วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 08:39  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2016, 18:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อธิษฐาน แปลว่า ความตั้งใจเด็ดเดี่ยว คนเราจะทำอะไร ต้องมีจุดหมาย หรือมีเป้าที่มุ่งเจาะเฉพาะลงไป

การอธิษฐานจิต ก็คือ ตั้งใจเด็ดเดี่ยว มุ่งมั่นลงไปว่าจะทำการนี้ เรื่องนี้ อันนี้ ให้สำเร็จให้จงได้ โดยตั้งใจเด็ดเดี่ยว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2016, 19:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อธิษฐาน แปลว่า ความตั้งใจเด็ดเดี่ยว คนเราจะทำอะไร ต้องมีจุดหมาย หรือมีเป้าที่มุ่งเจาะเฉพาะลงไป

แม้ แต่จะบำเพ็ญกุศลธรรม สิ่งที่ดีงามนั้น ไม่ใช่ว่าเขาทำได้ทีเดียวทั้งหมด ทั้งชาติก็ทำไม่ไหว อย่าว่าแต่ปีสองปีหรือเดือนสองเดือนเลย ตลอดชาตินี้ เราจะทำกุศลหรือความดีทุกอย่างนี้ เราทำไม่ไหว

ไม่เฉพาะพวกเราหรอก แม้แต่พระโพธิสัตว์จะบำเพ็ญความดี บางทีทั้งชาติทำได้จริงจังข้อเดียว ไม่ใช่ว่าข้ออื่นไม่ทำ ทำดีทั่วๆไป แต่มีเด่นที่มุ่งจริงจังอยู่ข้อสองข้อ

เพราะฉะนั้น ในการเป็นพระโพธิสัตว์ชาติหนึ่ง ๆ นี้ จะต้องมีจุดที่มุ่งมั่น การทำดีต้องมีเป้าหมายว่า จะทำความดีอันไหนให้เป็นพิเศษ เราต้องใช้ปัญญาไตร่ตรองพิจารณาก่อนว่า อันนี้เราควรจะทำ อันนี้เราจะต้องทำให้ได้ เมื่อมั่นใจกับตัวเองแล้วก็อธิษฐานจิต


การอธิษฐานจิต ก็คือ ตั้งใจเด็ดเดี่ยว มุ่งมั่นลงไปว่าจะทำการนี้ เรื่องนี้ อันนี้ ให้สำเร็จให้จงได้ โดยตั้งใจเด็ดเดี่ยว

๑. ต่อคุณธรรมความดี หรือกุศลธรรมบางอย่างที่ต้องการจะทำ

๒. ต่อจุดมุ่งหมาย หมายความว่า เรามีจุดมุ่งหมายที่ดีงามว่า เราจะต้องไปให้ถึงสิ่งนั้นให้ได้ แล้วเราก็อธิษฐานจิต


อธิษฐานจิตนี้ เป็นการทำให้จิตของเรา พุ่งตรงดิ่งไปสู่เป้าหมายอันนั้น พูดเชิงภาพพจน์ว่าเป็นการสะสมแรงอัดลงไปถึงในภวังคจิตเลยทีเดียว (คือจิตปรุงแต่งอย่างแรง โดยประกอบด้วยปัญญาก่อนตกภวังค์) แล้วภวังคจิตอัน เป็นวิบาก คือ เป็นผลของการปรุงแต่งนั้น ซึ่งเป็นแหล่งแห่งศักยภาพของเรา ก็เหมือนกับทำงานให้เราเอง ที่จะชักจูงเรา นำพาวิถีชีวิตของเรา แม้แต่โดยไม่รู้ตัวให้หันเหเข้าไปหาสิ่งนั้น เกิดความสนใจต่ออะไรๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งนั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2016, 19:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สิ่งแวดล้อมที่เราเกี่ยวข้อง (ปรโตโฆสะ) เวลาเราเข้าไปสัมพันธ์ เราจะมีความโน้มเอียงที่จะเข้าไปหาสิ่งโน้นสิ่งนี้ โดยจะมีความรู้สึกต่อสิ่งเหล่านั้นไม่เหมือนกัน


จากจุดที่มีความรู้สึกหันเหโน้มเอียงต่อสิ่งเหล่านั้น ในเวลาที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์ เริ่มแต่รับรู้ด้วย ตา หู จมูก ลิ้น กาย ที่เราแต่ละคนจะมีปฏิกิริยาต่อสิ่งเหล่านั้นไม่เหมือนกันนี่แหละ วิถีชีวิตของเราจะเปลี่ยนไปตามแนวทางของตนๆ ทำให้ชีวิตของคนเราไม่เหมือนกัน และนี่แหละคือสิ่งที่เรียกว่าเป็นส่วนหนึ่งของความเป็นไปตามกรรม


ฉะนั้น แรงความโน้มเอียงจากความสนใจเป็นต้นที่ว่ามานี้ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ แม้แต่ตัวเราเองบางทีก็ไม่รู้ตัว คนหนึ่ง มองสิ่งหนึ่งก็มีความรู้สึกและเข้าใจอย่างหนึ่ง อีกคนหนึ่ง ก็เข้าใจและรู้สึกอีกอย่างหนึ่ง


จากจุดเริ่มต้นที่มองและรู้สึกอย่างใด ก็จะทำให้เขามีปฏิกิริยาต่อสิ่งนั้นไปตามแบบหรือลักษณะเฉพาะของตน รวมถึงการที่เขาจะหันเหไปหา จะมุ่งไปในทิศทางนั้น จะทำความเพียรพยายามให้ได้ให้เป็นอย่างนั้น อย่างนี้ เป็นต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2016, 19:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การอธิษฐานจิตนั้น เป็นการตั้งเป้าให้กับจิตใจ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมาก

แม้แต่พระโพธิสัตว์ก็มีอธิษฐานเป็นบารมีข้อหนึ่งใน ๑๐ เรียกว่า อธิษฐานบารมี ทั้งที่โดยทั่วไป พระโพธิสัตว์ก็ต้องมีปณิธานอยู่แล้ว คือ เวลาจะทำความดีอะไรอย่างหนึ่ง ก็มีปณิธานว่าจะต้องมุ่งมั่นทำอย่างแน่วแน่ และด้วยปณิธานนั้นก็ทำให้พระองค์กระทำการได้สำเร็จ

ดังนั้น ในการทำความดี ถ้าเราเอาพระพุทธเจ้าเป็นแบบอย่าง ก็ต้องดูว่า พระองค์เมื่อก่อนที่จะตรัสรู้ คือยังเป็นพระโพธิสัตว์ พระองค์ก็ใช้ปณิธานคือตั้งจิตมุ่งมั่นที่จะทำการนั้นๆ ให้สำเร็จ และในการตั้งปณิธานนั้น การอธิษฐานเป็นสิ่งสำคัญมาก


อธิษฐานจิต คือ ตั้งใจเด็ดเดี่ยว มุ่งมั่น ปักแน่วลงไปที่จุดเริ่มต้นว่า จะต้องทำเป้าหมายนี้ให้สำเร็จ จะต้องทำความดีงามนี้ให้สำเร็จ แล้วอันนี้ จะเป็นทางแห่งความสำเร็จที่แท้จริง เพราะจะเป็นแรงหรือพลังส่งที่รวมจิตเข้าไปอย่างที่ได้กล่าวแล้ว


ในราตรีแห่งวันตรัสรู้ เมื่อพระโพธิสัตว์ลงประทับนั่งใต้ร่มโพธิ์ ก็ได้อธิษฐานพระทัยว่า ถ้าไม่บรรลุโพธิญาณ จะไม่ลุกขึ้น แม้ว่าเลือดเนื้อจะแห้งเหือดไป

(องฺ.ทุก.20/251)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2016, 07:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
อธิษฐาน แปลว่า ความตั้งใจเด็ดเดี่ยว คนเราจะทำอะไร ต้องมีจุดหมาย หรือมีเป้าที่มุ่งเจาะเฉพาะลงไป

การอธิษฐานจิต ก็คือ ตั้งใจเด็ดเดี่ยว มุ่งมั่นลงไปว่าจะทำการนี้ เรื่องนี้ อันนี้ ให้สำเร็จให้จงได้ โดยตั้งใจเด็ดเดี่ยว


เลอะเทอะ!! คำว่า "อธิฐาน" ไม่ใช่คำไทย ไม่ใช่บาลี แต่เป็นคำที่มาจากภาษาเขมร
ไทยยืมเอาคำของเขมรมาใช้ ซึ่งคำๆนี้ตรงกับภาษาอังกฤษว่า"pray"
ความหมายโดยรวมก็คือ.....การวิงวอนร้องขอ

ที่บอกว่า อธิฐานแปลว่า ความตั้งใจเด็ดเดียว......เป็นการแปลที่มั่วเอาเอง หาได้ใช้หลักเกณท์อันใดไม่

แท้จริงแล้วความหมายที่หมายถึง"ความเด็ดเดียว" ถ้าเป็นภาษาธรรมจะต้องใช้คำว่า.."ความเพียร"
ความเพียร ถ้าเทียบเคียงกับพุทธพจน์ก็คือ.....วิริยะ

วิริยะเป็นองค์ธรรมหรือองค์ประกอบของ อิทธิบาท
ซึ่งคำว่า "อิทธิบาทก็คือ...จุดมุ่งหมายหรือเป้าประสงค์น้้นเอง

กรัชกาย เขียน:

การอธิษฐานจิต ก็คือ ตั้งใจเด็ดเดี่ยว มุ่งมั่นลงไปว่าจะทำการนี้ เรื่องนี้ อันนี้ ให้สำเร็จให้จงได้ โดยตั้งใจเด็ดเดี่ยว


มั่ว!! การอธิฐานจิต คือการวิงวอนร้องขอ ไม่ได้หมายถึงตั้งใจเด็ดเดียว
การวิงวอนร้องขอเป็นมิจฉาทิฐิในศาสนาพุทธ พระพุทธทรงชี้แนะว่า มันเป็นกิเลสตัณหาควรละเสีย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2016, 07:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:
อธิษฐาน แปลว่า ความตั้งใจเด็ดเดี่ยว คนเราจะทำอะไร ต้องมีจุดหมาย หรือมีเป้าที่มุ่งเจาะเฉพาะลงไป

การอธิษฐานจิต ก็คือ ตั้งใจเด็ดเดี่ยว มุ่งมั่นลงไปว่าจะทำการนี้ เรื่องนี้ อันนี้ ให้สำเร็จให้จงได้ โดยตั้งใจเด็ดเดี่ยว


เลอะเทอะ!! คำว่า "อธิฐาน" ไม่ใช่คำไทย ไม่ใช่บาลี แต่เป็นคำที่มาจากภาษาเขมร
ไทยยืมเอาคำของเขมรมาใช้ ซึ่งคำๆนี้ตรงกับภาษาอังกฤษว่า"pray"
ความหมายโดยรวมก็คือ.....การวิงวอนร้องขอ

ที่บอกว่า อธิฐานแปลว่า ความตั้งใจเด็ดเดียว......เป็นการแปลที่มั่วเอาเอง หาได้ใช้หลักเกณท์อันใดไม่

แท้จริงแล้วความหมายที่หมายถึง"ความเด็ดเดียว" ถ้าเป็นภาษาธรรมจะต้องใช้คำว่า.."ความเพียร"
ความเพียร ถ้าเทียบเคียงกับพุทธพจน์ก็คือ.....วิริยะ

วิริยะเป็นองค์ธรรมหรือองค์ประกอบของ อิทธิบาท
ซึ่งคำว่า "อิทธิบาทก็คือ...จุดมุ่งหมายหรือเป้าประสงค์น้้นเอง

กรัชกาย เขียน:

การอธิษฐานจิต ก็คือ ตั้งใจเด็ดเดี่ยว มุ่งมั่นลงไปว่าจะทำการนี้ เรื่องนี้ อันนี้ ให้สำเร็จให้จงได้ โดยตั้งใจเด็ดเดี่ยว


มั่ว!! การอธิฐานจิต คือการวิงวอนร้องขอ ไม่ได้หมายถึงตั้งใจเด็ดเดียว
การวิงวอนร้องขอเป็นมิจฉาทิฐิในศาสนาพุทธ พระพุทธทรงชี้แนะว่า มันเป็นกิเลสตัณหาควรละเสีย


อ้างคำพูด:
การอธิฐานจิต คือการวิงวอนร้องขอ ไม่ได้หมายถึงตั้งใจเด็ดเดียว
การวิงวอนร้องขอเป็นมิจฉาทิฐิในศาสนาพุทธ


คิกๆๆ ท่านพูดไม่ผิด ว่าคนไทยแยกไม่ออกระหว่าง อธิษฐาน กับ อ้อนวอน

แต่กรัชกายคิดว่า เออ ถ้านำมาทั้งหมดจะฟั่นเฝือ จึงตัดแต่ความหมายอธิษฐานมา ...ครั้นแลเห็นโฮฮับ คิด/เขียนแสดงออกยังงี้ ขำเลย :b9:

แบบนี้ ต้องตั้งหัวข้อใหม่สะแล้ว :b13:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 32 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร