วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 12:30  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 80 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2016, 15:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภาษาธรรมวันละคำ

รูปภาพ

คัดคำพร้อมความหมายที่เคยได้ยินได้ฟัง ได้พูดกันบ่อยๆ แต่ :b10: :b13: :b15:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2016, 18:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
:b12:
พรีเซ้นต์ได้ดีแต่ขาดเนื้อหาสาระ
ให้คะแนน50เปอรเซ็นต์แค่นั้นค่ะ
ถ้าทำให้คลิกอ่านได้ให้เต็มร้อย
:b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2016, 19:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ชาวพุทธเขาเรียนพระธรรมของพระพุทธองค์กัน เขาไม่ได้เรียนภาษาที่ท่านปยุตคิดขึ้นเอง
ความหมายของพุทธพจน์ กับคำแปลของท่านปยุต มันคนละเรื่องกันเลย
พุทธพจน์ท่านให้รู้ลักษณะธรรมที่พระพุทธองค์ต้องการสื่อ
แต่ท่านปยุตไปเปลี่ยนความหมายพุทธพจน์หน้าตาเฉย

พุทธพจน์ท่านห้ามแปล ถ้าจะสอนต้องสอนด้วยการอธิบายลักษณะของคำ(พุทธพจน์)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2016, 19:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ได้ลูกค้าแระ คิกๆๆ :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2016, 19:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คำเหล่านี้มีหลายความหมาย เมื่อนำไปใช้ไปพูด ดูแยกความหมายให้ชัด ข้อควรระวังจะเป็นหัวมะกุท้ายมังกร

……….


สังสาระ, สงสาร การว่ายวนอยู่ในกระแสแห่งกิเลส กรรม วิบาก, การเที่ยวเร่ร่อนไปในภพ คือภาวะแห่งชีวิต ที่ถูกพัดพาให้ประสบสุขทุกข์ ขึ้นลง เป็นไปต่างๆ ตามกระแสแห่งอวิชชา ตัณหา และอุปาทาน, การเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในโลกหรือในภพต่างๆ,....ว่าโดยสภาวะ ก็คือ ความสืบทอดต่อเนื่องไปแห่งขันธ์ทั้งหลายนั่นเอง,

นิยมพูดว่า สังสารวัฏ ......ดู ปฏิจจสมุปบาท




สังสารจักร วงล้อแห่งสังสาระ, วงล้อแห่งการเที่ยวเร่ร่อนเวียนว่ายตายเกิด, อาการหมุนวนต่อเนื่องไปแห่งภาวะของชีวิตที่เป็นไปตามเหตุปัจจัย ในหลักปฏิจจสมุปบาท

“สังสารจักร” เป็นคำในชั้นอรรถกถาลงมา เช่นเดียวกับคำว่า ภวจักร ปัจจยาการจักร ตลอดจนปฏิจจสมุปบาทจักร ซึ่งท่านสรรมาใช้ในการอธิบายหลักปฏิจจสมุปบาทนั้น, อาการหมุนวนของสังสารจักร หรือภวจักรนี้ ท่านอธิบายตามหลักไตรวัฏฏ์ ......ดู ไตรวัฏฏ์, ปฏิจจสมุปบาท



ไตรวัฏฏ์ วัฏฏะ ๓ , วงวน ๓ หรือวงจร ๓ ส่วนของปฏิจจสมุปบาท ซึ่งหมุนเวียนสืบทอดต่อๆ กันไป ทำให้มีการเวียนว่ายตายเกิด หรือวงจรแห่งทุกข์ ได้แก่ กิเลส กรรม และวิบาก

(เรียกเต็มว่า ๑. กิเลสวัฏฏ์ ประกอบด้วยอวิชชา ตัณหา อุปาทาน

๒. กรรมวัฏฏ์ ประกอบด้วยวิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ชาติ ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสอุปายาส)

คือ กิเลสเป็นเหตุให้ทำกรรม เมื่อทำกรรมก็ได้รับวิบาก คือ ผลของกรรมนั้น อันเป็นปัจจัยให้เกิดกิเลสแล้วทำกรรมหมุนเวียนต่อไปอีก เช่น

เกิดกิเลสอยากได้ของเขา จึงทำกรรมด้วยการไปลักของเขามา ประสบวิบาก คือ ได้ของนั้นมาเสพเสวย เกิดสุขเวทนา ทำให้มีกิเลสเหิมใจอยากได้รุนแรงและมากยิ่งขึ้น จึงยิ่งทำกรรมมากขึ้น หรือในทางตรงข้าม ถูกขัดขวาง ได้รับทุกขเวทนาเป็นวิบาก ทำให้เกิดกิเลส คือ โทสะแค้นเคือง แล้วพยายามทำกรรม คือ ประทุษร้ายเขา ฯลฯ

เมื่อเป็นอยู่เป็นไปอย่างนี้ วงจรจะหมุนเวียนต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด เป็นอาการหมุนวน หรือวงกลมอันหมุนวน ที่เรียกว่า ภวจักร

สังสารจักร หรือสังสารวัฏ, ไตรวัฏ ก็เขียน


ปฏิจจสมุปบาท (ปะ-ติต-จะ-สะ-หมุบ-บาด) “การที่ธรรมทั้งหลายอาศัยกันเกิดขึ้นพร้อม” สภาพอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น, การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกันจึงเกิดมีขึ้น, การที่ทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัยต่อเนื่องกันมา


สังสารวัฏ วังวนแห่งการเวียนเกิดเวียนตาย, การเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในโลกหรือในภพต่างๆ, โดยใจความ ก็ได้แก่ “สังสาระ” นั่นเอง สังสารวัฏฏ์ หรือ สงสารวัฏ ก็เขียน


สังสารสุทธิ ความบริสุทธิ์ด้วยการเวียนว่ายตายเกิด คือ ลัทธิของมักขลิโคสาล ซึ่งถือว่า สัตว์ทั้งหลายท่องเที่ยวเวียนว่ายตายเกิดไปเรื่อยๆ ก็จะค่อยบริสุทธิ์หลุดพ้นจากทุกข์ไปเอง การปฏิบัติธรรมไร้ประโยชน์ ไม่อาจช่วยอะไรได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 29 ก.ค. 2016, 16:05, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2016, 19:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สติ ความระลึกได้, นึกได้, ความไม่เผลอ, การคุมใจไว้กับกิจ หรือกุมจิตไว้กับสิ่งที่เกี่ยวข้อง, จำการที่ทำและคำที่พูดแล้วแม้นานได้

(ข้อ ๑ ในธรรมมีอุปการะมาก ๒ ข้อ ๑ ในโพชฌงค์ ๗ ข้อ ๓ ในอินทรีย์ ๕ ข้อ ๓ ในพละ ๕ ข้อ ๖ ในสัทธรรม ๗, ข้อ ๙ ในนาถกรณธรรม ๑๐)


สัมปชัญญะ ความรู้ตัวทั่วพร้อม, ความรู้ตระหนัก, ความรู้ชัดเข้าใจชัด ซึ่งสิ่งที่นึกได้, มักมาคู่กับสติ (ข้อ ๒ ในธรรมมีอุปการะมาก ๒)

สัมปชัญญะ ๔ ได้แก่
๑. สาตถกสัมปชัญญะ รู้ชัดว่ามีประโยชน์ หรือตระหนักว่าตรงตามจุดหมาย

๒. สัปปายสัมปชัญญะ รู้ชัดว่าเป็นสัปปายะ หรือตระหนักว่าเกื้อกูลเหมาะกัน

๓. โคจรสัมปชัญญะ รู้ชัดว่าเป็นโคจร หรือตระหนักในแดนงานของตน

๔. อสัมโมหสัมปชัญญะ รู้ชัดว่าไม่หลง หรือตระหนักในตัวสภาวะ ไม่หลงใหล ไม่สับสนฟั่นเฟือน




สติปัฏฐาน ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสติ, ข้อปฏิบัติมีสติเป็นประธาน, การตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นเท่าทันตามความเป็นจริง, การมีสติกำกับดูสิ่งต่างๆ และความเป็นไปทั้งหลายโดยรู้เท่าทันตามสภาวะของมัน ไม่ถูกครอบงำด้วยความยินดียินร้าย ที่ทำให้มองเห็นเพี้ยนไปตามอำนาจกิเลส มี ๔ อย่าง คือ

๑. กายานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณากาย, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันกายและเรื่องทางกาย

๒. เวทนานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนา

๓. จิตตานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันจิตหรือสภาพและอาการของจิต

๔. ธัมมานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันธรรม,

เรียกสั้นๆว่า กาย เวทนา จิต ธรรม



สัตยาธิษฐาน การตั้งความจริงเป็นหลักอ้าง, ความตั้งใจกำหนดแน่วให้เกิดผลอย่างใดอย่างหนึ่งโดยอ้างเอาความจริงใจของตน เป็นกำลังอำนาจ,

คำเดิมในคัมภีร์นิยมใช้ สัจกิริยา, สัตยาธิษฐาน เป็นรูปสันสกฤต รูปบาลีเป็นสัจจาธิษฐาน



สัตติกำลัง ในคำว่า "ตามสัตติกำลัง" แปลว่า ตามความสามารถ และตามกำลัง หรือ ตามกำลังความสามารถ (สัตติ = ความสามารถ) มาจากคำบาลีว่า ยถาสตฺติ ยถาพลํ

พูดเพี้ยนกันไปเป็น ตามสติกำลัง ก็มี



สมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ตัณหา คือ ความทะยานอยาก เช่น อยากได้นั่นได้นี่ อยากเป็นโน่นเป็นนี่ อยากไม่เป็นโน่นเป็นนี่ (ข้อ ๒ ในอริยสัจ ๔)


สัทธรรมปฏิรูป สัทธรรมปลอม, สัทธรรมเทียม


ปฏิรูป แปลว่า สมควร เช่น ปฏิรูปปเทส อยู่ในประเทศอันสมควร อยู่ในถิ่นอันสมควร ถ้าอยู่หลังศัพท์อื่น แปลว่า เทียม, ปลอม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 29 ก.ค. 2016, 16:07, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2016, 20:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นำมาพูดกันบ่อย สังเกตดีๆ ระวังจะปรมัตถ์กระทั่งไปอำเภอทำบัตรประชาชนยากลำบาก :b32:


สมมติ,สมมุติ รู้ร่วมกัน, ตกลงกัน, การมีมติร่วมกัน หรือยอมรับร่วมกัน, การที่สงฆ์ประชุมกันตกลงมอบหมายหรือแต่งตั้งภิกษุให้ทำกิจหรือเป็นเจ้า หน้าที่ในเรื่องอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น สมมติภิกษุเป็นผู้ให้โอวาทภิกษุณี สมมติภิกษุเป็นภัตตุเทศก์ เป็นต้น ....ในภาษาไทย ในความหมายว่า ตกลงกันว่า ต่างว่า

สมมติสัจจะ จริงโดยสมมติ คือ โดยความตกลงหมายรู้ร่วมกันของมนุษย์ เช่น นาย ก. นาย ข. ช้าง ม้า มด โต๊ะ หนังสือ พ่อ แม่ ลูก เพื่อน เป็นต้น ซึ่งเมื่อกล่าวตามสภาวะ หรือโดยปรมัตถ์แล้ว ก็เป็นเพียงสังขาร หรือนามรูป หรือ ขันธ์ ๕ เท่านั้น ตรงข้าม กับ ปรมัตถสัจจะ

ปรมัตถสัจจะ จริงโดยปรมัตถ์ คือ ความจริงโดยความหมายสูงสุด เช่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

สมสีสี (สะ-มะ-สี-สี) บุคคลผู้สิ้นอาสวะ พร้อมกับสิ้นชีวิต คือ บรรลุอรหัตผลในขณะเดียวกับที่สิ้นชีวิต, นี้เป็นความหมายหลักตามพระบาลี แต่ในมโนรถปูรณี อรรถกถาแห่งอังคุตตรนิกาย ให้ความหมาย สมสีสี ว่าเป็นการสิ้นอาสวะพร้อมกับสิ้นอย่างอื่นอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๔ อย่างและแสดงสมสีสีไว้ ๔ ประเภท คือ

ผู้สิ้นอาสวะพร้อมกับหายโรค เรียกว่า โรคสมสีสี

ผู้สิ้นอาสวะพร้อมกับเวทนา ซึ่งกำลังเสวยอยู่สงบระงับไป เรียกว่า เวทนาสมสีสี

ผู้สิ้นอาสวะพร้อมกับการสิ้นสุดของอิริยาบถอันใดอันหนึ่ง เรียกว่า อิริยาบถสมสีสี

ผู้สิ้นอาสวะพร้อมกับการสิ้นชีวิต เรียกว่า ชีวิตสมสีสี

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2016, 20:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับว่าไง :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2016, 20:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สมาธิ ความมีใจตั้งมั่น, ความตั้งมั่นแห่งจิต, การทำให้ใจสงบแน่วแน่ ไม่ฟุ้งซ่าน, ภาวะที่จิตตั้งเรียบแน่วอยู่ในอารมณ์ คือ สิ่งอันหนึ่งอันเดียว,

มักใช้เป็นคำเรียกง่ายๆ สำหรับอธิจิตตสิกขา,

อธิจิตตสิกขา (อธิสีลสิกขา, อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา - ข้อ ๒ ในไตรสิกขา, ข้อ ๔ ในอินทรีย์ ๕, ข้อ ๔ ในพละ ๕, ข้อ ๖ ในโพชฌงค์ ๗)

สมาธิ ๒ คือ ๑. อุปจารสมาธิ สมาธิจวนเจียน หรือสมาธิเฉียดๆ ๒. อัปปนาสมาธิ สมาธิแน่วแน่

สมาธิ ๓ คือ ๑. สุญญตสมาธิ ๒. อนิมิตสมาธิ ๓ อัปปณิหิตสมาธิ อีกหมวดหนึ่ง ได้แก่ ๑. ขณิกสมาธิ ๒ อุปจารสมาธิ ๓ อัปปนาสมาธิ

สมาธิกถา ถ้อยคำที่ชักชวนให้ทำใจให้สงบตั้งมั่น (ข้อ ๗ ในกถาวัตถุ ๑๐)

สมาธิขันธ์ หมวดธรรมจำพวกสมาธิ เช่น ฉันทะ วิริยะ จิตตะ ชาคริยานุโยค กายคตาสติ เป็นต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 29 ก.ค. 2016, 16:08, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2016, 20:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวของตน, ความเห็นเป็นเหตุถือตัวตน เช่น เห็นรูปเป็นต้น เห็นเวทนาเป็นตน เป็นต้น (ข้อ ๑ ในสังโยชน์ ๑๐)


สังกิเลส ความเศร้าหมอง, ความสกปรก, สิ่งที่ทำใจให้เศร้าหมอง, ธรรมที่อยู่ในหานภาค คือ ในฝ่ายข้างเสื่อม ได้แก่ ธรรมจำพวกที่ทำให้ตกต่ำเสื่อมทราม เช่น อโยนิโสมนสิการ อคติ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ อวิชชา ตรงข้ามกับ โวทาน


โวทาน ความบริสุทธิ์, ความผ่องแผ้ว, การชำระล้าง, การทำให้สะอาด, ธรรมที่อยู่ในวิเสสภาค คือ ในฝ่ายข้างวิเศษ ได้แก่ ธรรมจำพวกที่ทำให้เจริญงอกงามดียิ่งขึ้นไปจนปลอดพ้นจากประดาสิ่งมวหมองบริสุทธิ์บริบูรณ์ เช่น โยนิโสมนสิการ กุศลมูล สมถและวิปัสสนา ตลอดถึงนิพพาน ตรงข้ามกับสังกิเลส


สังขตะ สิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง, สิ่งที่เกิดจากเหตุปัจจัยแต่งขึ้น ได้แก่ สภาพที่เกิดแต่เหตุทั้งปวง, สังขตธรรม ตรงข้ามกับ อสังขตะ


อสังขตะ ธรรมที่ปัจจัยมิได้ปรุงแต่ง, ธรรมที่ไม่เกิดจากเหตุปัจจัย ได้แก่ พระนิพพาน, ตรงข้ามกับ สังขตะ

สังขตธรรม ธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ตรงกับสังขารในคำว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ดังนี้เป็นต้น ตรงข้ามกับ อสังขตธรรม

อสังขตธรรม ธรรมอันมิได้ถูกปรุงแต่ง ได้แก่นิพพาน (ข้อ ๒ ในธรรม๒) ตรงข้ามกับสังขตธรรม

สังขตลักษณะ ลักษณะแห่งสังขตธรรม, ลักษณะของปรุงแต่ง มี ๓ อย่าง ๑. ความเกิดขึ้นปรากฏ ๒. ความดับสลายปรากฏ ๓. เมื่อตั้งอยู่ ความแปรปรากฏ


สังขาร ๑. สิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง. สิ่งที่เกิดจากเหตุปัจจัย เป็นรูปธรรม ก็ตาม เป็นนามธรรม ก็ตาม, ได้แก่ ขันธ์ ๕ ทั้งหมด, ตรงกับคำว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง ดังนี้เป็นต้น

๒. สภาพที่ปรุงแต่งใจให้ดีหรือชั่ว, ธรรมมีเจตนาเป็นประธานที่ปรุงแต่งความคิด การพูด การกระทำ มีทั้งที่ดีเป็นกุศล ที่ชั่วเป็นอกุศล ที่กลางๆ เป็นอัพยากฤต ได้แก่ เจตสิก ๕๐ อย่าง (คือ เจตสิกทั้งปวง เว้น เวทนาและสัญญา) เป็นนามธรรมอย่างเดียว, ตรงกับสังขารขันธ์ ในขันธ์ ๕ ได้ในคำว่า รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง ดังนี้เป็นต้น

อีกปริยายหนึ่ง สังขารตามความหมายนี้ ยกเอาเจตนาขึ้นเป็นตัวนำหน้า ได้แก่ สัญเจตนา คือเจตนาที่แต่งกรรม หรือปรุงแต่งการกระทำ มี ๓ อย่าง คือ

๑. กายสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางกาย คือ กายสัญเจตนา

๒. วจีสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางวาจา คือ วจีสัญเจตนา

๓. จิตตสังขาร หรือ มโนสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางใจ คือ มโนสัญเจตนา


๓. สภาพที่ปรุงแต่งชีวิต มี ๓ คือ

๑. กายสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งกาย ได้แก่ อัสสาสะ ปัสสาสะ คือ ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก

๒. วจีสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งวาจา ได้แก่ วิตก และวิจาร

๓. จิตตสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งใจ ได้แก่ สัญญาและเวทนา


สังขาร ๒. คือ

๑. อุปาทินนกสังขาร สังขารที่กรรมครอบครอง

๒. อนุปาทินนกสังขาร สังขารที่กรรมไม่ครอบครอง แปลโดยปริยายว่า สังขารที่มีใจครอง และสังขารที่ไม่มีใจครอง

สังขารทุกข์ ทุกข์เพราะเป็นสังขาร คือ เพราะเป็นสภาพอันถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้น จึงต้องผันแปรไปตามเหตุปัจจัย เป็นสภาพอันปัจจัยบีบคั้นขัดแย้ง คงทนอยู่มิได้

สังขารโลก โลกคือสังขาร ได้แก่ ชุมนุมแห่งสังขารทั้งปวงอันต้องเป็นไปตามธรรมดาแห่งเหตุปัจจัย

สังขารุเปกขาญาณ ปรีชาหยั่งรู้ถึงขั้นเกิดความวางเฉยในสังขาร, ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร คือ รู้เท่าทันสภาวะของสังขารว่าที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นต้น นั้น มันเป็นไปของมันอย่างนั้นเป็นธรรมดา จึงเลิกเบื่อหน่าย เลิกคิดหาทางแต่จะหนี วางใจเป็นกลางต่อมันได้ เลิกเกี่ยวเกาะและให้ญาณแล่นมุ่งสู่นิพพานอย่างเดียว (ข้อ ๗ ในวิปัสสนาญาณ ๙)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มิ.ย. 2016, 07:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สสังขาริก “เป็นไปกับด้วยการชักนำ” มีการชักนำ ใช้แก่ จิตที่คิดดี หรือชั่วโดยถูกกระตุ้นหรือชักจูงจากภายนอก มิใช่เริ่มเกิดเอง จึงมีกำลังอ่อน... ตรงข้ามกับ อสังขาริก


อสังขาริก “ไม่เป็นไปกับด้วยการชักนำ” ไม่มีการชักนำ ใช้แก่ จิตที่คิดดี หรือชั่วโดยเริ่มขึ้นเอง มิใช่ถูกกระตุ้น หรือถูกชักจูงจากภายนอก จึงมีกำลังมาก... ตรงข้ามกับ สสังขาริก


สังคหวัตถุ เรื่องที่จะสงเคราะห์กัน, คุณเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวใจของผู้อื่นไว้ได้, หลักการสงเคราะห์ คือ ช่วยเหลือกันยึดเหนี่ยวยใจกันไว้ และเป็นเครื่องเกาะกุมประสานโลก คือ สังคมแห่งหมู่สัตว์ไว้ ดุจสลักยึดรถที่กำลังแล่นไปให้คงเป็นรถ และวิ่งแล่นไปได้ มี ๔ อย่าง คือ

๑. ทาน การแบ่งปันเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน

๒. ปิยวาจา พูดจาน่ารัก น่านิยมนับถือ

๓. อัตถจริยา บำเพ็ญประโยชน์

๔. สมานัตตตา ความมีตนเสมอ คือ ทำตัวให้เข้ากันได้ เช่น ไม่ถือตัว ร่วมสุขร่วมทุกข์กัน เป็นต้น

สตฺถา เทวมนุสฺสานํ (พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น) ทรงเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย, ทรงประกอบด้วยคุณสมบัติของครู และทรงทำหน้าที่ของครูเป็นอย่างดี คือทรงพร่ำสอนด้วยพระมหากรุณา หวังให้ผู้อื่นได้ความรู้อย่างแท้จริง, ทรงสอนมุ่งความจริง และประโยชน์เป็นที่ตั้ง ทรงแนะนำเวไนยสัตว์ด้วยประโยชน์ ทั้งทิฏฐธัมมิกัตถะ สัมปรายิกัตถะ และปรมัตถะ, ทรงรู้จริง และปฏิบัติด้วยพระองค์เองแล้ว จึงทรงสอนผู้อื่นให้รู้ และปฏิบัติตาม ทรงทำกับตรัสเหมือนกัน ไม่ใช่ตรัสสอนอย่างหนึ่งทำอย่างหนึ่ง, ทรงฉลาดในวิธีสอน, และทรงเป็นผู้นำหมู่ดุจนายกองเกวียน (ข้อ ๗ ในพุทธคุณ ๙)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มิ.ย. 2016, 07:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สัตว์ “ผู้ติดข้องในรูปารมณ์ เป็นต้น” สิ่งที่มีความรู้สึกและเคลื่อนไหวไปได้เอง รวมตลอดทั้งเทพ มาร พรหม มนุษย์ เปรต อสุรกาย ดิรัจฉาน และสัตว์นรก ในบาลีเพ่งเอามนุษย์ก่อนอย่างอื่น ... ไทยมักเพ่งเอาดิรัจฉาน

สทารสันโดษ ความพอใจด้วยภรรยาของตน, ความยินดีเฉพาะภรรยาของตน (ข้อ ๓ ในเบญจธรรม) จัดเป็นพรหมจรรย์อย่างหนึ่ง

สัมภเวสี ผู้แสวงสมภพ …ดู ภูตะ


ภูต, ภูตะ ๑ สัตว์ผู้เกิดแล้ว หรือเกิดเสร็จแล้ว , นัยหนึ่ง หมายถึงพระอรหันต์ เพราะไม่แสวงหาภพเป็นที่เกิดอีก อีกนัยหนึ่ง หมายถึงสัตว์ที่เกิดเต็มตัวแล้ว เช่น คนคลอดจากครรภ์แล้ว ไก่ออกจากไข่แล้ว เป็นต้น ต่างกับ สัมภเวสี คือ สัตว์ผู้ยังแสวงหาที่เกิด ซึ่งได้แก่ ปุถุชน และพระเสขะ ผู้ยังแสดงหาภพที่เกิดอีก หรือสัตว์ในครรภ์และในไข่ ที่ยังอยู่ระหว่างจะเกิด ๒. ผี, อมนุษย์ ๓. ภูตรูป คือ ธาตุ ๔ มักเรียก มหาภูต


สัสสตทิฏฐิ ความเห็นว่าเที่ยง คือความเห็นว่าอัตตา และโลก เป็นสิ่งเที่ยงแท้ยังยืน คงอยู่ตลอดไป เช่น เห็นว่าคน และสัตว์ตายไปแล้ว ร่างกายเท่านั้น ทรุดโทรมไป ส่วนดวงชีพ หรือเจตภูต หรือมนัสเป็นธรรมชาติไม่สูญ ย่อมถือปฏิสนธิในกำเนิดอื่นสืบไป เป็นมิจฉาทิฏฐิอย่างหนึ่ง ตรงข้ามกับ อุจเฉททิฏฐิ (ข้อ ๑ ในทิฏฐิ ๒)


สัมภาระ สิ่งของต่างๆ, วัตถุ, วัสดุ, เครื่องใช้, องค์, ส่วนประกอบ, บริขาร, ปัจจัย, ความดีหรือความชั่วที่ประกอบหรือทำสะสมไว้, การประชุมเข้า


สัมผัส ความกระทบ, การถูกต้องที่ให้เกิดความรู้สึก, ความประจวบกันแห่งอายตนะภายใน อายตนะภายนอก และวิญญาณ มี ๖ เริ่มแต่ จักขุสัมผัส สัมผัสทางตา เป็นต้น จนถึง มโนสัมผัส สัมผัสทางใจ (เรียงตามอายตนะภายใน ๖) ผัสสะ ก็เรียก


สัทธา ความเชื่อ, ความเชื่อถือ, ในทางธรรม หมายถึง เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ, ความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล, ความเชื่อมั่นในสิ่งที่ดีงาม, ความเลื่อมใสซาบซึ้งชื่นใจสนิทใจเชื่อมั่นมีใจโน้มน้อมมุ่งแล่นไปตามไปรับ คุณความดีในบุคคลหรือสิ่งนั้นๆ, ความมั่นใจในความจริง ความดี สิ่งดีงาม และในการทำความดี ไม่ลู่ไหลตื่นตูมไปตามลักษณะอาการภายนอก (ข้อ ๑ ในอินทรีย์ ๕ ข้อ ๑ ในพละ ๕ ข้อ ๑ เวสารัชชกรณธรรม ๕ ข้อ ๑ ในอริยวัฑฒิ ๕ ข้อ ๑ ในสัทธรรม ๗ ข้อ ๑ ในอริยทรัพย์ ๗) เขียนอย่างสันสกฤตเป็น ศรัทธา

ศรัทธา ความเชื่อ, ความเชื่อถือ

ศรัทธาไทย ของที่เขาถวายด้วยศรัทธา, “ทำศรัทธาไทยให้ตกไป” คือ ทำให้ของที่เขาถวายด้วยศรัทธาเสื่อมเสียคุณค่าหรือหมดความหมายไป หมายความว่า ปฏิบัติต่อสิ่งที่เขาถวายด้วยศรัทธา โดยไม่สมควร

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มิ.ย. 2016, 07:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สูญ "ว่างเปล่า" หายสิ้นไป, ในทางธรรม "สูญ" มีความหมายหลายแง่หลายระดับ พึงศึกษาในคำว่า สุญญตา และพึงแยก จากคำว่า "ขาดสูญ" ซึ่งหมายถึง อุจเฉทะ ซึ่งพึงศึกษาในคำว่า อุจเฉททิฏฐิ


สูตร พระธรรมเทศนาหรือธรรมกถาเรื่องหนึ่งๆ ในพระสุตตันตปิฎก แสดงเจือด้วยบุคคลาธิษฐาน, ถ้าพูดว่าพระสูตรมักหมายถึงพระสุตตันตปิฎกทั้งหมด

สันตาปทุกข์ ทุกข์คือความร้อนรุ่ม, ทุกข์ร้อน ได้แก่ ความกระวนกระวายใจ เพราะถูกไฟกิเลส คือ ราคะ โทสะ และโมหะแผดเผา

สันติ ความสงบ, ความระงับดับหายหมดไปแห่งความพลุ่งพล่านเร่าร้อนกระวนกระวาย, ภาวะเรียบรื่นไร้ความสับสนวุ่นวาย, ความระงับดับไปแห่งกิเลสที่เป็นเหตุให้เกิดความเร่าร้อนว้าวุ่นขุ่นมัว เป็นไวพจน์หนึ่งของ นิพพาน


สันดาน ความสืบต่อแห่งจิต คือกระแสจิตที่เกิดดับต่อเนื่องกันมา ..... ในภาษาไทยมักใช้ในความหมายว่า อุปนิสัยที่มีมาแต่กำเนิด


สันติวิหารธรรม ธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างสงบ



สนฺทิฏฺฐิโก (พระธรรมอันผู้ได้บรรลุ) เห็นเองรู้เอง ประจักษ์แจ้งกับตน ไม่ต้องขึ้นต่อผู้อื่น ไม่ต้องเชื่อต่อถ้อยคำของใคร (ข้อ ๒ ในธรรมคุณ ๖) เมื่อมาด้วยกันกับ สมฺปรายิโก (ใช้เป็นคำไทย มีรูปเป็น สัมปรายิกะ) ซึ่งแปลว่า เลยไปเบื้องหน้า หรือเลยตาเห็น (เช่น ม.มู.12/198/169) สนฺทิฏฺฐิโกนี้ (สันทิฏฺฐิกะ) แปลว่า เป็นปัจจุบัน เห็นทันตา หรือเห็นกับตา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มิ.ย. 2016, 08:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สัญญา การกำหนดหมาย, ความจำได้หมายรู้ คือ หมายรู้ไว้ ซึ่ง รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และอารมณ์ที่เกิดกับใจว่า เขียว ขาว ดำ แดง ดัง เบา เสียงคน เสียงแมว เสียงระฆัง กลิ่นทุเรียน รสมะปราง เป็นต้น และจำได้ คือ รู้จักอารมณ์ว่าเป็นอย่างนั้นๆ ในเมื่อไปพบเข้าอีก (ข้อ ๓ ในขันธ์ ๕)
มี ๖ อย่าง ตามอารมณ์ที่หมายรู้นั้น เช่น รูปสัญญา หมายรู้รูป สัททสัญญา หมายรู้เสียง เป็นต้น ความหมายสามัญในภาษาบาลีว่าเครื่องหมาย ที่สังเกตความสำคัญว่าเป็นอย่างนั้น, ... ในภาษาไทยมักใช้หมายถึง ข้อตกลง, คำมั่น


สัญญา ๑๐ ความกำหนดหมาย, สิ่งที่ควรกำหนดหมายไว้ในใจ มี ๑๐ อย่าง คือ ๑. อนิจจสัญญา กำหนดหมายไม่เที่ยงแห่งสังขาร ๒. อนัตตสัญญา กำหนดหมายความเป็นอนัตตาแห่งธรรมทั้งปวง ๓. อสุภสัญญา กำหนดหมายความไม่งามแห่งกาย ๔. อาทีนวสัญญา กำหนดหมายโทษแห่งกาย คือ มีอาพาธต่างๆ ๕. ปหานสัญญา กำหนดหมายเพื่อละอกุศลวิตกและบาปธรรม ๖. วิราคสัญญา กำหนดหมายวิราคะ คือ อริยมรรคว่าเป็นธรรมอันสงบประณีต ๗. นิโรธสัญญา กำหนดหมายนิโรธ คือ อริยผล ว่าเป็นธรรมอันสงบประณีต ๘. สัพพโลเก อนภิรตสัญญา กำหนดหมายความไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง ๙. สัพพสังขาเรสุ อนิฏฐสัญญา กำหนดหมายความไม่น่าปรารถนาในสังขารทั้งปวง ๑๐. อานาปานัสสติ สติกำหนดลมหายใจเข้าออก

สัญญาเวทยิตนิโรธ การดับสัญญาและเวทนา เป็นสมาบัติ เรียกเต็มว่า สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ เรียกสั้นๆว่า นิโรธสมาบัติ (ข้อ ๙ ในอนุปุพพวิหาร ๙)

นิโรธ ความดับทุกข์ คือ ดับตัณหาได้สิ้นเชิง, ภาวะปลอดทุกข์เพราะไม่มีทุกข์ที่จะเกิดขึ้นได้ หมายถึงนิพพาน

นิโรธสมาบัติ การเข้านิโรธ คือ ดับสัญญาความจำได้หมายรู้ และเวทนาการเสวยอารมณ์ เรียกเต็มว่า เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ, พระอรหันต์และพระอนาคามีที่ได้สมาบัติ ๘ แล้วจึงจะเข้านิโรธสมาบัติได้

นิรฺวาณมฺ ความดับ เป็นคำสันสกฤต เทียบกับภาษาบาลี ก็ได้แก่ศัพท์ว่า นิพพาน นั่นเอง ปัจจุบันนิยมใช้เพียงว่า นิรวาณ กับ นิรวาณะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มิ.ย. 2016, 08:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
:b12:
ทั้งเก่ง ทั้งขยัน จริงๆ
ขออนุโมทนาด้วยค่ะ
:b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 80 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 37 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร