วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 08:41  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2016, 08:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัญหาที่เผชิญอยู่เบื้องหน้าของทุกๆคน คือ ปัญหาเรื่องทุกข์ และความดับทุกข์ มนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย ถูกความทุกข์เสียบอยู่ทั้งทางกาย และทางใจ อุปมา เหมือนผู้ถูกยิงด้วยลูกศร ซึ่งกำซาบด้วยยาพิษแล้ว ญาติมิตรเห็นเข้าเกิดความกรุณา จึงพยายามช่วยถอนลูกศรนั้น แต่บุรุษผู้โง่เขลาบอกว่า ต้องไปสืบให้ได้เสียก่อนว่า ใครเป็นคนยิง และยิงมาจากทิศไหน ลูกศรทำด้วยไม้อะไร แล้วจึงค่อยมาถอนลูกศรออก ภิกษุทั้งหลาย บุรุษนั้น จะต้องตายเสียก่อนเป็นแน่แท้ ความจริงเมื่อถูกยิงแล้ว หน้าที่ของเขาก็ คือ ควรพยายามถอนลูกศรออกเสียทันที ชำระแผลให้สะอาดแล้วใส่ยา และรักษาแผลให้หายสนิท หรืออีกอุปมาหนึ่ง เหมือนบุคคลที่ไฟไหม้อยู่บนหัว ควรรีบดับเสียโดยพลัน ไม่ควรเที่ยววิ่งหาคนผู้เอาไฟมาเผาหัวตน ทั้งๆที่ไฟลุกไหม้อยู่"


"ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าวว่า ความทุกข์ทั้งมวล ย่อมสืบเนื่องมาจากเหตุ ก็อะไรเล่าเป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์นั้น เรากล่าวว่าตัณหาเป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์ ตัณหา คือ ความทะยานอยากดิ้นรน ซึ่งมีลักษณะเป็น ๓ คือ ดิ้นรนอยากได้อารมณ์ที่น่าใคร่น่าปรารถนาเรียกกามตัณหาอย่างหนึ่ง ดิ้นรนอยากเป็นนั่นเป็นนี่ เรียกภวตัณหาอย่างหนึ่ง ดิ้นรนอยากผลักออกสิ่งที่มีอยู่แล้ว เป็นแล้ว เรียกวิภวตัณหาอย่างหนึ่ง นี่แลคือสาเหตุแห่งความทุกข์ขั้นมูลฐาน ภิกษุทั้งหลาย การสลัดทิ้งโดยไม่เหลือ ซึ่งตัณหาประเภทต่างๆ ดับตัณหา คลายตัณหาโดยสิ้นเชิง นั่นแล เราเรียกว่านิโรธ คือ ความดับทุกข์ได้"

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2016, 16:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รู้คุณ เห็นโทษ และเห็นทางออก ของ จักขุ (ตา) โสตะ (หู) ฆานะ (จมูก) ชิวหา (ลิ้น) (กายะ) กาย มโน (ใจ)...

ส่วนหนึ่งของพุทธพจน์เกี่ยวกับอายตนะ


"ภิกษุทั้งหลาย ก่อนสัมโพธิ เมื่อยังเป็นโพธิสัตว์ ผู้ยังไม่ตรัสรู้ เราได้เกิดความดำริขึ้นดังนี้ว่า อะไรเป็นคุณของจักษุ ? อะไรเป็นโทษ (ข้อเสีย) ของจักษุ ? อะไรเป็นทางออก (พ้นอาศัยเป็นอิสระ) แห่งจักษุ ?
อะไรเป็นคุณ....เป็นโทษ...เป็นทางออกแห่งโสตะ...ฆานะ...ชิวหา...กาย...มโน"

"เราได้เกิดความคิดขึ้นดังนี้ สุข โสมนัส ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุ นี่คือคุณของจักษุ ข้อที่จักษุไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา นี่คือโทษของจักษุ การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะ ในเพราะจักษุเสียได้ นี้คือทางออกแห่งจักษุ
(ของโสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มโน ก็เช่นเดียวกัน)

"ตราบใด เรายังมิได้รู้ชัดตามเป็นจริง ซึ่งคุณของอายตนะภายใน ๖ เหล่านี้โดยเป็นคุณ ซึ่งโทษโดยเป็นโทษ ซึ่งทางออกโดยเป็นทางออก ตราบนั้น เราก็ยังไม่ปฏิญญาว่าเราบรรลุแล้ว ซึ่งอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ..."

(ต่อไปตรัสถึงคุณ โทษ ทางออกพ้นแห่งอายตนะภายนอก ๖ ในทำนองเดียวกัน)

"ภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่รู้เห็นจักษุตามที่มันเป็น รู้เห็นรูปทั้งหลายตามที่มันเป็น รู้เห็นจักษุวิญญาณตามที่มันเป็น รู้เห็นจักษุสัมผัสตามที่มันเป็น รู้เห็นเวทนาอันเป็นสุขหรือทุกข์ หรือไม่สุขไม่ทุกข์ ซึ่งเกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ตามที่มันเป็น ย่อมไม่ติดพันในจักษุ ไม่ติดพันในรูปทั้งหลาย ไม่ติดพันในจักขุวิญญาณ ไม่ติดพันในจักขุสัมผัส ไม่ติดพันในเวทนา อันเป็นสุข หรือทุกข์ หรือไม่สุขไม่ทุกข์ ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย

"เมื่อผู้นั้นไม่ติด พัน ไม่หมกมุ่น ไม่ลุ่มหลง รู้เท่าทันเห็นโทษตระหนักอยู่ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ ย่อมถึงความไม่ก่อตัวพอกพูนต่อไป อนึ่ง ตัณหาที่เป็นการก่อภพใหม่ อันประกอบด้วยนันทิราคะ คอยแส่เพลิดเพลินอยู่ในอารมณ์ต่างๆ ก็จะถูกละไปเสียด้วย ความกระวนกระวายทางกายก็ดี ความกระวนกระวายทางใจก็ดี ความเร่าร้อนกายก็ดี ความเร่าร้อนใจก็ดี ความกลัดกลุ้มทางกายก็ดี ความกลัดกลุ้มทางใจก็ดี ย่อมถูกเขาละได้

"ผู้นั้น ย่อมเสวยทั้งความสุขทางกาย ทั้งความสุขทางใจ บุคคลผู้เป็นเช่นนั้นแล้ว มีความเห็นอันใด ความเห็นอันนั้นก็เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความดำริใด ความดำริก็เป็นสัมมาสังกัปปะ มีความพยายามใด ความพยายามนั้นก็เป็นสัมมาวายามะ ส่วนกายกรรม วจีกรรม และอาชีวะของเขา ย่อมบริสุทธิ์มาแต่ต้นทีเดียว ด้วยประการดังนี้ เขาชื่อว่ามีอริยอัฏฐังคิกมรรค อันถึงความเจริญบริบูรณ์
(เกี่ยวกับ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มโน ก็เช่นเดียวกัน)
(ม.อ.12/828/523)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2016, 16:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภาคปฏิบัติฝึกฝนพัฒนาจิต อย่างค่อยเป็นค่อยไป

จักษุเห็น (เห็นหนอๆๆ) หูได้ยินเสียง (เสียงหนอๆๆ) จมูกได้กลิ่น (กลิ่นหนอๆๆๆ) กายะ (ร่างกาย) โยกเยก โอนเอน .... (โยกหนอๆๆ เอนหนอๆๆ) มโน คือ ใจคิดนั่นนี่ (คิดหนอๆๆ) ว่าในใจ ตามที่มันเป็นทุกๆขณะ


รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2016, 17:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ขณะสวดมนต์รู้สึกว่าตัวเบา สบาย เหมือนตอนนั่งสมาธิ ถ้าเป็นแบบนี้ บ่อยๆ จะเหมือนคนที่ติดสุข เหมือนการทำสมาธิไหมคะ


หลังจากกลับจากไปฝึกวิปัสสนากรรมฐาน ได้หนังสือสวดมนต์มา พระอาจารย์แนะนำให้สวดมนต์ที่บ้าน ต่อมาหลังจากสวดมนต์บ่อยๆ วันละ ประมาณ 1 ชั่วโมง (บวก_ลบ) รู้สึกตัวเบา มือ ที่พนมเวลาสวดมนต์ก็เบา บางครั้งก็ขนลุก การที่เราตัวเบาสบาย จะเป็นเหมือนกับที่ มีคำเติอนคนที่นั่งสมาธิ ว่าระวังจะติดสุข หรือเปล่าคะ


รูปภาพ


รู้คุณ เห็นโทษ เห็นทางออก ผู้พูดเช่นนั้น แสดงว่า ยังไม่เห็นทางออกจากปัญหา อย่าได้กลัวติดสุข กลัวทุกข์เลย เพราะทางออกอยู่ที่วิธีกำหนดรู้ตามที่มันเป็นนั่นแล้ว สุข ก็ "สุขหนอๆๆๆ" ว่าในใจอย่างนี้วงจรขาดแล้ว รู้สึกทุกข์ "ทุกข์หนอๆๆ" วงจรขาดแล้ว กำหนดทุกๆครั้งที่รู้สึกสุข รู้สึกทุกข์ นี่แหละคือทางออก

รู้คุณ เห็นโทษยังไม่พอ จะต้องรู้ทางรอด ทางออกด้วย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2016, 18:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตย. (สภาวะนามรูป เมื่อสติสัมปชัญญะเป็นต้น กำลังพัฒนาก็งี้แหละ ไม่แปลก) ได้ยินเสียง กับ ทุกขเวทนา

อ้างคำพูด:
เมื่อถึงเวลาที่ต้องนั่งสมาธิ เกิดปวดขาอย่างมาก แต่ก็ไม่ยอมแพ้ ทนนั่งจนหมดเวลา (ซึ่งเป็นครั้งแรกค่ะเนื่องจากไม่เคยทนได้เลย) ระหว่างที่ปวดมากๆ ก็นึกถึงพระพุทธเจ้าตลอดเวลา และสู้เนื่องจากเคยได้ยินว่า "ไม่เคยมีใครตายจากการนั่งสมาธิ" รวมทั้งประโยคที่ว่า "นิพพานอยู่ฝั่งตาย" (จำไม่ได้ว่าเป็นของหลวงพ่อท่านไหนค่ะ) และคิดว่าตายเป็นตาย แต่จะไม่ลืมตาเปลี่ยนอิริยาบถก่อนหมดเวลาแน่นอน (ใจก็นึกถึงแต่พระพุทธเจ้าตลอดเวลาค่ะ)

เมื่อนาฬิกาดังหมดเวลา เราก็ลืมตาเปลี่ยนอิริยาบถ เพื่อคลายอาการปวดขา แต่เรารู้สึกว่า...ทันทีที่เราลืมตา เราก็ได้ยินเสียงสวดมนต์ดังอยู่ในหู ทั้งๆที่เวลานั้นไม่ได้มีพระสวดมนต์อยู่ใกล้ๆค่ะ

ก่อนหน้านี้....เมื่อครั่งที่เรา ไปปฏิบัติธรรมครั้งแรก และเมื่อกลับมาถึงบ้าน เราก็สวดแผ่เมตตาและอุทิศส่วนกุศลที่บ้าน เราก็ได้ยินเสียงสวดมนต์ดังอยู่ในหูอีกเหมือนกัน ทั้งๆที่ใกล้ๆบ้านก็ไม่มีวัดและไม่มีใครเปิดวิทยุค่ะ (ตอนแรกนึกว่ามีพระสวดทำวัตรเย็นอยู่ใกล้ๆ แต่บ้านก็ไม่ได้อยู่ใกล้วัด )

แล้วก็เคยมีอีกครั้งนึง เราคุยกับแม่ แนะนำแม่เรื่องการไปปฎิบัติธรรม และชวนแม่ให้ไปปฏิบัติธรรมด้วยกัน ก็ได้ยินเสียงสวดมนต์ดังแว่วในหูอีก

เสียงสวดมนต์ที่ได้ยิน 2 ครั้งแรก จะได้ยินเพียงช่วงเวลาสั้นๆไม่ถึง ชม.ค่ะ แต่ครั้งล่าสุดได้ยิน (หลังจากนั่งสมาธิ) ดังนานหลาย ชม. ตั่งแต่ประมาณเกือบ 4 โมงเย็น จนถึงเวลานอนตอน 4 ทุ่มเลยค่ะ

เสียงสวดมนต์ดังกล่าว เป็นเสียงเหมือนพระสวดมนต์ ฟังจับใจความได้เป็นบางคำ แต่ไม่รู้ว่าเป็นบทสวดอะไร

บางครั้งก็จะได้ยินเป็นเสียงดนตรีไทยบรรเลงอยู่ ระหว่างสวดมนต์ และตอนเดินจงกรม ทั้ง ที่วัดและที่บ้าน ถามเพื่อนที่ไปด้วยกันว่าได้ยินไหม เค้าบอกว่าไม่เห็นได้ยินอะไรเลย เราก็เลยไม่กล้าถามเค้าต่อ กลัวเขาว่าเราสติไม่ดี

เลยอยากถามผู้มีความรู้หรือผู้ ที่เคยมีประสบการณ์ว่าเคยมีใครได้ยินเป็นลักษณะนี้บ้างหรือไม่ แล้วเป็นเสียงของใครเหรอคะ หรือว่าเราคิดมากไปเอง



ให้กำหนดรู้ตามที่เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น เป็นต้น

ปวดแข้งปวดขา...ปักจิตตรงที่เจ็บที่ปวด "ปวดหนอๆๆๆๆๆๆ" กำหนดตามนั้น 3-4 คร้้งแล้วแล้วกัน ไปที่กัมมัฏฐานที่ใช้ ใช้ลมเข้า-ออก ใช้อาการท้องพอง-ยุบ อะไรก็ว่าไป

ได้ยินเสียง ให้สติมารับรู้ตรงหู "เสียงหนอๆๆๆ" ว่าตามสภาวะแล้ว แล้วกัน ทำงานอะไรอยู่ ก็ไปสนใจงานที่ทำนั้น ได้ยินอีก "เสียงหนอ" อีก เมื่อสติเป็นต้นไว้ต่อการกำหนดเช่นนั้นๆแล้ว เสียงจะหายไปเอง ถ้าไม่กำหนดตามนั้น มันจะยึดเรื้อรัง อุปาทานจะเกิด

ทั้งหลายทั้งปวงเป็นสภาวะทุกข์ของสังขาร

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2016, 20:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ... สัตว์โลก เมื่อเกิดมา ก็นำทุกข์ประจำสังขารติดมาด้วย ตราบใดที่เขา ยังไม่สลัดความพอใจในสังขารออก ความทุกข์ก็ย่อมติดตามไปเสมอเหมือนโคที่ยังมีแอกเกวียนครอบคออยู่ ล้อเกวียน ย่อมติดตามไปทุกฝีก้าว"


"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความทุกข์ทั้งมวลมีมูลรากมาจากตัณหา อุปาทาน ความทะยานอยากดิ้นรน และความยึดมั่นเป็นเราเป็นของเรา รวมถึงความเพลินในอารมณ์ต่างๆ สิ่งที่เข้าไปเกาะเกี่ยวยึดถือไว้โดยความเป็นตน เป็นของตนที่จะไม่ก่อทุกข์ก่อโทษให้นั้นเป็นไม่มี หาไม่ได้ในโลกนี้ เมื่อใด บุคคลมาเห็นสักแต่ว่าเห็น ฟังสักแต่ว่าได้ฟัง รู้สึกสักแต่ว่าได้รู้ เข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ เพียงสักว่าๆ ไม่หลงใหลพัวพันมัวเมา เมื่อนั้น จิตก็จะว่างจากความยึดถือต่างๆ ปลอดโปร่งแจ่มใสเบิกบานอยู่"


"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความทุกข์เป็นความจริงประการหนึ่งที่ชีวิตทุกชีวิตจะต้องประสบไม่มากก็น้อย ความทุกข์ที่กล่าวนี้ มีอะไรบ้าง ภิกษุ ทั้งหลาย ความเกิดเป็นความทุกข์ ความแก่ ความเจ็บ ความตายก็เป็นทุกข์ ความแห้งใจ หรือความโศก ความพิไรรำพันจนน้ำตานองหน้า ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ ความพลัดพรากจากบุคคลหรือสิ่งของอันเป็นที่รัก ความต้องประสบกับบุคคลหรือสิ่งของอัน ไม่เป็นที่รัก ปรารถนาอะไร มิได้ดังใจหมาย ทั้งหมดนี้ ล้วนเป็นความทุกข์ ที่บุคคลต้องประสบทั้งสิ้น เมื่อกล่าวโดยสรุป การยึดมั่นในขันธ์ ๕ ด้วยตัณหาอุปาทานนั่นเอง เป็นความทุกข์อันยิ่งใหญ่"

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2016, 20:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้เป็นสิ่งที่ดิ้นรนกวัดแกว่ง รักษายาก ห้ามได้ยาก ผู้มีปัญญาพึงพยายามทำจิตนี้ให้หายดิ้นรนให้เป็นจิตตรงเหมือนช่างศรดัดลูกศร ให้ตรงฉะนั้น ภิกษุทั้งหลาย จิตนี้คอยแต่จะกลิ้งเกลือกลงไปคลุกเคล้ากับกามคุณ เหมือนปลาซึ่งเกิดในน้ำ ถูกนายพรานเบ็ดยกขึ้นจากน้ำแล้ว คอยแต่จะดิ้นรนไปในน้ำอยู่เสมอ ผู้มีปัญญาพึงพยายามยกจิตขึ้นจากการอาลัยในกามคุณ ให้ละบ่วงมารเสีย"

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติของจิตเป็นสิ่งดิ้นรนกลับกลอกง่าย บางคราวปรากฏเหมือนช้างตกมัน ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเอาสติเป็นขอสำหรับเหนี่ยวรั้งช้างคือจิตที่ดิ้นรนนี้ให้อยู่ในอำนาจ บุคคลผู้มีอำนาจมากที่สุด และควรแก่การสรรเสริญนั้น คือ ผู้ที่สามารถเอาตนของตนเองไว้ในอำนาจได้ สามารถชนะตนเองได้ ผู้ชนะตนเองได้ชื่อว่าเป็นยอดนักรบในสงคราม”

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2016, 20:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรรม (การกระทำ) ทางกาย (กายกรรม) ทางวาจา (วจีกรรม) ทางใจ (มโนกรรม) ที่คนเราเคยทำไว้ ครั้งใดครั้งหนึ่งในชีวิตนี้ ผลแห่งกรรมนั่นจะตกตะกอนนอนนิ่งเป็นอนุสัยอยู่ภายใน ยามปรกติเหมือนไม่มีอะไร ครั้นเมื่อคนเราต้องการใช้จิตที่ประณีตๆ มันจะผุดขึ้นขัดขวางจนเสียงาน

มองข้ามช้อตไป คือ เมื่อคนเราใกล้ดับจิต (ใกล้จะตาย) ภาพทั้งดีไม่ดีที่คนเราสั่งสมไว้ๆ จะผุดเป็นภาพทางใจ จิตก็จับภาพนั่น ถ้าเป็นภาพบุญกุศลก็ชักพาไปสู่สุคติ ถ้าภาพที่ทำให้จิตใจเศร้าหมองก็ชักนำไปสู่ทุคติ


ตัวอย่าง


อ้างคำพูด:
คือ เวลาผมนั่งสมาธิ พอภาวนาไปซักพัก เริ่มตัดภาวนาแล้ว ทีนี้ก็จะเกิดอาการ ขนลุกเย็นทั้งตัว แล้วหลังจากนั้น ก็จะมีภาพ คน สัตว์ แมลง ที่เราเคยทำร้าย เคยทำให้เค้าตาย หรือเจ็บลอยมาให้เห็น คือ แปลกใจว่า บางเรื่องเป็นเรื่องที่นานมาก บางเรื่องเป็นเรื่องสมัยเด็กๆอยู่ด้วยซ้ำ ซึ่งบางทีนึกถึงยังนึกไม่ออกเลย เพราะนานมาก แต่พอมานั่งสมาธิ ก็ลอยมาให้เห็นเฉยเลย


(ภาคปฏิบัติ กำหนดรู้ เห็นหนอๆๆๆ)

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย....สิ่งที่บุคคลทำด้วยกาย วาจา หรือด้วยใจนั่นแหละที่เป็นของเขา เป็นสิ่งที่เขาต้องนำไปเหมือนเงาตามตัว เพราะฉะนั้น ผู้ฉลาดพึงสั่งสมกัลยาณกรรมอันจะนำติดตัวไปสู่สัมปรายภพได้ บุญย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า"

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 84 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร