วันเวลาปัจจุบัน 16 เม.ย. 2024, 21:17  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 68 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ค. 2016, 13:32 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


onion
ดูให้ดี สังเกตพิจารณากันให้ลึกซึ้ง ปัญญานำหน้ามาก่อนเสมอ ศีล สมาธิจึงเกิดและดีตาม
แล้วจากนั้น ปัญญา ศีล สมาธิจึงเป็นเหตุปัจจัยเกื้อหนุนกัน สนับสนุนกันขึ้นไปจนถึงความวิมุติหลุดพ้น
:b38:
ปัญญามีอยู่ 3 ขั้นตอนคือ
1.สุตมยปัญญา ปัญญาที่ได้จากการฟังการศึกษา ปัญญาข้อนี้สำคัญเป็นบาทฐานให้ปัญญาที่เกิดตามมาอีก 2 อย่างและเจริญงอกงามตาม

2.จินตมยปัญญา ปัญญาที่ได้จากการค้นคิดพิจารณาข้อธรรมที่ได้สุตตะมา ปัญามรรค 2ข้อในมรรค 8 คือสัมมาทิฏฐิ = ดู เห็น รู้ กับสัมมาสังกัปปะ=สังเกต พิจารณา ก็เริ่มเจริญขึ้นในปัญญาหมวดนี้

3.ภานามยปัญญา ปัญญาที่ได้จากการภาวนา ทำจริงอย่างเช่นการเจริญสติปัฏฐาน 4 เป็นต้น

ดั้งนั้น ตื้นๆฟังง่าย คือ ศีล สมาธิ ปัญญา

แต่ลึกๆฟังยากแต่เป็นความจริงยิ่งคือ
ปัญญา ศีล สมาธิ
:b37:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2016, 07:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
onion
ดูให้ดี สังเกตพิจารณากันให้ลึกซึ้ง ปัญญานำหน้ามาก่อนเสมอ ศีล สมาธิจึงเกิดและดีตาม
แล้วจากนั้น ปัญญา ศีล สมาธิจึงเป็นเหตุปัจจัยเกื้อหนุนกัน สนับสนุนกันขึ้นไปจนถึงความวิมุติหลุดพ้น
:b38:
ปัญญามีอยู่ 3 ขั้นตอนคือ
1.สุตมยปัญญา ปัญญาที่ได้จากการฟังการศึกษา ปัญญาข้อนี้สำคัญเป็นบาทฐานให้ปัญญาที่เกิดตามมาอีก 2 อย่างและเจริญงอกงามตาม

2.จินตมยปัญญา ปัญญาที่ได้จากการค้นคิดพิจารณาข้อธรรมที่ได้สุตตะมา ปัญามรรค 2ข้อในมรรค 8 คือสัมมาทิฏฐิ = ดู เห็น รู้ กับสัมมาสังกัปปะ=สังเกต พิจารณา ก็เริ่มเจริญขึ้นในปัญญาหมวดนี้

3.ภานามยปัญญา ปัญญาที่ได้จากการภาวนา ทำจริงอย่างเช่นการเจริญสติปัฏฐาน 4 เป็นต้น

ดั้งนั้น ตื้นๆฟังง่าย คือ ศีล สมาธิ ปัญญา

แต่ลึกๆฟังยากแต่เป็นความจริงยิ่งคือ
ปัญญา ศีล สมาธิ
:b37:

มาต่ออีกชัดเจนดีครับ

แต่ถ้าก่อนที่ปัญญาจะมา มันน่าจะมีสัทธามาก่อน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2016, 07:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



"ปัญญา" อยู่หน้าหรืออยู่หลัง

ถ้าเรียงตามมรรค ปัญญาก็อยู่หน้า ..
คือ ปัญญา ศีล สมาธิ อันได้แก่ สัมมาทิฏฐิข้อต้น

ถ้าเรียงตามไตรสิกขา ปัญญาก็อยู่หลัง ..
คือ ศีล สมาธิ ปัญญา

ปัญญา เรียงตามมรรคก็หมายถึง สุตะมยปัญญาและจินตามยปัญญา
ปัญญา เรียงตามไตรสิกขา ก็หมายถึง วิปัสสนาปัญญาหรือภาวนามยปัญญา

ถ้าเข้าใจเรื่องปัญญาแล้ว จะอยู่หน้าหรืออยู่หลังก็ไม่เป็นปัญหาแต่อย่างใด ..

:b1:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2016, 11:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิริยะ เขียน:

"ปัญญา" อยู่หน้าหรืออยู่หลัง

ถ้าเรียงตามมรรค ปัญญาก็อยู่หน้า ..
คือ ปัญญา ศีล สมาธิ อันได้แก่ สัมมาทิฏฐิข้อต้น

ถ้าเรียงตามไตรสิกขา ปัญญาก็อยู่หลัง ..
คือ ศีล สมาธิ ปัญญา

ปัญญา เรียงตามมรรคก็หมายถึง สุตะมยปัญญาและจินตามยปัญญา
ปัญญา เรียงตามไตรสิกขา ก็หมายถึง วิปัสสนาปัญญาหรือภาวนามยปัญญา

ถ้าเข้าใจเรื่องปัญญาแล้ว จะอยู่หน้าหรืออยู่หลังก็ไม่เป็นปัญหาแต่อย่างใด ..

:b1:

:b8:
สาธุค่ะ
ถ้าเป็นพระพุทธเจ้าจะใช้ปัญญาเพียง2ประการในชาติสุดท้ายค่ะ คือจินตามยปัญญา และภาวนามยปัญญา
ส่วนปุถุชนหรือแม้แต่อริยบุคคลลำดับต่างๆ จะขาดการฟังและไม่ศึกษาให้รู้ตามพระพุทธพจน์มิได้เลยค่ะ
เพราะเป็นสาวกซึ่งหมายถึงการเป็นผู้ฟังที่มีปัญญาฟังแล้วเข้าใจแล้วสามารถระลึกตรงตามคำสอนได้
:b20:
onion onion onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2016, 04:23 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
onion
ดูให้ดี สังเกตพิจารณากันให้ลึกซึ้ง ปัญญานำหน้ามาก่อนเสมอ ศีล สมาธิจึงเกิดและดีตาม
แล้วจากนั้น ปัญญา ศีล สมาธิจึงเป็นเหตุปัจจัยเกื้อหนุนกัน สนับสนุนกันขึ้นไปจนถึงความวิมุติหลุดพ้น
:b38:
ปัญญามีอยู่ 3 ขั้นตอนคือ
1.สุตมยปัญญา ปัญญาที่ได้จากการฟังการศึกษา ปัญญาข้อนี้สำคัญเป็นบาทฐานให้ปัญญาที่เกิดตามมาอีก 2 อย่างและเจริญงอกงามตาม

2.จินตมยปัญญา ปัญญาที่ได้จากการค้นคิดพิจารณาข้อธรรมที่ได้สุตตะมา ปัญามรรค 2ข้อในมรรค 8 คือสัมมาทิฏฐิ = ดู เห็น รู้ กับสัมมาสังกัปปะ=สังเกต พิจารณา ก็เริ่มเจริญขึ้นในปัญญาหมวดนี้

3.ภานามยปัญญา ปัญญาที่ได้จากการภาวนา ทำจริงอย่างเช่นการเจริญสติปัฏฐาน 4 เป็นต้น

ดั้งนั้น ตื้นๆฟังง่าย คือ ศีล สมาธิ ปัญญา

แต่ลึกๆฟังยากแต่เป็นความจริงยิ่งคือ
ปัญญา ศีล สมาธิ
:b37:


ไม่เห็นต้องใช้ความลึกซึ่งอะไรเลย...ก็เห็นๆอยู่แล้วว่า..มรรคแปดนั้น..ปัญญานำ

ตรงที่ต้องใช้ความลึกซึ่ง..อโสกะกลับไม่ใช้..หรือใช้ไม่เป็น


นั้นคือ..การโยนิโสมนสิการ

อโสกะ...ครับ...การโยนิโสมนสิการ..นี้...เป็นงัยละคับ....เป็นอาการคิดอะป้าว?...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2016, 03:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พูดถึงปัญญา : มีหลายสิ่ง
แต่หากเพื่อปัญญาอันเป็นมรรคญาณ เพื่อการทำให้สิ้นไปซี่งอาสวะ
ไปตลอดถึงผลญาณ
จะมีลำดับแน่นอน คือ ศีล - สมาธิ -ปัญญา
ดั่งปรากฏใน อุปนิสสสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=16&A=704&Z=784

ศรัทธา มีทุกข์เป็นที่อิงอาศัย
สุข. ฯลฯ.....ปราโมทย์ มีศรัทธาเป็นที่อิงอาศัย
ศรัทธา>ปราโมทย์..ฯลฯ..สุข เพื่อความไม่ร้อนกายร้อนใจเกิดขึ้น (อวิปติสาร) เป็นคุณของศีล

จากนั้น ก็ไปสู่สมาธิ(ฌาน)>วิปัสสนาญาณ(ยถาภูตญาณทัสสนะ และนิพพิทานญาณ)

ตามลำดับไป จนถึงวิราคะ (มรรคญาณ) และวิมุตติญาณ(ผลญาณ)
ขมวดทั้งหมดเป็นอาสวะขยญาณ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 18 ก.ค. 2016, 04:19, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2016, 03:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บุคคล กระทำศีล สำคัญที่เจตนาวิรัติ
แต่เจตนาวิรัติ นั้นทิฏฐิสัมปยุต หรือด้วยทิฏฐิวิปยุตก็ได้ครับ ไม่จำเป็นต้องเกิดจากสุตมยปัญญาเสมอไปครับ

แต่การทำวิปัสสนาไรก็ตาม จำเป็นมากต้องมีศีลเป็นที่มั่น เพื่อความไม่เดือดร้อนกาย อันเป็นเหตุให้ว้าวุ่นใจ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2016, 04:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
๓. อุปนิสสูตร
[๖๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ-
*บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อเรารู้อยู่ เห็นอยู่ เราจึงกล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เมื่อเราไม่รู้
ไม่เห็น เราก็มิได้กล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรารู้
เราเห็นอะไรเล่า ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายย่อมมี เมื่อเรารู้ เราเห็นว่า
ดังนี้รูป ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งรูป ดังนี้ความดับแห่งรูป ... ดังนี้เวทนา ... ดังนี้สัญญา ...
ดังนี้สังขารทั้งหลาย ... ดังนี้วิญญาณ ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ ดังนี้ความดับ
แห่งวิญญาณ ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายย่อมมี ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรารู้ เรา
เห็นอย่างนี้แล ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายย่อมมี ฯ
[๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมเป็นที่สิ้นไป เกิดขึ้นแล้ว ญาณ
ในธรรมเป็นที่สิ้นไป อันนั้นแม้ใด มีอยู่ เรากล่าวญาณแม้นั้นว่า มีเหตุเป็นที่
อิงอาศัย มิได้กล่าวว่า ไม่มีเหตุเป็นที่อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า
เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งญาณในธรรมเป็นที่สิ้นไป ควรกล่าวว่า วิมุตติ ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งวิมุตติว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งวิมุตติ ควรกล่าวว่า วิราคะ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งวิราคะว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่
อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งวิราคะ ควร
กล่าวว่า นิพพิทา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งนิพพิทาว่ามีเหตุที่อิงอาศัย
มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัย
แห่งนิพพิทา ควรกล่าวว่า ยถาภูตญาณทัสสนะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้
ซึ่งยถาภูตญาณทัสสนะว่า มีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งยถาภูตญาณทัสสนะ ควรกล่าวว่า
สมาธิ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งสมาธิว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่า
ไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งสมาธิ
ควรกล่าวว่า สุข ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งสุขว่า มีเหตุที่อิงอาศัย
มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัย
แห่งสุข ควรกล่าวว่า ปัสสัทธิ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งปัสสัทธิว่า
มีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่า ไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า
เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งปัสสัทธิ ควรกล่าวว่า ปีติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าว
แม้ซึ่งปีติว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งปีติ ควรกล่าวว่า ความปราโมทย์ ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งความปราโมทย์ ว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุ
ที่อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งความปราโมทย์
ควรกล่าวว่า ศรัทธา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งศรัทธาว่ามีเหตุที่อิงอาศัย
มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัย
แห่งศรัทธา ควรกล่าวว่า ทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งทุกข์ว่ามีเหตุ
ที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็น
เหตุที่อิงอาศัยแห่งทุกข์ ควรกล่าวว่า ชาติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่ง
ชาติว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไร
เล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งชาติ ควรกล่าวว่า ภพ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าว
แม้ซึ่งภพว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งภพ ควรกล่าวว่า อุปาทาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวแม้ซึ่งอุปาทานว่า มีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งอุปาทาน ควรกล่าวว่า ตัณหา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งตัณหาว่า มีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มี
เหตุที่อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งตัณหา
ควรกล่าวว่า เวทนา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งเวทนาว่ามีเหตุที่อิงอาศัย
มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัย
แห่งเวทนา ควรกล่าวว่า ผัสสะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งผัสสะว่า
มีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า
เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งผัสสะ ควรกล่าวว่า สฬายตนะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรา
กล่าวแม้ซึ่งสฬายตนะว่า มีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งสฬายตนะ ควรกล่าวว่า นามรูป
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งนามรูปว่า มีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มี
เหตุที่อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งนามรูป
ควรกล่าวว่า วิญญาณ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งวิญญาณว่า มีเหตุที่
อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุ
ที่อิงอาศัยแห่งวิญญาณ ควรกล่าวว่า สังขารทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าว
แม้ซึ่งสังขารทั้งหลายว่า มีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งสังขารทั้งหลาย ควรกล่าวว่า
อวิชชา ด้วยเหตุดังนี้แล ภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลาย มีอวิชชาเป็นที่อิงอาศัย
วิญญาณมีสังขารเป็นที่อิงอาศัย นามรูปมีวิญญาณเป็นที่อิงอาศัย ผัสสะมี
สฬายตนะเป็นที่อิงอาศัย เวทนามีผัสสะเป็นที่อิงอาศัย ตัณหามีเวทนาเป็นที่
อิงอาศัย อุปาทานมีตัณหาเป็นที่อิงอาศัย ภพมีอุปาทานเป็นที่อิงอาศัย ชาติมีภพ
เป็นที่อิงอาศัย ทุกข์มีชาติเป็นที่อิงอาศัย ศรัทธามีทุกข์เป็นที่อิงอาศัย ความ
ปราโมทย์มีศรัทธาเป็นที่อิงอาศัย ปีติมีปราโมทย์เป็นที่อิงอาศัย ปัสสัทธิมีปีติ
เป็นที่อิงอาศัย สุขมีปัสสัทธิเป็นที่อิงอาศัย สมาธิมีสุขเป็นที่อิงอาศัย ยถาภูตญาณ
ทัสสนะมีสมาธิเป็นที่อิงอาศัย นิพพิทามียถาภูตญาณทัสสนะเป็นที่อิงอาศัย วิราคะ
มีนิพพิทาเป็นที่อิงอาศัย วิมุตติมีวิราคะเป็นที่อิงอาศัย ญาณในธรรมเป็นที่สิ้นไป
มีวิมุตติเป็นที่อิงอาศัย ฯ
[๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อฝนเมล็ดใหญ่ตกอยู่บนยอดภูเขา น้ำนั้น
ไหลไปตามที่ลุ่ม ยังซอกเขา ระแหง และห้วยให้เต็ม ซอกเขาระแหงและห้วย
ทั้งหลายเต็มเปี่ยมแล้ว ย่อมยังหนองทั้งหลายให้เต็ม หนองทั้งหลายเต็มเปี่ยมแล้ว
ย่อมยังบึงทั้งหลายให้เต็ม บึงทั้งหลายเต็มเปี่ยมแล้ว ย่อมยังแม่น้ำน้อยๆ ให้เต็ม
แม่น้ำน้อยๆ เต็มเปี่ยมแล้ว ย่อมยังแม่น้ำใหญ่ๆ ให้เต็ม แม้น้ำใหญ่ๆ เต็ม
เปี่ยมแล้ว ย่อมยังมหาสมุทรให้เต็ม แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขาร
ทั้งหลายมีอวิชชาเป็นที่อิงอาศัย ฯลฯ ญาณในธรรมเป็นที่สิ้นไป มีวิมุตติเป็นที่
อิงอาศัย ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ
จบสูตรที่ ๓

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2016, 06:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิริยะ เขียน:

"ปัญญา" อยู่หน้าหรืออยู่หลัง

ถ้าเรียงตามมรรค ปัญญาก็อยู่หน้า ..
คือ ปัญญา ศีล สมาธิ อันได้แก่ สัมมาทิฏฐิข้อต้น
:b1:


โดยสภาพแท้จริงของไตรสิกขาแล้ว ....มันเกิดพร้อมกัน
แต่ในทางปฏิบัติบุคคลต้องปฏิบัติที่ อธิศีล
เมื่อศีลเกิด อธิปัญญาและอธิสมาธิจะเกิดพร้อมกัน

ปัญญาและสมาธิจะเกิดเองไม่ได้เพราะมันเพราะสภาวธรรม(ปรมัตถ์)
ต้องอาศัยศีลซึ่งเป็นสมมติเป็นเหตุให้เกิด

ศีลก็คือ กาย วาจา ใจ(สมอง)
ปัญญาก็คือ ศรัทธาและปัญญา
สมาธิก็คือ สติ วิริยะ สมาธิ


วิริยะ เขียน:


ถ้าเรียงตามไตรสิกขา ปัญญาก็อยู่หลัง ..
คือ ศีล สมาธิ ปัญญา
:b1:


เพราะมันเป็นตัวหนังสือ การเขียนมันจึงต้องเขียนตัวใดตัวหนึ่งก่อนเพราะต้องเขียนตามหลักของภาษา
แต่โดยความเป็นจริงของไตรสิกขาแล้ว ...มันเกิดพร้อมกัน

ถ้าใครบอกว่า นั้นเกิดก่อนนี้เกิดก่อนเป็นไปได้แต่มันไม่ใช่อริยมรรคมีองค์๘
อริยมรรคมีองค์๘ จะต้องเกิดพร้อมกันทั้งแปดองค์

วิริยะ เขียน:


ปัญญา เรียงตามมรรคก็หมายถึง สุตะมยปัญญาและจินตามยปัญญา
ปัญญา เรียงตามไตรสิกขา ก็หมายถึง วิปัสสนาปัญญาหรือภาวนามยปัญญา
ถ้าเข้าใจเรื่องปัญญาแล้ว จะอยู่หน้าหรืออยู่หลังก็ไม่เป็นปัญหาแต่อย่างใด ..

:b1:


มันไม่ใช่อย่างที่คุณคิดครับ มันต้องบอกว่า....ถ้าเข้าใจเรื่องความเป็นมรรคสมังคีแล้ว
ก็จะรู้ว่า.....ไตรสิกขาเพื่อเข้าใจว่า อธิศีล อธิปัญญา อธิสมาธิ.....มันเกิดพร้อมกัน
ไม่ว่าจะเขียนให้ธรรมใดขึ้นหรือหลังก็ตาม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2016, 07:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
พูดถึงปัญญา : มีหลายสิ่ง
แต่หากเพื่อปัญญาอันเป็นมรรคญาณ เพื่อการทำให้สิ้นไปซี่งอาสวะ
ไปตลอดถึงผลญาณ
จะมีลำดับแน่นอน คือ ศีล - สมาธิ -ปัญญา
ดั่งปรากฏใน อุปนิสสสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=16&A=704&Z=784


เลอะเทอะครับ! ปัญญาเป็นอย่างเดียว มันไม่ใช่มีหลายสิ่งอย่างที่ลุงบ่นครับ
ปัญญาและศรัทธามันเกิดคู่กัน ปัญญาก็คือลักษณะของธรรม๓ประการ(ไตรลักษณ์)
ส่วนศรัทธาก็คือผลจากการที่ได้รู้เห็นลักษณะทั้ง๓ประการนั้นครับ..ก็คือตัวผู้รู้นั้นเอง

ปัญญาเพื่อการสิ้นไปแห่งอาสวะท่านเรียกว่า.....ธัมวิจยะ คือธรรมอันมีปัญญาเป็นองค์ประกอบ

การจะอ่านพระสูตรเราต้องลักษณะของธรรมมาก่อน ถ้าไม่รู้ก็จะเป็นผู้หลงอย่างลุงเช่นนั้นครับ
พระสูตรแต่ละบทมันแยกแยะไม่ได้หรอกว่าอะไรเกิดก่อนเกิดหลัง
เป็นเราที่จะต้องรู้ว่า ....อริยมรรคมีองค์๘ มีลักษณะเป็นมรรคสมังคี
และที่สำคัญต้องรู้เรื่อง..เหตปัจจัย(๒๔)โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัจจัยที่ว่าด้วย.... อัญญมัญญปัจจัย

แล้วจึงใช้ความเป็นมรรคสมังคีและ อัญญมัญญปัจจัย เป็นหลักในการพิจารณาพระสูตร

เช่นนั้น เขียน:
ศรัทธา มีทุกข์เป็นที่อิงอาศัย
สุข. ฯลฯ.....ปราโมทย์ มีศรัทธาเป็นที่อิงอาศัย
ศรัทธา>ปราโมทย์..ฯลฯ..สุข เพื่อความไม่ร้อนกายร้อนใจเกิดขึ้น (อวิปติสาร) เป็นคุณของศีล

จากนั้น ก็ไปสู่สมาธิ(ฌาน)>วิปัสสนาญาณ(ยถาภูตญาณทัสสนะ และนิพพิทานญาณ)

ตามลำดับไป จนถึงวิราคะ (มรรคญาณ) และวิมุตติญาณ(ผลญาณ)
ขมวดทั้งหมดเป็นอาสวะขยญาณ


มันใช่ซะที่ไหนกันเล่า! ศรัทธามันต้องมี วิชชา เป็นที่อิงอาศัย ดันเอาวิชชาไปเปรียบกับทุกข์เฉยเลย
ในอุปนิสสสูตร ที่กล่าวว่า ศรัทธามีทุกข์เป็นที่อิงอาศัย......ท่านกำลังกล่าวในความเป็นอวิชชาของบุคคลฯลฯ.....

ในอุปนิสสสูตร ท่านกลังชี้แนะว่า อย่างไรเป็นความหลง ศรัทธาถ้าอิงอาศัยทุกข์...ย่อมเกิดจากอวิชชา
สังเกตุวรรคสุดท้ายที่ว่า.....ญาณในธรรมเป็นที่สิ้นไป มีวิมุตติเป็นที่อิงอาศัย ฯ

นี่ท่านหมายถึง ที่กล่าวมาทั้งหมดบุคคลจะต้องปล่อยวางธรรมเล่านั้น(อุเบกขา) จึงจะเกิดวิมุติ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2016, 08:14 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ม.ค. 2014, 11:29
โพสต์: 64

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โห ไม่น่าเชื่อเลย
ใน อุปนิสสสูตร เราก็เข้าใจแบบคุณเช่นนั้น เพราะทั้งอ่านพระสูตร ทั้งอ่านความเห็นท่านอื่นๆมาเยอะแล้ว

มาอ่านคุณโฮฮับนี่พลิกหมดเลย
แต่เข้าใจจุดที่คุณโฮ ชี้ให้ดู คงต้องกลับไปอ่านพิจารณาใหม่แล้ว

ขอบคุณค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2016, 12:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
พูดถึงปัญญา : มีหลายสิ่ง
แต่หากเพื่อปัญญาอันเป็นมรรคญาณ เพื่อการทำให้สิ้นไปซี่งอาสวะ
ไปตลอดถึงผลญาณ
จะมีลำดับแน่นอน คือ ศีล - สมาธิ -ปัญญา
ดั่งปรากฏใน อุปนิสสสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=16&A=704&Z=784


เลอะเทอะครับ! ปัญญาเป็นอย่างเดียว มันไม่ใช่มีหลายสิ่งอย่างที่ลุงบ่นครับ
ปัญญาและศรัทธามันเกิดคู่กัน ปัญญาก็คือลักษณะของธรรม๓ประการ(ไตรลักษณ์)
ส่วนศรัทธาก็คือผลจากการที่ได้รู้เห็นลักษณะทั้ง๓ประการนั้นครับ..ก็คือตัวผู้รู้นั้นเอง

ปัญญาเพื่อการสิ้นไปแห่งอาสวะท่านเรียกว่า.....ธัมวิจยะ คือธรรมอันมีปัญญาเป็นองค์ประกอบ

การจะอ่านพระสูตรเราต้องลักษณะของธรรมมาก่อน ถ้าไม่รู้ก็จะเป็นผู้หลงอย่างลุงเช่นนั้นครับ
พระสูตรแต่ละบทมันแยกแยะไม่ได้หรอกว่าอะไรเกิดก่อนเกิดหลัง
เป็นเราที่จะต้องรู้ว่า ....อริยมรรคมีองค์๘ มีลักษณะเป็นมรรคสมังคี
และที่สำคัญต้องรู้เรื่อง..เหตปัจจัย(๒๔)โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัจจัยที่ว่าด้วย.... อัญญมัญญปัจจัย

แล้วจึงใช้ความเป็นมรรคสมังคีและ อัญญมัญญปัจจัย เป็นหลักในการพิจารณาพระสูตร

เช่นนั้น เขียน:
ศรัทธา มีทุกข์เป็นที่อิงอาศัย
สุข. ฯลฯ.....ปราโมทย์ มีศรัทธาเป็นที่อิงอาศัย
ศรัทธา>ปราโมทย์..ฯลฯ..สุข เพื่อความไม่ร้อนกายร้อนใจเกิดขึ้น (อวิปติสาร) เป็นคุณของศีล

จากนั้น ก็ไปสู่สมาธิ(ฌาน)>วิปัสสนาญาณ(ยถาภูตญาณทัสสนะ และนิพพิทานญาณ)

ตามลำดับไป จนถึงวิราคะ (มรรคญาณ) และวิมุตติญาณ(ผลญาณ)
ขมวดทั้งหมดเป็นอาสวะขยญาณ


มันใช่ซะที่ไหนกันเล่า! ศรัทธามันต้องมี วิชชา เป็นที่อิงอาศัย ดันเอาวิชชาไปเปรียบกับทุกข์เฉยเลย
ในอุปนิสสสูตร ที่กล่าวว่า ศรัทธามีทุกข์เป็นที่อิงอาศัย......ท่านกำลังกล่าวในความเป็นอวิชชาของบุคคลฯลฯ.....

ในอุปนิสสสูตร ท่านกลังชี้แนะว่า อย่างไรเป็นความหลง ศรัทธาถ้าอิงอาศัยทุกข์...ย่อมเกิดจากอวิชชา
สังเกตุวรรคสุดท้ายที่ว่า.....ญาณในธรรมเป็นที่สิ้นไป มีวิมุตติเป็นที่อิงอาศัย ฯ

นี่ท่านหมายถึง ที่กล่าวมาทั้งหมดบุคคลจะต้องปล่อยวางธรรมเล่านั้น(อุเบกขา) จึงจะเกิดวิมุติ

Onion_R
:b32: โฮฮับเอ๊ย...เอ๊ยๆๆ...กลับไปอ่านตีความให้แตกตอนท้ายพระสูตรที่เช่นนั้นยกมาน๊าลูกเอ๊ย :b32:
เช่นนั้น เขียน:
Quote Tipitaka:
๓. อุปนิสสูตร
[๖๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ-
*บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อเรารู้อยู่ เห็นอยู่ เราจึงกล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เมื่อเราไม่รู้
ไม่เห็น เราก็มิได้กล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรารู้
เราเห็นอะไรเล่า ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายย่อมมี เมื่อเรารู้ เราเห็นว่า
ดังนี้รูป ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งรูป ดังนี้ความดับแห่งรูป ... ดังนี้เวทนา ... ดังนี้สัญญา ...
ดังนี้สังขารทั้งหลาย ... ดังนี้วิญญาณ ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ ดังนี้ความดับ
แห่งวิญญาณ ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายย่อมมี ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรารู้ เรา
เห็นอย่างนี้แล ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายย่อมมี ฯ
[๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมเป็นที่สิ้นไป เกิดขึ้นแล้ว ญาณ
ในธรรมเป็นที่สิ้นไป อันนั้นแม้ใด มีอยู่ เรากล่าวญาณแม้นั้นว่า มีเหตุเป็นที่
อิงอาศัย มิได้กล่าวว่า ไม่มีเหตุเป็นที่อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า
เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งญาณในธรรมเป็นที่สิ้นไป ควรกล่าวว่า วิมุตติ ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งวิมุตติว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งวิมุตติ ควรกล่าวว่า วิราคะ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งวิราคะว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่
อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งวิราคะ ควร
กล่าวว่า นิพพิทา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งนิพพิทาว่ามีเหตุที่อิงอาศัย
มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัย
แห่งนิพพิทา ควรกล่าวว่า ยถาภูตญาณทัสสนะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้
ซึ่งยถาภูตญาณทัสสนะว่า มีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งยถาภูตญาณทัสสนะ ควรกล่าวว่า
สมาธิ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งสมาธิว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่า
ไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งสมาธิ
ควรกล่าวว่า สุข ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งสุขว่า มีเหตุที่อิงอาศัย
มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัย
แห่งสุข ควรกล่าวว่า ปัสสัทธิ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งปัสสัทธิว่า
มีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่า ไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า
เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งปัสสัทธิ ควรกล่าวว่า ปีติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าว
แม้ซึ่งปีติว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งปีติ ควรกล่าวว่า ความปราโมทย์ ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งความปราโมทย์ ว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุ
ที่อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งความปราโมทย์
ควรกล่าวว่า ศรัทธา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งศรัทธาว่ามีเหตุที่อิงอาศัย
มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัย
แห่งศรัทธา ควรกล่าวว่า ทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งทุกข์ว่ามีเหตุ
ที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็น
เหตุที่อิงอาศัยแห่งทุกข์ ควรกล่าวว่า ชาติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่ง
ชาติว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไร
เล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งชาติ ควรกล่าวว่า ภพ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าว
แม้ซึ่งภพว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งภพ ควรกล่าวว่า อุปาทาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวแม้ซึ่งอุปาทานว่า มีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งอุปาทาน ควรกล่าวว่า ตัณหา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งตัณหาว่า มีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มี
เหตุที่อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งตัณหา
ควรกล่าวว่า เวทนา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งเวทนาว่ามีเหตุที่อิงอาศัย
มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัย
แห่งเวทนา ควรกล่าวว่า ผัสสะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งผัสสะว่า
มีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า
เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งผัสสะ ควรกล่าวว่า สฬายตนะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรา
กล่าวแม้ซึ่งสฬายตนะว่า มีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งสฬายตนะ ควรกล่าวว่า นามรูป
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งนามรูปว่า มีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มี
เหตุที่อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งนามรูป
ควรกล่าวว่า วิญญาณ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งวิญญาณว่า มีเหตุที่
อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุ
ที่อิงอาศัยแห่งวิญญาณ ควรกล่าวว่า สังขารทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าว
แม้ซึ่งสังขารทั้งหลายว่า มีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งสังขารทั้งหลาย ควรกล่าวว่า
อวิชชา ด้วยเหตุดังนี้แล ภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลาย มีอวิชชาเป็นที่อิงอาศัย
วิญญาณมีสังขารเป็นที่อิงอาศัย นามรูปมีวิญญาณเป็นที่อิงอาศัย ผัสสะมี
สฬายตนะเป็นที่อิงอาศัย เวทนามีผัสสะเป็นที่อิงอาศัย ตัณหามีเวทนาเป็นที่
อิงอาศัย อุปาทานมีตัณหาเป็นที่อิงอาศัย ภพมีอุปาทานเป็นที่อิงอาศัย ชาติมีภพ
เป็นที่อิงอาศัย ทุกข์มีชาติเป็นที่อิงอาศัย ศรัทธามีทุกข์เป็นที่อิงอาศัย ความ
ปราโมทย์มีศรัทธาเป็นที่อิงอาศัย ปีติมีปราโมทย์เป็นที่อิงอาศัย ปัสสัทธิมีปีติ
เป็นที่อิงอาศัย สุขมีปัสสัทธิเป็นที่อิงอาศัย สมาธิมีสุขเป็นที่อิงอาศัย ยถาภูตญาณ
ทัสสนะมีสมาธิเป็นที่อิงอาศัย นิพพิทามียถาภูตญาณทัสสนะเป็นที่อิงอาศัย วิราคะ
มีนิพพิทาเป็นที่อิงอาศัย วิมุตติมีวิราคะเป็นที่อิงอาศัย ญาณในธรรมเป็นที่สิ้นไป
มีวิมุตติเป็นที่อิงอาศัย ฯ
[๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อฝนเมล็ดใหญ่ตกอยู่บนยอดภูเขา น้ำนั้น
ไหลไปตามที่ลุ่ม ยังซอกเขา ระแหง และห้วยให้เต็ม ซอกเขาระแหงและห้วย
ทั้งหลายเต็มเปี่ยมแล้ว ย่อมยังหนองทั้งหลายให้เต็ม หนองทั้งหลายเต็มเปี่ยมแล้ว
ย่อมยังบึงทั้งหลายให้เต็ม บึงทั้งหลายเต็มเปี่ยมแล้ว ย่อมยังแม่น้ำน้อยๆ ให้เต็ม
แม่น้ำน้อยๆ เต็มเปี่ยมแล้ว ย่อมยังแม่น้ำใหญ่ๆ ให้เต็ม แม้น้ำใหญ่ๆ เต็ม
เปี่ยมแล้ว ย่อมยังมหาสมุทรให้เต็ม แม้ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขาร
ทั้งหลายมีอวิชชาเป็นที่อิงอาศัย ฯลฯ ญาณในธรรมเป็นที่สิ้นไป มีวิมุตติเป็นที่
อิงอาศัย ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ

จบสูตรที่ ๓

:b1:
อ่านข้อความสีแดงสักพันรอบเข้าใจไหมพระพุทธเจ้าแสดงไว้ชัดเจนว่า
การปรุงแต่งทั้งหลายเกิดจากอวิชชา/ปัญญาเท่านั้นที่จะทำให้หลุดพ้น
:b8:


แก้ไขล่าสุดโดย Rosarin เมื่อ 18 ก.ค. 2016, 12:18, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2016, 12:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Duangrat เขียน:
โห ไม่น่าเชื่อเลย
ใน อุปนิสสสูตร เราก็เข้าใจแบบคุณเช่นนั้น เพราะทั้งอ่านพระสูตร ทั้งอ่านความเห็นท่านอื่นๆมาเยอะแล้ว

มาอ่านคุณโฮฮับนี่พลิกหมดเลย
แต่เข้าใจจุดที่คุณโฮ ชี้ให้ดู คงต้องกลับไปอ่านพิจารณาใหม่แล้ว

ขอบคุณค่ะ

Onion_R
อวดดีเป็นกองเชียร์พญามารแปลงร่างมาเหรอจ๊ะ
:b34:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2016, 21:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
เลอะเทอะครับ! ปัญญาเป็นอย่างเดียว มันไม่ใช่มีหลายสิ่งอย่างที่ลุงบ่นครับ


Quote Tipitaka:
ปัญญาในการทรงจำธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว เป็นสุตมยญาณ [ญาณอันสำเร็จ
มาแต่การฟัง] ๑ ปัญญาในการฟังธรรมแล้ว สังวรไว้ เป็นสีลมยญาณ [ญาณ
อันสำเร็จมาแต่ศีล] ๑ ปัญญาในการสำรวมแล้วตั้งไว้ดี เป็นภาวนามยญาณ
[ญาณอันสำเร็จมาแต่การเจริญสมาธิ] ๑ ปัญญาในการกำหนดปัจจัย เป็นธรรม
ฐิติญาณ [ญาณในเหตุธรรม] ๑ ปัญญาในการย่อธรรมทั้งหลาย ทั้งส่วนอดีต
ส่วนอนาคตและส่วนปัจจุบันแล้วกำหนดไว้ เป็นสัมมสนญาณ [ญาณในการ
พิจารณา] ๑ ปัญญาในการพิจารณาเห็นความแปรปรวนแห่งธรรมส่วนปัจจุบัน
เป็นอุทยัพพยานุปัสนาญาณ [ญาณในการพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อม]
๑ ปัญญาในการพิจารณาอารมณ์แล้วพิจารณาเห็นความแตกไป เป็นวิปัสสนาญาณ
[ญาณในความเห็นแจ้ง] ๑ ปัญญาในการปรากฏโดยความเป็นภัย เป็นอาทีนวญาณ
[ญาณในการเห็นโทษ] ๑ ปัญญาในความปรารถนาจะพ้นไปทั้งพิจารณาและวางเฉย
อยู่ เป็นสังขารุเบกขาญาณ ๑ ปัญญาในการออกและหลีกไปจากสังขารนิมิต
ภายนอก เป็นโคตรภูญาณ ๑ ปัญญาในการออกและหลีกไปจากกิเลส ขันธ์
และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง เป็นมรรคญาณ ๑ ปัญญาในการระงับประโยค
เป็นผลญาณ ๑ ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสนั้นๆ อันอริยมรรคนั้นๆ
ตัดเสียแล้ว เป็นวิมุติญาณ ๑ ปัญญาในการพิจารณาเห็นธรรมที่เข้ามาประชุม
ในขณะนั้น เป็นปัจจเวกขณญาณ ๑ ปัญญาในการกำหนดธรรมภายใน เป็น
วัตถุนานัตตญาณ [ญาณในความต่างแห่งวัตถุ] ๑ ปัญญาในการกำหนดธรรม
ภายนอก เป็นโคจรนานัตตญาณ [ญาณในความต่างแห่งโคจร] ๑ ปัญญาในการ
กำหนดจริยา เป็นจริยานานัตตญาณ [ญาณในความต่างแห่งจริยา] ๑ ปัญญา
ในการกำหนดธรรม ๔ เป็นภูมินานัตตญาณ [ญาณในความต่างแห่งภูมิ] ๑
ปัญญาในการกำหนดธรรม ๙ เป็นธรรมนานัตตญาณ [ญาณในความต่างแห่งธรรม]
๑ ปัญญาที่รู้ยิ่ง เป็นญาตัฏฐญาณ [ญาณในความว่ารู้] ๑ ปัญญาเครื่องกำหนดรู้
เป็นตีรณัฏฐญาณ [ญาณในความว่าพิจารณา] ๑ ปัญญาในการละ เป็น
ปริจจาคัฏฐญาณ [ญาณในความว่าสละ] ๑ ปัญญาเครื่องเจริญ เป็นเอกรสัฏฐญาณ
[ญาณในความว่ามีกิจเป็นอันเดียว] ๑ ปัญญาเครื่องทำให้แจ้ง เป็นผัสสนัฏฐญาณ
[ญาณในความว่าถูกต้อง] ๑ ปัญญาในความต่างแห่งอรรถ เป็นอัตถปฏิสัมภิทา-
*ญาณ ๑ ปัญญาในความต่างแห่งธรรม เป็นธรรมปฏิสัมภิทาญาณ ๑ ปัญญา
ในความต่างแห่งนิรุติ เป็นนิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ๑ ปัญญาในความต่างแห่ง
ปฏิภาณ เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ ๑ ปัญญาในความต่างแห่งวิหารธรรม เป็น
วิหารัฏฐญาณ [ญาณในความว่าธรรมเครื่องอยู่] ๑ ปัญญาในความต่างแห่งสมาบัติ
เป็นสมาปัตตัฏฐญาณ [ญาณในความว่าสมาบัติ] ๑ ปัญญาในความต่างแห่งวิหาร
สมาบัติ เป็นวิหารสมาปัตตัฏฐญาณ [ญาณในความว่าวิหารสมาบัติ] ๑ ปัญญา
ในการตัดอาสวะขาด เพราะความบริสุทธิ์แห่งสมาธิอันเป็นเหตุไม่ให้ฟุ้งซ่าน เป็น
อานันตริกสมาธิญาณ [ญาณในสมาธิอันมีในลำดับ] ๑ ทัสนาธิปไตย ทัสนะมี
ความเป็นอธิบดี วิหาราธิคม คุณเครื่องบรรลุ คือวิหารธรรมอันสงบ และปัญญา
ในความที่จิตเป็นธรรมชาติน้อมไปในผลสมาบัติอันประณีต เป็นอรณวิหารญาณ
[ญาณในวิหารธรรมอันไม่มีกิเลสเป็นข้าศึก] ๑ ปัญญาในความเป็นผู้มีความชำนาญ
ด้วยความเป็นผู้ประกอบด้วยพละ ๒ ด้วยความระงับสังขาร ๓ ด้วยญาณจริยา ๑๖
และด้วยสมาธิจริยา ๙ เป็นนิโรธสมาปัตติญาณ [ญาณในนิโรธสมาบัติ] ๑ ปัญญา
ในความสิ้นไปแห่งความเป็นไปแห่งกิเลสและขันธ์ของบุคคลผู้รู้สึกตัว เป็น
ปรินิพพานญาณ ๑ ปัญญาในความไม่ปรากฏแห่งธรรมทั้งปวง ในการตัดขาด
โดยชอบและในนิโรธ เป็นสมสีสัฏฐญาณ [ญาณในความว่าธรรมอันสงบและธรรม
อันเป็นประธาน] ๑ ปัญญาในความสิ้นไปแห่งกิเลสอันหนา สภาพต่างๆ และเดช
เป็นสัลเลขัฏฐญาณ [ญาณในความว่าธรรมเครื่องขัดเกลา] ๑ ปัญญาในความ
ประคองไว้ซึ่งจิตอันไม่หดหู่และจิตที่ส่งไป เป็นวิริยารัมภญาณ ๑ ปัญญาในการ
ประกาศธรรมต่างๆ เป็นอรรถสันทัสนญาณ [ญาณในการเห็นชัดซึ่งอรรถธรรม] ๑
ปัญญาในการสงเคราะห์ธรรมทั้งปวงเป็นหมวดเดียวกันในการแทงตลอดธรรมต่างกัน
และธรรมเป็นอันเดียวกัน เป็นทัสนวิสุทธิญาณ ๑ ปัญญาในความที่ธรรมปรากฏ
โดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น เป็นขันติญาณ ๑ ปัญญาในความถูกต้องธรรม
เป็นปริโยคาหนญาณ [ญาณในความย่างเข้าไป] ๑ ปัญญาในการรวมธรรม
เป็นปเทสวิหารญาณ [ญาณในวิหารธรรมส่วนหนึ่ง] ๑ ปัญญาในความมีกุศลธรรม
เป็นอธิบดีเป็นสัญญาวิวัฏฏญาณ [ญาณในความหลีกไปด้วยปัญญาที่รู้ดี] ๑ ปัญญา
ในธรรมเป็นเหตุละความเป็นต่างๆ เป็นเจโตวิวัฏฏญาณ [ญาณในการหลีกออก
จากนิวรณ์ด้วยใจ] ๑ ปัญญาในการอธิษฐาน เป็นจิตตวิวัฏฏญาณ [ญาณในความ
หลีกไปแห่งจิต] ๑ ปัญญาในธรรมอันว่างเปล่า เป็นญาณวิวัฏฏญาณ [ญาณใน
ความหลีกไปด้วยญาณ] ๑ ปัญญาในความสลัดออก เป็นวิโมกขวิวัฏฏญาณ
[ญาณในความหลีกไปแห่งจิตด้วยวิโมกข์] ๑ ปัญญาในความว่าธรรมจริง
เป็นสัจจวิวัฏฏญาณ [ญาณในความหลีกไปด้วยสัจจะ] ๑ ปัญญาในความ
สำเร็จด้วยการกำหนดกาย [รูปกายของตน] และจิต [จิตมีญาณเป็นบาท]
เข้าด้วยกัน และด้วยสามารถแห่งความตั้งไว้ซึ่งสุขสัญญา [สัญญาประกอบด้วย
อุเบกขาในจตุตถฌานเป็นสุขละเอียด] และลหุสัญญา [สัญญาเบาเพราะพ้นจาก
นิวรณ์และปฏิปักขธรรม] เป็นอิทธิวิธญาณ [ญาณในการแสดงฤทธิ์ได้ต่างๆ]
๑ ปัญญาในการกำหนดเสียงเป็นนิมิตหลายอย่างหรืออย่างเดียวด้วยสามารถการ
แผ่วิตกไป เป็นโสตธาตุวิสุทธิญาณ [ญาณอันหมดจดแห่งโสตธาตุ] ๑ ปัญญา
ในการกำหนดจริยาคือ วิญญาณหลายอย่างหรืออย่างเดียว ด้วยความแผ่ไปแห่งจิต
๓ ประเภท และด้วยสามารถแห่งความผ่องใสแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย เป็น
เจโตปริยญาณ [ญาณในความกำหนดรู้จิตผู้อื่นด้วยจิตของตน] ๑ ปัญญาในการ
กำหนดธรรมทั้งหลายอันเป็นไปตามปัจจัย ด้วยสามารถความแผ่ไปแห่งกรรม
หลายอย่างหรืออย่างเดียว เป็นบุพเพนิวาสานุสสติญาณ [ญาณเป็นเครื่อง
ระลึกถึงชาติก่อนๆ ได้] ๑ ปัญญาในความเห็นรูปเป็นนิมิตหลายอย่าง
หรืออย่างเดียว ด้วยสามารถแสงสว่าง เป็นทิพจักขุญาณ ๑ ปัญญาในความ
เป็นผู้มีความชำนาญในอินทรีย์ ๓ ประการ โดยอาการ ๖๔ เป็นอาสวักขยญาณ
[ญาณในความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย] ๑ ปัญญาในความกำหนดรู้ เป็น-
*ทุกขญาณ ๑ ปัญญาในความละ เป็นสมุทยญาณ ๑ ปัญญาในความทำให้แจ้ง เป็น
นิโรธญาณ ๑ ปัญญาในความเจริญ เป็นมรรคญาณ ๑ ทุกขญาณ [ญาณ
ในทุกข์] ๑ ทุกขสมุทยญาณ [ญาณในเหตุให้เกิดทุกข์] ๑ ทุกขนิโรธญาณ
[ญาณในความดับทุกข์] ๑ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ [ญาณในข้อปฏิบัติ
เครื่องให้ถึงความดับทุกข์] ๑ อรรถปฏิสัมภิทาญาณ ๑ ธรรมปฏิสัมภิทาญาณ
๑ นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ๑ ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ ๑ อินทริยปโรปริยัติญาณ
[ญาณในความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย] ๑ อาสยานุสยญาณ
[ญาณในฉันทะเป็นที่มานอนและกิเลสอันนอนเนื่องของสัตว์ทั้งหลาย] ๑ ยมก
ปาฏิหิรญาณ [ญาณในยมกปาฏิหาริย์] ๑ มหากรุณาสมาปัตติญาณ ๑
สัพพัญญุตญาณ ๑ อนาวรณญาณ ๑
ญาณเหล่านี้รวมเป็น ๗๓ ญาณ ในญาณทั้ง ๗๓ นี้ ญาณ ๖๗
[ข้างต้น] ทั่วไปแก่พระสาวก ญาณ ๖ [ในที่สุด] ไม่ทั่วไปด้วยพระสาวก
เป็นญาณเฉพาะพระตถาคตเท่านั้น ฉะนี้แล ฯ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2016, 22:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่เหลือคงไม่ต้องอธิบายมากความ เพราะเกินความฉลากของโฮฮับ
โฮฮับ กินยาคงอ่านเพียงฉลากยา โดยไม่ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
เลยกินยาผิดๆถูกๆ จึงมีอาการเบลอๆ สะเปะสะปะจับแพะชนแกะมั่วจนเลอะเทอะไปหมด

โฮฮับ
ภาษา คำ ถ้อยคำ ไวยากรณ์แห่งภาษา โวหาร บัญญัติ ล้วนต้องศึกษาให้ดี อย่าใช้ส่งเดชมั่วๆ เดี๋ยวจะอ่านจะศึกษาไม่สำเร็จสมดั่งเจตนาที่จะศึกษาพระธรรมคำสอนปฏิบัติตามพระธรรมคำสอน

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 68 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 26 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร