วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 23:49  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.พ. 2016, 09:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ
วัดอรัญญบรรพต
อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย



พึงพากันตั้งใจ
ทำใจของเราให้หนักแน่นลงไป อย่าให้ใจมันอ่อนแอท้อแท้

การที่เรามาประชุมร่วมกันในศาลาการเปรียญนี้
ก็เพื่อมาฝึก “ตั้งใจ” นั่นแหละ ไม่ใช่อย่างอื่นใด
ถ้าอยู่ตามลำพังแล้วมันไม่ค่อยได้ตั้งใจกัน
มักจะปล่อยใจให้เพลินให้เมาไป ไม่ค่อยจะสำรวมจิตตัวเอง
ดังนั้นเมื่อมาสู่ที่ประชุมแล้วอย่างนี้ยังปล่อยใจให้เพลินอยู่
มันก็ใช้ไม่ได้เลย มันต้องสำรวมจิตของตนเข้าไปให้มันแน่วแน่ลง
เมื่อผู้ใดทำใจให้สงบลงได้ในขณะฟังธรรมะอยู่
มันก็ให้ได้รับความสบายใจไป นั่นแหละไม่วุ่นวายเดือดร้อน
บาดนิแล้วก็จำอุบายธรรมะที่ท่านแสดงไปให้ได้
ไม่ได้มากก็ให้ได้น้อย เมื่อจำอุบายนั้นได้แล้วไปอยู่ลำพัง
ก็น้อมอุบายนั้นล่ะมาสอนใจตัวเองให้ใจของตน

มันเป็นศีลเป็นธรรมลงไป อย่าให้ใจมันไปเกลือกกลั้วกับกิเลสตัณหา

“ใจเป็นธรรม คือ ใจเป็นกลาง” ไม่ยินดีกับสิ่งใด
และก็ไม่ยินร้ายกับสิ่งใด ตั้งใจเป็นกลางต่อสิ่งทั้งปวง
อันนี้ล่ะจึงเรียกว่า “ใจเป็นธรรม”
จุดประสงค์การปฏิบัติในพระพุทธศาสนานี้
ก็เพื่อที่จะให้ใจมันเป็นกลางนี่แหละ ความจริงนะ


การที่บุคคลได้รับความเดือดเนื้อร้อนใจอยู่ในโลกอันนี้
ก็เพราะว่า ทำจิตให้เป็นกลางไม่ได้เลย
เป็นได้ก็ชั่วขณะหนึ่งเท่านั้นเอง สักหน่อยก็เอียงไปข้างรักบ้าง
เอียงไปข้างชังบ้าง ข้างโกรธบ้าง เอียงไปข้างเสียใจเศร้าโศกบ้าง หมู่นี้
ถ้าว่าใครสามารถทำใจให้เป็นกลางได้อย่างนี้
ผู้นั้นก็ย่อมเป็นผู้มั่นคงในพุทธศาสนานี้
หมายความว่า ไม่เสื่อมจากพุทธศาสนานี้ จะเป็นคฤหัสถ์ก็ตาม
เป็นนักบวชก็ตามก็จะทรงไว้ซึ่งคำสอนของพระพุทธเจ้าได้


ก็เมื่อใจเป็นกลางแล้วอย่างนี้
มันก็ไม่คิดไปในทางบาปอกุศลนี้นะ จึงเรียกว่า ใจเป็นกลาง
แล้วก็ไม่คิดเพลินไปด้วยอำนาจแห่งความรักความใคร่ต่างๆ
แล้วก็ไม่หมกมุ่นอยู่ในความเกลียดชังซึ่งกันและกัน หมู่นี้นะ
เมื่อทำใจเป็นกลางแล้วมันไม่มีกิริยาอาการของจิต
ที่จะเอียงไปข้างโน้นข้างนี้ ไม่มี นี่เพราะฉะนั้นผู้ปฏิบัติธรรมน่ะ
ก็จงพากันตั้งอกตั้งใจสำรวมจิตใจของตนเสมอไป
พยายามทำใจให้เป็นกลางให้ได้


ถึงจะไม่ได้สม่ำเสมอไป แต่ก็ให้มันได้เป็นครั้งเป็นคราวก็ยังดี
ดีกว่ามันทำให้เป็นกลางไม่ได้เสียเลย
อันนั้นนับว่ามันผิดไปจากทำนองคลองธรรม
เรียกว่าเป็นผู้ตั้งใจไว้ผิด ตั้งใจไม่ถูก



:b44: :b44:


ส่วนหนึ่งจากพระธรรมเทศนาหัวข้อ
“สอนให้รู้จักทำใจให้เป็นกลาง”



:: ประวัติ ปฏิปทาและคำสอน “หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=43689

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 33 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร