วันเวลาปัจจุบัน 18 เม.ย. 2024, 12:54  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ย. 2011, 14:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

“สุเมธดาบส” ใคร่ครวญธรรม

สุเมธดาบส นั้นนอนบนหลังเปือกตมนั้นนั่นแหละ ลืมตาทั้งสองเห็น พระพุทธสิริของพระทศพลทีปังกร จึงคิดว่า “ถ้าเราพึงต้องการ ก็พึงเผากิเลสทั้งปวงหมดแล้วเป็นพระสงฆ์นวกะเข้าไปสู่รัมมกนครได้ แต่เราไม่มีกิจด้วยการเผากิเลสด้วยเพศที่ใครไม่รู้จักแล้วบรรลุนิพพาน ถ้ากระไรเราพึงเป็นดังพระทศพลทีปังกรบรรลุพระอภิสัมโพธิญาณอย่างสูงยิ่ง แล้วขึ้นสู่ธรรมนาวา ให้มหาชนข้ามสงสารสาครได้แล้วปรินิพพานภายหลัง ข้อนี้สมควรแก่เรา” แล้วต่อจากนั้นประมวลธรรม ๘ ประการ กระทำความปรารถนาอย่างยิ่งใหญ่เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้า แล้วนอนลง

ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า “ทีปังกร” เสด็จมาประทับยืนที่เบื้องศีรษะของสุเมธดาบส ทรงลืมพระเนตรทั้งสองอันสมบูรณ์ด้วยประสาทมีวรรณะ ๕ ชนิด ประหนึ่งว่าเปิดอยู่ซึ่งสีหบัญชรแก้วมณี ทอดพระเนตรเห็นสุเมธดาบสนอนบนหลังเปือกตม ทรงดำริว่า “ดาบสนี้ กระทำความปรารถนาอย่างยิ่งใหญ่เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้า ความปรารถนาของเขาจักสำเร็จหรือไม่หนอ” ทรงส่งพระอนาคตังสญาณใคร่ครวญอยู่ ทรงทราบว่า “ล่วงไปสี่อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัปนับแต่นี้เขาจักได้เป็นพระพุทธเจ้านามว่า โคดม” ยังทรงประทับยืนอยู่นั่นแหละ แล้วทรงพยากรณ์ด้วยพระดำรัสว่า “พวกท่านจงดูดาบสผู้มีตบะกล้านี้ ซึ่งนอนอยู่บนหลังเปือกตม” ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “เห็นแล้วพระเจ้าข้า”

พระทีปังกรสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงตรัสว่า “ดาบสนี้กระทำความปรารถนาอย่างยิ่งใหญ่เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้า แล้วนอนลง ความปรารถนาของเขาจักสำเร็จในที่สุดแห่งสี่อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัปนับแต่นี้เขาจักได้เป็นพระพุทธเจ้านามว่า “โคดม” ก็ในอัตภาพนั้นของเขา พระนครนามว่า “กบิลพัสดุ์” จักเป็นที่อยู่อาศัย พระเทวีทรงพระนามว่า “มายา” เป็นพระราชมารดา พระราชาทรงพระนามว่า “สุทโทธนะ” เป็นพระราชบิดา พระเถระนามว่า “อุปติสสะ” เป็นอัครสาวก และพระเถระนามว่า “โกลิตะ” เป็นอัครสาวกที่สอง พุทธอุปัฎฐากนามว่า “อานนท์” พระเถรีนามว่า “เขมา” เป็นอัครสาวิกา และพระเถรีนามว่า “อุบลวรรณา” เป็นอัครสาวิกาที่สอง

เขามีญาณแก่กล้าแล้ว ออกมหาภิเนษกรมณ์ ตั้งความเพียรอย่างใหญ่ รับข้าวปายาสที่โคนต้นไทร เสวยที่ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ขึ้นสู่โพธิมณฑลจักตรัสรู้ที่โคนต้น “อัสสัตถพฤกษ์”

สุเมธดาบสได้บังเกิดโสมนัสว่า “นัยว่า ความปรารถนาของเราจักสำเร็จ” มหาชนได้ฟังพระดำรัสของพระทศพลทีปังกรแล้ว ต่างได้พากันร่าเริงยินดีว่า “นัยว่า สุเมธดาบสเป็นพืชแห่งพระพุทธเจ้า เป็นหน่อแห่งพระพุทธเจ้า” และพวกเขาเหล่านั้นก็ได้มีความคิดว่า “ธรรมดาว่าบุรุษเมื่อจะข้ามแม่น้ำ ไม่สามารถข้ามโดยท่าโดยตรงได้ ย่อมข้ามโดยท่าข้างใต้ฉันใด แม้พวกเราก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อไม่ได้มรรคและผลในศาสนาของพระทศพลทีปังกร ในกาลใดในอนาคตท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าในกาลนั้นพวกเราพึงสามารถกระทำให้แจ้งซึ่งมรรคและผลในที่ต่อหน้าของท่าน” ต่างพากันตั้งความปรารถนาไว้ แม้พระทศพลทีปังกรทรงสรรเสริญพระโพธิสัตว์ ด้วยของหอมแลนับได้สี่แสนต่างก็พากันบูชาพระโพธิสัตว์ ด้วยของหอมและพวงดอกไม้กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป พระโพธิสัตว์ลุกขึ้นจากที่นอนในเวลาที่คนทั้งปวงหลีกไปแล้วคิดว่า “เราจักเลือกเฟ้นดูบารมีทั้งหลาย” จึงนั่งขัดสมาธิบนที่สุดของกองดอกไม้ เมื่อพระโพธิสัตว์นั่งแล้วอย่างนี้ เทวดาในหมื่นจักรวาลทั้งสิ้นได้ให้สาธุการกล่าวว่า “นี่แนะพระผู้เป็นเจ้า สุเมธดาบสในเวลาที่พระโพธิสัตว์เก่าก่อนทั้งหลาย” นั่งขัดสมาธิด้วยคิดว่า “เราจักเลือกเฟ้นบารมีทั้งหลายชื่อว่าบุรพนิมิตเหล่าใดจะปรากฎบุรพนิมิตเหล่านั้น แม้ทั้งหมดปรากฏแจ่มแจ้งแล้วในวันนี้ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าโดยไม่ต้องสงสัย พวกเราก็รู้ข้อนั้น นิมิตเหล่านี้ปรากฏแก่ผู้ใด ผู้นั้นจะเป็นพระพุทธเจ้าโดยส่วนเดียว ท่านจงประคองความเพียรของตนให้มั่น” ได้กล่าวสรรเสริญพระโพธิสัตว์ ได้ฟังพระดำรัสของพระทศพลทีปังกรและถ้อยคำของเทวดาในหมื่นจักรวาลเกิดความอุตสาหะโดยประมาณยิ่งขึ้นจึงคิดว่า “ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย มีพระดำรัสไม่ว่างเปล่า ถ้อยคำของพระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มีเป็นอย่างอื่น เหมือนอย่างว่าก้อนดินที่ขว้างไปในอากาศจะต้องตก สัตว์ที่เกิดแล้วจะต้องตาย เมื่ออรุณขึ้นพระอาทิตย์ก็ต้องขึ้น ราชสีห์ที่ออกจากถ้ำที่อาศัยจะต้องบันลือสีหนาท หญิงที่ครรภ์แก่จะต้องปลดเปลื้องภาระ (คลอด) เป็นของแน่นอน จะต้องมีเป็นแน่แท้ฉันใด ธรรมดาพระดำรัสของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมเป็นของแน่นอนไม่ว่างเปล่าฉันนั้น เราจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่”

รูปภาพ

สุเมธดาบสนั้นกระทำการตกลงใจว่า “เราจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน” เพื่อที่จะใคร่ครวญถึงธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้า เมื่อตรวจตราดูธรรมธาตุทั้งสิ้นโดยลำดับว่า “ธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้ามีอยู่ ณ ที่ไหนหนอ เบื้องสูงหรือเบื้องต่ำในทิศใหญ่หรือทิศหน้อย” จึงได้เห็น

ทานบารมี ข้อที่ ๑ ที่พระโพธิสัตว์แต่เก่าก่อนทั้งหลายถือปฏิบัติเป็นประจำจึงกล่าวสอนตนว่า “ดูก่อนสุเมธบัณฑิต จำเดิมแต่นี้ไปท่านพึงบำเพ็ญทานบารมีข้อแรกให้เต็ม เหมือนอย่างว่าหม้อน้ำที่คว่ำแล้ว ย่อมคายน้ำออกไม่เหลือ ไม่นำกลับเข้าไปอีกฉันใด แม้ท่านเมื่อไม่เหลียวแลทรัพย์ ยศ บุตร ภริยา หรืออวัยวะใหญ่น้อย ให้สิ่งที่เขาต้องการอยากได้ทั้งหมดแก่ผู้ขอที่มา ถึงกระทำมิให้มีส่วนเหลือ อยู่จักได้นั่งที่โคนต้นโพธิ์เป็นพระพุทธเจ้าได้” ท่านได้อธิษฐานทานบารมีข้อแรกทำให้มั่นแล้ว

ลำดับนั้น เมื่อสุเมธดาบสได้ใคร่ครวญอยู่ยิ่งๆ ขึ้นด้วยคิดว่า “ธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้าไม่พึงมีเพียงเท่านี้แน่” เขาได้เห็น

ศีลบารมี ข้อที่ ๒ จึงได้กล่าวสอนตนว่า “ดูก่อนสุเมธบัณฑิต นับจำเดิมแต่นี้ไปท่านพึงบำเพ็ญศีลบารมีให้เต็มเปี่ยมเหมือนอย่างว่าธรรมดาว่า เนื้อจามรีไม่เหลียวแลแม้ชีวิตรักษาหางของตนอย่างเดียว ฉันใด จำเดิมแต่นี้แม้ท่านก็ไม่เหลียวแลแม้ชีวิต รักษาศีลอย่างเดียวจักเป็นพระพุทธได้” เขาได้อธิษฐานศีลบารมีข้อที่สองทำให้มั่นแล้ว

ลำดับนั้น เมื่อสุเมธดาบสได้ใคร่ครวญอยู่ยิ่งๆ ขึ้นด้วยคิดว่า ธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้าไม่พึงมีเพียงเท่านี้แน่” จึงได้เห็น

เนกขัมมบารมี ข้อที่ ๓ จึงได้กล่าวสอนตนว่า “ดูก่อนสุเมธบัณฑิตนับจำเดิมแต่นี้ไป ท่านพึงบำเพ็ญเนกขัมมบารมีให้เต็มเปี่ยม เหมือนอย่างว่าบุรุษผู้อยู่ในเรือนจำ มิได้มีความรักใคร่ในเรือนจำนั้นเลย โดยที่แท้เขาย่อมรำคาญอย่างเดียวและไม่อยากจะอยู่เลยฉันใด แม้ท่านก็จงทำภพทั้งปวงให้เป็นเช่นกับเรือนจำ รำคาญอยากจะพ้นไปจากภพทั้งปวง มุ่งหน้าต่อการออกบวช ฉันนั้น เหมือนกันท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าโดยอาการอย่างนี้” ได้อธิษฐานเนกขัมมบารมี ข้อที่สามมั่นแล้ว

ลำดับนั้น เมื่อสุเมธดาบสได้ใคร่ครวญยิ่งๆ ขึ้นไปด้วยคิดว่า “ธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้าไม่พึงมีเพียงเท่านั้นแน่” จึงได้เห็น

ปัญญาบารมี ข้อที่ ๔ จึงได้กล่าวสอนตนว่า “ดูก่อนสุเมธบัณฑิต นับจำเดิมแต่นี้ไปท่านพึงบำเพ็ญปัญญาบารมีให้บริบูรณ์ ท่านอย่าได้เว้นใครๆ เลยไม่ว่าจะเป็นคนชั้นเลว ชั้นปานกลางและชั้นสูง พึงเข้าไปหาบัณฑิตทุกคนแล้วถามปัญหาเหมือนอย่างว่าภิกษุผู้เที่ยวไปบิณฑบาตมิได้เว้นตระกูลไรๆ ในบรรดาตระกูลที่แตกต่างกันมีตระกูลชั้นต่ำเป็นต้น เที่ยวไปบิณฑบาตตามลำดับ ย่อมได้อาหารพอยังชีพโดยพลัน ฉันใด แม้ท่านก็เข้าไปหาบัณฑิตแล้วได้ถามอยู่ จักเป็นพระพุทธเจ้าได้ฉันนั้น” ได้อธิษฐานกระทำปัญญาบารมีข้อที่ ๔ ให้มั่นแล้ว

ลำดับนั้นเมื่อสุเมธดาบสได้ใคร่ครวญยิ่งๆ ขึ้นไปด้วยคิดว่า “ธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้า ไม่พึงมีเพียงเท่านี้แน่จึงได้เห็น

วิริยบารมี ข้อที่ ๕ จึงได้กล่าวสอนตนว่า “ดูก่อนสุเมธบัณฑิต นับจำเดิมแต่นี้ไป ท่านพึงบำเพ็ญวิริยาบารีให้เต็มเปี่ยมเหมือนอย่างว่าราชสีห์พระยามฤคราชเป็นสัตว์ มีความเพียรมั่นในทุกอิริยาบถฉันใด แม้ท่านเมื่อเป็นผู้มีความเพียรมั่น มีความเพียรไม่ย่อหย่อนจักเป็นพระพุทธเจ้าได้” ได้อธิษฐานวิริยบารมีข้อที่ ๕ กระทำให้มั่นแล้ว

ลำดับนั้น เมื่อสุเมธดาบสได้ใคร่ครวญยิ่งๆ ขึ้นไปด้วยคิดว่า “ธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้าไม่พึงมีเพียงเท่านั้นแน่” จึงได้เห็น

ขันติบารมี ข้อที่ ๖ จึงได้กล่าวสอนว่า “ดูก่อนสุเมธบัณฑิต นับจำเดิมแต่นี้ไปท่านพึงบำเพ็ญขันติบารมีให้เต็มเปี่ยม พึงเป็นผู้อดทนได้ทั้งในความนับถือทั้งในความดูหมิ่นเหมือนอย่างว่า คนทั้งหลายทิ้งของสะอาดบ้างไม่สะอาดบ้างลงบนแผ่นดิน แผ่นดินย่อมไม่กระทำความชอบใจ ไม่กระทำความแค้นใจ มีแต่อดทนอดกลั้นเท่านั้นฉันใด แม้ท่านเมื่ออดทนได้ในความนับถือก็ดี ในความดูหมิ่นก็ดี จักเป็นพระพุทธเจ้าได้” ได้อธิษฐานขันติบารมี ข้อที่ ๖ เพราะทำให้มั่นแล้ว

ลำดับนั้น เมื่อสุเมธดาบสได้ใคร่ครวญยิ่งๆ ขึ้นไปด้วยคิดว่า “ธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้า ไม่พึงมีเพียงเท่านี้แน่” จึงได้เห็น

สัจจบารมี ข้อที่ ๗ จึงได้กล่าวสอนตนว่า “ดูก่อนสุเมธบัณฑิต นับจำเดิมแต่นี้ไปท่านพึงบำเพ็ญสัจจบารมีให้เต็มเปี่ยม อย่าได้กระทำการพูดเท็จทั้งรู้ตัวอยู่ด้วยมุ่งทรัพย์เป็นต้น แม้เมื่ออสนีบาตจะตกลงบนกระหม่อมของท่าน เหมือนอย่างว่า ธรรมดาดาวประกายพรึกในทุกฤดูหาเว้นทางโคจรของตนไม่ จะไม่โคจรไปในทางอื่นโคจรไปเฉพาะในทางของตนเท่านั้น ฉันใดแม้ท่านไม่ละสัจจะ ไม่กระทำการพูดเท็จเด็ดขาด จักเป็นพระพุทธเจ้าได้” ได้อธิษฐานสัจบารมีข้อที่ ๗ ทำให้มั่นแล้ว

ลำดับนั้น เมื่อสุเมธดาบสได้ใคร่ครวญยิ่งๆ ขึ้นไปโดยคิดว่า “ธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้า ไม่พึงมีเพียงเท่านี้แน่” จึงได้เห็น

อธิษฐานบารมี ข้อที่ ๘ จึงได้กล่าวสอนตนว่า “ดูก่อนสุเมธบัณฑิต นับจำเดิมแต่นี้ไป ท่านพึงบำเพ็ญอธิษฐานบารมีท่านอธิษฐานสิงโตไว้ พึงเป็นผู้ไม่หวั่นไหวในอธิษฐานนั้นเหมือนอย่างว่าธรรมดาภูเขาเมื่อลมทั่วทุกทิศพัดกระทบอยู่ย่อมไม่สะเทือน ไม่หวั่นไหว ยังคงตั้งอยู่ในที่เดิมของตนฉันใดแม้ท่านก็ฉันนั้น เป็นผู้ไม่หวั่นไหวในความตั้งใจมั่นของตนจักเป็นพระพุทธเจ้าได้” ได้อธิษฐานอธิษฐานบารมีข้อที่ ๘ กระทำให้มั่นแล้ว

ลำดับนั้น เมื่อสุเมธดาบสได้ใคร่ครวญยิ่งๆ ขึ้นไปด้วยคิดว่า “ธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้าไม่พึงมีเพียงเท่านี้แน่” จึงได้เห็น

เมตตาบารมี ข้อที่ ๙ จึงได้กล่าวสอนตนว่า “ดูก่อนสุเมธบัณฑิต นับจำเดิมแต่นี้ไป ท่านพึงบำเพ็ญเมตตาบารมีให้เต็มเปี่ยม ในสิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลและมิใช่ประโยชน์เกื้อกูลพึงมีจิตเป็นอย่างเดียวกัน เหมือนอย่างว่า ธรรมดาว่าน้ำย่อมกระทำให้เย็นแผ่ซ่านไปเช่นเดียวกัน ทั้งแก่คนชั่วทั้งแก่คนดีฉันใด แม้ท่านเมื่อเป็นผู้มีน้ำใจ เป็นอันเดียวกัน ด้วยเมตตาจิตในสัตว์ทั้งปวงจักเป็นพระพุทธเจ้าได้” ได้อธิษฐานเมตตาบารมีข้อที่ ๙ กระทำให้มั่นแล้ว

ต่อมาเมื่อสุเมธดาบสได้ใคร่ครวญแม้ยิ่งขึ้นไปอีกด้วยคิดว่า “ธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้าไม่พึงมีเพียงเท่านี้แน่” จึงได้เห็น

อุเบกขาบารมี ข้อที่ ๑๐ จึงได้กล่าวสอนตนว่า “ดูก่อนสุเมธบัณฑิต นับจำเดิมแต่นี้ไป ท่านพึงบำเพ็ญอุเบกขาบารมีพึงวางใจเป็นกลาง ในสุขก็ดีในทุกข์ก็ดีเหมือนอย่างว่า ธรรมดาแผ่นดิน เมื่อคนทิ้งของสะอาดบ้างไม่สะอาดบ้าง ย่อมวางใจเป็นกลางทีเดียวฉันใด แม้ท่านก็ฉันนั้น เมื่อวางใจเป็นกลางได้ในสุขและทุกข์ก็จักได้เป็นพระพุทธเจ้า” ได้อธิษฐานอุเบกขาบารมีข้อที่ ๑๐ ทำให้มั่นแล้ว

ต่อจากนั้น สุเมธดาบสจึงคิดว่า “พุทธการกธรรมที่เป็นเครื่องบ่มโพธิญาณมีเพียงเท่านี้เท่านั้น ยกเว้นบารมี ๑๐ เสียธรรมเหล่าอื่นไม่มีบารมีทั้ง ๑๐ แม้เหล่านี้ แม้ในเบื้องสูง แม้ในอากาศก็ไม่มี ภายใต้แผ่นดินก็ดีในทิศทั้งหลาย มีทิศตะวันออกเป็นต้นก็ดี ก็ไม่มีตั้งอยู่ในหทัยของเรานี้เอง”

สุเมธดาบส เมื่อเห็นว่า “บารมี” เหล่านั้นตั้งอยู่ในหทัยแล้ว จึงอธิษฐานบารมีแม้ทั้งหมดกระทำให้มั่น พิจารณาอยู่แล้วๆ เล่าๆ พิจารณากลับไปกลับมา ยึดเอาตอนปลายทวนมาให้ถึงต้น ยึดเอาตอนต้นมาตั้งไว้ตอนปลาย และยึดเอาตรงกลางให้จบลงตรงข้างทั้งสอง ยึดที่ที่สุดข้างทั้งสองมาให้จบลงตรงกลาง ยึดเอาบารมี ๑๐ อุปบารมี ๑๐ ปรมัตถบารมี ๑๐ คือ การบริจาคสิ่งของภายนอกเป็น “ทานบารมี” การบริจาคอวัยวะเป็น “ทานอุปบารมี” การบริจาคชีวิตเป็น “ทานปรมัตบารมี” ที่ตรงท่ามกลางแล้ว...

รูปภาพ


คัดลอกบางตอนจาก...หนังสือพุทธการกธรรมทีปนี
http://www.kanlayanatam.com/sara/sara82.htm

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ย. 2011, 16:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ต.ค. 2009, 15:47
โพสต์: 417

แนวปฏิบัติ: ดูจิต
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
สิ่งที่ชื่นชอบ: วิปัสนา-กรรมฐาน เล่ม 1-2
ชื่อเล่น: นา
อายุ: 44
ที่อยู่: 140/19 ถ.อภัย อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
อย่าแก้ไขคนอื่น จงแก้ไขตัวเราเอง

....................................................

เจ้าเกิดมามีอะไรมาด้วยเล่า
เจ้าจะเอาแต่สุขสนุกไฉน
เจ้ามาเปล่าแล้วเจ้าจะเอาอะไร
เจ้าก็ไปตัวเปล่าเหมือนเจ้ามา

...................................................


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ธ.ค. 2015, 21:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 พ.ค. 2010, 13:34
โพสต์: 1654

งานอดิเรก: ฟังเพลง และฟังธรรมตามกาลเวลา
สิ่งที่ชื่นชอบ: อภัยทาน
อายุ: 39
ที่อยู่: กรุงเทพมหานคร

 ข้อมูลส่วนตัว


:b44: (♡✿◕‿◕✿♡) กราบอนุโมทนาบุญกับผู้เจริญในธรรมและกัลยาณมิตรทุกท่าน มีดวงตาเห็นธรรม มีความสว่างทั้งทางโลกและทางธรรม รู้แจ้งเห็นจริง มีความสุขความเจริญ อยู่เย็นเป็นสุข และเจริญในธรรมยิ่ง ๆ ขึ้นไปนะเจ้าค่ะ :b8: :b8: :b8: :b20: (♡✿◕‿◕✿♡)

.....................................................
ธรรมอำนวยพร
ขอให้.....มีจิตที่รู้ ที่ตื่น ที่เบิกบาน (พุทธะ)
ขอให้.....ทำการงานด้วยความสุข (อิทธิบาทสี่)
ขอให้.....ขจัดทุกข์ได้ด้วยปัญญา (อริยสัจสี่)
ขอให้.....มีดวงตาที่เห็นความจริง (ไตรลักษณ์)
ขอให้.....เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไปด้วยไตรสิกขา (ศีล, สมาธิ, ปัญญา)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 0 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร