วันเวลาปัจจุบัน 18 เม.ย. 2024, 11:15  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 132 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 9  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2016, 09:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภวังค์คือภวังคจิต (ภว+องค์) จิตที่เป็นองค์แห่งภพ, ตามหลักอภิธรรมว่า จิตที่เป็นพื้นอยู่ระหว่างปฏิสนธิ และจุติ คือ ตั้งแต่เกิดจนถึงตาย ในเวลาที่มิได้เสวยอารมณ์ทางทวารทั้ง ๖ มีจักขุทวาร เป็นต้น แต่เมื่อใดมีการรับรู้อารมณ์ เช่น เกิดการเห็น การได้ยิน เป็นต้น ก็เกิดเป็นวิถีจิตขึ้นแทนภวังคจิต เมื่อวิถีจิตดับไป ก็เกิดเป็นภวังคจิตขึ้นอย่างเดิม

ภวังคจิต นี้ คือมโน ที่เป็นมนายตะ ที่ ๖ หรือมโนทวาร อันเป็นวิบาก เป็นอัพยากฤต ซึ่งเป็นจิตตามสภาพ หรือตามปกติของมัน ยังไม่ขึ้นสู่วิถีรับรู้อารมณ์ (เป็นเพียงมโน ยังไม่เป็นมโนวิญญาณ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2016, 09:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อพูดถึงภวังค์คือภวังคจิต ก็ควรทราบเป็นพื้นไว้บ้าง เพราะในภาษาไทยก็มีการพูดถึงบ่อยเหมือนกัน และบางทีก็เข้าใจกันเพี้ยนไปหรือไม่ก็คลุมเครือ


ที่จริง จิตของเราเกิดดับต่อเนื่องไปและสืบต่อกันอยู่ตลอดเวลา ถึงเราจะไม่รู้ตัว มันก็เป็นอย่างนั้น จะเรียกว่ามันทำงาน หรือทำหน้าที่ของมันตลอดเวลาก็ได้


จิตที่ทำงานคือสืบต่อกันไปในระดับที่ไม่รู้ตัวนั้น เป็นส่วนหลักหรือส่วนใหญ่ของชีวิตของเรา จะเรียกว่า เป็นจิตยืนพื้นก็ได้ มีคำเรียกเฉพาะว่า ภวังคจิต แปลว่า จิตที่เป็นองค์แห่งภพ


ที่ว่า จิตในระดับที่ไม่รู้ตัวนี้ทำงานอยู่ตลอดเวลานั้น เป็นสำนวนพูด จะต้องเข้าใจว่าไม่ใช่เป็นการทำงานรู้เข้าใจคิดนึกในกระบวนการรับรู้อย่าง ที่ว่ากันทั่วไป แต่เป็นการทำงานในความหมายว่าเป็นการเกิดดับสืบต่อกันตามธรรมดาของมัน


เมื่อพูดในแง่ทั่วๆไป ให้รู้สึกเป็นตัวตนน้อยลง แทนที่จะใช้คำว่า ภวังคจิต ท่าน ใช้คำว่าการสืบต่อของจิต ที่เป็นไปไม่ขาดสาย (ในช่วงที่ไม่อยู่ในกระบวนการรับรู้) เรียกเป็นคำศัพท์ว่า "จิตตสันดาน" (แต่คำนี้ในภาษาไทยเราก็นำมาใช้ในความหมายที่เพี้ยนไปอีก หนีไม่พ้นปัญหา)


ข้อสำคัญ ภวังคจิต ที่ว่านั้น เป็นจิตส่วนวิบาก เมื่อมันสืบต่อกันไป ก็คือการสืบทอดผลรวมแห่งกรรมของเราต่อเนื่องไปนั่นเอง เราจึงพูดให้เข้าใจกันง่ายขึ้นเป็นภาษารูปธรรมว่า กรรมของเราสั่งสมสืบมาในภวังคจิตนี่ ที่สืบต่ออยู่ตลอดเวลาโดยที่เราไม่รู้ตัวเลย


เรื่องเกี่ยวกับธรรมชาติของจิตนี้ พูดได้ยาก เพราะเมื่อจะให้คนทั่วไปเข้าใจ ก็ต้องใช้ถ้อยคำเชิงรูปธรรม หรือสำนวนภาษาเหมือนอย่างเป็นตัวเป็นตน ซึ่งก็จะชวนให้เกิดความเข้าใจเกินเลยสภาวะไป อันเป็นความเข้าใจผิดไปอีกด้านหนึ่ง จึงถือว่าพูดกันพอให้เห็นเค้าเรื่องเท่านั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2016, 09:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภวังคจิต แปลว่า จิตที่เป็นองค์แห่งภพ (ถ้าใช้ศัพท์เชิงปฏิจจสมุปบาท เพื่อช่วยให้ชัดขึ้น ก็พูดว่าจิตที่เป็นองค์แห่งอุปปัตติภพ) ซึ่งเกิดดับสืบต่อกันไปตลอดเวลา ตั้งแต่เริ่มต้นจนจบชีวิตของเรา คือตลอดชีวิต (พูดเป็นคำศัพท์ว่า ต่อจากปฏิสนธิ จนถึงจุติ) พูดเป็นภาษารูปธรรมหรือภาษาตัวตนว่า เป็นจิตยืนพื้น ใกล้กับคำที่ท่านใช้ว่าเป็น "ปกติจิต"


ภวังคจิตนี้ เป็นจิตที่เป็นวิบาก (ผล) เมื่อ มันเกิดดับสืบต่ออยู่ตลอดชีวิตของเรา จึงเท่ากับเป็นผลรวมแห่งกรรมทั้งหมดของเรา พูดเป็นภาษารูปธรรม หรือภาษาตัวตนว่า เป็นที่เก็บสะสมผลกรรมของเรา หรือทุกอย่างที่เกิดขึ้นเป็นไปในชีวิตของเรา หรือเป็นที่ประมวลผลแห่งการแก้ไขปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในตัวเรา เท่าที่ทำได้ และได้ทำมาทั้งหมดในชีวิต

พูดเชิงอนาคตว่า ภวังคจิต เป็นแหล่งแห่งศักยภาพ หรือเป็นศักยภาพที่แต่ละคนมีอยู่

ภวังคจิต เป็นชื่อที่ใช้เรียกในแง่การสืบต่อของชีวิต แต่ถ้าพูดในแง่การทำงานในกระบวนการรับรู้ตามปกตินี้ ก็เรียกว่า มโน คือ มนายตนะ หรือมโนทวาร นั่นเอง

ในฐานะเป็นมโน หรือเป็นมโนทวารนั้น มันเป็นที่เกิดหรือที่ปรากฏของมโนวิญญาณ ที่ทำงานในระดับแห่งวิถีจิต

อนึ่ง ในฐานะแห่งจิตที่เป็นวิบาก ภวังคจิต จึงเป็นกลางๆ ไม่ดีไม่ชั่ว คือไม่เป็นกุศล และไม่เป็นอกุศล เป็นจิตในภาวะที่กิเลสไม่ได้มาแสดงบทบาท แม้จะมีคุณสมบัติตามที่ประมวลผลเป็นวิบากไว้ ก็เป็นจิตตามสภาวะของมัน คือไม่มีตัวแปลกปลอมภายนอกมายุ่มย่าม

ดังนั้น ท่านจึงว่าภวังคจิตนี่แหละ ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าจิตเป็นประภัสสร คือสะอาดผ่องใส หมายความว่า จิตโดยสภาวะ คือตามภาวะของมันเอง เป็นอย่างนั้น แต่มันมัวหมองด้วยอุปกิเลสที่จรมา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2016, 12:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ภวังค์คือภวังคจิต (ภว+องค์) จิตที่เป็นองค์แห่งภพ, ตามหลักอภิธรรมว่า จิตที่เป็นพื้นอยู่ระหว่างปฏิสนธิ และจุติ คือ ตั้งแต่เกิดจนถึงตาย ในเวลาที่มิได้เสวยอารมณ์ทางทวารทั้ง ๖ มีจักขุทวาร เป็นต้น แต่เมื่อใดมีการรับรู้อารมณ์ เช่น เกิดการเห็น การได้ยิน เป็นต้น ก็เกิดเป็นวิถีจิตขึ้นแทนภวังคจิต เมื่อวิถีจิตดับไป ก็เกิดเป็นภวังคจิตขึ้นอย่างเดิม



ต้องพูดให้ถูกว่า......ภวังค์(ภวงฺค) ไม่ใช่ภวังคจิต พูดให้ชัดก็คือในสภาวะนั้นไม่มีสภาพที่เป็นจิต
เหตุนี้จึงเอาคำว่าจิตมาต่อท้ายคำว่าวังค์ไม่ได้(พวกมหาเปรียญแปลบาลีมั่ว) ในบาลีแท้ๆก็ไม่มีคำว่าจิตต่อท้ายเลย


คำว่า"ภวังค์" โดยสาพของปัจจุบันธรรมนั้น ยังไม่เกิดจิต เพราะยังไม่มีการปฏิสนธิและจุติ
กายใจของบุคคลในขณะนั้นเป็นสาพธรรมที่เรียกว่า......ภพ

ภพไม่ใช่จิต ภพเป็นสภาพธรรมของกายใจที่รอการปฏิสนธิของจิต
จิตจะปฏิสนธิก็ต่อเมื่อเกิดวิญญานขึ้นที่ทวารใดทวารหนึ่งในหกทวารนั้น

กรัชกาย เขียน:
ภวังคจิต นี้ คือมโน ที่เป็นมนายตะ ที่ ๖ หรือมโนทวาร อันเป็นวิบาก เป็นอัพยากฤต ซึ่งเป็นจิตตามสภาพ หรือตามปกติของมัน ยังไม่ขึ้นสู่วิถีรับรู้อารมณ์ (เป็นเพียงมโน ยังไม่เป็นมโนวิญญาณ)


มันมั่วตั้งแต่เข้าใจว่าวังคจิตคือจิตแล้ว นี่ยังมามโนเอย มนายตนะอีก....จะให้เละไปถึงไหน
ภวังค์ คือกายใจ(ไม่ใช่จิต) ที่มีสภาพแห่งธรรมที่เรียกว่า ภพ(ปฏิจจ์)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2016, 13:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
เมื่อพูดถึงภวังค์คือภวังคจิต ก็ควรทราบเป็นพื้นไว้บ้าง เพราะในภาษาไทยก็มีการพูดถึงบ่อยเหมือนกัน และบางทีก็เข้าใจกันเพี้ยนไปหรือไม่ก็คลุมเครือ


มันเพี้ยนตั้งแต่พระไตรปิฎกแปลไทยแล้ว ในบาลีสยามรัฐที่บัญญัติไว้แค่ ภวังค์(ภวงฺค)
พวกนักแปลดันเอาคำว่าจิตมาต่อท้าย รู้ดีกว่าพระพุทธเจ้าอีกแน่ะ

กรัชกาย เขียน:
ที่จริง จิตของเราเกิดดับต่อเนื่องไปและสืบต่อกันอยู่ตลอดเวลา ถึงเราจะไม่รู้ตัว มันก็เป็นอย่างนั้น จะเรียกว่ามันทำงาน หรือทำหน้าที่ของมันตลอดเวลาก็ได้


คำว่าจิตเกิดดับ ท่านไม่ได้หมายถึงตัวจิต จิตเป็นเพียงบัญญัติหรือชื่อที่ใช้เรียกองค์ธรรมประกอบจิต
โดยแท้แล้วจิตเกิดดับไม่ได้ นั้นก็เพราะจิตไม่ใช่สภาพธรรม จิตเป็นเพียงบัญญัติ.....

ตัวที่เกิดดับเป็นองค์ธรรมที่ประกอบจิต
และตัวองค์ธรรมที่เกิดดับก็คือ........สังขตธรรม(รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน)



กรัชกาย เขียน:

จิตที่ทำงานคือสืบต่อกันไปในระดับที่ไม่รู้ตัวนั้น เป็นส่วนหลักหรือส่วนใหญ่ของชีวิตของเรา จะเรียกว่า เป็นจิตยืนพื้นก็ได้ มีคำเรียกเฉพาะว่า ภวังคจิต แปลว่า จิตที่เป็นองค์แห่งภพ


สิ่งที่ทำงานตลอดเวลา.....ไม่ใช่จิต
กายและใจของบุคคลเท่านั้นที่ทำงานตลอดเวลา
ส่วนจิตนั้นเกิดจากหรือมีเหตุปัจจัยมาจาก การทำงานของกายและใจ....
ในขณะที่กายใจมีสภาพธรรมเป็นภวังค์นั้น กายใจก็ยังคงทำงาน
ท่านเรียกสภาวธรรมนั้นว่า...ภพหรือภวังค์ ไม่ใช่และไม่เรียกว่าจิต


กรัชกาย เขียน:
เมื่อพูดในแง่ทั่วๆไป ให้รู้สึกเป็นตัวตนน้อยลง แทนที่จะใช้คำว่า ภวังคจิต ท่าน ใช้คำว่าการสืบต่อของจิต ที่เป็นไปไม่ขาดสาย (ในช่วงที่ไม่อยู่ในกระบวนการรับรู้) เรียกเป็นคำศัพท์ว่า "จิตตสันดาน" (แต่คำนี้ในภาษาไทยเราก็นำมาใช้ในความหมายที่เพี้ยนไปอีก หนีไม่พ้นปัญหา)


ปัญหาที่แท้จริงก็คือ แทนที่จะเรียนพุทธพจน์ ดันไปเรียนหลักภาษา
มันก็เลยมั่วแปลบาลีเอาเองตามใจชอบ

กรัชกาย เขียน:

ข้อสำคัญ ภวังคจิต ที่ว่านั้น เป็นจิตส่วนวิบาก เมื่อมันสืบต่อกันไป ก็คือการสืบทอดผลรวมแห่งกรรมของเราต่อเนื่องไปนั่นเอง เราจึงพูดให้เข้าใจกันง่ายขึ้นเป็นภาษารูปธรรมว่า กรรมของเราสั่งสมสืบมาในภวังคจิตนี่ ที่สืบต่ออยู่ตลอดเวลาโดยที่เราไม่รู้ตัวเลย


เลอะเทอะ! กรรมสั่งสมบ้าบอคอแตก(สัสสตทิฐิเห็นๆ)
คำว่า"วิบาก"ท่านให้เข้าใจว่า ถึงแม้ประสาทหรือทวารทั้งหกจะไม่รับรู้
แต่กายใจของบุคคลยังดำรงค์อยู่(ยังไม่ตาย) นั้นคือบุคคลยังคงติดในวิบากอยู่
พูดให้ชัดก็คือ คนที่ยังไม่ตายนั้นเอง

กรัชกาย เขียน:

เรื่องเกี่ยวกับธรรมชาติของจิตนี้ พูดได้ยาก เพราะเมื่อจะให้คนทั่วไปเข้าใจ ก็ต้องใช้ถ้อยคำเชิงรูปธรรม หรือสำนวนภาษาเหมือนอย่างเป็นตัวเป็นตน ซึ่งก็จะชวนให้เกิดความเข้าใจเกินเลยสภาวะไป อันเป็นความเข้าใจผิดไปอีกด้านหนึ่ง จึงถือว่าพูดกันพอให้เห็นเค้าเรื่องเท่านั้น


เรื่องของจิตเป็นเรื่องง่าย ที่ยากก็เพราะมันมีผู้อวดรู้ เอาพุทะพจนืไปแปลเองตามใจชอบ
การศึกษาพระธรรมมีหลักว่า ต้องเข้าใจพุทะพจน์ด้วยลักษณะของธรรม
แต่มหาเปรียญไทยอวดฉลาดเอาไปแปลเป็นภาษาไทยหน้าตาเฉย....แบบนี้ท่านเรียก สัทธรรมปฏิรูป
พระธรรมไม่ใช่เรื่องของภาษาดันเอาไปแปลเป็นภาษาไทยหน้าตาเฉย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2016, 13:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่เหลือขี้เกียจอธิบาย เห็นๆอยู่ว่า ....บ้าน้ำลาย :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2016, 17:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:
เมื่อพูดถึงภวังค์คือภวังคจิต ก็ควรทราบเป็นพื้นไว้บ้าง เพราะในภาษาไทยก็มีการพูดถึงบ่อยเหมือนกัน และบางทีก็เข้าใจกันเพี้ยนไปหรือไม่ก็คลุมเครือ


มันเพี้ยนตั้งแต่พระไตรปิฎกแปลไทยแล้ว ในบาลีสยามรัฐที่บัญญัติไว้แค่ ภวังค์(ภวงฺค)
พวกนักแปลดันเอาคำว่าจิตมาต่อท้าย รู้ดีกว่าพระพุทธเจ้าอีกแน่ะ

กรัชกาย เขียน:
ที่จริง จิตของเราเกิดดับต่อเนื่องไปและสืบต่อกันอยู่ตลอดเวลา ถึงเราจะไม่รู้ตัว มันก็เป็นอย่างนั้น จะเรียกว่ามันทำงาน หรือทำหน้าที่ของมันตลอดเวลาก็ได้


คำว่าจิตเกิดดับ ท่านไม่ได้หมายถึงตัวจิต จิตเป็นเพียงบัญญัติหรือชื่อที่ใช้เรียกองค์ธรรมประกอบจิต
โดยแท้แล้วจิตเกิดดับไม่ได้ นั้นก็เพราะจิตไม่ใช่สภาพธรรม จิตเป็นเพียงบัญญัติ.....

ตัวที่เกิดดับเป็นองค์ธรรมที่ประกอบจิต
และตัวองค์ธรรมที่เกิดดับก็คือ........สังขตธรรม(รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน)



กรัชกาย เขียน:

จิตที่ทำงานคือสืบต่อกันไปในระดับที่ไม่รู้ตัวนั้น เป็นส่วนหลักหรือส่วนใหญ่ของชีวิตของเรา จะเรียกว่า เป็นจิตยืนพื้นก็ได้ มีคำเรียกเฉพาะว่า ภวังคจิต แปลว่า จิตที่เป็นองค์แห่งภพ


สิ่งที่ทำงานตลอดเวลา.....ไม่ใช่จิต
กายและใจของบุคคลเท่านั้นที่ทำงานตลอดเวลา
ส่วนจิตนั้นเกิดจากหรือมีเหตุปัจจัยมาจาก การทำงานของกายและใจ....
ในขณะที่กายใจมีสภาพธรรมเป็นภวังค์นั้น กายใจก็ยังคงทำงาน
ท่านเรียกสภาวธรรมนั้นว่า...ภพหรือภวังค์ ไม่ใช่และไม่เรียกว่าจิต


กรัชกาย เขียน:
เมื่อพูดในแง่ทั่วๆไป ให้รู้สึกเป็นตัวตนน้อยลง แทนที่จะใช้คำว่า ภวังคจิต ท่าน ใช้คำว่าการสืบต่อของจิต ที่เป็นไปไม่ขาดสาย (ในช่วงที่ไม่อยู่ในกระบวนการรับรู้) เรียกเป็นคำศัพท์ว่า "จิตตสันดาน" (แต่คำนี้ในภาษาไทยเราก็นำมาใช้ในความหมายที่เพี้ยนไปอีก หนีไม่พ้นปัญหา)


ปัญหาที่แท้จริงก็คือ แทนที่จะเรียนพุทธพจน์ ดันไปเรียนหลักภาษา
มันก็เลยมั่วแปลบาลีเอาเองตามใจชอบ

กรัชกาย เขียน:

ข้อสำคัญ ภวังคจิต ที่ว่านั้น เป็นจิตส่วนวิบาก เมื่อมันสืบต่อกันไป ก็คือการสืบทอดผลรวมแห่งกรรมของเราต่อเนื่องไปนั่นเอง เราจึงพูดให้เข้าใจกันง่ายขึ้นเป็นภาษารูปธรรมว่า กรรมของเราสั่งสมสืบมาในภวังคจิตนี่ ที่สืบต่ออยู่ตลอดเวลาโดยที่เราไม่รู้ตัวเลย


เลอะเทอะ! กรรมสั่งสมบ้าบอคอแตก(สัสสตทิฐิเห็นๆ)
คำว่า"วิบาก"ท่านให้เข้าใจว่า ถึงแม้ประสาทหรือทวารทั้งหกจะไม่รับรู้
แต่กายใจของบุคคลยังดำรงค์อยู่(ยังไม่ตาย) นั้นคือบุคคลยังคงติดในวิบากอยู่
พูดให้ชัดก็คือ คนที่ยังไม่ตายนั้นเอง

กรัชกาย เขียน:

เรื่องเกี่ยวกับธรรมชาติของจิตนี้ พูดได้ยาก เพราะเมื่อจะให้คนทั่วไปเข้าใจ ก็ต้องใช้ถ้อยคำเชิงรูปธรรม หรือสำนวนภาษาเหมือนอย่างเป็นตัวเป็นตน ซึ่งก็จะชวนให้เกิดความเข้าใจเกินเลยสภาวะไป อันเป็นความเข้าใจผิดไปอีกด้านหนึ่ง จึงถือว่าพูดกันพอให้เห็นเค้าเรื่องเท่านั้น


เรื่องของจิตเป็นเรื่องง่าย ที่ยากก็เพราะมันมีผู้อวดรู้ เอาพุทะพจนืไปแปลเองตามใจชอบ
การศึกษาพระธรรมมีหลักว่า ต้องเข้าใจพุทะพจน์ด้วยลักษณะของธรรม
แต่มหาเปรียญไทยอวดฉลาดเอาไปแปลเป็นภาษาไทยหน้าตาเฉย....แบบนี้ท่านเรียก สัทธรรมปฏิรูป
พระธรรมไม่ใช่เรื่องของภาษาดันเอาไปแปลเป็นภาษาไทยหน้าตาเฉย






อ้างคำพูด:
พระธรรมไม่ใช่เรื่องของภาษา ดันเอาไปแปลเป็นภาษาไทยหน้าตาเฉย


อ้างคำพูด:
พระธรรมไม่ใช่เรื่องของภาษา


ว่าไม่ใช่เรื่องของภาษา แล้วเป็นเรื่องของอะไรล่ะ :b10:

อ้างคำพูด:
ดันเอาไปแปลเป็นภาษาไทยหน้าตาเฉย


เขานำไปแปลตั้งหลายภาษานะ เช่น ภาษาพม่า ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย คิกๆๆๆ

พระไตรปิฏกที่อ่านๆกันอยู่เนี่ยเขาแปลมาแล้วนะ ไม่ยังงั้น คนไทยคงอ่านไม่รู้เรื่องหรอก


ลองหน่อยสิธรรมดาๆ

อิติปิ โส ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน สุคโต โลกวิทู อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ สตฺถา เทวมนุสฺสานํ พุทฺโธ ภควา.

โฮฮับว่าหมายถึงอะไร

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2016, 18:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:

อ้างคำพูด:
พระธรรมไม่ใช่เรื่องของภาษา


ว่าไม่ใช่เรื่องของภาษา แล้วเป็นเรื่องของอะไรล่ะ :b10:


ก็เป็นนเรื่องลักษณะของสภาพธรรมไง
ศึกษาธรรมต้องเข้าใจพุทธพจน์ ต้องรู้ว่าพุทธพจน์ที่กล่าวถึงองค์ธรรมในปรมัตถธรรมมีลักษณะอย่างไร
ไม่ใช่เอาพุทธพจน์ไปแปลใหม่ มันทำให้พุทธพจน์ผิดเพี้ยน

พุทธพจน์ที่พระพุทธองค์ทรงสอน.....มันไม่มีอยู่ในสาระบบของภาษา
พูดง่ายๆว่ามันเป็นภาษากลางจึงต้องเข้าใจด้วยลักษณะ เช่นพระพุทธองค์ตรัสว่า "ภวังค์"
ไม่ใช่เอาพุทธพจน์ว่า "ภวังค์" ไปแปลเป็น"ภวังคจิต"
เราต้องเข้าใจว่า"ภวังค์"มีลักษณะของสภาพธรรมเป็นอย่างไร

กรัชกาย เขียน:
เขานำไปแปลตั้งหลายภาษานะ เช่น ภาษาพม่า ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย คิกๆๆๆ
พระไตรปิฏกที่อ่านๆกันอยู่เนี่ยเขาแปลมาแล้วนะ ไม่ยังงั้น คนไทยคงอ่านไม่รู้เรื่องหรอก


ไอ้ที่เขาเอาไปแปลกันนะ เขาเรียกว่าแปลบาลี บาลีมันเป็นภาษาอย่างหนึ่งของชนเผ่า
แต่ที่เราต้องรู้ไม่ใช่บาลี เราต้องรู้ความหมายตามพุทธพจน์

พุทธพจน์เป็นคำที่พระพุทธองค์บัญญัติขึ้นเองในสมัยพุทธกาล
พุทธพจน์ไม่มีกล่าวไว้ในบาลี บาลีเอาพุทธพจน์มาอธิบาย
เหตุนี้ชาวบ้านที่ไม่ใช่ชาวมคธจึงหลงเข้าใจว่า พุทธพจน์เป็นภาษาบาลี

กรัชกาย เขียน:

ลองหน่อยสิธรรมดาๆ

อิติปิ โส ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน สุคโต โลกวิทู อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ สตฺถา เทวมนุสฺสานํ พุทฺโธ ภควา.

โฮฮับว่าหมายถึงอะไร


นี่มันไม่ใช่พุทธพจน์ แต่เป็นบาลีเป็นภาษาของชาวมคธ
เนื้อหามันเป็นการสรรเสริญพระพุทะองค์.........ไม่เกี่ยวกับพุทธพจน์สักนิด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2016, 18:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:

อ้างคำพูด:
พระธรรมไม่ใช่เรื่องของภาษา


ว่าไม่ใช่เรื่องของภาษา แล้วเป็นเรื่องของอะไรล่ะ :b10:


ก็เป็นนเรื่องลักษณะของสภาพธรรมไง
ศึกษาธรรมต้องเข้าใจพุทธพจน์ ต้องรู้ว่าพุทธพจน์ที่กล่าวถึงองค์ธรรมในปรมัตถธรรมมีลักษณะอย่างไร
ไม่ใช่เอาพุทธพจน์ไปแปลใหม่ มันทำให้พุทธพจน์ผิดเพี้ยน

พุทธพจน์ที่พระพุทธองค์ทรงสอน.....มันไม่มีอยู่ในสาระบบของภาษา
พูดง่ายๆว่ามันเป็นภาษากลางจึงต้องเข้าใจด้วยลักษณะ เช่นพระพุทธองค์ตรัสว่า "ภวังค์"
ไม่ใช่เอาพุทธพจน์ว่า "ภวังค์" ไปแปลเป็น"ภวังคจิต"
เราต้องเข้าใจว่า"ภวังค์"มีลักษณะของสภาพธรรมเป็นอย่างไร

กรัชกาย เขียน:
เขานำไปแปลตั้งหลายภาษานะ เช่น ภาษาพม่า ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย คิกๆๆๆ
พระไตรปิฏกที่อ่านๆกันอยู่เนี่ยเขาแปลมาแล้วนะ ไม่ยังงั้น คนไทยคงอ่านไม่รู้เรื่องหรอก


ไอ้ที่เขาเอาไปแปลกันนะ เขาเรียกว่าแปลบาลี บาลีมันเป็นภาษาอย่างหนึ่งของชนเผ่า
แต่ที่เราต้องรู้ไม่ใช่บาลี เราต้องรู้ความหมายตามพุทธพจน์

พุทธพจน์เป็นคำที่พระพุทธองค์บัญญัติขึ้นเองในสมัยพุทธกาล
พุทธพจน์ไม่มีกล่าวไว้ในบาลี บาลีเอาพุทธพจน์มาอธิบาย
เหตุนี้ชาวบ้านที่ไม่ใช่ชาวมคธจึงหลงเข้าใจว่า พุทธพจน์เป็นภาษาบาลี

กรัชกาย เขียน:

ลองหน่อยสิธรรมดาๆ

อิติปิ โส ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน สุคโต โลกวิทู อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ สตฺถา เทวมนุสฺสานํ พุทฺโธ ภควา.

โฮฮับว่าหมายถึงอะไร


นี่มันไม่ใช่พุทธพจน์ แต่เป็นบาลีเป็นภาษาของชาวมคธ
เนื้อหามันเป็นการสรรเสริญพระพุทะองค์.........ไม่เกี่ยวกับพุทธพจน์สักนิด


อ้างคำพูด:
ก็เป็นนเรื่องลักษณะของสภาพธรรมไง



โฮฮับ ยกตัวอย่างลักษณะสภาพธรรมที่ว่าสิ

โฮฮับว่า พระพุทธเจ้าสอนคนด้วยภาษาอะไร ? :b14:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2016, 18:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ ภวังคจิตอีกหน่อย)

ก็เพราะธรรมชาติของจิตเป็นอย่างนั้น คือกิเลสมิใช่เป็นเนื้อเป็นตัวของมัน การชำระจิตด้วยการกำจัดกิเลสให้หมดไป จึงเป็นไปได้ ดังพุทธพจน์ที่ว่า (ยกมาให้ดูพอเป็นเค้า)

ปภสฺสรมิทํ ภิกฺขเว จิตฺตํ. ตญฺจ โข อาคนฺตุเกหิ อุปกฺกิเลเสหิ อุปกฺกิลิฏฺฐนฺติ ... จิตฺตภาวนา อตฺถีติ วทามีติ ฯ

ภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผ่องใส แต่จิตนั้นแล เศร้าหมองด้วยอุปกิเลสที่จรมา...

ภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผ่องใส และจิตนั้นแล หลุดพ้นแล้ว จากอุปกิเลสที่จรมา. อริยสาวกผู้ได้เรียนสดับแล้ว ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริง ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า อริยสาวกผู้ได้เรียนสดับแล้ว ย่อมมีการเจริญพัฒนาจิต (จิตตภาวนา)
(องฺ.เอก.20/50-53)

เปรียบได้กำน้ำ ถึงจะขุ่นมัวสกปรกเพียงใด เราก็สามารถชำระให้ใสสะอาดได้ เพราะสิ่งที่ให้ขุ่นมัวนั้นเป็นของแปลกปลอม หมายความว่า น้ำนั้น โดยสภาวะของมันเอง ก็คือน้ำ ไม่ใช่เป็นขอบสกปรกนั้น พูดง่ายๆว่า เมื่อน้ำสกปรก ถึงจะเน่าเหม็นอย่างไร ถ้าคนมีปัญญา ก็หาทางทำน้ำนั้นให้สะอาดได้

อย่างไรก็ตาม ถึงจะเทียบจิตกับน้ำ ก็เป็นการเทียบได้ในแง่หนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่เหมือนกันทีเดียว เพราะถึงอย่างไร ก็เป็นสภาวะต่างอย่างกัน ถึงจะเหมือนกัน แต่ก็ไม่ใช่อันเดียวกัน เฉพาะอย่างยิ่งเป็นนามธรรม กับ รูปธรรม การเปรียบเทียบบางทีก็ต้องเทียบกับอันโน้นอันนี้ทีละแง่

ขอเทียบให้ดูอีกด้านหนึ่ง โดยเฉพาะในแง่ศักยภาพ ลองดูเมล็ดพืช เช่นเม็ดมะม่วง เราเอาเม็ดมะม่วงเม็ดหนึ่งไปปลูก จากมะม่วงเม็ดนั้น ต่อมามีต้นมะม่วงงอกขึ้นมาและเจริญงอกงาม มีกิ่ง ก้าน ใบ ดอก และผล ซึ่งทั้งหมดก็มาจากมะม่วงเม็ดเดียวนั้น

จึงเหมือนกับว่า กิ่ง ก้าน ใบ ดอก และผลมะม่วงทั้งหมด มีพร้อมอยู่ในมะม่วงเม็ดเดียวนั้นแล้ว แต่ขณะที่มันเป็นเม็ดมะม่วงนั้น เราชี้บอกได้ไหมว่า ตรงไหนเป็นกิ่ง ตรง ไหนเป็นก้าน ใบ ดอก ผล ตลอดจนลักษณะเฉพาะของมันที่สะสมมาแม้แต่ที่เริ่มแปลกพันธ์ ก็บอกไม่ได้ นี่คือที่ใช้คำว่า ศักยภาพ

เรื่องภวังคจิต ที่ว่าเป็นผลรวมวิบากของเรา เมื่อเทียบในแง่หนึ่ง ก็พึงเข้าใจทำนองนี้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2016, 19:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตย. ประมวลผลภวังคจิต (กิเลส กรรม วิบาก) ที่แสดงตัวออกมา

อ้างคำพูด:
เวลาผมนั่งสมาธิ พอภาวนาไปซักพัก .... จะเกิดอาการขนลุกเย็นทั้งตัว แล้วหลังจากนั้นก็จะมีภาพ คน สัตว์ แมลง ที่เราเคยทำร้ายเคยทำให้เค้าตาย หรือเจ็บลอยมาให้เห็น คือ แปลกใจว่า บางเรื่องเป็นเรื่องที่นานมากบางเรื่องเป็นเรื่องสมัยเด็กๆอยู่ด้วยซ้ำ ซึ่งบางทีนึกถึงยังนึกไม่ออกเลย เพราะนานมาก แต่พอมานั่งสมาธิ ก็ลอยมาให้เห็นเฉยเลย



วิบากของกุศลกรรมก็ทำนองเดียวกัน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2016, 05:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:

อ้างคำพูด:
พระธรรมไม่ใช่เรื่องของภาษา


ว่าไม่ใช่เรื่องของภาษา แล้วเป็นเรื่องของอะไรล่ะ :b10:


ก็เป็นนเรื่องลักษณะของสภาพธรรมไง
ศึกษาธรรมต้องเข้าใจพุทธพจน์ ต้องรู้ว่าพุทธพจน์ที่กล่าวถึงองค์ธรรมในปรมัตถธรรมมีลักษณะอย่างไร
ไม่ใช่เอาพุทธพจน์ไปแปลใหม่ มันทำให้พุทธพจน์ผิดเพี้ยน

พุทธพจน์ที่พระพุทธองค์ทรงสอน.....มันไม่มีอยู่ในสาระบบของภาษา
พูดง่ายๆว่ามันเป็นภาษากลางจึงต้องเข้าใจด้วยลักษณะ เช่นพระพุทธองค์ตรัสว่า "ภวังค์"
ไม่ใช่เอาพุทธพจน์ว่า "ภวังค์" ไปแปลเป็น"ภวังคจิต"
เราต้องเข้าใจว่า"ภวังค์"มีลักษณะของสภาพธรรมเป็นอย่างไร

กรัชกาย เขียน:
เขานำไปแปลตั้งหลายภาษานะ เช่น ภาษาพม่า ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย คิกๆๆๆ
พระไตรปิฏกที่อ่านๆกันอยู่เนี่ยเขาแปลมาแล้วนะ ไม่ยังงั้น คนไทยคงอ่านไม่รู้เรื่องหรอก


ไอ้ที่เขาเอาไปแปลกันนะ เขาเรียกว่าแปลบาลี บาลีมันเป็นภาษาอย่างหนึ่งของชนเผ่า
แต่ที่เราต้องรู้ไม่ใช่บาลี เราต้องรู้ความหมายตามพุทธพจน์

พุทธพจน์เป็นคำที่พระพุทธองค์บัญญัติขึ้นเองในสมัยพุทธกาล
พุทธพจน์ไม่มีกล่าวไว้ในบาลี บาลีเอาพุทธพจน์มาอธิบาย
เหตุนี้ชาวบ้านที่ไม่ใช่ชาวมคธจึงหลงเข้าใจว่า พุทธพจน์เป็นภาษาบาลี

กรัชกาย เขียน:

ลองหน่อยสิธรรมดาๆ

อิติปิ โส ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน สุคโต โลกวิทู อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ สตฺถา เทวมนุสฺสานํ พุทฺโธ ภควา.

โฮฮับว่าหมายถึงอะไร


นี่มันไม่ใช่พุทธพจน์ แต่เป็นบาลีเป็นภาษาของชาวมคธ
เนื้อหามันเป็นการสรรเสริญพระพุทะองค์.........ไม่เกี่ยวกับพุทธพจน์สักนิด


อ้างคำพูด:
ก็เป็นนเรื่องลักษณะของสภาพธรรมไง



โฮฮับ ยกตัวอย่างลักษณะสภาพธรรมที่ว่าสิ

โฮฮับว่า พระพุทธเจ้าสอนคนด้วยภาษาอะไร ?



ที่ถาม ว่าไง โฮฮับ :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2016, 06:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
อ้างคำพูด:
ก็เป็นนเรื่องลักษณะของสภาพธรรมไง



โฮฮับ ยกตัวอย่างลักษณะสภาพธรรมที่ว่าสิ


ภวังค์ เป็นชื่อของสภาพธรรม
ส่วนลักษณะของภวังค์ ก็คือ ลักษณะของสภาพธรรม
เช่น ในขณะที่กายใจไม่มีอะไรมากระทบที่ทวารทั้งหก(หลับสนิท)
นี่แหล่ะคือสภาพธรรมของ ภวังค์

กรัชกาย เขียน:

โฮฮับว่า พระพุทธเจ้าสอนคนด้วยภาษาอะไร ? :b14:


พระพุทธองค์สื่อสารกับสาวกด้วยภาษามคธหรือบาลี
พระองค์ใช้ภาษาบาลี อธิบายพุทธพจน์ที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติ(ตั้งชื่อธรรม)
พูดให้ชัดก็คือทรงค้นพบสภาพธรรมที่เป็นจริงแล้วทรงตั้งชื่อธรรมเหล่านั้น

สำเหนียกให้ดีว่า บาลีกับพุทธพจน์มันคนละเรื่อง
จะเอาพุทธพจน์มาแปลไทยไม่ได้
นอกเสียแต่ว่าจะแปลบาลีที่ใช้อธิบายพุทธพจน์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2016, 07:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:
อ้างคำพูด:
ก็เป็นนเรื่องลักษณะของสภาพธรรมไง



โฮฮับ ยกตัวอย่างลักษณะสภาพธรรมที่ว่าสิ


ภวังค์ เป็นชื่อของสภาพธรรม
ส่วนลักษณะของภวังค์ ก็คือ ลักษณะของสภาพธรรม
เช่น ในขณะที่กายใจไม่มีอะไรมากระทบที่ทวารทั้งหก(หลับสนิท)
นี่แหล่ะคือสภาพธรรมของ ภวังค์

กรัชกาย เขียน:

โฮฮับว่า พระพุทธเจ้าสอนคนด้วยภาษาอะไร ? :b14:


พระพุทธองค์สื่อสารกับสาวกด้วยภาษามคธหรือบาลี
พระองค์ใช้ภาษาบาลี อธิบายพุทธพจน์ที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติ(ตั้งชื่อธรรม)
พูดให้ชัดก็คือทรงค้นพบสภาพธรรมที่เป็นจริงแล้วทรงตั้งชื่อธรรมเหล่านั้น

สำเหนียกให้ดีว่า บาลีกับพุทธพจน์มันคนละเรื่อง
จะเอาพุทธพจน์มาแปลไทยไม่ได้
นอกเสียแต่ว่าจะแปลบาลีที่ใช้อธิบายพุทธพจน์



โฮฮับพูดขัดกันอยู่ในตัว

เอานะ เอาที่โฮฮับชอบพูดบ่อยๆ นะ

"โพธิปกฺขิยธรรม" โฮฮับว่าไปสิเป็นอะไร

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2016, 15:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ตย. ประมวลผลภวังคจิต (กิเลส กรรม วิบาก) ที่แสดงตัวออกมา

อ้างคำพูด:
เวลาผมนั่งสมาธิ พอภาวนาไปซักพัก .... จะเกิดอาการขนลุกเย็นทั้งตัว แล้วหลังจากนั้นก็จะมีภาพ คน สัตว์ แมลง ที่เราเคยทำร้ายเคยทำให้เค้าตาย หรือเจ็บลอยมาให้เห็น คือ แปลกใจว่า บางเรื่องเป็นเรื่องที่นานมากบางเรื่องเป็นเรื่องสมัยเด็กๆอยู่ด้วยซ้ำ ซึ่งบางทีนึกถึงยังนึกไม่ออกเลย เพราะนานมาก แต่พอมานั่งสมาธิ ก็ลอยมาให้เห็นเฉยเลย



วิบากของกุศลกรรมก็ทำนองเดียวกัน

:b32:
อย่างที่ยกตัวอย่างมาเขาไม่เรียกวิบากกรรมหรอกจ้ะ
:b1:
วิบากคือผลของเหตุปัจจัยที่รู้ผ่านอายตนะ6ใช่หรือไม่
เห็นเป็นผลของกรรม
ได้ยินเป็นผลของกรรม
ได้กลิ่นเป็นผลของกรรม
รู้รสเป็นผลของกรรม
รู้สึกกระทบสัมผัสเป็นผลของกรรม
:b12:
แล้วการนั่งหลับตามีจักขุปสาทะไหมคะตอบแทนเลยไม่มีก็แค่นั่งแล้วก็คิดปรุงแต่งกิเลสชัดๆ
:b16:
สภาวะที่เข้าสู่ภวังค์แบบมีสติรู้ตัวทั่วพร้อมน่ะโปร่งโล่งเบาเย็นสบายไม่ต้องคิดอะไรให้ปวดหมองน๊า
แบบรู้ชัดรู้แจ้งว่ากายเป็นกาย/เวทนาเป็นเวทนา/จิตเป็นจิต/ธรรมเป็นธรรมรู้แยกส่วนไม่ปนกันเลยค่ะ
:b17:
:b4: :b4:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 132 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 9  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 24 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร