วย :b1:


ฆนะ

ฆนสัญญา


ฆราวาส


ฆราวาสธรรม


ฆราวาสวิสัย


ฆราวาสสมบัติ

Kiss
ก็เกี่ยวกะคนค่ะมีอวัยวะมีตัวคนที่เป็นคนมีปกติของคนนิสัยของคนธรรมสำหรับคนแบบชาวโลก
ถ้าเอาคำแปลแบบมีหลักมีเกณฑ์มีมาตรฐานเพื่อการแปลและตีความตรงภาษาราชการก็ดีกว่าค่ะ
ที่คุณกรัชกายนำมาลงรายละเอียดก็ถูกต้องดีแล้วสาธุ/แต่โฮฮับเอาใจโฮฮับเป็นประธานว่างั้นนะ
:b16:
:b32: :b32:


แก้ไขล่าสุดโดย Rosarin เมื่อ 23 ก.ค. 2016, 09:39, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2016, 09:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ฆานะ


ฆานวิญญาณ


ฆานสัมผัส


ฆานสัมผัสสชาเวทนา


โฆสัปปมาณิกา


งมงาย


คัมภีร์

คาถา

คาถาพัน


คารวโวหาร

คารวะ

คำรบ

คุณธรรม


คุณบท

tongue
:b27:
เอาแบบมีคำแปลมาแล้วดีกว่า
เติมเอาเองก็เป็นอัตตาตัวตน
คิดของใครของมันก็ถูกนะ
เพราะว่าแล้วแต่ใครจะคิด
มั่วไปได้ตามใจปรารถนา
:b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2016, 10:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:


เอาแบบมีคำแปลมาแล้วดีกว่า
เติมเอาเองก็เป็นอัตตาตัวตน
คิดของใครของมันก็ถูกนะ
เพราะว่าแล้วแต่ใครจะคิด
มั่วไปได้ตามใจปรารถนา


เปรียบศาสดาโฮฮับเหมือนคนขายเกี๋ยวเตี๋ยว มีเครื่องปรุงวางให้ด้วยไง

ใครชอบเปรี้ยว ชอบหวาน ชอบเผ็ด ตักเติมเอาตามชอบ

แต่ลูกค้าบางคน เต็มนั่นเติมนี่ เต็มน้ำปลาจนเค็มกินไม่ได้ บอกคนขายว่า พี่ๆๆ ขอน้ำเติมหน่อยสิ เค็มเกิน ว่า :b32: พ่อค้าใจดี เติมน้ำให้ บอกจืดไปอีก ขอเส้นหน่อย ว่า :b9:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2016, 10:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
Rosarin เขียน:


เอาแบบมีคำแปลมาแล้วดีกว่า
เติมเอาเองก็เป็นอัตตาตัวตน
คิดของใครของมันก็ถูกนะ
เพราะว่าแล้วแต่ใครจะคิด
มั่วไปได้ตามใจปรารถนา


เปรียบศาสดาโฮฮับเหมือนคนขายเกี๋ยวเตี๋ยว มีเครื่องปรุงวางให้ด้วยไง

ใครชอบเปรี้ยว ชอบหวาน ชอบเผ็ด ตักเติมเอาตามชอบ

แต่ลูกค้าบางคน เต็มนั่นเติมนี่ เต็มน้ำปลาจนเค็มกินไม่ได้ บอกคนขายว่า พี่ๆๆ ขอน้ำเติมหน่อยสิ เค็มเกิน ว่า :b32: พ่อค้าใจดี เติมน้ำให้ บอกจืดไปอีก ขอเส้นหน่อย ว่า :b9:

cool
:b32: พ่อค้าก็จะกวักมือเรียก มาๆลูกพี่เซ้งร้านไว้เลย จะได้ลวกกินเองดีกว่าไหม :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2016, 17:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ฆนะ ก้อน, แท่ง


ฆนสัญญา ความสำคัญว่าเป็นก้อน, ความสำคัญเห็นเป็นชิ้นเป็นอัน ซึ่งบังปัญญาไม่ให้เห็นภาวะที่เป็นอนัตตา


ฆราวาส การอยู่ครองเรือน, ชีวิตชาวบ้าน
ในภาษาไทย มักใช้ หมายถึง ผู้ครองเรือน คือ คฤหัสถ์


ฆราวาสธรรม หลักธรรมสำหรับการครองเรือน ธรรมของผู้ครองเรือน มี ๕ อย่าง คือ

๑. สัจจะ - ความจริง เช่น ซื่อสัตย์ต่อกัน

๒. ทมะ - ความฝึกฝนปรับปรุงตน เช่น รู้จักข่มใจ ควบคุมอารมณ์ บังคับตนเอง ปรับตัวเข้ากับการงานและสิ่งแวดล้อมได้ดี

๓. ขันติ - ความอดทน

๔. จาคะ - ความเสียสละ เผื่อแผ่ แบ่งปัน มีน้ำใจ


ฆราวาสวิสัย วิสัยของฆราวาส, ลักษณะที่เป็นภาวะของผู้ครองเรือน, ความพรั่งพร้อมและสมบูรณ์ของชีวิตชาวบ้าน


ฆราวาสสมบัติ สมบัติของฆราวาส, สมบัติของการครองเรือน , ความพรั่งพร้อมและสมบูรณ์ของชีวิตชาวบ้าน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 20 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 123 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron