วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 02:17  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 51 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2016, 10:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พอเข้าใจว่า “ชีวิตคืออะไร” แล้ว

(ขันธ์ ๕)

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=52543

(อายตนะ)

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=52608


ทีนี้ ถึงตอน ชีวิต เป็นอย่างไร ?

ถ้าถามว่า ชีวิต เป็นอย่างไร? ตอบแบบกำปั้นทุบดิน มันก็เป็นอย่างที่มันเป็นดิ คือมัน ไม่เที่ยง ไม่คงทน มิใช่อัตตา

หยาบๆ ด้านทางรูปธรรม ก็เช่น เป็นทารก เป็นหนุ่ม สาว เฒ่าชรา สิ้นชีพวายชนม์ นี่เท่าที่คนเราพอกำหนดรู้ได้

แต่ถ้าลึกซึ้งลงไปกว่านั้น คือ ด้านนามธรรม ยากนักหนาที่คนเราจะรู้เห็นเข้าใจได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2016, 10:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แนะๆ มีคนไม่เชื่อเยอะเลย ที่เห็นๆก็มี 3-4 คน เช่น โฮฮับ คุณโรส ท่านอโศก ...

แต่ท่านอโศกระยะนี้ สังเกตดูไม่ร่าเริงเหมือนก่อน


ตัวอย่างความลึกซึ้งของนามธรรม (แต่ก็ต้องผ่านรูปธรรม เพราะรูปกับนาม - กาย กับ มโน (ใจ) สัมพันกัน ทำงานร่วมกัน เหมือนกระแสไฟฟ้า กับ สายไฟฟ้า กระแสไฟ แล่นไหลผ่านทางสายไฟ

อ้างคำพูด:
ผมก็นั่งตามลมหายใจพุทโธไป

วันแรกๆก็ไม่เป็นอะไร พอวันที่สามนั่งไปซักพักประมาณสิบนาทีเริ่มมีอาการเหวี่ยงแบบเหวี่ยงหมุนจน เวียนหัวจึงนั่งต่อไม่ได้ลืมตาขึ้นมานั่งดูพระรูปอื่น

เป็นอย่างนี้อยู่เกือบตลอด กลับมาที่กุฏิก่อนจะจำวัดก็นั่งก็เป็นอีก

จนมาถามพระพี่เลี้ยงท่านบอกเหมือนจิตกำลังจะได้เข้าสู่ความสงบให้ผ่านจุดนี้ไปให้ได้ แต่มันก็ได้แบบแปปๆแล้วก็หมุนอีกหมุนอีก

จนลาสิกขามาก็เริ่มมาหาอ่านเองจนได้อ่านบันทึกกรรมฐานของเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช ให้พิจารณา กาย เวทนา จิต ธรรม

คราวนี้ก็ทำตามหนังสือ หายใจตอนแรกก็ยาว ก็ตามไปซักพัก เริ่มพิจารณาตามสติปัฐฐาน คราวนี้หมุนเร็วเลยหมุนแรงมากจนรู้สึกจะอาเจียนเลย

ผมก็พิจารณาว่าเป็นทุกขเวทนา ก็ดีขึ้นแปปก็หมุนอีกเรื่อยๆ จนตอนนี้ยังแก้ไม่ได้เลยครับ ไม่รู้ว่าจะทำยังไง ล่าสุดเมื่อคืนหมุนจนจะอ้วกจนถอนสมาธิออกมา ยังมีอาการเวียนหัวจะอ้วกมาอีกซักสิบห้านาทีค่อยดีขึ้น

คำถามครับ

1. ผมควรแก้ปัญหานี้ยังไงดี ฝืนนั่งไปเรื่อยๆจนหายหรือต้องกำหนดอะไรยังไง

2. จุดมุ่งหมายจริงๆ คือวิปัสสนากรรมฐานคืออะไรครับ ไม่ได้โอ้อวดว่าตัวเองเก่งนะครับ พอดีผมเรียนแพทย์เลยเข้าใจพวกสรีระร่างกายมนุษย์อยู่แล้ว เมื่อมาเรียนรู้ทางธรรมพิจารณาตามขันธ์ 5 ก็เข้าใจว่ามันไม่ได้มีตัวตนจริงๆของเรา เหมือนเท่าที่อ่านการฝึกวิปัสสนาทำให้เราเข้าใจว่าทุกอย่างมีเกิดดับของมัน เป็นธรรมดา ไม่ให้เรายึดติด แต่ถ้าผมอ่านแล้วเข้าใจแล้วจะทำไปเพื่ออะไร หรือว่าให้จิตเราแข็งแกร่ง จะได้มีสติรู้เท่าทันทุกการกระทำ หลังสึกออกมาทุกวันนี้ เวลาจะโกรธใครก็เหมือนมีสติมาห้ามทัน แต่ก็ยังมีหลุดบ้าง ซึ่งก่อนหน้านี้จะตอบโต้แทบจะทันทีเพราะเป็นคนใจร้อน


ทั้งสามท่านที่พาดพิงพอเข้าใจไหมขอรับ :b10: :b14:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2016, 14:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เข้าเรื่อง

ไตรลักษณ์ ลักษณะโดยธรรมชาติ ๓ อย่าง ของสิ่งทั้งปวง

ตัวกฎหรือตัวสภาวะ

ตามหลักพุทธธรรมเบื้องต้นที่ว่า สิ่งทั้งหลายเกิดจากส่วนประกอบต่างๆ มาประชุมกันเข้า หรือมีอยู่ในรูปของการรวมตัวเข้าด้วยกันของส่วนประกอบต่างๆนั้น มิใช่หมายความว่าเป็นการนำเอาส่วนประกอบที่เป็นชิ้นๆอันๆ อยู่แล้วมาประกอบเข้าด้วยกัน และเมื่อประกอบเข้าด้วยกันแล้ว ก็เกิดเป็นรูปเป็นร่างคุมกันอยู่เหมือนเมื่อเอาวัตถุต่างๆ มารวมกันเป็นเครื่องอุปกรณ์ต่างๆ

ความจริง ที่กล่าวว่าสิ่งทั้งหลายเกิดจากการประชุมกันของส่วนประกอบต่างๆนั้น เป็นเพียงคำกล่าวเพื่อเข้าใจง่ายๆ ในเบื้องต้นเท่านั้น
แท้จริงแล้ว สิ่งทั้งหลายมีอยู่ในรูปของกระแส ส่วนประกอบแต่ละอย่างๆ ล้วนประกอบขึ้นจากส่วนประกอบอื่นๆ ย่อยลงไป
แต่ละอย่างไม่มีตัวตนของมันเองเป็นอิสระ ล้วนเกิดดับต่อกันไปเรื่อย ไม่เที่ยง ไม่คงที่
กระแสนี้ไหลเวียนหรือดำเนินต่อไป อย่างที่ดูคล้ายกับรักษารูปแนว และลักษณะทั่วไปไว้ได้อย่างค่อยเป็นค่อยไป ก็
เพราะส่วนประกอบทั้งหลายมีความสัมพันธ์เนื่องอาศัยซึ่งกันและกัน เป็นเหตุปัจจัยสืบต่อแก่กันอย่างหนึ่ง และ
เพราะส่วนประกอบเหล่านั้นแต่ละอย่างล้วนไม่มีตัวตนของมันเอง และไม่เที่ยงแท้คงที่อย่างหนึ่ง




มีหลักธรรมใหญ่อยู่ ๒ หมวด ที่ถือได้ว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดงในรูปของกฎธรรมชาติ คือ ไตรลักษณ์ และ ปฏิจจสมุปบาท

ความจริง ธรรมทั้ง ๒ หมวดนี้ถือได้ว่าเป็นกฎเดียวกัน แต่แสดงในคนละแง่ หรือคนละแนว เพื่อมองเห็นความจริงอย่างเดียวกัน คือ
ไตรลักษณ์ มุ่งแสดงลักษณะของสิ่งทั้งหลาย ซึ่งปรากฏให้เห็นว่าเป็นเช่นนั้น ในเมื่อสิ่งเหล่านั้น เป็นไปโดยอาการที่สัมพันธ์เนื่องอาศัยเป็นเหตุปัจจัยสืบต่อแก่กันตามหลักปฏิจจสมุปบาท

ส่วนหลักปฏิจจสมุปบาท ก็มุ่งแสดงถึงอาการที่สิ่งทั้งหลายมีความสัมพันธ์ เนื่องอาศัยเป็นเหตุปัจจัยสืบต่อแก่กันเป็นกระแส จนมองเห็นลักษณะได้ว่าเป็นไตรลักษณ์

กฎธรรมชาตินี้ เป็น ธาตุ คือภาวะที่ทรงตัวอยู่โดยธรรมดา

เป็น ธรรมฐิติ คือภาวะที่ตั้งอยู่ หรือยืนตัวเป็นหลักแน่นอนอยู่โดยธรรมดา

เป็น ธรรมนิยาม คือกฎธรรมชาติ หรือกำหนดแห่งธรรมดา ไม่เกี่ยวกับผู้สร้างผู้บันดาล หรือการเกิดขึ้นของศาสนาหรือศาสดาใดๆ

กฎธรรมชาตินี้ แสดงฐานะของศาสดาในความหมายของพุทธธรรมด้วยว่าเป็นผู้ค้นพบกฎเหล่านี้ แล้วนำมาเปิดเผยชี้แจงแก่ชาวโลก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2016, 15:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในคัมภีร์อภิธรรมรุ่นอรรถกถา แบ่งนิยาม หรือกฎธรรมชาติเป็น ๕ อย่าง คือ

๑. อุตุนิยาม กฎธรรมชาติเกี่ยวกับอุณหภูมิ หรือปรากฏการณ์ธรรมชาติต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องลมฟ้าอากาศ และฤดูกาล ในทางอุตุนิยม อันเป็นสิ่งแวดล้อมสำหรับมนุษย์

๒. พืชนิยาม กฎธรรมชาติเกี่ยวกับการสืบพันธ์ รวมทั้งพันธุกรรม

๓. จิตตนิยาม กฎธรรมชาติเกี่ยวกับกระบวนการทำงานของจิต

๔. กรรมนิยาม กฎธรรมชาติเกี่ยวกับเจตจำนงและพฤติกรรมมนุษย์ คือ กระบวนการให้ผลของการกระทำ

๕. ธรรมนิยาม กฎธรรมชาติเกี่ยวกับสภาวะแห่งธรรมดาทั่วไป เฉพาะอย่างยิ่ง ความสัมพันธ์ และความเป็นเหตุเป็นผลแก่กันของสิ่งทั้งหลาย


ตถตา ความเป็นอย่างนั้น, ความเป็นเช่นนั้น, ภาวะที่สิ่งทั้งหลายทั้งปวงเป็นของมันอย่างนั้นเอง คือเป็นไปตามเหตุปัจจัย (มิใช่เป็นไปตามความอ้อนวอนปรารถนา หรือการดลบันดาลของใครๆ) เป็นชื่อหนึ่งที่ได้เรียกกฎปฏิจจสมุปบาท หรืออิทัปปัจจยตา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มิ.ย. 2016, 07:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เน้นย้ำกฎไตรลักษณ์ กับ กฎปฏิจจสมุปบาทอีกทีว่ามันอันเดียวกันแต่ท่านอธิบายคนละแง่ ดูอีกที


มีหลักธรรมใหญ่อยู่ ๒ หมวด ที่ถือได้ว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดงในรูปของกฎธรรมชาติ คือ ไตรลักษณ์ และ ปฏิจจสมุปบาท

ความจริง ธรรมทั้ง ๒ หมวดนี้ถือได้ว่าเป็นกฎเดียวกัน แต่แสดงในคนละแง่ หรือคนละแนว เพื่อมองเห็นความจริงอย่างเดียวกัน คือ
ไตรลักษณ์ มุ่งแสดงลักษณะของสิ่งทั้งหลาย ซึ่งปรากฏให้เห็นว่าเป็นเช่นนั้น ในเมื่อสิ่งเหล่านั้น เป็นไปโดยอาการที่สัมพันธ์เนื่องอาศัยเป็นเหตุปัจจัยสืบต่อแก่กันตามหลักปฏิจจสมุปบาท

ส่วนหลักปฏิจจสมุปบาท ก็มุ่งแสดงถึงอาการที่สิ่งทั้งหลายมีความสัมพันธ์ เนื่องอาศัยเป็นเหตุปัจจัยสืบต่อแก่กันเป็นกระแส จนมองเห็นลักษณะได้ว่าเป็นไตรลักษณ์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มิ.ย. 2016, 07:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ

สำหรับไตรลักษณ์นั้น มีพุทธพจน์แสดงหลักไว้ในรูปของกฎธรรมชาติ ว่าดังนี้

"ตถาคตทั้งหลาย จะอุบัติหรือไม่ก็ตาม ธาตุนั้นก็ดำรงอยู่ เป็นธรรมฐิติ เป็นธรรมนิยามว่า

๑. สังขารทั้งปวง ไม่เที่ยง...

๒. สังขารทั้งปวง เป็นทุกข์...

๓. ธรรมทั้งปวง เป็นอนัตตา...

ตถาคตตรัสรู้ เข้าถึงหลักนั้นแล้ว จึงบอก แสดง วางเป็นแบบ ตั้งเป็นหลัก เปิดเผย แจกแจง ทำให้เข้าใจง่ายว่า "สังขารทั้งปวง ไม่เที่ยง...สังขารทั้งปวง เป็นทุกข์ ...ธรรมทั้งปวง เป็นอนัตตา"

ไตรลักษณ์นี้ ในอรรถกถาบางทีเรียกว่า สามัญลักษณะ ในฐานะเป็นลักษณะร่วม ที่มีแก่สิ่งทั้งหลาย เป็นสามัญเสมอเหมือนกัน คือ ทุกอย่างที่เป็นสังขตะ เป็นสังขาร ล้วนไม่เที่ยง คงทนอยู่มิได้ เสมอเหมือนกันทั้งหมด ทุกอย่างที่เป็นธรรม ไม่ว่าสังขตะคือสังขาร หรือ อสังขารคือวิสังขาร ก็ล้วนมิใช่ตน ไม่เป็นอัตตา เสมอกันทั้งสิ้น

เพื่อความเข้าใจง่ายๆ จะแสดงความหมายของไตรลักษณ์ โดยย่อ ดังนี้

๑. อนิจจตา ความไม่เที่ยง ความไม่คงที่ ความไม่ยั่งยืน ภาวะที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อม และสลายไป

๒. ทุกขตา ความเป็นทุกข์ ภาวะที่ถูกบีบคั้นด้วยการเกิดขึ้นและสลายตัว ภาวะที่กดดัน ฝืนและขัดแย้งในตัว เพราะปัจจัยที่ปรุงแต่งให้มีสภาพเป็นอย่างนั้นเปลี่ยนแปลงไป จะทำให้คงอยู่ในสภาพนั้นไม่ได้ ภาวะที่ไม่สมบูรณ์มีความบกพร่องอยู่ในตัว ไม่ให้ความสมอยากแท้จริง หรือความพึงพอใจเต็มที่แก่ผู้อยากด้วยตัณหา และก่อให้เกิดทุกข์แก่ผู้เข้าไปอยากเข้าไปยึดด้วยตัณหาอุปาทาน

๓. อนัตตตา ความเป็นอนัตตา ความไม่ใช่ตัวตน ความไม่มีตัวตนจริงแท้ที่จะเป็นเจ้าของครอบครองสั่งบังคับให้เป็นไปอย่างไรๆได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มิ.ย. 2016, 07:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


* คำว่า "สังขาร" ในไตรลักษณ์นี้ ต้องเข้าใจว่าต่างกับคำว่า สังขารในขันธ์ ๕

ในขันธ์ ๕ สังขาร = ความดี ความชั่ว ที่ปรุงแต่งจิตใจ เป็นนามธรรมอย่างเดียว
ส่วนในไตรลักษณ์ สังขาร = สิ่งทั้งปวงที่เกิดจากปัจจัยปรุงแต่ง หรือที่เกิดจากส่วนประกอบต่างๆ ประชุมกันเข้า จะเป็นรูปธรรม หรือนามธรรมก็ตาม คือ เท่ากับขันธ์ ๕ ทั้งหมด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มิ.ย. 2016, 08:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ

สิ่งทั้งหลายทั้งปวง มีอยู่เป็นไปในรูปของกระแส ที่ประกอบด้วยปัจจัยต่างๆ อันสัมพันธ์เนื่องอาศัยกัน เกิด ดับ สืบต่อกันไปอยู่ตลอดเวลาไม่ขาดสาย จึงเป็นภาวะที่ไม่เที่ยง เมื่อแต่ละสิ่งแต่ละส่วนที่สัมพันธ์กัน เกิด ดับ ไม่คงที่ และเป็นไปตามเหตุปัจจัยที่อาศัย ก็ย่อมมีความบีบคั้น กดดัน ขัดแย้ง และแสดงถึงความบกพรองไม่สมบูรณ์อยู่ในตัว
และ
ทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นไปในรูปกระแสที่เกิด ดับ อยู่ตลอดเวลา ขึ้นต่อเหตุปัจจัยเช่นนี้ก็ตาม ไม่ขึ้นต่อเหตุปัจจัย ก็ตาม ก็มีภาวะที่เป็นอย่างนั้นๆ ตามธรรมดาของมันอยู่แล้ว จึงย่อมไม่เป็นไม่มีตัวตนอะไร ที่เหมือนกับมาแฝงมาซ้อนมาคุม ดังเป็นเจ้าของครอบครองสั่งบังคับให้เป็นไปอย่างไรๆ ได้ตามที่ปรารถนา

ในกรณีของสัตว์บุคคล ให้แยกว่า สัตว์บุคคลนั้นประกอบด้วยขันธ์ ๕ เท่านั้น ไม่มีสิ่งใดอื่นอีก นอกเหนือจากขันธ์ ๕ เป็นอันตัดปัญหาเรื่องที่จะมีตัวตนเป็นอิสระอยู่ต่างหาก

จากนั้น ก็หันมาแยกขันธ์ ๕ ออกพิจารณาแต่ละอย่างๆ ก็จะเห็นว่า ขันธ์ทุกขันธ์ไม่เที่ยง เมื่อไม่เที่ยง ก็เป็นทุกข์ เป็นสภาพบีบคั้นกดดันแก่ผู้เข้าไปยึด เมื่อเป็นทุกข์ ก็ไม่ใช่ตัวตน
ที่ว่าไม่ใช่ตัวตน ก็เพราะแต่ละอย่างๆล้วนเกิดจากเหตุปัจจัย ไม่ใช่ตัวตนของมันเอง อย่างหนึ่ง
เพราะ
ไม่อยู่ในอำนาจ ไม่เป็นของของสัตว์บุคคลนั้นแท้จริง (ถ้าสัตว์บุคคลนั้น เป็นเจ้าของขันธ์ ๕ แท้จริง ก็ย่อมต้องบังคับเอาเองให้เป็นไปตามความต้องการได้ และไม่ให้เปลี่ยนแปลงไปจากสภาพที่ต้องการได้ เช่น ไม่ให้แก่ ไม่ให้เจ็บป่วย เป็นต้น) อย่างหนึ่ง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มิ.ย. 2016, 08:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธพจน์แสดงไตรลักษณ์ในกรณีขันธ์ ๕ มีตัวอย่างที่เด่น ดังนี้

"ภิกษุทั้งหลาย รูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ เป็นอนัตตา
หาก
รูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ เป็นอัตตา (ตัวตน) แล้วไซร้ มันก็จะไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ ทั้งยังจะได้ตามปรารถนา ในรูป ฯลฯ ในวิญญาณว่า "ขอรูป...ขอเวทนา...ขอสัญญา...ขอสังขาร...ขอวิญญาณ ของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย"
แต่
เพราะเหตุที่รูป ฯลฯ วิญญาณ เป็นอนัตตา
ฉะนั้น
รูป ฯลฯ วิญญาณ จึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และใครๆ ไม่อาจได้ตามความปรารถนา ในรูป ฯลฯ ในวิญญาณว่า "ขอรูป...ขอเวทนา...ขอสัญญา...ขอสังขาร...ขอวิญญาณ ของเราจงเป็น อย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย"

"ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายมีความเห็นเป็นไฉน"

"รูปเทียง หรือไม่เที่ยง (ตรัสทีละอย่าง จนถึง วิญญาณ)

"ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า"

"ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ หรือเป็นสุข"

"เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า"

"ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะเฝ้าเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา"

"ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า"

"ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล รูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ อย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ทั้งภายในและภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ทั้งที่ไกลและที่ใกล้ ทั้งหมดนั้น เธอทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันถูกต้อง (สัมมาปัญญา) ตามที่มันเป็นว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่ใช่นั่น นั่นไม่ใช่ตัวของเรา"
(สํ.ข.17/127-129/82-84)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มิ.ย. 2016, 08:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"เห็นตามที่มันเป็น" มิใช่เห็นตามที่เราอยากให้มันเป็น หรือไปทำตามที่ตัวอยากจะดู อยากให้มันเป็น

อ้างคำพูด:
ผมก็นั่งตามลมหายใจพุทโธไป

วันแรกๆก็ไม่เป็นอะไร พอวันที่สามนั่งไปซักพักประมาณสิบนาที เริ่มมีอาการเหวี่ยงแบบเหวี่ยงหมุนจน เวียนหัวจึงนั่งต่อไม่ได้ลืมตาขึ้นมานั่งดูพระรูปอื่น

เป็นอย่างนี้อยู่เกือบตลอด กลับมาที่กุฏิก่อนจะจำวัดก็นั่งก็เป็นอีก

จนมาถามพระพี่เลี้ยงท่านบอกเหมือนจิตกำลังจะได้เข้าสู่ความสงบให้ผ่านจุดนี้ไปให้ได้ แต่มันก็ได้แบบแปปๆแล้วก็หมุนอีกหมุนอีก

จนลาสิกขามาก็เริ่มมาหาอ่านเองจนได้อ่านบันทึกกรรมฐานของเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช ให้พิจารณา กาย เวทนา จิต ธรรม

คราวนี้ก็ทำตามหนังสือ หายใจตอนแรกก็ยาว ก็ตามไปซักพัก เริ่มพิจารณาตามสติปัฐฐาน คราวนี้หมุนเร็วเลยหมุนแรงมากจนรู้สึกจะอาเจียนเลย

ผมก็พิจารณาว่าเป็นทุกขเวทนา ก็ดีขึ้นแปปก็หมุนอีกเรื่อยๆ จนตอนนี้ยังแก้ไม่ได้เลยครับ ไม่รู้ว่าจะทำยังไง ล่าสุดเมื่อคืนหมุนจนจะอ้วกจนถอนสมาธิออกมา ยังมีอาการเวียนหัวจะอ้วกมาอีกซักสิบห้านาทีค่อยดีขึ้น

คำถามครับ

1. ผมควรแก้ปัญหานี้ยังไงดี ฝืนนั่งไปเรื่อยๆจนหายหรือต้องกำหนดอะไรยังไง

2. จุดมุ่งหมายจริงๆ คือวิปัสสนากรรมฐานคืออะไรครับ ไม่ได้โอ้อวดว่าตัวเองเก่งนะครับ พอดีผมเรียนแพทย์เลยเข้าใจพวกสรีระร่างกายมนุษย์อยู่แล้ว เมื่อมาเรียนรู้ทางธรรมพิจารณาตามขันธ์ 5 ก็เข้าใจว่ามันไม่ได้มีตัวตนจริงๆของเรา เหมือนเท่าที่อ่านการฝึกวิปัสสนาทำให้เราเข้าใจว่าทุกอย่างมีเกิดดับของมัน เป็นธรรมดา ไม่ให้เรายึดติด แต่ถ้าผมอ่านแล้วเข้าใจแล้วจะทำไปเพื่ออะไร

หรือ ว่า

ให้จิตเราแข็งแกร่ง จะได้มีสติรู้เท่าทันทุกการกระทำ หลังสึกออกมาทุกวันนี้ เวลาจะโกรธใครก็เหมือนมีสติมาห้ามทัน แต่ก็ยังมีหลุดบ้าง ซึ่งก่อนหน้านี้จะตอบโต้แทบจะทันทีเพราะเป็นคนใจร้อน


แต่เขาก็เริ่มๆเห็นตามที่ตัวเองอยากให้มันเป็นบ้างแล้ว :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มิ.ย. 2016, 10:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
พุทธพจน์แสดงไตรลักษณ์ในกรณีขันธ์ ๕ มีตัวอย่างที่เด่น ดังนี้

"ภิกษุทั้งหลาย รูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ เป็นอนัตตา
หาก
รูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ เป็นอัตตา (ตัวตน) แล้วไซร้ มันก็จะไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ ทั้งยังจะได้ตามปรารถนา ในรูป ฯลฯ ในวิญญาณว่า "ขอรูป...ขอเวทนา...ขอสัญญา...ขอสังขาร...ขอวิญญาณ ของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย"
แต่
เพราะเหตุที่รูป ฯลฯ วิญญาณ เป็นอนัตตา
ฉะนั้น
รูป ฯลฯ วิญญาณ จึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และใครๆ ไม่อาจได้ตามความปรารถนา ในรูป ฯลฯ ในวิญญาณว่า "ขอรูป...ขอเวทนา...ขอสัญญา...ขอสังขาร...ขอวิญญาณ ของเราจงเป็น อย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย"

"ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายมีความเห็นเป็นไฉน"

"รูปเทียง หรือไม่เที่ยง (ตรัสทีละอย่าง จนถึง วิญญาณ)

"ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า"

"ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ หรือเป็นสุข"

"เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า"

"ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะเฝ้าเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา"

"ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า"

"ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล รูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ อย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ทั้งภายในและภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ทั้งที่ไกลและที่ใกล้ ทั้งหมดนั้น เธอทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันถูกต้อง (สัมมาปัญญา) ตามที่มันเป็นว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่ใช่นั่น นั่นไม่ใช่ตัวของเรา"
(สํ.ข.17/127-129/82-84)

Kiss
ถึงความจริงของสภาพธรรมที่รู้ความจริงโดยมีสติสัมปชัญญะตรงลักษณะที่กำลังปรากฏไม่มีอิริยาบท
http://www.dhammahome.com/audio/topic/10433
:b4: :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มิ.ย. 2016, 11:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
พุทธพจน์แสดงไตรลักษณ์ในกรณีขันธ์ ๕ มีตัวอย่างที่เด่น ดังนี้

"ภิกษุทั้งหลาย รูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ เป็นอนัตตา
หาก
รูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ เป็นอัตตา (ตัวตน) แล้วไซร้ มันก็จะไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ ทั้งยังจะได้ตามปรารถนา ในรูป ฯลฯ ในวิญญาณว่า "ขอรูป...ขอเวทนา...ขอสัญญา...ขอสังขาร...ขอวิญญาณ ของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย"
แต่
เพราะเหตุที่รูป ฯลฯ วิญญาณ เป็นอนัตตา
ฉะนั้น
รูป ฯลฯ วิญญาณ จึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และใครๆ ไม่อาจได้ตามความปรารถนา ในรูป ฯลฯ ในวิญญาณว่า "ขอรูป...ขอเวทนา...ขอสัญญา...ขอสังขาร...ขอวิญญาณ ของเราจงเป็น อย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย"

"ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายมีความเห็นเป็นไฉน"

"รูปเทียง หรือไม่เที่ยง (ตรัสทีละอย่าง จนถึง วิญญาณ)

"ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า"

"ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ หรือเป็นสุข"

"เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า"

"ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะเฝ้าเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา"

"ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า"

"ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล รูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ อย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ทั้งภายในและภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ทั้งที่ไกลและที่ใกล้ ทั้งหมดนั้น เธอทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันถูกต้อง (สัมมาปัญญา) ตามที่มันเป็นว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่ใช่นั่น นั่นไม่ใช่ตัวของเรา"
(สํ.ข.17/127-129/82-84)

Kiss
ถึงความจริงของสภาพธรรมที่รู้ความจริงโดยมีสติสัมปชัญญะตรงลักษณะที่กำลังปรากฏไม่มีอิริยาบท
http://www.dhammahome.com/audio/topic/10433


อ้างคำพูด:
มีสติสัมปชัญญะตรงลักษณะที่กำลังปรากฏไม่มีอิริยาบท


อิริยาบท ที่ว่า หมายถึงอะไร ยังไงถึงไม่มีอิริยาบท

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มิ.ย. 2016, 12:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
พุทธพจน์แสดงไตรลักษณ์ในกรณีขันธ์ ๕ มีตัวอย่างที่เด่น ดังนี้

"ภิกษุทั้งหลาย รูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ เป็นอนัตตา
หาก
รูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ เป็นอัตตา (ตัวตน) แล้วไซร้ มันก็จะไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ ทั้งยังจะได้ตามปรารถนา ในรูป ฯลฯ ในวิญญาณว่า "ขอรูป...ขอเวทนา...ขอสัญญา...ขอสังขาร...ขอวิญญาณ ของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย"
แต่
เพราะเหตุที่รูป ฯลฯ วิญญาณ เป็นอนัตตา
ฉะนั้น
รูป ฯลฯ วิญญาณ จึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และใครๆ ไม่อาจได้ตามความปรารถนา ในรูป ฯลฯ ในวิญญาณว่า "ขอรูป...ขอเวทนา...ขอสัญญา...ขอสังขาร...ขอวิญญาณ ของเราจงเป็น อย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย"

"ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายมีความเห็นเป็นไฉน"

"รูปเทียง หรือไม่เที่ยง (ตรัสทีละอย่าง จนถึง วิญญาณ)

"ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า"

"ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ หรือเป็นสุข"

"เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า"

"ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะเฝ้าเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา"

"ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า"

"ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล รูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ อย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ทั้งภายในและภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ทั้งที่ไกลและที่ใกล้ ทั้งหมดนั้น เธอทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันถูกต้อง (สัมมาปัญญา) ตามที่มันเป็นว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่ใช่นั่น นั่นไม่ใช่ตัวของเรา"
(สํ.ข.17/127-129/82-84)

Kiss
ถึงความจริงของสภาพธรรมที่รู้ความจริงโดยมีสติสัมปชัญญะตรงลักษณะที่กำลังปรากฏไม่มีอิริยาบท
http://www.dhammahome.com/audio/topic/10433


อ้างคำพูด:
มีสติสัมปชัญญะตรงลักษณะที่กำลังปรากฏไม่มีอิริยาบท


อิริยาบท ที่ว่า หมายถึงอะไร ยังไงถึงไม่มีอิริยาบท

Kiss
:b12:
ขณะนี้ที่กำลังอ่าน...กะพริบตา1ครั้งธัมมะ6โลกดับแต่เสมือนไีม่มีอะไรดับ...ถูกไหมคะ
อาศัยระลึกคำที่เป็นพระพุทธพจน์ที่แสดงลักษณะสภาพธรรมเช่นลักษณะธาตุดิน ไฟ ลม
เช่นดินมี2คือแข็งและอ่อน...ที่กระทบที่ตัวแข็งทั้งวันแต่ไม่เคยคิดได้...ทราบแล้วจากคลิป
รูปมีถึง 28 รูป แต่ปรากฏให้รู้ในชีวิตประจำวันเพียง 7 รูป อาศัยการฝึกกำหนดลักษณะคำนั้น
ตรงกับการปรากฏลักษณะนั้นให้เป็นการคิดและรู้ตรงกระทบแข็งพร้อมกันแข็งนั้นดับทางอื่นก็ดับ
ไม่เหลือส่วนเพราะ1ขณะที่เกิดดับมีภวังค์เหมือนอากาศแทรกคั่นไม่เหลือซากแข็งที่ปรากฏอันเก่า
และมีสภาพธรรมขณะใหม่เกิดสืบต่อมีแล้วกำลังเกิดดับทั้ง6ทางอย่างรวดเร็วสั้นแสนสั้นคิดพอทันไหม
การหมดแต่ละขณะสิ้นซากของทุกอย่างที่คิดว่ามีหมดทั้งตัวนั่นแหละค่ะหลงของไม่มีที่ปรากฏว่ามีนิดนึง
ค่อยๆฝึก ค่อยๆอบรม จึงขาดการฟังไม่ได้ ขณะฟังพระพุทธพจน์ สติจะเกิดก็เมื่อเริ่มรู้ตรงแข็งที่กำลังมี
คิดตามเหตุปัจจัยที่กำลังมีตรงคำเป็นธัมมะ1ขณะตัวตนไม่มีน๊า กว่าสติรู้ทั่ว7รูปเป็นปัญญารู้ละอิริยาบท
:b4: :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มิ.ย. 2016, 18:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
อิริยาบท


ถามสั้นๆ อิริยาบท ที่ว่า ได้แก่ (หมายถึงอะไร) อะไร เอาชัดๆ :b10: :b14:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มิ.ย. 2016, 18:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ


มีปราชญ์ฝ่ายฮินดู และฝ่ายตะวันตกหลายท่าน พยายามแสดงเหตุผลว่า พระพุทธเจ้าไม่ได้ปฏิเสธอัตตาหรืออาตมัน ใน ขั้นสูงสุด ทรงปฏิเสธแต่เพียงธรรมที่เป็นปรากฏการณ์ต่างๆ อย่างเช่นในพระสูตรนี้เป็นต้น ทรงปฏิเสธขันธ์ ๕ ทุกอย่างว่าไม่ใช่อัตตา เป็นการแสดงเพียงว่า ไม่ให้หลงผิดยึดเอาขันธ์ ๕ เป็นอัตตา เพราะอัตตาที่แท้จริงซึ่งมีอยู่นั้น ไม่ใช่ขันธ์ ๕ และยกพุทธพจน์อื่นๆ มาประกอบอีกมากมาย เพื่อแสดงว่าพระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธเฉพาะธรรมที่เป็นปรากฏการณ์ต่างๆ ว่าไม่ใช่อัตตา แต่ทรงยอมรับอัตตาในขั้นสูงสุด และพยายามอธิบายว่า นิพพานมีภาวะอย่างเดียวกับอาตมัน หรือว่านิพพานนั่นเอง คือ อัตตา เรื่องนี้ จะวิจารณ์ในตอนที่เกี่ยวกับนิพพาน

ในขั้นนี้ แค่ชี้หลักไว้ง่ายๆ คือ ความจริงก็ชัดเจนอยู่ทุกเวลาว่า สิ่งทั้งหลายมีสภาวะของมันเองอยู่แล้ว จึงย่อมมีอัตตาไม่ได้ และสิ่งทั้งหลายจะมีอยู่เป็นอยู่ตามภาวะของมันอย่างนั้นๆได้ ก็ต้องไม่มีอัตตา (ถ้ามีอัตตา สิ่งทั้งหลายก็ดำรงสภาวะของมันอยู่ไม่ได้ คือเป็นอยู่เปนไปตามภาวะของมันที่เป็นอย่างนั้นไม่ได้)

ส่วนในที่นี้กล่าวสั้นๆเพียงในแง่จริยธรรมว่า ปุถุชน โดยเฉพาะผู้ที่ได้รับการศึกษาอบรมมาในระบบความเชื่อถือเกี่ยวกับเรื่องอาตมัน ย่อมมีความโน้มเอียงในทางที่จะยึดถือหรือไขว่คว้าไว้ใหมีอัตตาในรูปหนึ่งรูป ใดให้จงได้ เป็นการสนองความปรารถนาที่แฝงอยู่ในจิตส่วนลึกที่ไม่รู้ตัว เมื่อจะต้องสูญเสียความรู้สึกว่ามีตัวตนในรูปหนึ่ง (ชั้นขันธ์ ๕) ไป ก็พยายามยึดหรือคิดสร้างเอาที่เกาะเกี่ยวอันใหม่ขึ้นไว้
แต่ตามหลักพุทธธรรมนั้น มิได้มุ่งให้ปล่อยอย่างหนึ่ง เพื่อไปยึดอีกอย่างหนึ่ง หรือพ้นอิสระจากที่หนึ่ง เพื่อตกไปเป็นทาสอีกที่หนึ่ง

อาการที่สิ่งทั้งหลายมีอยู่ในรูปกระแส มีความสัมพันธ์เนื่องอาศัยเป็นปัจจัยสืบต่อกัน และมีลักษณะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาอย่างไร ยังจะต้องอธิบายด้วยหลักปฏิจจสมุปบาทต่อไปอีก ความจึงจะชัดยิ่งขึ้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 51 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 20 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร