วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 09:32  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มิ.ย. 2016, 20:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ศัตรูของสมาธิ

สิ่งที่จะกล่าวต่อไปนี้ ไม่ใช่สมาธิ แต่เป็นปฏิปักษ์ เป็นศัตรูของสมาธิ เป็นสิ่งที่ต้องกำจัดเสีย จึงจะเกิดสมาธิได้ หรือจะพูดว่า เป็นสิ่งที่ต้องกำจัดเสียด้วยสมาธิก็ได้ สิ่งเหล่านี้ มีชื่อเฉพาะเรียกว่า นิวรณ์


นิวรณ์ แปลว่า เครื่องกีดกั้น เครื่องขัดขวาง แปลเอาความตามหลักวิชาว่า สิ่งที่กีดกั้นการทำงานของจิตไม่ให้ก้าวหน้าในกุศลธรรม ธรรมฝ่ายชั่วที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุคุณความดี หรืออกุศลธรรมที่ทำจิตให้เศร้าหมองและทำปัญญาให้อ่อนกำลัง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2016, 07:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คำอธิบายลักษณะของนิวรณ์ ที่เป็นพุทธพจน์มีว่า

"ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการเหล่านี้ เป็นเครื่องปิดกั้น (กุศลธรรม) เป็นเครื่องห้าม (ความเจริญงอกงาม) ขึ้นกดทับจิตไว้ ทำปัญญาให้อ่อนกำลัง"

"...เป็นอุปกิเลสแห่งจิต (สนิมใจ หรือสิ่งที่ทำให้ใจเศร้าหมอง) ทำปัญญาให้อ่อนกำลัง"

"ธรรม ๕ ประการเหล่านี้ เป็นนิวรณ์ ทำให้มืดบอด ทำให้ไร้จักษุ ทำให้ไม่มีญาณ (สร้างความไม่รู้) ทำให้ปัญญาดับ ส่งเสริมความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน"



นิวรณ์ ๕ * อย่างนั้น คือ

๑. กามฉันท์ ความอยากได้ อยากเอา (แปลตามศัพท์ว่า ความพอใจในกาม) หรืออภิชฌา ความเพ่งเล็งอยากได้ หรือจ้องจะเอา หมายถึง ความอยากได้กามคุณทั้ง ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นกิเลสพวกโลภะ จิตที่ถูกล่อด้วยอารมณ์ต่างๆ คิดอยากได้โน่นอยากได้นี่ ติดใจโน่นติดใจนี่ คอยเขวออกไปหาอารมณ์อื่น ครุ่นข้องอยู่ ย่อมไม่ตั้งมั่น ไม่เดินเรียบไป ไม่อาจเป็นสมาธิได้

๒. พยาบาท ความ ขัดเคืองแค้นใจ ได้แก่ ความขัดใจ แค้นเคือง เกลียดชัง ความผูกใจเจ็บ การมองในแง่ร้าย การคิดร้าย มองเห็นคนอื่นเป็นศัตรู ตลอดจนความโกรธ ความหงุดหงิด ฉุนเฉียว ความรู้สึกขัดใจ ไม่พอใจต่างๆ จิตที่มัวกระทบนั่นกระทบนี่ สะดุดนั่นสะดุดนี่ เดินไม่เรียบ ไม่ไหลเนื่อง ย่อมไม่อาจเป็นสมาธิ

๓. ถีนมิทธะ ความหดหู่และเซื่องซึม หรือเซ็งและซึม แยกเป็นถีนะ ความหดหู่ ห่อเหี่ยว ถอดถอย ระย่อ ท้อแท้ ความซบเซา เหงาหงอย ละเหี่ย ที่เป็นอาการของจิตใจ กับ มิทธะ ความเซื่องซึม เฉื่อยเฉา ง่วงเหงา อืดอาด มึนมัว ตื้อตัน อาการซึมๆ เฉาๆ ที่เป็นไปทางกาย (ท่านหมายถึงนามกาย คือกองเจตสิก) จิตที่ถูกอาการอย่างนี้ครอบงำ ย่อมไม่เข็มแข็ง ไม่คล่องตัว ไม่เหมาะแก่การใช้งาน จึงไม่อาจเป็นสมาธิได้

๔. อุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านและเดือดร้อนใจ แยกเป็นอุทธัจจะ ความที่จิตฟุ้งซ่าน ไม่สงบ ส่ายพร่า พล่านไป กับ กุกกุจจะ ความวุ่นวายใจ รำคาญใจ ระแวง เดือดร้อนใจ ยุ่งใจ กลุ้มใจ กังวลใจ จิตที่ถูกอุทธัจจกุกกุจจะครอบงำ ย่อมพล่าน งุ่นง่าน ย่อมคว้างไป ไม่อาจสงบได้ จึงไม่เป็นสมาธิ

๕. วิจิกิจฉา ความ ลังเลสงสัย ได้แก่ ความเคลือบแคลง ไม่แน่ใจ เกี่ยวกับพระศาสดา พระธรรม พระสงฆ์ เกี่ยวกับสิกขา เป็นต้น พูดสั้นๆว่า คลางแคลงในกุศลธรรมทั้งหลาย ตกลงใจไม่ได้ เช่นว่า ธรรมนี้ สมาธิภาวนานี้ ฯลฯ มีคุณค่า มีประโยชน์ควรแก่การปฏิบัติหรือไม่ จะได้ผลจริงไหม คิดแยกไปสองทาง วางใจไม่ลง จิตที่ถูกวิจิกิจฉาขัดไว้ กวนไว้ ให้ค้าง ให้พร่า ให้ว้าวุ่น ลังเลอยู่ มีแต่จะเครียด ไม่อาจแน่วแน่เป็นสมาธิ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2016, 07:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างอิงที่ *

* นิวรณ์ ๕ ที่มีอภิชฌา เป็นข้อแรก มักบรรยายไว้ก่อนหน้าจะได้ฌาน ....ส่วนนิวรณ์ ๕ ที่มีกามฉันท์ เป็นข้อแรก มักกล่าวไว้เอกเทศ และระบุแต่หัวข้อ ไม่บรรยายลักษณะ...ดูอธิบายในนิวรณ์ ๖ (เติมอวิชชา)

อภิชฌา = กามฉันท์

อภิชฌา = โลภะ

คำว่า กาย ในข้อ ๓ ท่านว่า หมายถึงนามกาย คือกองเจตสิก (สง.คณี อ. ๕๓๖)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2016, 07:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ ว่าไง :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2016, 07:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ศัตรูของสมาธิ

สิ่งที่จะกล่าวต่อไปนี้ ไม่ใช่สมาธิ แต่เป็นปฏิปักษ์ เป็นศัตรูของสมาธิ เป็นสิ่งที่ต้องกำจัดเสีย จึงจะเกิดสมาธิได้ หรือจะพูดว่า เป็นสิ่งที่ต้องกำจัดเสียด้วยสมาธิก็ได้ สิ่งเหล่านี้ มีชื่อเฉพาะเรียกว่า นิวรณ์


บ้าสงครามไปหรือเปล่า คนแปลนี่มันมั่ว มั่วทั้งหลักภาษาและหลักธรรม...แบบนี้ท่านเรียกสักว่ามีปาก แปลเรื่อยเปื่อย
คำว่าศัตรูเขาใช้กับมนุษย์ที่ทำสงครามครามเข่นฆ่ากัน นี่ดันทลึ่งเอาใช้กับ นามธรรมที่ไม่มีตัวตน

แถมยังโมเมให้นิวรณ์เป็นศัตรู ทั้งๆที่นิวรณ์มันเป็นธรรมชาติของโลกใบนี้...มันมีมาก่อนสมาธิเสียอีก
มันมีเยียงอย่างที่ไหนดันให้ธรรมชาติที่อยู่คู่โลกเป็นศัตรูของสิ่งที่มาทีหลัง

กรัชกาย เขียน:
นิวรณ์ แปลว่า เครื่องกีดกั้น เครื่องขัดขวาง แปลเอาความตามหลักวิชาว่า สิ่งที่กีดกั้นการทำงานของจิตไม่ให้ก้าวหน้าในกุศลธรรม ธรรมฝ่ายชั่วที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุคุณความดี หรืออกุศลธรรมที่ทำจิตให้เศร้าหมองและทำปัญญาให้อ่อนกำลัง


เลอะเทอะ! นิวรณ์เป็นธรรมชาติที่ขึ้นอยู่กับกฎอิทัปปัจยตา(กฎเกณท์ทางธรรมชาติ)
มนุษย์ทุกผู้ตัวตนเกิดมาจะต้องเจอกับกฎเกณท์อันนี้

ฉะนั้นนิวรณ์หาใช่ความดีความชั่วหรือเครื่องกีดขวางใดๆ สิ่งที่บุคคลจะต้องทำก็คือ
รู้ถึงความมีอยู่ของกฎเกณท์นี้(นิวรณ์)แล้วปล่อยวางมันด้วยธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรุ้
นั้นก็คือสติปักฐานสี่นั้นเอง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2016, 08:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
คำอธิบายลักษณะของนิวรณ์ ที่เป็นพุทธพจน์มีว่า

"ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการเหล่านี้ เป็นเครื่องปิดกั้น (กุศลธรรม) เป็นเครื่องห้าม (ความเจริญงอกงาม) ขึ้นกดทับจิตไว้ ทำปัญญาให้อ่อนกำลัง"

"...เป็นอุปกิเลสแห่งจิต (สนิมใจ หรือสิ่งที่ทำให้ใจเศร้าหมอง) ทำปัญญาให้อ่อนกำลัง"

"ธรรม ๕ ประการเหล่านี้ เป็นนิวรณ์ ทำให้มืดบอด ทำให้ไร้จักษุ ทำให้ไม่มีญาณ (สร้างความไม่รู้) ทำให้ปัญญาดับ ส่งเสริมความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน"


โพสเรื่อยเปื่อยหาได้พินิจพิจารณาว่า ในพระธรรมท่านกำลังสื่ออะไร
ความหมายที่พระธรรมกำลังสื่อก็คือ......ธรรมห้าประการ(นิวรณ์) มันมีอยู่(ธรรมชาติ)
ก็ด้วยเหตุนี้เราจึงไม่ควรยึดเอาธรรมทั้งห้า(นิวรณ์) มาเป็นเครื่องปิดกั้นมรรคผลนิพพาน


ยกตัวอย่าง ธรรมชาติมันมีอยู่ ถ้าเราไม่ต้องการให้เราเป็นไปตามสิ่งที่เป็นธรรมชาตินั้น...เราก็ไม่ควรไม่ยุ่งเกี่ยว

ถ้าฝนกำลังตกอยู่นอกบ้าน เรารู้อยู่แล้วว่า ถ้าเราเดินออกไปนอกบ้านตัวเราต้องเปียก
เราไม่อยากเปียกก็อย่าไปเดินตากฝน
หรือเห็นพวกขี้เมากำลังท้าตีท้าต่อยกับชาวบ้าน เราไม่อยากมีเรื่องก็เดินอ้อมไปที่อื่น

นิวรณ์ก็เช่นกัน ถ้าเราไม่ต้องการให้มีอะไรมาเป็นเครื่องกรีดขวางทางนิพพาน
เราก้อย่าไปยุ่งเกี่ยวกับกับมัน และการไม่ยุ่งเกี่ยวนิวรณืก้ด้วย สมถบรรพในธัมมานุปัสนาฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2016, 08:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:
ศัตรูของสมาธิ

สิ่งที่จะกล่าวต่อไปนี้ ไม่ใช่สมาธิ แต่เป็นปฏิปักษ์ เป็นศัตรูของสมาธิ เป็นสิ่งที่ต้องกำจัดเสีย จึงจะเกิดสมาธิได้ หรือจะพูดว่า เป็นสิ่งที่ต้องกำจัดเสียด้วยสมาธิก็ได้ สิ่งเหล่านี้ มีชื่อเฉพาะเรียกว่า นิวรณ์


บ้าสงครามไปหรือเปล่า คนแปลนี่มันมั่ว มั่วทั้งหลักภาษาและหลักธรรม...แบบนี้ท่านเรียกสักว่ามีปาก แปลเรื่อยเปื่อย
คำว่าศัตรูเขาใช้กับมนุษย์ที่ทำสงครามครามเข่นฆ่ากัน นี่ดันทลึ่งเอาใช้กับ นามธรรมที่ไม่มีตัวตน

แถมยังโมเมให้นิวรณ์เป็นศัตรู ทั้งๆที่นิวรณ์มันเป็นธรรมชาติของโลกใบนี้...มันมีมาก่อนสมาธิเสียอีก
มันมีเยียงอย่างที่ไหนดันให้ธรรมชาติที่อยู่คู่โลกเป็นศัตรูของสิ่งที่มาทีหลัง

กรัชกาย เขียน:
นิวรณ์ แปลว่า เครื่องกีดกั้น เครื่องขัดขวาง แปลเอาความตามหลักวิชาว่า สิ่งที่กีดกั้นการทำงานของจิตไม่ให้ก้าวหน้าในกุศลธรรม ธรรมฝ่ายชั่วที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุคุณความดี หรืออกุศลธรรมที่ทำจิตให้เศร้าหมองและทำปัญญาให้อ่อนกำลัง


เลอะเทอะ! นิวรณ์เป็นธรรมชาติที่ขึ้นอยู่กับกฎอิทัปปัจยตา(กฎเกณท์ทางธรรมชาติ)
มนุษย์ทุกผู้ตัวตนเกิดมาจะต้องเจอกับกฎเกณท์อันนี้

ฉะนั้นนิวรณ์หาใช่ความดีความชั่วหรือเครื่องกีดขวางใดๆ สิ่งที่บุคคลจะต้องทำก็คือ
รู้ถึงความมีอยู่ของกฎเกณท์นี้(นิวรณ์)แล้วปล่อยวางมันด้วยธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรุ้
นั้นก็คือสติปักฐานสี่นั้นเอง


อ้างคำพูด:
ปล่อยวางมันด้วยธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรุ้ นั้นก็คือสติปักฐานสี่


อ้อ ถ้ายังงั้น บอกวิธีปล่อยวางด้วยสติปัฏฐานอย่างที่ว่าให้ทีสิ :b14:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2016, 08:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:
คำอธิบายลักษณะของนิวรณ์ ที่เป็นพุทธพจน์มีว่า

"ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการเหล่านี้ เป็นเครื่องปิดกั้น (กุศลธรรม) เป็นเครื่องห้าม (ความเจริญงอกงาม) ขึ้นกดทับจิตไว้ ทำปัญญาให้อ่อนกำลัง"

"...เป็นอุปกิเลสแห่งจิต (สนิมใจ หรือสิ่งที่ทำให้ใจเศร้าหมอง) ทำปัญญาให้อ่อนกำลัง"

"ธรรม ๕ ประการเหล่านี้ เป็นนิวรณ์ ทำให้มืดบอด ทำให้ไร้จักษุ ทำให้ไม่มีญาณ (สร้างความไม่รู้) ทำให้ปัญญาดับ ส่งเสริมความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน"


โพสเรื่อยเปื่อยหาได้พินิจพิจารณาว่า ในพระธรรมท่านกำลังสื่ออะไร
ความหมายที่พระธรรมกำลังสื่อก็คือ......ธรรมห้าประการ(นิวรณ์) มันมีอยู่(ธรรมชาติ)
ก็ด้วยเหตุนี้เราจึงไม่ควรยึดเอาธรรมทั้งห้า(นิวรณ์) มาเป็นเครื่องปิดกั้นมรรคผลนิพพาน


ยกตัวอย่าง ธรรมชาติมันมีอยู่ ถ้าเราไม่ต้องการให้เราเป็นไปตามสิ่งที่เป็นธรรมชาตินั้น...เราก็ไม่ควรไม่ยุ่งเกี่ยว

ถ้าฝนกำลังตกอยู่นอกบ้าน เรารู้อยู่แล้วว่า ถ้าเราเดินออกไปนอกบ้านตัวเราต้องเปียก
เราไม่อยากเปียกก็อย่าไปเดินตากฝน
หรือเห็นพวกขี้เมากำลังท้าตีท้าต่อยกับชาวบ้าน เราไม่อยากมีเรื่องก็เดินอ้อมไปที่อื่น

นิวรณ์ก็เช่นกัน ถ้าเราไม่ต้องการให้มีอะไรมาเป็นเครื่องกรีดขวางทางนิพพาน
เราก้อย่าไปยุ่งเกี่ยวกับกับมัน และการไม่ยุ่งเกี่ยวนิวรณืก้ด้วย สมถบรรพในธัมมานุปัสนาฯ



คิกๆๆ เลอะเทอะ

อย่างเคยว่าบ่อยๆ เหมือนคนเมากัญชาได้ที่แล้วนอนมองก้อนเมฆลอยไปลอยมาในอากาศ แล้วก็จินตการมโนเอาว่า นั่นเหมือนม้า เหมือนรถ เมฆก้อนนั้นเหมือนมังกี้แสม ฯลฯ :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2016, 08:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าจิตยังถูกนิวรณ์ครอบงำอยู่ จะไม่ประสบสุขที่ประณีตทางใจเช่นนี้เลย

ต่อเมื่อนิวรณ์ถูกสมาธิ (ตทังคสมาธิ) กำจัดแล้ว โยคีจะประสบสุขที่เขาไม่เคยประสบมาก่อนเลยในชีวิตนี้

ตย.เทียบ (ตัดๆเอาแต่สาระมา)


อ้างคำพูด:
ท่านว่าให้กำหนดรู้ลมหายใจเสมือนว่าลมหายใจเป็นกัลยาณมิตร ให้เรายึดกัลยาณมิตรนี้ไว้

มีวันหนึ่ง ผมเกิดนึกอยากนั่งสมาธิขึ้นมา ก็เลยนั่งสมาธิกำหนดลมหายใจ

ในการนั่งสมาธิครั้งนี้ ผมสามารถรับรู้ลมหายใจได้ตลอดสายเป็นเวลานาน

เวลานี้รู้สึกว่า ความรู้สึกของเราเหมือนจุ่มอยู่ในปีติ มีแต่ความสุขไปหมด


จากนั้น ผมก็คิดขึ้นมาว่า

"มีความสุขขนาดนี้ในโลกด้วย หรือ ความสุขนี้ดีกว่าความสุขในโลกที่เราเคยพบมาทั้งหมด โอ ความสุขนี้แค่นั่งก็ได้แล้ว คนทั้งโลก มัวแต่วุ่นวายทำอะไรกันอยู่ บางคนทำทุจริตต่างๆ เพื่อหาเงินมาสนองความสุขตน ทำไปทำไมนะ มันเทียบกับความสุขที่เกิดจากความสงบนี้ไม่ได้เลย ความสุขนี้ไม่ต้องไขว่คว้ามาก อยู่กับตัวเองแท้ๆ คนในโลกกลับไม่รู้"

จากนั้นผมก็สังเกตลมหายใจ ก็รู้สึกว่าลมหายใจตอนนี้ มันละเอียดมาก ถึงค่อยเข้าใจ คำว่า ลมหายใจหยาบ ลมหายใจละเอียดว่าเป็นยังไง ก่อนหน้านี้เข้าใจว่าคือลมหายใจแรงๆเบาๆซะอีก :)

ความรู้สึกจากการเกิดสมาธิครั้งแรกนี้ มันเหมือนจุ่มปีติเกิดค้างอยู่ แต่ไม่เห็นนิมิตอะไรทั้งสิ้นเลยนะครับ แต่รู้สึกจิตเวลานี้ไม่มีนิวรณ์เลย คือมีความรู้พร้อมอยู่ จากนั้นผมก็รู้สึกยินดีกับสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วคิดไปเรื่อยว่า "นี่คือปฐมฌานหรือเปล่านี่ ปฐมฌานเกิดกับเราหรือ"

จนจิตเริ่มไม่เป็นสมาธิ เริ่มปั่นป่วน หลังจากนั้นก็ได้ยินเสียงห้องข้างๆตะโกนเสียงดัง ผมก็เลยหลุดออกมาจากสภาวะนั้น


http://larndham.org/index.php?/topic/27 ... ntry393770


นึกไม่ออกหรอก ก่อนหน้าผู้นั้นเองก็นึกไม่ถึงนึกไม่ออก ต่อเมื่อประสบกับตนเองแล้ว จึงเข้าใจ (แม้เป็นขั้นพื้นๆก็ตาม)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 117 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร