วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 20:23  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 52 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2016, 09:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ชีวิต ตามสภาพของมัน

รูปภาพ

https://www.youtube.com/watch?v=xxo54wfoFhU

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2016, 09:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เติบโตตามกาลเวลา มีธรรมชาติทั้งฝ่ายดี ฝ่ายร้าย มากน้อยแล้วแต่ อยู่ในตัวของตัว

รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 13 มิ.ย. 2016, 09:53, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2016, 09:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธธรรมหน้า 14

ขันธ์ ๕ ส่วนประกอบห้าอย่างของชีวิต


ตัวสภาวะ

พุทธธรรมมองเห็นสิ่งทั้งหลายเป็นธาตุ เป็นธรรม เป็นสภาวะ * อันมีอยู่เป็นอยู่ตามภาวะของมัน ที่เป็นของมันอย่างนั้น เช่นนั้น ตามธรรมดาของมัน มิใช่มีเป็นสัตว์ บุคคล อัตตา ตัวตน เราเขา ที่จะยึดถือเอาเป็นเจ้าของ ครอบครอง บังคับบัญชาให้เป้นไปตามปรารถนาอย่างไรๆ ได้



บรรดาสิ่งทั้งหลายที่รู้จักเข้าใจกันอยู่โดยทั่วไปนั้น มีอยู่เป็นอยู่เป็นไปในรูปของส่วนประกอบต่างๆ ที่มาประชุมกัน ตัวตนแท้ๆ ของสิ่งทั้งหลายไม่มี เมื่อแยกส่วนต่างๆ ที่มาประกอบกันเข้านั้นออกไป ให้หมด ก็จะไม่พบตัวตนของสิ่งนั้นเหลืออยู่ ตัวอย่างง่ายๆ ที่ยกขึ้นอ้างกันบ่อยๆ คือ "รถ" เมื่อนำส่วนประกอบต่างๆมาประกอบเข้าด้วยกันตามแบบที่กำหนด ก็บัญญัติเรียกกันว่า "รถ" *

แต่ถ้าแยกส่วนประกอบทั้งหมดออกจากกัน ก็็จะหาตัวตนของรถไม่ได้ มีแต่ส่วนประกอบทั้งหลาย ซึ่งมีชื่อเรียกต่างๆกัน จำเพาะแต่ละอย่า่งอยู่แล้ว คือตัวตนของรถมิได้มีอยู่ต่างหากจากส่วนประกอบเหล่านั้น มีแต่เพียงคำบัญญัติว่า "รถ" สำหรับสภาพที่มารวมตัวกันเข้าของส่วนประกอบเหล่านั้น แม้ส่วนประกอบแต่ละอย่างๆนั้นเอง ก้ปรากฎขึ้นโดยการรวมกันเข้าของส่วนประกอบย่อยๆ ต่อๆไปอีก และหาตัวตนที่แท้ไม่พบเช่นเดียวกัน เมื่อจะพูดว่าสิ่งทั้งหลายมีอยู่ ก็ต้องเข้าใจในความหมายว่า มีอยู่ในฐานะมีส่วนประกอบต่างๆ มาประชุมเข้าด้วยกัน


เมื่อมองเห็นสภาพของสิ่งทั้งหลายในรูปของการประชุมส่วนประกอบเช่นนี้ พุทธธรรมจึงต้องแสดงต่อไปว่า ส่วนประกอบต่างๆ เหล่านั้นเป็นอย่างไร มีอะไรบ้าง อย่างน้อยก็พอเป็นตัวอย่าง และโดยที่พุทธธรรมมีความเกี่ยวข้องเป็นพิเศษกับเรื่องชีวิต โดยเฉพาะด้านจิตใจ การแสดงส่วนประกอบต่างๆ จึงต้องครอบคลุมทั้งวัตถุและจิตใจ หรือทั้งรูปธรรมและนามธรรม และมักแยกเป็นพิเศษในด้านจิตใจ

..........

ที่อ้างอิง *

* สํ.ส.15/554/198

* นิยมเรียกยาวเป็น "สภาวธรรม" ตามคำบาลีว่า "สภาวธมฺม" ซึ่งมาจาก ส+ภาว+ธมฺม แปลตรงตัวว่า สิ่งที่มีภาวะของมันเอง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2016, 10:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การแสดงส่วนประกอบต่างๆนั้น ย่อมทำได้หลายแบบ สุดแต่วัตถุประสงค์จำเพาะของการแสดงแบบนั้นๆ * แต่ในที่นี้ จะแสดงแบบขันธ์ ๕ ซึ่งเป็นแบบที่นิยมในพระสูตร


โดยวิธีแบ่งแบบขันธ์ ๕ พุทธธรรมแยกแยะชีวิตพร้อมทั้งองคาพยพทั้งหมดที่บัญญัติเรียกว่า "สัตว์" "บุคคล" ฯลฯ ออกเป็นส่วนประกอบต่างๆ ๕ ประเภท หรือ ๕ หมวด เรียกทางธรรมว่า เบญจขันธ์ คือ

๑. รูป (Corporeality) ได้แก่ ส่วนประกอบฝ่ายรูปธรรมทั้งหมด ร่างกาย และพฤติกรรมทั้งหมดของร่างกาย หรือสสารและพลังงานฝ่ายวัตถุ พร้อมทั้งคุณสมบัติ และพฤติกรรมต่างๆ ของสสารพลังงานเหล่านั้น

๒. เวทนา (Feeling หรือ Sensation) ได้แก่ ความรู้สึกสุข ทุกข์ หรือเฉยๆ ซึ่งเกิดจากผัสสะทางประสาททั้ง ๕ และทางใจ

๓. สัญญา (Perception) ได้แก่ ความกำหนดได้ หรือหมายรู้ คือ กำหนดรู้อาการเครื่องหมายลักษณะต่างๆ อันเป็นเหตุให้จำอารมณ์ * (object) นั้นๆได้

๔. สังขาร (Mental Formations หรือ Volitional Activities) ได้แก่ องค์ประกอบหรือคุณสมบัติต่างๆของจิต มีเจตนาเป็นตัวนำ ซึ่งแต่งจิตให้ดีหรือชั่วหรือเป็นกลางๆ ปรุงแปรการตริตรึกนึกคิดในใจ และการแสดงออกทางกาย วาจา ให้เป็นไปต่างๆ เป็นที่มาของกรรม เช่น ศรัทธา สติ หิริ โอตตัปปะ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา * ปัญญา โมหะ โลภะ โทสะ มานะ ทิฏฐิ อิสสา มัจฉริยะ เป็นต้น เรียกรวมอย่างง่ายๆว่า เครื่องปรุงของจิต เครื่องปรุงของความคิด หรือเครื่องปรุงของกรรม

๕. วิญญาณ (Consciousness) ได้แก่ ความรู้แจ้งอารมณ์ทางประสาททั้ง ๕ และทางใจ คือ การเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การรู้รส การรู้สัมผัสทางกาย และการรู้อารมณ์ทางใจ


ข้อ ๑ เป็นรูปขันธ์ ขันธ์ ๔ ข้อหลังเป็นพวกนามขันธ์ เรียกรวมว่า รูปนามหรือนามรูป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2016, 12:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างอิงข้างบนที่ *

* แบ่งอย่างกว้างๆ ว่านาม และรูป หรือนามธรรม กับ รูปธรรม, แต่ตามแนวอภิธรรมนิยมแบ่งเป็น ๓ คือ จิต เจตสิก และรูป ถ้าเทียบกับขันธ์ ๕ ดังแสดงแล้ว
จิต = วิญญาณขันธ์
เจตสิก = เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์
รูป = รูปขันธ์

* คำว่า "อารมณ์" หมายถึง สิ่งที่จิตรับรู้ หรือ สิ่งที่ถูกรับรู้ โดยอาศัยทวารทั้ง ๖ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ (= ความรู้สึกนึกคิด)

* อุเบกขา เป็นธรรมสำคัญยิ่งข้อหนึ่ง และมักมีผู้เข้าใจความหมายสับสนผิดพลาดอยู่เสมอ จึงควรศึกษาให้เข้าใจชัด อย่างน้อยต้องสามารถแยกอุเบกขาในหมวดสังขาร ซึงตรงกับ ตัตรมัชฌัตตตา ออกจากอุเบกขาในหมวดเวทนา ซึ่งตรงกับ อทุกขมสุข อันเป็นความรู้สึกเฉยๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2016, 12:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มีข้อควรทำความเข้าใจ เพื่อเห็นความหมายชัดเจนยิ่งขึ้น และเพื่อป้องกันความสับสน * ดังนี้

สัญญา * เป็นความรู้จำพวกหนึ่ง หมายถึง การหมายรู้ หรือกำหนดรู้ อาการของอารมณ์ เช่น ลักษณะทรวดทรง สี สัณฐาน ฯลฯ ตลอดจนชื่อเรียก และสมมติบัญญัติต่างๆ ว่า เขียว ขาว ดำ แดง ดัง เบา ทุ้ม แหลม อ้วน ผอม โต๊ะ ปากกา หมู หมา ปลา แมว คน เขา เรา ท่าน เป็นต้น


การหมายรู้ หรือกำหนดรู้นี้ อาศัยการเทียบเคียงระหว่างประสบการณ์หรือความรู้เก่า กับประสบการณ์หรือความรู้ใหม่ ถ้าประสบการณ์ใหม่ตรงกับประสบการณ์ เก่า เช่น พบเห็นคนหรือสิ่งของที่เคยรู้จักแล้ว ได้ยินเสียง ที่เคยได้ยินแล้ว ดังตัวอย่าง นาย ก. รู้จักนาย เขียว ต่อมาอีกเดือนหนึ่ง นาย ก. เห็นนายเขียว อีก และรู้ว่าคนที่เขาเห็นนั้นคือนายเขียว อย่างนี้เรียก ว่า จำได้

ถ้า

ประสบการณ์ใหม่ไม่ตรงกับประสบการณ์เก่า เรา ย่อมนำเอาประสบการณ์ หรือความรู้เก่าที่มีอยู่แล้วนั่นเอง มาเทียบเคียงว่าเหมือนกันและไม่ เหมือนในส่วนไหน อย่างไร แล้วหมายรู้สิ่งนั้นตามคำบอกเล่าหรือ ตามที่ตนกำหนดเอาว่า เป็นนั่น เป็นนี่ ไม่ใช่นั่น ไม่ ใช่นี่ อย่างนี้ เรียกว่า กำหนดหมาย หรือ หมายรู้


การหมายรู้เช่นนี้ ย่อมมีหลายชั้น หมายรู้ไปตามความตกลงอันเนื่องด้วย ความรู้สามัญบ้าง เช่น ว่า เขียว ขาว เหลือง แดง เป็นต้น ตามนิยม ของโลก ของสังคม ของวัฒนธรรม ประเพณี เป็นต้น บ้าง เช่นว่า อย่างนี้สุภาพ อย่างนั้นสวยงาม อย่างนั้น ถูกธรรมเนียม อย่างนี้ผิดธรรมเนียม เป็นต้น ตามนิยมปรุงแต่ง จำเพาะตนบ้าง เช่นว่า อย่างนี้สวย อย่างนั้นน่าชม อย่าง นี้น่าหมั่นไส้ เป็นต้น

หมายรู้สองชั้น (แบบ สัญลักษณ์) บ้าง เช่นว่า สีเขียวแดงหมายถึงมหาวิทยาลัยแห่ง หนึ่ง เสียงระฆังสองครั้งหมายถึงการกินอาหาร ตลอดจนตามการศึกษา อบรม ในทางธรรม เช่น หมายรู้ในภาวะที่ไม่เที่ยง หมาย รู้ในภาวะที่เป็นอนัตตา เป็นต้น มีทั้งความหมายรู้สามัญและความ หมายรู้ที่ละเอียดซับซ้อน (คือสัมพันธ์กับขันธ์อื่นมากขึ้น) มี ทั้งหมายรู้เกี่ยวกับรูปธรรม และหมายรู้เกี่ยวกับนามธรรม

คำแปล สัญญาว่า จำได้ กำหนดได้ หมายรู้ กำหนดหมาย จำหมาย สำคัญหมาย ล้วนแสดงแง่ต่างๆ แห่งความหมายของกองสัญญานี้ทั้งสิ้น


พูดเพื่อให้เข้าใจอย่างง่ายๆ สัญญาก็คือกระบวนการเรียกเก็บ รวบรวม และสั่งสมข้อมูลของการเรียนรู้ และวัตถุดิบสำหรับความคิดนั่น เอง


สัญญา เกื้อกูลแก่การดำเนินชีวิตของมนุษย์อย่างมาก แต่ในเวลาเดียวกัน ก็มีโทษมิใช่น้อย เพราะมนุษย์จะยึดติดตามสัญญา ทำให้สัญญากลายเป็นเครื่องกีดกั้นกำบังตนเอง และห่อหุ้มคลุมตัวสภาวะไว้ ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงความจริงแท้ที่อยู่ลึกลงไป


เพื่อประโยชน์แก่การศึกษาต่อไป สัญญา ขอ แยกออกคร่าวๆ เป็น ๒ ระดับ คือ สัญญาอย่างสามัญ ซึ่งกำหนดหมายอาการของอารมณ์ที่เกิดขึ้นหรือเป็นไป อยู่ตามปกติธรรมดาของมัน อย่างหนึ่ง และสัญญาสืบทอด หรือสัญญาอย่างซับซ้อน ที่บางคราวก็ใช้คำเรียกให้ต่างออกไป เฉพาะอย่างยิ่ง "ปปัญจสัญญา" อันหมายถึงสัญญาเนื่องด้วยอารมณ์ที่คิดปรุงแต่งขึ้นให้ ซับซ้อนพิสดาร ด้วยแรงผลักดันของตัณหา มานะ และ ทิฏฐิ ซึ่งเป็นสังขารชั้นนำฝ่ายร้าย อีกอย่างหนึ่ง

การแยกเช่นนี้ จะช่วยให้มองเห็นความหมายของสัญญาที่กำลังแสดงบทบาทอยู่ พร้อมทั้งความสัมพันธ์ระเหว่างสัญญากับขันธ์อื่นภายในกระบวนธรรมได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2016, 12:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างอิงข้างบนที่ *

* คำอธิบายตั้งแต่นี้ไป อาศัยเค้าความจากบาลี และอรรถกถาบางแห่งเทียบเคียงด้วย โดยเฉพาะ ม.มู.12/494536 ม.อ.2/462 วิสุทธิมัคค์ 3/1,23 สํ.ข.17/159/106 สํ.อ.2/356


* คัมภีร์ชั้นอรรถกถาแสดงลักษณะหน้าที่เป็นต้นของสัญญาไว้ว่า สัญญา มีลักษณะจำเพาะคือสัญชานน์ (จำได้, รู้จัก)
มีหน้าที่ทำเครื่องหมายไว้เป็นปัจจัยแห่งการจำได้ (หรือ รู้จัก) ต่อไปว่า "นั่นคือสิ่งนั้น" เหมือนดังช่างไม้ เป็นต้น ทำเครื่องหมายไว้ที่วัสดุมีตัวไม้เป็นอาทิ
มีผลปรากฎ คือ เกิดความยึดถือไปตามเครื่องหมายที่กำหนดเอาไว้ เหมือนพวกคนตาบอดคลำช้าง ยึดถือไปตามเครื่องหมายที่ตนจับได้ (ว่าช้างเป็นอย่างนั้นๆ)
มีปทัฏฐาน คือ อารมณ์ตามที่ปรากฏ เหมือนลูกเนื้อเห็นหุ่นคนที่ผูกด้วยมัดหญ้า สำคัญหมายว่าเป็นคนจริงๆ (วิสุทธิมัคค์ 3/35)
ถ้าเทียบกับหลักจิตวิทยาฝ่ายตะวันตก สัญญาจะครอบคลุมเรื่อง perception, conception และ recognition (แต่ไม่ใช่ memory ทั้งหมด)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2016, 12:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กระทู้นี้ น่าจะทำให้โฮฮับ อโศก คุณโรส ได้ดวงเห็นธรรม :b1: สาธุ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2016, 12:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิญญาณ แปลตามแบบว่า ความรู้แจ้ง คือ รู้แจ้งอารมณ์ หมายถึง ความรู้ประเภทยืนพื้น หรือ ความรู้ที่เป็นตัวยืน เป็นฐานและเป็นทางเดินให้แก่นามขันธ์อื่นๆ เกี่ยวข้องกับนามขันธ์อื่นทั้งหมด เป็นทั้งความรู้ต้น และความรู้ตาม


ที่ว่าเป็นความรู้ต้น คือ เป็นความรู้เริ่มแรก เมื่อเห็น ได้ยิน เป็นต้น (เกิดวิญญาณขึ้น) จึงจะรู้สึกชื่นใจ หรือบีบคั้นใจ (= เวทนา) จึงจะกำหนดได้ว่าเป็นนั่นเป็นนี่ (= สัญญา) จึงจะจำนงตอบและคิดปรุงแต่งไปต่างๆ (สังขาร) เช่น เห็นท้องฟ้า (= วิญญาณ) รู้สึกสบายตาชื่นใจ (= เวทนา) หมายรู้ว่า ท้องฟ้า สีคราม สดใส ฟ้าสวย ฟ้าบ่าย ฟ้าสวย (=สัญญา) ชอบใจฟ้านั้น อยากเห็นฟ้านั้นนานๆ ไม่อยากให้เวลาผ่านไป โกรธชายคาที่บังไม่ให้เห็นฟ้านั้นเต็มที่ คิดหาวิธีจะทำให้ได้นั่งดูฟ้านั้นได้สบายๆ ชัดเจนและนานๆ ฯลฯ (= สังขาร)


ที่รู้ตาม คือรู้ตามไปตามกิจกรรมของขันธ์อื่นๆ เช่น รู้สึกสุขสบาย (= เวทนา) ก็รู้ว่าเป็นสุข (= วิญญาณ) รู้สึกบีบคั้นใจ ไม่สบาย (= เวทนา) ก็รู้ว่าเป็นทุกข์ (= วิญญาณ) หมายรู้ว่าอย่างนี้เป็นสุข อย่างนั้นเป็นทุกข์ (= สัญญา) ก็รู้ไปตามนั้น เมื่อคิดนึกปรุงแต่งตั้งเจตจำนงไปอย่างใดๆ (= สังขาร) ก็ย่อมมีความรู้ควบอยู่พร้อมกันด้วยโดยตลอด กระแสความรู้ยืนพื้น ซึ่งเกิดดับต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลาควบไปกับนามขันธ์อื่นๆ หรือกิจกรรมทุกอย่างในจิตใจ นี้เรียกว่า วิญญาณ


ลักษณะอีกอย่างหนึ่ง ที่ช่วยความเข้าใจเกี่ยวกับวิญญาณ คือ
วิญญาณ เป็นการรู้ความต่างจำเพาะ รู้ความหมายจำเพาะ หรือรู้แยกต่าง ความหมายนี้พึงเข้าใจด้วยตัวอย่าง เช่น เมื่อเห็นผืนผ้าลาย ที่ว่าเห็นนั้น แม้จะไม่ได้กำหนดหมายว่าอะไรเป็นอะไร ก็ย่อมเห็นลักษณะอาการ เช่น สีสัน เป็นต้น ซึ่งแตกต่างกันเป็นพื้นอยู่พร้อมด้วยเสร็จ นี้เป็นความรู้ขั้นวิญญาณ เพราะวิญญาณรู้เห็นความแตกต่างนั้นอยู่ สัญญาจึงหมายรู้อาการที่แตกต่างกันนั้นได้ว่า เป็นนั่น เป็นนี่ เช่น เป็นเขียว ขาว แดง เป็นต้น

หรือ

อย่างเมื่อรับประทานผลไม้ ถึงจะไม่ได้กำหนดหมายว่าเป็นรสหวาน รสเปรี้ยว ก็รู้รสที่หวาน ที่เปรี้ยวนั้น ซึ่งแตกต่างกัน และแม้ในรสที่เปรี้ยวหรือหวานด้วยกัน แม้จะไม่กำหนดหมายว่า รสเปรี้ยวมะม่วง เปรี้ยวมะปราง เปรี้ยวมะขาม เปรี้ยวมะนาว เปรี้ยวสับปะรด หรือหวานกล้วยหอม หวานกล้วยน้ำว้า หวานกล้วยไข่ หวานแอปเปิ้ล เมื่อลิ้มก็ย่อมรู้รสที่ต่างจำเพาะนั้น ความรู้อย่างนี้ คือ วิญญาณ เป็นความรู้ยืนพื้น เมื่อรู้แล้ว นามขันธ์อื่นจึงจะทำงานหรือปฏิบัติหน้าที่ได้ เช่น รู้สึกอร่อยไม่อร่อย (= เวทนา) จำได้หมายรู้ว่ารสหวานอะไร รสเปรี้ยวอะไร (= สัญญา) เป็นต้น


ส่วนในแง่ที่ว่า รู้ความหมายจำเพาะนั้น อธิบายสั้นๆว่า เมื่อเกิดวิญญาณขึ้น คือ เห็น ได้ยิน เป็นต้น ว่าที่จริงแล้วจะเป็นการเห็นการได้ยินจำเพาะบางแง่ บางความหมาย ของสิ่งที่เห็น สิ่งที่ได้ยินเท่านั้น พูดอีกอย่างหนึ่งว่า จะเป็นการเห็น การได้ยิน ตามความหมายจำเพาะแง่จำเพาะอย่างที่เราใส่ให้แก่สิ่งนั้น ทั้งนี้ สุดแต่สังขารที่เป็นปัจจัยให้วิญญาณนั้นเกิดขึ้น* (* ดู ตอนว่าด้วยปฏิจจสมุปบาท)


ตัวอย่าง เช่น ในท้องทุ่งแห่งหนึ่ง เป็นที่โล่งกว้าง มีต้นมะม่วงขึ้นอยู่ต้นเดียว เป็นต้นใหญ่มาก แต่มีผลอยู่เพียงไม่กี่ลูก และใบห่าง แทบจะอาศัยร่มเงาไม่ได้ มีชาย ๕ คน เดินทางมาถึงต้นมะม่วงนั้นในโอกาสต่างๆกัน

คนหนึ่ง วิ่งหนีสัตว์ร้าย

คนหนึ่ง กำลังหิวมาก

คนหนึ่ง ร้อนแดด กำลังต้องการร่มไม้

คนหนึ่ง กำลังหาผักผลไม้ไปขาย

คนหนึ่ง กำลังหาที่ผูกสัตว์เลี้ยงของตนเพราะจะแวะไปธุระในย่านใกล้เคียง

คนทั้ง ๕ นั้น มองเห็นต้นมะม่วงใหญ่ทุกคน แต่จะเป็นการเห็นในแง่และขอบเขตความหมายต่างๆ กัน วิญญาณเกิดขึ้นแก่ทุกคน แต่วิญญาณของแต่ละคนหาเหมือนกันไม่ เพราะแตกต่างกันไปตามเจตนาของตนๆ ต่อต้นมะม่วง ในเวลาเดียวกัน สัญญา คือ การกำหนดหมายของแต่ละคนก็จะต่างๆกันไปภายในขอบเขตแห่งความหมายที่ตนเห็นในขณะนั้นด้วย แม้เวทนาที่เกิดขึ้นก็ไม่เหมือนกัน เช่น

คนที่วิ่งหนีสัตว์ร้าย เห็นต้นมะม่วงใหญ่แล้วดีใจ เพราะเห็นเครื่องช่วยให้หนีรอดปลอดภัย

คนที่หิวมากก็ดีใจ เพราะผลมะม่วงเพียง ๓-๔ ลูก ก็จะช่วยให้ตนอิ่มพ้นอดตายได้

คนที่ร้อนแดด อาจเสียใจ เพราะผิดหวังที่ไม้ใหญ่ไม่มีร่มให้อย่างที่ควรจะเป็น

คนหาผลไม้ไปขาย ก็อาจเสียใจ เพราะผิดหวังต่อจำนวนผลไม้ทีน้อย

ส่วนคนหาที่ผูกสัตว์เลี้ยง อาจจะรู้สึกสบายใจแต่เพียงเล็กน้อย แค่โล่งใจว่า ไม่ต้องจูงสัตว์ไปหรือไปหาที่ผูกที่อื่น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2016, 13:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
การแสดงส่วนประกอบต่างๆนั้น ย่อมทำได้หลายแบบ สุดแต่วัตถุประสงค์จำเพาะของการแสดงแบบนั้นๆ * แต่ในที่นี้ จะแสดงแบบขันธ์ ๕ ซึ่งเป็นแบบที่นิยมในพระสูตร


โดยวิธีแบ่งแบบขันธ์ ๕ พุทธธรรมแยกแยะชีวิตพร้อมทั้งองคาพยพทั้งหมดที่บัญญัติเรียกว่า "สัตว์" "บุคคล" ฯลฯ ออกเป็นส่วนประกอบต่างๆ ๕ ประเภท หรือ ๕ หมวด เรียกทางธรรมว่า เบญจขันธ์ คือ

เล่านเอาพุทธพจนืไปยำซะปนปี้ มันมีเยียงอย่างที่ไหนพุทะพจน์มีการทำได้หลายแบบ
แถมบอกว่า เป็นที่นิยมอีกด้วย......."จะมั่วไปถึงไหน"

ดันแบ่ง"สัตว์"แยกออกจากบุคคล.....เลอะเทอะสิ้นดี
พี่โฮจะสอนให้นะกรัชกาย พระพุทธองค์ทรงบัญญัติเรียกสิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้องกับธรรมว่า...สัตว์โลก
และความเป็นสัตว์นั้นแบ่งได้เป็น .....เดรัจฉานกับบุคคล
พระพุทธองค์ไม่ได้แบ่งว่า สัตว์กับบุคคลแบบที่กรัชกายมั่ว
บุคคลก็นับเป็นสัตว์โลกอย่างหนึ่ง


และเรื่องขันธ์ห้ามันก็ไม่เกี่ยวกับชีวิต ขันธ์ห้าเป็นเรื่องของนามธรรม
แต่ชีวิตเป็นเรื่องของรูปธรรม

กรัชกาย เขียน:

๑. รูป (Corporeality) ได้แก่ ส่วนประกอบฝ่ายรูปธรรมทั้งหมด ร่างกาย และพฤติกรรมทั้งหมดของร่างกาย หรือสสารและพลังงานฝ่ายวัตถุ พร้อมทั้งคุณสมบัติ และพฤติกรรมต่างๆ ของสสารพลังงานเหล่านั้น


มั่วได้สะแด๊วแห้ว!! ตามที่บอกรูป(ขันธ์) ในที่นี้เป็นเป็นเรื่องของนามธรรม
หาใช่รูปธรรมตามที่กรัชกายกำลังมั่วไม่.....
อธิบายตามความเป็นจริง รูปขันธ์เกิดจากการที่กายใจไปปรุงแต่ง มหาภูติรูปสี่
ซึ่งมหาภูติรูปสี่นั้นเป็นนามธรรม

จะสอนให้ว่า คำที่กรัชกายเอามามั่วนั้นคืออะไร เช่น...
ร่างกาย ไม่ใช่รูป(ขันธ์) ร่างกายเป็น ธาตุทั้งสี่ ดิน น้ำ ลม ไฟ ซึ่งนี่ไม่ได้หมายรวมชีวิต
เพราะชีวิตจะต้องประกอบด้วยร่างกายและจิตใจ ซึ่งต้องเรียกว่า...มหาภูติรูปสี่

สรุปร่างกายไม่ใช่รูปขันธ์และไม่ใช่นามธรรม แต่เป็นรูปธรรม
กรัชกายเอาธรรมมาละเลงเล่นซะเละ

กรัชกาย เขียน:

๒. เวทนา (Feeling หรือ Sensation) ได้แก่ ความรู้สึกสุข ทุกข์ หรือเฉยๆ ซึ่งเกิดจากผัสสะทางประสาททั้ง ๕ และทางใจ


ไม่ใช่!! แท้จริงแล้วสภาพธรรมของเวทนาคือ ความรู้สึก เช่นรู้ว่ากำลังเห็น รู้ว่ากำลังได้ยิน
ต้องพูดว่า เวทนาคือความรู้สึก ไม่ใช่รู้สึกสุขหรือทุกข์อะไรนั้ิน

กรัชกาย เขียน:

๓. สัญญา (Perception) ได้แก่ ความกำหนดได้ หรือหมายรู้ คือ กำหนดรู้อาการเครื่องหมายลักษณะต่างๆ อันเป็นเหตุให้จำอารมณ์ * (object) นั้นๆได้


สัญญาเป็นความจำได้หมายรู้ในลักษณะของธรรมที่เกิดจากการกระทบ(ทวาร)
เช่น จำได้หมายรู้ว่าสิ่งที่มากระทบคือลักษณะของภาพ ระดับของเสียง รสต่างๆที่เกิดจากลิ้นฯลฯ

กรัชกาย เขียน:
๔. สังขาร (Mental Formations หรือ Volitional Activities) ได้แก่ องค์ประกอบหรือคุณสมบัติต่างๆของจิต มีเจตนาเป็นตัวนำ ซึ่งแต่งจิตให้ดีหรือชั่วหรือเป็นกลางๆ ปรุงแปรการตริตรึกนึกคิดในใจ และการแสดงออกทางกาย วาจา ให้เป็นไปต่างๆ เป็นที่มาของกรรม เช่น ศรัทธา สติ หิริ โอตตัปปะ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา * ปัญญา โมหะ โลภะ โทสะ มานะ ทิฏฐิ อิสสา มัจฉริยะ เป็นต้น เรียกรวมอย่างง่ายๆว่า เครื่องปรุงของจิต เครื่องปรุงของความคิด หรือเครื่องปรุงของกรรม


น้้ำท่วมทุ่งแล้ว!! ไอ้ที่ละเลงมามันใช่สังขารซะที่ไหนกัน ที่มั่วมาทั้งหมดเขาเขาเรียก..ฟุ้งซ่าน
คิดเองเออเอง เลอะเทอเปอะเปื้อน....นอกลู่นอกธรรม

สังขารคือธรรมชาติที่มาปรุงแต่งให้กายใจเกิดความพอใจหรือไม่พอใจต่อความรู้สึกที่เกิดจากการกระทบ
เช่นถ้าไม่พอใจก็คือ โทสะ พอใจก็คือโลภะ และในที่สุดก็คือหลงหรือโมหะ

กรัชกาย เขียน:
๕. วิญญาณ (Consciousness) ได้แก่ ความรู้แจ้งอารมณ์ทางประสาททั้ง ๕ และทางใจ คือ การเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การรู้รส การรู้สัมผัสทางกาย และการรู้อารมณ์ทางใจ


วิญญานไม่ใช่การรู้แจ้งในอารมณ์ วิญญานเป็นธรรมชาติที่รู้ทันต่อสิ่งที่มากระทบ(ทวาร)
อารมณ์จะเกิดได้ต้องอาศัยวิญญานไปรับรู้การกระทบ(สัมผัส)เสียก่อน

เช่นถ้ารู้เสียงก็แสดงว่า วิญญานได้ไปเกิดที่หู เห็นภาพวิญญานไปเกิดที่ตาเป็นต้น

กรัชกาย เขียน:

ข้อ ๑ เป็นรูปขันธ์ ขันธ์ ๔ ข้อหลังเป็นพวกนามขันธ์ เรียกรวมว่า รูปนามหรือนามรูป


ไม่ใช่!! ข้อ๑-๕ ท่านเรียกว่า สังขตธรรม(รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน)
สังขตธรรม(รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน) เป็นอนัตตา
เมื่อเกิดการกระทบกายใจไปยึดสังขตธรรม แต่เพราะมันเป็นอนัตตา
มันจึงเกิดอนิจจัง(ไม่เที่ยง)เป็นทุกข์ ตัวทุกข์นี้แหล่ะ ขันธ์ห้า(รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ ฯลฯ)
หรือเรียกอีกอย่างว่า....กองทุกข์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2016, 13:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เวทนา แปลกันว่า การเสวยอารมณ์ หรือการเสพรสของอารมณ์ คือ ความรู้สึกต่อสิ่งที่ถูกรับรู้ ซึ่งจะเกิดขึ้นทุกครั้งที่มีการรับรู้ เป็นความรู้สึกสุข สบาย ถูก ใจ ชื่นใจ หรือทุกข์ บีบคั้น เจ็บปวด หรือไม่ก็เฉยๆ อย่างใดอย่างหนึ่ง


ข้อที่ควรทำความเข้าใจอย่างหนึ่งเกี่ยวกับเวทนา เพื่อป้องกันความสับสนกับสังขาร คือ เวทนาเป็นกิจกรรมของจิตในขั้นรับ กล่าวคือเกี่ยวข้องกับผลที่อารมณ์มีต่อจิตเท่านั้น *( * เวทนาจัดอยู่ในจำพวกวิบากไม่ดีไม่ชั่วโดยลำพังตัวของมันเอง) ยังไม่ใช่ขั้นที่เป็นฝ่ายจำนง หรือกระทำต่ออารมณ์ซึ่งเป็นกิจกรรมสังขาร

ดังนั้น

คำว่าชอบ ไม่ชอบ ชอบใจ ไม่ชอบใจ ตามปกติจะใช้เป็นคำแสดงกิจกรรมในหมวดสังขาร โดยเป็นอาการสืบเนื่องมาจากเวทนาอีกต่อหนึ่ง เพราะคำว่า ชอบ ไม่ชอบ ชอบใจ ไม่ชอบใจ แสดงถึงอาการจำนงหรือกระทำตอบต่ออารมณ์ ดังจะเห็นได้ในลำดับกระบวนธรรมเช่น


- เห็นรูปที่น่าปรารถนาน่าใคร่ => เกิดความสุขสบาย => ก็ชอบใจ (ต่ออารมณ์นั้น)
(จักขุ + อิฏฐารมณ์ =>จักขุวิญญาณ => (สุขเวทนา) => (สังขาร – ราคะ)

- ได้ยินเสียงที่ไม่ปรารถนาน่ารำคาญ => เกิดความทุกข์ไม่สบาย => ก็ไม่ชอบใจ (ต่ออารมณ์นั้น)
(โสตะ + อนิฏฐารมณ์ ==> โสตวิญญาณ) => ทุกขเวทนา ====> (สังขาร – โทสะ)


เวทนามีความสำคัญมาก เพราะเป็นสิ่งมุ่งประสงค์ เสาะแสวง (หมายถึง สุขเวทนา) และเป็นสิ่งเกลียดกลัวเลี่ยงหนี (หมายถึงทุกขเวทนา) สำหรับสัตว์ทั้งหลาย เมื่อมีการรับรู้เกิดขึ้นแต่ละครั้ง

เวทนาจะเป็นขั้วต่อ และเป็นต้นทางแยก ที่ชี้แนะ หรือส่งแรงผลักดันแก่องค์ธรรมอื่นๆ ว่าจะดำเนินไปในทางใด อย่างไร เช่น

ถ้ารับรู้อารมณ์ใดแล้วสุขสบาย ก็จะกำหนดหมายอารมณ์นั้นมาก และในแง่หรือในแนวทางที่จะสนองเวทนา นั้น และคิดปรุงแต่งเพื่อให้ได้อารมณ์นั้นมาเสพเสวยต่อไปอีก ดังนี้เป็นต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2016, 13:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สังขาร หมายรวมทั้งเครื่องแต่งคุณภาพของจิต หรือเครื่องปรุงของจิต ซึ่งมีเจตนาเป็นตัวนำ และกระบวนการแห่งเจตจำนงที่ชักจูง เลือกรวบรวมเอาเครื่องแต่งคุณภาพเหล่านั้นมาประสมปรุงแต่งความนึกคิด การพูด การทำ ให้เกิดกรรมทางกาย วาจา ใจ


อย่างไรก็ตาม ในการอธิบาย (สังขาร) ตามแนวขันธ์ ๕ ท่านมุ่งแสดงตัวสภาวะให้เห็นว่า ชีวิตมีองค์ประกอบอะไรมากกว่าจะแสดงกระบวนธรรมที่กำลังดำเนินอยู่ว่า ชีวิตเป็นไปอย่างไร

ดังนั้น

คำอธิบายเรื่องสังขาร ในขันธ์ ๕ ตามปกติจึงพูดถึงแต่ในแง่เครื่องแต่งคุณภาพของจิต หรือเครื่องปรุงของจิต ว่ามีอะไรบ้าง แต่ละอย่างมีลักษณะอย่างไร เป็นต้น

ส่วน

การอธิบายในแง่กระบวนการปรุงแต่ง ซึ่งเป็นขั้นออกโรงแสดง ท่านยกไปกล่าวในหลักปฏิจจสมุปบาท ที่ชี้ให้เห็นว่า ชีวิตเป็นไปอย่างไร


ดังนั้น ในหลักปฏิจจสมุปบาท ความหมายของสังขารจึงมีรูปร่างแบบปฏิบัติการ คือจำแนกออกเป็นกายสังขาร วจีสังขาร และจิตตสังขาร ต่างจากการอธิบายแนวขันธ์ ๕ ซึ่งจำแนกสังขารเป็น องค์ธรรมเครื่องปรุงแต่งต่างๆ มี ศรัทธา สติ เมตตา กรุณา ปัญญา โลภะ โทสะ เจตนา สมาธิ เป็นต้น

ถ้าจะเปรียบเทียบกับเรื่อง รถ

คำ อธิบายแนวขันธ์ ๕ ก็เหมือนรถที่ตั้งแสดงให้ดูส่วนประกอบต่างๆอยู่กับที่

ส่วนคำอธิบายแนวปฏิจจสมุปบาท เป็นเหมือนอธิบายเรื่องรถที่เดินเครื่องออกแล่นใช้งานจริง

บรรดาเครื่องแต่งคุณภาพของจิตทั้งหลายนั้น เจตนาเป็น ตัวนำ หรือเป็นหัวหน้า ดังนั้น ไม่ว่าเครื่องแต่งคุณภาพกี่อย่างจะเกิดขึ้นทำหน้าที่ในคราวหนึ่งคราวใด จะต้องมีเจตนาร่วมอยู่ด้วยเป็นแกนนำเสมอไปทุกคราว

บางครั้ง

ท่านถึงกับใช้คำว่าเจตนาเป็นคำแทน หมายถึงสังขารทั้งหมดทีเดียว ด้วยเหตุนี้ จึงอาจให้ความหมายคำว่า

สังขารได้อีกอย่างหนึ่งว่า "สังขาร" คือ เจตนาพร้อมทั้งสัมปยุตธรรม (ธรรมที่ประกอบร่วมหรือเครื่องประกอบ) ซึ่งแต่งจิตให้ดี ให้ชั่ว หรือเป็นกลางๆ ปรุงแปรการตริตรึกนึกคิด การพูด การทำ ให้เกิดกรรมทางกาย วาจา ใจ

บางครั้ง ท่านถึงกับใช้คำว่า เจตนาคำเดียวเป็นคำแทน หมายถึงสังขารทั้งหมด หรือแสดงความหมายทำนองจำกัดความคำว่า สังขาร ด้วยคำว่า เจตนา และเจตนาก็เป็นคำจำกัดความของคำว่า กรรม ด้วย ดังนั้น ในกรณีเช่นนี้ คำว่า สังขาร เจตนา และกรรม จึงมีความหมายอย่างคร่าวๆ เท่ากัน

นอกจากความสำคัญที่กล่าวมาแล้ว เจตนายังเป็นตัวแสดงลักษณะพิเศษของสังขาร ที่ทำให้สังขารขันธ์ต่างจากขันธ์อื่นๆ อีกด้วย

เจตนา แปลว่า ความจำนง ความจงใจ ความตั้งใจ

ลักษณะพิเศษที่แตกต่างกันระหว่างสังขารขันธ์ กับ นามขันธ์อื่น ก็คือ นามขันธ์อื่น อันได้แก่ เวทนา สัญญา และวิญญาณ ทำงาน กับ อารมณ์ ที่เข้ามาปรากฏอยู่แล้ว เป็นสภาพที่เนื่องด้วยอารมณ์ เกาะเกี่ยวกับอารมณ์ อาศัยอารมณ์จึงดำเนินไปได้และเป็นฝ่ายรับ

แต่

สังขารมีการริเริ่มเองได้ จำนงต่ออารมณ์และเป็นฝ่ายกระทำต่ออารมณ์ *


เมื่อเข้าใจหลักนี้แล้ว ก็จะมองเห็นเหตุผลว่า ทำไมความสบาย ไม่สบาย จัดเป็นเวทนา แต่
ความชอบใจ ไม่ชอบใจ ซึ่งเกิดถัดจากสบาย ไม่สบายนั้น จึงจัดเข้าในสังขาร

ทำไม

สัญญา กับ สติ ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องความจำด้วยกัน แต่กลับแยกอยู่คนละขันธ์ (สติอยู่ในสังขารขันธ์)

ทำไม

ปัญญา ซึ่งก็เป็นเรื่องของความรู้เช่นเดียวกับสัญญา และ วิญญาณ จึงแยกไปอยู่ในสังขารขันธ์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2016, 15:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กันความคิดคนสุดโต่งไปด้านเดียวหน่อย

อัตตา - อนัตตา เป็นหลักทางปัญญาที่สำคัญยิ่ง

พระพุทธศาสนาสอนเรื่องนี้ไว้ ถ้าพูดเป็นภาษาธรรมดา ก็ว่าอัตตาที่ไม่มีนั้น ใช้มันไปเถอะ ได้ประโยชน์ดีจริงๆ ท่านสอนให้พัฒนาไปจนถึงที่สุด แล้วจะประสบพบสิ่งที่เลิศประเสริฐยิ่ง แต่อัตตามีขึ้นเมื่อไรเป็นปัญหาทุกที เกิดอัตตาขึ้นมาเมื่อไรก็ยุ่งเมื่อนั้น มีปัญหา เกิดทุกข์ เกิดการกระทบกระทั่งอะไรต่างๆ

พระพุทธศาสนามีคำสอนว่าด้วยอัตตา หรือตัวตนนี้มากมาย เช่น

อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ ตนเป็นทีพึ่งของตน

อตฺตทีปา อตฺตสรณา จงมีตนเป็นเกาะ จงมีตนเป็นที่พึ่ง

อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา บัณฑิตทั้งหลายย่อมฝึกตน

สุทฺธิ อสุทฺธิ ปจฺจตฺตํ ความบริสุทธิ์ ไม่บริสุทธิ์เป็นของเฉพาะตัว

อตฺตานญฺจ ปิยํ ชญฺญา น นํ ปาเปน สํยุเช หากรู้ว่าตัวนี้เป็นที่รัก ก็ไม่ควรเอาตัวนั้นไปเกลือกกลั้วกับความชั่ว

ฯลฯ

เรื่องตัวเรื่องตนนี้ พระพุทธศาสนาสอนไว้มากมาย ในระดับตัวตนสมมตินี้ ที่มันไม่มีนี่แหละ พระพุทธศาสนาพูดเต็มที่เลย ให้ใช้ ให้ปฏิบัติ ให้พัฒนามัน จะเป็นประโยชน์ดีเหลือเกิน ท่านไม่มาเที่ยวพูดยุ่งในระดับสมมติ ว่าไม่มีอัตตา

แต่ในระดับปรมัตถ์ ท่านให้รู้เท่าทันว่าอัตตามันไม่ใช่เป็นของจริง ถ้ามันมีขึ้นมาเมื่อไร เกิดยึดถือขึ้นเมื่อไร เป็นเกิดโทษทุกที ปัญหาจะมา

จึงบอกว่า อัตตาที่ไม่มีนั้น พัฒนาไปเถิด จะประสบสิ่งที่เลิศประเสริฐยิ่ง แต่อัตตามีเมื่อไร เกิดปัญหาทุกที

อัตตาที่ไม่มีนั้น ใช้มันไปเถิดอย่างรู้กันและรู้ทัน ส่วนอัตตาที่จะมีก็ให้รู้แจ้งรู้ทัน มันจะได้ไม่เกิดขึ้นมา

ยิ่งพัฒนาอัตตาที่ไม่มีขึ้นไป อัตตาที่จะมีก็ยิ่งไม่เกิดขึ้นมา อันนี้ ก็ตีให้แตกด้วย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2016, 07:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2016, 07:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สัญญา - สติ - ความจำ


มักมีความเข้าใจสับสนกันในเรื่องความจำว่าตรงกับธรรมข้อใด คำว่า สัญญา ก็มักแปลกันว่า ความจำ
คำว่า สติ โดยทั่วไปแปลว่า ความระลึกได้ บางครั้งก็แปลว่า ความจำ และ
ตัวอย่างที่เด่น เช่น พระอานนท์ ได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในทางทรงจำพุทธพจน์ คำบาลีในกรณีนี้ท่านใช้คำว่าสติ ดังพุทธพจน์ว่า "อานนท์เป็นเลิศ กว่าประดาสาวกของเราผู้มีสติ"* (*องฺ.เอก.20/149/32)


เรื่องนี้ในทางธรรมไม่มีความสับสน ความจำไม่ใช่กิจของธรรมข้อเดียว แต่เป็นกิจของกระบวนธรรม และในกระบวนธรรมแห่งความจำนี้ สัญญาและสติเป็นองค์ธรรมใหญ่ ทำหน้าที่เป็นหลัก มีบทบาทสำคัญที่สุด


สัญญาก็ดี สติก็ดี มีความหมายคาบเกี่ยว และเหลี่อมกันกับความจำ กล่าวคือ ส่วนหนึ่งของสัญญาเป็นส่วนหนึ่งของความจำ อีกส่วนหนึ่งของสัญญา อยู่นอกเหนือความหมายของความจำ แม้สติก็เช่นเดียวกัน ส่วนหนึ่งของสติเป็นส่วนหนึ่งของความจำ อีกส่วนหนึ่งของสติ อยู่นอกเหนือความหมายของกระบวนการทรงจำ


ข้อที่พึงกำหนดหมายและระลึกไว้อย่างสำคัญ คือ สัญญา และ สติ ทำหน้าที่คนละอย่างในกระบวนการทรงจำ


สัญญา กำหนดหมายหรือหมายรู้อารมณ์ไว้ เมื่อประสบอารมณ์อีก ก็เอาข้อที่กำหนดหมายไว้นั้น มาจับเทียบหมายรู้ว่าตรงกันเหมือนกันหรือไม่ ถ้าหมายรู้ว่าตรงกัน เรียกว่าจำได้

ถ้ามีข้อต่างก็หมายรู้เพิ่มเข้าไว้ การกำหนดหมาย จำได้ หรือหมายรู้อารมณ์ไว้ว่าเป็นนั่นเป็นนี่ ใช่นั่น ใช่นี่ (การเทียบเคียงและเก็บข้อมูล) ก็ดี สิ่งที่กำหนดหมายไว้ (ตัวข้อมูลที่สร้างและเก็บไว้นั้น) ก็ดี เรียกว่า สัญญา ตรงกับความจำในแง่ที่เป็นการสร้างปัจจัยแห่งความจำ ลักษณะสำคัญของสัญญา คือ ทำงานกับอารมณ์ที่ปรากฏตัวอยู่แล้ว กล่าวคือ เมื่ออารมณ์ปรากฏอยู่ต่อหน้า จึงกำหนดได้ หมายรู้หรือจำได้ซึ่งอารมณ์นั้น


สติ มีหน้าที่ดึงอารมณ์มาสู่จิต เหนี่ยวอารมณ์ไว้กับ จิต คุมหรือกำกับจิตไว้กับอารมณ์ ตรึงเอาไว้ไม่ยอมให้ลอยผ่านหรือคลาดกันไป จะเป็นการดึงมาซึ่งอารมณ์ที่ผ่านไปแล้ว หรือดึงไว้ซึ่งอารมณ์ที่จะผ่านไปก็ได้ สติจึงมีขอบเขตความหมายคลุมถึง การระลึก นึกถึง นึกไว้ นึกได้ ระลึกได้ ไม่เผลอ

สติเป็น การริเริ่มเองจากภายใน โดยอาศัยพลังแห่งเจตนา หรือเจตจำนง ในเมื่ออารมณ์อาจจะไม่ปรากฏอยู่ต่อหน้า เป็นฝ่ายจำนงต่ออารมณ์ จึงจัดอยู่ในพวกสังขาร


สัญญา บันทึกเก็บไว้ สติดึงออกมาใช้ สัญญาดี คือ รู้จักกำหนดหมายให้ชัดเจน เป็นระเบียบ สร้างขึ้นเป็นรูปร่างที่มีความหมายและเชื่อมโยงกันดี (ซึ่งอาศัยความใส่ใจเป็นต้นอีกต่อหนึ่ง) ก็ดี สติดี คือมีความสามารถในการระลึก (ซึ่งอาศัยสัญญาดี และการหมั่นใช้สติ ตลอดจนสภาพจิตที่สงบผ่องใส ตั้งมั่น เป็นต้น อีกต่อหนึ่ง) ก็ดี ย่อมเป็นองค์ประกอบ ที่ช่วยให้เกิดความจำดี



(ตัวอย่างเทียบหน้าที่ระหว่าง สัญญา กับ สติ)


นายแดง กับ นายดำ เคยรู้จักกันดี แล้วแยกจากกันไป ต่อมาอีกสิบปี นายแดงพบนายดำอีก จำได้ว่า ผู้ที่ตนพบนั้นคือนายดำ แล้วระลึกนึกได้ต่อไปอีกว่าตน กับ นายดำ เคยไปเที่ยวด้วยกันที่นั่นๆ ได้ทำสิ่งนั้นๆ ฯลฯ การจำได้เมื่อพบนั้นเป็นสัญญา การนึกได้ต่อไปถึงเรื่องราวที่ล่วงแล้ว เป็นสติ

วันหนึ่ง นาย ก. ได้พบปะสนทนา กับ นาย ข. ต่อมาอีกหนึ่งเดือน นาย ก. ถูกเพื่อนถามว่า เมื่อเดือนที่แล้ววันที่เท่านั้นๆ นาย ก. ได้พบปะสนทนากับใคร นาย ก. นึกทบทวนดู ก็จำได้ว่าพบปะสนทนากับ นาย ข. การจำได้ในกรณีนี้ เป็นสติ

เครื่องโทรศัพท์ตั้งอยู่มุมห้องข้างหนึ่ง สมุดหมายเลขโทรศัพท์อยู่อีกมุมห้องด้านหนึ่ง นายเขียวเปิดสมุดหา เลขหมายโทรศัพท์ที่ตนต้องการ ระหว่างเดินไปก็นึกหมายเลขนั้นไว้ตลอด การอ่านและกำหนดหมายเลขที่สมุดโทรศัพท์ เป็นสัญญา การนึกหมายเลขนั้นตั้งแต่ละจากสมุดโทรศัพท์ เป็นสติ


เมื่ออารมณ์ปรากฏอยู่ต่อหน้าแล้ว ก็กำหนดหมายได้ทันที แต่เมื่ออารมณ์ไม่ปรากฏอยู่ และถ้าอารมณ์นั้นเป็นธรรมารมณ์ (เรื่องในใจ) ก็ใช้สติดึงอารมณ์นั้นมาแล้วกำหนดหมาย

อนึ่ง สติสามารถระลึกถึงสัญญา คือดึงเอาสัญญาที่มีอยู่เก่ามาเป็นอารมณ์ของจิต แล้วสัญญาจะกำหนดหมายอารมณ์นั้น สำทับเข้าอีกให้ชัดเจนแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น หรือกำหนดหมายแนวใหม่เพิ่มเข้าไปตามวัตถุประสงค์อีกอย่างหนึ่งก็ได้

.........

อารมณ์ หมายถึง สิ่งที่จิตรับรู้ หรือสิ่งที่ถูกรับรู้ โดยอาศัยทวารทั้ง ๖ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ (ความนึกคิดในใจ)

สติ ด้านหนึ่งแปลกันว่า recall, recollection อีกด้านหนึ่งว่า mindfulness

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 52 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 48 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร