วันเวลาปัจจุบัน 18 เม.ย. 2024, 22:51  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2016, 20:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับตอบคำถามความหมาย สมมติ กับ ปรมัตถ์ ฯลฯ เห็นแล้วขำอุจจาระแตกอุจจาระแตน :b9: :b32:


อ้างคำพูด:
โฮฮับ
ต้องเริ่มด้วยความเข้าใจว่า......ในโลกนี้มีธรรมชาติอยู่สองอย่าง คือ..สมมติสัจจะและปรมัตถ์สัจจะ
โดยสมมติสัจจะเป็นธรรมชาติที่อยู่นอกกายใจเรา
ส่วนปรมัตถสัจจะเป็นธรรมชาติในกายใจเรา
ธรรมทั้งสองนี้มันจะเกิดพร้อมกัน โดยสมมติต้องเป็นเหตุจึงจะมีปรมัตถ์ได้

พระพุทธองค์ใช้บัญญัติมาอธิบายกระบวนการเกิดธรรมทั้งสอง เรียกว่า สมมติบัญญัติและปรมัตถบัญญัติ
เราเป็นผู้ศึกษาจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องแยกแยะว่าอะไรเป็นสมมติและอะไรเป็นปรมัตถ์
และถ้าเราใช้พระสูตรเป็นหลักเรายังต้องรู้อีกด้วยว่าอะไรเป็นโวหาร

Duangrat เขียน:

...ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในจักษุ...ฯ นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต...ฯ
คือความกำหนัดที่เกิดขึ้น เป็นไปตามอำนาจของตัณหา ใช่ไหมคะ?


"กำหนัด" และ"ความพอใจ" เป็นโวหารที่กำลังสื่อให้เห็นสมมติและปรมัตถ์
"กำหนัด"ก็คือ..... ฉันทะ เป็นธรรมชาติในกายใจ (ปรมัตถ์)
"ความพอใจ"...... ตัณหา เป็นธรรมชาติภานนอกกายใจ(สมมติ)

ตัณหาและฉันทะ.......ทั้งสองเกิดพร้อมกันโดยมีตัณหาเป็นเหตุแห่งฉันทะ
เวลาเมื่อตัณหามากระทบกายใจ จะเกิดเป็นฉันทะ
เมื่อเกิดเป็นฉันทะแล้วกายใจจะเกิดการปรุงแต่งต่อที่มโนทวาร(คิดฟุ้งซ่าน)......
คิดอยากได้อยากเห็นสิ่งนั้นอีกหรืออยากให้สิ่งที่เห็นเป็นของเรา โวหารเรียกความโลภ (ไม่ใช่โลภะ)

ความโลภ เป็นโวหาร มันไม่ใช่โลภะนะครับ
ความโลภเป็นอุปกิเลสในกายใจครับ มันแสดงอาการอันเนื่องจากเหตุแห่งตัณหาและฉันทะ

"กามฉันทะสังโยชน์ คือต้นเหตุแห่งปฏิฆะสังโยชน์ ปฏิฆะสังโยชน์ คือความคิด(ความโลภ)
ต้องลำดับกระบวนการให้ดีนะครับ

Duangrat เขียน:
คุณโฮ ช่วยอธิบายความต่างของ อุปกิเลสแห่งจิต กะ กิเลสสังโยชน์ ให้หน่อยค่ะ


กิเลสสังโยชน์ มันเป็นสมมติบัญญัติ ท่านใช้เรียกแทนกฎเกณท์ธรรมชาติที่อยู่นอกกายใจ
อุปกิเลส เป็นปรมัตถบัญญัติ ท่านใช้เรียกสภาวธรรมที่เกิดในกายใจเรา


ตามที่เกริ่นนำไว้ตอนต้น สมมติและปรมัตถืมันเกิดพร้อมกัน แต่มีสมติเป็นเหตุ
พูดให้เข้าใจก็คือ สังโยชน์เป็นเหตุให้เกิดอุปกิเลส

โดยรวมแล้วมันเป็นกิเลสทั้งคู่ ....แต่ต่างกันตรงที่ สังโยชน์เป็นต้นเหตุแห่งกิเลส
อุปกิเลสเป็นผลของกิเลส อย่างหนึ่งเป็นสมมติและอีกอย่างเป็นปรมัตถ์


viewtopic.php?f=1&t=52686&p=395593#p395593

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2016, 20:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
โฮฮับเขียน
กิเลสสังโยชน์ มันเป็นสมมติบัญญัติ ท่านใช้เรียกแทนกฎเกณท์ธรรมชาติที่อยู่นอกกายใจ

อุปกิเลส เป็นปรมัตถบัญญัติ ท่านใช้เรียกสภาวธรรมที่เกิดในกายใจเรา


ตอบไปตอบมา วนไป วนมา กิเลสสังโยชน์เป็นสมมติบัญญัติไปสะแล้ว แล้วยังบอกสาวิกาว่า อยู่นอกกายใจ (กายใจตามความหมายของศาสดาโฮฮับ) เข้าไปอีก เอาเข้าไป สำเริงสำราญกันให้เต็มที่ :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2016, 20:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความถูกต้องและผิดพลาดของความรู้

สัจจะ 2 ระดับ

ผู้สดับคำสอนในพระพุทธศาสนาบางคน เกิดความสับสน เมื่อได้อ่านได้ฟังข้อความบางอย่าง เช่น บางแห่งว่า ไม่ควรคบคนพาล ควรคบบัณฑิต คนพาลมีลักษณะอย่างนี้ๆ บัณฑิตมีลักษณะอย่างนี้ๆ ควรยินดีแต่ของของตน ไม่ควรอยากได้ของของผู้อื่น ตนเป็นที่พึงแห่งตน คนควรช่วยเหลือกัน ดังนี้ เป็นต้น

แต่บางแห่งว่า พึงพิจารณาเห็นตามควาามเป็นจริงว่า กายก็แค่กาย ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา พึงรู้เท่าทันตามเป็นจริงว่า ไม่ใช่ตัวตนของเรา สิ่งทั้งหลาย เป็นอนัตตา ดังนี้ เป็นต้น

แล้วมองไปว่า คำสอนในทางพระพุทธศาสนา ขัดแย้งกันเอง หรือไม่ก็งง แล้วไม่เข้าใจ หรือบางคนเข้าใจบ้างแต่ไม่ชัดเจนพอ ทำให้เกิดการปฏิบัติสับสน ผิดพลาด ดำเนินชีวิตไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง

ในเวลาที่ควรพูดควรปฏิบัติตามความรู้ในชีวิตประจำวันของชาวบ้าน กลับพูดหรือปฏิบัติด้วยความยึดถือในความรู้ตามสภาวะ เป็นต้น ทำให้เกิดความวุ่นวายและเสียหาย ทั้งแก่ตนและผู้อื่น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2016, 21:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คัมภีร์อภิธรรม หวังจะช่วยป้องกันความสับสนผิดพลาดเช่นนี้ จึงสอนให้รู้จักแยกสัจจะหรือความจริง เป็น ๒ ระดับ* กล่าวคือ

๑. สมมติสัจจะ ความจริงโดยสมมติ (เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า โวหารสัจจะ ความจริงโดยโวหาร หรือโดยสำนวนพูด) คือ จริงตามมติร่วมกัน ตามที่ได้ตกลงกันไว้ หรือหมายรู้ร่วมกัน เป็นเครื่องมือสื่อสาร พอให้สำเร็จประโยชน์ในชีวิตประจำวัน เช่น คน สัตว์ คนดี คนชั่ว โต๊ะ เก้าอี้ หนังสือ เป็นต้น (conventional truth) ตัวอย่างที่พอเทียบให้เห็นเค้า เช่น ภาษาสามัญพูดว่า น้ำ ว่า เกลือ เป็นต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2016, 21:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๒. ปรมัตถสัจจะ ความจริงโดยปรมัตถ์ คือ จริงตามความหมายสูงสุด ตามความหมายแท้อย่างยิ่ง หรือ ตามความหมายแท้ขั้นสุดท้ายที่่่ตรงตามสภาวะและเท่าที่พอจะกล่าวถึงได้ หรือพอจะยังพูดให้เข้าใจกันได้ เพื่อสำหรับให้เกิดความรู้ความเข้าใจเท่าทันความเป็นจริงของสิ่งทั้งหลาย คือ รู้จักสิ่งเหล่านั้นตามที่มันเป็น และเพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด คือ การหยั่งรู้สัจธรรม ที่จะทำให้ความยึดติดถือมั่นหลงผิดทั้งหลายสลายหมดไป ทำให้วางใจวางท่าทีต่อสิ่งทั้งหลายอย่างถูกต้อง หลุดพ้นจากกิเลสและความทุกข์ มีจิตใจเป็นอิสระ ปลอดโปร่ง ผ่องใส เบิกบาน มีความสุขที่แท้จริง

สิ่งที่เป็นจริงโดยปรมัตถ์ เช่น นามธรรม รูปธรรม เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ หรือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน ผัสสะ เจตนา เอกัคคตา ชีวิตินทรีย์ ฯลฯ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2016, 21:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อย่างไรก็ดี ความคิดเกี่ยวกับสมมติสัจจะ และปรมัตถสัจจะ ทีท่านระบุออกมาเป็นคำบัญญัติใน พระอภิธรรมนั้น ก็ยกเอาความในพระสูตรนั่นเองเป็นที่อ้าง แสดงว่า ความคิดความเข้าใจเรื่องนี้ เป็นของมีแต่เดิม แต่ในครั้งเดิมนั้น คงเป็นที่เข้าใจกันดี จนไม่ต้องระบุคำบัญญัติ ๒ คำนี้ ข้อความในพระสูตรที่ท่านยกมาอ้างนั้น เป็นคำของพระภิกษุณีชื่อวชิรา มีเนื้อความดังนี้


"นี่แน่ะมาร ท่านจะมีความเห็นยึดถือว่าเป็นสัตว์ได้อย่างไร ในสภาวะที่เป็นเพียงกองแห่งสังขารล้วนๆ นี้ จะหาตัวสัตว์ไม่ได้เลย เปรียบเหมือนว่า เพราะคุมส่วนประกอบเข้าด้วยกัน ศัพท์วา รถ ย่อมมี ฉันใด เมื่อขันธ์ทั้งหลาย มีอยู่ สมมติว่า สัตว์ ก็ย่อมมี ฉันนั้น"

ความคล้ายกันนี้ ที่เน้น ในแง่ ปฏิบัติ คือ ความรู้เท่าทันสมมติ และเข้าใจปรมัตถ์ แล้วรู้จักใช้ภาษา เป็นเครื่องมือสื่อความหมาย โดยไม่ยึดติดในสมมติเป็นทาสของภาษา สามารถยกบาลีที่เป็นพุทธพจน์มาอ้างได้อีกหลายแห่ง เช่น

"ภิกษุผู้เป็นอรหันตขีณาสพ....จะพึงกล่าวว่า ฉันพูด ดังนี้ก็ดี เขาพูดกับฉัน ดังนี้ก็ดี เธอเป็นผู้ฉลาด รู้ถ้อยคำที่เขาพูดกันในโลก ก็พึงกล่าวไปตามโวหารเท่านั้น" (สํ.ส.15/65/21)


"เหล่านี้ เป็นโลกสมัญญา เป็นโลกนิรุตติ เป็นโลกโวหาร เป็นโลกบัญญัติ ซึ่งตถาคตใช้พูดจา แต่ไม่ยึดติด" (ที.สี.9/312/248)



อนึ่ง พระอรรถกถาจารย์บรรยายลักษณะของพระสูตร (สุตตันตปิฏก) ว่าเป็นโวหารเทศนา เพราะเนื้อหาส่วนมากแสดงโดยโวหาร คือ ใช้ภาษาสมมติ ส่วนพระอภิธรรมเป็นปรมัตถเทศนา เพราะเนื้อหาส่วนมากแสดงโดยปรมัตถ์ คือ กล่าวตามสภาวะแท้ๆ (วินย.อ.1/21...) นี้เป็นข้อสังเกตเพื่อประดับความรู้อย่างหนึ่ง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2016, 21:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


* ที่อ้างอิงข้างบน

* ความคิดเกี่ยวกับสัจจะ ๒ นี้ เริ่มแสดงออกเป็นคำบัญญัติในคัมภีร์กถาวัตถุ แต่ยังไม่ระบุแบ่งเป็นถ้อยคำชัดเจน คือ กล่าวถึง สมมติสัจจะ ใน อภิ.ก.37/1062/338 และกล่าวถึง สัจฉิกัตถปรมัตถ์ และปรมัตถ์ ใน อภิ.ก.37/1-190/1-38 การระบุชัดปรากฏใน ปญฺจ.อ. 153/,241 นอกจากนี้มีกล่าวถึงและใช้อธิบายธรรมในที่อื่นหลายแห่ง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2016, 21:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อุปกิเลส โทษเครื่องเศร้าหมอง, สิ่งที่ทำจิตต์ใจให้เศร้าหมองขุ่นมัว รับคุณธรรมได้ยาก มี ๑๖ อย่าง คือ

๑. อภิชฌาวิสมโลภะ ละโมบ จ้องจะเอาไม่เลือก ควรไม่ควร

๒. โทสะ คิดประทุษร้าย

๓. โกธะ โกรธ

๔.อุปนาหะ ผูกโกรธไว้

๕. มักขะ ลบหลู่คุณท่าน

๖. ปลาสะ ตีเสมอ

๗. อิสสา ริษยา

๘. มัจฉริยะ ตระหนี่

๙. มายา เจ้าเล่ห์

๑๐. สาเถยยะ โอ้อวด

๑๑. ถัมภะ หัวดื้อ

๑๒. สารัมภะ แข่งดี

๑๓. มานะ ถือตัว

๑๔. อติมานะ ดูหมิ่นท่าน

๑๕. มทะ มัวเมา

๑๖. ปมาทะ เลินเล่อ หรือละเลย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2016, 21:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สังโยชน์ (สัญโญชน์) กิเลสที่ผู้มัดใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์

มี ๑๐ อย่าง คือ

ก. โอรัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ได้แก่

๑. สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวของตน

๒. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย

๓. สีลัพพตปรามาส ความถือมั่นศีลพรต

๔. กามราคะ ความติดใจในกามคุณ

ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งในใจ

ข. อุทธัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องสูง ๕ ได้แก่

๖. รูปราคะ ความติดใจในรูปธรรมอันประณีต

๗. อรูปราคะ ความติดใจในอรูปธรรม

๘. มานะ ความถือว่าตัวเป็นนั่นเป็นนี่

๙. อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน

๑๐ อวิชชา ความไม่รู้จริง


พระโสดาบัน ละสังโยชน์ ๓ ข้อต้นได้ ,

พระสกิทาคามี ทำสังโยชน์ ๔ และ ๕ ให้เบาบางลงด้วย,

พระอนาคามี ละสังโยชน์ ๕ ข้อต้นได้หมด,

พระอรหันต์ ละสังโยชน์ทั้ง ๑๐ ข้อ


ในพระอภิธรรม ท่านแสดงสังโยชน์อีกหมวดหนึ่ง คือ

๑. กามราคะ

๒. ปฏิฆะ

๓. มานะ

ทิฏฐิ (ความเห็นผิด)

๕. วิจิกิจฉา

สีลัพพตปรามาส

๗. ภวราคะ (ความติดใจในภพ)

๘. อิสสา (ความริษยา)

๙. มัจฉริยะ (ความตระหนี่)

๑๐. อวิชชา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2016, 21:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กิเลส สิ่งที่ทำใจให้เศร้าหมอง ความชั่วที่แฝงอยู่ในความรู้สึกนึกคิด ทำให้จิตใจขุ่นมัวไม่บริสุทธิ์ ่
และ
เป็นเครื่องปรุงแต่งความคิดให้ทำกรรม ซึ่งนำไปสู่ปัญหา ความยุ่งยากเดือดร้อนและความทุกข์,



กิเลส ๑๐ (ในบาลีเดิม เรียกว่า กิเลสวัตถุ คือ สิ่งก่อความเศร้าหมอง ๑๐) ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะ,

กิเลสพันห้า (กิเลส ๑,๕๐๐) เป็นคำที่มีใช้ในคัมภีร์รุ่นหลังจากพระไตรปิฎก เริ่มปรากฏในชั้นอรรถกถา ซึ่งกล่าวไว้ทำนองเป็นตัวอย่าง โดยระบุชื่อไว้มากที่สุดเพียง ๓๓๖ อย่าง ต่อมาในคัมภีร์ชั้นหลังมาก อย่างธัมมสังคณีอนุฎีกา จึงแสดงวิธีนับแบบต่างๆ ให้ได้ครบจำนวน เช่น กิเลส ๑๐ คูณ อารมณ์ ๑๕๐ = ๑,๕๐๐ (อารมณ์ ๑๕๐ ได้แก่ อรูปธรรม ๕๗ และรูปรูป ๑๘ รวมเป็น ธรรม ๗๕ เป็นฝ่ายภายใน และฝ่ายภายนอก ฝ่าย ละเท่ากัน รวมเป็น ๑๕๐)

อนึ่ง ในอรรถกถา ท่านนิยมจำแนก กิเลส เป็น ๓ ระดับ ตามลำดับขั้นของการละด้วยสิกขา ๓ (เช่น วินย.อ.1/22 ฯลฯ) คือ

๑. วีติกกมกิเลส กิเลสอย่างหยาบ ที่เป็นเหตุให้ล่วงละเมิดออกมาทางกาย และวาจา เช่น เป็นกายทุจริต และวจีทุจริต ละด้วย ศีล (อธิศีลสิกขา)

๒. ปริยุฏฐานกิเลส กิเลสอย่างกลางที่พลุ่งขึ้นมาเร้ารุมอยู่ในจิตใจ ดังเช่น นิวรณ์ ๕ ในกรณีที่จะข่มระงับไว้ ละด้วยสมาธิ (อธิจิตตสิกขา)

๓. อนุสัยกิเลส กิเลสอย่างละเอียดที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน อันยังไม่ถูกกระตุ้นให้พลุ่งขึ้นมา ได้แก่ อนุสัย ๗ ละด้วยปัญญา (อธิปัญญาสิกขา)

ทั้งนี้ บางแห่งท่านแสดงไว้โดยอธิบายโยงกับพระไตรปิฎก คือ กล่าวว่า อธิศีลสิกขา ตรัสไว้เป็นพิเศษในพระวินัยปิฎกๆ จึงว่าด้วยการละวีติกกมกิเลส,
อธิจิตตสิกขา ตรัสไว้เป็นพิเศษในพระสุตตันตปิฎกๆ จึงว่าด้วยการละปริยุฏฐานกิเลส,
อธิปัญญาสิกขา ตรัสไว้เป็นพิเศษในพระอภิธรรมปิฎกๆ จึงว่าด้วยการละอนุสัยกิเลส

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 39 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร