วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 11:14  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 27 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2016, 08:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


http://www.lakdharma.com/wp-content/upl ... ersion.jpg


รูปธรรม สิ่งที่มีรูป, สภาวะที่เป็นรูป คู่กับ นามธรรม

นามธรรม สถานะที่น้อมไปหาอารมณ์, ใจและอารมณ์ที่เกิดกับใจ คือ จิต และเจตสิก, สิ่งของที่ไม่มีรูป, คือ รู้ไม่ได้ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย แต่รู้ได้ทางใจ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2016, 08:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พร สิ่งที่อนุญาตหรือให้ตามที่ขอ, สิ่งประสงค์ ที่ขอให้ผู้อื่นอนุญาตหรืออำนวยให้, สิ่งที่ปรารถนา ซึ่งเมื่อได้รับโอกาสแล้ว จะขอจากผู้มีศักดิ์หรือมีฐานะที่จะยอมให้ หรือเอื้ออำนวยให้เป็นข้ออนุญาตพิเศษ เป็นรางวัล หรือเป็นผลแห่งความโปรดปรานหรือเมตตาการุณย์,

ดังพรสำคัญต่อไปนี้ เป็นตัวอย่าง

พร ที่พระเจ้าสุทโธทนะขอจากพระพุทธเจ้า กล่าวคือ เมื่อเจ้าชายราหุลทูลขอทายัชชะ (สมบัติแห่งความเป็นทายาท)
พระพุทธเจ้าได้โปรดให้เจ้าชายราหุลบรรพชา เพื่อจะได้โลกุตรสมบัติ โดยพระสารีบุตรเป็นพระอุปัชฌาย์

ครั้นพระพุทธบิดาทราบ ก็ได้เสด็จมาขอพรจากพระพุทธเจ้า ขอให้พระภิกษุทั้งหลายไม่บวชบุตรที่มารดาบิดายังมิได้อนุญาต จึงได้มีพุทธบัญญัติข้อนี้สืบมา (วินย.4/118/168)


พร ๘ ประการ ที่นางวิสาขาทูลขอ คือ ตลอดชีวิตของตน ปรารถนาจะของถวายผ้าวัสสิกาสาฎิกา ถวายอาคันตุกภัต ถวายคมิกภัต ถวายคิลานภัต ถวายคิลานุปัฏฐากภัต ถวายคิลานเภสัช ถวายธุวยาคู แก่สงฆ์ และถวายอุทกสาฎิกา แก่ภิกษุณีสงฆ์ จึงได้มีพุทธานุญาตผ้า ภัตและเภสัชเหล่านี้สืบมา (วินย. 5/153/210)

พร ๘ ประการ ที่พระอานนท์ทูลขอ (ทำนองเป็นเงื่อนไข) ในการที่จะรับหน้าที่เป็นพระพุทธอุปฐากประจำ

แยกเป็น ก) ด้านปฏิเสธ ๔ ข้อ คือ

๑. ถ้าพระองค์จักไม่ประทานจีวรอันประณีตที่พระองค์ได้แล้ว แก่ข้าพระองค์
๒. ถ้าพระองค์จักไม่ประทานบิณฑบาตอันประณีตที่พระองค์ได้แล้ว แก่ข้าพระองค์
๓. ถ้าพระองค์จักไม่โปรดให้ข้าพระองค์อยู่ในพระคันธกุฎีที่ประทับของพระองค์
๔. ถ้าพระองค์จักไม่ทรงพาข้าพระองค์ไปในที่นิมนต์ และ

ข) ด้านขอรับ ๔ ข้อ คือ

๕. ถ้าพระองค์จักเสด็จไปสู่ที่นิมนต์ที่ข้าพระองค์รับไว้
๖. ถ้าข้าพระองค์จักพาบริษัท ซึ่งมาเพื่อเฝ้าพระองค์แต่ที่ไกลนอกรัฐนอกแคว้น เข้าเฝ้าได้ในขณะที่มาแล้ว
๗. ถ้าข้าพระองค์จักได้เข้าเฝ้าทูลถามในขณะเมื่อความสงสัยของข้าพระองค์เกิดขึ้น
๘. ถ้าพระองค์ทรงแสดงธรรมอันใดในที่ลับหลังข้าพระองค์ จักเสด็จมาตรัสบอกธรรมอันนั้นแก่ข้าพระองค์,

พระพุทธเจ้าตรัสถามว่า เห็นอาทีนพคือผลเสียอะไรใน ๔ ข้อต้น และเห็นอานิสงส์คอผลดีอะไรใน ๔ ข้อหลัง จึงขออย่างนี้ เมื่อพระอานนท์ทูลชี้แจงแล้ว ก็ทรงอนุญาตตามที่ท่านขอ (เช่น ที.อ.2/14)

(ข้อชี้แจงของพระอานนท์ คือ ถ้าข้าพรองค์ไม่ได้พร ๔ ข้อต้น จักมีคนพูดได้ว่า พระอานนท์ได้ลาภอย่างนั้น จึงบำรุงพระศาสดา ผู้อุปัฏฐากอย่างนี้จะเป็นภาระอะไร

ถ้าข้าพระองค์ไม่ได้พรข้อ ข้างปลาย จักมีคนพูดได้ว่า พระอานนท์บำรุงพระศาสดาอย่างไรกัน ความอนุเคราะห์แม้เพียงเท่านี้ พระองค์ก็ยังไม่ทรงกระทำ

สำหรับพรข้อสุดท้าย จักมีผู้ถามข้าพระองค์ในที่ลับหลังพระองค์ว่า ธรรมนี้ๆ พระองค์ทรงแสดงที่ไหน ถ้าข้าพระองค์บอกไม่ได้ ก็จะมีผู้พูดได้ว่า แม้แต่เรื่องเท่านี้ ท่านยังไม่รู้ ท่านจะเที่ยวตามเสด็จพระศาสดาดุจเงาไม่ละพระองค์ตลอดเวลายาวนาน ไปทำไม)



พรตามตัวอย่างข้างต้นนี้ เป็นข้อที่แสดงความประสงค์ของอริยสาวกและอริยสาวิกา จะเห็นว่าไม่มีเรื่องผลได้แก่ตนเองของผู้ขอ


ส่วนพรที่ปุถุชนขอ มีตัวอย่างที่เด่น คือ

พร ๑๐ ประการ (ทศพร) ที่พระผุสดีเทวีทูลขอกะท้าวสักกะ เมื่อจะจุติจากเทวโลกมาอุบัติในมนุษยโลก ได้แก่

๑. อคฺคมเหสิภาโว - ขอให้ได้ประทับในราชนิเวศน์ (เป็นอัครมเหสี) ของพระเจ้าสีวิราช
๒. ลีลเนตฺตตา - ขอให้มีดวงเนตรดำดังตาลูกมฤคี
๓. นีลภมุกตา - ขอให้มีขนคิ้วสีดำนิล
๔. ผุสฺสตีติ นามํ - ขอให้มีนามว่า ผุสดี
๕. ปุตฺตปฏิลาโภ - ขอให้ได้พระราชโอรส ผู้ให้สิ่งประเสริฐ มีพระทัยโอบเอื้อ ปราศความตระหนี่ ผู้อันราชาทั่วทุกรัฐบูชา มีเกียรติยศ
๖. อนุนฺนตกุจฺฉิตา - เมื่อทรงครรภ์ ขออย่าให้อุทรป่องนูน แต่พึงโค้งดังคันธนูที่นายช่างเหลาไว้เรียบเกลี้ยงเกลา
๗. อลมฺพตฺถนตา - ขอยุคลถันอย่างได้หย่อนยาน
๘. อปลิตภาโว - ขอเกศาหงอกอย่าได้มี
๙. สุขุมจฺฉวิตา - ขอให้มีผิวเนื้อละเอียดเนียน ธุลีไม่ติดกาย
๑๐.วชฺฌปฺปโมจนสมตฺถตา - ขอให้ปล่อยนักโทษประหารได้ (ขุ.ชา.28/1048/365)

ในภาษาไทย "พร" มีความหมายเพี้ยนไป กลายเป็นคำแสดงความปรารถนาดี ซึ่งกล่าวหรือให้โดยไม่ต้องมีการขอหรือการแสดงความประสงค์ของผู้รับ และมักไม่คำนึงว่าจะมีการปฏิบัติหรือทำให้สำเร็จเช่นนั้นหรือไม่


"พร" ที่นิยมกล่าวในภาษาไทย เช่นว่า "จตุรพิธพร" (พรสี่ประการ) นั้น

ในภาษาบาลีเดิมไม่เรียกว่า "พร" แต่เรียกว่า "ธรรม" บ้าง ว่า "ฐานะ" บ้าง ดังในพุทธพจน์ว่า "ธรรม ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ย่อมเจริญแก่บุคคลผู้มีปกติอภิวาท อ่อนน้อมต่อวุฒชนเป็นนิตย์" (ขุ.ธ. 25/18/29)


ธรรมหรือฐานะ ที่เรียกอย่างไทยได้ว่า เป็นพรอย่างนี้ ในพระไตรปิฎกมีหลายชุด มีจำนวน ๕ บ้าง ๖ บ้าง ๗ บ้าง ที่ควรทราบ คือ ฐานะ ๕ อันเรียกได้ว่าเป็น "เบญจพิธพร" (พรห้าประการ)

ดังในพุทธพจน์ว่า "ทายกผู้ให้โภชนะ ชื่อว่า ย่อมให้ฐานะ ๕ ประการ แก่ปฏิคาหก กล่าวคือ ให้ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณ ครั้นให้...แล้ว ย่อมเป็นภาคีแห่ง อายุ ...วรรณะ ...สุขะ ...พละ...ปฏิภาณ ที่เป็นทิพย์ หรือเป็นของมนุษย์ ก็ตาม" (องฺ.ปญฺจก.22/37/44)



ธรรม หรือฐานะ ๕ อันเรียกได้ว่า เป็น "เบญจพิธพร" (พรห้าประการ)

อีกชุดหนึ่ง ที่ควรนำมาปฏิบัติ พึงศึกษาในพุทธพจน์ว่า "ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงเที่ยวไปในแดนโคจรของตน อันสืบมาแต่บิดา เธอทั้งหลาย จักเจริญ ทั้งด้วยอายุ... ทั้งด้วยวรรณะ...ทั้งด้วยสุข...ทั้งด้วยโภคะ...ทั้งด้วย พละ"
และ
ทรงไขความไว้ว่า สำหรับภิกษุ อายุอยู่ที่อิทธิบาท ๔ วรรณะอยู่ที่ศีล สุขอยู่ที่ฌาน ๔ โภคะอยู่ที่อัปปมัญญา (พรหมวิหาร) ๔ พละ อยู่ที่วิมุตติ (เจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตติที่หมดสิ้นอาสวะ) (ที.ปา.11/50/85) ส่วนแดนโคจรของตน ที่สืบมาแต่บิดา ก็คือ สติปัฏฐาน ๔ (สํ.ม.19/700/198)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2016, 15:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธบัญญัติ ข้อที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้, วินัยสำหรับพระ


พุทธการกธรรม ธรรมที่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้า ตามปกติหมายถึง บารมี ๑๐ นั่นเอง (ในถาคาบางทีเรียกสั้นๆว่า พุทธธรรม)


พินทุ จุด, วงกลมเล็กๆ ในที่นี้หมายถึงพินทุกัปปะ


พินทุกัปปะ การทำพินทุ, การทำจุดเป็นวงกลม อย่างใหญ่เท่าแววตานกยูงอย่างเล็กเท่าหลังตัวเรือด ที่มุมจีวรด้วยสีเขียวคราม โคลน หรือดำคล้ำ เพื่อทำจีวรให้เสียสีหรือมีตำหนิตามวินัยบัญญัติ และเป็นเครื่องหมายช่วยให้จำได้ด้วย, เขียนพินทุกัป ก็ได้, คำบาลีเดิมเป็นกัปปพินทุ เรียกกันง่ายๆว่า พินทุ


วุฏฐานสมมติ มติอนุญาตให้ออกจากความเป็นสิกขมานาเพื่ออุปสมบทเป็นภิกษุณี, นางสิกขมานาผู้สมาทานสิกขาบท ๖ ข้อ ตั้งแต่ ปาณาติปาตา เวรมณี ถึงวิกาลโภชนา เวรมณี โดยมิได้ขาด ครบเวลา ๒ ปีแล้ว จึงมีสิทธิขอวุฏฐานสมมติ เพื่ออุปสมบทเป็นภิกษุณีต่อไป


เภสัช ยา, ยา รักษาโรค, ยาแก้โรค เป็นอย่างหนึ่งในปัจจัย ๔, เภสัช ๕ ที่เป็นสัตตาหกาลิก รับไว้ฉันได้ตลอด ๗ วัน คือ ๑. สัปปิ - เนยใส ๒. นวนีตะ - เนยข้น ๓. เตละ - น้ำมัน ๔. มธุ - น้ำผึ้ง ๕. ผาณิต - น้ำอ้อย, ส่วนยาแก้โรค ที่ทำจากรากไม้ เปลือกไม้ ใบไม้ เป็นต้น จัดเป็นยาวชีวิก คือรับประเคนไว้แล้วเก็บไว้ฉันได้ตลอดชีวิต


อรัญ, อรัญญ์ ป่า, ตามกำหนดในพระวินัย (วินย.1/85/85) ว่า ที่เว้นบ้าน (คาม) และอุปจารบ้าน นอกนั้น ชื่อว่าป่า (อรัญ) และตามนัยพระอภิธรรม (อภิ.วิ35/616/338) ซึ่งตรงกับพระสูตร (ขุ.ปฏิ.31/388/264) ว่า คำว่า ป่า (อรัญ) คือ ออกนอกหลักเขตไปแล้ว ที่ทั้งหมดนั้นชื่อว่าป่า

ส่วน เสนาสนะป่า (รวมทั้งวัดป่า) มีกำหนดในพระวินัย (วินย. 2/146/166; 796/528) ว่า เสนาสนะที่ชื่อว่า ป่า มีระยะไกล ๕๐๐ ชั่วธนู (= ๕๐๐ วา คือ ๑ กม.) เป็นอย่างน้อย


ไพรสณฑ์, ไพรสัณฑ์ ป่าทึบ, ป่าดง คำบาลีว่า "วนสณฺฑ" (วน (ป่า) + สณฺฑ (ดง ทึบ, แน่นหนา) เมื่อนำมาใช้ในภาษาไทย ได้เพี้ยนไปต่างๆ เช่น ไพรสณฑ์, พนาสณฑ์, พนาสัณฑ์ , วนาสณฑ์ วนาสัณฑ์)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2016, 16:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พละ กำลัง ๑. พละ ๕ คือธรรมอันเป็นกำลัง ซึ่งทำให้เกิดความเข้มแข็งมั่นคง ดำรงอยู่ได้ในสัมปยุตตธรรมทั้งหลาย อย่างไม่หวั่นไหว อันธรรมที่เป็นปฏิปักษ์จะเข้าครอบงำไม่ได้ เป็นเครื่องเกื้อหนุนแก่อริยมรรค จัดอยู่ในจำพวกโพธิปักขิยธรรม มี ๕ คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ๒. พละ ๔ คือธรรมอันเป็นพลังทำให้ดำเนินชีวิตด้วยความมั่นใจ ไม่ต้องหวาดหวั่นกลัวภัยต่างๆ ได้แก่

๑. ปัญญาพละ - กำลังปัญญา

๒. วิริยพละ - กำลังความเพียร

๓. อนวัชชพละ - กำลังคือการกระทำที่ไม่มีโทษ (กำลังความสุจริต และการทำแต่กรรมที่ดีงาม)

๔. สังคหพละ - กำลังการสงเคราะห์ คือ ช่วยเหลือเกื้อกูลอยู่ร่วมกับผู้อื่นด้วยดี ทำตนให้เป็นประโยชน์แก่สังคม


พาหุสัจจะ ความเป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก, ความเป็นผู้ได้เรียนรู้มาก หรือคงแก่เรียน มีองค์ ๕ คือ

๑. พหุสฺสุตา - ได้ยินได้ฟังมาก

๒. ธตา - ทรงจำไว้ได้

๓. วจสา ปริจิตา - คล่องปาก

๔. มนสานุเปกฺขิตา - เจนใจ

๕. ทิฏฐิยา สุปติฏวิทฺธา - ขบได้ด้วยทฤษฎี (ข้อ ๒ ในนาถกรณธรรม ๑๐ ข้อ ๓ ในเวสารัชชกรณธรรม ๕ ข้อ ๔ ในสัทธรรม ๗ ข้อ ๕ ในอริยทรัพย์ ๗)


พหุสูต, พหูสูต ผู้ได้ยินได้ฟังมาก คือ ทรงจำธรรมและรู้ศิลปวิทยามาก, ผู้เล่าเรียนมาก, ผู้ศึกษามาก, ผู้คงแก่เรียน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 19 ก.ค. 2016, 08:11, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2016, 16:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธกิจ กิจที่พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญ, การงานที่พระพุทธเจ้าทรงกระทำ


พุทธกิจประจำวัน ๕ พุทธกิจที่พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญเป็นประจำให้แต่ละวัน มี ๕ อย่าง คือ

๑. ปุพฺพณฺเห ปิณฺฑปาตญฺจ เวลาเช้าเสด็จบิณฑบาต

๒. สายณฺเห ธมฺมเทสนํ เวลาเย็นทรงแสดงธรรม

๓. ปโทเส ภิกฺขุโอวาทํ เวลาค่ำประทานโอวาทแก่เหล่าภิกษุ

๔. อฑฺฒรตฺเต เทวปญฺหนํ เที่ยงคืนทรงตอบปัญหาเทวดา

๕. ปจฺจุสฺเสว คเต กาเล ภพฺพาภพฺเพ วิโลกนํ จวนสว่างทรงตรวจพิจารณาสัตว์ที่สามารถและที่ยังไม่สามารถบรรลุธรรมอันควรจะเสด็จไปโปรดหรือไม่ (สรุปท้ายว่า เอเต ปญฺจวิเธ กิจฺเจ วิโสเธติ มุมิปุงคโว พระพุทธเจ้าองค์พระมุนีผู้ประเสริฐยังกิจ ๕ ประการนี้ให้หมดจด)


พุทธโอวาท คำสอนของระพุทธเจ้ามีหลักใหญ่ ๓ ข้อ คือ

๑.สพฺพปาปสฺส อกรณํ ไม่ทำความชั่วทั้งปวง

กุสลสฺสูปสมฺปทา ทำความดีให้เพียบพร้อม

๓. สจิตฺตปริโยทปนํ ทำใจของตนให้สะอาดบริสุทธิ์


พยัญชนะ ๑ อักษร, ตัวหนังสือที่ไม่ใช่สระ ๒. กับข้าวนอกจากแกง, คู่กับ สูปะ ๓. ลักษณะของร่างกาย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2016, 16:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โพธิปักขิยธรรม ธรรมอันเป็นฝักใฝ่แห่งความตรัสรู้, ธรรมที่เกื้อหนุนแก่อริยมรรค มี ๓๗ ประการ คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ มรรคมีองค์ ๘

ในจำนวน ๓๗ นี้ ถ้านับตัวสภาวธรรมแท้ๆ ตัดจำนวนที่ซ้ำออกไป มี ๑๔ คือ สติ วิริยะ ฉันทะ จิตตะ ปัญญา สัทธา สมาธิ ปีติ ปัสสัทธิ อุเบกขา สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ (วิสุทธิ.ฎี. 3/600)


พลววิปัสสนา วิปัสสนาที่มีกำลัง ที่แข็งกล้า หรืออย่างเข้ม



รูปภาพ



พยากรณ์ ทำให้แจ้งชัด, บอกแจ้ง, ชี้แจง, ตอบปัญหา (คัมภีร์ทั้งหลายมักแสดงความหมายว่าตรงกับคำว่า วิสัชชนา)

ในภาษาไทย นิยมใช้ในความหมายว่า ทาย, ทำนาย

(ความหมายเดิมคือ บอกความหมายของสิ่งนั้นๆ เช่น ลักษณะร่างกายให้แจ่มแจ้งออกมา)


พรต ข้อปฏิบัติทางศาสนา, ธรรมเนียมความประพฤติของผู้ถือศาสนาที่คุ่กันกับศีล, วัตร, ข้อปฏิบัติประจำ


พหุชน, พหูชน ชนจำนวนมาก, ประชาชนทั่วไป


พหลุกรรม กรรมทำมาก หรือกรรมชิน ได้แก่ กรรมทั้งที่เป็นกุศล และอกุศลที่ทำบ่อยๆ จนเคยชิน ย่อมให้ผลก่อนกรรมอื่นเว้นครุกรรม เรียกอีกอย่างว่า อาจริณกรรม (ข้อ ๑๐ ในกรรม ๑๒)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2016, 05:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พลี ทางพราหมณ์ คือ บวงสรวง, ทางพุทธ คือ สละเพื่อช่วยหรือบูชา หมายถึงการจัดสรรสละรายได้หรือทรัพย์บางส่วนเป็นค่าใช้จ่ายประจำสำหรับการทำ หน้าที่เกื้อกูลต่อผู้อื่น และการสงเคราะห์ช่วยเหลือกันในด้านต่างๆ, การทำหน้าที่เกื้อกูลต่อผู้อื่นและการสงเคราะห์ช่วยเหลือกัน ที่พึงปฏิบัติยามปกติเป็นประจำ โดยใช้รายได้หรือทรัพย์ที่จัดสรรสละเตรียมไว้สำหรับด้านนั้นๆ มี ๕ คือ

๑. ญาติพลี - สงเคราะห์ญาติ
๒. อติถิพลี - ต้อนรับแขก
๓. ปุพพเปตพลี - ทำบุญอุทิศให้ผู้ตาย
๔. ราชพลี - เสียภาษีอากร
๕. เทวตาพลี - ทำบุญอุทิศให้เทวดา


พหุลธรรมีกถา ธรรมีกถา หรือธรรมกถา ที่ตรัสมาก, พระพุทธดำรัสบรรยายอธิบายธรรม ที่ตรัสเป็นอันมาก,

ความในมหาปรินิพพานสูตร เล่าเหตุการณ์ เมื่อพระพุทธเจ้า เสด็จผ่านและทรงหยุดประทับในที่หลายแห่ง โดยกล่าวเพียงสั้นๆ อย่างรวบรัก ว่า ณ ที่นั้นๆ (มี ๘ แห่ง เริ่มแต่ ที.ม.10/75/95)

พระพุทธเจ้าตรัสพหุลธรรมีกถา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังตัวอย่างว่า ได้ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฎ เขตพระนครราชคฤห์ แม้นั้น ทรงกระทำธรรมีกถาอันนี้แหละเป็นอันมากแก่ภิกษุทั้งหลายว่า

"ศีลเป็นอย่างนี้ สมาธิเป็นอย่างนี้ ปัญญาเป็นอย่างนี้, สมาธิอันศีลบ่มแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก,
ปัญญา อันสมาธิบ่มแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก,
จิตอันปัญญาบ่มแล้ว ย่อมหลุดพ้นโดยชอบ จากอาสวะทั้งหลาย คือ จากกามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ"

โดยใจความ ก็คือหลัก ไตรสิกขา, จะใช้ว่า พหุลธัมมีกถา หรือ พหุลธรรมกถา ก็ได้


พหุลานุสาสนี คำแนะนำพร่ำสอนที่ตรัสเป็นอันมาก, ตามเรื่องในจูฬสัจจกสูตร (ม.มู. 12/393423) ว่า สัจจกนิครนถ์ได้ตั้งคำถามกะพระอัสสชิ ดังนี้

"ท่านพระอัสสชิ ผู้เจริญ พระสมณโคดม แนะนำให้สาวกศึกษาอย่างไร และคำสั่งสอน (อนุศาสนี) ของพระสมณโคดม ส่วนอย่างไหน เป็นไปมากแก่เหล่าสาวก"

ท่านพระอัสสชิ ตอบว่า "ดูกรอัคคิเวสสนะ พระผู้มีพระภาค ทรงแนะนำให้สาวกทั้งหลาย ศึกษาอย่างนี้ และอนุศาสนีของพระผู้มีพระภาค ส่วนอย่างนี้ เป็นไปมากแก่สาวกทั้งหลาย ดังนี้
ว่า "ภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง รูปไม่ใช่ตน เวทนาไม่ใช่ตน สัญญาไม่ใช่ตน สังขารทั้งหลายไม่ใช่ตน วิญญาณไม่ใช่ตน สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง (อนิจจา) ธรรมทั้งปวงไม่ใช่ตน (อนัตตา)"

โดยใจความ ก็คือหลัก ไตรลักษณ์ พหุลานุศาสนี ก็เขียน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2016, 16:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธะ ท่านผู้ตรัสรู้แล้ว, ผู้รู้อริยสัจจ์ ๔ อย่างถ่องแท้ ตามอรรถกถาท่านแบ่งเป็น ๓ คือ

๑. พระพุทธเจ้า ท่านผู้ตรัสรู้เอง และสอนผู้อื่นให้รู้ตาม (บางทีเรียก พระสัมมาสัมพุทธะ)

๒. พระปัจเจกพุทธะ ท่านผู้ตรัสรู้เองจำเพาะผู้เดียว

๓. พระอนุพุทธะ ท่านผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้า (เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สาวกพุทธะ)

บางแห่งจัดเป็น ๔ คือ

๑. สัพพัญญพุทธะ

๒. ปัจเจกพุทธะ

๓. จตุสัจจพุทธะ (= พระอรหันต์) และ

๔. สุตพุทธ (= ผู้เป็นพหูสูต)


พุทธการกธรรม ธรรมที่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้า ตามปกติหมายถึง บารมี ๑๐ นั่นเอง (ในถาคาบางทีเรียกสั้นๆว่า พุทธธรรม)


พุทธธรรม ๑ ธรรมของพระพุทธเจ้า, พระคุณสมบัติของพระพุทธเจ้า คัมภีร์มหานิทเทสระบุจำนวนไว้ว่า มี ๖ ประการ แต่ไม่ได้จำแนกข้อไว้ อรรถกถาโยงความให้ว่า ได้แก่
๑. กายกรรมทุกอย่างของพระพุทธเจ้าเป็นไปตามพระญาณ (จะทำอะไรก็ทำด้วยปัญญา ด้วยความรู้เข้าใจ)

๒. วิจีกรรมทุกอย่างเป็นไปตามพระญาณ

๓. มโนกรรมทุกอย่างเป็นไปตามพระญาณ

๔. ทรงมีพระญาณไม่ติดขัดในอดีต

๕. ทรงมีพระญาณไม่ติดขัดในอนาคต

๖. ทรงมีพระญาณไม่ติดขัดในปัจจุบัน

คัมภีร์สุมังคลวิลาสินี อรรถกถาแห่งทีฆนิกายจำแนกพุทธธรรมว่ามี ๑๘ อย่าง คือ

๑. พระตถาคตไม่มีกายทุจริต

๒ ไม่มีวจีทุจริต

๓. ไม่มีมโนทุจริต

๔. ทรงมีพระญาณไม่ติดขัดในอดีต

๕. ทรงมีพระญาณไม่ติดขัดในอนาคต

๖. ทรงมีพระญาณไม่ติดขัดในปัจจุบัน

๗. มีกายกรรมทุกอย่างเป็นไปตามพระญาณ

๘. มีวิจีกรรมทุกอย่างเป็นไปตามพระญาณ

๙. มีมโนกรรมทุกอย่างเป็นไปตามพระญาณ

๑๐. ไม่มีความเสื่อมฉันทะ (ฉันทะไม่ลดถอย)

๑๑. ไม่มีความเสื่อมวิริยะ (ความเพียรไม่ลดถอย)

๑๒. ไม่มีความเสื่อมสติ (สติไม่ลดถอย)

๑๓. ไม่มีการเล่น

๑๔. ไม่มีการพูดพลาด

๑๕. ไม่มีการทำพลาด

๑๖. ไม่มีความผลุนผลัน

๑๗. ไม่มีใจที่ไม่ขวนขวาย

๑๘. ไม่มีอกุศลจิต


๒. ธรรมที่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้า ได้แก่ พุทธการกธรรม คือ บารมี ๑๐

๓. ธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ คือ สติปัฏฐาน ๔ อินทรีย์ ๕ มรรคมีองค์ ๘ ขันธ์ ๕ เป็นอาทิ

(พุทธธรรม ๓ นัย)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2016, 16:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธบริษัท หมู่ชนที่นับถือพระพุทธศาสนา มี ๔ จำพวก คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา


พุทธบัญญัติ ข้อที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้, วินัยสำหรับพระ


พุทธบาท รอยเท้าของพระพุทธเจ้า อรรถกถาว่า ทรงประทับรอยแห่งแรกที่บนหาดชายฝั่งแม่น้ำนัมมทา แห่งที่สองที่ภูเขาสัจจพันธคีรี นอกจากนี้ ตำนานสมัยต่อๆมาว่ามีที่ภูเขาสุมนกูฎ (ลังกาทวีป) สุวรรณบรรพต (สระบุรี ประเทศไทย) และเมืองโยนก รวมเป็น ๕ สถาน


พุทธพจน์ พระดำรัสของพระพุทธเจ้า, คำพูดของพระพุทธเจ้า


พุทธภาษิต ภาษิตของพระพุทธเจ้า, คำพูดของพระพุทธเจ้า, ถ้อยคำที่พระพุทธเจ้าพูด


พุทธัตถจริยา ทรงประพฤติเป็นประโยชน์แก่สัตว์โลก โดยฐานะเป้นพระพุทธเจ้า เช่น ทรงแสดงธรรมแก่เวไนยสัตว์ และบัญญัติวินัยขึ้นบริหารหมู่คณะ ทรงประดิษฐานพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืนมาตราบเท่าทุกวันนี้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 19 ก.ค. 2016, 08:12, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2016, 16:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพื่อน ผู้ร่วมธุระร่วมกิจร่วมการหรือร่วมอยู่ในสภาพอย่างเดียวกัน, ผู้ชอบพอรักใคร่คบหากัน, ในทางธรรม เนื้อแท้ของความเป็นเพื่อน อยู่ที่ความมีใจหวังดีปรารถนาดีต่อกัน กล่าวคือ เมตตาหรือไมตรี เพื่อนที่มีคุณสมบัติเช่นนี้ ท่านเรียกว่า มิตร การคบเพื่อนเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งอย่างหนึ่งที่จะนำชีวิตไปสู่ความเสื่อมความ พินาศ หรือสู่ความเจริญงอกงาม พึงหลีกเลี่ยงมิตรเทียม และเลือกคบหาคนที่เป็นมิตรแท้

บุคคลที่ช่วยชี้แนะแนวทาง ชักจูงตลอดจนแนะนำสั่งสอน ให้ประสบผลดีและความสุข ให้เจริญก้าวหน้า ให้พัฒนาในธรรม แม้จะเป็นบุคคลเสมอกัน หรือเป็นมารดาบิดาครูอาจารย์ ตลอดจนพระสงฆ์ จนถึงพระพุทธเจ้า ก็นับว่าเป็นเพื่อน แต่เป็นเพื่อนใจดี หรือเพื่อนมีธรรม เรียกว่า กัลยาณมิตร แปลว่า "มิตรดีงาม" กัลยาณมิตรมีคุณสมบัติที่เรียกว่า กัลยาณมิตรธรรม หรือธรรมของกัลยาณมิตร ๗ ประการ

๑. ปิโย น่ารัก ด้วยมีเมตตา เป็นที่สบายจิตสนิทใจ ชวนให้อยากเข้าไปหา

๒. ครุ น่าเคารพ ด้วยความประพฤติหนักแน่นเป็นที่พึ่งอาศัยได้ ให้รู้สึกอบอุ่นใจ

๓. ภาวนีโย น่าเจริญใจ ด้วยความเป็นผู้ฝึกฝนปรับปรุง ควรเอาอย่าง ให้ระลึกและเอ่ยอ้างด้วยซาบซึ้งภูมิใจ

๔. วัตตา รู้จักพูดให้ได้ผล รู้จักชี้แจงแนะนำ เป็นที่ปรึกษาที่ดี

๕. วจนกฺขโม อดทนต่อถ้อยคำ พร้อมที่จะรับฟังคำปรึกษาซักถาม ตลอดจนคำเสนอแนะวิพากษ์วิจารณ์

๖. คมฺภีรญฺจ กถํ กตฺตา แถลงเรื่องล้ำลึกได้ สามารถอธิบายเรื่องยุ่งยากซับซ้อนให้เข้าใจและสอนให้เรียนรู้เรื่องราวที่ลึกซึ้งขึ้นไป

๗. โน จฏฺฐาเน นิโยชเย ไม่ชักนำในอฐาน คือ ไม่ชักจูงไปในทางเสื่อมเสียหรือเรื่องเหลวไหลไม่สมควร

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2016, 08:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธคุณ คุณของพระพุทธเจ้า มี ๙ คือ

๑. อรหํ - เป็นพระอรหันต์

๒. สัมมาสัมพุทโธ - ตรัสรู้เองโดยชอบ

๓. วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน - ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ

๔. สุคโต - เสด็จไปดีแล้ว

๕. โลกวิทู - เป็นผู้รู้แจ้งโลก

๖. อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ - เป็นสารถีฝึกคนที่ฝึกได้ไม่มีใครยิ่งกว่า

๗. สตฺถา เทวมนุสฺสานํ - เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

๘. พุทฺโธ - เป็นผู้ตื่นและเบิกบานแล้ว

๙. ภควา - เป็นผู้มีโชค

พุทธคุณทั้งหมดนั้น โดยย่อมี ๒ คือ

๑. พระปัญญาคุณ - พระคุณคือพระปัญญา

๒. พระกรุณาคุณ - พระคุณคือพระมหากรุณา


หรือตามที่นิยมกล่าวกันในประเทศไทย ย่อเป็น ๓ คือ

๑. พระปัญญาคุณ - พระคุณคือพระปัญญา

๒. พระวิสุทธิคุณ - พระคุณคือความบริสุทธิ์

๓.พระมหากรุณาคุณ - พระคุณคือพระมหากรุณา

พุทธจักขุ จักษุของพระพุทธเจ้า ได้แก่ ญาณที่หยั่งรู้อัธยาศัย อุปนิสัย และอินทรีย์ที่ยิ่งหย่อนต่างๆ กันของเวไนยสัตว์ (ข้อ ๔ ในจักขุ ๕)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2016, 08:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ไพบูลย์ ความเต็มเปี่ยม, ความเจริญเต็มที่ มี ๒ คือ

๑. อามิสไพบูลย์ ความไพบูลย์แห่งอามิส

ธรรมไพบูลย์ ความไพบูลย์แห่งธรรม


โพธิญาณ ญาณคือความตรัสรู้, ญาณคือปัญญาตรัสรู้, มรรคญาณทั้งสี่มีโสดาปัตติมัคคญาณ เป็นต้น


พัทธสีมา "แดนผูก" ได้แก่ เขตที่สงฆ์กำหนดขึ้นเอง โดยจัดตั้งนิมิตคือสิ่งที่เป็นเครื่องหมายกำหนดเอาไว้


พุทธจักร วงการพระพุทธศาสนา


พุทธจาริก การเสด็จจาริกคือเที่ยวไปประกาศพระศาสนาของพระพุทธเจ้า


พุทธปฏิมา รูปเปรียบของพระพุทธเจ้า, พระพุทธรูป


พราหมณ์ คนวรรณะหนึ่งใน ๔ วรรณะ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร, พราหมณ์ เป็นวรรณะนักบวช และเป็นเจ้าพิธี ถือตนว่าเป็นวรรณะสูงสุด เกิดจากปากพระพรหม


แพศย์ คนวรรณะที่สาม ในวรรณะสี่ของคนในชมพูทวีป ตามหลักศาสนาพราหมณ์ (ฮินดู) หมายถึงพวกชาวนาและพ่อค้า

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 18 ม.ค. 2017, 19:28, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2016, 08:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธรัตนะ, พุทธรัตน์ รัตนะคือพระพุทธเจ้า, พระพุทธเจ้าอันเป็นอย่างหนึ่งในรัตนะ ๓ ที่เรียกว่าพระพุทธรัตนตรัย


พุทธฤทธานุภาพ ฤทธิ์และอานุภาพของพระพุทธเจ้า


พุทธเวไนย ผู้ที่พระพุทธเจ้าควรแนะนำสั่งสอน, ผู้ที่พระพุทธเจ้าพอแนะนำสั่งสอนได้


พุทธศาสนา คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า, อย่างกว้างในบัดนี้ หมายถึง ความเชื่อถือ การประพฤติปฏิบัติและกิจการทั้งหมดของหมู่ชนผู้กล่าวว่าตนนับถือพระพุทธศาสนา


พุทธศาสนิก ผู้นับถือพระพุทธศาสนา, ผู้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า


พุทธสรีระ ร่างกายของพระพุทธเจ้า


พุทธสาวก สาวกของพระพุทธเจ้า


พุทธอาณา อำนาจปกครองของพระพุทธเจ้า, อำนาจปกครองฝ่ายพุทธจักร


พุทธอิทธานุภาพ ฤทธิ์และอานุภาพของพระพุทธเจ้า


พุทธอุปฐาก ผู้คอยรับใช้พระพุทธเจ้าในครั้งพุทธกาล มีพระอานท์พุทธอนุชาเป็นผู้เลิศในเรื่องนี้


พุทธันดร ช่วงเวลาในระหว่างแห่งสองพุทธุปบาทกาล, ช่วงเวลาในระหว่าง นับจากที่ศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งสูญสิ้นแล้ว จนถึงพระพุทธเจ้าพระองค์ใหม่อุบัติ คือ ช่วงเวลาที่โลกว่างพระพุทธศาสนา, คำนี้ บางทีใช้ในการนับเวลา เช่นว่า “บุรุษนั้น...เที่ยวเวียนว่ายอยู่ตลอด ๖ พุทธันดร
...”

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2016, 08:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธอาณัติ คำสั่งของพระพุทธเจ้า


พุทธานุญาต ข้อที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาต


พุทโธ (พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น) ทรงเป็นผู้ตื่น ไม่หลงงมงายเองด้วย และทรงปลุกผู้อื่นให้ตื่นพ้นจากความหลงงมงายนั้นด้วย ทรงเป็นผู้เบิกบาน มีพระทัยผ่องแผ้ว บำเพ็ญพุทธกิจได้ถูกต้องบริบูรณ์ (ข้อ ๘ ในพุทธคุณ ๙)


พาหิยทารุริยะ พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เกิดในครอบครัวคนมีตระกูลในแคว้นพาหิยรัฐ ลงเรือเดินทะเลเพื่อจะไปค้าขาย เรือแตกกลางทะเลรอดชีวิตไปได้ แต่หมดเนื้อหมดตัว ต้องแสดงตนเป็นผู้หมดกิเลสหลอกลวงประชาชนเลี้ยงชีวิต
ต่อมาพบพระพุทธเจ้าทูลขอให้ทรงแสดงธรรม พระองค์ทรงแสดงวิธีปฏิบัติต่ออารมณ์ที่รับรู้ทางอายตนะทั้ง ๖ พอจบพระธรรมเทศนาย่นย่อนั้น พาหิยะก็สำเร็จอรหัต
แต่ไม่ทันได้อุปสมบท กำลังเที่ยวหาบาตรจีวร เผอิญถูกโคแม่ลูกอ่อนขวิดเอาสิ้นชีวิตเสียก่อน
ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะ ในทางตรัสรู้เร็วพลัน


พาหิรทาน, พาหิรกทาน การให้สิ่งของภายนอก, การให้ของนอกกาย เช่น เงิน ทอง วัตถุ อุปกรณ์ ตลอดจนทรัพย์สมบัติทั้งหมด ดูทานบารมี


พาหิรทุกข์ ทุกข์ภายนอก


พาหิรภัณฑ์, พาหิรภัณณฑ์ สิ่งของภายนอก, ของนอกกาย,


พาหิรลัทธิ ลัทธิภายนอกพระพุทธศาสนา


พิมพา บางแห่งเรียก ยโสธรา เป็นพระราชบุตรตรีของพระเจ้าสุปปพุทธะ กรุงเทวทหะ เป็นพระชายาของพระสิทธัตถะเป็นพระมารดาของพระราหุล ภายหลังออกบวช มีนามว่า พระภัททกัจจนา หรือ ภัททากัจจานา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2016, 08:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พรหมจรรย์ “จริยะอันประเสริฐ” “การครองชีวิตประเสริฐ” ตามที่เข้าใจกันทั่วไป หมายถึง ความพฤติเว้นเมถุน หรือการครองชีวิตดังเช่นการบวชที่ละเว้นเมถุน แต่แท้จริงนั้น พรหมจรรย์ คือ พรหมจริยะ เป็นหลักการใหญ่ที่ใช้ในแง่ความหมายมากหลาย

ดังที่อรรถกถาแห่งหนึ่งประมวลไว้ ๑๐ นัย คือ หมายถึง ทาน ไวยาวัจจ์ (คือการขวนขวายช่วยเหลือรับใช้ทำประโยชน์) เบญจศีล อัปปมัญญาสี่ (คือพรหมวิหารสี่) เมถุนวิรัติ (คือการเว้นเมถุน) สทารสันโดษ (คือความพอใจเฉพาะภรรยาหรือคู่ครองของตน) ความเพียร การรักษาอุโบสถ อริยมรรค พระศาสนา (อันรวมไตรสิกขาทั้งหมด) เฉพาะอย่างยิ่ง ความหมายสำคัญที่พระพุทธเจ้าตรัสเป็นหลัก คือ ๒ นัยสุดท้าย (อริยมรรค และพระศาสนา)

ในศาสนาพราหมณ์ พรหมจรรย์ หมายถึงการครองชีวิตเว้นเมถุนและประพฤติปฏิบัติตนเคร่งครัดต่างๆ ที่จะควบคุมตนให้มุ่งมั่นในการศึกษาได้เต็มที่ โดยเฉพาะในการเรียนพระเวท โดยนัยหมายถึงการศึกษาพระเวท และหมายถึงช่วงเวลาหรือขั้นตอนของชีวิตที่พึงอุทิศเพื่อการศึกษาอย่างนั้น (บาลี พฺรหฺมจริย)

พรหม ผู้ประเสริฐ, เทพในพรหมโลกเป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยกาม มี ๒ พวก คือ รูปพรหมมี ๑๖ ชั้น อรูปพรหมมี ๔ ชั้น เทพสูงสุดหรือพระผู้เป็นเจ้าในศาสนาพราหมณ์

พรหมจารี ผู้ประพฤติพรหมจรรย์, นักเรียนพระเวท, ผู้ประพฤติชอบมีเว้นจากเมถุน เป็นต้น



พาราณสี ชื่อเมืองหลวงของแคว้นกาสี อยู่ริมแม่น้ำคงคา ปัจจุบันเรียก Banaras หรือ Benares (ล่าสุด รื้อฟื้นชื่อในภาษาสันสกฤตขึ้นมาใช้ว่า Varanasi) ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ที่พระพุทธเจ้าทรงแสงปฐมเทศนา ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า สารนาท อยู่ห่างจากตัวเมืองพาราณสีปัจจุบันประมาณ ๖ ไมล์


https://www.youtube.com/watch?v=R8L06ZmJMzs

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 18 ม.ค. 2017, 09:17, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 27 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 58 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร