วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 05:40  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2016, 08:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จากหนังสือจาริกบุญ จารึกธรรม หน้า ๓๒๖

รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2016, 08:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เฉพาะความหมายอธิษฐานลงไว้ที่นี่

viewtopic.php?f=1&t=52529&p=393140#p393140


แต่โฮฮับแยกแยะความหมายอ้อนวอน กับ อธิษฐานไม่ออก เช่นว่า

อ้างคำพูด:
โฮฮับ

เลอะเทอะ!! คำว่า "อธิฐาน" ไม่ใช่คำไทย ไม่ใช่บาลี แต่เป็นคำที่มาจากภาษาเขมร
ไทยยืมเอาคำของเขมรมาใช้ ซึ่งคำๆนี้ตรงกับภาษาอังกฤษว่า"pray"
ความหมายโดยรวมก็คือ.....การวิงวอนร้องขอ

ที่บอกว่า อธิฐานแปลว่า ความตั้งใจเด็ดเดียว......เป็นการแปลที่มั่วเอาเอง หาได้ใช้หลักเกณท์อันใดไม่

แท้จริงแล้วความหมายที่หมายถึง"ความเด็ดเดียว" ถ้าเป็นภาษาธรรมจะต้องใช้คำว่า.."ความเพียร"
ความเพียร ถ้าเทียบเคียงกับพุทธพจน์ก็คือ.....วิริยะ

วิริยะเป็นองค์ธรรมหรือองค์ประกอบของ อิทธิบาท
ซึ่งคำว่า "อิทธิบาทก็คือ...จุดมุ่งหมายหรือเป้าประสงค์น้้นเอง

กรัชกาย เขียน:

การอธิษฐานจิต ก็คือ ตั้งใจเด็ดเดี่ยว มุ่งมั่นลงไปว่าจะทำการนี้ เรื่องนี้ อันนี้ ให้สำเร็จให้จงได้ โดยตั้งใจเด็ดเดี่ยว


มั่ว!! การอธิฐานจิต คือการวิงวอนร้องขอ ไม่ได้หมายถึงตั้งใจเด็ดเดียว
การวิงวอนร้องขอเป็นมิจฉาทิฐิในศาสนาพุทธ พระพุทธทรงชี้แนะว่า มันเป็นกิเลสตัณหาควรละเสีย


จึงลงเต็มๆให้สังเกตใหม่ ถึงขนาดนี้แล้วยังแยกไม่ออก ยังไม่เข้าใจ ก็แล้วแต่เต้ย :b32:

เต้ยแล้วแต่วาสนา

https://www.youtube.com/watch?v=-lMWVrFh39g

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2016, 08:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หัวข้อนี้ เนื่องกับหัวข้อ “สมาธิมีประโยชน์มากมาย ต้องใช้ให้คุ้ม และให้ครบ

เพื่อให้เชื่อมกับหัวข้อข้างล่าง ตัดตอนท้ายมาหน่อย เช่น



ดังนั้น ชาวพุทธหยุดไม่ได้ ต้องก้าวต่อไป โดยใช้สมาธิเป็นตัวเอื้อ ช่วยเกื้อหนุนให้เดินหน้าไปในไตรสิกขา

ข้อย้อนกลับมาพูดถึงเรื่องของการกล่อมด้วยการอ้อนวอนเทพเจ้า (สังคมคนยุคก่อนพุทธกาล) คนจำนวนมากกล่อมใจตัวเองด้วยเรื่องนี้ จนกระทั่งศาสนาที่มองเห็นว่า มนุษย์จะหลงจมอยู่ด้วยความหวังพึ่ง ไม่พัฒนาต่อไป ก็ต้องใช้อุบายที่จะทำให้มนุษย์เหล่านั้นหรือศาสนิกของตนต้องเพียรพยายามเอาเอง ไม่ใช่รอคอยเทพเจ้าช่วยแล้วมัวนั่งงอมืองอเท้าอยู่อย่างเดียว ก็เลยต้องจำกัดการช่วยว่าจะช่วยอีกนานหลายพันปีข้างหน้า หรือไม่รู้ว่าเมื่อไร ตอนนี้ให้ดิ้นรนช่วยตัวเองไปก่อน หรือบอกว่าพระเจ้าจะช่วยเฉพาะคนที่ช่วยตัวเอง เป็นต้น แล้วแต่วิธีการของศาสนานั้นๆ

แต่ในพุทธศาสนานี้ ท่านไม่ให้มัวหวังผลอ้อนวอนนอนรอคอยการดลบันดาลอย่างนั้นเลย เพราะสอนหลักให้ทำการด้วยความเพียร ซึ่งมีฐานะอยู่ในหลักสิกขา ที่มีสาระว่าให้ฝึกฝนพัฒนาตนอยู่ตลอดเวลา อย่างจริงจังไม่ประมาท เพื่อทำตนให้เป็นที่พึ่งได้ มีชีวิตที่ปลอดโปร่งโล่งเบา และมีความความสุขที่เป็นอิสระอย่างแท้จริง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2016, 09:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตัวอย่างประกอบความเข้าใจส่วนหนึ่ง คือ เขาบนบานศาลกล่าวอ้อนวอนร้องขอต่อสิ่งศักดิ์อยากได้งานทำ ด้วยการถือศีลแก้บน

อ่านดู

อ้างคำพูด:
เริ่มจาก...ดิฉันสมัครสอบเข้าทำงานราชการในกระทรวงหนึ่ง ซึ่งมันเป็นตำแหน่งที่ดิฉันอยากสอบได้มากๆๆๆ เพราะเงินเดือนน่าพอใจ ที่สำคัญถ้าสอบได้ดิฉันจะได้ทำงานใกล้บ้าน ดิฉันก็ทำทุกวิถีทางเลยค่ะเพื่อให้สอบได้ ทั้งอ่านหนังสืออย่างเยอะ หาข้อสอบเก่าๆมาทำ นอกจากนั้นดิฉันยังคิดจะติดสินบนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ตอนแรกก็ไม่รู้ว่าจะบนเจ้าแม่ หรือเจ้าพ่อที่ไหนดี บนด้วยอะไรดี ก็หาข้อมูลใหญ่เลยค่ะ แล้วก็มาได้ข้อสรุปว่า เอาวะ!!...บนด้วยการถือศีล 5 แล้วกัน เพราะการถือศีล 5 ได้บุญ สิ่งศักดิ์สิทธิ์อาจจะชอบบุญมากกว่าหมูเห็ดเป็ดไก่ ไข่ต้ม หรือว่าพวงมาลัย...


พอคิดได้ก็เริ่มเลยค่ะ สวดมนต์ สมาทานศีล 5 นั่งสมาธิ แผ่เมตตาทุกคืนก่อนนอน แรกๆอึดอัดมากค่ะ จะทำอะไรก็กลัวผิดศีลไปหมด แล้วก็ชอบเผลอชอบลืมอยู่บ่อยๆ กว่าจะผ่านแต่ละวันไปได้โดยไม่พูดโกหก ไม่ตบยุง 2 อย่างนี้ยากมากๆกว่าจะหมดวันๆนึง..


ดิฉันก็เลยเริ่มรู้สึกว่าถ้าเรายังรู้สึก อึดอัดแบบนี้ต่อไปเราคงถือศีลได้ไม่กี่วันแน่ๆ เราต้องศึกษาจากคนอื่นบ้างแล้วว่ามีหลักในการถือศีลอย่างไร คนที่นึกถึงตอนแรกเลยก็คือ พระค่ะ... ดิฉันจึงไปโหลดเสียงธรรมของหลวงพ่อหลายองค์มาฟังเกี่ยวกับหลักในการปฏิบัติ ศีล 5 ยอมรับค่ะว่าเรื่องการฟังเทศน์มันแล้วแต่จริตคนจริงๆ ว่าจะถูกจริตกับคำสอนของพระองค์ไหน


ดิฉันฟังหลายหลวงพ่อแต่ก็ไม่รู้สึกถูกจริตเป็นพิเศษ จนได้มาฟังเสียงธรรมของหลวงพ่อองค์หนึ่งที่พอฟังปุ๊บ จิตมันหยุดนิ่งไม่อยากละจากเสียงไปไหนเลย เป็นเสียงที่ฟังง่าย คำพูดฟังง่ายๆ แต่ฟังแล้วคิดตามได้แล้วเห็นภาพ ดิฉันก็เปิดฟังเกือบทั้งวันเลยค่ะ ตั้งแต่ตื่น ระหว่างวัน จนถึงก่อนจะนอนเรียกว่าหลับไปกับเสียงธรรมของท่านเลย คำสอนของท่านก้องอยู่ในหัวตลอด ว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบอกว่า ศีลนั้นน่ะ มันอยู่ที่เจตนา...พอเริ่มฟังมากๆ ปัญญาก็เริ่มเกิดเริ่มใช้ชีวิตง่ายขึ้น

ผ่านไประยะหนึ่ง... จากที่ตอนแรกดิฉันรักษาศีล ดิฉันก็ค้นพบว่าไปๆมาๆ ศีลต่างหากที่รักษาดิฉัน ชีวิตมันง่ายจังชีวิตมันดีจังที่มันใช้ชีวิต
โดยมีศีลเป็นกรอบ

พอมีศีลก็มีสติ เพราะต้องมีสติไว้พิจารณาว่าสิ่งที่เรากำลังคิดจะพูดจะทำนั้น มันผิดในหลักของศีลไหม ถ้าผิดเราจะไม่พูด ไม่ทำ....
พอมีสติบ่อยๆ มันก็กลายเป็นมีสติรู้ตัวทั้งวัน พอรู้ตัวทั้งวันเวลาที่พูดหรือคุยกับใครมันกลายเป็นมองข้าม ผิวพรรณ หน้าตา ทรงผม ความจน ความรวยหรือแม้แต่ยศฐาบรรดาศักดิ์ของคนคนนั้นไปเลยค่ะ น่าทึ่งมาก มันเห็นเลยว่า คนที่เราพูดคุยด้วยอยู่นี้คำที่พูดออกมามีแต่วาจาน่ารักน่าฟัง หรือวาจาเต็มไปด้วยคำโม้โอ้อวด หรือวาจาเต็มไปด้วยโทสะคำหยาบๆคายๆ หรือพูดแต่เรื่องของคนอื่น ขี้นินทาอิจฉาคนอื่นไหม น่าคบหรือไม่น่าคบ...

พอได้ยินคำพูด มันก็บ่งบอกจิตใจของคนพูดหรือแม้แต่บ่งบอกได้เหมือนกันว่าคนที่เราพูดคุย ด้วยอยู่นั้นมีสติไตร่ตรองในคำพูดของตัวเองแค่ไหน..สติยังทำให้ดิฉันเห็นถึง พัฒนาการของจิตตัวเองเวลาที่มันมีอะไรมากระทบ เวลามีคนมาทำให้โกรธ จะด้วยคำพูดหรือการกระทำก็ตาม ดิฉันสังเกตเห็นว่าจิตมันเฉยๆ มันไม่รู้สึกโกรธตอบ ทำไมมันเฉยอย่างนั้น
ถ้าเป็นเมื่อก่อนมันคงร้อนรนอยากจะเอาคืน แต่ไม่ว่าจะเพราะอะไรก็ไม่สำคัญเท่ากับว่า ที่ดิฉันเล่ามาทั้งหมดนี้เพียงเพราะอยากบอกเล่าถึงความมหัศจรรย์ของศีล ศีลนำมาซึ่งสติ สตินำมาซึ่งความสงบสุขในชีวิตจริงๆค่ะ โดยเฉพาะในโลกที่มันวิ่งวนวุ่นวายใบนี้..

ดิฉันยังเคยนั่งนึกเลยว่าเมื่อก่อน นี้เราอยู่มาได้ยังไงนะ โดยไม่มีสติมาเป็นเครื่องนำทางในชีวิต เมื่อก่อนเวลาเราจะตัดสินใจพูดหรือทำอะไรเรายึดหลักอะไรล่ะ...คำตอบที่ได้ คือ อารมณ์ล้วนๆค่ะ เกือบทุกเรื่องดิฉันยังไม่ทันได้คิดไตร่ตรองด้วยซ้ำ อารมณ์มันพาให้พูดให้ทำไปก่อน น่ากลัวจริงๆค่ะที่เคยมีชีวิตแบบนั้น...

ทั้งนี้ทั้งนั้นตอนนี้ดิฉันได้พบทาง สายเอกแล้ว ทางสายที่พระพุทธองค์ทรงค้นพบ ชีวิตก็ไม่ต้องการอะไรแล้วค่ะ ทุกสิ่งล้วนต้องทิ้งไว้ในโลก

แต่ก็โชคดีที่ดิฉันสอบได้งานตามที่ตั้งใจหวังไว้จริงๆ จะด้วยการบนบานนั้นสำเร็จ หรืออะไรก็แล้วแต่ แต่ยังไง ดิฉันคงขอเดินบนทางสายนี้ไปจนกว่าเวลาของดิฉันในโลกใบนี้จะหมดไป

หากหมดเวลา ดิฉันขอเอาไปแค่จิตที่บริสุทธิ์ดวงเดียวก็พอ ดิฉันหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การบอกเล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านที่กำลัง เริ่มคิดจะถือศีล กำลังเริ่มถือศีล หรือเพียงแต่กำลังคิดจะหยุดทำผิดศีลก็ตาม อยากบอกว่าคุณเดินมาถูกทางแล้วค่ะ^^

สุดท้ายนี้...หนูต้องกราบขอบคุณพ่อแม่ ที่ทำให้หนูมีโอกาสเกิดมาพบศาสนาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กราบขอบคุณครูบาอาจารย์ที่สอนให้หนูอ่านออกเขียนได้ ทำใหัหนูได้อ่านพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์....สุดท้าย ดวงจิตดวงนี้ ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ที่ทรงเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยพระองค์เอง


เฉพาะเรื่องอ้อนวอนบนบานศาลกล่าว เคยโต้เถียงกันแล้วที่

viewtopic.php?f=1&t=52092

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2016, 09:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อชักแม่น้ำครบ 5 สายแล้ว เข้าเรื่องที



หลายเรื่องที่ควรรู้ให้ชัด

จะนอนคุดคู้อยู่ด้วยการอ้อนวอนปรารถนา หรือจะเดินหน้าด้วยอธิษฐาน

มีแง่คิดเข้ามาอย่างหนึ่งว่า บางทีการอ้อนวอนก็ไม่ใช่ไร้ผล…….

อันนี้เป็นเรื่องของความจริงตามธรรมชาติ จึงลองมาวิเคราะห์กันดู ที่ว่าการอ้อนวอนนี้ไม่ใช่ไร้ผลทีเดียวนั้น มีอะไรแฝงอยู่


การอ้อนวอนนั้น โดยตัวมันเองไม่ใช่สิ่งที่ให้ผล แต่ในการอ้อนวอนนั้น มันได้ทำให้เกิดสภาพจิตอย่างหนึ่งขึ้น ซึ่งเป็นผลพ่วงมาโดยไม่รู้ตัว พวกที่อ้อนวอนนั้นทำไปโดยไม่รู้ แต่บางครั้งมันได้ผล

ทำไมจึงบอกว่า บางครั้งมันได้ผล สิ่งที่แฝงมาโดยไม่รู้ตัวก็คือสภาพจิต เมื่อมีการอ้อนวอนนั้น จิตจะรวมในระดับหนึ่ง และทำให้เกิดแรงความมุ่งหวัง แรงความมุ่งหวังนั้นทำให้จิตแน่วมุ่งดิ่งไป และมีพลังขึ้นมาในแนวของสมาธินั่นเอง


จิตที่อ้อนวอนนั้น เมื่อความตั้งใจปรารถนาแรงมาก มันก็พุ่งดิ่งไปทางเดียว จิตก็แน่วตั้งมั่นขึ้นมา จิตที่ตั้งมั่นนี้แหละเป็นคุณประโยชน์ คนอ่อนแอจึงอาศัยการอ้อนวอนมาช่วยตัว


ส่วนคนที่ไม่อ้อนวอนเลย แต่พร้อมกันนั้น ก็ไม่รู้จักรวมจิตด้วย วิธีอื่น บางทีบอกว่าตัวเองเป็นคนมีปัญญา แต่เป็นคนที่พร่า จับจด เมื่อจิตพร่าจับจดไม่เอาอะไรมุ่งลงไปแน่นอน จิตก็ไม่มั่น ทำอะไรก็ไม่ค่อยได้ผล เลยกลับไปแพ้คนที่ตัวว่าโง่เขลางมงาย


เรื่องความตั้งมั่นแน่วแน่ของจิตนี้สำคัญมาก คนอาจจะทำให้มันเกิดขึ้นมาโดยไม่รู้เข้าใจและไม่รู้ตัว แล้วจิตมันก็ทำงานให้อย่างที่เจ้าตัวไม่รู้เข้าใจและไม่รู้ตัวด้วย เลยพูดง่ายๆว่า มันลงในระดับจิตที่ไม่รู้ตัวเลยทีเดียว


ที่จริง คนที่อ้อนวอนนั้น เขาก็รู้ตัวในการอ้อนวอนของเขา แต่ไม่ใช่รู้ด้วยปัญญา คือแทนที่จะมองเห็นการกระทำเหตุอันจะนำไปให้ถึงผลที่ตัวอยากได้ เขามองไปตันแค่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ลัดข้ามไปยังผลที่อยากจะได้ แต่เพราะความที่ใจอยากแรงกล้า ประสานกับความเชื่อต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์นั้น เป็นศรัทธาอันดิ่ง ก็จ่อแน่วเกิดเป็นแรงที่ทำให้จิตมั่นและมุ่ง


ถ้า พูดในแง่การทำงานของจิต ที่จริงเป็นการปรุงแต่งในจิตสำนึกนี่แหละ ปรุงแต่งอย่างแรงทีเดียว แต่แรงด้วยความรู้สึก ไม่ใช่แรงด้วยความรู้ ก่อนที่จะตกภวังค์สะสมเป็นวิบากต่อไป


รวมแล้ว การกระทำหลายอย่างที่เป็นไปนี้ เหมือนว่าเราไม่รู้ตัวแต่ได้กระทำไปเอง โดยความเคยชินในการดำเนินชีวิตประจำวันบ้าง โดยความเชื่อที่จูงนำตัวเองไปอย่างไม่รู้ตัวบ้าง โดยปัจจัยต่างๆ ชักพาให้เป็นไปบ้าง ซึ่งเป็นเรื่องของมนุษย์ที่อยู่ในอวิชชา

เมื่อทำการต่างๆ ได้ผลบ้าง ไม่ได้ผลบ้าง มีผลพลอยได้ขึ้นมาบ้างนั้น หลายอย่างเหมือนเป็นไปเอง คือ มันพอดีไปจำเพาะถูกจุดถูกจังหวะเข้า ปัจจัยที่ตรงเรื่องเกิดขึ้น ก็เลยได้ผล หรือตรงข้ามกับได้ผล

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2016, 09:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ

ที่นี้ พระพุทธเจ้าทรงสอนให้คนเราพัฒนาตนเพื่ออะไร ก็เพื่อให้ทำการต่างๆได้ผล โดยเป็นไปอย่างรู้ตัว มองเห็นชัดเจนด้วยปัญญา มีความรู้เข้าใจ ด้วยการเห็นจริง ทำตรงตัวเหตุปัจจัย ดุจบังคับบัญชามันได้ เมื่อทำโดยรู้เข้าใจมองเห็นความเป็นไป ก็ก้าวต่อได้ ไม่ใช่ว่าไปทำจับพลัดจับผลูพอดีตรงเข้า ก็เลยได้ผลขึ้นมา แล้วเมื่อไม่รู้เหตุผลที่เป็นไปก็จมวนอยู่แค่นั้น


สำหรับ การอ้อนวอนนั้น ก็เป็นเรื่องของมนุษย์ที่มีอวิชชา แต่สภาพจิตของเขาที่มีอาการมั่นแน่วและได้ผลขึ้นมาในการอ้อนวอนนั้น ก็เป็นเรื่องของกฎธรรมชาติ คือ เป็นกรรม ได้แก่ การกระทำอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นไปตามกระบวนการของเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดผลขึ้นมา


อธิบายหน่อยหนึ่งว่า จิตของ เขา เอาสิ่งทีเป็นเป้าหมายของการอ้อนวอนนั้นเป็นสื่อ แต่มีแรงความมุ่งหวังขับดันไป ได้ความเชื่อต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์มากำกับ ทำให้เกิดความแน่วแน่และความพุ่งดิ่ง ก็ทำให้จิตในระดับของความไม่รู้ตัวนี้ จับมั่นมุ่งอยู่กับความปรารถนาอันนั้น ใจก็ครุ่นพัวพันอยู่ที่จุดหมายนั้น แล้วเกิดแรงโน้มนำชักพาไปสู่ผลที่ต้องการ แม้แต่โดยตนเองไม่รู้ตัว การอ้อนวอนในบางกรณีจึงได้ผลเป็นการจับพลัดจับผลูแบบหนึ่ง


พวกไสยศาสตร์ทั่วๆไป ก็ใช้อะไรบางอย่างเป็นสื่อ สำหรับให้เป็นที่จับยึดของความเชื่อ ซึ่งเป็นแรงที่พาจิตให้มีพลังมั่นแน่วมุ่งดิ่งไป


ในทางพระพุทธศาสนา ท่านจับเอาสาระในเรื่องนี้ออกมา แล้วถือเอาส่วนที่ใช้ประโยชน์ที่จะมาสัมพันธ์กันได้กับการพัฒนามนุษย์

พุทธศาสนิกชนที่ยังอยู่ในระดับนี้ เราก็ต้องยอมรับความเป็นปุถุชนของเขา อย่างน้อยก็ควรจะใช้หลักนี้ให้เป็นประโยชน์ในทางที่ดี และให้มีทางเชื่อมต่อเข้าสู่การพัฒนาในไตรสิกขาได้


พระพุทธศาสนาได้แยกสาระในเรื่องนี้ออกมาให้เราแล้ว แต่บางทีเราก็จับไม่ได้ ก็เลยยังวุ่นกันอยู่

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2016, 09:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ


ในระบบการอ้อนวอนที่บางทีได้ผลนี่ มันมีแกนแท้อยู่ นั้นก็คือตัวความมุ่งหวังและใฝ่ปรารถนาอย่างกล้าต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่ทำให้จิตรวมกำลังพุ่งดิ่งไปในทางนั้น สาระนี้ท่านเอาออกมา แล้วให้ชาวพุทธใช้ได้ เรียกว่า อธิษฐาน


แต่ชาวพุทธทั่วไป ก็แยกไม่ออกอีกนั่นแหละ ทั้งที่หยิบยกแยกออกมาให้โดยเรียกว่า “อธิษฐาน” แล้ว ชาวพุทธในเมืองไทยเรากลับเอาอธิษฐานไปปนกับความหมายในเชิงอ้อนวอนอีกตามเคย จะเห็นว่าคนไทยทั่วไป แยกไม่ออกว่า อธิษฐาน ต่างกับการอ้อนวอนอย่างไร


ตอนนี้ ต้องการจะพูดให้แยกออกได้ก่อน ว่าในทางพระพุทธศาสนานั้น ท่านเอาตัวแกนที่จะใช้ได้ออกมา คือ อธิษฐาน แล้วให้ชาวพุทธนำไปใช้ได้



อธิษฐาน แปลว่า ความตั้งใจเด็ดเดี่ยว คนเราจะทำอะไร ต้องมีจุดหมาย หรือมีเป้าที่มุ่งเจาะเฉพาะลงไป


แม้ แต่จะบำเพ็ญกุศลธรรม สิ่งที่ดีงามนั้น ไม่ใช่ว่าเขาทำได้ทีเดียวทั้งหมด ทั้งชาติก็ทำไม่ไหว อย่าว่าแต่ปีสองปีหรือเดือนสองเดือนเลย ตลอดชาตินี้ เราจะทำกุศลหรือความดีทุกอย่างนี้ เราทำไม่ไหว


ไม่เฉพาะพวกเราหรอก แม้แต่พระโพธิสัตว์จะบำเพ็ญความดี บางทีทั้งชาติทำได้จริงจังข้อเดียว ไม่ใช่ว่าข้ออื่นไม่ทำ ทำดีทั่วๆไป แต่มีเด่นที่มุ่งจริงจังอยู่ข้อสองข้อ


เพราะฉะนั้น ในการเป็นพระโพธิสัตว์ชาติหนึ่ง ๆ นี้ จะต้องมีจุดที่มุ่งมั่น การทำดีต้องมีเป้าหมายว่า จะทำความดีอันไหนให้เป็นพิเศษ เราต้องใช้ปัญญาไตร่ตรองพิจารณาก่อนว่า อันนี้เราควรจะทำ อันนี้เราจะต้องทำให้ได้ เมื่อมั่นใจกับตัวเองแล้วก็อธิษฐานจิต


การอธิษฐานจิต ก็คือ ตั้งใจเด็ดเดี่ยว มุ่งมั่นลงไปว่าจะทำการนี้ เรื่องนี้ อันนี้ ให้สำเร็จให้จงได้ โดยตั้งใจเด็ดเดี่ยว

๑. ต่อคุณธรรมความดี หรือกุศลธรรมบางอย่างที่ต้องการจะทำ

๒. ต่อจุดมุ่งหมาย หมายความว่า เรามีจุดมุ่งหมายที่ดีงามว่า เราจะต้องไปให้ถึงสิ่งนั้นให้ได้ แล้วเราก็อธิษฐานจิต


อธิษฐานจิตนี้ เป็นการทำให้จิตของเรา พุ่งตรงดิ่งไปสู่เป้าหมายอันนั้น พูดเชิงภาพพจน์ว่าเป็นการสะสมแรงอัดลงไปถึงในภวังคจิต (ดูหัวข้อภวังคจิต) เลยทีเดียว (คือจิตปรุงแต่งอย่างแรง โดยประกอบด้วยปัญญาก่อนตกภวังค์) แล้วภวังคจิตอัน เป็นวิบาก คือ เป็นผลของการปรุงแต่งนั้น ซึ่งเป็นแหล่งแห่งศักยภาพของเรา ก็เหมือนกับทำงานให้เราเอง ที่จะชักจูงเรา นำพาวิถีชีวิตของเรา แม้แต่โดยไม่รู้ตัวให้หันเหเข้าไปหาสิ่งนั้น เกิดความสนใจต่ออะไรๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งนั้น


สิ่งแวดล้อมที่เราเกี่ยวข้อง เวลาเราเข้าไปสัมพันธ์ เราจะมีความโน้มเอียงที่จะเข้าไปหาสิ่งโน้นสิ่งนี้ โดยจะมีความรู้สึกต่อสิ่งเหล่านั้นไม่เหมือนกัน


จากจุดที่มีความรู้สึกหันเหโน้มเอียงต่อสิ่งเหล่านั้น ในเวลาที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์ เริ่มแต่รับรู้ด้วย ตา หู จมูก ลิ้น กาย ที่เราแต่ละคนจะมีปฏิกิริยาต่อสิ่งเหล่านั้นไม่เหมือนกันนี่แหละ วิถีชีวิตของเราจะเปลี่ยนไปตามแนวทางของตนๆ ทำให้ชีวิตของคนเราไม่เหมือนกัน และนี่แหละคือสิ่งที่เรียกว่าเป็นส่วนหนึ่งของความเป็นไปตามกรรม


ฉะนั้น แรงความโน้มเอียงจากความสนใจเป็นต้นที่ว่ามานี้ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ แม้แต่ตัวเราเองบางทีก็ไม่รู้ตัว คนหนึ่ง มองสิ่งหนึ่งก็มีความรู้สึกและเข้าใจอย่างหนึ่ง อีกคนหนึ่ง ก็เข้าใจและรู้สึกอีกอย่างหนึ่ง


จากจุดเริ่มต้นที่มองและรู้สึกอย่างใด ก็จะทำให้เขามีปฏิกิริยาต่อสิ่งนั้นไปตามแบบหรือลักษณะเฉพาะของตน รวมถึงการที่เขาจะหันเหไปหา จะมุ่งไปในทิศทางนั้น จะทำความเพียรพยายามให้ได้ให้เป็นอย่างนั้น อย่างนี้ เป็นต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2016, 12:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สรุปที่พี่โฮพร่ำสอนไปมันไม่ได้ซึมเข้าสมองเลย
ถามจริงกรัชกายนับถือศาสนาอะไร แล้วมีใครเป็นศาสดา
ไอ้ที่กรัชกายกลังบ้าน้ำลายไม่บอกก็รู้ว่า......ยึดเอาท่านปยุตเป็นศาสดา

กรัชกายจะเอาหลวงพ่อปยุตเป็นครูหรือเป็นไอดอล.....ไม่ผิด
แต่ที่กรัชกายกำลังทำมันผิด นั้นก็คือเอาคำของหลวงพ่อปยุตมาทำให้เหนือกว่าคำสอนของพระพุทธเจ้า
เล่นตั้งบัญญัติเองให้ความหมายเองตามใจชอบแบบนี้เขาเรียกว่า สัทธรรมปฏิรูป
พูดแบบชาวบ้านก็คือ....กำลังมั่วพุทธพจน์

ไม่เพียงแค่นั้น หยิบยืมภาษาของคนอื่น(เขมร)มาใช้ แทนที่จะคงความหมายของเจ้าของเดิม
เล่นไปเปลี่ยนความหมายเขาหน้าตาเฉย........ไม่ไหวจะเคลี่ยร์ :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2016, 15:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
สรุปที่พี่โฮพร่ำสอนไปมันไม่ได้ซึมเข้าสมองเลย
ถามจริงกรัชกายนับถือศาสนาอะไร แล้วมีใครเป็นศาสดา
ไอ้ที่กรัชกายกลังบ้าน้ำลายไม่บอกก็รู้ว่า......ยึดเอาท่านปยุตเป็นศาสดา

กรัชกายจะเอาหลวงพ่อปยุตเป็นครูหรือเป็นไอดอล.....ไม่ผิด
แต่ที่กรัชกายกำลังทำมันผิด นั้นก็คือเอาคำของหลวงพ่อปยุตมาทำให้เหนือกว่าคำสอนของพระพุทธเจ้า
เล่นตั้งบัญญัติเองให้ความหมายเองตามใจชอบแบบนี้เขาเรียกว่า สัทธรรมปฏิรูป
พูดแบบชาวบ้านก็คือ....กำลังมั่วพุทธพจน์

ไม่เพียงแค่นั้น หยิบยืมภาษาของคนอื่น(เขมร)มาใช้ แทนที่จะคงความหมายของเจ้าของเดิม
เล่นไปเปลี่ยนความหมายเขาหน้าตาเฉย........ไม่ไหวจะเคลี่ยร์ :b32:



ตั้งแต่มีประเทศไทยมา กรัชกายยังไม่เห็นใครนำพุทธธรรมแท้ๆมาบอกเล่า นอกจากท่านเจ้าคุณประยุทธ์ สาธุ :b8:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 81 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร