วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 00:38  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 35 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มิ.ย. 2016, 08:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภาษาทางธรรมวันละคำสองคำ


รูปภาพ


คัดเอาศัพท์และความหมาย (สื่อ) ที่นำมาพูดมาถกเถียงกันบ่อยๆ แต่ยังเข้าใจไม่ชัด คือเข้าใจไขว่เขว :b15: :b14: :b1: ให้ศึกษาทำความเข้าใจ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มิ.ย. 2016, 08:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จิต, จิตต์ ธรรมชาติที่รู้อารมณ์, สภาพที่นึกคิด, ความคิด, ใจ, ตามหลักฝ่ายอภิธรรม จำแนกจิตเป็น ๘๙ (หรือ พิสดารเป็น ๑๒๑)

แบ่ง โดยชาติ เป็น อกุศลจิต ๑๒ กุศลจิต ๒๑ (พิสดารเป็น ๓๗) วิปากจิต ๓๖ (๕๒) และ กิริยาจิต ๒๐

แบ่ง โดยภูมิ เป็น กามาวจรจิต ๕๔ รูปาวจรจิต ๑๕ อรูปาวจรจิต ๑๒ และ โลกุตรจิต ๘ (พิสดารเป็น ๔๐)


จิตตกัมมัญญตา ความควรแก่การงานแห่งจิต, ธรรมชาติที่ทำจิตให้เหมาะแก่การใช้งาน (ข้อ ๑๕ ในโสภณเจตสิก ๒๕)

จิตตปาคุญญตา ความคล่องแคล่วแห่งจิต, ธรรมชาติที่ทำจิตให้สละสลวยคล่องแคล่วว่องไว (ข้อ ๑๗ ในโสภณเจตสิก ๒๕)

จิตตุชุกตา ความซื่อตรงแห่งจิต, ธรรมชาติที่ทำจิตให้ซื่อตรงต่อหน้าที่การงานของมัน (ข้อ ๑๙ ในโสภณเจตสิก ๒๕)

จิตมุทุตา ความอ่อนแห่งจิต, ธรรมชาติที่ทำจิตให้นุ่มนวลอ่อนละมุน (ข้อ ๑๓ ในโสภณเจตสิก ๒๕)


จิตตลหุตา ความเบาแห่งจิต, ธรรมชาติที่ทำให้จิตเบา พร้อมที่จะเคลื่อนไหวทำหน้าที่ (ข้อ ๑๑ ในโสภณเจตสิก ๒๕)

จิตตะ เอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้นไม่วางธุระ, ความคิดฝักใฝ่ไม่ปล่อยใจฟุ้งซ่านเลื่อนลอย, ความมีจิตจดจ่ออุทิศตัวอุทิศใจต่อสิ่งนั้น (ข้อ ๓ ในอิทธิบาท ๔)

จิตตสังขาร ๑. ปัจจัยปรุงแต่งจิต ได้แก่ สัญญาและเวทนา ๒. สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางใจ ได้แก่ เจตนาที่ก่อให้เกิดมโนกรรม

จิตตสันดาน การสืบต่อมาโดยไม่ขาดสายของจิต ในภาษาไทย หมายถึงพื้นความรู้สึกนึกคิดหรืออุปนิสัยใจคอที่ฝังอยู่ในส่วนลึกของจิตใจมา แต่กำเนิด (ความหมายนัยหลังนี้ มิใช่มาในบาลี)

จิตตุปบาท (จิต-ตุบ-บาท) ความเกิดขึ้นแห่งจิต หมายถึงจิตพร้อมทั้งเจตสิกที่ประกอบอยู่ด้วย ซึ่งเกิดขึ้นครั้งหนึ่งๆ, การเกิดความคิดผุดขึ้น, ความคิดที่ผุดขึ้น

จุติ "เคลื่อน" (จากภพหนึ่ง ไปสู่ภพอื่น) ตาย (ในภาษาบาลี ใช้ได้ทั่ว่ไป แต่ในภาษาไทยส่วนมากใช้แก่เทวดา) ในภาษาไทย บางทีเข้าใจและใช้กันผิดไปไกล ถึงกับเพี้ยนเป็นว่า เกิด ก็มี

จริมกจิต จิตดวงสุดท้าย ซึ่งจะดับไปเมื่อพระอรหันต์ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ได้แก่ ปรินิพพานจิต, จริมกวิญญาณ ก็เรียก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 27 มิ.ย. 2016, 11:02, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มิ.ย. 2016, 09:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เจตสิก ธรรมที่ประกอบกับจิต, อาการหรือคุณสมบัติต่างๆของจิต เช่น ความโลภ ความโกรธ ความหลง ศรัทธา เมตตา สติ ปัญญา เป็นต้น มี ๕๒ อย่าง จัดเป็น อัญญสมานเจตสิก ๑๓ อกุศลเจตสิก ๑๔ โสภณเจตสิก ๒๕,

ถ้าจัดโดยขันธ์ ๕ เจตสิก ก็คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นั่นเอง

(แก้เป็น ๕๒ แล้ว พิมพ์ตัวเลขผิด 13+14+25=52)

เจตสิกสุข สุขทางใจ, ความสบายใจแช่มชื่นใจ

สุข ความสบาย, ความสำราญ, ความฉ่ำชื่นรื่นกายรื่นใจ มี ๒ คือ กายิกสุข สุขทางกาย ๒. เจตสิกสุข สุขทางใจ, อีกหมวดหนึ่ง มี ๒ คือ ๑. สามิสสุข สุขอิงอามิส คืออาศัยกามคุณ ๒. นิรามิสสุข สุขไม่อิงอามิส คือ อิงเนกขัมมะ หรือ สุขที่เป็นอิสระ ไม่ขึ้นต่อวัตถุ (ท่านแบ่งเป็นคู่ๆ อย่างนี้อีกหลายหมวด)

เจโตวิมุตติ ความหลุดพ้นแห่งจิต, การหลุดพ้นจากกิเลสด้วยอำนาจการฝึกจิตหรือด้วยกำลังสมาธิ เช่น สมาบัติ ๘ เป็นเจโตวิมุตติอันละเอียดประณีต (สันตเจโตวิมุตติ)

เจริญวิปัสสนา ปฏิบัติวิปัสสนา, บำเพ็ญวิปัสสนา, ฝีกอบรมปัญญาโดยพิจารณาสังขาร คือ รูปธรรมและนามธรรมทั้งหมดแยกออกเป็นขันธ์ๆ


จักร ล้อ, ล้อรถ, ธรรมนำชีวิตไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง ดุจล้อนำรถไปสู่ที่หมาย มี ๔ อย่าง คือ

๑. ปฏิรูปเทสวาสะ อยู่ในถิ่นที่เหมาะ

๒. สัปปุริสูปัสสยะ สมาคมกับคนดี

๓. อัตตสัมมาปณิธิ ตั้งตนไว้ชอบ

๔. ปุพเพกตปุญญตา ได้ทำความดีไว้ก่อน

จักรธรรม ธรรมเปรียบด้วยล้อรถ ซึ่งจะนำไปสู่ความเจริญ หรือให้ถึงจุดมุ่งหมาย มี ๔ อย่าง ดู จักร

จริต ความประพฤติ, บุคคลผู้มีพื้นนิสัยหรือพื้นเพจิตใจที่หนักไปด้านใดด้านหนึ่ง แตกต่างกันไป จำแนกเป็น ๖ ตามจริยา ๖

จริยา ๑. ความประพฤติ, การครองตน, การดำเนินชีวิต ๒. ลักษณะความประพฤติ หรือการแสดงออกที่เป็นพื้นประจำตัว, พื้นจิตพื้นนิสัยของแต่ละบุคคลที่หนักไปด้านนั้นด้านนี้ แตกต่างกันไป ท่านแสดงไว้ ๖ อย่าง (เช่น วิสุทธิ. 1/127) คือ ราคจริยา โทสจริยา โมหจริยา สัทธาจริยา พุทธิจริยา
บุคคลมีจริยาอย่างใด ก็เรียกว่าเป็นจริตอย่างนั้น เช่น ผู้มีราคจริยา ก็เป็นราคจริต, ในภาษาไทย นิยมใช้คำว่า "จริต" และมักเข้าใจความหมายของจริตเป็นจริยา

จักขุวิญญาณ ความรู้ที่เกิดขึ้นเพราะรูปกระทบตา, รูปกระทบตา เกิดความรู้ขึ้น, การเห็น (ข้อ ๑ ในวิญญาณ ๖)

จักขุสัมผัส อาการที่ ตา รูป และจักขุวิญญาณประจวบกัน

จักขุสัมผัสสชาเวทนา เวทนาที่เกิดขึ้น เพราะจักขุสัมผัส, ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเพราะการที่ ตา รูป และจักขุวิญญาณประจวบกัน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 30 ก.ค. 2016, 17:26, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2016, 05:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จตุธาตุววัตถาน การกำหนดธาตุ ๔ คือ พิจารณาร่างกายนี้ แยกแยะออกไปมองเห็นแต่ส่วนประกอบต่างๆ ที่จัดเข้าในธาตุ ๔ คือ ปฐวี อาโป เตโช วาโย ทำให้รู้ภาวะความเป็นจริงของร่างกายว่า เป็นเพียงธาตุ ๔ ประชุมกันเข้าเท่านั้น ไม่เป็นตัวสัตว์บุคคลที่แท้จริง

เจ้าหน้าที่ทำการสงฆ์ ภิกษุผู้ได้รับสมมติ คือ แต่งตั้งจากสงฆ์ (ด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา) ให้ทำหน้าที่ต่างๆ เกี่ยวกับการของส่วนรวมในวัด ตามพระวินัยแบ่งไว้เป็น ๕ ประเภท คือ

๑. เจ้าอธิการแห่งจีวร
๒. เจ้าอธิการแห่งอาหาร
๓. เจ้าอธิการแห่งเสนาสนะ
๔. เจ้าอธิการแห่งอาราม
๕. เจ้าอธิการแห่งแห่งคลัง


เจ้าอธิการ ๑. (ดู อธิการ) ๒. เจ้าหน้าที่, ผู้ได้รับมอบหมายหรือแต่งตั้งให้มีหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องราวหรือกิจการนั้นๆ

อธิการ ๑ “ตัวการ” ตัวทำการ, เจ้าการ, เจ้ากรณี, เจ้าของเรื่อง, เรื่องหรือกรณีที่กำลังพิจารณา, เรื่องที่เกี่ยวข้อง, เรื่องที่เป็นข้อสำคัญ หรือที่เป็นข้อพิจารณา, ส่วนหรือตอนที่ว่าด้วยเรื่องนั้นๆ เช่น “ในอธิการนี้” หมายความว่า ในเรื่องนี้หรือในตอนนี้
๒. “การอันยิ่ง” ๑) การทำความดีที่ยิ่งใหญ่หรืออย่างพิเศษ, บุญหรือคุณความดีสำคัญที่ได้บำเพ็ญมา, ความประพฤติปฏิบัติที่เคยประกอบไว้หรือการอันได้บำเพ็ญมาแต่กาลก่อน หรือที่ได้สั่งสมตระเตรียมเป็นทุนไว้ เช่น “พระเถระนั้น เป็นผู้มีอธิการอันได้ทำไว้ ในสมถะและวิปัสสนา” ๒) การอันสำคัญหรือที่ทำอย่างจริงจัง อันเป็นการแสดงความเคารพรักนับถือ หรือเกื้อกูลตลอดจนโปรดปราน เช่น การบูชา การช่วยเหลือที่สำคัญ การทำความดี ความชอบ การให้รางวัล
๓. “การทำให้เกิน” “การทำให้เพิ่มขึ้น” การเติมคำหรือข้อความที่ละไว้ หรือใส่เพิ่มเข้ามาเพื่อให้ได้คามหมายครบถ้วน, คำ หรือข้อความที่เติมหรือใส่เพิ่มเข้ามาเช่นนั้น, คำ หรือข้อความที่จะต้องนำไปเติมหรือใส่เพิ่มในที่นั้นๆ เพื่อให้เข้าใจความหมาย หรือได้กฎเกณฑ์ที่จะปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วน
๔. อำนาจ, ตำแหน่ง, หน้าที่, กิจการ, ภาระ

มีธรรมเนียมเรียกเจ้าอาวาสที่ไม่เป็นเปรียญและไม่มีสมณศักดิ์อย่างอื่นว่า พระอธิการ และเรียกเจ้าคณะตำบล หรือพระอุปัชฌาย์ ที่ไม่เป็นเปรียญและไม่มีสมณศักดิ์อย่างอื่นว่า เจ้าอธิการ , ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากความในวรรคสุดท้ายของมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. ๑๒๑ ว่า “อนึ่ง เจ้าอาวาสทั้งปวงนั้น ถ้าไม่ได้อยู่ในสมณศักดิ์ที่สูงกว่า ก็ให้มีสมณศักดิ์เป็นอธิการ ซึ่งมีเชิงอรรถใต้มาตรา อันเป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส กำกับไว้ด้วยว่า “(๑๕) เจ้าอาวาส เป็นพระอธิการ รองแขวงที่เรียกอีกโวหารหนึ่งว่าเจ้าคณะหมวด เป็นเจ้าอธิการ ในบัดนี้พระอุปัชฌาย์ก็เป็นเจ้าอธิการเหมือนกัน”

เจ้าอธิการแห่งแห่งคลัง ภิกษุที่สงฆ์สมมติ คือแต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับคลังเก็บพัสดุของสงฆ์ มี ๒ อย่าง คือ ผู้รักษาคลังที่เก็บพัสดุของสงฆ์ (ภัณฑาคาริก) และผู้จ่ายของเล็กน้อยให้แก่ภิกษุทั้งหลาย (อัปปมัตตวิสัชกะ)

เจ้าอธิการแห่งจีวร ภิกษุที่สงฆ์สมมติ คือแต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับจีวร มี ๓ อย่าง คือ ผู้รับจีวร (จีวรปฏิคาหก) ผู้เก็บจีวร (จีวรนิทหก) ผู้แจกจีวร (จีวรภาชก)

เจ้าอธิการแห่งเสนาสนะ ภิกษุที่สงฆ์สมมติ คือแต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับเสนาสนะ แยกเป็น ๒ คือ ผู้แจกเสนาสนะให้ภิกษุถือ (เสนาสนคาหาปก) และผู้จัดตั้งเสนาสนะ (เสนาสนปัญญาปก)

เจ้าอธิการแห่งอาราม ภิกษุที่สงฆ์สมมติ คือแต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับกิจการงานของวัด แยกเป็น ๓ คือ ผู้ใช้คนงานวัด (อารามิกเปสก) ผู้ใช้สามเณร (สามเณรเปสก) และผู้ดูแลการปลูกสร้าง (นวกัมมิก)

เจ้าอธิการแห่งอาหาร ภิกษุที่สงฆ์สมมติ คือแต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับอาหาร มี ๔ อย่าง คือผู้จัดแจกภัต (ภัตตุเทสก์) ผู้แจกยาคู (ยาคุภาชก) และ ผู้แจกของเคี้ยว (ขัชชภาชก)

เจ้าอาวาส สมภารวัด, หัวหน้าสงฆ์ในวัด มีอำนาจ และหน้าที่ปกครองดูแลอำนวยกิจากรทุกอย่างเกี่ยวกับวัด

สมมติ รู้ร่วมกัน, ตกลงกัน, การมีมติร่วมกัน หรือยอมรับร่วมกัน, การที่สงฆ์ประชุมกันตกลงมอบหมาย หรือแต่งตั้งภิกษุให้ทำกิจ หรือเป็นเจ้า หน้าที่ในเรื่องอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น สมมติภิกษุเป็นผู้ให้โอวาทภิกษุณี สมมติภิกษุเป็นภัตตุเทศก์ เป็นต้น ในภาษาไทย ในความหมายว่า ตกลงกันว่า ต่างว่า

สมมติสัจจะ จริงโดยสมมติ คือ โดยความตกลงหมายรู้ร่วมกัน เช่น นาย ก. นาย ข. ช้าง ม้า มด โต๊ะ หนังสือ พ่อ แม่ ลูก เพื่อน เป็นต้น ซึ่งเมื่อกล่าวตามสภาวะ หรือโดยปรมัตถ์แล้ว ก็เป็นเพียงสังขาร หรือนามรูป หรือ ขันธ์ ๕ เท่านั้น ตรงข้ามกับ ปรมัตถสัจจะ

จักกวัตติสูตร ชื่อสูตรที่ ๓ แห่งทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค พระสุตตันปิฎก พระพุทธเจ้าตรัสสอน ภิกษุทั้งหลายให้พึ่งตน คือ พึ่งธรรม ด้วยการเจริญสติปัฏฐาน ๔ ซึ่งจะทำให้ได้ชื่อว่าเป็นผู้ดำเนินอยู่ในแดนของตนเองที่สืบมาแต่บิดา จะมีแต่ความดีงามเจริญขึ้น ไม่เปิดช่องให้แก่มาร เช่นเดียวกับพระเจ้าจักรพรรดิที่ทรงประพฤติตามหลักจักรวรรดิวัตร อันสืบกันมาแต่บรรพชนของพระองค์ ย่อมทำให้จักรรัตนะบังเกิดขึ้นมาเอง,

จักรพรรดิวัตร นั้นมี ๔ ข้อใหญ่ ใจความว่า

๑. พระเจ้าจักรพรรดิเป็นธรรมาธิปไตย และจัดการคุ้มครองป้องกันโดยชอบธรรมแก่ชนทุกหมู่เหล่าในแผ่นดิน ตลอดไปถึงสัตว์ที่ควรสงวนพันธ์ทั้งหลาย

๒. มิให้มีการอันอธรรม เกิดขึ้นในแผ่นดิน

๓. ปันทรัพย์เฉลี่ยให้แก่ผู้ไร้ทรัพย์

๔. ปรึกษาสอบถามการดีชั่ว ข้อความและไม่ควรประพฤติ กะสมณพราหมณ์ ผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบอยู่เสมอ

จักรพรรดิ วัตร ๔ ข้อนี้ บางทีจัดเป็น ๕ โดยแยกข้อ ๑ เป็น ๒ ข้อ คือ เป็นธรรมาธิปไตย ถือธรรมเป็นใหญ่อย่างหนึ่ง กับ จัดการคุ้มครองป้องกันอันชอบธรรม อย่างหนึ่ง

นอกนั้น สมัยต่อมา อรรถกถาจัดแบ่งซอยออกไป และเพิ่มเข้ามาอีก รวมเป็น ๑๒ ข้อ เรียกว่า จักรพรรดิวัตร ๑๒

พระสูตรนี้ ถือว่าเป็นคำสอนแสดงหลักวิวัฒนาการของสังคมตามแนวจริยธรรมกล่าวถึงหลักการ ปกครอง และหลักความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจ กับ จริยธรรม เรื่อง พระศรีอารยเมตไตร ก็มีต้นเค้ามาจากพระสูตรนี้


ธรรมาธิปไตย ถือ ธรรมเป็นใหญ่ , ถือหลักการ ความจริง ความถูกต้อง ความดีงาม และเหตุผลเป็นใหญ่ ทำการด้วยปัญญา โดยเคารพหลักการ กฎ ระเบียบ กติกา มุ่งเพื่อความดีงาม ความจริง ความชอบธรรมเป็นประมาณ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2016, 19:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2016, 21:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
เจตสิก ธรรมที่ประกอบกับจิต, อาการหรือคุณสมบัติต่างๆของจิต เช่น ความโลภ ความโกรธ ความหลง ศรัทธา เมตตา สติ ปัญญา เป็นต้น มี ๕๐ อย่าง จัดเป็น อัญญสมานเจตสิก ๑๓ อกุศลเจตสิก ๑๔ โสภณเจตสิก ๒๕, ถ้าจัดโดยขันธ์ ๕ เจตสิก ก็คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นั่นเอง

เจตสิกสุข สุขทางใจ, ความสบายใจแช่มชื่นใจ

สุข ความสบาย, ความสำราญ, ความฉ่ำชื่นรื่นกายรื่นใจ มี ๒ คือ กายิกสุข สุขทางกาย ๒. เจตสิกสุข สุขทางใจ, อีกหมวดหนึ่ง มี ๒ คือ ๑. สามิสสุข สุขอิงอามิส คืออาศัยกามคุณ ๒. นิรามิสสุข สุขไม่อิงอามิส คือ อิงเนกขัมมะ หรือ สุขที่เป็นอิสระ ไม่ขึ้นต่อวัตถุ (ท่านแบ่งเป็นคู่ๆ อย่างนี้อีกหลายหมวด)

เจโตวิมุตติ ความหลุดพ้นแห่งจิต, การหลุดพ้นจากกิเลสด้วยอำนาจการฝึกจิตหรือด้วยกำลังสมาธิ เช่น สมาบัติ ๘ เป็นเจโตวิมุตติอันละเอียดประณีต (สันตเจโตวิมุตติ)

เจริญวิปัสสนา ปฏิบัติวิปัสสนา, บำเพ็ญวิปัสสนา, ฝีกอบรมปัญญาโดยพิจารณาสังขาร คือ รูปธรรมและนามธรรมทั้งหมดแยกออกเป็นขันธ์ๆ


จักร ล้อ, ล้อรถ, ธรรมนำชีวิตไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง ดุจล้อนำรถไปสู่ที่หมาย มี ๔ อย่าง คือ

๑. ปฏิรูปเทสวาสะ อยู่ในถิ่นที่เหมาะ

๒. สัปปุริสูปัสสยะ สมาคมกับคนดี

๓. อัตตสัมมาปณิธิ ตั้งตนไว้ชอบ

๔. ปุพเพกตปุญญตา ได้ทำความดีไว้ก่อน

จักรธรรม ธรรมเปรียบด้วยล้อรถ ซึ่งจะนำไปสู่ความเจริญ หรือให้ถึงจุดมุ่งหมาย มี ๔ อย่าง ดู จักร

จริต ความประพฤติ, บุคคลผู้มีพื้นนิสัยหรือพื้นเพจิตใจที่หนักไปด้านใดด้านหนึ่ง แตกต่างกันไป จำแนกเป็น ๖ ตามจริยา ๖

จริยา ๑. ความประพฤติ, การครองตน, การดำเนินชีวิต ๒. ลักษณะความประพฤติ หรือการแสดงออกที่เป็นพื้นประจำตัว, พื้นจิตพื้นนิสัยของแต่ละบุคคลที่หนักไปด้านนั้นh
จักขุวิญญาณ ความรู้ที่เกิดขึ้นเพราะรูปกระทบตา, รูปกระทบตา เกิดความรู้ขึ้น, การเห็น (ข้อ ๑ ในวิญญาณ ๖)

จักขุสัมผัส อาการที่ ตา รูป และจักขุวิญญาณประจวบกัน

จักขุสัมผัสสชาเวทนา เวทนาที่เกิดขึ้น เพราะจักขุสัมผัส, ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเพราะการที่ ตา รูป และจักขุวิญญาณประจวบกัน

tongue
อ้างคำพูด:
เจตสิก ธรรมที่ประกอบกับจิต, อาการหรือคุณสมบัติต่างๆของจิต เช่น ความโลภ ความโกรธ ความหลง ศรัทธา เมตตา สติ ปัญญา เป็นต้น มี ๕๐ อย่าง จัดเป็น อัญญสมานเจตสิก ๑๓ อกุศลเจตสิก ๑๔ โสภณเจตสิก ๒๕, ถ้าจัดโดยขันธ์ ๕ เจตสิก ก็คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นั่นเอง

:b12:
ุถามว่าเจตสิกมี50หรือ52ประเภทเขียนผิดหรือเปล่าเขียนว่ามี 50 อย่างค่ะ
:b44:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2016, 07:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
เจตสิก ธรรมที่ประกอบกับจิต, อาการหรือคุณสมบัติต่างๆของจิต เช่น ความโลภ ความโกรธ ความหลง ศรัทธา เมตตา สติ ปัญญา เป็นต้น มี ๕๐ อย่าง จัดเป็น อัญญสมานเจตสิก ๑๓ อกุศลเจตสิก ๑๔ โสภณเจตสิก ๒๕, ถ้าจัดโดยขันธ์ ๕ เจตสิก ก็คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นั่นเอง

เจตสิกสุข สุขทางใจ, ความสบายใจแช่มชื่นใจ

สุข ความสบาย, ความสำราญ, ความฉ่ำชื่นรื่นกายรื่นใจ มี ๒ คือ กายิกสุข สุขทางกาย ๒. เจตสิกสุข สุขทางใจ, อีกหมวดหนึ่ง มี ๒ คือ ๑. สามิสสุข สุขอิงอามิส คืออาศัยกามคุณ ๒. นิรามิสสุข สุขไม่อิงอามิส คือ อิงเนกขัมมะ หรือ สุขที่เป็นอิสระ ไม่ขึ้นต่อวัตถุ (ท่านแบ่งเป็นคู่ๆ อย่างนี้อีกหลายหมวด)

เจโตวิมุตติ ความหลุดพ้นแห่งจิต, การหลุดพ้นจากกิเลสด้วยอำนาจการฝึกจิตหรือด้วยกำลังสมาธิ เช่น สมาบัติ ๘ เป็นเจโตวิมุตติอันละเอียดประณีต (สันตเจโตวิมุตติ)

เจริญวิปัสสนา ปฏิบัติวิปัสสนา, บำเพ็ญวิปัสสนา, ฝีกอบรมปัญญาโดยพิจารณาสังขาร คือ รูปธรรมและนามธรรมทั้งหมดแยกออกเป็นขันธ์ๆ


จักร ล้อ, ล้อรถ, ธรรมนำชีวิตไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง ดุจล้อนำรถไปสู่ที่หมาย มี ๔ อย่าง คือ

๑. ปฏิรูปเทสวาสะ อยู่ในถิ่นที่เหมาะ

๒. สัปปุริสูปัสสยะ สมาคมกับคนดี

๓. อัตตสัมมาปณิธิ ตั้งตนไว้ชอบ

๔. ปุพเพกตปุญญตา ได้ทำความดีไว้ก่อน

จักรธรรม ธรรมเปรียบด้วยล้อรถ ซึ่งจะนำไปสู่ความเจริญ หรือให้ถึงจุดมุ่งหมาย มี ๔ อย่าง ดู จักร

จริต ความประพฤติ, บุคคลผู้มีพื้นนิสัยหรือพื้นเพจิตใจที่หนักไปด้านใดด้านหนึ่ง แตกต่างกันไป จำแนกเป็น ๖ ตามจริยา ๖

จริยา ๑. ความประพฤติ, การครองตน, การดำเนินชีวิต ๒. ลักษณะความประพฤติ หรือการแสดงออกที่เป็นพื้นประจำตัว, พื้นจิตพื้นนิสัยของแต่ละบุคคลที่หนักไปด้านนั้นh
จักขุวิญญาณ ความรู้ที่เกิดขึ้นเพราะรูปกระทบตา, รูปกระทบตา เกิดความรู้ขึ้น, การเห็น (ข้อ ๑ ในวิญญาณ ๖)

จักขุสัมผัส อาการที่ ตา รูป และจักขุวิญญาณประจวบกัน

จักขุสัมผัสสชาเวทนา เวทนาที่เกิดขึ้น เพราะจักขุสัมผัส, ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเพราะการที่ ตา รูป และจักขุวิญญาณประจวบกัน

tongue
อ้างคำพูด:
เจตสิก ธรรมที่ประกอบกับจิต, อาการหรือคุณสมบัติต่างๆของจิต เช่น ความโลภ ความโกรธ ความหลง ศรัทธา เมตตา สติ ปัญญา เป็นต้น มี ๕๐ อย่าง จัดเป็น อัญญสมานเจตสิก ๑๓ อกุศลเจตสิก ๑๔ โสภณเจตสิก ๒๕, ถ้าจัดโดยขันธ์ ๕ เจตสิก ก็คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นั่นเอง

:b12:
ุถามว่าเจตสิกมี50หรือ52ประเภทเขียนผิดหรือเปล่าเขียนว่ามี 50 อย่างค่ะ
:b44:



มี 52 แต่เมื่อจัดเวทนา กับ สัญญา ไปเป็นขันธ์ เสีย 2 จึงเหลือ 50

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2016, 11:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เจตนา ความตั้งใจ, ความมุ่งใจหมายจะทำ, เจตจำนง, ความจำนง, ความจงใจ, เป็นเจตสิกที่เกิดกับจิตทุกดวง เป็นตัวนำในการคิดปรุงแต่ง่ หรือเป็นตัวการในการทำกรรม หรือกล่าวได้วาเป็นตัวกรรมทีเดียว ดังพุทธพจน์ว่า "เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ" แปลว่า "เรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม"

เจตนา ๓ คือ เจตนาใน ๓ กาล ซึ่งใช้เป็นข้อพิจารณาในเรื่องกรรม และการให้ผลของกรรม ได้แก่ ๑. ปุพพเจตนา เจตนาก่อนจะทำ ๒. สันนิฏฐาปกเจตนา เจตนาอันให้สำเร็จในการทำ หรือให้สำเร็จความมุ่งหมาย ๓. อปรเจตนา เจตนา สืบเนื่องต่อๆไปจากการกระทำนั้น (อปราปรเจตนา ก็เรียก)

เจตนา ๓ นี้ เป็นคำในชั้นอรรถกถา แต่ก็โยงกับพระไตรปิฎก โดยเป็นการสรุปความในพระไตรปิฎกบ้าง เป็นการสรรถ้อยคำที่จะใช้อธิบายหลักกรรมตามพระไตรปิฎกนั้นบ้าง เฉพาะอย่างยิ่ง ใช้แนะนำเป็นหลักในการที่จะทำบุญ คือ กรรมทีดี ให้ได้ผลมาก และมักเน้นในเรื่องทาน (แต่ในเรื่องทานนี้ เจตนาที่ ๒ ท่านมักเรียกว่า "มุญจนเจตนา" เพื่อให้ชัดว่าเป็นความตั้งใจในขณะให้ทานจริงๆ คือขณะที่ปล่อยของออกไป แทนที่จะใช้ว่าสันนิฏฐาปกเจตนา หรือความจงใจอันให้สำเร็จการกระทำ ซึ่งในหลายกรณี ไม่ตรงกับเวลาขอเหตุการณ์ เช่น คนที่ทำบาปโดยขุดหลุมดักให้คนอื่นตกลงไปตาย เมื่อคนตกลงไปตายสมใจ เจตนาที่ลุผลให้ขุดหลุมดักสำเร็จในวันก่อน เป็นสันนิฏฐาปกเจตนา) ดังที่ท่านสอนว่า

ควรถวายทานหรือให้ทานด้วยเจตนาในการให้ ที่ครบทั้ง ๓ กาล คือ

๑. ก่อนให้ มีใจยินดี (ปุพพเจตนา หรือ บุพเจตนา)

๒. ขณะให้ทำใจให้ผ่องใส (มุญจนเจตนา)

๓. ให้แล้ว ชื่นชมปลื้มใจ (อปรเจตนา)

คำอธิบายของอรรถกถานี้ ก็อ้างพุทธพจน์ในพระไตรปิฎกนั่นเอง โดยเฉพาะหลักเรื่องทักขิณาที่พร้อมด้วยองค์ ๖ อันมีผลยิ่งใหญ่ ซึ่งในด้านทายก หรือทายิกา คือฝ่ายผู้ให้ มีองค์ ๓ ดังที่ พระพุทธเจ้าตรัสในเรื่องการถวายทาน ของเวฬุกัณฎกีนันทมารดา (องฺ.ฉกฺก.22/308/375) ว่า "ปุพฺเพว ทานา สุมโน โหติ ก่อนให้ ก็ดีใจ, ททํ จิตฺตํ ปสาเทติ กำลังให้อยู่ ก็ทำจิตให้ผุดผ่องเลื่อมใส, ทตฺวา อตฺตมโน โหติ ครั้นให้แล้ว ก็ชื่นชมปลื้มใจ"


(เจตนา ก็เป็นสังขาร คือจัดอยู่ในสังขารขันธ์)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2016, 11:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

จงกรม เดินไปมาโดยมีสติกำกับ


จิตตวิสุทธิ ความหมดจดแห่งจิต, คือ ได้ฝึกอบรมจิตจนเกิดสมาธิพอเป็นบาทฐานแห่งวิปัสสนา


จตุปัจจัย เครื่องอาศัยของชีวิต หรือสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิต ๔ อย่าง คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานเภสัช (เครื่องนุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่ ยา)


จริยธรรม “ธรรมคือความประพฤติ” “ธรรมคือการดำเนินชีวิต” หลักความประพฤติ, หลักการดำเนินชีวิต, ๑. ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม หรือ กฎศีลธรรม (ความหมายตามบัญญัติสมัยปัจจุบัน ซึ่งกำหนดให้ จริยธรรม เป็นคำแปลสำหรับคำภาษาอังกฤษว่า ethics) ๒. จริยะ (หรือ จริยธรรม) อันประเสริฐ เรียกว่า พรหมจริยะ (พรหมจริยธรรม หรือ พรหมจรรย์) แปลว่า “ความประพฤติอันประเสริฐ” หรือ การดำเนินชีวิตอย่างประเสริฐ หมายถึง มรรคมีองค์ ๘ หรือ ศีล สมาธิ ปัญญา เทียบ ศีลธรรม

ศีลธรรม ความประพฤติที่ดีงามทางกายวาจา, ความประพฤติที่ดีที่ชอบ, ความสุจริตทางกายวาจา และอาชีวะ, โดยทางศัพท์ ศีลธรรม แปลว่า "ธรรมคือศีล" หมายถึงธรรมขั้นศีล หรือธรรมในระดับศีล เพราะศีลเป็นธรรมอย่างหนึ่ง ในบรรดาธรรมภาคปฏิบัติ ๓ อย่างคือ ศีล สมาธิ และปัญญา

ดังนั้น ต่อจากธรรมขั้นศีล จึงมีธรรมขั้นสมาธิ และธรรมขั้นปัญญา , ได้มีผู้พยายามแปล ศีลธรรม อีกอย่างหนึ่งว่า "ศีล และธรรม" (ถ้าแปลให้ถูกต้องจริงต้องว่า ศีลและธรรมอื่นๆ นอกจากศีล เช่น สมาธิ และปัญญา เพราะศีลก็เป็นธรรมอย่างหนึ่ง) ถ้าแปลอย่างนี้ จะต้องเข้าใจว่า ศีลธรรม มิใช่เป็นเพียงความประพฤติดีงามเท่านั้น แต่รวมถึงสมถะวิปัสสนา ขันธ์ ๕ ปฏิจจสมุปบาท ไตรลักษณ์ เป็นต้นด้วย


จัณฑาล ลูกต่างวรรณะ เช่น บิดาเป็นศูทร มาดเป็นพราหมณ์ มีลูกออกมา เรียก จัณฑาล ถือว่าเป็นคนต่ำทราม ถูกเหยียดหยามที่สุดในระบบวรรณะของศาสนาพราหมณ์ (ฮินดู ในปัจจุบัน)

จิตตานุปัสสนา สติพิจารณาใจที่เศร้าหมองหรือผ่องแผ้วเป็นอารมณ์ว่า ใจนี้ก็สักว่าใจ ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา กำหนดรู้จิตตามสภาพที่เป็นอยู่ในขณะนั้นๆ เช่น จิตมีราคะ โทสะ โมหะ ก็รู้ว่า จิต มี ราคะ โทสะ โมหะ จิตปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ก็รู้ว่า จิตปราศจากราคะ โทสะ โมหะ (ข้อ ๓ ในสติปัฏฐาน ๔)


เจโตวิมุตติ ความหลุดพ้นแห่งจิต, การหลุดพ้นจากกิเลสด้วยอำนาจการฝึกจิต หรือด้วยกำลังสมาธิ เช่น สมาบัติ ๘ เป็น เจโตวิมุตติ อันละเอียดประณีต (สันตเจโตวิมุตติ)


เจริญวิปัสสนา ปฏิบัติวิปัสสนา, บำเพ็ญวิปัสสนา, ฝึกอบรมปัญญาโดยพิจารณาสังขาร คือ รูปธรรม และนามธรรมทั้งหมด แยกออกเป็นขันธ์ๆ กำหนดด้วยไตรลักษณ์ว่า ไม่เที่ยง คงทนอยู่มิได้ มิใช่อัตตา


เจริญพร คำเริ่ม ที่ภิกษุสามเณรพูดกับคฤหัสถ์ผู้ใหญ่ และสุภาพชนทั่วไป เทียบได้กับ "เรียน" และใช้เป็นคำรับ เทียบได้กับ "จ้ะ" หรือ "ครับ" กับทั้งใช้เป็นคำขึ้นต้น และลงท้ายจดหมายที่ภิกษุสามเณร มีไปถึงบุคคลเช่นนั้นด้วย (คำลงท้าย นิยมใช้ว่า "ขอเจริญพร") ถ้าพูดกับเจ้านาย ใช้ว่า "ถวายพระพร" และ "ขอถวายพระพร"

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2016, 11:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภาษาธรรมวัละคำ อักษร จ

พี่ จ. หลายใจ :b13:

https://www.youtube.com/watch?v=-hQf52wz_bc

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2016, 11:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
เจตสิก ธรรมที่ประกอบกับจิต, อาการหรือคุณสมบัติต่างๆของจิต เช่น ความโลภ ความโกรธ ความหลง ศรัทธา เมตตา สติ ปัญญา เป็นต้น มี ๕๐ อย่าง จัดเป็น อัญญสมานเจตสิก ๑๓ อกุศลเจตสิก ๑๔ โสภณเจตสิก ๒๕, ถ้าจัดโดยขันธ์ ๕ เจตสิก ก็คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นั่นเอง

เจตสิกสุข สุขทางใจ, ความสบายใจแช่มชื่นใจ

สุข ความสบาย, ความสำราญ, ความฉ่ำชื่นรื่นกายรื่นใจ มี ๒ คือ กายิกสุข สุขทางกาย ๒. เจตสิกสุข สุขทางใจ, อีกหมวดหนึ่ง มี ๒ คือ ๑. สามิสสุข สุขอิงอามิส คืออาศัยกามคุณ ๒. นิรามิสสุข สุขไม่อิงอามิส คือ อิงเนกขัมมะ หรือ สุขที่เป็นอิสระ ไม่ขึ้นต่อวัตถุ (ท่านแบ่งเป็นคู่ๆ อย่างนี้อีกหลายหมวด)

เจโตวิมุตติ ความหลุดพ้นแห่งจิต, การหลุดพ้นจากกิเลสด้วยอำนาจการฝึกจิตหรือด้วยกำลังสมาธิ เช่น สมาบัติ ๘ เป็นเจโตวิมุตติอันละเอียดประณีต (สันตเจโตวิมุตติ)

เจริญวิปัสสนา ปฏิบัติวิปัสสนา, บำเพ็ญวิปัสสนา, ฝีกอบรมปัญญาโดยพิจารณาสังขาร คือ รูปธรรมและนามธรรมทั้งหมดแยกออกเป็นขันธ์ๆ


จักร ล้อ, ล้อรถ, ธรรมนำชีวิตไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง ดุจล้อนำรถไปสู่ที่หมาย มี ๔ อย่าง คือ

๑. ปฏิรูปเทสวาสะ อยู่ในถิ่นที่เหมาะ

๒. สัปปุริสูปัสสยะ สมาคมกับคนดี

๓. อัตตสัมมาปณิธิ ตั้งตนไว้ชอบ

๔. ปุพเพกตปุญญตา ได้ทำความดีไว้ก่อน

จักรธรรม ธรรมเปรียบด้วยล้อรถ ซึ่งจะนำไปสู่ความเจริญ หรือให้ถึงจุดมุ่งหมาย มี ๔ อย่าง ดู จักร

จริต ความประพฤติ, บุคคลผู้มีพื้นนิสัยหรือพื้นเพจิตใจที่หนักไปด้านใดด้านหนึ่ง แตกต่างกันไป จำแนกเป็น ๖ ตามจริยา ๖

จริยา ๑. ความประพฤติ, การครองตน, การดำเนินชีวิต ๒. ลักษณะความประพฤติ หรือการแสดงออกที่เป็นพื้นประจำตัว, พื้นจิตพื้นนิสัยของแต่ละบุคคลที่หนักไปด้านนั้นh
จักขุวิญญาณ ความรู้ที่เกิดขึ้นเพราะรูปกระทบตา, รูปกระทบตา เกิดความรู้ขึ้น, การเห็น (ข้อ ๑ ในวิญญาณ ๖)

จักขุสัมผัส อาการที่ ตา รูป และจักขุวิญญาณประจวบกัน

จักขุสัมผัสสชาเวทนา เวทนาที่เกิดขึ้น เพราะจักขุสัมผัส, ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเพราะการที่ ตา รูป และจักขุวิญญาณประจวบกัน

tongue
อ้างคำพูด:
เจตสิก ธรรมที่ประกอบกับจิต, อาการหรือคุณสมบัติต่างๆของจิต เช่น ความโลภ ความโกรธ ความหลง ศรัทธา เมตตา สติ ปัญญา เป็นต้น มี ๕๐ อย่าง จัดเป็น อัญญสมานเจตสิก ๑๓ อกุศลเจตสิก ๑๔ โสภณเจตสิก ๒๕, ถ้าจัดโดยขันธ์ ๕ เจตสิก ก็คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นั่นเอง

:b12:
ุถามว่าเจตสิกมี50หรือ52ประเภทเขียนผิดหรือเปล่าเขียนว่ามี 50 อย่างค่ะ
:b44:



มี 52 แต่เมื่อจัดเวทนา กับ สัญญา ไปเป็นขันธ์ เสีย 2 จึงเหลือ 50

ไม่ตรงตกเลข :b32: อัญญสมานเจตสิก ๑๓ + อกุศลเจตสิก ๑๔ + โสภณเจตสิก ๒๕ = ๕๒
:b50:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2016, 11:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
ไม่ตรงตกเลข :b32: อัญญสมานเจตสิก ๑๓ + อกุศลเจตสิก ๑๔ + โสภณเจตสิก ๒๕ = ๕๒
:b50:


ทำการบ้านนี้ก่อน

สังขาร ตามหลักอภิธรรม แบ่งเจตสิก (คุณสมบัติของจิต) มี ๕๒ อย่าง ถ้าเทียบกับการแบ่งขันธ์ ๕ เจตสิกก็ได้แก่ เวทนา สัญญา และสังขารทั้งหมด คือ ในจำนวนเจตสิก ๕๒ นั้น เป็นเวทนา ๑ เป็นสัญญา ๑ ที่เหลืออีก ๕๐ อย่าง เป็นสังขารทั้งสิ้น สังขารขันธ์จึงเท่ากับเจตสิก ๕๐ อย่าง

พึงสังเกตที่ สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗ ที่เกิดกับจิตทุกดวง (ทุกขณะ) มี ๗ ได้แก่ ๑. ผัสสะ ๒. เจตนา ๓. เอกัคคตา ๔. ชีวิตินทรีย์ ๕. มนสิการ ๖. เวทนา ๗. สัญญา

เมื่อท่านจัด เวทนา (เจตสิก) ไปเป็นขันธ์ คือ เวทนาขันธ์ จัดสัญญาไปเป็นขันธ์ คือ สัญญาขันธ์ จึงเหลือเจตสิกที่เป็นสังขาร (สังขารขันธ์ ๕๐)

โจทก์ ๕๒ ลบออก ๒ เหลือ ๕๐

ห้าสิบ นี่แหละท่านจัดเป็นสังขารขันธ์ในขันธ์ ๕ ซึ่งเป็นคุณสมบัติของจิต

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2016, 11:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
เจตสิก ธรรมที่ประกอบกับจิต, อาการหรือคุณสมบัติต่างๆของจิต เช่น ความโลภ ความโกรธ ความหลง ศรัทธา เมตตา สติ ปัญญา เป็นต้น มี ๕๐ อย่าง จัดเป็น อัญญสมานเจตสิก ๑๓ อกุศลเจตสิก ๑๔ โสภณเจตสิก ๒๕, ถ้าจัดโดยขันธ์ ๕ เจตสิก ก็คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นั่นเอง

เจตสิกสุข สุขทางใจ, ความสบายใจแช่มชื่นใจ

สุข ความสบาย, ความสำราญ, ความฉ่ำชื่นรื่นกายรื่นใจ มี ๒ คือ กายิกสุข สุขทางกาย ๒. เจตสิกสุข สุขทางใจ, อีกหมวดหนึ่ง มี ๒ คือ ๑. สามิสสุข สุขอิงอามิส คืออาศัยกามคุณ ๒. นิรามิสสุข สุขไม่อิงอามิส คือ อิงเนกขัมมะ หรือ สุขที่เป็นอิสระ ไม่ขึ้นต่อวัตถุ (ท่านแบ่งเป็นคู่ๆ อย่างนี้อีกหลายหมวด)

เจโตวิมุตติ ความหลุดพ้นแห่งจิต, การหลุดพ้นจากกิเลสด้วยอำนาจการฝึกจิตหรือด้วยกำลังสมาธิ เช่น สมาบัติ ๘ เป็นเจโตวิมุตติอันละเอียดประณีต (สันตเจโตวิมุตติ)

เจริญวิปัสสนา ปฏิบัติวิปัสสนา, บำเพ็ญวิปัสสนา, ฝีกอบรมปัญญาโดยพิจารณาสังขาร คือ รูปธรรมและนามธรรมทั้งหมดแยกออกเป็นขันธ์ๆ


จักร ล้อ, ล้อรถ, ธรรมนำชีวิตไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง ดุจล้อนำรถไปสู่ที่หมาย มี ๔ อย่าง คือ

๑. ปฏิรูปเทสวาสะ อยู่ในถิ่นที่เหมาะ

๒. สัปปุริสูปัสสยะ สมาคมกับคนดี

๓. อัตตสัมมาปณิธิ ตั้งตนไว้ชอบ

๔. ปุพเพกตปุญญตา ได้ทำความดีไว้ก่อน

จักรธรรม ธรรมเปรียบด้วยล้อรถ ซึ่งจะนำไปสู่ความเจริญ หรือให้ถึงจุดมุ่งหมาย มี ๔ อย่าง ดู จักร

จริต ความประพฤติ, บุคคลผู้มีพื้นนิสัยหรือพื้นเพจิตใจที่หนักไปด้านใดด้านหนึ่ง แตกต่างกันไป จำแนกเป็น ๖ ตามจริยา ๖

จริยา ๑. ความประพฤติ, การครองตน, การดำเนินชีวิต ๒. ลักษณะความประพฤติ หรือการแสดงออกที่เป็นพื้นประจำตัว, พื้นจิตพื้นนิสัยของแต่ละบุคคลที่หนักไปด้านนั้นh
จักขุวิญญาณ ความรู้ที่เกิดขึ้นเพราะรูปกระทบตา, รูปกระทบตา เกิดความรู้ขึ้น, การเห็น (ข้อ ๑ ในวิญญาณ ๖)

จักขุสัมผัส อาการที่ ตา รูป และจักขุวิญญาณประจวบกัน

จักขุสัมผัสสชาเวทนา เวทนาที่เกิดขึ้น เพราะจักขุสัมผัส, ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเพราะการที่ ตา รูป และจักขุวิญญาณประจวบกัน

tongue
อ้างคำพูด:
เจตสิก ธรรมที่ประกอบกับจิต, อาการหรือคุณสมบัติต่างๆของจิต เช่น ความโลภ ความโกรธ ความหลง ศรัทธา เมตตา สติ ปัญญา เป็นต้น มี ๕๐ อย่าง จัดเป็น อัญญสมานเจตสิก ๑๓ อกุศลเจตสิก ๑๔ โสภณเจตสิก ๒๕, ถ้าจัดโดยขันธ์ ๕ เจตสิก ก็คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นั่นเอง

:b12:
ุถามว่าเจตสิกมี50หรือ52ประเภทเขียนผิดหรือเปล่าเขียนว่ามี 50 อย่างค่ะ
:b44:



มี 52 แต่เมื่อจัดเวทนา กับ สัญญา ไปเป็นขันธ์ เสีย 2 จึงเหลือ 50



ไม่ตรงตกเลข :b32: อัญญสมานเจตสิก ๑๓ + อกุศลเจตสิก ๑๔ + โสภณเจตสิก ๒๕ = ๕๒



จะจัดให้ดูนะครับ

1. รูปขันธ์ (รูป กาย ร่างกาย)

2. เวทนาขันธ์

3. สัญญาขันธ์

4. สังขารขันธ์

5. วิญญาณขันธ์ (=จิต)

ข้อ 2-4 นั่นแหละ เจตสิก 52

ถ้ายังงั้นมีคำถาม

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ คุณโรสเอามาแต่ไหน

สังขารขันธ์ คุณโรสว่าเป็นใคร เขามาจากไหน ตอบสิครับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2016, 13:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
เจตสิก ธรรมที่ประกอบกับจิต, อาการหรือคุณสมบัติต่างๆของจิต เช่น ความโลภ ความโกรธ ความหลง ศรัทธา เมตตา สติ ปัญญา เป็นต้น มี ๕๐ อย่าง จัดเป็น อัญญสมานเจตสิก ๑๓ อกุศลเจตสิก ๑๔ โสภณเจตสิก ๒๕, ถ้าจัดโดยขันธ์ ๕ เจตสิก ก็คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นั่นเอง

เจตสิกสุข สุขทางใจ, ความสบายใจแช่มชื่นใจ

สุข ความสบาย, ความสำราญ, ความฉ่ำชื่นรื่นกายรื่นใจ มี ๒ คือ กายิกสุข สุขทางกาย ๒. เจตสิกสุข สุขทางใจ, อีกหมวดหนึ่ง มี ๒ คือ ๑. สามิสสุข สุขอิงอามิส คืออาศัยกามคุณ ๒. นิรามิสสุข สุขไม่อิงอามิส คือ อิงเนกขัมมะ หรือ สุขที่เป็นอิสระ ไม่ขึ้นต่อวัตถุ (ท่านแบ่งเป็นคู่ๆ อย่างนี้อีกหลายหมวด)

เจโตวิมุตติ ความหลุดพ้นแห่งจิต, การหลุดพ้นจากกิเลสด้วยอำนาจการฝึกจิตหรือด้วยกำลังสมาธิ เช่น สมาบัติ ๘ เป็นเจโตวิมุตติอันละเอียดประณีต (สันตเจโตวิมุตติ)

เจริญวิปัสสนา ปฏิบัติวิปัสสนา, บำเพ็ญวิปัสสนา, ฝีกอบรมปัญญาโดยพิจารณาสังขาร คือ รูปธรรมและนามธรรมทั้งหมดแยกออกเป็นขันธ์ๆ


จักร ล้อ, ล้อรถ, ธรรมนำชีวิตไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง ดุจล้อนำรถไปสู่ที่หมาย มี ๔ อย่าง คือ

๑. ปฏิรูปเทสวาสะ อยู่ในถิ่นที่เหมาะ

๒. สัปปุริสูปัสสยะ สมาคมกับคนดี

๓. อัตตสัมมาปณิธิ ตั้งตนไว้ชอบ

๔. ปุพเพกตปุญญตา ได้ทำความดีไว้ก่อน

จักรธรรม ธรรมเปรียบด้วยล้อรถ ซึ่งจะนำไปสู่ความเจริญ หรือให้ถึงจุดมุ่งหมาย มี ๔ อย่าง ดู จักร

จริต ความประพฤติ, บุคคลผู้มีพื้นนิสัยหรือพื้นเพจิตใจที่หนักไปด้านใดด้านหนึ่ง แตกต่างกันไป จำแนกเป็น ๖ ตามจริยา ๖

จริยา ๑. ความประพฤติ, การครองตน, การดำเนินชีวิต ๒. ลักษณะความประพฤติ หรือการแสดงออกที่เป็นพื้นประจำตัว, พื้นจิตพื้นนิสัยของแต่ละบุคคลที่หนักไปด้านนั้นh
จักขุวิญญาณ ความรู้ที่เกิดขึ้นเพราะรูปกระทบตา, รูปกระทบตา เกิดความรู้ขึ้น, การเห็น (ข้อ ๑ ในวิญญาณ ๖)

จักขุสัมผัส อาการที่ ตา รูป และจักขุวิญญาณประจวบกัน

จักขุสัมผัสสชาเวทนา เวทนาที่เกิดขึ้น เพราะจักขุสัมผัส, ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเพราะการที่ ตา รูป และจักขุวิญญาณประจวบกัน

tongue
อ้างคำพูด:
เจตสิก ธรรมที่ประกอบกับจิต, อาการหรือคุณสมบัติต่างๆของจิต เช่น ความโลภ ความโกรธ ความหลง ศรัทธา เมตตา สติ ปัญญา เป็นต้น มี ๕๐ อย่าง จัดเป็น อัญญสมานเจตสิก ๑๓ อกุศลเจตสิก ๑๔ โสภณเจตสิก ๒๕, ถ้าจัดโดยขันธ์ ๕ เจตสิก ก็คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นั่นเอง

:b12:
ุถามว่าเจตสิกมี50หรือ52ประเภทเขียนผิดหรือเปล่าเขียนว่ามี 50 อย่างค่ะ
:b44:



มี 52 แต่เมื่อจัดเวทนา กับ สัญญา ไปเป็นขันธ์ เสีย 2 จึงเหลือ 50



ไม่ตรงตกเลข :b32: อัญญสมานเจตสิก ๑๓ + อกุศลเจตสิก ๑๔ + โสภณเจตสิก ๒๕ = ๕๒



จะจัดให้ดูนะครับ

1. รูปขันธ์ (รูป กาย ร่างกาย)

2. เวทนาขันธ์

3. สัญญาขันธ์

4. สังขารขันธ์

5. วิญญาณขันธ์ (=จิต)

ข้อ 2-4 นั่นแหละ เจตสิก 52

ถ้ายังงั้นมีคำถาม

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ คุณโรสเอามาแต่ไหน

สังขารขันธ์ คุณโรสว่าเป็นใคร เขามาจากไหน ตอบสิครับ

wink
จิต เจตสิก เป็นธรรมคนละอย่าง อิงอาศัยกัน เกิดดับพร้อมกันน๊า
รูปขันธ์ไม่ใช่สภาพรู้ วิญญาณขันธ์คือจิต ที่เหลืออีก3ขันธ์เป็นเจตสิก
ดูแผนภาพการแบ่งประเภทเจตสิกที่ลุงหมานโพสต์ไว้นะคะคุณกรัชกาย
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=46807
:b55: :b55: :b55:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2016, 16:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
เจตสิก ธรรมที่ประกอบกับจิต, อาการหรือคุณสมบัติต่างๆของจิต เช่น ความโลภ ความโกรธ ความหลง ศรัทธา เมตตา สติ ปัญญา เป็นต้น มี ๕๐ อย่าง จัดเป็น อัญญสมานเจตสิก ๑๓ อกุศลเจตสิก ๑๔ โสภณเจตสิก ๒๕, ถ้าจัดโดยขันธ์ ๕ เจตสิก ก็คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นั่นเอง

เจตสิกสุข สุขทางใจ, ความสบายใจแช่มชื่นใจ

สุข ความสบาย, ความสำราญ, ความฉ่ำชื่นรื่นกายรื่นใจ มี ๒ คือ กายิกสุข สุขทางกาย ๒. เจตสิกสุข สุขทางใจ, อีกหมวดหนึ่ง มี ๒ คือ ๑. สามิสสุข สุขอิงอามิส คืออาศัยกามคุณ ๒. นิรามิสสุข สุขไม่อิงอามิส คือ อิงเนกขัมมะ หรือ สุขที่เป็นอิสระ ไม่ขึ้นต่อวัตถุ (ท่านแบ่งเป็นคู่ๆ อย่างนี้อีกหลายหมวด)

เจโตวิมุตติ ความหลุดพ้นแห่งจิต, การหลุดพ้นจากกิเลสด้วยอำนาจการฝึกจิตหรือด้วยกำลังสมาธิ เช่น สมาบัติ ๘ เป็นเจโตวิมุตติอันละเอียดประณีต (สันตเจโตวิมุตติ)

เจริญวิปัสสนา ปฏิบัติวิปัสสนา, บำเพ็ญวิปัสสนา, ฝีกอบรมปัญญาโดยพิจารณาสังขาร คือ รูปธรรมและนามธรรมทั้งหมดแยกออกเป็นขันธ์ๆ


จักร ล้อ, ล้อรถ, ธรรมนำชีวิตไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง ดุจล้อนำรถไปสู่ที่หมาย มี ๔ อย่าง คือ

๑. ปฏิรูปเทสวาสะ อยู่ในถิ่นที่เหมาะ

๒. สัปปุริสูปัสสยะ สมาคมกับคนดี

๓. อัตตสัมมาปณิธิ ตั้งตนไว้ชอบ

๔. ปุพเพกตปุญญตา ได้ทำความดีไว้ก่อน

จักรธรรม ธรรมเปรียบด้วยล้อรถ ซึ่งจะนำไปสู่ความเจริญ หรือให้ถึงจุดมุ่งหมาย มี ๔ อย่าง ดู จักร

จริต ความประพฤติ, บุคคลผู้มีพื้นนิสัยหรือพื้นเพจิตใจที่หนักไปด้านใดด้านหนึ่ง แตกต่างกันไป จำแนกเป็น ๖ ตามจริยา ๖

จริยา ๑. ความประพฤติ, การครองตน, การดำเนินชีวิต ๒. ลักษณะความประพฤติ หรือการแสดงออกที่เป็นพื้นประจำตัว, พื้นจิตพื้นนิสัยของแต่ละบุคคลที่หนักไปด้านนั้นh
จักขุวิญญาณ ความรู้ที่เกิดขึ้นเพราะรูปกระทบตา, รูปกระทบตา เกิดความรู้ขึ้น, การเห็น (ข้อ ๑ ในวิญญาณ ๖)

จักขุสัมผัส อาการที่ ตา รูป และจักขุวิญญาณประจวบกัน

จักขุสัมผัสสชาเวทนา เวทนาที่เกิดขึ้น เพราะจักขุสัมผัส, ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเพราะการที่ ตา รูป และจักขุวิญญาณประจวบกัน

tongue
อ้างคำพูด:
เจตสิก ธรรมที่ประกอบกับจิต, อาการหรือคุณสมบัติต่างๆของจิต เช่น ความโลภ ความโกรธ ความหลง ศรัทธา เมตตา สติ ปัญญา เป็นต้น มี ๕๐ อย่าง จัดเป็น อัญญสมานเจตสิก ๑๓ อกุศลเจตสิก ๑๔ โสภณเจตสิก ๒๕, ถ้าจัดโดยขันธ์ ๕ เจตสิก ก็คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นั่นเอง

:b12:
ุถามว่าเจตสิกมี50หรือ52ประเภทเขียนผิดหรือเปล่าเขียนว่ามี 50 อย่างค่ะ
:b44:



มี 52 แต่เมื่อจัดเวทนา กับ สัญญา ไปเป็นขันธ์ เสีย 2 จึงเหลือ 50



ไม่ตรงตกเลข :b32: อัญญสมานเจตสิก ๑๓ + อกุศลเจตสิก ๑๔ + โสภณเจตสิก ๒๕ = ๕๒



จะจัดให้ดูนะครับ

1. รูปขันธ์ (รูป กาย ร่างกาย)

2. เวทนาขันธ์

3. สัญญาขันธ์

4. สังขารขันธ์

5. วิญญาณขันธ์ (=จิต)

ข้อ 2-4 นั่นแหละ เจตสิก 52

ถ้ายังงั้นมีคำถาม

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ คุณโรสเอามาแต่ไหน

สังขารขันธ์ คุณโรสว่าเป็นใคร เขามาจากไหน ตอบสิครับ

wink
จิต เจตสิก เป็นธรรมคนละอย่าง อิงอาศัยกัน เกิดดับพร้อมกันน๊า
รูปขันธ์ไม่ใช่สภาพรู้ วิญญาณขันธ์คือจิต ที่เหลืออีก3ขันธ์เป็นเจตสิก
ดูแผนภาพการแบ่งประเภทเจตสิกที่ลุงหมานโพสต์ไว้นะคะคุณกรัชกาย
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=46807
:b55: :b55: :b55:



รูปภาพ


เอาที่สบายใจ ไปที่ชอบๆ แล้วกันนะ :b13:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 35 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 41 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร