วันเวลาปัจจุบัน 18 เม.ย. 2024, 16:21  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 15 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มิ.ย. 2016, 09:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บอร์ดธรรมะทั่วๆไป มักพูดถึงอริยบุคคลระดับต่างๆ เช่น พระโสดาบัน เป็นต้น บางคนไปไกลถึงความเป็นพระอรหันต์ จะเป็นฉันใด วางหลักเทียบไว้ศึกษา

แต่ที่สำคัญ คือ อย่าอยากมีอยากเป็นโดยไม่ลงมือทำลงมือฝึกฝนพัฒนาจิตใจ

เริ่มจากคาถาบาลีที่ว่า

ปฐพฺยา เอกรชฺเชน สคฺคสฺส คมเนน วา

สพฺพโลกาธิปจฺเจน โสตาปตฺติผลํ วรํ


เลิศล้ำเหนือความเป็นเอกราชบนผืนปัฐพี ดีกว่าการได้ไปสู่สรวงสวรรค์
ประเสริฐกว่าสรรพโลกาธิปัตย์ คือผลการตัดถึงกระแสโพธิธรรม.

(ขุ.ธ.25/23/39)


พูทธธรรมหน้า ๘๘๑ เป็นต้นไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มิ.ย. 2016, 09:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความเป็นพระโสดาบัน เป็นสิ่งที่ควรสนใจ ไม่เฉพาะในระหว่างที่กำลังสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับนิพพาน และความเป็นพระอรหันต์เท่านั้น

ที่กล่าวว่า ความเป็นโสดาบันก็ดี ภูมิธรรมและการดำเนินชีวิตระดับนี้ก็ดี เป็นสิ่งที่ควรจะสนใจและเน้นกันให้มากนั้น แม้พระพุทธองค์เอง ก็ได้ตรัสแนะนำย้ำไว้ว่า

ภิกษุทั้งหลาย เหล่าชน ทั้งคนที่พวกเธอพึงอนุเคราะห์ และคนที่พอจะรับฟังคำสอน ไม่ว่าจะเป็นมิตร เป็นผู้ร่วมงาน เป็นญาติ หรือสาโลหิตก็ตาม พวกเธอพึงชักชวน พึงสอนให้ตั้งอยู่ ให้ดำรงมั่น ในองค์คุณของโสดาบัน ๔ ประการ” *

(สํ.ม.19/1493-1497/456-458)


ภาวะชีวิตของพระโสดาบัน ไม่ห่างไกล และไม่น่ากลัวเลย สำหรับปุถุชนทั้งหลาย แม้ในสมัยปัจจุบันกลับจะเป็นที่น่าชื่นชมอย่างยิ่งสำหรับสาธุชนด้วยซ้ำ

พุทธสาวกโสดาบันจำนวนมากมายในพุทธกาล เป็นคฤหัสถ์ ดำเนินชีวิตที่ดีงาม ชอบด้วยศีลธรรม อยู่ท่ามกลางสังคมของชาวโลก มีชีวิตครอบครัวที่เป็นสุข บำเพ็ญประโยชน์แก่ชุมชน แก่พระศาสนาและแก่บ้านเมือง มีชีวิประวัติที่น่ายึดถือเป็นแบบอย่าง


ท่านเหล่านี้ แม้จะได้บรรลุภูมิธรรมสูงแล้ว แต่ยังมีกิเลสละเอียดเหลืออยู่ เมื่อประสบความพลัดพราก ยังโศกเศร้าร่ำไห้ (เช่นเรื่องวิสาขา ใน ขุ.อ.25/176/223....) ยังมีรักมีโกรธดังสามัญชน แต่ละเมียดเบาบางกว่า และจะไม่ทำความชั่วความผิที่เสียหายร้ายแรง และคามทุกข์ที่เหลืออยู่ ก็มีเพียงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับทุกข์ส่วนใหญ่ที่ละได้แล้ว เป็นผู้มีพื้นฐานอันมั่นคง ที่จะนำชีวิตของตนเดินทางก้าวหน้าไป ในมรรคาแหงความสุขที่ไร้โทษ และกุศลธรรมที่ไพบูลย์

พุทธสาวกโสดาบัน ที่พึงออกชื่อเป็นตัวอย่างแสดงหลักฐานไว้ ณ ที่นี้ เช่น

- พระเจ้าพิมพิสาร กษัตริย์ยิ่งใหญ่แห่งแคว้นมคธ ผู้ทรงถวายเวฬุวันเป็นสังฆารามแห่งแรกในพระพุทธศาสนา และทรงรักษาอุโบสถเดือนละ ๔ ครั้ง

- อนาถบิณฑิกเศรษฐี เจ้าของทุนสร้างวัดเชตวันที่มีชื่อเสียง ผู้บำรุงพระสงฆ์ และสงเคราะห์คนอนาถาอย่างไม่มีใครอื่นเทียบเท่า

- นางวิสาขามหาอุบาสิกา เอตทัคคะฝ่ายทายิกา ผู้แม้มีบุตรธิดามากถึง ๒๐ คน แต่สารถบำเพ็ญประโยชน์ส่วนรวมได้เป็นอย่างดี มีบทบาทช่วยกิจการของสงฆ์อย่างสำคัญ เป็นผู้กว้างขวางและมีเกียรติคุณสูงเด่นในสังคมแคว้นโกศล

- หมอชีวก โกมารภัจ แพทย์ใหญ่ประจำพระองค์ราชาแห่งมคธ ประจำพระองค์พระพุทธเจ้า และคณะสงฆ์ ผู้มีเกียรติคุณยังยืนตลอดมาในวิชาแพทย์แผนโบราณ

- นกุลบิดาและนกุลมารดา คู่สามีภรรยาผู้ครองรักอันภักดีมั่นคงตราบชรา และยังปรารถนาเกิดพบกันทุกชาติไป

............

องค์คุณที่จะให้เป็นโสดาบัน มาจากคำ โสตาปัตติยังคะ แปลตามรูปศัพท์ว่า องค์เครื่องบรรลุโสดา บางแห่ง หมายถึงธรรมที่ทำให้บรรลุโสดาปัตติผล บางแห่ง หมายถึงธรรมที่เป็นคุณสมบัติของพระโสดาบัน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มิ.ย. 2016, 09:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณสมบัติของบุคคลโสดาบัน

คุณสมบัติของพระโสดาบันเท่าที่รู้กันดีโดยทั่วไป ก็คือ การละสังโยชน์ ๓ ข้อต้น (สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส) ได้ ซึ่งนับว่าเป็นคุณสมบัติฝ่ายลบ หรือฝ่ายหมดไป แต่ความจริง มีคุณสมบัติฝ่ายบวก หรือฝ่ายมีด้วย และตามหลักฐานปรากฏว่า ท่านเน้นคุณสมบัติฝ่ายมีเป็นอย่างมาก


คุณสมบัติฝ่ายมีนั้น มีหลายอย่าง แต่เมื่อกล่าวโดยสรุป ก็รวมอยู่ในหลักธรรมสำคัญสำหรับตั้งเป็นเกณฑ์ได้ ๕ อย่าง คือ ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา ในที่นี้ จะรวบรวมคุณสมบัติต่างๆ ทั้งฝ่ายหมด และฝ่ายมี มาเรียงไว้ โดยแสดงเฉพาะสาระสำคัญ ดังนี้ V

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มิ.ย. 2016, 11:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เริ่มบ้าน้ำลายอีกแล้ว ก๊อปปี้เขามาพูดเรื่อยเปื่อย
ถูกผิดก็ไม่รู้ ไม่ไหวจะเคลียร์
:b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มิ.ย. 2016, 13:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
เริ่มบ้าน้ำลายอีกแล้ว ก๊อปปี้เขามาพูดเรื่อยเปื่อย
ถูกผิดก็ไม่รู้ ไม่ไหวจะเคลียร์
:b32:



เฝ้าสังเกตโฮฮับมานานเนิ่นแล้ว ยังไม่เคยเห็นโฮฮับพูดอะไรเป็นสาระเป็นชิ้นเป็นอันสักครั้งเดียว เห็นยกคำศัพท์นั้นนี้มา ครั้นเราถามว่า หมายถึง อะไรน่า ? อึ :b32: อ้าวจริงๆ เช่นที่พูดว่า ปัจจัตตัง พอเราถามว่าอะไร ปัจจัตตัง เงิียบ อึ :b13:

ถ้ามองความผิดเพี้ยนก็จะเห็นว่า เริ่มแต่เข้าใจคนหรือมนุษย์ผิดเพี้ยนไป เช่นเห็นว่า คน หมายถึง คนบ้า คนไม่บ้า คือ คนดี เรียกบุคคล เป็นบุคคล ไม่ใช่คน คิกๆๆ จบข่าว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มิ.ย. 2016, 13:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ

คุณสมบัติฝ่ายมี

๑. ด้านศรัทธา: เชื่อมีเหตุผล เชื่อมั่นในความจริง ความดีงาม และกฎธรรมดาแห่งเหตุและผล มั่นใจในปัญญาของมนุษย์ที่จะดับทุกข์หรือแก้ไขปัญหาได้ตามทางแห่งเหตุผล และเชื่อในสังคมที่ดีงามของมนุษย์ ซึ่งจะเจริญงอกงามขึ้นได้ตามแนวทางเช่นนั้น ความเชื่อมั่นนี้แสดงออกด้วยความเลื่อมใสอันหยั่งลงมั่นด้วยปัญญาในพระรัตนตรัย เป็นศรัทธา ซึ่งแน่วแน่ มั่นคง ไม่มีทางผันแปร เพราะเกิดจากญาณ คือ ความรู้ ความเข้าใจ

๒. ด้านศีล: มีความประพฤติ ทั้งทางกาย วาจา และการเลี้ยงชีพ สุจริต เป็นที่พอใจของอริยชน มีศีลเป็นไท คือ เป็นอิสระ ไม่เป็นทาสของตัณหา * ประพฤติตรงตามหลักการ ตามความหมายที่แท้ เพื่อความดี ความงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความขัดเกลาลดกิเลส ความสงบใจ เป็นไปเพื่อสมาธิ โดยทั่วไปหมายถึงศีล ๕ ที่ประพฤติอย่างถูกต้อง จัดเป็นขั้นที่บำเพ็ญศีลได้บริบูรณ์

๓. ด้านสุตะ: เป็นสุตวา อริยสาวก หรืออริยสาวกผู้มีสุตะ คือ ได้เรียนรู้อริยธรรม รู้จักอารยธรรม นับว่เป็นผู้มีการศึกษา

๔. ด้านจาคะ: อยู่ครองเรือนด้วยใจที่ปราศจากความตระหนี่ มีน้ำใจเผื่อแผ่เสียสละ ยินดีในการให้ การเฉลี่ยเจือจานแบ่งปัน

๕. ด้านปัญญา: มีปัญญาอย่างเสขะ คือรู้ในอริยสัจ ๔ มองเห็นปฏิจจสมุปบาท เข้าใจไตรลักษณ์ คือ อนิจจตา ทุกขตา และอนัตตตา เป็นอย่างดี จนสลัดมิจฉาทิฏฐิทั้งหลายในรูปแบบต่างๆ ได้สิ้นเชิง หมดความสงสัยในอริยสัจทั้ง ๔ นั้น เรียกตามสำนวนธรรมว่า เป็นผู้รู้จักโลกแท้จริง

๖. ด้านสังคม: พระโสดาบันเป็นผู้ปฏิบัติตามหลักธรรมสำหรับสร้างความสามัคคีและเอกภาพของหมู่ชน ที่เรียกว่า สาราณียธรรม ได้ครบถ้วนบริบูรณ์ เพราะสามารถปฏิบัติได้ถูกต้องตามหลักข้อสุดท้ายที่ท่านถึอว่าเป็นดุจยอดที่ยึดคุมหลักข้ออื่นๆ เข้าไว้ทั้งหมด กล่าวคือ ข้อว่าทิฏฐิสามัญญตา

สาราณียธรรม มี ๖ ข้อ คือ

๑) เมตตากายกรรม แสดงออกทางกายด้วยเมตตา เช่น ช่วยเหลือกัน และแสดงกิริยาสุภาพเคารพนับถือกัน

๒) เมตตาวจีกรรม แสดงออกทางวาจาด้วยเมตตา เช่น บอกแจ้งแนะนำตักเตือนด้วยความหวังดี กล่าววาจาสุภาพต่อกัน

๓) เมตตามโนกรรม ติดต่อกันด้วยเมตตา เช่น มองกันในแง่ดี คิดทำประโยชน์แก่กัน ยิ้มแย้มแจ่มใส

๔) สาธารณโภคี แบ่งปันลาภอันชอบธรรม เฉลี่ยเจือจานให้ได้มีส่วนร่วมทั่วกัน

๕) สีลสามัญญตา มีความประพฤติสุจริตเสมอกับผู้อื่น ไม่ทำตนให้เป็นที่น่ารังเกียจของหมู่

๖) ทิฏฐิสามัญญตา มีความเห็นชอบร่วมกับเพื่อนร่วมหมู่ ในอารยทฤษฎี ซึ่งนำนำไปสู่การกำจัดทุกข์


ในข้อความที่ชี้แจงความหมายของอารยทฤษฎี หรือทิฏฐิที่เป็นอริยะ ในข้อ ๖ นั้น มีลักษณะที่เป็นธรรมดาของพระโสดาบัน ซึ่งควรนำมากล่าวในที่นี้ ๒ อย่าง คือ

๑) เป็นธรรมดาของบุคคลโสดาบันที่ว่า เมื่อต้องอาบัติ (ละเมิดวินัย) ซึ่งแก้ไขได้ ก็จะรีบเปิดเผยแสดงให้พระศาสดาหรือเพื่อร่วมหมู่คณะที่เป็นวิญญูได้ทราบทันที แล้วสังวรต่อไป เปรียบเหมือนเด็กอ่อนแบเบาะเหยียดมือหรือเท้าไปถูกถ่านไฟเข้าจะรีบชักกลับทันที

๒) เป็นธรรมดาของบุคคลโสดาบันที่ว่า ทั้งที่เป็นผู้เอาใจใส่คอยขวนขวายช่วยเหลือกิจธุระทั้งหลาย ทั้งงานสูงงานต่ำ ทั้งเรื่องใหญ่เรื่องย่อย ของเพื่อร่วมหมู่คณะ แต่ในเวลาเดียวกัน ก็มีความใฝ่ใจอย่างแรกกล้าในอธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา (เรียกสั้นๆ ศีล สมาธิ และปัญญา) ไปด้วย เหมือนแม่โคลูกอ่อน เล็มหญ้ากินไป ก็คอยแลระวังลูกน้อยไปด้วย คือ ทั้งช่วยส่วนรวม ทั้งคอยฝึกตนให้ก้าวหน้าต่อไปในมรรค*

๗. ด้านความสุข: เริ่มรู้จักโลกุตรสุข ที่ประณีตลึกซึ้ง ซึ่งไม่ต้องอาศัยอามิส (เพราะได้บรรลุอริยวิมุตติแล้ว)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มิ.ย. 2016, 13:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


* ที่อ้างอิงข้างบน

* ที่แสดงฝ่ายมี ก่อนฝ่ายหมดอย่างนี้ ทำตามนิยมของปัจจุบัน ย้อนกลับความนิยมของบาลี ซึ่งแสดงฝ่ายหมด ก่อนฝ่ายมี อย่างไรก็ตาม ตามความจริง ทั้งฝ่ายหมด และฝ่ายมี สัมพันธ์กัน เนื่องอยู่ด้วยกัน


* ศีลที่เป็นไท ไม่เป็นทาสของตัณหา คือมิได้ประพฤติเพื่อหวังผลตอบแทน เช่น โลกียสุข การเกิดในสวรรค์เป็นต้น อนึ่ง พึงระลึกว่า ศีลรวมถึงสัมมาอาชีวะด้วยเสมอ (ดู วิภงฺค.อ.114 วิสุทฺธิ. 3/100)

บรรดาคำบาลีแสดงลักษณะศีลของพระโสดาบันนั้น มีอยู่ ๒ คำ ที่นิยมนำมาใช้เรียกในภาษาไทย คือ อริยกันตศีล แปลว่า ศีลที่พระอริยะใคร่หรือชื่นชม คือ เป็นที่ยอมรับของอริยชน และอปรามัฏฐศีล แปลว่า ศีลที่ไม่ถูกจับฉวย ท่านให้แปลว่า ศีลที่ไม่ถูกตัณหา และทิฏฐิจับฉวย คือ ไม่เปรอะเปื้อนหรือมีราคีด้วยตัณหาและทิฏฐิ (= บริสุทธิ์) = ศีลที่ไม่ถูกถือมั่น หรือศีลที่ไม่ต้องยึดมั่น หมายความว่า เป็นศีลที่เกิดจากคุณธรรมภายใน ไม่มีกิเลสเป็นเหตุให้ละเมิด จึงเป็นไปเองเป็นปกติธรรมดา โดยไม่ต้องคอยยึดถือเอาไว้


* ความจริงคุณสมบัติที่เป็นส่วนพิเศษนี้ เป็นเรื่องของ (สัมมา) ทิฏฐิ ซึ่งจัดเข้าในข้อปัญญานั่นเอง แต่ในที่นี้เห็นว่ามีข้อความยาว จึงแยกออกมาเป็นอีกข้อหนึ่ง สูตรนี้ เรื่องเดิมพระพุทธเจ้าตรัสสำหรับพระโสดาบันที่เป็นพระภิกษุ แต่ก็พึงยักใช้กับคฤหัสถ์ได้...

ข้อความของสูตรนี้ยาวมาก จะไม่คัดมาลงไว้.....

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มิ.ย. 2016, 14:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณสมบัติฝ่ายหมด หรือฝ่ายละ (แสดงเฉพาะที่สำคัญ และน่าสนใจพิเศษ)

๑. ละสังโยชน์ คือ กิเลสที่ผูกมัดใจได้ ๓ อย่าง คือ

๑) สักกายทิฏฐิ (ความเห็นผิดว่าเป็นตัวของตน ติดสมมติเหนียวแน่น ซึ่งทำให้เห็นแก่ตัวอย่างหยาบ และเกิดความกระทบกระทั่ว มีทุกข์ได้แรงๆ)

๒) วิจิกิจฉา (ความสงสัยไม่แน่ใจต่างๆ เกี่ยวกับพระศาสดา พระธรรม พระสงฆ์ และสิกขา เป็นต้น ซึ่งทำให้จิตไม่น้อมดิ่งไปในทางที่จะระดมความเพียรมุ่งหน้าปฏิบัติให้เร่งรุดดไปในมรรคา)

๓) สีลัพพตปรามาส (ความถือเขวเกี่ยวกับศีลพรต คือการถือปฏิบัติผิด กฎเกณฑ์ ระเบียบ วินัย ข้อปฏิบัติ ขนบธรรมเนียมต่างๆ ไม่บริสุทธิ์ตามหลักการ ตามความมุ่งหมาย ที่มุ่งเพื่อความดีงาม เช่น ความสงบเรียบร้อย และความเป็นบาทฐานของสมาธิ เป็นต้น แต่ประพฤติด้วยตัณหา และทิฏฐิ เช่น หวังผลประโยชน์ตอบแทน หวังจะได้เป็นนั่นเป็นนี่เป็นต้น ตลอดจนประพฤติด้วยงมงายสักว่าทำตามๆกันมา

๒. ละมัจฉริยะ คือ ความตระหนี่ ความใจคับแคบ หวงแหน คอยกีดกันผู้อื่น ทั้ง ๕ อย่าง คือ

๑) อาวาสมัจฉริยะ (หวงที่อยู่อาศัย ห่วงถิ่น)

๒) กุลมัจฉริยะ (หวงตระกูล หวงพวก หวงสำนัก หวงสายสัมพันธ์ เทียบกับที่พูดกันบัดนี้ว่า เล่นพวก)

๓) ลาภมัจฉริยะ (หวงลาภ หวงผลประโยชน์ คิดกีดกันไม่ให้คนอื่นได้)

๔) วัณณมัจฉริยะ (หวงกิตติคุณ หวงคำสรรเสริญ ไม่พอใจให้ใครมีอะไรดีมาแข่งตน ไม่พอใจให้ใครสวยงาม ได้ยินคำสรรเสริญคุณความดีของคนอื่นแล้ว ทนไม่ได้)

๕) ธรรมมัจฉริยะ (หวงธรรม หวงวิชาความรู้ หวงคุณพิเศษที่ได้บรรลุ กลัวคนอื่นจะรู้หรือประสบผลสำเร็จเทียมเท่าหรือเกินกว่าตน) * (องฺ.ปญฺจก. 22/256-9/302-3 มีมัจฉริยะ ๕ แม้แต่ปฐมฌานก็ไม่สำเร็จ) วิสุทธิ.3/337)

๓. ละอคติ คือความประพฤตผิดทาง หรือความลำเอียง ได้ทั้ง ๔ อย่าง คือ

๑) ฉันทาคติ (ลำเอียงเพราะชอบ)

๒) โทสาคติ (ลำเอียงเพราะชัง)

๓) โมหาคติ (ลำเอียงเพราะหลงหรือเขลา)

๔) ภยาคติ (ลำเอียงเพราะกลัว)



๔. ละราคะ โทสะ โมหะ หรือ โลภ โกรธ หลง ขั้นหยาบหรือรุนแรง ที่จะทำให้ถึงอบาย ไม่ทำกรรมชั่วขั้นร้ายแรงที่จะเป็นเหตุให้ไปอบาย


๕. ระงับภัยเวร โทมนัส และทุกข์ทางใจต่างๆ ที่จะพึงเกิดจากการไม่ปฏิบัติตามศีล ๕ เป็นผู้พ้นจากอบายสิ้นเชิง ความทุกข์ส่วนใหญ่หมดสิ้นไปแล้ว ความทุกข์ที่ยังเหลืออยู่บ้าง เป็นเพียงเศษน้อยนิดที่นับเป็นส่วนไม่ได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มิ.ย. 2016, 14:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความจริง คุณสมบัติฝ่ายหมดและฝ่ายมี ว่าโดยสาระสำคัญ ก็เป็นอย่างเดียวกัน กล่าวคือ จะละสักกายทิฏฐิได้ ก็เพราะมีปัญญาหยั่งรู้สภาวธรรมที่เป็นไปตามเหตุปัจจัยพอสมควร เมื่อเกิดปัญญาเข้าใจชัดขึ้นอย่างนี้ วิจิกิจฉา คือความสงสัยคลางแคลงใจก็หมดไป ศรัทธาที่อาศัยปัญญาก็แน่นแฟ้น

พร้อมนั้น ก็จะรักษาศีลได้ถูกต้องตามหลักการ ตามความมุ่งหมาย กลายเป็นอริยกันตศีล คือ ศีลที่อริยชนชื่นชมยอมรับ สีลัพพตปรามาสก็พลอยสิ้นไป เมื่อจาคะเจริญขึ้น มิจฉริยะก็หมดไป เมื่อราคะ โทสะ โมหะเบาบางลง ก็ไม่ตกไปในอำนาจของอคติ และ ราคะ โทสะ โมหะ เบาบางลง ก็เพราะปัญญาที่มองเห็นความจริงของโลก และชีวิต ทำให้คลายความยึดติด เมื่อสิ้นยึดติด ถือมั่นน้อยลง ความทุกข์ก็ผ่อนคลาย และรู้จักความสุขที่ประณีตยิ่งขึ้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มิ.ย. 2016, 14:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กล่าวโดยย่อว่า ความเป็นโสดาบัน เป็นชีวิตรับที่ยอมรับได้ว่าน่าพอใจ และวางใจได้ ทั้งในดานคุณธรรม และในด้านความสุข

ในด้านคุณธรรม ก็มีคุณความดีเพียงพอที่จะเป็นหลักประกันว่า จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายหรือความเดือดร้อนเสื่อมโทรมเสียหายเป็นภัยแก่สังคมหรือแก่ใครๆ ตรงข้าม จะมีแต่พฤติกรรมที่อำนวยประโยชน์เกื้อกูลแก่การดำรงอยู่และดำเนินไปด้วยดีของชีวิตตนและสังคม และคุณธรรมนั้นก็มั่นคง เพราะเป็นสิ่งที่เป็นไปเองตามธรรมดาแห่งเหตุปัจจัยของมัน คือ เพราะมีปรีชาญาณที่ได้เกิดทัศนคติอย่างใหม่ต่อโลกและชีวิตเป็นฐานรองรับ

ส่วนในด้านความสุข พระโสดาบันก็ได้พบกับความสุขอย่างใหม่ทางจิต ที่ประณีตล้ำลึก อันประจักษ์เฉพาะตนว่าเป็นสิ่งมีคุณค่าสูงล้ำ ซึ่งแม้ตนจะยังเสวยกามสุขและหรือโลกียสุขอื่นๆ อยู่ ก็จะไม่ยอมให้ความสุขที่หยาบกว่าเหล่านั้นเกินเลยออกนอกขอบเขต ซึ่งจะเป็นเหตุบั่นรอนความสุขที่ประณีต คือ จะไม่ยอมสละโลกุตรสุขอันประณีต เพื่อมาเติมส่วนขยายปริมาณให้แก่โลกียสุขอันหยาบกว่าอีกต่อไป พูดอีกนัยหนึ่งว่า กามสุขและโลกิยสุขอันหยาบ ถูกทำให้สมดุลด้วยโลกุตรสุขอันประณีต

ความสุขนี้ เป็นทั้งผล และเป็นทั้งปัจจัยพันเนื่องอยู่ด้วยกันกับคุณธรรมที่ประพฤติ จึงเป็นหลักยืนยันถึงความไม่ไหลเวียนกลับลงต่ำอีกต่อไป มีแต่จะช่วยค้ำชูส่งเสริมให้ก้าวสูงขึ้นไปในเบื้องหน้า

ความเป็นโสดาบัน มีคุณค่าเป็นที่น่าพอใจ ทั้งแก่ตัวบุคคลนั้นเอง และแก่สังคมอย่างนี้ ท่านจึงจัดผู้บรรลุโสดาปัตติผลเป็นสมาชิกชุดแรกเข้าใหม่ของชุมชนอารยะ เป็นจุดต้นที่ชีวิตอารยชนเริ่มแรก นับเนื่องในอริยสงฆ์หรือสาวกสงฆ์ที่แท้ อันเป็นสังคมแม่พิมพ์ที่พระพุทธศาสนามุ่งประสงค์จะใช้เป็นแบบหล่อหลอมมนุษยชาติ

พระพุทธเจ้าได้ตรัสเน้นถึงคุณค่าและความสำคัญของความเป็นโสดาบันอย่างมากมาย ดังจะทรงเร้าให้เวไนยชนหันมาสนใจภูมิธรรม หรือระดับชีวิตขั้นนี้ อย่างจริงจัง และยึดเอาเป็นเป้าหมายของการดำรงอยู่ในโลก เช่น ตรัสว่า

การบรรลุโสดาปัตติผล ดีกว่าการได้ไปสวรรค์ ประเสริฐกว่าการได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ประเสริฐกว่าการได้ฌานสมาบัติ ศาสดาผู้นำศาสนาที่มีสาวกมากมาย เป็นผู้ปราศจากกามราคะด้วยกำลังเจโตวิมุตติ ประกอบด้วยกรุณาคุณ สั่งสอนลัทธิเพื่อเข้ารวมกับพรหม ทำให้สาวกไปสวรรค์ได้มากมาย นับว่าเป็นผู้ประเสริฐมากอยู่แล้ว แต่บุคคลผู้เป็นโสดาบัน แม้ยังมีกามราคะอยู่ ก็ประเสริฐยิ่งกว่าศาสดาเหล่านั้น

ดังพุทธพจน์ในธรรมบทว่า

เลิศล้ำ เหนือความเป็นเอกราชบนผืนปัฐพี ดีกว่าการไปสู่สรวงสวรรค์ ประเสริฐกว่าสรรพโลกาธิปัตย์ คือ ผลการตัดถึงกระแสแห่งโพธิธรรม (โสดาปัตติผล)”

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2016, 07:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
โฮฮับ เขียน:
เริ่มบ้าน้ำลายอีกแล้ว ก๊อปปี้เขามาพูดเรื่อยเปื่อย
ถูกผิดก็ไม่รู้ ไม่ไหวจะเคลียร์
:b32:



เฝ้าสังเกตโฮฮับมานานเนิ่นแล้ว ยังไม่เคยเห็นโฮฮับพูดอะไรเป็นสาระเป็นชิ้นเป็นอันสักครั้งเดียว เห็นยกคำศัพท์นั้นนี้มา ครั้นเราถามว่า หมายถึง อะไรน่า ? อึ :b32: อ้าวจริงๆ เช่นที่พูดว่า ปัจจัตตัง พอเราถามว่าอะไร ปัจจัตตัง เงิียบ อึ :b13:


ประเด็นมันอยู่ที่กรัชกายเป็นต้นเหตุแห่งการโต้แย้ง กรัชกายเอาบทความชาวบ้านมาโพส
แต่พอมีคนอื่นเขาเข้ามาแย้ง.......
กรัชกายไม่สามารถอธิบายสิ่งที่เข้าแย้งได้ คือไม่หาเหตุผลมาหักล้างในกรณีที่เขาแย้ง
กรัชกายพยายามจะลากประเด็นให้ออกทะเล ด้วยการตั้งคำถามใหม่ที่ไม่เกี่ยวกับบทความ
หรือหัวกระทู้ที่ตัวโพส.....ซึ่งลักษณะเช่นนี้ผู้รู้ย่อมต้องไม่สนใจกับคำถามเรื่อยเปื่อยนั้นอยู่แล้ว
และที่สำคัญผู้รู้ย่อมรู้อยู่แล่วว่า มันเป็นคำแก้เกี้ยวเพราะความอาย ต่อให้ตอบหรืออธิบายไป
คนๆนั้นย่อมไม่รู้เรื่องหรือไม่สนใจที่จะฟังอยู่แล้ว :b13:

กรัชกาย เขียน:
ถ้ามองความผิดเพี้ยนก็จะเห็นว่า เริ่มแต่เข้าใจคนหรือมนุษย์ผิดเพี้ยนไป เช่นเห็นว่า คน หมายถึง คนบ้า คนไม่บ้า คือ คนดี เรียกบุคคล เป็นบุคคล ไม่ใช่คน คิกๆๆ จบข่าว


นี่คือตัวอย่างที่พี่โฮได้อธิบายไว้ในวรรคก่อนหน้า เป็นจริงอย่างที่พี่โฮกล่าวหาหรือไม่
พิจารณาให้ดี กรัชกายดีแต่ก๊อปปี้บทความชาวบ้านมาโพส ตัวตนที่แท้จริงของกรัชกาย
ไม่ได้มีสติสัมปชัญญะที่จะพิจารณาธรรมแม้แต่น้อย

อีกฝ่ายได้อธิบายไปก่อนหน้าแล้วว่า ผู้ที่จะปฏิบัติธรรมหรือการสนทนา
ที่เกี่ยวกับธรรมของพระพุทธองค์
จะเรียกผู้ปฏิบัติธรรมนั้นว่า คน ไม่ได้ เพราะโดยธรรมชาติ คนมีหลายจำพวก มีทั้งคนดีและคนบ้า
ในการปฏิบัติธรรมคนบ้าไม่สามารถทำได้......ก็ด้วยเหตุนี้จึงต้องเรียกผู้ปฏิบัติธรรมหรือเรียกสัตว์โลก
ที่สามารถปฏิบัติธรรมได้ว่า......บุคคล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2016, 07:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


และอีกอย่างที่แสดงถึงความไมรับผิดชอบ(ไม่เอาไหน)ของกรัชกายก็คือ..
การไม่ให้เครดิตกับเจ้าของบทความที่ตัวไปก๊อปปี้เขามา
แทนที่จะวางลิ้งที่มาในบทความนั้นด้วย กลับทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้
หวังเพียงเพื่อให้คนอื่นเข้าใจว่า บทความนั้นเป็นความคิดอ่านของตน

กรัชกายจะอ้างที่มาของบทความก็ต่อเมื่อ มีคนเข้ามาแย้ง
แล้วตัวเองไม่รู้จะโต้แย้งเขาอย่างไร พูดง่ายๆ ปัดความรับผิดชอบ .....
ไม่ไหวจะเคลียร์ :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2016, 08:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
และอีกอย่างที่แสดงถึงความไมรับผิดชอบ(ไม่เอาไหน)ของกรัชกายก็คือ..
การไม่ให้เครดิตกับเจ้าของบทความที่ตัวไปก๊อปปี้เขามา
แทนที่จะวางลิ้งที่มาในบทความนั้นด้วย กลับทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้
หวังเพียงเพื่อให้คนอื่นเข้าใจว่า บทความนั้นเป็นความคิดอ่านของตน

กรัชกายจะอ้างที่มาของบทความก็ต่อเมื่อ มีคนเข้ามาแย้ง
แล้วตัวเองไม่รู้จะโต้แย้งเขาอย่างไร พูดง่ายๆ ปัดความรับผิดชอบ .....
ไม่ไหวจะเคลียร์ :b13:



คิกๆๆ ก็บอกอยู่แล้วจากหนังสือพุทธธรรม หน้า ๘๘๑ เป็นต้นไป
:b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2016, 08:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:
โฮฮับ เขียน:
เริ่มบ้าน้ำลายอีกแล้ว ก๊อปปี้เขามาพูดเรื่อยเปื่อย
ถูกผิดก็ไม่รู้ ไม่ไหวจะเคลียร์
:b32:



เฝ้าสังเกตโฮฮับมานานเนิ่นแล้ว ยังไม่เคยเห็นโฮฮับพูดอะไรเป็นสาระเป็นชิ้นเป็นอันสักครั้งเดียว เห็นยกคำศัพท์นั้นนี้มา ครั้นเราถามว่า หมายถึง อะไรน่า ? อึ :b32: อ้าวจริงๆ เช่นที่พูดว่า ปัจจัตตัง พอเราถามว่าอะไร ปัจจัตตัง เงิียบ อึ :b13:


ประเด็นมันอยู่ที่กรัชกายเป็นต้นเหตุแห่งการโต้แย้ง กรัชกายเอาบทความชาวบ้านมาโพส
แต่พอมีคนอื่นเขาเข้ามาแย้ง.......
กรัชกายไม่สามารถอธิบายสิ่งที่เข้าแย้งได้ คือไม่หาเหตุผลมาหักล้างในกรณีที่เขาแย้ง
กรัชกายพยายามจะลากประเด็นให้ออกทะเล ด้วยการตั้งคำถามใหม่ที่ไม่เกี่ยวกับบทความ
หรือหัวกระทู้ที่ตัวโพส.....ซึ่งลักษณะเช่นนี้ผู้รู้ย่อมต้องไม่สนใจกับคำถามเรื่อยเปื่อยนั้นอยู่แล้ว
และที่สำคัญผู้รู้ย่อมรู้อยู่แล่วว่า มันเป็นคำแก้เกี้ยวเพราะความอาย ต่อให้ตอบหรืออธิบายไป
คนๆนั้นย่อมไม่รู้เรื่องหรือไม่สนใจที่จะฟังอยู่แล้ว :b13:

กรัชกาย เขียน:
ถ้ามองความผิดเพี้ยนก็จะเห็นว่า เริ่มแต่เข้าใจคนหรือมนุษย์ผิดเพี้ยนไป เช่นเห็นว่า คน หมายถึง คนบ้า คนไม่บ้า คือ คนดี เรียกบุคคล เป็นบุคคล ไม่ใช่คน คิกๆๆ จบข่าว


นี่คือตัวอย่างที่พี่โฮได้อธิบายไว้ในวรรคก่อนหน้า เป็นจริงอย่างที่พี่โฮกล่าวหาหรือไม่
พิจารณาให้ดี กรัชกายดีแต่ก๊อปปี้บทความชาวบ้านมาโพส ตัวตนที่แท้จริงของกรัชกาย
ไม่ได้มีสติสัมปชัญญะที่จะพิจารณาธรรมแม้แต่น้อย

อีกฝ่ายได้อธิบายไปก่อนหน้าแล้วว่า ผู้ที่จะปฏิบัติธรรมหรือการสนทนา
ที่เกี่ยวกับธรรมของพระพุทธองค์
จะเรียกผู้ปฏิบัติธรรมนั้นว่า คน ไม่ได้ เพราะโดยธรรมชาติ คนมีหลายจำพวก มีทั้งคนดีและคนบ้า
ในการปฏิบัติธรรมคนบ้าไม่สามารถทำได้......ก็ด้วยเหตุนี้จึงต้องเรียกผู้ปฏิบัติธรรมหรือเรียกสัตว์โลก
ที่สามารถปฏิบัติธรรมได้ว่า......บุคคล



จะคนดี คนบ้า กี่จำพวก เป็นคนปฏิบัติธรรม ไม่ปฏิบัติธรรม สังคมทั่วๆไปเขาเรียกว่า "คน" ไม่ใช่แมว :b32: ไม่ใช่ต้นไม้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2016, 08:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
๒) เป็นธรรมดาของบุคคลโสดาบันที่ว่า ทั้งที่เป็นผู้เอาใจใส่คอยขวนขวายช่วยเหลือกิจธุระทั้งหลาย ทั้งงานสูงงานต่ำ ทั้งเรื่องใหญ่เรื่องย่อย ของเพื่อร่วมหมู่คณะ แต่ในเวลาเดียวกัน ก็มีความใฝ่ใจอย่างแรกกล้าในอธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา (เรียกสั้นๆ ศีล สมาธิ และปัญญา) ไปด้วย เหมือนแม่โคลูกอ่อน เล็มหญ้ากินไป ก็คอยแลระวังลูกน้อยไปด้วย คือ ทั้งช่วยส่วนรวม ทั้งคอยฝึกตนให้ก้าวหน้าต่อไปในมรรค


อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา ศึกษาที่หัวข้อนี้

viewtopic.php?f=1&t=52462

ชีวิต 3 ด้าน ของคนเรานี้ ที่พัฒนาไปด้วยกัน มีอะไรบ้าง ? ก็แยกเป็น

1. ด้านสื่อกับโลก ได้แก่ การรับรู้ติดต่อสื่อสารสัมพันธ์ พฤติกรรม ความประพฤติ และการ แสดงออกต่อหรือกับเพื่อนมนุษย์ และสิ่งแวดล้อมอื่นๆผ่านทวาร (ช่องทาง ประตู) 2 ชุด คือ

ก. ผัสสทวาร (ทางรับรู้) คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย (รวมทั้งชุมทาง คือ ใจ เป็น 6)

ข. กรรมทวาร (ทางทำกรรม) คือ กาย วาจา (รวมชุมทาง คือ ใจ ด้วย เป็น 3)

ด้านนี้ พูดง่ายๆว่า แดนหรือด้านที่สื่อกับโลก เรียกสั้นๆคำเดียวว่า ศีล

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 15 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 36 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร