วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 06:36  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 52 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2016, 13:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
กระทู้นี้ น่าจะทำให้โฮฮับ อโศก คุณโรส ได้ดวงเห็นธรรม :b1: สาธุ

:b32:
คุณกรัชกายลืมธัมมะรู้ยังสัญญาไม่มั่นคงชอบทำนายผู้อื่นอีกแล้ว
ข้าพเจ้าก็บอกแล้วว่าพระพุทธเจ้าให้รู้ความจริงที่จิตตนที่มีอยู่แล้ว
:b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2016, 14:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
อ้างอิงข้างบนที่ *

* แบ่งอย่างกว้างๆ ว่านาม และรูป หรือนามธรรม กับ รูปธรรม, แต่ตามแนวอภิธรรมนิยมแบ่งเป็น ๓ คือ จิต เจตสิก และรูป ถ้าเทียบกับขันธ์ ๕ ดังแสดงแล้ว
จิต = วิญญาณขันธ์
เจตสิก = เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์
รูป = รูปขันธ์

* คำว่า "อารมณ์" หมายถึง สิ่งที่จิตรับรู้ หรือ สิ่งที่ถูกรับรู้ โดยอาศัยทวารทั้ง ๖ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ (= ความรู้สึกนึกคิด)

* อุเบกขา เป็นธรรมสำคัญยิ่งข้อหนึ่ง และมักมีผู้เข้าใจความหมายสับสนผิดพลาดอยู่เสมอ จึงควรศึกษาให้เข้าใจชัด อย่างน้อยต้องสามารถแยกอุเบกขาในหมวดสังขาร ซึงตรงกับ ตัตรมัชฌัตตตา ออกจากอุเบกขาในหมวดเวทนา ซึ่งตรงกับ อทุกขมสุข อันเป็นความรู้สึกเฉยๆ

Kiss
สรุปลงมาเหลือแค่ธาตุรู้กับธาตุไม่รู้
ธาตุรู้คือนามธรรมทั้งหมดได้แก่จิต(วิญญาณขันธ์) เจตสิก(เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์)
ธาตุไม่รู้ได้แก่รูปธรรมทั้งหมดที่ปรากฏกับมหาภูตรูปสี่ ทั้งที่มองเห็นได้ และมองไม่เห็น
มีแสง สี เสียง กลิ่น รส โอชา รูปร่างของคน สัตว์ วัตถุ สิ่งของ แม่น้ำ ป่าไม้ ฯลฯ
:b48: :b48: :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2016, 14:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
มีข้อควรทำความเข้าใจ เพื่อเห็นความหมายชัดเจนยิ่งขึ้น และเพื่อป้องกันความสับสน * ดังนี้

สัญญา * เป็นความรู้จำพวกหนึ่ง หมายถึง การหมายรู้ หรือกำหนดรู้ อาการของอารมณ์ เช่น ลักษณะทรวดทรง สี สัณฐาน ฯลฯ ตลอดจนชื่อเรียก และสมมติบัญญัติต่างๆ ว่า เขียว ขาว ดำ แดง ดัง เบา ทุ้ม แหลม อ้วน ผอม โต๊ะ ปากกา หมู หมา ปลา แมว คน เขา เรา ท่าน เป็นต้น


การหมายรู้ หรือกำหนดรู้นี้ อาศัยการเทียบเคียงระหว่างประสบการณ์หรือความรู้เก่า กับประสบการณ์หรือความรู้ใหม่ ถ้าประสบการณ์ใหม่ตรงกับประสบการณ์ เก่า เช่น พบเห็นคนหรือสิ่งของที่เคยรู้จักแล้ว ได้ยินเสียง ที่เคยได้ยินแล้ว ดังตัวอย่าง นาย ก. รู้จักนาย เขียว ต่อมาอีกเดือนหนึ่ง นาย ก. เห็นนายเขียว อีก และรู้ว่าคนที่เขาเห็นนั้นคือนายเขียว อย่างนี้เรียก ว่า จำได้

ถ้า

ประสบการณ์ใหม่ไม่ตรงกับประสบการณ์เก่า เรา ย่อมนำเอาประสบการณ์ หรือความรู้เก่าที่มีอยู่แล้วนั่นเอง มาเทียบเคียงว่าเหมือนกันและไม่ เหมือนในส่วนไหน อย่างไร แล้วหมายรู้สิ่งนั้นตามคำบอกเล่าหรือ ตามที่ตนกำหนดเอาว่า เป็นนั่น เป็นนี่ ไม่ใช่นั่น ไม่ ใช่นี่ อย่างนี้ เรียกว่า กำหนดหมาย หรือ หมายรู้


การหมายรู้เช่นนี้ ย่อมมีหลายชั้น หมายรู้ไปตามความตกลงอันเนื่องด้วย ความรู้สามัญบ้าง เช่น ว่า เขียว ขาว เหลือง แดง เป็นต้น ตามนิยม ของโลก ของสังคม ของวัฒนธรรม ประเพณี เป็นต้น บ้าง เช่นว่า อย่างนี้สุภาพ อย่างนั้นสวยงาม อย่างนั้น ถูกธรรมเนียม อย่างนี้ผิดธรรมเนียม เป็นต้น ตามนิยมปรุงแต่ง จำเพาะตนบ้าง เช่นว่า อย่างนี้สวย อย่างนั้นน่าชม อย่าง นี้น่าหมั่นไส้ เป็นต้น

หมายรู้สองชั้น (แบบ สัญลักษณ์) บ้าง เช่นว่า สีเขียวแดงหมายถึงมหาวิทยาลัยแห่ง หนึ่ง เสียงระฆังสองครั้งหมายถึงการกินอาหาร ตลอดจนตามการศึกษา อบรม ในทางธรรม เช่น หมายรู้ในภาวะที่ไม่เที่ยง หมาย รู้ในภาวะที่เป็นอนัตตา เป็นต้น มีทั้งความหมายรู้สามัญและความ หมายรู้ที่ละเอียดซับซ้อน (คือสัมพันธ์กับขันธ์อื่นมากขึ้น) มี ทั้งหมายรู้เกี่ยวกับรูปธรรม และหมายรู้เกี่ยวกับนามธรรม

คำแปล สัญญาว่า จำได้ กำหนดได้ หมายรู้ กำหนดหมาย จำหมาย สำคัญหมาย ล้วนแสดงแง่ต่างๆ แห่งความหมายของกองสัญญานี้ทั้งสิ้น


พูดเพื่อให้เข้าใจอย่างง่ายๆ สัญญาก็คือกระบวนการเรียกเก็บ รวบรวม และสั่งสมข้อมูลของการเรียนรู้ และวัตถุดิบสำหรับความคิดนั่น เอง


สัญญา เกื้อกูลแก่การดำเนินชีวิตของมนุษย์อย่างมาก แต่ในเวลาเดียวกัน ก็มีโทษมิใช่น้อย เพราะมนุษย์จะยึดติดตามสัญญา ทำให้สัญญากลายเป็นเครื่องกีดกั้นกำบังตนเอง และห่อหุ้มคลุมตัวสภาวะไว้ ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงความจริงแท้ที่อยู่ลึกลงไป


เพื่อประโยชน์แก่การศึกษาต่อไป สัญญา ขอ แยกออกคร่าวๆ เป็น ๒ ระดับ คือ สัญญาอย่างสามัญ ซึ่งกำหนดหมายอาการของอารมณ์ที่เกิดขึ้นหรือเป็นไป อยู่ตามปกติธรรมดาของมัน อย่างหนึ่ง และสัญญาสืบทอด หรือสัญญาอย่างซับซ้อน ที่บางคราวก็ใช้คำเรียกให้ต่างออกไป เฉพาะอย่างยิ่ง "ปปัญจสัญญา" อันหมายถึงสัญญาเนื่องด้วยอารมณ์ที่คิดปรุงแต่งขึ้นให้ ซับซ้อนพิสดาร ด้วยแรงผลักดันของตัณหา มานะ และ ทิฏฐิ ซึ่งเป็นสังขารชั้นนำฝ่ายร้าย อีกอย่างหนึ่ง

การแยกเช่นนี้ จะช่วยให้มองเห็นความหมายของสัญญาที่กำลังแสดงบทบาทอยู่ พร้อมทั้งความสัมพันธ์ระเหว่างสัญญากับขันธ์อื่นภายในกระบวนธรรมได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Kiss
สัญญาคือจำมี2อาการคือ
1.จำได้
2.จำไม่ได้
สภาพจำมี2อย่างทั้งฝ่ายกุศลและอกุศล
รู้จำถูกต้องตามคำสอนเป็นธัมมะฝ่ายกุศล
ลืมคำสอนจำผิดจากคำสอนเป็นธัมมะฝ่ายอกุศล
:b32:


แก้ไขล่าสุดโดย Rosarin เมื่อ 16 มิ.ย. 2016, 15:10, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2016, 14:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
วิญญาณ แปลตามแบบว่า ความรู้แจ้ง คือ รู้แจ้งอารมณ์ หมายถึง ความรู้ประเภทยืนพื้น หรือ ความรู้ที่เป็นตัวยืน เป็นฐานและเป็นทางเดินให้แก่นามขันธ์อื่นๆ เกี่ยวข้องกับนามขันธ์อื่นทั้งหมด เป็นทั้งความรู้ต้น และความรู้ตาม


ที่ว่าเป็นความรู้ต้น คือ เป็นความรู้เริ่มแรก เมื่อเห็น ได้ยิน เป็นต้น (เกิดวิญญาณขึ้น) จึงจะรู้สึกชื่นใจ หรือบีบคั้นใจ (= เวทนา) จึงจะกำหนดได้ว่าเป็นนั่นเป็นนี่ (= สัญญา) จึงจะจำนงตอบและคิดปรุงแต่งไปต่างๆ (สังขาร) เช่น เห็นท้องฟ้า (= วิญญาณ) รู้สึกสบายตาชื่นใจ (= เวทนา) หมายรู้ว่า ท้องฟ้า สีคราม สดใส ฟ้าสวย ฟ้าบ่าย ฟ้าสวย (=สัญญา) ชอบใจฟ้านั้น อยากเห็นฟ้านั้นนานๆ ไม่อยากให้เวลาผ่านไป โกรธชายคาที่บังไม่ให้เห็นฟ้านั้นเต็มที่ คิดหาวิธีจะทำให้ได้นั่งดูฟ้านั้นได้สบายๆ ชัดเจนและนานๆ ฯลฯ (= สังขาร)


ที่รู้ตาม คือรู้ตามไปตามกิจกรรมของขันธ์อื่นๆ เช่น รู้สึกสุขสบาย (= เวทนา) ก็รู้ว่าเป็นสุข (= วิญญาณ) รู้สึกบีบคั้นใจ ไม่สบาย (= เวทนา) ก็รู้ว่าเป็นทุกข์ (= วิญญาณ) หมายรู้ว่าอย่างนี้เป็นสุข อย่างนั้นเป็นทุกข์ (= สัญญา) ก็รู้ไปตามนั้น เมื่อคิดนึกปรุงแต่งตั้งเจตจำนงไปอย่างใดๆ (= สังขาร) ก็ย่อมมีความรู้ควบอยู่พร้อมกันด้วยโดยตลอด กระแสความรู้ยืนพื้น ซึ่งเกิดดับต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลาควบไปกับนามขันธ์อื่นๆ หรือกิจกรรมทุกอย่างในจิตใจ นี้เรียกว่า วิญญาณ


ลักษณะอีกอย่างหนึ่ง ที่ช่วยความเข้าใจเกี่ยวกับวิญญาณ คือ
วิญญาณ เป็นการรู้ความต่างจำเพาะ รู้ความหมายจำเพาะ หรือรู้แยกต่าง ความหมายนี้พึงเข้าใจด้วยตัวอย่าง เช่น เมื่อเห็นผืนผ้าลาย ที่ว่าเห็นนั้น แม้จะไม่ได้กำหนดหมายว่าอะไรเป็นอะไร ก็ย่อมเห็นลักษณะอาการ เช่น สีสัน เป็นต้น ซึ่งแตกต่างกันเป็นพื้นอยู่พร้อมด้วยเสร็จ นี้เป็นความรู้ขั้นวิญญาณ เพราะวิญญาณรู้เห็นความแตกต่างนั้นอยู่ สัญญาจึงหมายรู้อาการที่แตกต่างกันนั้นได้ว่า เป็นนั่น เป็นนี่ เช่น เป็นเขียว ขาว แดง เป็นต้น

หรือ

อย่างเมื่อรับประทานผลไม้ ถึงจะไม่ได้กำหนดหมายว่าเป็นรสหวาน รสเปรี้ยว ก็รู้รสที่หวาน ที่เปรี้ยวนั้น ซึ่งแตกต่างกัน และแม้ในรสที่เปรี้ยวหรือหวานด้วยกัน แม้จะไม่กำหนดหมายว่า รสเปรี้ยวมะม่วง เปรี้ยวมะปราง เปรี้ยวมะขาม เปรี้ยวมะนาว เปรี้ยวสับปะรด หรือหวานกล้วยหอม หวานกล้วยน้ำว้า หวานกล้วยไข่ หวานแอปเปิ้ล เมื่อลิ้มก็ย่อมรู้รสที่ต่างจำเพาะนั้น ความรู้อย่างนี้ คือ วิญญาณ เป็นความรู้ยืนพื้น เมื่อรู้แล้ว นามขันธ์อื่นจึงจะทำงานหรือปฏิบัติหน้าที่ได้ เช่น รู้สึกอร่อยไม่อร่อย (= เวทนา) จำได้หมายรู้ว่ารสหวานอะไร รสเปรี้ยวอะไร (= สัญญา) เป็นต้น


ส่วนในแง่ที่ว่า รู้ความหมายจำเพาะนั้น อธิบายสั้นๆว่า เมื่อเกิดวิญญาณขึ้น คือ เห็น ได้ยิน เป็นต้น ว่าที่จริงแล้วจะเป็นการเห็นการได้ยินจำเพาะบางแง่ บางความหมาย ของสิ่งที่เห็น สิ่งที่ได้ยินเท่านั้น พูดอีกอย่างหนึ่งว่า จะเป็นการเห็น การได้ยิน ตามความหมายจำเพาะแง่จำเพาะอย่างที่เราใส่ให้แก่สิ่งนั้น ทั้งนี้ สุดแต่สังขารที่เป็นปัจจัยให้วิญญาณนั้นเกิดขึ้น* (* ดู ตอนว่าด้วยปฏิจจสมุปบาท)


ตัวอย่าง เช่น ในท้องทุ่งแห่งหนึ่ง เป็นที่โล่งกว้าง มีต้นมะม่วงขึ้นอยู่ต้นเดียว เป็นต้นใหญ่มาก แต่มีผลอยู่เพียงไม่กี่ลูก และใบห่าง แทบจะอาศัยร่มเงาไม่ได้ มีชาย ๕ คน เดินทางมาถึงต้นมะม่วงนั้นในโอกาสต่างๆกัน

คนหนึ่ง วิ่งหนีสัตว์ร้าย

คนหนึ่ง กำลังหิวมาก

คนหนึ่ง ร้อนแดด กำลังต้องการร่มไม้

คนหนึ่ง กำลังหาผักผลไม้ไปขาย

คนหนึ่ง กำลังหาที่ผูกสัตว์เลี้ยงของตนเพราะจะแวะไปธุระในย่านใกล้เคียง

คนทั้ง ๕ นั้น มองเห็นต้นมะม่วงใหญ่ทุกคน แต่จะเป็นการเห็นในแง่และขอบเขตความหมายต่างๆ กัน วิญญาณเกิดขึ้นแก่ทุกคน แต่วิญญาณของแต่ละคนหาเหมือนกันไม่ เพราะแตกต่างกันไปตามเจตนาของตนๆ ต่อต้นมะม่วง ในเวลาเดียวกัน สัญญา คือ การกำหนดหมายของแต่ละคนก็จะต่างๆกันไปภายในขอบเขตแห่งความหมายที่ตนเห็นในขณะนั้นด้วย แม้เวทนาที่เกิดขึ้นก็ไม่เหมือนกัน เช่น

คนที่วิ่งหนีสัตว์ร้าย เห็นต้นมะม่วงใหญ่แล้วดีใจ เพราะเห็นเครื่องช่วยให้หนีรอดปลอดภัย

คนที่หิวมากก็ดีใจ เพราะผลมะม่วงเพียง ๓-๔ ลูก ก็จะช่วยให้ตนอิ่มพ้นอดตายได้

คนที่ร้อนแดด อาจเสียใจ เพราะผิดหวังที่ไม้ใหญ่ไม่มีร่มให้อย่างที่ควรจะเป็น

คนหาผลไม้ไปขาย ก็อาจเสียใจ เพราะผิดหวังต่อจำนวนผลไม้ทีน้อย

ส่วนคนหาที่ผูกสัตว์เลี้ยง อาจจะรู้สึกสบายใจแต่เพียงเล็กน้อย แค่โล่งใจว่า ไม่ต้องจูงสัตว์ไปหรือไปหาที่ผูกที่อื่น

:b12:
ที่เอามาอธิบายข้างบนนั้นเป็นจิตในความหมายที่รวมเจตสิกค่ะคือเป็นจิต+เจตสิกที่ข้าพเจ้าเข้าใจคือ
จิตตามพระอภิธรรมเป็นธาตุรู้ที่เป็นใหญ๋เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์ผ่านตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
เจตสิกเป็นธาตุรู้ที่จงใจปรุงแต่งอารมณ์ให้จิตเป็นกุศลหรืออกุศลคือเป็นกรรมนั่นเองเกิดดับพร้อมจิต
สภาพที่ปรุงแต่งที่เป็นเจตสิกนี้เองคือสาเหตุให้เกิดภพจิตล้วนๆไม่ปรุงแต่งเป็นกิริยาจิตเป็นจิตบริสุทธิ์
:b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2016, 14:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
กันความคิดคนสุดโต่งไปด้านเดียวหน่อย

อัตตา - อนัตตา เป็นหลักทางปัญญาที่สำคัญยิ่ง

พระพุทธศาสนาสอนเรื่องนี้ไว้ ถ้าพูดเป็นภาษาธรรมดา ก็ว่าอัตตาที่ไม่มีนั้น ใช้มันไปเถอะ ได้ประโยชน์ดีจริงๆ ท่านสอนให้พัฒนาไปจนถึงที่สุด แล้วจะประสบพบสิ่งที่เลิศประเสริฐยิ่ง แต่อัตตามีขึ้นเมื่อไรเป็นปัญหาทุกที เกิดอัตตาขึ้นมาเมื่อไรก็ยุ่งเมื่อนั้น มีปัญหา เกิดทุกข์ เกิดการกระทบกระทั่งอะไรต่างๆ

พระพุทธศาสนามีคำสอนว่าด้วยอัตตา หรือตัวตนนี้มากมาย เช่น

อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ ตนเป็นทีพึ่งของตน

อตฺตทีปา อตฺตสรณา จงมีตนเป็นเกาะ จงมีตนเป็นที่พึ่ง

อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา บัณฑิตทั้งหลายย่อมฝึกตน

สุทฺธิ อสุทฺธิ ปจฺจตฺตํ ความบริสุทธิ์ ไม่บริสุทธิ์เป็นของเฉพาะตัว

อตฺตานญฺจ ปิยํ ชญฺญา น นํ ปาเปน สํยุเช หากรู้ว่าตัวนี้เป็นที่รัก ก็ไม่ควรเอาตัวนั้นไปเกลือกกลั้วกับความชั่ว

ฯลฯ

เรื่องตัวเรื่องตนนี้ พระพุทธศาสนาสอนไว้มากมาย ในระดับตัวตนสมมตินี้ ที่มันไม่มีนี่แหละ พระพุทธศาสนาพูดเต็มที่เลย ให้ใช้ ให้ปฏิบัติ ให้พัฒนามัน จะเป็นประโยชน์ดีเหลือเกิน ท่านไม่มาเที่ยวพูดยุ่งในระดับสมมติ ว่าไม่มีอัตตา

แต่ในระดับปรมัตถ์ ท่านให้รู้เท่าทันว่าอัตตามันไม่ใช่เป็นของจริง ถ้ามันมีขึ้นมาเมื่อไร เกิดยึดถือขึ้นเมื่อไร เป็นเกิดโทษทุกที ปัญหาจะมา

จึงบอกว่า อัตตาที่ไม่มีนั้น พัฒนาไปเถิด จะประสบสิ่งที่เลิศประเสริฐยิ่ง แต่อัตตามีเมื่อไร เกิดปัญหาทุกที

อัตตาที่ไม่มีนั้น ใช้มันไปเถิดอย่างรู้กันและรู้ทัน ส่วนอัตตาที่จะมีก็ให้รู้แจ้งรู้ทัน มันจะได้ไม่เกิดขึ้นมา

ยิ่งพัฒนาอัตตาที่ไม่มีขึ้นไป อัตตาที่จะมีก็ยิ่งไม่เกิดขึ้นมา อันนี้ ก็ตีให้แตกด้วย

:b12:
อัตตาเป็นความเห็นผิดที่ยึดมั่นยึดถือมั่นคงว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เที่ยงเป็นตัวตนเราเขาสัตว์บุคคลสิ่งของ
อนัตตาเป็นความเห็นถูกต้องในสภาพธรรมที่กำหนดการปรากฏของทุกสิ่งไม่ได้ไม่เที่ยงเป็นไปตามเหตุปัจจัย
:b17: :b17:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2016, 14:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
สัญญา - วิญญาณ - ปัญญา



สัญญา วิญญาณ ปัญญา เป็นเรื่องของความรู้ทั้ง ๓ อย่าง แต่เป็นองค์ธรรมต่างข้อกัน และอยู่คนละขันธ์ สัญญาเป็นขันธ์หนึ่ง วิญญาณเป็นขันธ์หนึ่ง ปัญญาอยู่ในสังขารก็อีกขันธ์หนึ่ง สัญญา และวิญญาณได้พูดมาแล้วพอเป็นพื้นความเข้าใจ


ปัญญา * แปลกันว่า ความรอบรู้ เติมเข้าอีกว่า ความรู้ทั่ว ความรู้ชัด คือ รู้ทั่วถึงความจริงหรือรู้ตรงตามความเป็นจริง ท่านอธิบายขยายความกันออกไปต่างๆ เช่นว่า รู้เหตุรู้ผล รู้ดีรู้ชั่ว รู้ถูกรู้ผิด รู้ควรไม่ควร รู้คุณรู้โทษ รู้ประโยชน์มิใช่ประโยชน์ รู้เท่าทันสังขาร รู้องค์ประกอบ รู้เหตุปัจจัย รู้ที่ไปที่มา รู้ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งทั้งหลาย รู้ตามความเป็นจริง รู้ถ่องแท้ เข้าใจถ่องแท้ รู้เข้าใจสภาวะ รู้คิด รู้พินิจพิจารณา รู้วินิจฉัย รู้ที่จะจัดแจงจัดการหรือดำเนินการอย่างไรๆ


แปลกันอย่างง่ายๆ พื้นๆ ปัญญา คือความเข้าใจ (หมายถึงเข้าใจถูก เข้าใจชัด หรือเข้าใจถ่องแท้) เป็นการมองทะลุสภาวะหรือมองทะลุปัญหา

ปัญญาช่วยเสริมสัญญาและวิญญาณ ช่วยขยายขอบเขตของวิญญาณให้กว้างขวางออกไปและลึกซึ้งยิ่งขึ้น ส่องทางให้สัญญามีสิ่งกำหนดหมายรวมเก็บได้มากขึ้น เพราะเมื่อเข้าใจเพียงใด ก็รับรู้และกำหนดหมายในวิสัยแห่งความเข้าใจเพียงนั้น เหมือนคิดโจทย์เลขคณิตข้อหนึ่ง เมื่อยังคิดไม่ออก ก็ไม่มีอะไรให้รับรู้และกำหนดหมายต่อไปได้ ต่อเมื่อเข้าใจ คิดแก้ปัญหาได้แล้ว ก็มีเรื่องให้รับรู้ และกำหนดหมายต่อไปอีก


ปัญญา ตรงข้ามกับโมหะ ซึ่งแปลว่าความหลง ความไม่รู้ ความเข้าใจผิด สัญญาและวิญญาณหาตรงข้ามกับโมหะไม่ อาจกลายเป็นเหยื่อของโมหะไปด้วยซ้ำ เพราะเมื่อหลง เข้าใจผิดไปอย่างใดก็รับรู้และกำหนดหมายเอาไว้ผิดๆอย่างนั้น ปัญญาช่วยแก้ไขให้วิญญาณและสัญญาเดินถูกทาง


สัญญา และ วิญญาณ อาศัยอารมณ์ที่ปรากฏอยู่จึง ทำงานไปได้ สร้างภาพเห็นภาพขึ้นไปจากอารมณ์นั้น แต่ปัญญาเป็นฝ่ายจำนงต่ออารมณ์ ริเริ่มกระทำต่ออารมณ์ (เพราะอยู่ในหมวดสังขาร) เชื่อมโยงอารมณ์นั้น กับ อารมณ์นี้ กับ อารมณ์โน้นบ้าง พิเคราะห์ส่วนนั้นกับส่วนนี้กับส่วนโน้นของอารมณ์บ้าง เอาสัญญาอย่างโน้นอย่างนี้มาเชื่อมโยงกันหรือพิเคราะห์ออกไปบ้าง มองเห็นเหตุ เห็นผล เห็นความสัมพันธ์ ตลอดถึงว่าจะเอาไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร หาเรื่องมาให้วิญญาณ และสัญญารับรู้ และกำหนดหมายเอาไว้อีก



พระสารีบุตร เคยตอบคำถามเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างวิญญาณกับปัญญาว่า คนมีปัญญา รู้ (= รู้ชัด, เข้าใจ) ว่านี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ทางให้ถึงความดับทุกข์
ส่วน
วิญญาณ รู้ (= รู้แยกต่าง) ว่าเป็นสุข รู้ว่าเป็นทุกข์ รู้ว่าไม่ใช่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ แต่

ปัญญาและวิญญาณนั้น ก็เป็นองค์ธรรมที่ปนเคล้าหรือระคนกันอยู่ ไม่อาจแยกออกบัญญัติข้อแตกต่างกันได้ กระนั้นก็ตาม

ความแตกต่างก็มีอยู่ในแง่ที่ว่า ปัญญาเป็นภาเวตัพพธรรม คือ เป็นสิ่งที่ควรฝึกอบรมทำให้เจริญขึ้น ให้เพิ่มพูนแก่กล้าขึ้น ส่วน

วิญญาณเป็นปริญไญยธรรม คือ เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้หรือทำความรู้จักให้เข้าใจ รู้เท่าทันสภาวะและลักษณะของมันตามความเป็นจริง* (* ม.มู.๑๒/๔๙๔/๕๓๖)

…………..

* ปัญญา มักแปลกันว่า wisdom หรือ understanding

Kiss
วิญญาณคือจิตเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้อารมณ์ผ่านอายตนะ6
สัญญาคือเจตสิกที่เป็นสภาพรู้จำทุกอย่างเกิดร่วมกับจิตทุกขณะ
ปัญญาคือเจตสิกที่เป็นธาตุรู้ฝ่ายดีเกิดร่วมกับจิตเมื่อมีความเห็นถูกต้องตามคำสอน
ปัญญาเจตสิกเมื่อเกิดร่วมกับจิตก็ทำให้จิตมีการสะสมเป็นกุศลจิตรู้ถูกจำถูกเข้าใจถูก
:b12: :b16:


แก้ไขล่าสุดโดย Rosarin เมื่อ 16 มิ.ย. 2016, 15:17, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2016, 15:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ต่อ


ในคัมภีร์รุ่นอรรถกถา เช่น วิสุทธิมัคค์เป็นต้น อธิบายความแตกต่างระหว่างสัญญา วิญญาณ และปัญญาไว้ ว่า สัญญาเพียงรู้จักอารมณ์ว่า เขียว เหลือง เป็นต้น (คือรู้อาการของอารมณ์) ไม่อาจให้ถึงความเข้าใจลักษณะคือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาได้

วิญญาณรู้อารมณ์ว่า เขียว เหลือง เป็นต้น ได้ด้วย ทำให้ถึงความเข้าใจลักษณะคือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ได้ด้วย (คือเข้าใจตามที่ปัญญาบอก) แต่ไม่อาจส่งให้ถึงความปรากฏแห่งมรรค (คือ ให้ตรัสรู้อริยสัจไม่ได้) ส่วน

ปัญญาทั้งรู้อารมณ์ ทั้งให้ถึงความเข้าใจลักษณะ และทั้งส่งให้ถึงความปรากฏขึ้นแห่งมรรค


ท่านอุปมาเหมือนคน ๓ คน มองดูเหรียญกษาปณ์ สัญญาเปรียบ เหมือนเด็กยังไม่เดียงสา มองดูเหรียญแล้วรู้แต่รูปร่าง ยาว สั้น เหลี่ยม กลม สี และลวดลายแปลกๆ สวยงามของเหรียญนั้น ไม่รู้ว่าเป็นของที่เขาตกลงกัน ใช้เป็นสื่อการแลกเปลี่ยนซื้อขาย

วิญญาณเปรียบ เหมือนชาวบ้านเห็นเหรียญแล้วรู้ทั้งรูปร่างลวดลาย และรู้ว่าใช้เป็นสื่อการซื้อขายแลกเปลี่ยนได้ แต่ไม่รู้ซึ้งลงไปว่า เหรียญนี้แท้ เหรียญนี้ปลอม มีโลหะอะไรผสมกี่ส่วน

ปัญญาเปรียบ เหมือนเหรัญญิก ซึ่งรู้ทุกแง่ที่กล่าวมาแล้ว และรู้ชำนาญจนกระทั่งว่า จะมองดูก็รู้ ฟังเสียงเคาะก็รู้ ดม ชิม หรือเอามือชั่งดูก็รู้ รู้ตลอดไปถึงว่า เหรียญนี้ทำที่นั้นๆ ผู้ชำนาญคนนั้นๆทำ


อนึ่ง ปัญญาไม่ได้เกิดขึ้นเสมอไป บางทีมีแต่สัญญาและวิญญาณ หาได้มีปัญญาด้วยไม่ แต่คราวใดมีปัญญาเกิดร่วมด้วย กับ สัญญา และวิญญาณ คราวนั้นก็ยากที่จะแยกให้เห็นความแตกต่างจากกันและกัน


เมื่อชาลีและกัณหา เดินถอยหลังลงไปซ่อนตัวในสระน้ำ ด้วยเข้าใจว่าผู้ตามหาเห็นรอยเท้าแล้วจะเข้าใจว่า เธอทั้งสองขึ้นมาแล้วจากสระน้ำ ความคิดที่ทำเช่นนั้น ก็เรียกว่า เป็นปัญญา

ต่อมา

เมื่อพระเวสสันดรทอดพระเนตรเห็นรอยเท้าของลูกทั้งสองแล้ว ก็รู้ทันทีว่าลูกทั้งสองเดินถอยหลังไปซ่อนอยู่ในสระน้ำ เพราะมีแต่รอยเท้าเดินขึ้นอย่างเดียว ไม่มีรอยลง อีกทั้งรอยนั้นก็กดหนักทางส้นเท้า ความรู้เท่าทันนี้ก็เรียกว่าเป็นปัญญา

ในกรณีนี้จะเห็นได้ว่า ปัญญามีความรอบคอบ และลึกซึ้งกว่ากัน ซึ่งเกี่ยวพันไปถึงการที่ปัญญาใช้ประโยชน์จากสัญญาด้วย


การที่เจ้าชายสิทธัตถะ ทอดพระเนตรเห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย แล้วคำนึงเห็นความทุกข์ที่มวลมนุษย์ต้องประสบทั่วสากล และเข้าใจถึงภาวะที่สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงแท้ ล้วนเกิดขึ้นแล้วปรวนแปรและสิ้นสุดด้วยแตกดับ ควรระงับความทุกข์อันเนื่องมาจากสาเหตุนั้นเสีย ความเข้าใจนั้น ก็เรียกว่า เป็นปัญญา

เมื่อพระพุทธเจ้าจะประดิษฐานพระพุทธศาสนาในแคว้นมคธ ได้เสด็จไปโปรดพวกกัสสปชฎิล ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวมคธ ให้เลื่อมใสยอมรับคำสอนของพระองค์ก่อน พระปรีชาอันให้ดำริที่จะกระทำเช่นนั้น ก็เรียกว่า เป็นปัญญา


ปัญญาเป็นคำกลาง สำหรับความรู้ประเภทที่กล่าวแล้ว และปัญญานั้นมีหลายขั้นหลายระดับ เช่น แบ่งเป็นโลกียปัญญา โลกุตรปัญญา เป็นต้น

มีคำศัพท์หลายคำ ที่ใช้ในความหมายจำเพาะ หมายถึง ปัญญาในขั้นใดขั้นหนึ่ง ระดับใดระดับหนึ่ง แง่ใดแง่หนึ่ง หรือเนื่องด้วยกิจเฉพาะ คุณสมบัติเฉพาะหรือประโยชน์เฉพาะบางอย่าง เช่น วิปัสสนา สัมปชัญญะ ญาณ วิชชา ปริญญา อภิญญา ปฏิสัมภิทา เป็นต้น

Kiss
คำศัพท์ตัวสีแดงคือปัญญาเป็นความเห็นถูกเข้าใจถูกในสภาพธรรมที่ดับโมหะที่เป็นสักกายะทิฐิแล้วเท่านั้นค่ะ
เมื่อมีกิเลสความไม่รู้ก็เป็นความเห็นผิดเป็นวิญญาณ+สัญญา+อวิชชา=จิตจำผิดเกิดอกุศลจิตเพราะไม่รู้ค่ะ
ฟังสะสมปัญญาเจตสิกได้ทีละเล็กทีละน้อยเพราะปัญญาไม่ใช่สัญญาความจำได้มากๆแต่ไม่รู้ความจริงค่ะ
https://www.youtube.com/watch?v=wQGk3kcD0lE
:b4: :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2016, 17:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รายละเอียดบางอย่างเกี่ยวกับขันธ์ ๕ ซึ่งควรทราบไว้เป็นความรู้ประกอบเบื้องต้น ดังนี้

๑. รูป ตามแนวอภิธรรมแบ่งรูปเป็น ๒๘ อย่าง คือ

๑) มหาภูตรูป ๔ (เรียกง่ายๆว่า ธาตุ ๔) คือ ปฐวีธาตุ (สภาพที่แผ่ไปหรือกินเนื้อที่) อาโปธาตุ (สภาพที่ดึงดูดซาบซึม) เตโชธาตุ (สภาพที่แผ่ความร้อน) วาโยธาตุ (สภาพที่สั่นไหว)

๒) อุปาทายรูป (รูปอาศัยหรือรูปที่สืบเนื่องมาจากมหาภูตรูป) ๒๔ คือ ประสาททั้ง ๕ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย (จักขุ โสตะ ฆานะ ชิวหา และกาย)

อารมณ์ ๔ คือ รูป เสียง กลิ่น รส (รูปะ สัททะ คันธะ รสะ, โผฏฐัพพะไม่นับ เพราะตรงกันกับ ปฐวี เตโช และวาโย)
ความเป็นหญิง (อิตถินทรีย์) ความเป็นชาย (ปุริสินทรีย์) ที่ตั้งของจิต (หทัยวัตถุ) การแสดงให้รู้ความหมายด้วยกาย (กายวิญญัติ) การแสดงให้รู้ความหมายด้วยวาจา (วจีวิญญัติ) ชีวิตินทรีย์ ช่องว่าง (อากาศ) ความเบาของรูป (รูปสฺส ลหุตา) ความอ่อนหยุ่นของรูป (รูปสฺส มุทุตา) ภาวะที่ควรแก่การงานของรูป (รูปสฺส กมฺมญฺญตา) ความเจริญหรือขยายตัวขอบรูป (รูปสฺส อุปจย) การสืบต่อของรูป (รูปสฺส สนฺตติ) ความเสื่อมตัว (ชรตา) ความสลายตัว (อนิจฺจตา) และอาหาร (หมายถึงโอชา)
พึงสังเกตว่า คำว่า หทัยวัตถุ ซึ่งแปลกันว่าหัวใจ และถือว่าเป็นที่ทำงานของจิตนั้น เป็นมติในคัมภีร์รุ่นหลัง ไม่ปรากฏในพระไตรปิฎก

๒. เวทนา แบ่งเป็น ๓ คือ สุข (ทางกายหรือทางใจก็ตาม) ทุกข์ (ทางกายหรือทางใจก็ตาม) อทุกขมสุข (ไม่ทุกข์ไม่สุข คือ เฉยๆ บางทีเรียกว่า อุเบกขา)
อีกอย่างหนึ่ง แบ่งเป็น ๕ คือ สุข (ทางกาย) ทุกข์ (ทางกาย) โสมนัส (ดีใจ) โทมนัส (เสียใจ) อุเบกขา (เฉยๆ)
แบ่งตามทางที่เกิดเป็น ๖ คือ เวทนาเกิดจากสัมผัสทางจักขุ ทางโสตะ ทางฆานะ ทางชิวหา ทางกาย และทางมโน

๓. สัญญา แบ่งเป็น ๖ ตามทางแห่งการรับรู้ คือ

๑) รูปสัญญา ความหมายรู้รูป เช่นว่า ดำ แดง เขียว ขาว เป็นต้น

๒) สัททสัญญา ความหมายรู้เสียง เช่นว่า ดัง เบา ทุ้ม แหลม เป็นต้น

๓) คันธสัญญา ความหมายรู้กลิ่น เช่นว่า หอม เหม็น เป็นต้น

๔) รสสัญญา ความหมายรู้รส เช่นว่า หวาน เปรี้ยว ขม เค็ม เป็นต้น

๕) โผฏฐัพพสัญญา ความหมายรู้สัมผัสทางกาย เช่นว่า อ่อน แข็ง หยาบ ละเอียด ร้อน เย็น เป็นต้น

๖) ธัมมสัญญา ความหมายรู้อารมณ์ทางใจ เช่นว่า งาม น่าเกลียด เที่ยง ไม่เที่ยง เป็นต้น

๔. สังขาร ตามหลักอภิธรรม แบ่งเจตสิกเป็น ๕๒ อย่าง ถ้าเทียบกับการแบ่งแบบขันธ์ ๕ เจตสิกก็ได้แก่ เวทนา สัญญา และสังขารทั้งหมด คือ ในจำนวนเจตสิก ๕๒ นั้น เป็นเวทนา ๑ เป็นสัญญา ๑ ที่เหลืออีก ๕๐ อย่าง เป็นสังขารทั้งสิ้น สังขารขันธ์ จึงเท่ากับเจตสิก ๕๐ อย่าง ซึ่งแยกย่อยได้ ดังนี้

๑) อัญญสมานเจตสิก (เจตสิกที่เข้าได้ทั้งฝ่ายดี ฝ่ายชั่ว) ๑๑ (นับครบมี ๑๓ เพราะเวทนา และสัญญาเป็นเจตสิกหมวดนี้ แต่ไม่เป็นสังขาร จึงตัดออกไป ) คือ

(๑) สัพพจิตตสาธารณเจตสิก (เจตสิกที่เกิดกับจิตทุกดวง) ๕ คือ ผัสสะ เจตนา เอกัคคตา (สมาธิ) ชีวิตินทรีย์ มนสิการ (จำนวนเดิม มี ๗ ทั้งเวทนา กับ สัญญา)

(๒) ปกิณณกเจตสิก (เกิดกับจิตได้ทั่วๆไป ทั้งดีฝ่ายชั่ว แต่ไม่ตายตัว) ๖ คือ วิตก วิจาร อธิโมกข์ (ความปักใจ) วิริยะ ปีติ ฉันทะ

๒) อกุศลเจตสิก (เจตสิกที่เป็นอกุศล) ๑๔ คือ

(๑) อกุศลสาธารณเจตสิก (เกิดกับจิตที่เป็นอกุศลทุกดวง) ๔ คือ โลภะ อหิริกะ อโนตตัปปะ และอุทธัจจะ

(๒) ปกิณณกอกุศลเจตสิก (เกิดกับจิตที่เป็นอกุศลแต่ไม่ตายตัวทุกครั้ง) ๑๐ คือ โลภะ ทิฏฐิ มานะ โทสะ อิสสา มัจฉริยะ กุกกุจจะ ถีนะ มิทธะ และวิจิกิจฉา

๓) โสภณเจตสิก (เจตสิกดีงาม คือ เกิดกับจิตที่เป็นกุศลและอัพยากฤต) มี ๒๕ คือ

(๑) โสภณสาธารณเจตสิก (เกิดกับจิตดีงามทุกดวง) ๑๙ คือ ศรัทธา สติ หิริ โอตตัปปะ อโลภะ อโทสะ (= เมตตา) ตัตรมัชฌัตตตา (บางทีเรียกอุเบกขา) กายปัสสัทธิ (ความสงบแห่งแห่งนามกาย คือ กองเจตสิก) จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา (ความคล่องแคล่วแห่งนามกาย คือกองเจตสิก) จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา (ความซื่อตรงแห่งนามกาย คือ กองเจตสิก) จิตตุชุกตา

(๒) ปกิณณกโสภณเจตสิก (เกิดกับจิตฝ่ายดีงาม แต่ไม่ตายตัวทุกครั้ง) ๖ คือ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ (รวมเรียก วิรติเจตสิก ๓) กรุณา มุทิตา (เรียกรวมกันว่า อัปปมัญญาเจตสิก ๒) และปัญญา

ในพระสูตร (เช่น สํ.ข.17/116/74) ตามปกติ ท่านแสดงความหมายของสังขารว่า ได้แก่ เจตนา ๖ หมวด คือ
รูปสัญเจตนา
สัททสัญเจตนา
คันธสัญเจตนา
รสสัญเจตนา
โผฏฐัพพสัญเจตนา และ
ธรรมสัญเจตนา และว่า เจตจำนงหรือความคิดปรุงแต่ง เกี่ยวกับ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์

๕. วิญญาณ แบ่งตามทางที่เกิดเป็น ๖ คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ และมโนวิญญาณ (แปลตามแบบว่า ความรู้แจ้งอารมณ์ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ)

ตามแนวอภิธรรม เรียกวิญญาณขันธ์ทั้งหมดว่า "จิต" และจำแนกจิตออกไปเป็น ๘๙ หรือ ๑๒๑ ดวง คือ

ก. จำนวนตามภูมิ หรือระดับของจิต เป็นกามาวจรจิต ๕๔ รูปาวจร ๑๕ อรูปาวจรจิต ๑๓ โลกุตรจิต ๘ (แยกพิสดารเป็น ๔๐)

ข. จำแนกโดยคุณสมบัติเป็นอกุศลจิต ๑๒ กุศลจิต ๒๑ (พิสดารเป็น ๓๗) วิบากจิต ๓๖ (พิสดารเป็น ๕๒) กิริยาจิต ๒๐

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2016, 17:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กายปัสสัทธิ ความสงบระงับแห่งนามกาย, ธรรมชาติที่ทำนามกาย คือ เจตสิกทั้งหลาย ให้สงบเย็น (ข้อ ๘ ในโสภณเจตสิก ๒๕)

กายุชุกตา ความซื่อตรงแห่งนามกาย, ธรรมชาติที่ทำนามกายคือเจตสิกทั้งหลาย ให้ซื่อตรง (ข้อ ๑๘ ในโสภณเจตสิก ๒๕)

กายกัมมัญญตา ความควรแก่งานแห่งนามกาย, ธรรมชาติที่ทำนามกาย คือ เจตสิกทั้งหลาย ให้อยู่ในภาวะที่จะทำงานได้ดี (ข้อ ๑๔ ในโสภณเจตสิก ๒๕)

กายปาคุญญตา ความคล่องแคล่วแห่งนามกาย, ธรรมชาติทำนามกายคือเจตสิกทั้งหลาย ให้แคล่วคล่องว่องไว รวดเร็ว (ข้อ ๑๖ ในโสภณเจตสิก ๒๕)

กายมุทุตา ความอ่อนโยนแห่งนามกาย, ธรรมชาติทำนามกายคือเจตสิกทั้งหลาย ให้นุ่มนวลอ่อนละมุน (ข้อ ๑๒ ในโสภณเจตสิก ๒๕)

กายลหุตา ความเบาแห่งนามกาย, ธรรมชาติทำนามกายคือกองเจตสิก ให้เบา (ข้อ ๑๐ ในโสภณเจตสิก ๒๕)

จิตตกัมมัญญตา ความควรแก่การงานแห่งจิต, ธรรมชาติที่ทำจิตให้เหมาะแก่การงาน (ข้อ ๑๕ ในโสภณเจตสิก ๒๕)

จิตตุชุกตา ความซื่อตรงแห่งจิต, ธรรมชาติที่ทำให้จิตซื่อตรงต่อหน้าที่การงานของมัน (ข้อ ๑๙ ในโสภณเจตสิก ๒๕)

จิตตปาคุญญตา ความคล่องแคล่วแห่งจิต, ธรรมชาติที่ทำจิตให้สละสลวยคล่องแคล่วว่องไว (ข้อ ๑๗ ในโสภณเจตสิก ๒๕)

จิตตมุทุตา ความอ่อนแห่งจิต, ธรรมชาติทำจิตให้นุ่มนวลอ่อนละมุน (ข้อ ๑๓ ในโสภณเจตสิก ๒๕)

จิตตลหุตา ความเบาแห่งจิต, ธรรมชาติที่ทำให้จิตเบา พร้อมที่จะเคลื่อนไหวทำหน้าที่ (ข้อ ๑๑ ในโสภณเจตสิก ๒๕)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2016, 17:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จงกรม เดินไปมาอย่างมีสติควบคุม

รูปภาพ


ผู้ที่เคยปฏิบัติกัมมัฏฐาน พึงสังเกต เวลาเดินจงกรม หรือทำกิจอะไรอยู่ บางครั้งเนื้อตัวการเคลื่อนไหวร่างกาย จะรู้สึกเบาสบาย คล่องแคล่ว เป็นต้น เพราะจิตพร้อมด้วยคุณสมบัติของมันทำหน้าที่

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2016, 17:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ

ตอน ชีวิต คืออะไร (อายตนะ)

รูปภาพ

viewtopic.php?f=1&t=52608

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2016, 18:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อภิธรรม ธรรมอันยิ่ง ทั้งยิ่งเกิน (อภิอติเรก) คือ มากกว่าธรรมอย่างปกติ และยิ่งพิเศษ (อภิวิเสส) คือเหนือกว่าธรรมอย่างปกติ,
หลักและคำอธิบายธรรมที่เป็นเนื้อหาสาระแท้ๆล้วนๆ ซึ่งจัดเรียงอย่างเป็นระเบียบและเป็นลำดับจนจบความอย่างบริบูรณ์ โดยไม่กล่าวถึง ไม่อ้างอิง และไม่ขึ้นต่อบุคคล ชุมชนหรือเหตุการณ์ อันแสดงโดยเว้นบัญญัติโวหาร มุ่งตรงต่อสภาวธรรม ที่ต่อมานิยมจัดเรียกเป็นปรมัตถธรรม ๔ คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน,

เมื่อพูดว่า “อภิธรรม” บางทีหมายถึงพระอภิธรรมปิฎก
บางทีหมายถึงคำสอนในพระอภิธรรมปิฎกนั้น ตามที่นำมาอธิบายและเล่าเรียนกันสืบมา เฉพาะอย่างยิ่ง ตามแนวที่ประมวลแสดงไว้ในคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ,
บางที เพื่อให้ชัดว่าหมายถึงพระอภิธรรมปิฎก ก็พูดว่า “อภิธรรมเจ็ดคัมภีร์”

อภิธรรมปิฎก ชื่อปิฎกที่สาม ในพระไตรปิฎก, คำสอนของพระพุทธเจ้า ส่วนที่แสงพระอภิธรรม ซึ่งได้รวบรวมรักษาไว้เป็นหมวดที่สาม อันเป็นหมวดสุดท้ายแห่งพระไตรปิฎก ประกอบด้วยคัมภีร์ต่างๆ ๗ คัมภีร์ (สัตตัปปกรณะ, สดัปปกรณ์) คือ สังคณี (หรือ ธัมมสังคณี) วิภังค์ ธาตุกถา ปุคคลบัญญัติ กถาวัตถุ ยมก และปัฏฐาน, (สํ วิ ธา ปุ กะ ยะ ปะ)

อภิธัมมัตถสังคหะ คัมภีร์ประมวลความในพระอภิธรรมปิฎก สรุปเนื้อหาสาระลงในหลักใหญ่ที่นิยมเรียกกันว่า “ปรมัตถธรรม ๔ พระอนุรุทธาจารย์ แห่งมูลโสมวิหารในลังกาทวีป รจนา แต่ไม่ปรากฏเวลาชัดเจน นักปราชญ์สันนิษฐานกันต่างๆ บางท่านว่าในยุคเดียวกันหรือใกล้เคียงกับพระพุทธโฆสาจารย์ แต่โดยทั่วไปยอมรับกันว่าแต่งขึ้นไม่ก่อน พ.ศ.๑๒๕๐ และว่าน่าจะอยู่ในช่วงระหว่าง พ.ศ.๑๕๐๐ – ๑๖๕๐

อภิวินัย “วินัยอันยิ่ง” ในพระไตรปิฎก คำว่า “อภิวินัย” มักมาด้วยกันเป็นคู่กับคำว่า “อภิธรรม” และในอรรถกถา มีคำอภิบายไว้ ๒-๓ นัย เช่น
นัยหนึ่งว่า ธรรม หมายถึง พระสุตตันตปิฎก
อภิธรรม หมายถึง เจ็ดคัมภีร์ (คือ อภิธรรมเจ็ดคัมภีร์ สัตตัปปกรณะ)
วินัย หมายถึง อุภโตวิภังค์ (คือ มหาวิภังค์ หรือภิกขุวิภังค์ และภิกขุนีวิภังค์)
อภิวินัย หมายถึง ขันธกะ และปริวาร,

อีกนัยหนึ่ง ธรรม หมายถึง พระสุตตันตปิฎก
อภิธรรม หมายถึง มรรค ผล
วินัย หมายถึง วินัยปิฎกทั้งหมด
อภิวินัย หมายถึง การกำจัดกิเลสให้สงบระงับไปได้ ,
นอกจากนี้ ในพระวินัยปิฎก มีคำอธิบายเฉพาะวินัย และอภิวินัย (เช่น วินย. 8/22) วินัย หมายถึงพระบัญญัติ (คือตัวสิกขาบท)
อภิวินัย หมายถึง การแจกแจงอธิบายความแห่งพระบัญญัติ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2016, 01:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
วินัยแปลจากบาลีเป็นไทยว่านำกิเลสออก
onion onion onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2016, 07:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
Kiss
วินัย แปลจากบาลีเป็นไทยว่า นำกิเลสออก




นำออกยังไงอ่ะ :b10: อธิบายให้ฟังหน่อยสิ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2016, 08:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณโรสตอบคำถามข้างบนก่อนนะขอรับ :b14:

วินัย ระเบียบแบบแผนสำหรับฝึกฝนควบคุมความประพฤติของบุคคลให้มีชีวิตที่ดีงามเจริญก้าวหน้า และควบคุมหมู่ชนให้อยู่ร่วมกันด้วยความสงบเรียบร้อยดีงาม,
ประมวลบทบัญญัติข้อกำหนดสำหรับควบคุมความประพฤติไม่ให้เสื่อมเสีย และฝึกฝนให้ประพฤติดีงามเป็นคุณเกื้อกุลยิ่งขึ้น,
วินัย มี ๒ อย่าง คือ ๑. อนาคาริยวินัย วินัยของผู้ไม่ครองเรือน คือ วินัยของบรรพชิต หรือวินัยของพระสงฆ์ ได้แก่ การไม่ต้องอาบัติ ทั้ง ๗ หรือโดยสาระ ได้แก่ ปาริสุทธิศีล ๔
๒. อาคาริยวินัย วินัยของผู้ครองเรือน คือ วินัยของชาวบ้าน ได้แก่ การงดเว้นจากอกุศลกรรมบถ ๑๐ โดยนัยก็คือ กุศลกรรมบถ ๑๐

อ้างคำพูด:
วินัย ระเบียบแบบแผนสำหรับฝึกฝนควบคุมความประพฤติของบุคคลให้มีชีวิตที่ดีงามเจริญก้าวหน้า และควบคุมหมู่ชนให้อยู่ร่วมกันด้วยความสงบเรียบร้อยดีงาม


พูดให้เห็นภาพกว้าง

ทิ้งขยะลงถัง ก็เป็นวินัย

จัดสิ่งของภายในบ้านเรือนให้เรียบร้อย ก็เป็นวินัย

ตื่นนอนเก็บที่นอนให้เรียบร้อยก็เป็นวินัย

เข้าแถวเข้าคิวซื้อบัตรจองตั๋ว เป็นต้น ก็เป็น วินัย

ขับรถตามกฎจราจรไม่ปาดซ้ายปาดขวา ก็เป็นวินัย

ตึกนี้ห้ามเลี้ยงแมวและสุนัข ก็เรียกวินัย

ห้ามหุงต้มอาหารที่ห้องพัก ก็เรียกวินัย

ฯลฯ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 52 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 42 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron