วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 18:47  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2016, 09:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่อง สมถะ,วิปัสสนา,เจโตวิมุตติ,ปัญญาวิมุตติ ก็ยกขึ้นพูดกันบ่อยๆ จะนำมาให้ดู ดูแล้วไม่เข้าใจ ก็ต้องศึกษาให้เข้าใจ มิใช่ไปคิดเอาเองดัดแปลงเอาเองจนเป็นธรรมปฏิรูป (ธรรมปลอม,ธรรมเทียม) ไปล่ะ :b14:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2016, 09:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูความหมายวิมุตติก่อน

วิมุตติ ๕ คือ

๑. วิกขัมภนวิมุตติ ความหลุดพ้นด้วยข่ม (กิเลส) ไว้ คือระงับนิวรณ์ เป็นต้น ได้ด้วยอำนาจสมาธิ ได้แก่ สมาบัติ ๘ แต่บางทีท่านยอมให้ผ่อนลงมารวมถึงอุปจารสมาธิด้วย

๒. ตทังควิมุตติ ความหลุดพ้นด้วยองค์ธรรมจำเพาะ คือ พ้นอกุศลอย่างหนึ่งๆ ด้วยธรรมที่เป็นคู่ปฏิปักษ์กัน ว่าตามความหมายอย่างเคร่ง หรือความหมายมาตรฐาน ได้แก่ พ้นความเห็นผิดยึดถือผิด ด้วยอาศัยญาณคือความรู้ฝ่ายวิปัสสนาที่ตรงข้ามเป็นคู่ปรับกัน เช่น พิจารณาความไม่เที่ยง ทำให้พ้นความสำคัญหมายว่าเป็นของเที่ยง เป็นต้น แต่ว่าตามความหมายที่ผ่อนลงมา ใช้ได้กับความดี ความชั่วทั่วๆไป เช่น น้อมใจดิ่งไปทางทาน ทำให้พ้นจากความตระหนี่และความโลภ น้อมใจดิ่งไปทางเมตตา ทำให้พ้นจากพยาบาท หรือการมองในแง่ร้าย พุ่งความคิดไปทางกรุณาหรืออหิงสา ทำให้พ้นจากวิหิงสาคือการข่มเหงเบียดเบียนและความรุนแรง เป็นต้น

วิมุตติตามความหมาย ๒ อย่างแรกนี้ คลุมถึงสามายิกเจโตวิมุตติ และเป็นโลกิยวิมุตติทั้งหมด

๓. สมุจเฉทวิมุตติ ความหลุดพ้นด้วยเด็ดขาด หรือตัดขาด คือการทำลายกิเลสที่ผูกรัดไว้ หลุดพ้นเป็นอิสระออกไปได้ ด้วยญาณหรือวิชชาขั้นสุดท้าย ได้แก่ วิมุตติในความหมายที่เป็นมรรค

๔. ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ ความหลุดพ้นด้วยสงบระงับเรียบสนิทหรือราบคาบไป คือความเป็นผู้หลุดพ้นออกไปได้แล้ว มีความเป็นอิสระอยู่ เพราะกิเลสที่เคยผูกรัดหรือครอบงำ ถูกกำจัดราบคาบไปแล้ว ได้แก่ วิมุตติในความหมายที่เป็นผล

๕. นิสสรณวิมุตติ ความหลุดพ้นทีเป็นภาวะปลอดโปร่ง คือ ภาวะแห่งความเป็นอิสระ ที่ผู้หลุดพ้นเป็นอิสระแล้วประสบอยู่ ชื่นชมหรือเสวยรสอยู่ และซึ่งทำให้ผู้นั้นปฏิบัติกิจอื่นๆ ได้ด้วยดีต่อๆไป ได้แก่ วิมุตติในความหมายที่เป็นนิพพาน


วิมุตติในความหมาย ๓ อย่างหลังนี้ (๓-๔-๕) เป็นอสามายิกเจโตวิมุตติ และเป็นโลกุตรวิมุตติ

ว่าโดยสาระแท้ๆ วิมุตติ ๕ นี้ ก็คือ สมถะ วิปัสสนา มรรค ผล และนิพพาน ตามลำดับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2016, 09:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความหมาย "สมถะ"


สมถะ

สมถะ แปลง่ายๆว่า ความสงบ แต่ที่ใช้ทั่ว ไป หมายถึงวิธีทำใจให้สงบ ขยาย ความว่า ได้แก่ ข้อปฏิบัติต่างๆ ในการฝึกอบรมจิตให้เกิดความ สงบ จนตั้งมั่นเป็นสมาธิ ถึงขั้นได้ฌานระดับต่างๆ จุดมุ่ง หมายของสมถะ คือสมาธิ ซึ่งหมายเอาสมาธิขั้นสูงที่ทำให้เกิดฌาน


หลักการของสมถะ คือ กำหนดใจไว้กับสิ่งใดสิ่ง หนึ่ง (เรียกว่า อารมณ์) ให้แน่วแน่จนจิตน้อมดิ่งอยู่ในสิ่งนั้นสิ่งเดียว (เรียก กันว่า จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง หรือจิตมีอารมณ์อันเดียว) ความ แน่วแน่หรือตั้งมั่นของจิต นี้เรียกว่า "สมาธิ"

เมื่อสมาธิแนบสนิทเต็มที่แล้ว ก็จะเกิดภาวะจิตที่เรียกว่า ฌาน ซึ่ง แบ่งเป็นระดับต่างๆ ระดับที่กำหนดเอารูปธรรม เป็นอารมณ์ เรียกว่า รูปฌาน หรือเรียกง่ายๆ ว่า ฌาน มี ๔ ขั้น ระดับที่กำหนดอรูปธรรมเป็น อารมณ์ เรียกว่า อรูปฌาน มี ๔ ขั้น ทั้งรูป ฌาน ๔ และอรูปฌาน ๔ เรียกรวมกันว่า สมาบัติ (๘)

ภาวะจิตในฌานนั้น เป็นภาวะที่สุขสงบผ่องใส ไม่มีความเศร้าหมองขุ่นมัว ไม่มีสิ่งรบกวนให้สะดุดหรือติดข้องอย่าง ใดๆ เรียกว่าปราศจากนิวรณ์ ท่านอนุโลมเรียกว่าเป็นความหลุดพ้นจาก กิเลสตลอดเวลาที่ยังอยู่ในฌานนั้นๆ (ท่านเรียกว่า เป็นวิกขัมภนนิโรธ หรือวิกขัมภนวิมุตติ)


อย่างไรก็ดี เมื่อใช้อย่างหลวมๆ หรือพูดอย่างกว้างๆ สมถะ ก็คือ การทำใจให้สงบ หรือการทำจิตให้ เป็นสมาธิ และบางคราวก็หมายถึงตัวสมาธินั่นเอง

ว่าตามความจริง ความหมายของสมถะที่ว่า คือตัวสมาธินี้แหละ เป็นความหมายที่ตรงตามหลักวิชาทั้งฝ่ายอภิธรรม และฝ่ายพระสูตร * เพราะ ไม่ว่าจะเจริญสมถะ จนได้ฌานสมาบัติ หรืออภิญญา เป็นผลสำเร็จสูงพิเศษเพียงใดก็ตาม เนื้อแท้ของสมถะ หรือตัวสมถะ หรือแก่นของสมถะที่ให้ผลเช่นนั้น ก็คือสมาธินั่นเอง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2016, 09:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่อ้างอิงข้างบน *

* ทางฝ่ายอภิธรรม เช่น อภิ.สํ.34/253/96; 223/90; 206/85 เป็นต้น ทาง ฝ่ายพระสูตร เช่น องฺ.ทุก. 20/275/77 อธิบายใน องฺ.อ.2/33 และในองฺ.ฉกฺก. 22/325/418 เมื่อกล่าวถึงอินทรีย์ ๕ ท่านใช้คำ ว่า สมถะ แทนสมาธิ และวิปัสสนา แทนปัญญา โดยตรงทีเดียว (เป็นสัทธา สติ วิริยะ สมถะ วิปัสสนา แทนที่จะเป็น สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา อย่างในความร้อยแก้วตามปกติ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2016, 09:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ่านแล้วเทียบสภาวจิตผู้ปฏิบัติจริง (ตัดความมา) ดู

อ้างคำพูด:
การนั่งสมาธิครั้งนี้ ผมสามารถรับรู้ลมหายใจได้ตลอดสายเป็นเวลานาน......

รู้สึกว่า ความรู้สึกของเราเหมือนจุ่มอยู่ในปีติ มีแต่ความสุขไปหมด จากนั้น ผมก็คิดขึ้นมาว่า

"มีความสุขขนาดนี้ในโลกด้วยหรือ ความสุขนี้ดีกว่าความสุขในโลกที่เราเคยพบมาทั้งหมด โอ ความสุขนี้แค่นั่งก็ได้แล้ว คนทั้งโลก (ส่วนใหญ่) มัวแต่วุ่นวายทำอะไรกันอยู่ บางคนทำทุจริตต่างๆเพื่อหาเงินมาสนองความสุขตน ทำไปทำไมนะ มันเทียบกับความสุขที่เกิดจากความสงบนี้ไม่ได้เลย ความสุขนี้ไม่ต้องไขว่คว้ามาก อยู่กับตัวเองแท้ๆ คน(ส่วนใหญ่)ในโลกกลับไม่รู้"

จากนั้น ผมก็สังเกตลมหายใจ ก็รู้สึกว่าลมหายใจ ตอนนี้มันละเอียดมาก ถึงค่อยเข้าใจคำว่าลมหายใจหยาบลมหายใจละเอียดว่าเป็นยังไง ก่อนหน้านี้เข้าใจว่าคือลมหายใจแรงๆเบาๆซะอีก :)


ความรู้สึกจากการเกิดสมาธิครั้งแรกนี้ มันเหมือนจุ่มค้างปีติ อยู่ แต่ไม่เห็นนิมิตอะไรทั้งสิ้น แต่รู้สึกจิตเวลานี้ไม่มีนิวรณ์เลย คือมีความรู้พร้อมอยู่ จากนั้นผมก็รู้สึกยินดีกับสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วคิดไปเรื่อยว่า "นี่คือปฐมฌานหรือเปล่านี่ ปฐมฌานเกิดกับเราหรือ" จนจิตเริ่มไม่เป็นสมาธิ เริ่มปั่นป่วน หลังจากนั้นก็ได้ยินเสียงห้องข้างๆตะโกนเสียงดัง ก็เลยหลุดออกมาจากสภาวะนั้น

http://larndham.org/index.php?/topic/27 ... ntry393770

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2016, 12:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความหมายวิปัสสนา สังเกตดีๆมีมุมซ้อนๆ อยู่กับสมถะหรือสมาธิด้วย (เพราะมันคือนามธรรม)

วิปัสสนา

วิปัสสนา แปลง่ายๆว่า การเห็น แจ้ง หรือวิธีทำให้เกิดการเห็นแจ้ง หมายถึงข้อปฏิบัติ ต่างๆ ในการฝึกฝนอบรมปัญญาให้เกิดความเห็นแจ้งรู้ชัดสิ่งทั้งหลายตรง ต่อสภาวะของมัน คือให้เข้าใจตามความเป็นจริง หรือตามที่สิ่งเหล่า นั้นมันเป็นของมันเอง (ไม่ใช่เห็นไปตามที่เราวาดภาพให้มันเป็น ด้วยความชอบ ความชัง ความอยากได้ หรือความขัดใจของเรา) รู้แจ้งชัดเข้าใจจริง จนถอนความหลงผิด รู้ผิด และยึดติดในสิ่งทั้งหลายได้ ถึงขั้นเปลี่ยนท่าที่ต่อโลกและ ชีวิตใหม่ ทั้งท่าทีแห่งการมอง การรับรู้ การวางจิตใจ และความรู้สึกทั้งหลาย


ความรู้ความเข้าใจถูกต้อง ที่เกิดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในระหว่างการปฏิบัตินั้น เรียกว่า ญาณ ญาณมีหลายระดับ ญาณสำคัญในขั้นสุดท้ายเรียกว่า วิชชา เป็นภาวะตรงข้ามที่กำจัดอวิชชา คือความหลงผิดไม่รู้แจ้งไม่จริงให้หมดไป

ภาวะจิตที่มีญาณหรือวิชชานั้น เป็นภาวะที่สุขสงบ ผ่องใส และเป็นอิสระ เพราะลอยตัวพ้นจากอำนาจครอบงำของ กิเลส เช่น ความชอบความชัง ความติดใจและความขัดใจ เป็น ต้น ไม่ถูกบังคับหรือชักจูงโดยกิเลสเหล่านั้น ให้มองเห็นหรือรับ รู้สิ่งต่างๆ อย่างบิดเบือน จนพาความคิดและการกระทำที่ติดตามมา ให้เห็นเหเฉไป และไม่ต้องเจ็บปวด หรือเร่าร้อน เพราะถูกบีบคั้นหรือต่อสู้กับ กิเลสเหล่านั้น ญาณ และวิชชา จึงเป็นจุดมุ่งของ วิปัสสนา เพราะนำไปสู่วิมุตติ คือความหลุดพ้นเป็นอิสระที่แท้ จริง ซึ่งยั่งยืนถาวร
(ท่านเรียกว่า สมุจเฉท นิโรธ หรือ สมุจเฉทวิมุตติ แปลว่า ดับกิเลส หรือ หลุดพ้นโดยเด็ดขาด)


ถ้าพูดอย่างรวบรัด ก็ว่าผลที่มุ่งหมายของสมถะคือฌาน ผลที่มุ่งหมายของวิปัสสนาคือญาณ หรือว่าสมถะนำไปสู่ฌาน * วิปัสสนานำไปสู่ญาณ


ผู้ปฏิบัติสมถะ (สำนวนแบบเรียกว่า บำเพ็ญ หรือเจริญสมถะ) อาจทำแต่สมถะอย่างเดียว โดยมุ่งหวัง จะชื่นชมเสพผลของสมถะ คือฌานสมาบัติ...ไม่ต้องเกี่ยวข้องกับวิปัสสนาเลยก็ได้ เรียกว่า หยุดเพียงขั้นสมถะ ไม่ก้าวถึงขั้นปัญญา


ผู้ปฏิบัติวิปัสสนา ต้องอาศัยสมถะไม่มากก็น้อย คืออาจเจริญสมถะจนได้ฌานสมาบัติก่อนแล้ว จึงก้าวต่อไปสู่วิปัสสนา คือ เอาฌานเป็นบาทของวิปัสสนา (เรียกว่าเจริญวิปัสสนา ที่มีฌานเป็น บาท) ก็ได้ อาจเริ่มเจริญวิปัสสนาไปก่อนแล้ว จึงเจริญสมถะ ตามหลัง ก็ได้ หรืออาจเจริญทั้งสมถะและวิปัสสนาควบคู่กัน ก็ได้


แม้แต่ผู้ที่ได้ชื่อว่าเจริญวิปัสสนาอย่างเดียวล้วน (สุทธวิปัสสนายานิก) ไม่อาศัยสมถะเลย ก็หมาย ถึง ไม่อาศัยสมถะในความหมายโดยนิปริยาย หรือความหมายจำเพาะที่ เคร่งครัด คือไม่ได้ทำสมถะจนได้ฌานสมาบัติก่อนเจริญวิปัสสนา แต่ตามความเป็นจริงก็อาศัยสมถะในความหมายอย่างกว้างๆ คือ อาศัยสมาธิ นั่นเอง สมาธิของผู้เจริญวิปัสสนาแบบนี้ อาจเริ่มต้นด้วยขณิก สมาธิ ก็ได้ แต่เมื่อถึงขณะที่บรรลุมรรคผล สมาธินั้นจะแน่วแน่สนิท (เป็นอัปปนาสมาธิ) ถึงระดับปฐมฌาน


ผลที่ต้องการจากสมถะ ตามหลักพุทธศาสนา คือ การสร้างสมาธิเพื่อใช้เป็นบาทฐานของวิปัสสนา * จุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนาสำเร็จได้ด้วยวิปัสสนา คือการฝึกอบรมปัญญาที่มีสมาธินั้นเป็นบาทฐาน หากบรรลุจุดหมายสูงสุดด้วย และยัง ได้ผลพิเศษแห่งสมถะด้วย ก็จัดว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติพิเศษ ได้รับ การยกย่องนับถืออย่างสูง แต่หากบรรลุจุดหมายแห่งวิปัสสนาอย่าง เดียว ไม่ได้ผลวิเศษแห่งสมถะ ก็ยังเลิศกว่าได้ผลวิเศษแห่ง สมถะ แต่ยังไม่พ้นจากอวิชชาและกิเลสต่างๆ

ความที่ชี้แจงตอนนี้ ยังสัมพันธ์กับเรื่องเจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตติด้วย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 27 พ.ค. 2016, 12:31, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2016, 12:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างอิงข้างบน *

* ที่พูดว่า สมถะอาจให้ได้อภิญญา ๕ ซึ่งได้แก่ญาณต่างๆพวกหนึ่ง นั้น ความจริงก็ต้องให้ได้ฌานก่อนแล้วจึงน้อมจิตที่เป็นสมาธิพร้อมดี ด้วยกำลังฌานนั้นไปเพื่อได้ญาณจำพวกอภิญญาอีกต่อหนึ่ง ถ้าพูดให้เคร่งครัด จึงต้องว่า สมถะ (ล้วนๆ) จบหรือสิ้นสุดลงเพียงแค่ ฌาน...) ดู วิสุทธิ. ฎีกา 3/647-8

ที่อ้างอิง *

* พูดง่ายๆว่า สมาธิที่เลิศประเสริฐสุด ก็คือสมาธิที่ช่วยให้ตรัสรู้ หรือสมาธิที่ช่วยให้ปัญญากำจัดกิเลสและหลุดพ้นได้ เรียกอย่างวิชาการว่า สมาธิที่เป็นองค์แห่งมรรค หรือสมาธิในมรรค (มัคคสมาธิ) สมาธิอย่างนี้ มีชื่อเรียกพิเศษว่า อานันตริกสมาธิ แปลว่า สมาธิที่ให้ผลเนื่องไปทันที คือ ทำให้บรรลุอริยผลทันที ไม่มีอะไรคั่นหรือแทรกระหว่างได้ สมาธิ ชนิดนี้ พระพุทธเจ้าสรรเสริญว่า ไม่มีสมาธิอื่นใดเทียมเท่า ถึงหากจะเป็นสมาธิระดับต่ำ ก็ถือว่าประเสริฐกว่าสมาธิ อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นสมาธิระดับรูปฌาน หรืออรูปฌานก็ตาม อานันตริกสมาธิ นี้ ท่านกล่าวถึงในที่อื่นๆอีก ทั้งบาลีและอรรถกถา....

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2016, 16:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พันทิพมีผู้ปฏิบัติจริง ตั้งกระทู้ถาม ตัดมานิดเพื่อเทียบความรู้เห็นที่เริ่มเป็นวิปัสสนา หมายความว่ารู้เห็นนามรูป (กาย ใจ) มันเป็นของเอง เช่น

อ้างคำพูด:
ตอนดิฉันเดินจงกรม ช่วงนาทีที่เห็นเป็นกายมันเดินเอง ร้องให้เลย ตอนนั้นรู้สึกว่า แม้ร่างกายมันยังไม่ใช่ของเรา จะมีอะไรเป็นของเราบ้างหนอ


รูปภาพ


แต่ถึงกระนั้น ก็ยังต้องมีผู้แนะนำ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2016, 16:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ

ส่วนมากตรงนี้จะตัดชื่อคัมภีร์อ้างอิงออก แล้วคัดเอาแต่เนื้อๆมา


เจโตวิมุตติ – ปัญญาวิมุตติ


วิมุตติ หรือความหลุดพ้นนั้น ในระดับสูงสุด ใช้ในความหมายต่างกัน แยกได้เป็น ๓ อย่าง คือ

อย่างแรก การหลุดพ้น กิริยาที่หลุดออกมาได้ หรืออาการที่เป็นไปในขณะหลุดพ้นเป็นอิสระ วิมุตติ ในความหมายอย่างนี้ ท่านเรียกว่าเป็นมรรค

อย่างที่สอง ความเป็นผู้หลุดพ้น คือความเป็นอิสระในเมื่อหลุดพ้นออกมาได้แล้ว วิมุตติในความหมายอย่างนี้ ท่านเรียกว่า เป็นผล

อย่างที่สาม ภาวะแห่งเป็นผู้หลุดพ้น ภาวะแห่งความเป็นอิสระที่ผู้หลุดพ้นหรือผู้เป็นอิสระนั้นเข้าถึง และรู้สึกได้ ซึ่งอำนวยความดีงามต่างๆ มีความสุขสบายปลอดโปร่งโล่งใจ เป็นต้น และภาวะแห่งความเป็นอิสระเช่นนั้น ที่ผู้ยังไม่หลุดพ้นกำหนดเป็นอารมณ์ เช่น นึกถึง คำนึงถึง หน่วงเอาเป็นจุดหมายในใจ เป็นต้น วิมุตติในความหมายอย่างนี้ คือที่ใช้เป็นไวพจน์ของนิพพาน คือหมายถึง นิพพาน นั่นเอง

อย่างไรก็ตาม ในความหมาย ๓ อย่างนั้น ข้อที่ถือว่าเป็นความจำเพาะกว่าอย่างอื่น หรือเป็นเรื่องของวิมุตติเองแท้ๆ ก็คือ วิมุตติในความหมายที่เป็นผล และคำว่าผล ในที่นี้ ตามปกติหมายถึงอรหัตผล (ความสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ในเมื่อละสังโยชน์ได้หมดสิ้น จิตพ้นจากอาสวะทั้งหลายแล้ว)

ส่วนในความหมายที่เป็นมรรค ก็มีความข้ออื่นเป็นเจ้าของเรื่องอยู่แล้ว โดยเฉพาะวิชชาและวิราคะ จึงมักมาคู่กับวิมุตตินี้ โดยวิชชาเป็นมรรค หรือไม่ก็วิราคะเป็นมรรค วิมุตติเป็นผล

ส่วนในความหมายที่เป็นนิพพาน วิมุตติก็เป็นเพียงไวพจน์ ซึ่งมีนิพพานเป็นคำยืนอยู่แล้ว

วิมุตติที่เป็นผล โดยเฉพาะอรหัตผลนั้น ท่านมักแยกให้เห็นชัดเป็น ๒ ด้าน คือ เป็นเจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตติ

เจโตวิมุตติ คือ ความหลุดพ้นทางด้านจิต แปลกันว่า ความหลุดพ้นแห่งจิต หรือความหลุดพ้นด้วยกำลังจิต คือ ด้วยสมาธิ หมายถึง ภาวะจิตที่ประกอบด้วยสมาธิ ซึ่งกำราบราคะลงได้ ทำให้หลุดพันจากกิเลสเครื่องผูกมัดทั้งหลาย

(ราคะในที่นี้ และในบาลีทั่วไป ไม่มีความหมายแคบอย่างที่เข้าใจกันในภาษาไทย คือ ไม่ใช่เรื่องกามเท่านั้น แต่หมายถึง ความติดใจ ความใคร่ ในอารมณ์ต่างๆ ทั้งรูปธรรม และนามธรรม เป็นไวพจน์ของตัณหา และกินความถึงโทสะด้วย เพราะโทสะก็คือแรงผลักที่เป็นปฏิกิริยาของราคะนั่นเอง)

ปัญญาวิมุตติ คือ ความหลุดพ้นทางด้านปัญญา แปลกันว่า ความหลุดพ้นด้วยปัญญา แต่ควรแปลว่า ความหลุดพ้นแห่งปัญญาด้วย เพราะหมายถึงปัญญาบริบูรณ์ หรือความรู้ถูกต้องสมบูรณ์ ไม่มีกิเลสบดบังหรือบิดเบือน ซึ่งเกิดขึ้นแก่ผู้บรรลุอรหัตผล ในเมื่อปัญญานั้นกำจัดอวิชชาได้แล้ว ทำให้ผู้นั้นหลุดพ้นจากกิเลสเครื่องผูกมัดทั้งปวงดังบาลีว่า


"เพราะสำรอกราคะได้ จึงมีเจโตวิมุตติ , เพราะสำรอกอวิชชาได้ จึงมีปัญญาวิมุตติ"

อรรถกถาอธิบายว่า เจโตวิมุตติ ได้แก่ ผลสมาธิ หรือ อรหัตผลสมาธิ หรืออรหัตผลจิต
(สมาธิ หรือจิตอันตั้งมั่น ที่เป็นผลแห่งการสำเร็จเป็นพระอรหันต์) และว่า ปัญญาวิมุตติ ได้แก่ ผลญาณ หรือผลปัญญา หรือ อรหัตผลญาณ หรืออรหัตผลปัญญา (ฌานหรือปัญญาที่เป็นผลแห่งการสำเร็จเป็นพระอรหันต์)

ผู้บรรลุอรหัตผล จะต้องได้เจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตตินี้ ครบทั้งสองอย่างทุกบุคคล คำทั้งสองนี้จึงมาคู่กันเสมอ ในข้อความที่กล่าวถึงการบรรลุอรหัตผล ดังบาลีว่า "เพราะ อาสวะทั้ง หลายสิ้นไป จึงทำให้เห็นประจักษ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ที่ไม่มีอาสวะ ในปัจจุบันนี้ทีเดียว"

เจโตวิมุตติ เป็นผลของสมถะ ปัญญาวิมุตติ เป็นผลของวิปัสสนา พระอรรถกถาจารย์กล่าวว่า คำคู่นี้แสดงให้เห็นว่า สมถะและวิปัสสนา จะต้องมาควบคู่กัน แม้ในขั้นผล เช่นเดียวกับในขั้นมรรค (แม้ว่าสมถะที่ต้องการในที่นี้ อาจจะเป็นเพียงสมถะในความหมายอย่างกว้างๆ คือ สมาธิเท่าที่จำเป็นเท่านั้น ไม่จำต้องเป็นสมถะที่ฝึกกันเป็นงานเป็นการจนได้อภิญญาสมาบัติ) ข้อนี้ สมด้วยบาลีว่า


"ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ เป็นวิชชาภาคิยธรรม * ได้แก่ สมถะ และ วิปัสสนา" *

"สมถะเจริญแล้ว จะได้ประโยชน์อะไร ? (ตอบ) จิตจะได้รับการเจริญ จิตเจริญแล้ว จะได้ประโยชน์อะไร ? ตอบ ละราคะได้"

"วิปัสสนา เจริญแล้ว จะได้ประโยชน์อะไร ? (ตอบ) ปัญญาจะได้รับการเจริญ ปัญญาเจริญ จะได้ประโยชน์อะไร ? (ตอบ) ละอวิชชาได้"

"ภิกษุทั้งหลาย จิตที่เศร้าหมองด้วยราคะ ย่อมไม่หลุดพ้น หรือปัญญาก็ดีที่เศร้าหมองด้วยอวิชชา ย่อมเจริญไม่ได้ ด้วยประการดังนี้ เพราะสำรอกราคะได้ จึงมีเจโตวิมุตติ เพราะสำรอกอวิชชาได้ จึงมีปัญญาวิมุตติ" *


มีทั้งเจโตวิมุตติ และ ปัญญาวิมุตติ มาด้วยกันครบสองอย่าง จึงเป็นวิมุตติที่สมบูรณ์ อย่างไรก็ ตาม ถ้าพิจารณาให้ลึกลงไป ย่อมเห็นละเอียดยิ่งขึ้นไปอีก


ดังที่ทราบกันอยู่แล้วว่า ผู้ปฏิบัติธรรมจะบำเพ็ญแต่สมถะอย่างเดียว ก็ได้ และ สมถะที่บำเพ็ญเช่นนั้น ย่อมสามารถให้เกิดสมาธิขั้นสูง ถึงฌาน สมาบัติ ซึ่งในในภาวะเช่นนั้น กิเลสทั้งหลาย ย่อมสงบระงับไป เป็นการ หลุดพ้นได้อย่างหนึ่ง แต่หลุดพ้นได้เพียงชั่วคราว ผู้บำเพ็ญสมถะจึง ต้องก้าวต่อไปสู่วิปัสสนา คือเจริญปัญญาด้วย จึงจะหลุดพ้นได้แท้จริง


ความข้อนี้เห็นได้ชัดว่า เจโตวิมุตติอาจมีได้ในกรณีอื่น แม้ที่มิใช่เป็นการบรรลุมรรคผล แต่ เจโตวิมุตติในกรณีเช่นนั้น ย่อมจะมิใช่เจโตวิมุตติที่เด็ดขาดแน่นอน ดังนั้น ตัวตัดสินที่แท้จริง จึงได้แก่ ปัญญาวิมุตติ ซึ่งทำลายอวิชชาไปโดยลำดับ กำจัดกิเลสเด็ดขาดไปเป็นขั้นๆ ปัญญาวิมุตติ มาเมื่อใด ก็หมายถึงวิมุตติที่เด็ดขาดแท้จริงเมื่อนั้น ยิ่งมีคำว่าอนาสวะประกอบ ด้วย ก็หมายถึงวิมุตติขั้นสูงสุด ที่สมบูรณ์สิ้นเชิง แต่การที่ปัญญาวิมุตติ มาควบคู่กับเจโตวิมุตติ ก็เพราะต้องอาศัยเจโตวิมุตติเป็นเครื่องเตรียมจิตให้พร้อมเท่านั้นเอง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2016, 16:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่อ้างอิงข้างบน *

* วิชชาภาคิยธรรม ธรรมเป็นไปเพื่อส่วนแห่งวิชชาหรือธรรมข้างฝ่ายวิชชา คือธรรมที่ช่วยสนับสนุนให้เกิดวิชชา

* อรรถอธิบายว่า สมถะ ได้แก่ จิตเตกัคคตา (ภาวะที่จิตมีอารมณ์อันเดียว คือสมาธินั่นเอง) วิปัสสนา ได้แก่ ญาณที่กำหนด (พิจารณา) สังขาร (องฺ.อ.2/33)

* ในบาลี ท่านยกเอาการได้เจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตติ เป็นหลักอย่างหนึ่ง สำหรับแสดงความหมายของการเป็นพระอรหันต์ เป็นเครื่องแสดงว่า พระอรหันต์ทุกท่าน ย่อมได้ทั้งเจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตติ (เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ คู่กันของพระอรหันต์นี้ จะมีคำว่าอนาสวะ คือไม่มีอาสวะ นำหน้าเสมอ) อนึ่ง มีข้อความในบาลีที่แสดงให้เห็นชัดว่า เจโตวิมุตติที่ต้องมาคู่กับปัญญาวิมุตติในการสำเร็จอรหัตผลนี้ หมายถึงสมาธิเพียงเท่าที่จำเป็นสำหรับรองรับปัญญาที่ทำอาสวะให้สิ้น ไม่จำต้องเป็นสมาธิในขั้นฌานสมาบัติ คือไม่ใช่เจโตวิมุตติชนิดที่หมายถึงสมาบัติ ๘ หลักฐานนี้มีใน องฺ. จตุกฺก. 21/87/114 ซึ่งกล่าวถึงพระอรหันต์ ผู้ได้เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ สิ้นอาสวะ แต่ไม่ได้วิโมกข์ ๘ (ฌานสมาบัติ และนิโรธสมาบัติ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 36 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร