วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 04:06  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 52 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2016, 09:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สัญญา - วิญญาณ - ปัญญา



สัญญา วิญญาณ ปัญญา เป็นเรื่องของความรู้ทั้ง ๓ อย่าง แต่เป็นองค์ธรรมต่างข้อกัน และอยู่คนละขันธ์ สัญญาเป็นขันธ์หนึ่ง วิญญาณเป็นขันธ์หนึ่ง ปัญญาอยู่ในสังขารก็อีกขันธ์หนึ่ง สัญญา และวิญญาณได้พูดมาแล้วพอเป็นพื้นความเข้าใจ


ปัญญา * แปลกันว่า ความรอบรู้ เติมเข้าอีกว่า ความรู้ทั่ว ความรู้ชัด คือ รู้ทั่วถึงความจริงหรือรู้ตรงตามความเป็นจริง ท่านอธิบายขยายความกันออกไปต่างๆ เช่นว่า รู้เหตุรู้ผล รู้ดีรู้ชั่ว รู้ถูกรู้ผิด รู้ควรไม่ควร รู้คุณรู้โทษ รู้ประโยชน์มิใช่ประโยชน์ รู้เท่าทันสังขาร รู้องค์ประกอบ รู้เหตุปัจจัย รู้ที่ไปที่มา รู้ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งทั้งหลาย รู้ตามความเป็นจริง รู้ถ่องแท้ เข้าใจถ่องแท้ รู้เข้าใจสภาวะ รู้คิด รู้พินิจพิจารณา รู้วินิจฉัย รู้ที่จะจัดแจงจัดการหรือดำเนินการอย่างไรๆ


แปลกันอย่างง่ายๆ พื้นๆ ปัญญา คือความเข้าใจ (หมายถึงเข้าใจถูก เข้าใจชัด หรือเข้าใจถ่องแท้) เป็นการมองทะลุสภาวะหรือมองทะลุปัญหา

ปัญญาช่วยเสริมสัญญาและวิญญาณ ช่วยขยายขอบเขตของวิญญาณให้กว้างขวางออกไปและลึกซึ้งยิ่งขึ้น ส่องทางให้สัญญามีสิ่งกำหนดหมายรวมเก็บได้มากขึ้น เพราะเมื่อเข้าใจเพียงใด ก็รับรู้และกำหนดหมายในวิสัยแห่งความเข้าใจเพียงนั้น เหมือนคิดโจทย์เลขคณิตข้อหนึ่ง เมื่อยังคิดไม่ออก ก็ไม่มีอะไรให้รับรู้และกำหนดหมายต่อไปได้ ต่อเมื่อเข้าใจ คิดแก้ปัญหาได้แล้ว ก็มีเรื่องให้รับรู้ และกำหนดหมายต่อไปอีก


ปัญญา ตรงข้ามกับโมหะ ซึ่งแปลว่าความหลง ความไม่รู้ ความเข้าใจผิด สัญญาและวิญญาณหาตรงข้ามกับโมหะไม่ อาจกลายเป็นเหยื่อของโมหะไปด้วยซ้ำ เพราะเมื่อหลง เข้าใจผิดไปอย่างใดก็รับรู้และกำหนดหมายเอาไว้ผิดๆอย่างนั้น ปัญญาช่วยแก้ไขให้วิญญาณและสัญญาเดินถูกทาง


สัญญา และ วิญญาณ อาศัยอารมณ์ที่ปรากฏอยู่จึง ทำงานไปได้ สร้างภาพเห็นภาพขึ้นไปจากอารมณ์นั้น แต่ปัญญาเป็นฝ่ายจำนงต่ออารมณ์ ริเริ่มกระทำต่ออารมณ์ (เพราะอยู่ในหมวดสังขาร) เชื่อมโยงอารมณ์นั้น กับ อารมณ์นี้ กับ อารมณ์โน้นบ้าง พิเคราะห์ส่วนนั้นกับส่วนนี้กับส่วนโน้นของอารมณ์บ้าง เอาสัญญาอย่างโน้นอย่างนี้มาเชื่อมโยงกันหรือพิเคราะห์ออกไปบ้าง มองเห็นเหตุ เห็นผล เห็นความสัมพันธ์ ตลอดถึงว่าจะเอาไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร หาเรื่องมาให้วิญญาณ และสัญญารับรู้ และกำหนดหมายเอาไว้อีก



พระสารีบุตร เคยตอบคำถามเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างวิญญาณกับปัญญาว่า คนมีปัญญา รู้ (= รู้ชัด, เข้าใจ) ว่านี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ทางให้ถึงความดับทุกข์
ส่วน
วิญญาณ รู้ (= รู้แยกต่าง) ว่าเป็นสุข รู้ว่าเป็นทุกข์ รู้ว่าไม่ใช่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ แต่

ปัญญาและวิญญาณนั้น ก็เป็นองค์ธรรมที่ปนเคล้าหรือระคนกันอยู่ ไม่อาจแยกออกบัญญัติข้อแตกต่างกันได้ กระนั้นก็ตาม

ความแตกต่างก็มีอยู่ในแง่ที่ว่า ปัญญาเป็นภาเวตัพพธรรม คือ เป็นสิ่งที่ควรฝึกอบรมทำให้เจริญขึ้น ให้เพิ่มพูนแก่กล้าขึ้น ส่วน

วิญญาณเป็นปริญไญยธรรม คือ เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้หรือทำความรู้จักให้เข้าใจ รู้เท่าทันสภาวะและลักษณะของมันตามความเป็นจริง* (* ม.มู.๑๒/๔๙๔/๕๓๖)

…………..

* ปัญญา มักแปลกันว่า wisdom หรือ understanding

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2016, 09:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ


ในคัมภีร์รุ่นอรรถกถา เช่น วิสุทธิมัคค์เป็นต้น อธิบายความแตกต่างระหว่างสัญญา วิญญาณ และปัญญาไว้ ว่า สัญญาเพียงรู้จักอารมณ์ว่า เขียว เหลือง เป็นต้น (คือรู้อาการของอารมณ์) ไม่อาจให้ถึงความเข้าใจลักษณะคือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาได้

วิญญาณรู้อารมณ์ว่า เขียว เหลือง เป็นต้น ได้ด้วย ทำให้ถึงความเข้าใจลักษณะคือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ได้ด้วย (คือเข้าใจตามที่ปัญญาบอก) แต่ไม่อาจส่งให้ถึงความปรากฏแห่งมรรค (คือ ให้ตรัสรู้อริยสัจไม่ได้) ส่วน

ปัญญาทั้งรู้อารมณ์ ทั้งให้ถึงความเข้าใจลักษณะ และทั้งส่งให้ถึงความปรากฏขึ้นแห่งมรรค


ท่านอุปมาเหมือนคน ๓ คน มองดูเหรียญกษาปณ์ สัญญาเปรียบ เหมือนเด็กยังไม่เดียงสา มองดูเหรียญแล้วรู้แต่รูปร่าง ยาว สั้น เหลี่ยม กลม สี และลวดลายแปลกๆ สวยงามของเหรียญนั้น ไม่รู้ว่าเป็นของที่เขาตกลงกัน ใช้เป็นสื่อการแลกเปลี่ยนซื้อขาย

วิญญาณเปรียบ เหมือนชาวบ้านเห็นเหรียญแล้วรู้ทั้งรูปร่างลวดลาย และรู้ว่าใช้เป็นสื่อการซื้อขายแลกเปลี่ยนได้ แต่ไม่รู้ซึ้งลงไปว่า เหรียญนี้แท้ เหรียญนี้ปลอม มีโลหะอะไรผสมกี่ส่วน

ปัญญาเปรียบ เหมือนเหรัญญิก ซึ่งรู้ทุกแง่ที่กล่าวมาแล้ว และรู้ชำนาญจนกระทั่งว่า จะมองดูก็รู้ ฟังเสียงเคาะก็รู้ ดม ชิม หรือเอามือชั่งดูก็รู้ รู้ตลอดไปถึงว่า เหรียญนี้ทำที่นั้นๆ ผู้ชำนาญคนนั้นๆทำ


อนึ่ง ปัญญาไม่ได้เกิดขึ้นเสมอไป บางทีมีแต่สัญญาและวิญญาณ หาได้มีปัญญาด้วยไม่ แต่คราวใดมีปัญญาเกิดร่วมด้วย กับ สัญญา และวิญญาณ คราวนั้นก็ยากที่จะแยกให้เห็นความแตกต่างจากกันและกัน


เมื่อชาลีและกัณหา เดินถอยหลังลงไปซ่อนตัวในสระน้ำ ด้วยเข้าใจว่าผู้ตามหาเห็นรอยเท้าแล้วจะเข้าใจว่า เธอทั้งสองขึ้นมาแล้วจากสระน้ำ ความคิดที่ทำเช่นนั้น ก็เรียกว่า เป็นปัญญา

ต่อมา

เมื่อพระเวสสันดรทอดพระเนตรเห็นรอยเท้าของลูกทั้งสองแล้ว ก็รู้ทันทีว่าลูกทั้งสองเดินถอยหลังไปซ่อนอยู่ในสระน้ำ เพราะมีแต่รอยเท้าเดินขึ้นอย่างเดียว ไม่มีรอยลง อีกทั้งรอยนั้นก็กดหนักทางส้นเท้า ความรู้เท่าทันนี้ก็เรียกว่าเป็นปัญญา

ในกรณีนี้จะเห็นได้ว่า ปัญญามีความรอบคอบ และลึกซึ้งกว่ากัน ซึ่งเกี่ยวพันไปถึงการที่ปัญญาใช้ประโยชน์จากสัญญาด้วย


การที่เจ้าชายสิทธัตถะ ทอดพระเนตรเห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย แล้วคำนึงเห็นความทุกข์ที่มวลมนุษย์ต้องประสบทั่วสากล และเข้าใจถึงภาวะที่สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงแท้ ล้วนเกิดขึ้นแล้วปรวนแปรและสิ้นสุดด้วยแตกดับ ควรระงับความทุกข์อันเนื่องมาจากสาเหตุนั้นเสีย ความเข้าใจนั้น ก็เรียกว่า เป็นปัญญา

เมื่อพระพุทธเจ้าจะประดิษฐานพระพุทธศาสนาในแคว้นมคธ ได้เสด็จไปโปรดพวกกัสสปชฎิล ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวมคธ ให้เลื่อมใสยอมรับคำสอนของพระองค์ก่อน พระปรีชาอันให้ดำริที่จะกระทำเช่นนั้น ก็เรียกว่า เป็นปัญญา


ปัญญาเป็นคำกลาง สำหรับความรู้ประเภทที่กล่าวแล้ว และปัญญานั้นมีหลายขั้นหลายระดับ เช่น แบ่งเป็นโลกียปัญญา โลกุตรปัญญา เป็นต้น

มีคำศัพท์หลายคำ ที่ใช้ในความหมายจำเพาะ หมายถึง ปัญญาในขั้นใดขั้นหนึ่ง ระดับใดระดับหนึ่ง แง่ใดแง่หนึ่ง หรือเนื่องด้วยกิจเฉพาะ คุณสมบัติเฉพาะหรือประโยชน์เฉพาะบางอย่าง เช่น วิปัสสนา สัมปชัญญะ ญาณ วิชชา ปริญญา อภิญญา ปฏิสัมภิทา เป็นต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2016, 10:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2016, 10:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความสัมพันธ์ระหว่างขันธ์ต่างๆ


ขันธ์ ๕ อาศัยซึ่งกันและกัน รูปขันธ์ เป็นส่วนกาย นามขันธ์ทั้งสี่ เป็นส่วนใจ มีทั้งกายและใจ จึงจะเป็นชีวิต กาย กับ ใจ ทำหน้าที่เป็นปกติ และประสานสอดคล้องกัน ชีวิตจึงจะดำรงอยู่ได้ด้วยดี ตัวอย่าง
เช่น
กิจกรรมของจิตใจ ต้องอาศัยความรู้เกี่ยวกับโลก ซึ่งเกิดขึ้นได้ด้วยอาศัยอารมณ์ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งต้องกาย (โผฏฐัพพะ) ผ่านเข้ามาทางตา หู จมูก ลิ้น และกาย
อารมณ์ทั้งห้าก็ดี ตา หู จมูก ลิ้น กายก็ดี ต่างก็เป็นรูปธรรมอยู่ในรูปขันธ์ คือ เป็นฝ่ายกาย


อย่างไรก็ตาม ในที่นี้ จะพูดเน้นด้านจิตใจ โดยถือกายเป็นเสมือนอุปกรณ์สำเร็จรูปที่สร้างขึ้นมารับใช้กิจกรรมของจิต ใจ ถือว่าจิตใจเป็นศูนย์กลางแห่งกิจกรรมของชีวิต มีความกว้างขวาง ซับซ้อนและลึกซึ้งมาก เป็นที่ให้คุณค่าและความหมายแก่ชีวิต และเกี่ยวข้องโดยตรงกับพุทธธรรมที่จะกล่าวต่อไป


นามขันธ์ ๔ (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด และส่งอิทธิพลเป็นปัจจัยแก่กัน การเกิดขึ้นของนามขันธ์ทั้งสี่เหล่านั้น ตามปกติจะดำเนินไปตามกระบวนธรรมดังนี้


"เพราะผัสสะ (ตา หู ฯลฯ + รูป เสียง ฯลฯ + วิญญาณ) เป็นปัจจัย การเสวยอารมณ์ (เวทนา) จึงมี บุคคลเสวยอารมณ์ใด ย่อมหมายรู้อารมณ์นั้น (สัญญา) หมายรู้อารมณ์ใด ย่อมตริตรึกอารมณ์นั้น (สังขาร).."


ตัวอย่าง นาย ก. ได้ยินเสียงระฆังกังวาน (หู + เสียง + วิญญาณทางหู) รู้สึกสบายหูสบายใจ (= เวทนา) หมารู้ว่าเป็นเสียงไพเราะ ว่าเป็นเสียงระฆัง ว่าเป็นเสียงระฆังอันไพเราะ (= สัญญา) ชอบใจเสียงนั้น อยากฟังเสียงนั้นอีก คิดจะไปตีระฆังนั้น อยากได้ระฆังนั้น คิดจะไปซื้อระฆังอย่างนั้น คิดจะลักระฆังนั้น ฯลฯ (= สังขาร)


พึงสังเกตว่า ในกระบวนธรรมนั้น เวทนามีบทบาทสำคัญมาก อารมณ์ใดให้สุขเวทนา สัญญาก็ มักกำหนดหมายอารมณ์นั้น ยิ่งให้สุขเวทนามาก ก็จะกำหนดหมายมาก และเป็นแรงผลักดันให้คิดปรุงแต่งทำการต่างๆ เพื่อให้ได้เสวยสุขเวทนานั้นมากขึ้น ความเป็นไปอย่างนี้ เรียกได้ว่าเป็นกระบวนธรรมง่ายๆ พื้นๆ เบื้องต้น เป็นแบบสามัญหรือแบบพื้นฐาน


ในกระบวนธรรมนี้ เวทนาเป็นตัวล่อและชักจูงใจ เหมือนผู้คอยเสนอ ให้เอาหรือไม่เอาหรือหลีกเลี่ยงอะไร สัญญาเหมือนผู้สะสมเก็บข้อมูลหรือวัตถุดิบ สังขารเหมือนผู้นำเอาข้อมูลหรือวัตถุดิบนั้นไปใช้ปรุงแปรตระเตรียมทำการ วิญญาณเหมือนเจ้าของงาน ใครทำอะไรคอยรับรู้ไปหมด เป็นทั้งผู้เปิดโลกให้มีการทำงาน และเป็นผู้รับผลของการทำงาน *


ในกระบวนธรรมนี้ มีความซับซ้อนอยู่ในตัว มิใช่ว่าเวทนาจะเป็นตัวชักจูงผลักดันขันธ์อื่นฝ่ายเดียว ขันธ์อื่นก็ เป็นปัจจัยแก่เวทนา เช่น เสียงดนตรี เสียงเพลงเดียวกัน คนหนึ่งได้ยินแล้ว สุขเวทนาชื่นใจ อีกคนหนึ่ง รู้สึกบีบคั้นใจเป็นทุกข์ หรือคนเดียวกันนั่นแหละ สมัยหนึ่ง ได้ยินแล้วเป็นสุข ล่วงไปอีกสมัยหนึ่ง ได้ยินแล้วเป็นทุกข์ หลักทั่วไปคือ ของที่ชอบ ที่ต้องการ ตรงกับความปรารถนา เมื่อได้ประสบก็เป็นสุข ของไม่ชอบ ขัดความปรารถนา เมื่อได้ประสบก็เป็นทุกข์

ในกรณีเช่นนี้

สังขาร คือ ความชอบ ไม่ชอบ ปรารถนา เกลียดกลัว เป็นต้น เป็นตัวปรุงแต่งเวทนาอีกต่อหนึ่ง แต่ที่กล่าวอย่างนี้ ความจริงมีสัญญาเกี่ยวข้องอยู่ด้วยในตัว คือสังขารปรุงแต่งสัญญาไว้ แล้วกลับมามีอิทธิพลต่อเวทนา


ตัวอย่างที่อาจจะชัดกว่า เช่น เคยเห็นคนที่รักที่นิยมชมชอบทำอากัปกิริยาบางอย่าง ก็กำหนดหมายเอาไว้ว่า อย่างนี้สวย น่ารัก เห็นกิริยาอาการบางอย่างของบางคนแล้วไม่ชอบ กำหนดหมายไว้ว่าอย่างนี้ น่าหมั่นไส้ (=สัญญา) ต่อมาเห็นกิริยาอย่างที่นิยมหมายไว้ว่า สวย น่ารัก หรืออย่างที่หมายไว้ว่าน่าชัง น่าหมั่นไส้ ก็สบายตาชื่นใจ หรือเดือดร้อนตาบีบคั้นใจ (= เวทนา) แล้วชอบหรือโกรธ (= สังขาร) ไปตามนั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2016, 10:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่อ้างอิงข้างบน * ตามลำดับ

* ม.มู.๑๒/๒๔๘/๒๒๕...(กระบวนธรรมที่ครบถ้วนของความที่อ้างนี้ ดูในตอนว่าด้วยอายตนะ)


*คัมภีร์วิสุทธิมัคค์ เป็นต้น เปรียบเทียบว่า รูปเปรียบเหมือนภาชนะ เวทนาเหมือนโภชนะ สัญญาเหมือนกับข้าว สังขารเหมือนผู้ปรุงอาหาร วิญญาณเหมือนผู้บริโภค.... หรือรูปเหมือนเรือนจำ เวทนาเหมือนการลงโทษ สัญญาเหมือนโทษ สังขารเหมือนเจ้าหน้าที่ผู้ลงโทษ วิญญาณเหมือนนักโทษ (วิสุทธิมัคค์ 3/58 สงฺคห.ฎีกา 227)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2016, 10:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ


ที่ซับซ้อนยิ่งกว่านั้น เช่น งานบางอย่าง หรือการเล่าเรียนบางอย่าง เป็นสิ่งยากลำบาก หากลำพังจะต้องทำหรือเล่าเรียนขึ้นมาโดดๆแล้ว ก็จะต้องเกิดทุกขเวทนา แล้วก็ส่งผลต่อไปให้ไม่อยากทำ ไม่อยากไม่อยากเรียน แต่หากมีเครื่องล่อมาให้ ก็อาจกลับสนใจและตั้งใจเรียนต่อไปได้ เครื่องล่อนี้อาจเป็นเวทนาที่เป็นสุขในปัจจุบัน

เช่น

วิธีการที่ให้สนุกสนานบันเทิง เป็นต้น หรืออาจเป็นสิ่งซับซ้อนเนื่องด้วยการกำหนดหมายเกี่ยวกับสุขเวทนาในอนาคต เช่น รางวัล ความสำเร็จของงาน ประโยชน์แก่ชีวิตตน แก่ผู้อื่นหรือแก่ส่วนรวม เป็นต้น แล้วแต่จะปรุงด้วยสังขารฝ่ายใด เช่น ด้วยตัณหา ด้วยมานะ หรือด้วยปัญญา เป็นอาทิ ซึ่งจะส่งผลสะท้อนกลับมาทำให้การทำงาน หรือการเรียนนั้น เกิดมีความหมาย มีค่า มีความสำคัญขึ้นแก่ผู้ทำหรือผู้เรียน แล้วแต่งให้เขากลับได้รับสุขเวทนาในขณะที่เรียนหรือทำงานนั้นด้วย
แม้อาจมีทุกขเวทนาทางกาย แต่ภายในใจมีสุขเวทนาเป็นโสมนัสอาบอยู่ ทำให้เล่าเรียนหรือทำงานนั้นแข็งขันต่อไป


เมื่อระฆังโรงเรียนกังวานขึ้นในเวลาเย็น นักเรียนทั้งหลายได้ยิน (= วิญญาณ) รู้สึกเรื่อยๆ ต่อเสียงนั้น (= เวทนา) เพราะชินชาอยู่ทุกวัน ต่างก็รู้กำหนดหมายว่าเป็นสัญญาณเลิกเรียน (= สัญญา) เด็กคนหนึ่งดีใจ (= สุขเวทนา + สังขาร) เพราะจะได้เลิกเรียนไม่ต้องนั่งปวดเมื่อยและจะได้ไปเล่นสนุกสนาน (= สัญญาซ้อน) เด็กอีกคนหนึ่ง เสียใจ (=ทุกขเวทนา+สังขาร) เพราะจะต้องหยุดบทเรียนอันมีคุณค่า ขาดประโยชน์อันพึงได้ หรือเพราะจะต้องกลับไปพบกับผู้ปกครองที่แสนจะน่ากลัว (= สัญญาซ้อน)


โดยนัยนี้ กระบวนธรรมตลอดสาย เริ่มแต่วิญญาณที่รับรู้ เป็นต้นไป จึงล้วนสัมพันธ์กันเป็นเหตุปัจจัยซับซ้อน ร่วมเสริมสร้างบุคลิกภาพ และกำหนดชะตาชีวิตของแต่ละบุคคลให้เป็นไปต่างๆ และให้แตกต่างจากกันและกัน

ในกระบวนธรรมนี้ สังขารนั่นแหละเป็นตัวปรุงแต่ง และสังขารนั้น ซึ่งมีเจตนาเป็นตัวแทน ก็คือชื่อตัวหรือชื่อที่เรียกกันในครอบครัว ของคำว่า กรรม ดังนั้น กรรมซึ่งเป็นชื่อประจำตำแหน่ง หรือชื่อที่ออกงานของสังขาร จึงถูกกล่าวขวัญถึงอย่างเป็นผู้มีบทบาทอันสำคัญยิ่งว่า "กรรมย่อมจำแนกสัตว์ทั้งหลาย ให้ต่างๆออกไป คือ ให้ทรามและให้ประณีต" "หมู่สัตว์ เป็นไปเพราะกรรม" * (*ขุ.สุ.๒๕/๓๘๒/๔๕๓)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2016, 11:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
รูปภาพ

:b12:
อธิบายได้ละเอียดขอบคุณที่ค้นคว้ามาให้อ่านค่ะ
แต่ว่าจิตจำถูกหรือยังว่าไม่มีเราเขาสัตว์บุคคลตัวตน
มีแต่จิตรู้จำถูกหรือจำผิดคลาดเคลื่อนจากความจริงน๊า
:b16: :b17:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2016, 16:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
อธิบายได้ละเอียดขอบคุณที่ค้นคว้ามาให้อ่านค่ะ
แต่ว่าจิตจำถูกหรือยังว่าไม่มีเราเขาสัตว์บุคคลตัวตน
มีแต่จิตรู้จำถูกหรือจำผิดคลาดเคลื่อนจากความจริงน๊า



รู้เรื่องขึ้นมาหน่อย แต่จะให้เข้าใจชีวิตมากกว่านี้ ขออนุญาตแนะนำให้คุณโรสแต่งงานมีครอบครัวจะเข้าใจมากกว่านี้ :b13: :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2016, 16:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

อริยสัจ ๔ ได้แก่

๑. ทุกข์ = ทุกข์ = ผล
๒. สมุทัย = ตัณหา = เหตุ

๓. นิโรธ = นิพพาน = ผล
๔. มรรค = วิธีปฏิบัติ = เหตุ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2016, 17:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขันธ์ ๕ กับ อุปาทานขันธ์ ๕ หรือชีวิต กับ ชีวิตซึ่งเป็นปัญหา


ในพุทธพจน์นี้แสดงความหมายของอริยสัจ ๔ ซึ่งเป็นหลักธรรมที่ประมวลใจความทั้งหมดของพระพุทธศาสนา มีข้อความที่น่าสังเกตเป็นพิเศษเกี่ยว กับ ขันธ์ ๕ ปรากฏอยู่ในอริยสัจข้อที่ ๑ คือ ข้อว่าด้วยทุกข์

ในอริยสัจข้อที่ ๑ นั้น ตอนต้นพระพุทธเจ้าทรงแสดงความหมาย หรือคำจำกัดความของทุกข์ ด้วยวิธียกตัวอย่างเหตุการณ์ต่างๆ ที่มองเห็นได้ง่าย และมีอยู่เป็นสามัญในชีวิตของบุคคล ขึ้นแสดงว่าเป็นความทุกข์แต่ละอย่างๆ

แต่ในตอนท้าย พระองค์ตรัสสรุปลงเป็นข้อเดียวว่า อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ดังพุทธพจน์ว่า

"ภิกษุทั้งหลาย นี้คือ ทุกขอริยสัจ ความเกิดเป็นทุกข์ ความแก่เป็นทุกข์ ความตายเป็นทุกข์ ความประจวบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักเป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์" * (*วินย.4/14/18 ฯลฯ)

พุทธพจน์นี้ นอกจากแสดงถึงฐานะของขันธ์ ๕ ในพุทธธรรมแล้ว ยังมีข้อสังเกตสำคัญ คือ ความหมายของ "ทุกข์" นั้น จำง่ายๆ ด้วยคำสรุปที่สั้นที่สุดว่า คือ อุปาทานขันธ์ ๕ หรือเบญจอุปาทานขันธ์เท่านั้น และคำว่า ขันธ์ในที่นี้ มี "อุปาทาน" นำหน้ากำกับไว้ด้วย


สิ่งที่ควรศึกษาในที่นี้ ก็คือ คำว่า "ขันธ์" กับ "อุปาทานขันธ์" ซึงขอให้พิจารณาตามพุทธพจน์ ต่อไปนี้


"ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงขันธ์ ๕ และอุปาทานขันธ์ ๕ เธอทั้งหลายจงฟัง"

"ขันธ์ ๕ เป็นไฉน ? รูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ อันใดอันหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม ทรามก็ตาม ประณีตก็ตาม ไกลหรือใกล้ก็ตาม ....เหล่านี้ เรียกว่า ขันธ์ ๕"


"อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน? รูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ อันใดอันหนึ่ง ทั้งที่เป็น อดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม หยาบก็ ตาม ละเอียดก็ตาม ทรามก็ตาม ประณีตก็ตาม ไกลหรือใกล้ก็ตาม ที่ประกอบด้วยอาสวะ (สาสวะ) เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน (อุปาทานิยะ) เหล่านี้ เรียกว่า อุปาทานขันธ์ ๕"* (*สํ.ข.17/95-96/58-60)



"ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมทั้งหลาย ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน และตัวอุปาทาน เธอทั้งหลายจงฟัง"

"รูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ คือธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน ฉันทราคะ (ความชอบใจจนติด หรืออยากอย่างแรงจนยึดติด) ใน รูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ นั้นคืออุปาทาน ในสิ่งนั้นๆ" * (*สํ.ข.17/309/202)

หลักการนี้ เป็นพื้นฐานความเข้าใจที่สำคัญอย่างหนึ่ง ในการศึกษาพุทธธรรมต่อๆไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2016, 17:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ


คุณค่าทางจริยธรรม



ตามปกติ มนุษย์มีความโน้มเอียงที่จะยึดถืออยู่เสมอว่า ตัวตนที่แท้ของตนมีอยู่ในรูปใดรูปหนึ่ง บ้างก็ยึดเอาจิตเป็นตัวตน * บ้างก็ยึดว่า มีสิ่งที่เป็นตัวตนอยู่ต่างหากแฝงซ้อนอยู่ในจิตนั้น ซึ่งเป็นเจ้าของ และเป็นตัวการที่คอยควบคุมบังคับบัญชากายและใจนั้นอีกชั้นหนึ่ง

การแสดงขันธ์ ๕ นี้ มุ่งให้เห็นว่า สิ่งที่เรียกว่า "สัตว์" "บุคคล" "ตัวตน" เป็นต้นนั้น เมื่อแยกออกไปแล้ว ก็จะพบแต่ส่วนประกอบ ๕ ส่วนเหล่านี้เท่านั้น ไม่มีสิ่งอื่นเหลืออยู่ที่จะมาเป็นตัวตนต่างหากได้ และ
แม้ขันธ์ ๕ เหล่านี้ แต่ละอย่างก็มีอยู่เพียงในรูปที่สัมพันธ์เนื่องอาศัยกัน ไม่เป็นอิสระ ไม่มีโดยตัวของมันเอง ดังนั้น ขันธ์ ๕ แต่ละอย่างๆ นั้นก็ไม่ใช่ตัวตนอีกเช่นกัน


รวมความว่า หลักขันธ์ ๕ แสดงถึงความเป็นอนัตตา ให้เห็นว่า ชีวิตเป็นการประชุมเข้าของส่วนประกอบต่างๆ หน่วยรวมของส่วนประกอบเหล่านี้ ก็ไม่ใช่ตัวตน
ส่วนประกอบแต่ละอย่างๆนั้นเอง ก็ไม่ใช่ตัวตน และสิ่งที่เป็นตัวอยู่ต่างหากจากส่วนประกอบเหล่านี้ก็ไม่มี * (* ดู สํ.ข.๑๗/๔-๕,๓๒-๓๓,๑๙๙-๒๐๗..)
เมื่อมองเห็นเช่นนี้แล้ว ก็จะถอนความยึดมั่นถือมั่นในเรื่องตัวตนได้ ความเป็นอนัตตานี้ จะเห็นได้ชัดต่อเมื่อเข้าใจกระบวนการของขันธ์ ๕ ในวงจรแห่งปฏิจจสมุปบาท


อนึ่ง เมื่อมองเห็นว่า ขันธ์ ๕ มีอยู่อย่างสัมพันธ์และอาศัยซึ่งกันและกัน ก็จะไม่เกิดความเห็นผิดว่าขาดสูญ ที่เรียกว่า อุจเฉททิฏฐิ และความเห็นผิดว่า เที่ยง ที่เรียกว่า สัสสตทิฏฐิ

เมื่อรู้ว่าสิ่งทั้งหลายไม่มีตัวตน และมีอยู่อย่างสัมพันธ์ และอาศัยกันเช่น นี้แล้ว ก็จะเข้าใจหลักกรรมโดยถูกต้องว่าเป็นไปได้อย่างไร กระบวนแห่งสัมพันธ์ และอาศัยกันของสิ่งเหล่านี้ มีคำอธิบายอยู่ในหลักปฏิจจสมุปบาทเช่นเดียวกัน


อีกประการหนึ่ง การมองสิ่งทั้งหลายโดยวิธีแยกส่วนประกอบออกไปอย่างวิธีขันธ์ ๕ นี้ เป็นการฝึกความคิด หรือสร้างนิสัยที่จะใช้ความคิดแบบวิเคราะห์ความจริง คือ เมื่อประสบหรือเข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ ความคิดก็ไม่หยุดตันอึ้ง ยึดถือเฉพาะรูปลักษณะภายนอกเท่านั้น เป็นการสร้างนิสัยชอบสอบสวนสืบค้นหาความจริง และ

ที่สำคัญยิ่งคือ ทำให้รู้จักมองสิ่งทั้งหลายตามสภาวะล้วนๆ ของมัน หรือตามแบบสภาววิสัย (objective) คือ มองเห็นสิ่งทั้งหลาย "ตามที่มันเป็น" ไม่นำเอาตัณหาอุปาทานเข้าไปจับ อันเป็นเหตุให้มองเห็นตามที่อยาก หรือไม่อยากให้มันเป็น อย่างที่เรียกว่า สกวิสัย "subjective" คุณค่าอย่างหลังนี้ นับว่าเป็นการเข้าถึงจุดหมายที่ต้องการของพุทธธรรมและของหลักขันธ์ ๕ นี้ คือการไม่ยึดมั่นถือมั่น การไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งทั้งหลายด้วยการใช้ตัณหาอุปาทาน แต่เข้าไปเกี่ยวข้องจัดการด้วยปัญญา


อย่างไรก็ดี ในการแสดงพุทธธรรมนั้น ตามปกติท่านไม่แสดงเรื่องขันธ์ ๕ ลำพังโดดๆ เพราะขันธ์ ๕ เป็นแต่สภาวะที่ ยกขึ้นเป็นตัวตั้งสำหรับพิจารณา และการพิจารณานั้น ย่อมเป็นไปตามแนวแห่งหลักธรรมอย่างอื่น ที่เป็นประเภทกฎสำหรับนำมาจับหรือกำหนดว่าขันธ์ ๕ มีสภาวะเป็นอย่างไร มีความเป็นไปอย่างไร เป็นต้น คือ ต้องแสดงโดยสัมพันธ์กับหลักธรรมอย่างอื่น เช่น หลักอนัตตา เป็นต้น จึงจะปรากฏคุณค่าในทางปฏิบัติโดยสมบูรณ์ ดังนั้น จึงขอยุติเรื่องขันธ์ ๕ ไว้เพียงในฐานะสิ่งที่ยกขึ้นเป็นตัวตั้งสำหรับนำไปพิจาณาในหลักต่อๆไป


..........

ต่อ ตอนชีวิต คืออะไร (ซึ่งว่าด้วยอายตนะ)


viewtopic.php?f=1&t=52608

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 27 มิ.ย. 2016, 17:25, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2016, 17:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่อ้างอิงข้างบน *

* พึงสังเกตพุทธพจน์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย การที่ปุถุชนผู้มิได้เรียนรู้จะเข้าไปยึดถือว่า ร่างกายอันประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ ว่าเป็นตัวตน ยังดีกว่าจะยึดถือจิตว่าเป็นตัวตน เพราะว่ากาย...นี้ยังปรากฏให้เห็นว่าดำรงอยู่ปีหนึ่งบ้าง ๒ ปีบ้าง ๓-๔-๕ ปีบ้าง ๑๐-๒๐-๓๐-๔๐-๕๐ ปีบ้าง ๑๐๐ ปีบ้าง เกินกว่านั้นบ้าง แต่สิ่งที่เรียกว่าจิต มโน หรือวิญญาณนี้ เกิดดับอยู่เรื่อย ทั้งคืนทั้งวัน"
(สํ.นิ.๑๖/๒๓๑/๑๑๔)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2016, 17:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณโรสคงได้คำตอบเรื่องจิตแล้วนะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2016, 17:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
อธิบายได้ละเอียดขอบคุณที่ค้นคว้ามาให้อ่านค่ะ
แต่ว่าจิตจำถูกหรือยังว่าไม่มีเราเขาสัตว์บุคคลตัวตน
มีแต่จิตรู้จำถูกหรือจำผิดคลาดเคลื่อนจากความจริงน๊า



รู้เรื่องขึ้นมาหน่อย แต่จะให้เข้าใจชีวิตมากกว่านี้ ขออนุญาตแนะนำให้คุณโรสแต่งงานมีครอบครัวจะเข้าใจมากกว่านี้ :b13: :b32:

:b32:
เข้าใจคำว่าจิตท่องเที่ยวดวงเดียวตั้งแต่เกิดจนตายทำ2อย่างคือคิดดีกับคิดไม่ดีไหม
นี่แค่คิดคนเดียวถ้าเพิ่มคนก็คิดมากขึ้นคิดแต่ความไม่ดีของคนใกล้ตัวแต่ตัวมิดีก็มิรู้
:b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2016, 19:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
คุณโรสคงได้คำตอบเรื่องจิตแล้วนะ

:b12:
คุณกรัชกายสงสัยนี่ที่ถามจิต ใจ เจตสิก
มาบอกข้าพเจ้าว่าคงจะได้คำตอบแล้วนะ
ถามเองหามาตอบเองอีกคงหายสงสัยค่ะ
:b32: :b32:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 52 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 80 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร