วันเวลาปัจจุบัน 16 เม.ย. 2024, 22:23  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 41 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2016, 12:22 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2016, 11:37
โพสต์: 18

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โลกแห่งการสมมุติบัญญัติ

ทุกวันนี้เรา แหวกว่ายอยู่ในทะเลแห่งสมมุติ ตลอดเวลา โดยไม่สังเกตุ
ทำให้เรา สะสม สัญญาวิปลาส และทิฐิวิปลาส
เราจึงไม่ได้เห็น สภาวะที่แท้จริงของธรรมชาติแท้จริงที่เกิดขึ้นรอบตัว

เริ่มที่ตัวอย่าง ง่ายๆ ก่อนกำปั้นของเราคือ นิ้วมือทั้ง5 รวมกัน
จึงเรียกว่ากำปั้น กำปั้น จริงๆไม่มี
เราสมมุติ บัญญัติคำขึ้นมาว่า "กำปั้น "เราหลงว่ากำปั้นมีจริงๆ
แต่กำปั้นนั้นเกิดจากการรวมตัวของนิ้วมือทั้งห้าด้วยกัน

คน ก็เกิดจาก ขันธ์ทั้ง5 มารวมกันทำงานร่วมกัน
มีทั้งรูปและนาม จึงสมมุติว่าเป็นคน จริงๆแล้ว คนไม่มี หญิง ชาย ไม่มี มีเพียงแค่ขันธ์5
เราสมมุติขึ้นมาว่าเป็นคน

รถยนต์ ประกอบด้วย อาหลั่ย ต่างๆมารวมกัน มี ล้อ มีเครื่อง พวงมาลัย
ตัวถัง. และอื่นๆ มากมายมา ประกอบกันสัมปะยุตกัน ทำงานร่วมกัน จึงวิ่งได้
จริงๆแล้วรถยนต์ไม่มี เราสมมุติขึ้นมาอาหลั่ย ส่วนตรงไหนที่เรียกว่า รถบ้างไม่มีเลย ใช่ไหม
รถยนต์คือการรวมตัวของชิ้นส่วนอาหลั่ย

ธนบัตร แบงค์ใบละ 100 -500-1000 บาท ล้วนถูกสมมุติขึ้นมา ให้มีค่าราคา เท่านั้นเท่านี้
เราต่าง ยื้อแย่ง เงินกัน เอาเป็นเอาตาย เป็นจริงจัง เพื่อสิ่งที่เราสมมุติขึ้นมาเองแท้ๆ
ลืมไปว่า ตอนตาย เอาไปใช้ หรือเอาติดตัวไม่ได้เลย
ถ้าเอาแบงค์ร้อยบาท ไปให้คนป่า แอฟริกาที่ไม่รู้จักเขาคงเอาไป ทำเชื้อเผาไฟ
ไม่ได้รู้จักสมมุติของคนเมือง

สิ่งที่เราจะเอาติดตัวไปได้ คือ อริยะทรัพย์
โภคทรัพย์เอาไปด้วยไม่ได้เลยเราควรสะสม อริยะทรัพย์ไว้ให้มากๆ
ด้วยการให้ทาน รักษาศีล ภาวนา

เราต่างไม่ได้มอง สิ่งรอบตัวด้วยความเป็นจริง
จึงหลงมัวเมาอยู่กับสิ่งที่เราสมมุติขึ้นมา
เสียเวลาของชีวิตเพื่อหาทรัพย์
ที่เป็นเพียงสมมุติ มีแต่ความว่างเปล่า
มีแต่ก่อกรรมทำชั่ว เพื่อได้สิ่งสมมุติ ชั่วคราว
เอามาครอบครองแต่สุดท้าย
ก็สะสมเอาแต่บาปกรรมมากมาย
ข้ามภพชาติไปด้วยความไม่รู้เท่าทัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2016, 12:26 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2016, 11:37
โพสต์: 18

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)

พระพุทธเจ้า ทรงตรัสรู้ แสดงให้เราเห็น
สิ่งที่เป็นความจริงแท้ เรียกว่าปรมัตถธรรม

เย็น อ่อน ร้อน แข็ง ตึง ไหว
คือสภาวะของปรมัตถธรรม
ซึ่ง ทั้งคนและสัตว์ สามารถรู้ได้
ไม่ต้องมีภาษา แต่รู้ว่าร้อน เย็น
เหมือนกันทุกคน

สภาพธรรม ที่รู้ สีทางตา
สภาพธรรม ที่รู้ เสียงทางหู
สภาพธรรม ที่รู้ กลิ่นทางจมูกเป็นต้น
สภาพธรรม ที่รู้รับสัมผัสทางกาย
พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติสภาพรู้ต่างๆว่า จิต

ตาของเรา รู้แค่สี เท่านั้น
หูของเรารู้แค่เสียงเท่านั้น
แต่ใจเราเอาไป สมมุติขึ้นมา ว่าสิ่งนี้มีจริง
แล้วก็ยึดติดสมมุติ ของตัวเอง จนมัวเมา

สมมุติว่า เราเห็น คนกำลังเดินมา
ตาเราเห็นเป็นเพียง สี หลายสี รวมกัน
เคลื่อนไหวเข้ามาเท่านั้นตาเรา ไม่รู้ว่าเป็น วัตถุอะไร
เพราะเห็นแค่ (สี) อารมณ์ ของปรมัตถธรรม
แต่สัญญา เจตสิกที่เกิดร่วมกับมโนจิต
ทำงานค้นหาฐานข้อมูลอย่างรวดเร็ว
แล้วก็ แสดงผลออกมา ว่าเป็นวัตถุอะไร
ข้อมูลของสัญญาที่ถ่ายทอดมา
เป็นความจำก่อนๆ เป็นสมมุติบัญญัติ
ที่เราเรียนรู้และทรงจำไว้

เจตสิก คือตัวรู้อารมณ์ ที่เกิดร่วมกับจิต
ดับพร้อมจิต ตัวนี้เป็นตัวกำหนดลักษณะกิจว่า
เป็นจิตประเภทใด ที่เราฝึกฝนกันทุกวันนี้
คือตัวเจตสิกมโนจิต คือ จิตที่เกิดต่อจาก
ทวารทั้ง5 รับรู้อารมณ์ ได้ทุกอารมณ์

ทีนี้ เราต้องฝึกแยก บัญญัติ กับปรมัตถธรรม
ออกจากกันเสมอๆจะทำให้เราละคาย
ความยึดถือจาก อารมณ์ต่างๆและรูปวัตถุลงได้
ทำให้ละคลายกิเลสลงได้บ้าง

พระพุทธรูป เป็นสมมุติบัญญัติไหม?
เรากราบไหว้พระคุณของพระพุทธเจ้า
ไม่ได้กราบพระอิฐพระปูน แต่เรากราบ
ที่คุณธรรมของท่าน

หนังสือพิมพ์เป็นสมมุติไหม?

พูดถึงหนังสือพิมพ์ มีแต่ตัวหนังสือ
เป็นเพียงสีขาว กับสีดำ
แต่เวลาเราได้อ่านแล้ว ทำไมทำให้เราหัวเราะ
หรือร้องไห้ได้ จากการเห็น สีขาว และสีดำเท่านั้น
เพราะเราแปลเอาอารมณ์สมมุติ
จากตัวหนังสือ มาหลอกตัวเราว่าเป็นจริงจัง
ลืมคิดไปว่า มันเป็นแค่สีขาวและสีดำ

การที่เราเข้าไปในโรงหนัง ดูภาพยนต์
ซึ่งมีภาพวิ่งไปด้วยความเร็วอย่างสม่ำเสมอ
ทำให้เราหลงคิดตามไปว่า
ภาพนั้นเคลื่อนไหวได้จริง
และนักแสดงนั้นเป็นคนจริงๆ มิใช่รูปภาพนิ่ง

เราคล้อยตามไปในอารมณ์ของภาพ
และเสียงเสมือนหนึ่งว่าเหตุการณ์นั้น
เกิดขึ้นจริงๆไปชั่วขณะ หัวเราะ ร้องไห้
เสียใจ โกรธแค้น ไปตามเนื้อเรื่อง
แต่พอ หนังจบ หยุดฉายภาพ
เราก็ได้สติ ว่าการที่เราเข้าไปในโรงหนัง
ดูภาพยนต์ ซึ่งมีภาพนิ่งวิ่งไปด้วยความเร็วอย่างสม่ำเสมอ
ทำให้เราลืมคิดไปว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งลวงที่เกิดขึ้นเป็นมายา
หลอกจิตเราให้คล้อยตามไปในเรื่องราวของภาพยนต์
ที่สมมุติขึ้นมา

จิตเรานั้นช่าง เหมือนเด็กๆ
ให้อารมณ์ทางตา ทางหูนั้น
มาหลอกเราให้หลงไหลไปคิดว่าเป็น
ความจริง ครั้งแล้วครั้งเล่า ไม่รู้จักจดจำ
เพราะเราขาดสตินั่นเอง

อุปมา ภาพยนต์นั้นเหมือนกับชีวิตของ
พวกเราทั้งหลาย ที่ดำเนินไปเป็นประจำวัน
ตอนที่เราตายก็เหมือนตอนหนังจบ
คือเราโดนหลอกลวง มาตลอดชีวิต
เราจะมีสติเสียตอนนี้เลยได้ไหม
ว่าชีวิตเราเป็นของหลอกลวง ว่างเปล่า
อย่าเสียเวลากับสิ่งที่ว่างเปล่า
มาสะสมสิ่งที่เป็นทรัพย์ที่ถาวรกันเถิดครับ
สิ่งนั้นคือ "อริยะทรัพย์"

ผิดพลาดขออภัยด้วยครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.พ. 2016, 06:12 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


คิดจะออกจากโลกจากวัฏฏสงสาร...

นับว่าดี...ไม่เสียชาติเกิด...ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.พ. 2016, 07:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ทุกอย่างในโลกนี้มีจริงแต่ก็เป็นของไม่เที่ยง ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
บางอย่างมีจริงแต่ก็เป็นของเที่ยง ได้แก่ พระนิพพาน
บางอย่างไม่มีจริงแต่เป็นของเที่ยง ได้แก่ บัญญัติ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.พ. 2016, 11:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


เห็นว่า คุณสนใจศึกษาพระอภิธรรมอย่างละเอียด ขอเพิ่มเติมในชั้นคัมภีร์สักนิดนะคะ
ส่วนอื่นก็พยายามต่อไปค่ะ ถ้าฝึกคิดออกมาบ่อยๆ ย่อมดีค่ะ แต่ต้องคิดให้เข้ากรอบขององค์ธรรมไว้
อะไรที่ไม่ควรไปฟันธงว่าแน่นอน ก็ค้างไว้เฉยๆ ดีกว่า อย่าไปฟันธงว่าแค่ เท่านั้น
เพราะชั้นปริจเฉท บอกแค่จุดสำคัญจุดเดียว และก็ไม่ได้ฟันธงไว้ในหลักสูตรว่า เท่านั้น

เช่นข้อความส่วนหนึ่งที่คุณเขียนไว้ว่า
ตาของเรา รู้แค่สี เท่านั้น
หูของเรารู้แค่เสียงเท่านั้น
แต่ใจเราเอาไป สมมุติขึ้นมา ว่าสิ่งนี้มีจริง
แล้วก็ยึดติดสมมุติ ของตัวเอง จนมัวเมา

ถ้าคำว่าตาของคุณหมายถึง จกฺขายตนํ คือจักขุปสาท ทำหน้าที่เป็นทวารหรือประตู ในส่วนของร่างกายส่วนนี้จะมีจอรับภาพแล้วมีสายส่งไปที่สมองในส่วนที่รู้ภาพ การเห็นนั้นจิตเจตสิกทำหน้าที่ทัสสนะ คือเห็นรูปารมณ์คือสีต่างๆ และก็ยังเห็นรูปร่างสัณฐานด้วย เห็นรูปารมณ์ก็ไม่ได้แค่สีต่างๆเท่านั้น แต่ยังรวมเอารูปร่างสัณฐานพ่วงเข้ามาด้วยค่ะ

แต่ถ้า ตาหมายถึง จกฺขุ จักขุจะมีสภาวธรรมมากกว่า จกฺขายตนํ คือจักขุปสาท
จกฺขายตนํ เป็นส่วนหนึ่งของ จกฺขุ
ดังนั้น จกฺขุ ตาไม่ได้มีแค่จักขุปสาทอย่างเดียว
ถ้าตัดคำว่าแค่และเท่านั้นออกไป จะไม่เป็นอะไร เพราะว่าก็ใช่
แต่ถ้าบอกว่าแค่เท่านั้น จริงๆ ตา หรือ จกฺขุ ไม่ได้มีสภาวธรรมได้แค่นั้นค่ะ
ในอายตนะอื่นๆ บางอายตนะก็คล้ายแบบที่กล่าวมานี้ค่ะ

ฟังสมมุติสัจจะ (ใช้คู่กับบัญญัติ) และสภาวสัจจะ .....ฟังนาทีที่ 2.37.40
https://www.youtube.com/watch?v=W_ba69p3Th8

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.พ. 2016, 17:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5091


 ข้อมูลส่วนตัว


สิ่งสมมุติทั้งหลายไม่ว่าจะเป็น บุคคลชื่อนั้นชื่อนี้ล้วนแต่เป็นสิ่งสมมุติทั้งสิ้น เมื่อเรายึดติดว่านี่แฟนเรา นี้รถของรถ นี่บ้านของเรา นี่ตำแหน่งเรา เมื่อยึดตามหลักโลกธรรม 8 แล้ว เมื่อสิ่งเหล่านั้นจากไปก็เป็นทุกข์ นี่แหละสิ่งสมมุติบัญญัติ เราไม่ควรที่จะไปยึดติด แต่การที่จะละสิ่งยึดติดเหล่านี้ได้มีทางเดียวเท่านั้นคือการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน กำหนดรู้รูปนาม ขออนุโมทนาบุญด้วยครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.พ. 2016, 18:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


natipakorn เขียน:

ผิดพลาดขออภัยด้วยครับ


จขกทพูดธรรมผิดอย่างแรงครับ
ดูก็รู้ว่ายังขาดความเข้าใจแม้ธรรมเบื้องต้นครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.พ. 2016, 18:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนเรื่องลักษณะของธรรมะ
ธรรมะก็คือธรรมชาติ ลักษณะของธรรมะก็คือลักษณะของธรรมชาติที่เป็นจริง

ลักษณะของธรรมชาติที่เป็นจริงมีสองอย่างก็คือ......สมมติสัจจะและปรมัตถสัจจะ
เหตุนี้จขกททำความเข้าใจกับคำว่า สมมติเสียใหม่นะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.พ. 2016, 20:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนเรื่องลักษณะของธรรมะ
ธรรมะก็คือธรรมชาติ ลักษณะของธรรมะก็คือลักษณะของธรรมชาติที่เป็นจริง

ลักษณะของธรรมชาติที่เป็นจริงมีสองอย่างก็คือ......สมมติสัจจะและปรมัตถสัจจะ
เหตุนี้จขกททำความเข้าใจกับคำว่า สมมติเสียใหม่นะครับ


ก็บอกเขาไปซี่ "สมมุติ" บอกให้เขาเข้าใจ ยกตัวอย่างด้วย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2016, 04:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
โฮฮับ เขียน:
พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนเรื่องลักษณะของธรรมะ
ธรรมะก็คือธรรมชาติ ลักษณะของธรรมะก็คือลักษณะของธรรมชาติที่เป็นจริง

ลักษณะของธรรมชาติที่เป็นจริงมีสองอย่างก็คือ......สมมติสัจจะและปรมัตถสัจจะ
เหตุนี้จขกททำความเข้าใจกับคำว่า สมมติเสียใหม่นะครับ


ก็บอกเขาไปซี่ "สมมุติ" บอกให้เขาเข้าใจ ยกตัวอย่างด้วย



ด้วยความเป็นธรรมชาติของการมีชีวิต(กายใจ)ของเรา มันมีธรรมชาติที่ล้อมรอบตัวเรา(กายใจ)อยู่
เรียกโดยรวมว่า .....สมมติสัจจะ หรือที่จขกทเอาไปเรียกว่าสมมตินั้นแหล่ะ
มันมีอยู่จริง สามารถสัมผัสได้ด้วยทวารหรือปสาทรับรู้

ในโลกนี้ถ้ามีสิ่งที่เกิดขึ้นก็นับว่ามีอยู่จริง เพียงแต่เราจะรู้ถึงลักษณะสภาพธรรมที่เป็นจริงของมันหรือไม่
ตัวอย่างที่เห็นก็คือตัวจขกท ที่ไม่รู้และไม่เข้าใจถึงสภาพธรรมที่เป็นจริง พูดให้ชัดก็คือ
เอาสภาพธรรมอย่างหนึ่งมาพูดเป็นอีกอย่างหนึ่งทำให้มันผิดเพี้ยน
แล้วใส่ความเห็นลงไปว่า ไม่มีอยู่จริง ไอ้ที่ไม่มีอยู่จริงคือความคิดเห็นแบบจขกทครับ

เรื่องจริงหรือไม่จริง ต้องเป็นการเปรียบเทียบธรรมสองอย่าง ยกตัวอย่าง
มีสัตว์สองตัว ตัวหนึ่งเป็นม้า อีกตัวเป็นลา ให้จขกทชี้ว่าตัวไหนเป็นม้า
จขกทชี้ไปที่ลา ลักษณะเช่นนี้เรียกว่า...ผิด


ในกรณีกระทู้ก็เช่นกัน สมมติก็คือวัตถุธรรมายนอกที่เราไปรับรู้เข้า
เมื่อรับรู้แล้วมันจึงเปลี่ยนเป็นปรมัตถ์(อารมณ์) แต่เรายังเข้าใจว่ามันเป็นวัตถุธรรมหรือสมมตินั้นอยู่
นี่คือการมองเห็นธรรมที่ผิดจากความเป็นจริง

ส่วนบัญญัติ ไม่เกี่ยวกับสภาพธรรมมันเป็นเพียงชื่อหรือพยัญชนะ มีไว้เพื่อสื่อสารกัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2016, 07:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:
โฮฮับ เขียน:
พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนเรื่องลักษณะของธรรมะ
ธรรมะก็คือธรรมชาติ ลักษณะของธรรมะก็คือลักษณะของธรรมชาติที่เป็นจริง

ลักษณะของธรรมชาติที่เป็นจริงมีสองอย่างก็คือ......สมมติสัจจะและปรมัตถสัจจะ
เหตุนี้จขกททำความเข้าใจกับคำว่า สมมติเสียใหม่นะครับ


ก็บอกเขาไปซี่ "สมมุติ" บอกให้เขาเข้าใจ ยกตัวอย่างด้วย



ด้วยความเป็นธรรมชาติของการมีชีวิต(กายใจ)ของเรา มันมีธรรมชาติที่ล้อมรอบตัวเรา(กายใจ)อยู่
เรียกโดยรวมว่า .....สมมติสัจจะ หรือที่จขกทเอาไปเรียกว่าสมมตินั้นแหล่ะ
มันมีอยู่จริง สามารถสัมผัสได้ด้วยทวารหรือปสาทรับรู้

ในโลกนี้ถ้ามีสิ่งที่เกิดขึ้นก็นับว่ามีอยู่จริง เพียงแต่เราจะรู้ถึงลักษณะสภาพธรรมที่เป็นจริงของมันหรือไม่
ตัวอย่างที่เห็นก็คือตัวจขกท ที่ไม่รู้และไม่เข้าใจถึงสภาพธรรมที่เป็นจริง พูดให้ชัดก็คือ
เอาสภาพธรรมอย่างหนึ่งมาพูดเป็นอีกอย่างหนึ่งทำให้มันผิดเพี้ยน
แล้วใส่ความเห็นลงไปว่า ไม่มีอยู่จริง ไอ้ที่ไม่มีอยู่จริงคือความคิดเห็นแบบจขกทครับ

เรื่องจริงหรือไม่จริง ต้องเป็นการเปรียบเทียบธรรมสองอย่าง ยกตัวอย่าง
มีสัตว์สองตัว ตัวหนึ่งเป็นม้า อีกตัวเป็นลา ให้จขกทชี้ว่าตัวไหนเป็นม้า
จขกทชี้ไปที่ลา ลักษณะเช่นนี้เรียกว่า...ผิด


ในกรณีกระทู้ก็เช่นกัน สมมติก็คือวัตถุธรรมายนอกที่เราไปรับรู้เข้า
เมื่อรับรู้แล้วมันจึงเปลี่ยนเป็นปรมัตถ์(อารมณ์) แต่เรายังเข้าใจว่ามันเป็นวัตถุธรรมหรือสมมตินั้นอยู่
นี่คือการมองเห็นธรรมที่ผิดจากความเป็นจริง

ส่วนบัญญัติ ไม่เกี่ยวกับสภาพธรรมมันเป็นเพียงชื่อหรือพยัญชนะ มีไว้เพื่อสื่อสารกัน



พูดเหมือนทอดแหกลางทุ่ง ยิ่งพูดยิ่งไม่เข้าใจ

ถามสั้นๆ ที่เรียกว่า "โฮฮับ" โฮฮับ แยกระหว่างสมมุติกับปรมัตถ์ออกจากกันสิเอ้า ไหนสมมุติไหนปรมัตถ์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2016, 09:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
พูดเหมือนทอดแหกลางทุ่ง ยิ่งพูดยิ่งไม่เข้าใจ

ถามสั้นๆ ที่เรียกว่า "โฮฮับ" โฮฮับ แยกระหว่างสมมุติกับปรมัตถ์ออกจากกันสิเอ้า ไหนสมมุติไหนปรมัตถ์


ไม่ต้องบอกก็รู้ เท่าที่จำได้เคยสอนเรื่องนี้ให้กรัชกายฟังไปแล้ว

แล้ว ตัวหนังสือหรือพยัญชนะไทยที่เขียนว่า โ...ฮ....ฮ...ั..บ นี้เรียกว่า บัญญัติ
ร่างกายของนายโฮฮับ เรียกว่า กายใจ

สิ่งที่นายโฮฮับ เห็น ได้ยิน รู้รส ได้กลิ่น สัมผัส.....เรียกว่า สมมติ
อารมณ์ที่เกิดขึ้นภายในกายใจของนายโฮฮับเรียกว่า ปรมัตถ์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2016, 12:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:
พูดเหมือนทอดแหกลางทุ่ง ยิ่งพูดยิ่งไม่เข้าใจ

ถามสั้นๆ ที่เรียกว่า "โฮฮับ" โฮฮับ แยกระหว่างสมมุติกับปรมัตถ์ออกจากกันสิเอ้า ไหนสมมุติไหนปรมัตถ์


ไม่ต้องบอกก็รู้ เท่าที่จำได้เคยสอนเรื่องนี้ให้กรัชกายฟังไปแล้ว

แล้ว ตัวหนังสือหรือพยัญชนะไทยที่เขียนว่า โ...ฮ....ฮ...ั..บ นี้เรียกว่า บัญญัติ
ร่างกายของนายโฮฮับ เรียกว่า กายใจ

สิ่งที่นายโฮฮับ เห็น ได้ยิน รู้รส ได้กลิ่น สัมผัส.....เรียกว่า สมมติ
อารมณ์ที่เกิดขึ้นภายในกายใจของนายโฮฮับเรียกว่า ปรมัตถ์



อ้างคำพูด:
ร่างกาย ของนายโฮฮับ เรียกว่า กายใจ


นี่ก็มุมมองเราต่างกัน ต่างกันมากด้วย

ร่างกาย เท่ากับกายเท่านั้น เป็นส่วน รูป เรียกเต็มว่า รูปธรรม

ส่วนใจ (หรือจิต) เป็นส่วนนาม เรียกเต็มว่า นามธรรม

เท่ากับรูปธรรมนามธรรม นี่แหละคือ ปรมัตถ์ หรือปรมัตถธรรม


ที่ออกมา (คลอด-เกิดมา) เรียกว่า รูปกับนาม (รูปธรรม นามธรรม) นี่ปรมัตถ์


แล้วต่อมาสังคมที่อาศัยอยู่ร่วมกัน ก็มาสมมุติบัญญัติ (ตั้งชื่อปรมัตถ์ เพื่อสื่อสารกันเข้าใจ) ปรมัตถ์นั่น ว่า ดช. เอ ดญ.บี นาย เอ นางสาว บี นายกรัชกาย นายโฮฮับ เป็นต้น

ตามนั้น จะเห็นว่า สมมุติบัญญัติซ้อนอยู่บนปรมัตถ์นั่นเอง

ทีนี้ปัญหาเกิด เพราะคนไปยึดติดสมมุติบัญญัติ มองไม่ทะลุถึงปรมัตถ์

อ้างคำพูด:
สิ่งที่นายโฮฮับ เห็น ได้ยิน รู้รส ได้กลิ่น สัมผัส.....เรียกว่า สมมติ
อารมณ์ที่เกิดขึ้นภายในกายใจของนายโฮฮับเรียกว่า ปรมัตถ์



น่ีมุมมองเราก็ต่างกัน

[u]นายโฮฮับ เป็นชื่อที่สมมุติขึ้นบัญญัติขึ้น สำหรับสื่อสารกันในโลก (ทวนข้างบนอีกครั้ง)


ตย.

ตา+รูป+จักขุวิญญาณ

หู+เสียง+โสตวิญญาณ

ฯลฯ

ใจ+ธรรมารมณ์ (สิ่งที่เกิดในใจ) +มโนวิญญาณ

นี่ปรมัตถ์ (ปรมัตถธรรม) ล้วนๆ

แต่เมื่อไรมีนายโฮฮับ มีนายกรัชกาย เป็นต้น เห็นนั่นเห็นนี่ ได้ยินเสียงนั่นเสียงนี่ เป็นต้น เป็นสมมุติ ไม่ใช่ปรมัตถ์

เพราะอะไร ? เพราะนายโฮฮับ นายกรัชกาย เป็นเพียงสมมุติขึ้นบัญญัติขึ้นทีหลัง (คิดสิคิด)

ท่านจึงสอนว่า เห็นก็แค่เห็น ได้ยินก็แค่ได้ยิน ได้กลิ่นก็แค่ได้กลิ่น ฯลฯ ไม่ใช่นายโฮฮับ นายกรัชกาย เห็นรถ เห็นเรือ เป็นต้น

พอเข้าใจมั้ย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2016, 14:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ร่างกาย ของนายโฮฮับ เรียกว่า กายใจ
นี่ก็มุมมองเราต่างกัน ต่างกันมากด้วย
ร่างกาย เท่ากับกายเท่านั้น เป็นส่วน รูป เรียกเต็มว่า รูปธรรม

ร่างกายมันจะเท่ากับกายได้ไง ความเป็นร่างกายจะอยู่อย่างโดดๆไม่ได้
ถ้าร่างกายหมายถึงกายอย่างเดียว.....ร่างกายนั้นก็ไม่ใช่ร่างกาย.....แต่มันเป็นศพ
เขาเรียกว่าศพ ไม่เป็นทั้งร่างกายและกายใจ

กรัชกาย เขียน:

ส่วนใจ (หรือจิต) เป็นส่วนนาม เรียกเต็มว่า นามธรรม
เท่ากับรูปธรรมนามธรรม นี่แหละคือ ปรมัตถ์ หรือปรมัตถธรรม
ที่ออกมา (คลอด-เกิดมา) เรียกว่า รูปกับนาม (รูปธรรม นามธรรม) นี่ปรมัตถ์

ใจไม่ใช่จิต จิตเกิดจากการปรุงแต่งของกายใจ
กายและใจต้องพึ่งพาอาศัยกัน ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้
จิตจะเกิดได้ก็ต่อเมื่อเกิดการกระทบที่ทวารทั้งหก ถ้าไม่มีการกระทบจิตก็เกิดไม่ได้

ส่วนความหมายของรูปธรรมและนามธรรมไม่ใช่แบบที่คุณพูด
รูปธรรมหมายถึงธรรมชาติที่สามารถรับรู้ได้และสามารถสื่อสารกันได้
แต่นามธรรมไม่สามารถสื่อสารให้รับรู้ได้เพราะมันเป็นความรู้สึก(อารมณ์)

กรัชกาย เขียน:
แล้วต่อมาสังคมที่อาศัยอยู่ร่วมกัน ก็มาสมมุติบัญญัติ (ตั้งชื่อปรมัตถ์ เพื่อสื่อสารกันเข้าใจ) ปรมัตถ์นั่น ว่า ดช. เอ ดญ.บี นาย เอ นางสาว บี นายกรัชกาย นายโฮฮับ เป็นต้น

ตามนั้น จะเห็นว่า สมมุติบัญญัติซ้อนอยู่บนปรมัตถ์นั่นเอง
ทีนี้ปัญหาเกิด เพราะคนไปยึดติดสมมุติบัญญัติ มองไม่ทะลุถึงปรมัตถ์


คำว่าบัญญัติมันมีทั้งที่เป็น สมมติบัญญัติและปรมัตถบัญญัติ
ตัวอย่าง "การระลึกรู้" นี่เรียกสมมติบัญญัติ แต่ถ้าเป็นปรมัตถบัญญัติจะเรียกว่า "สติ"
"การรู้ทันสิ่งที่มากระทบ" นี่เรียก สมมติบัญญัติ แต่ถ้าเป็นปรมัตถบัญญัติจะเรียกว่า "สัมปชัญญะ"และอื่นๆ
ส่วน"ดช. เอ ดญ.บี นาย เอ นางสาว บี นายกรัชกาย นายโฮฮับ" ล้วนเป็นสมมติบัญญัติ
แต่ถ้าจะกล่าวในแง่ปรมัตถ์บัญญัติทุกชื่อล้วนเรียกว่า "ขันธ์๕"

กรัชกาย เขียน:
ตามนั้น จะเห็นว่า สมมุติบัญญัติซ้อนอยู่บนปรมัตถ์นั่นเอง
ทีนี้ปัญหาเกิด เพราะคนไปยึดติดสมมุติบัญญัติ มองไม่ทะลุถึงปรมัตถ์


ก็บอกแล้วว่า บัญญัติมันมีทั้งสมมติและปรมัตถ์ เราเรียนรู้สมมติเพื่อให้รู้ถึงปรมัตถ์
บัญญัติเป็นการสื่อสารเพือให้รู้ถึงธรรมต่างๆนั้น

กรัชกาย เขียน:
น่ีมุมมองเราก็ต่างกัน
นายโฮฮับ เป็นชื่อที่สมมุติขึ้นบัญญัติขึ้น สำหรับสื่อสารกันในโลก (ทวนข้างบนอีกครั้ง)
ตย.
ตา+รูป+จักขุวิญญาณ
หู+เสียง+โสตวิญญาณ
ฯลฯ
ใจ+ธรรมารมณ์ (สิ่งที่เกิดในใจ) +มโนวิญญาณ
นี่ปรมัตถ์ (ปรมัตถธรรม) ล้วนๆ


ตา+รูป+จักขุวิญญาณ......วลีหรือประโยคนี่ล้วนเป็นบัญญัติ มันมีทั้งที่เป็นสมมติและปรมัตถ์
ตาเป็นปสาทรูปเป็น....สมมติ
รูปเป็นวัตถุธรรมเป็น...สมมติ
จักขุวิญญานเป็น.....ปรมัตถ์ อื่นๆก็เช่นกัน



กรัชกาย เขียน:
แต่เมื่อไรมีนายโฮฮับ มีนายกรัชกาย เป็นต้น เห็นนั่นเห็นนี่ ได้ยินเสียงนั่นเสียงนี่ เป็นต้น เป็นสมมุติ ไม่ใช่ปรมัตถ์

เพราะอะไร ? เพราะนายโฮฮับ นายกรัชกาย เป็นเพียงสมมุติขึ้นบัญญัติขึ้นทีหลัง (คิดสิคิด)


นายโฮฮับและนายกรัชกาย.......เหมือนกันในความเป็นบัญญัติ
ถ้าโฮฮับหรือกรัชกาย ไปเห็นหรือได้ยินอะไรเข้า สิ่งที่เห็นหรือได้ยินเขาเรียกวัตถุธรรม
เป็นสมมติหรือสมมติสัจจะ และอารมณ์ความพอใจหรือไม่พอใจที่เกิดหลังจากได้เห็นหรือได้ยิน
เขาจึงจะเรียกว่า ปรมัตถ์


กรัชกาย เขียน:
ท่านจึงสอนว่า เห็นก็แค่เห็น ได้ยินก็แค่ได้ยิน ได้กลิ่นก็แค่ได้กลิ่น ฯลฯ ไม่ใช่นายโฮฮับ นายกรัชกาย เห็นรถ เห็นเรือ เป็นต้น
พอเข้าใจมั้ย


ไม่เกี่ยวเป็นเพราะกรัชกายไม่เข้าใจสมมติสัจจะและปรมัตถสัจจะรวมถึงบัญญัติด้วย
เมื่อเริ่มต้นผิด ความคิดที่ตามมาย่อมผิดอยู่แล้ว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2016, 16:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:

ร่างกาย ของนายโฮฮับ เรียกว่า กายใจ
นี่ก็มุมมองเราต่างกัน ต่างกันมากด้วย
ร่างกาย เท่ากับกายเท่านั้น เป็นส่วน รูป เรียกเต็มว่า รูปธรรม


ร่างกายมันจะเท่ากับกายได้ไง ความเป็นร่างกายจะอยู่อย่างโดดๆไม่ได้
ถ้าร่างกายหมายถึงกายอย่างเดียว.....ร่างกายนั้นก็ไม่ใช่ร่างกาย.....แต่มันเป็นศพ
เขาเรียกว่าศพ ไม่เป็นทั้งร่างกายและกายใจ

กรัชกาย เขียน:

ส่วนใจ (หรือจิต) เป็นส่วนนาม เรียกเต็มว่า นามธรรม
เท่ากับรูปธรรมนามธรรม นี่แหละคือ ปรมัตถ์ หรือปรมัตถธรรม
ที่ออกมา (คลอด-เกิดมา) เรียกว่า รูปกับนาม (รูปธรรม นามธรรม) นี่ปรมัตถ์


ใจไม่ใช่จิต จิตเกิดจากการปรุงแต่งของกายใจ
กายและใจต้องพึ่งพาอาศัยกัน ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้
จิตจะเกิดได้ก็ต่อเมื่อเกิดการกระทบที่ทวารทั้งหก ถ้าไม่มีการกระทบจิตก็เกิดไม่ได้

ส่วนความหมายของรูปธรรมและนามธรรมไม่ใช่แบบที่คุณพูด
รูปธรรมหมายถึงธรรมชาติที่สามารถรับรู้ได้และสามารถสื่อสารกันได้
แต่นามธรรมไม่สามารถสื่อสารให้รับรู้ได้เพราะมันเป็นความรู้สึก(อารมณ์)

กรัชกาย เขียน:

แล้วต่อมาสังคมที่อาศัยอยู่ร่วมกัน ก็มาสมมุติบัญญัติ (ตั้งชื่อปรมัตถ์ เพื่อสื่อสารกันเข้าใจ) ปรมัตถ์นั่น ว่า ดช. เอ ดญ.บี นาย เอ นางสาว บี นายกรัชกาย นายโฮฮับ เป็นต้น

ตามนั้น จะเห็นว่า สมมุติบัญญัติซ้อนอยู่บนปรมัตถ์นั่นเอง
ทีนี้ปัญหาเกิด เพราะคนไปยึดติดสมมุติบัญญัติ มองไม่ทะลุถึงปรมัตถ์


คำว่าบัญญัติมันมีทั้งที่เป็น สมมติบัญญัติและปรมัตถบัญญัติ
ตัวอย่าง "การระลึกรู้" นี่เรียกสมมติบัญญัติ แต่ถ้าเป็นปรมัตถบัญญัติจะเรียกว่า "สติ"
"การรู้ทันสิ่งที่มากระทบ" นี่เรียก สมมติบัญญัติ แต่ถ้าเป็นปรมัตถบัญญัติจะเรียกว่า "สัมปชัญญะ"และอื่นๆ

ส่วน"ดช. เอ ดญ.บี นาย เอ นางสาว บี นายกรัชกาย นายโฮฮับ" ล้วนเป็นสมมติบัญญัติ
แต่ถ้าจะกล่าวในแง่ปรมัตถ์บัญญัติทุกชื่อล้วนเรียกว่า "ขันธ์๕"


กรัชกาย เขียน:
ตามนั้น จะเห็นว่า สมมุติบัญญัติซ้อนอยู่บนปรมัตถ์นั่นเอง
ทีนี้ปัญหาเกิด เพราะคนไปยึดติดสมมุติบัญญัติ มองไม่ทะลุถึงปรมัตถ์


ก็บอกแล้วว่า บัญญัติมันมีทั้งสมมติและปรมัตถ์ เราเรียนรู้สมมติเพื่อให้รู้ถึงปรมัตถ์
บัญญัติเป็นการสื่อสารเพือให้รู้ถึงธรรมต่างๆนั้น

กรัชกาย เขียน:
น่ีมุมมองเราก็ต่างกัน
นายโฮฮับ เป็นชื่อที่สมมุติขึ้นบัญญัติขึ้น สำหรับสื่อสารกันในโลก (ทวนข้างบนอีกครั้ง)
ตย.
ตา+รูป+จักขุวิญญาณ
หู+เสียง+โสตวิญญาณ
ฯลฯ
ใจ+ธรรมารมณ์ (สิ่งที่เกิดในใจ) +มโนวิญญาณ
นี่ปรมัตถ์ (ปรมัตถธรรม) ล้วนๆ


ตา+รูป+จักขุวิญญาณ......วลีหรือประโยคนี่ล้วนเป็นบัญญัติ มันมีทั้งที่เป็นสมมติและปรมัตถ์
ตาเป็นปสาทรูปเป็น....สมมติ
รูปเป็นวัตถุธรรมเป็น...สมมติ
จักขุวิญญานเป็น.....ปรมัตถ์ อื่นๆก็เช่นกัน



กรัชกาย เขียน:
แต่เมื่อไรมีนายโฮฮับ มีนายกรัชกาย เป็นต้น เห็นนั่นเห็นนี่ ได้ยินเสียงนั่นเสียงนี่ เป็นต้น เป็นสมมุติ ไม่ใช่ปรมัตถ์

เพราะอะไร ? เพราะนายโฮฮับ นายกรัชกาย เป็นเพียงสมมุติขึ้นบัญญัติขึ้นทีหลัง (คิดสิคิด)


นายโฮฮับและนายกรัชกาย.......เหมือนกันในความเป็นบัญญัติ
ถ้าโฮฮับหรือกรัชกาย ไปเห็นหรือได้ยินอะไรเข้า สิ่งที่เห็นหรือได้ยินเขาเรียกวัตถุธรรม
เป็นสมมติหรือสมมติสัจจะ และอารมณ์ความพอใจหรือไม่พอใจที่เกิดหลังจากได้เห็นหรือได้ยิน
เขาจึงจะเรียกว่า ปรมัตถ์


กรัชกาย เขียน:
ท่านจึงสอนว่า เห็นก็แค่เห็น ได้ยินก็แค่ได้ยิน ได้กลิ่นก็แค่ได้กลิ่น ฯลฯ ไม่ใช่นายโฮฮับ นายกรัชกาย เห็นรถ เห็นเรือ เป็นต้น
พอเข้าใจมั้ย


ไม่เกี่ยวเป็นเพราะกรัชกายไม่เข้าใจสมมติสัจจะและปรมัตถสัจจะรวมถึงบัญญัติด้วย
เมื่อเริ่มต้นผิด ความคิดที่ตามมาย่อมผิดอยู่แล้ว




.....................

อ้างคำพูด:
ร่างกายมันจะเท่ากับกายได้ไง ความเป็นร่างกายจะอยู่อย่างโดดๆไม่ได้
ถ้าร่างกายหมายถึงกายอย่างเดียว.....ร่างกายนั้นก็ไม่ใช่ร่างกาย.....แต่มันเป็นศพ
เขาเรียกว่าศพ ไม่เป็นทั้งร่างกายและกายใจ


กรรม กั้กๆๆ (หัวเราะ)

ภาษาที่เราพูดกันทั่วๆไปเรียกว่า "ร่างกาย" บ้าง เรียกสั้นๆว่า "กาย" บ้าง อันเดียวกันนั่นแหละโฮฮับ

(เช่น กาย เวทนา จิต ธรรม) (จักขุ โสต ฆาน ชิวหา กาย มโน พูดเป็นไทยๆ = ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ)


อ้างคำพูด:
ใจไม่ใช่จิต จิตเกิดจากการปรุงแต่งของกายใจ
กายและใจต้องพึ่งพาอาศัยกัน ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้
จิตจะเกิดได้ก็ต่อเมื่อ[u]เกิดการกระทบที่ทวารทั้งหก ถ้าไม่มีการกระทบจิตก็เกิดไม่ได้

ส่วนความหมายของรูปธรรมและนามธรรมไม่ใช่แบบที่คุณพูด
รูปธรรมหมายถึงธรรมชาติที่สามารถรับรู้ได้และสามารถสื่อสารกันได้
แต่นามธรรมไม่สามารถสื่อสารให้รับรู้ได้เพราะมันเป็นความรู้สึก(อารมณ์)


ศัพท์เหล่านี้ "จิต ใจ มโน วิญญาณ มน" เป็นไวพจน์กัน ใช้แทนกันได้ ใช้ตัวไหนก็มีความหมายเดียวกัน

(กั้กๆ) โฮฮับพูดมีถูกอยู่ตัวหนึ่ง (มั่วถูก) กาย+ใจ อาศัยกัน แต่กรัชกายจะพูดกลับกันให้โฮฮับฮงเสียว่า ร่างกาย กับ จิตใจ อาศัยกันและกันจึงดำเนินไปได้

พอดีกว่า กั้กๆๆ เกินเยียวยา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 41 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 22 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร