วันเวลาปัจจุบัน 18 เม.ย. 2024, 12:49  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 28 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2016, 09:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
โฮฮับ เขียน:
สุชาวดี เขียน:
:b8: :b8: :b8: ธรรมของพระพุทธองค์งดงาม(สุชาวดีเป็นคนหัวช้าอ่านและจำได้น้อยๆยังซึมซาบขนาดนี้) ตามความเห็นแล้ว ชีวิตนี้น่ากลัวมากๆค่ะ ไม่รู้เคยทำอะไรไว้บ้าง แม้แต่ การที่จะเจอการ เจ็บ ป่วย ตาย ทำได้คือหาทางพึ่งพาให้ทุกข์ทรมารน้อยลง


ไม่ใช่ธรรมของพระพุทธองค์ครับ มันเป็นเนื้อหาในตำราเรียนของเด็ก ที่พ่อแม่จับบวช
เพราะไม่มีทุนให้เรียนแบบเด็กชาวบ้านทั่วไปครับ

ตำราที่ว่าแต่งโดยท่านปยุต พระนักวิชาการที่แต่งตำราให้กับวิทยาลัยสงฆ์
มันไม่เกี่ยวกับการปฏิบัติธรรมหรอกครับ

ใครเรียนดีก็ได้ชื่อเสียงหน้าตา พวกเปรียญทั้งหลายส่วนใหญ่ก็จะได้ตำแหน่งพัดยศ
เป็นหน้าเป็นตาให้วงศ์ตระกูล......เรื่องทางโลกียะทั้งนั้นครับ :b13:



แม้แต่สัมมาทิฏฐิ ยังมีสองอย่าง คือโลกียสัมมาทิฏฐิ โลกุตรสัมมาทิฏฐิ ชาวพุทธแยกออกเข้าใจชัดไหม นี่ปัญหาความเข้าใจคำสอนของพระพุทธเจ้าในสังคมพุทธปัจจุบัน :b1:

Kiss
อ้างคำพูด:
แม้แต่สัมมาทิฏฐิ ยังมีสองอย่าง คือโลกียสัมมาทิฏฐิ โลกุตรสัมมาทิฏฐิ

:b32:
พระพุทธเจ้าตรัสคำจริงเพียงคำเดียวความหมายเดียว
สัมมาทิฏฐิก็คือสัมมาทิฏฐิเป็นโสภณเจตสิกฝ่ายกุศล
เกิดดับพร้อมจิตขณะไหนขณะนั้นจึงเป็นกุศลจิตจร้า
ถ้ารู้จักความจริงที่มีแต่ทางโลกีย์เรียกโลกียธรรม
ส่วนโลกุตรธรรมเป็นความจริงที่ผู้รู้เป็นกุศลจิต
ผู้ที่จดจำท่องได้แล้วคิดว่ารู้ทั้ง2อย่างไม่ใช่
เพราะโลกียธรรมและโลกุตตรธรรมต่างกัน
ฟ้ากับเหวเพราะมีตัวตนกับไม่มีตัวตนน๊า
อัตตากับอนัตตาตรงข้ามกันแน่นอน
มีได้สัมมาทิฏฐิหนึ่งเดียวไม่มีสอง
ต้องรู้โลกุตรธรรมแล้วเท่านั้น
จึงรู้จักโลกียธรรมแท้จริง
ผู้รู้แจ้งโลกทั้ง2จริงๆ
คือพระพุทธเจ้า
:b8:
onion onion onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2016, 18:22 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 15 ก.พ. 2015, 21:06
โพสต์: 84

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
สุชาวดี เขียน:
:b8: :b8: :b8: ธรรมของพระพุทธองค์งดงาม(สุชาวดีเป็นคนหัวช้าอ่านและจำได้น้อยๆยังซึมซาบขนาดนี้) ตามความเห็นแล้ว ชีวิตนี้น่ากลัวมากๆค่ะ ไม่รู้เคยทำอะไรไว้บ้าง แม้แต่ การที่จะเจอการ เจ็บ ป่วย ตาย ทำได้คือหาทางพึ่งพาให้ทุกข์ทรมารน้อยลง



ตามที่คุณสุชาวดีคิด มีตัวอย่างเทียบ

อ้างคำพูด:
เวลาผมนั่งสมาธิ พอภาวนาไปซักพัก ทีนี้ก็จะเกิดอาการขนลุกเย็นทั้งตัว แล้วหลังจากนั้นก็จะมีภาพ คน สัตว์ แมลง ที่เราเคยทำร้ายเคยทำให้เค้าตาย หรือเจ็บลอยมาให้เห็น คือ แปลกใจว่า บางเรื่องเป็นเรื่องที่นานมาก บางเรื่องเป็นเรื่องสมัยเด็กๆอยู่ด้วยซ้ำ ซึ่งบางทีนึกถึงยังนึกไม่ออกเลย เพราะนานมาก แต่พอมานั่งสมาธิ ก็ลอยมาให้เห็นเฉยเลย


ส่ิ่งที่คนเราได้กระทำในแต่ละวันๆ ทั้งชีวิต ทางกาย (กายกรรม) บ้าง ทางวาจา (วจีกรรม) บ้าง ทางใจ (มโนกรรม) บ้าง มีทั้งกุศลเจตนา อกุศลเจตนา (กิเลส กรรม วิบาก = วัฏฏะ 3) สำเร็จแล้ว ผลแห่งการกระทำมันก็หมกๆตกตะกอนอยู่ในใจ (อนุสัย)
เมื่อมีเหตุปัจจัยให้มันโผล่มันก็โผล่ขึ้นทำให้เดือนร้อนใจ ถ้าเป็นผลแห่งการกระทำสิ่งดีๆ มันก็โผล่ขึ้นมาให้ชื่นใจ

นี่คือชีวิตที่คนเรายืมธรรมชาติมาใช้ ใช้ในนามส่วนตัว ต่างคนต่างใช้ บางคนใช้ดีทะนุถนอม ใช้อย่างรู้คุณค่าของชีวิต ใช้ไปทางสุจริต บางคนใช้อย่างไม่รู้คุณค่า ใช้ไปทำทุจริต ใช้จนลืมตาย ใช้จนตัว ตาย มองกว้างมองออกไปในสังคมมนุษย์จะเห็นชัด



:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2016, 18:30 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 15 ก.พ. 2015, 21:06
โพสต์: 84

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
โฮฮับ เขียน:
สุชาวดี เขียน:
:b8: :b8: :b8: ธรรมของพระพุทธองค์งดงาม(สุชาวดีเป็นคนหัวช้าอ่านและจำได้น้อยๆยังซึมซาบขนาดนี้) ตามความเห็นแล้ว ชีวิตนี้น่ากลัวมากๆค่ะ ไม่รู้เคยทำอะไรไว้บ้าง แม้แต่ การที่จะเจอการ เจ็บ ป่วย ตาย ทำได้คือหาทางพึ่งพาให้ทุกข์ทรมารน้อยลง


ไม่ใช่ธรรมของพระพุทธองค์ครับ มันเป็นเนื้อหาในตำราเรียนของเด็ก ที่พ่อแม่จับบวช
เพราะไม่มีทุนให้เรียนแบบเด็กชาวบ้านทั่วไปครับ

ตำราที่ว่าแต่งโดยท่านปยุต พระนักวิชาการที่แต่งตำราให้กับวิทยาลัยสงฆ์
มันไม่เกี่ยวกับการปฏิบัติธรรมหรอกครับ

ใครเรียนดีก็ได้ชื่อเสียงหน้าตา พวกเปรียญทั้งหลายส่วนใหญ่ก็จะได้ตำแหน่งพัดยศ
เป็นหน้าเป็นตาให้วงศ์ตระกูล......เรื่องทางโลกียะทั้งนั้นครับ :b13:



ศาสนาแมวเกิดแล้วที่นี่ :b1:

viewtopic.php?f=1&t=52497


ศาสนาโฮฮับก็เกิดแล้วที่นี่ :b32:

viewtopic.php?f=1&t=52642&start=30


ศาสนาแมวก็ของแมวชัด เช่นการผสมพันธ์แบบแมวๆ

ส่วนศาสนาโฮฮับเป็นลูกครึ่งลูกผสม คือว่า เอาศัพท์ทางศาสนาเค้ามาใช้แล้ว ตัวเองมาบัญญัติความหมายใหม่ (พูดไปเสียใหม่) จึงเรียกลูกครึ่งลูกผสม มีโฮฮับเป็นศาสดา คิกๆๆ :b32:

เจริญพวงล่ะทีนี้ :b14:



s002 s002 สนุกดีนะคะ มีหยอกล้อ :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2016, 21:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สุชาวดี เขียน:
กรัชกาย เขียน:
โฮฮับ เขียน:
สุชาวดี เขียน:
:b8: :b8: :b8: ธรรมของพระพุทธองค์งดงาม(สุชาวดีเป็นคนหัวช้าอ่านและจำได้น้อยๆยังซึมซาบขนาดนี้) ตามความเห็นแล้ว ชีวิตนี้น่ากลัวมากๆค่ะ ไม่รู้เคยทำอะไรไว้บ้าง แม้แต่ การที่จะเจอการ เจ็บ ป่วย ตาย ทำได้คือหาทางพึ่งพาให้ทุกข์ทรมารน้อยลง


ไม่ใช่ธรรมของพระพุทธองค์ครับ มันเป็นเนื้อหาในตำราเรียนของเด็ก ที่พ่อแม่จับบวช
เพราะไม่มีทุนให้เรียนแบบเด็กชาวบ้านทั่วไปครับ

ตำราที่ว่าแต่งโดยท่านปยุต พระนักวิชาการที่แต่งตำราให้กับวิทยาลัยสงฆ์
มันไม่เกี่ยวกับการปฏิบัติธรรมหรอกครับ

ใครเรียนดีก็ได้ชื่อเสียงหน้าตา พวกเปรียญทั้งหลายส่วนใหญ่ก็จะได้ตำแหน่งพัดยศ
เป็นหน้าเป็นตาให้วงศ์ตระกูล......เรื่องทางโลกียะทั้งนั้นครับ :b13:



ศาสนาแมวเกิดแล้วที่นี่ :b1:

viewtopic.php?f=1&t=52497


ศาสนาโฮฮับก็เกิดแล้วที่นี่ :b32:

viewtopic.php?f=1&t=52642&start=30


ศาสนาแมวก็ของแมวชัด เช่นการผสมพันธ์แบบแมวๆ

ส่วนศาสนาโฮฮับเป็นลูกครึ่งลูกผสม คือว่า เอาศัพท์ทางศาสนาเค้ามาใช้แล้ว ตัวเองมาบัญญัติความหมายใหม่ (พูดไปเสียใหม่) จึงเรียกลูกครึ่งลูกผสม มีโฮฮับเป็นศาสดา คิกๆๆ :b32:

เจริญพวงล่ะทีนี้ :b14:



s002 s002 สนุกดีนะคะ มีหยอกล้อ :b12:

Kiss
อ้างคำพูด:
เจริญพวงล่ะทีนี้

:b1: กะว่าจะทักท้วงอยู่เชียวค่ะ :b32:
คุณสุชาวดีทักขึ้นมาพอดีเลยค่ะ
ขอถามคุณกรัชกายหน่อยคะ
หมายความถึงพวงมาลัยรึไงคะ
ภาษากำกวมสองแง่สามง่าม
ต้องชัดเจนพวงมาลัยไหว้พระ
หรือพวงมาลัยหน้ารถหรือ
พวงมาลัยรถยี่ห้ออะไร
:b32: :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2016, 08:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




ดาวน์โหลด (5).jpg
ดาวน์โหลด (5).jpg [ 3.52 KiB | เปิดดู 2969 ครั้ง ]
พระไตรปิฎกฉบับล่าสุดของนายกรัชกาย
มุขปาฐะไม่สน
พุทธพจน์ไม่รู้
บาลีไม่ต้อง

พระไตรปิฎกฉบับนี้ทำการสังคายนาโดย ดร.กรัชกาย

ปล. ดร. ไม่ได้แปลว่าด๊อกเตอร์นะครับ แต่หมายเดียรถีร์นอกรีต :b32:

ความเห็นนี้ผมมุ่งตรงต่อนายกรัชกายผู้เดียว รูปที่ผมนำมาอ้าง
เป็นเพราะนายกรัชกาย เป็นผู้นำมากล่าวในเว็บแห่งนี้ มันเป็นประเด็นปัญหา
ไม่มีเจตนาจาบจ้วงพระสงฆ์องคเจ้าอันใดครับ
:b6:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2016, 08:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:

สุชาวดี เขียน:
กรัชกาย เขียน:
โฮฮับ เขียน:
สุชาวดี เขียน:
:b8: :b8: :b8: ธรรมของพระพุทธองค์งดงาม(สุชาวดีเป็นคนหัวช้าอ่านและจำได้น้อยๆยังซึมซาบขนาดนี้) ตามความเห็นแล้ว ชีวิตนี้น่ากลัวมากๆค่ะ ไม่รู้เคยทำอะไรไว้บ้าง แม้แต่ การที่จะเจอการ เจ็บ ป่วย ตาย ทำได้คือหาทางพึ่งพาให้ทุกข์ทรมารน้อยลง


ไม่ใช่ธรรมของพระพุทธองค์ครับ มันเป็นเนื้อหาในตำราเรียนของเด็ก ที่พ่อแม่จับบวช
เพราะไม่มีทุนให้เรียนแบบเด็กชาวบ้านทั่วไปครับ

ตำราที่ว่าแต่งโดยท่านปยุต พระนักวิชาการที่แต่งตำราให้กับวิทยาลัยสงฆ์
มันไม่เกี่ยวกับการปฏิบัติธรรมหรอกครับ

ใครเรียนดีก็ได้ชื่อเสียงหน้าตา พวกเปรียญทั้งหลายส่วนใหญ่ก็จะได้ตำแหน่งพัดยศ
เป็นหน้าเป็นตาให้วงศ์ตระกูล......เรื่องทางโลกียะทั้งนั้นครับ :b13:



ศาสนาแมวเกิดแล้วที่นี่ :b1:

viewtopic.php?f=1&t=52497


ศาสนาโฮฮับก็เกิดแล้วที่นี่ :b32:

viewtopic.php?f=1&t=52642&start=30


ศาสนาแมวก็ของแมวชัด เช่นการผสมพันธ์แบบแมวๆ

ส่วนศาสนาโฮฮับเป็นลูกครึ่งลูกผสม คือว่า เอาศัพท์ทางศาสนาเค้ามาใช้แล้ว ตัวเองมาบัญญัติความหมายใหม่ (พูดไปเสียใหม่) จึงเรียกลูกครึ่งลูกผสม มีโฮฮับเป็นศาสดา คิกๆๆ :b32:

เจริญพวงล่ะทีนี้ :b14:



s002 s002 สนุกดีนะคะ มีหยอกล้อ :b12:

Kiss
อ้างคำพูด:
เจริญพวงล่ะทีนี้

:b1: กะว่าจะทักท้วงอยู่เชียวค่ะ :b32:
คุณสุชาวดีทักขึ้นมาพอดีเลยค่ะ
ขอถามคุณกรัชกายหน่อยคะ
หมายความถึงพวงมาลัยรึไงคะ
ภาษากำกวมสองแง่สามง่าม
ต้องชัดเจนพวงมาลัยไหว้พระ
หรือพวงมาลัยหน้ารถหรือ
พวงมาลัยรถยี่ห้ออะไร


ผญ. ช่างสงสัยจิงๆนะ

พวงนี้ :b32:

https://lh4.googleusercontent.com/-G7gf ... 156032.jpg

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2016, 08:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
พระไตรปิฎกฉบับล่าสุดของนายกรัชกาย
มุขปาฐะไม่สน
พุทธพจน์ไม่รู้
บาลีไม่ต้อง

พระไตรปิฎกฉบับนี้ทำการสังคายนาโดย ดร.กรัชกาย

ปล. ดร. ไม่ได้แปลว่าด๊อกเตอร์นะครับ แต่หมายเดียรถีร์นอกรีต :b32:

ความเห็นนี้ผมมุ่งตรงต่อนายกรัชกายผู้เดียว รูปที่ผมนำมาอ้าง
เป็นเพราะนายกรัชกาย เป็นผู้นำมากล่าวในเว็บแห่งนี้ มันเป็นประเด็นปัญหา
ไม่มีเจตนาจาบจ้วงพระสงฆ์องคเจ้าอันใดครับ
:b6:




อ้างคำพูด:
ไม่ใช่ธรรมของพระพุทธองค์ครับ มันเป็นเนื้อหาในตำราเรียนของเด็ก ที่พ่อแม่จับบวช
เพราะไม่มีทุนให้เรียนแบบเด็กชาวบ้านทั่วไป
ครับ

ตำราที่ว่าแต่งโดยท่านปยุต พระนักวิชาการที่แต่งตำราให้กับวิทยาลัยสงฆ์
มันไม่เกี่ยวกับการปฏิบัติธรรม
หรอกครับ

ใครเรียนดีก็ได้ชื่อเสียงหน้าตา พวกเปรียญทั้งหลายส่วนใหญ่ก็จะได้ตำแหน่งพัดยศ
เป็นหน้าเป็นตาให้วงศ์ตระกูล......เรื่องทางโลกียะทั้งนั้นครับ



โฮฮับขว้างฮูไม่พ้นคอนะ :b32:

ก็ตัวเองดูแคลนพระสงฆ์องคเจ้าอยู่แม้บๆ แน่ะๆไปน้ำใสๆ เห็นตัวแดงเลยนี่ :b1: ว่า

อ้างคำพูด:
ไม่มีเจตนาจาบจ้วงพระสงฆ์องคเจ้าอันใดครับ



ไอ้เด็กไม่มีสัมมาคารวะ ดูถูกดูแคลนนักปราชญ์ราชบัณฑิต ขี้กลากกินกะบานไม่รู้ตัวนิ :b13: :b32:


อิอิ โฮฮับเล่นแรงนิ

อ้างคำพูด:
ไม่ใช่ธรรมของพระพุทธองค์ครับ มันเป็นเนื้อหาในตำราเรียนของเด็ก ที่พ่อแม่จับบวช
เพราะไม่มีทุนให้เรียนแบบเด็กชาวบ้านทั่วไป
ครับ


นอกจากดูแคลนท่านเจ้าคุณประยุทธ์แล้ว ยังหยามหมิ่นถึงพระที่เรียน ม.สงฆ์ทั้งหมดด้วยว่าเป็นลูกชาวบ้านยากจนไม่มีปัญญาส่งลูกเรียนเหมือนครอบครัวคนทั่วไป โอ้ มาย ก๊อต ช่างกล้านะโฮฮับ บาปกรรมแท้ๆ ยมบาลเมตตาโฮฮับด้วยเถิด สาธุ :b1:

https://www.youtube.com/watch?v=wV__FUQrLwc

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2016, 09:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับเลือกเอาสักแห่งสองแห่งนะ :b7:


ยม พญายม, เทพผู้เป็นใหญ่แห่งโลกของคนตาย และเป็นเจ้านรก ยมราชก็เรียก

ยมทูต ทูตของพญายม, สื่อแจ้งข่าวของความตาย หรือสภาวะที่เตือนให้นึกถึงความตายเพื่อจะได้ไม่ประมาททำความดีเตรียมไว้ เช่น ความแก่หง่อม (ธ.อ.7/4)

ยมบาล ผู้คุมนรก, ผู้ทำหน้าที่ลงโทษสัตว์นรก, ในคัมภีร์ภาษาบาลี ใช้คำว่า นิรยบาล

ยมบุรุษ คนของพญายม (บาลี ยมปุริส) ผู้ทำหน้าที่ลงโทษสัตว์นรก, นิรยบาล,
บางทีใช้เชิงบุคลาธิษฐาน หมายถึง สภาวะที่เตือนให้นึกถึงความตายเพื่อจะได้ไม่ประมาททำความดีเตรียมไว้ เช่น ความแก่หง่อม (ขุ.ธ.25/28/46)

ยมโลก โลกของพญายม, โลกของคนตาย, ในบางแห่ง ซึ่งกล่าวถึงคู่กับเทวโลก อรรถกถาอธิบายว่า ยมโลก หมายถึงอบายภูมิ ๔ (ธ.อ.3/2) โดยเฉพาะในคัมภีร์เปตวัตถุ มักหมายถึงแดนเปรต (เช่น (ขุ.เปต.26/92/111)

นิรยบาล ผู้คุมนรก, ผู้ลงโทษสัตว์นรก

นรก เทวแห่งความทุกข์, ที่อันไม่มีความสุขความเจริญ, ภาวะเร้าร้อนกระวนกระวาย, ที่ไปเกิดและเสวยความทุกข์ของสัตว์ผู้ทำบาป (ข้อ ๑ ในทุคติ ๓ ข้อ ๑ ในอบาย ๔)

นิรยะ นรก, ภพที่ไม่มีความเจริญ, ภูมิที่เสวยทุกข์ของคนผู้ทำบาปตายแล้วไปเกิด (ข้อ ๑ ในทุคติ ๓, ข้อ ๑ ในอบาย ๔)

โลกันตร์ ชื่อนรกขุมหนึ่งเป็นที่ลงโทษที่หนักที่สุดไม่ผุดไม่เกิด (ป.โลกนฺตร ว่า ระหว่างโลก ส. ว่า โลกอื่น) โลกันตร์นรก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2016, 09:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ กระทู้อีกหน่อย เลือกเบาๆพอเข้าใจมา (เดี๋ยวโฮฮับจะลงนรกลึกไปอีก :b32: )



ในหลักที่แสดงเต็มรูปอย่างในที่นี้ องค์ประกอบทั้งหมดมีจำนวน ๑๒ หัวข้อ องค์ประกอบเหล่านี้ เป็นปัจจัยเนื่องอาศัยสืบต่อกันไปเป็นรูปวงเวียน ไม่มีต้น ไม่มีปลาย คือไม่มีตัวเหตุเริ่มแรกที่สุด (มูลการณ์ หรือ The First Cause)
การยกเอาอวิชชาตั้งเป็นข้อที่หนึ่ง ไม่ได้หมายความว่า อวิชชาเป็น เหตุเบื้องแรก หรือเป็นมูลการณ์ของสิ่งทั้งหลาย แต่เป็นการตั้งหัวข้อเพื่อความสะดวกในการทำความเข้าใจ โดยตัดตอนยกเอาองค์ประกอบอันใดอันหนึ่ง ที่เห็นว่าเหมาะสมที่สุด ขึ้นมาตั้งเป็นลำดับที่ ๑ แล้วก็นับต่อไปตามลำดับ


บางคราวท่านป้องกันมิให้มีการยึดเอาอวิชชาเป็นมูลการณ์ โดยแสดงความเกิดของอวิชชาว่า "อวิชชาเกิด เพราะอาสวะเกิด อวิชชาดับ เพราะอาสวะดับ - อาสวสมุทยา อวิชฺชาสมุทโย อาสวนิโรธา อวิชฺชานิโรโธ"


องค์ประกอบ ๑๒ ข้อ ของปฏิจจสมุปบาทนั้น นับตั้งแต่อวิชชา ถึง ชรามรณะเท่านั้น (อวิชชา >สังขาร > วิญญาณ > นามรูป > สฬายตนะ > ผัสสะ >เวทนา > ตัณหา > อุปาทาน > ภพ > ชาติ > ชรามรณะ)

ส่วนโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส (ความคับแค้นใจ) เป็นเพียงตัวพลอยผสม เกิดแก่ผู้มีอาสวกิเลส เมื่อมี ชรามรณะแล้ว เป็นตัวการหมักหมมอาสวะ ซึ่งเป็นปัจจัยให้เกิดอวิชชาหมุนวงจรต่อไปอีก


ในการแสดงปฏิจจสมุปบาทแบบประยุกต์ พระพุทธเจ้ามิได้ตรัสตามลำดับ และเต็มรูปอย่างนี้ (คือ ชักต้นไปหาปลาย) เสมอไป

การแสดงในลำดับและเต็มรูปเช่นนี้ มักตรัสในกรณีเป็นการแสดงตัวหลัก แต่ในทางปฏิบัติซึ่งเป็นการเริ่มต้นด้วยข้อปัญหา มักตรัสในรูปย้อนลำดับ (คือ ชักปลายมาหาต้น) เป็น ชรามรณะ < ชาติ < ภพ < อุปาทาน < ตัณหา < เวทนา < ผัสสะ < สฬายตนะ < นามรูป < วิญญาณ < สังขาร < อวิชชา



.ในทางปฏิบัติเช่นนี้ การแสดงอาจเริ่มต้นที่องค์ประกอบข้อหนึ่งข้อใดในระหว่างก็ได้ สุดแต่องค์ประกอบข้อไหนจะกลายเป็นปัญหาที่ถูกหยิบยกขึ้นมาพิจารณา เช่น อาจจะเริ่มที่ชาติ ที่เวทนา ที่วิญญาณ อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วเชื่อมโยงกันขึ้นมาตามลำดับจนถึงชรามรณะ (ชักปลายไปหาปลาย)
หรือสืบสาวย้อนลำดับลงไปจนถึงอวิชชา (ชักปลายมาหาต้น) ก็ได้

หรืออาจเริ่มต้นด้วยเรื่องอื่นๆ ที่มิใช่ชื่อใดชื่อหนึ่งใน ๑๒ หัวข้อนี้ แล้วชักเข้ามาพิจาณาตามแนวปฏิจจสมุปบาทก็ได้

โดยนัยที่กล่าวมา การแสดงปฏิจจสมุปบาท จึงไม่จำเป็นต้องครบ ๑๒ หัวข้ออย่างข้างต้น และไม่จำเป็นต้องอยู่ในรูปแบบที่ตายตัวเสมอไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2016, 10:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

หนังสือพุทธธรรมโยงกับหัวข้อพุทธธรรม (สิ่งที่ควรเข้าใจก่อนอ่าน)

viewtopic.php?f=1&t=52656


พุทธธรรม หรือกฎธรรมชาติ และคุณค่าสำหรับชีวิต

สิ่งที่ควรเข้าใจก่อน


ฯลฯ

ท่านอ้างอิงคัมภีร์ศาสนาทั้งบาลี ทั้งอรรถกถา เป็นต้น มีที่มาที่ไปชัด (แต่กรัชกายเกือบไม่ลงเลย เพราะเห็นว่ารุงรัง)

เอางี้เลยดีกว่าไหนๆก็ไหนๆแล้ว ตั้งแต่กรัชกายอ่านหนังสือธรรมะมา ถ้าคิดเป็น % พุทธธรรมได้ 99.99 % เหมือนกับ ปทท.มี ปชต. 99.99 % (คำพูดหัวหน้า ปว.) ไม่เชื่อไปขอมาอ่านดู เขาแจกฟรี :b1: :b13:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ค. 2016, 08:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ

โดยสรุป ปฏิจจสมุปบาท บอกถึงความเกิด-ดับของทุกข์เท่านั้น

ดูความหมายคำว่า “ทุกข์” ในความหมายพุทธธรรมกันหน่อย


ความหมายโดยสรุป เพื่อความเข้าใจเบื้องต้น


เพื่อความเข้าใจอย่างง่ายๆ กว้างๆ ในเบื้องต้น เห็นว่า ควรแสดงความหมายของปฏิจจสมุปบาทไว้โดยสรุปครั้งหนึ่งก่อน

คำสรุปของปฏิจจสมุปบาท แสดงให้เห็นว่าหลักปฏิจจสมุปบาททั้งหมด เป็นกระบวนการเกิดดับของทุกข์ หรือหลักปฏิจจสมุปบาททั้งหมด มีความมุ่งหมายเพื่อแสดงความเกิด-ดับของทุกข์เท่านั้นเอง

คำว่าทุกข์ มีความสำคัญและมีบทบาทมากในพุทธธรรม แม้ในหลักธรรมสำคัญอื่นๆ เช่น ไตรลักษณ์ และอริยสัจ ก็มีคำว่าทุกข์เป็นองค์ประกอบสำคัญจึงควรเข้าใจคำว่าทุกข์กัน ให้ชัดเจนก่อน
ในตอนต้น เมื่อพูดถึงไตรลักษณ์ ได้แสดงความหมายของทุกข์ไว้สั้นๆ ครั้งหนึ่งแล้ว แต่ในที่นี้ ควรอธิบายเพิ่มเติมอีกครั้งหนึ่ง

เมื่อศึกษาคำว่า ทุกข์ ในพุทธธรรม ให้สลัดความเข้าใจแคบๆ ในภาษาไทยทิ้งเสียก่อน และพิจารณาใหม่ตามความหมายในพุทธพจน์ ที่แบ่งทุกขตา (ภาวะแห่งทุกข์) เป็น ๓ อย่าง* (ในพระไตรปิฎก แสดงไว้เพียงชื่อข้อธรรม ไม่ได้แสดงความหมาย) พร้อมด้วยคำอธิบาย * ดังนี้

๑. ทุกขทุกขตา ทุกข์ที่เป็นความรู้สึกทุกข์ คือ ความทุกข์กายทุกข์ใจ ไม่สบาย เจ็บปวด เมื่อยขบ โศกเศร้า เป็นต้น อย่างที่เข้าใจกันโดยสามัญ ตรงตามชื่อ ตามสภาพ ที่เรียกกันว่า ทุกขเวทนา (ความทุกข์อย่างปกติที่เกิดขึ้น เมื่อประสบอนิฏฐารมณ์ หรือสิ่งกระทบกระทั่งบีบคั้น)


๒. วิปริณามทุกขตา ทุกข์เนื่องด้วยความผันแปร หรือทุกข์ที่แฝงอยู่ในคามผันแปรของสุข คือ ความสุขที่กลายเป็นความทุกข์ หรือทำให้เกิดทุกข์ เพราะความแปรปรวนกลับกลายของมันเอง (ภาวะที่ตามปกติ ก็สบายดีเฉยอยู่ ไม่รู้สึกทุกข์อย่างใดเลย แต่ครั้นได้เสวยความสุขบางอย่าง พอสุขนั้นจากลงหรือหายไป ภาวะเดิมที่เคยรู้สึกสบายเป็นปกตินั้น กลายเป็นเป็นทุกข์ไป เสมือนเป็นทุกข์แฝง ซึ่งจะแสดงตัวออกมาในทันทีทีความสุขนั้นจืดจางหรือเลือนลางไป ยิ่งสุขมากขึ้นเท่าใด ก็กลับกลายเป็นทุกข์รุนแรงมากขึ้นเท่านั้น เสมือนว่าทุกข์ที่แฝงขยายตัวตามขึ้นไป ถ้าความสุขนั้นไม่เกิดขึ้น ทุกข์เพราะสุขนั้นก็ไม่มี แม้เมื่อยังเสวยความสุขอยู่ พอนึกว่าสุขนั้นอาจจะต้องสิ้นสุดไป ก็ทุกข์ด้วยความกังวล ใจหายไหวหวั่น ครั้นกาลเวลาแห่งความสุขผ่านไปแล้ว ก็หวนระลึกด้วยความละห้อยหาว่า เราเคยมีสุขอยางนี้ๆ บัดนี้ สุขนั้นไม่มีเสียแล้วหนอ)


๓. สังขารทุกขตา ทุกข์ตามสภาพสังขาร คือ สภาวะของตัวสังขารเอง หรือสิ่งทั้งหลายทั้งปวงที่เกิดจากเหตุปัจจัยได้แก่ ขันธ์ ๕ (รวมถึงมรรค ผล ซึ่งเป็นโลกุตรธรรม) เป็นทุกข์ คือ เป็นสภาพที่ถูกบีบคั้นด้วยปัจจัยที่ขัดแย้ง มีการเกิดขึ้น และการสลายหรือดับไป ไม่มีความสมบูรณ์ในตัวของมันเอง อยู่ในกระแสแห่งเหตุปัจจัย จึงเป็นสภาพซึ่งพร้อมที่จะก่อให้เกิดทุกข์ (ความรู้สึกทุกข์หรือทุกขเวทนา) แก่ผู้ไม่รู้เท่าทันต่อสภาพและกระแสของมัน และเข้าไปฝืนกระแสอย่างทื่อๆ ด้วยความอยากความยึด (ตัณหาอุปาทาน) อย่างโง่ๆ (อวิชชา) ไม่เข้าไปเกี่ยวข้องและปฏิบัติต่อมันด้วยปัญญา


ทุกข์ข้อสำคัญ คือข้อที่ ๓ แสดงถึงสภาพของสังขารทั้งหลายตามที่ มันเป็นของมันเอง * แต่สภาพนี้จะก่อให้เกิดความหมายเป็นภาวะในทางจิตวิทยาขึ้นได้ ในแง่ที่ว่า มันไม่อาจให้ความพึงพอใจโดยสมบูรณ์* และสามารถก่อให้เกิดทุกข์ได้เสมอ * แก่ผู้เข้าไปเกี่ยวข้องด้วยอวิชชาตัณหาอุปาทาน

ความที่กล่าวมาตอนนี้ก็คือบอกให้รู้ว่า ทุกข์ข้อที่ ๓ นี้ กินความกว้างขวางครอบคลุม ตรงตามความหมายของทุกข์ในไตรลักษณ์ (ที่ว่าสังขารทั้งปวงเป็นทุกข์) ซึ่งอาจจะโยงต่อไปเป็นทุกข์ในอริยสัจ โดยเป็นที่ก่อให้เกิดผลของอวิชชาตัณหาอุปาทาน ที่ทำให้ขันธ์ ๕ ในธรรมชาติ กลายเป็นอุปาทานขันธ์ ๕ ของคนขึ้นมา


ถ้าจับเอาเวทนา ๓ (สุข ทุกข์ อุเบกขา) ซึ่งเป็นเรื่องของความสุข - ความทุกข์อยู่แล้ว มาจัดเข้าในทุกขตา ๓ ข้อนี้ บางคนจะเข้าใจชัดขึ้นหรือง่ายขึ้น ดังจะเห็นว่า ทุกขเวทนานั้นเข้าตั้งแต่ข้อแรก คือ เป็นทุกขทุกข์ สุขเวทนาเจอตั้งแต่ข้อ ๒ คือเป็นวิปริณามทุกข์

ส่วนอุเบกขาเวทนารอดมาได้สองข้อ แต่ก็มาเจอที่ข้อ ๓ คือ เป็นสังขารทุกข์ หมายความว่า แม้แต่อุเบกขาก็คงอยู่เรื่อยไปไม่ได้ ต้องแปรปรวนผันแปร ขึ้นต่อเหตุปัจจัยของมัน

ถ้าใครชอบใจติดใจอยากเพลินอยู่กับอุเบกขา ก็พ้นทุกข์ไปไม่ได้ เพราะมาเจอข้อ ๓ คือ สังขารทุกขตานี้ (อรรถกถาไขความว่า อุเบกขาเวทนา และบรรดาสังขารในไตรภูมิ เป็นสังขารทุกข์ เพราะถูกบีบคั้นด้วยการเกิดสลาย)

เป็นอันว่าเวทนา ๓ ไม่ว่าสุข หรือทุกข์ หรือไม่สุขไม่ทุกข์ ก็เป็นทุกข์ในความหมายนี้ หมดทั้งนั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ค. 2016, 08:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่ * อ้างอิงตามลำดับ

* ที.ปา.11/228/229 สํ.สฬ.18/510/318 สํ.ม.19/319/85 ( 2 ที่มาแรก เป็นภาษิตของพระสารีบุตร ที่ 3 เป็นพุทธพจน์)
* วิสุทธิ.3/83 วิภงฺค.อ.121 (เรียงตามพระบาลี = 1. ทุกขทุกขตา 2. สังขารทุกขตา 3.วิปริณามทุกขตา ที่นี้เรียงตามที่อรรถกถาอธิบาย)
*** ทุกข์ในข้อสังขารทุกข์นี้ ถ้าเทียบความหมายในภาษาอังกฤษ บางท่านอาจชัดขึ้น ท่อนที่ 1 = stress, conflict, oppression, unrest, imperfection, ท่อนที่ 2 = unsatisfactoriness; และท่อนที่ 3 = state of being liable to suffering

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ค. 2016, 11:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ

หลักปฏิจจสมุปบาท แสดงให้เห็นอาการที่ กระบวนการของธรรมชาติ เกิดเป็นปัญหาขึ้นแก่คน เพราะอวิชชาตัณหาอุปาทาน ได้อย่างไร และในเวลาเดียวกัน กระบวนการของธรรมชาตินั้น ก็แสดงให้เห็นอาการที่สิ่งทั้งหลายสัมพันธ์เนื่องอาศัยเป็นเหตุปัจจัยต่อ กันเป็นรูปกระแสซึ่งไหลวน


ในภาวะที่เป็นกระแสนี้ ขยายความหมายออกไปให้เห็นแง่ต่างๆได้ คือ สิ่งทั้งหลายมีความสัมพันธ์เนื่องอาศัยเป็นปัจจัยแก่กัน สิ่งทั้งหลายมีอยู่โดยความสัมพันธ์ สิ่งทั้งหลายมีอยู่ด้วยอาศัยปัจจัย สิ่งทั้งหลายไม่มีความคงที่อยู่อย่างเดิม แม้แต่ขณะเดียว สิ่งทั้งหลายไม่มีอยู่โดยตัวของมันเอง คือ ไม่มีตัวตนที่แท้จริงของมัน สิ่งทั้งหลายไม่มีมูลการณ์ หรือต้นกำเนิดเดิมสุด



พูดอีกนัยหนึ่งว่า อาการที่สิ่งทั้งหลายปรากฏรูปเป็นต่างๆ มีความเจริญความเสื่อมเป็นไปต่างๆนั้น แสดงถึงสภาวะที่แท้จริงของมันว่าเป็นกระแส ความกระแสแสดงถึงการประกอบขึ้นด้วยองค์ประกอบต่างๆ รูปกระแสปรากฏเพราะองค์ประกอบทั้งหลายสัมพันธ์เนื่องอาศัยกัน กระแสดำเนินไปแปรรูปได้เพราะองค์ประกอบต่างๆไม่คงที่อยู่แม้แต่ขณะเดียว องค์ประกอบทั้งหลายไม่คงที่อยู่แม้แต่ขณะเดียวเพราะไม่มีตัวตนที่แท้จริง ของมัน ตัวตนที่แท้จริงของมันไม่มี มันจึงขึ้นต่อเหตุปัจจัยต่างๆ เหตุปัจจัยต่างๆ สัมพันธ์เนื่องอาศัยกัน จึงคุมรูปเป็นกระแสได้ ความเป็นเหตุปัจจัยต่อเนื่องอาศัยกัน แสดงถึงความไม่มีต้นกำเนิดเดิมสุดของสิ่งทั้งหลาย

กระแสแห่งเหตุปัจจัยที่ทำให้สิ่งทั้งหลายปรากฏโดยเป็นไปตามกฎธรรมชาติ ดำเนินไปได้ ก็เพราะสิ่งทั้งหลายไม่เที่ยง ไม่คงอยู่ เกิดแล้วสลายไป ไม่มีตัวที่แท้จริงของมัน และสัมพันธ์เนื่องอาศัยกัน

ภาวะที่ไม่เที่ยง ไม่คงอยู่ เกิดแล้วสลายไป เรียกว่า อนิจจตา
ภาวะที่ถูกบีบคั้นด้วยเกิดสลาย มีความกดดันขัดแย้งแฝงอยู่ ไม่สมบูรณ์ในตัว เรียกว่า ทุกขตา
ภาวะที่ไร้อัตตา ไม่มีตัวตนที่แท้จริง ไม่ว่าข้างในหรือข้างนอกของมัน ที่จะเป็นตัวแกนตัวกุมสิงสู่อยู่ครองเป็นเจ้าของควบคุมสั่งบังคับให้เป็นไป อย่างนั้นอย่างนี้ตามที่ปรารถนาได้ เรียก อนัตตตา

ปฏิจจสมุปบาท แสดงให้เห็นภาวะทั้ง ๓ นี้ในสิ่งทั้งหลาย และแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ต่อเนื่องเป็นปัจจัยแก่กันของสิ่งทั้งหลายเหล่า นั้น จนปรากฏรูปออกมาเป็นต่างๆ ในธรรมชาติ


ภาวะและความเป็นไปตามหลักปฏิจจสมุปบาทนี้ มีแก่สิ่งทั้งปวง ทั้งที่เป็นรูปธรรม ทั้งที่เป็นนามธรรม ทั้งในโลกฝ่ายวัตถุ ทั้งแก่ชีวิตที่ประกอบพร้อมด้วยรูปธรรมนามธรรม โดยแสดงตัวออกเป็นกฏธรรมชาติต่างๆ
คือ
ธรรมนิยาม - กฎความสัมพันธ์ระหว่างเหตุกับผล
อุตุนิยาม - กฎธรรมชาติฝ่ายอนินทรียวัตถุ
พืชนิยาม - กฎธรรมชาติฝ่ายอินทรียวัตถุรวมทั้งพันธุกรรม
จิตนิยาม - กฎการทำงานของจิต และ
กรรมนิยาม - กฎแห่งกรรม ซึงมีความเกี่ยวข้องเป็นพิเศษกับเรื่องความสุขความทุกข์ของชีวิต และเป็นเรื่องที่จริยธรรมจะต้องเกี่ยวข้องโดยตรง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 28 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 20 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร