วันเวลาปัจจุบัน 18 เม.ย. 2024, 12:26  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 36 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ย. 2015, 06:22 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


มีผู้แสดงทัศนะใว้..ที่อื่น

http://www.dhammahome.com/webboard/topic/10411

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 389

ข้อความบางตอนจาก....

อรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตร


ในนิยตมิจฉาทิฏฐิทั้ง ๓ นั้น บางคนดิ่งลงสู่ทัศนะเดียว บางคน ๒ ทัศนะ บางคน ๓ ทัศนะก็มี เมื่อดิ่งลงไปในทัศนะเดียวก็ดี ใน ๒ ๓ ทัศนะก็ดี ย่อมเป็นนิยตมิจฉาทิฏฐิ ห้ามทางสวรรค์และห้ามทาง

นิพพาน ไม่ควรไปสวรรค์แม้ในภพที่ติดต่อกันนั้น จะกล่าวไปไยถึง

นิพพานเล่า สัตว์นี้ชื่อว่าเป็นตอวัฏฏะ เป็นผู้เฝ้าแผ่นดิน โดยมากคนมี

ทิฏฐิเห็นปานนี้ ออกจากภพไม่ได้.


เพราะฉะนั้น บัณฑิตผู้เห็นประจักษ์หวังความเจริญ

พึงเว้นอกัลยาณปุถุชนให้ห่างไกล เหมือนคนเว้นห่าง งูมีพิษร้ายฉะนั้น
.


.......................................


http://www.dhammahome.com/webboard/topic/19609

ความเห็นผิดมีโทษมาก ความเห็นผิดมีโทษมาก สามารถทำบาปได้ทุกอย่างเพราะมี

ความเห็นผิดเป็นปัจจัย ความเห็นผิดที่ดิ่ง มี 3 อย่างคือ

นิยตมิจฉาทฎฐิ ๓ ได้แก่ คลิกอ่านที่นี่... นิยตมิจฉาทิฏฐิ

- อเหตุกทิฎฐิ เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นเองเป็นเอง ไม่อาศัยเหตุปัจจัยให้เกิดให้มีขึ้น ไม่เชื่อในเหตุ คลิก...อเหตุกทิฏฐิ

- นัตถิกทิฎฐิ เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้น ไม่ใช่ผลอันเนื่องมาแต่เหตุผลของการทำดีทำชั่ว ไม่มีโลกนี้โลกหน้า สัตว์บุคคลไม่มี เป็นแต่ธาตุประชุมกันตายแล้วสูญไม่เกิดอีก เชื่อว่าไม่มีอะไรทั้งนั้น คลิก... นัตถิกทิฏฐิ

- อกิริยทิฎฐิ เห็นว่าการกระทำใดๆ ไม่ชื่อว่าเป็นอันกระทำ ผลบาปบุญไม่มีแก่ผู้ทำกระทำแล้วก็เป็นอันแล้วกันไป ปฏิเสธการกระทำโดยประการทั้งปวง

คลิกอ่านที่นี่ครับ.. อกิริยทิฏฐิ

มิจฉาทิฏฐิที่ดิ่งเป็นนิยตมิจฉาทิฏฐิ มีโทษมากกว่าอนันตริยกรรม (ฆ่า บิดา มารดา(เป็นต้น) เพราะอนันตริยกรรมยังพอกำหนดอายุที่จะไปอบายได้ เช่น ไปนรก 1 กัปดังเช่น พระเทวทัตทำสังฆเภท (ทำสงฆ์ให้แตก) ซึ่งเมื่อครบกำหนดอายุกรรมแล้วก็สามารถไปเกิดในสุคติภูมิและบรรลุธรรมภายหลังได้ ดังเช่น พระเทวทัต ภายหลังท่านก็ได้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าในอนาคตกาล แต่ว่ามิจฉาทิฏฐิไม่สามารถออกจากวัฏฏะได้เลย(ตอวัฏฏะ) และยังเป็นเหตุให้ที่ทำบาปกรรมต่างๆมากมายด้วย มีการทำอนันตริยกรรม เป็นต้น จึงไม่สามารถไปสุคติภูมิได้และไม่มีทางบรรลุมรรคผล จึงมีโทษมากดังนี้

ด้วยเหตุนั้นนั่นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรามอไม่เห็น

ธรรมอย่างหนึ่ง อันอื่นที่มีโทษมาก เหมือน

อย่างมิจฉาทิฏฐิเลย กระบวนโททั้งหลาย

มิจฉาทิฏฐิมีโทษอย่างยิ่ง.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ย. 2015, 06:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


การรู้ว่าสัมมาทิฏฐิเป็นสัมมาทิฏฐิ..รู้ว่ามิจฉาทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ....นี้เป็นสัมมาทิฏฐิ

...........

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์


๗. มหาจัตตารีสกสูตร (๑๑๗)


[๒๕๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก
ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว ฯ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสัมมาสมาธิ
ของพระอริยะ อันมีเหตุ มีองค์ประกอบ แก่เธอทั้งหลาย พวกเธอจงฟังสัมมา-
*สมาธินั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า
ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ฯ
[๒๕๓] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมา-
*สมาธิของพระอริยะ อันมีเหตุ มีองค์ประกอบ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ
สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ เป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง ประกอบแล้วด้วยองค์ ๗ เหล่านี้แล
เรียกว่า สัมมาสมาธิของพระอริยะ อันมีเหตุบ้าง มีองค์ประกอบบ้าง ฯ
[๒๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็น
ประธาน ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ ภิกษุรู้จักมิจฉาทิฐิว่ามิจฉาทิฐิ
รู้จักสัมมาทิฐิว่าสัมมาทิฐิ ความรู้ของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฐิ ฯ
[๒๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาทิฐิเป็นไฉน คือ ความเห็นดังนี้ว่า
ทานที่ให้แล้ว ไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้ว ไม่มีผล สังเวยที่บวงสรวงแล้ว ไม่มีผล
ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วแล้วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี
บิดาไม่มี สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะไม่มี สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติ
ชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลกไม่มี
นี้มิจฉาทิฐิ ฯ
[๒๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฐิเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวสัมมาทิฐิเป็น ๒ อย่าง คือ สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ
ให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑ สัมมาทิฐิของพระอริยะ ที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ
เป็นองค์มรรค อย่าง ๑ ฯ


[๒๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ
ให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน คือ ความเห็นดังนี้ว่า ทานที่ให้แล้ว มีผล ยัญที่บูชา
แล้ว มีผล สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วแล้ว
มีอยู่ โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามี บิดามี สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี สมณพราหมณ์
ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง
เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลก มีอยู่ นี้สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ
ให้ผลแก่ขันธ์ ฯ


[๒๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฐิของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ
เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัญญา ปัญญินทรีย์
ปัญญาพละ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ความเห็นชอบ องค์แห่งมรรค ของภิกษุผู้มี
จิตไกลข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่
นี้แล สัมมาทิฐิของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค ฯ
ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละมิจฉาทิฐิ เพื่อบรรลุสัมมาทิฐิ ความพยายาม
ของเธอนั้น เป็นสัมมาวายามะ ฯ
ภิกษุนั้นมีสติละมิจฉาทิฐิได้ มีสติบรรลุสัมมาทิฐิอยู่ สติของเธอนั้น
เป็นสัมมาสติ ฯ
ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาวายามะ
สัมมาสติ ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตามสัมมาทิฐิของภิกษุนั้น ฯ


[๒๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็น
ประธาน ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ ภิกษุรู้จักมิจฉาสังกัปปะว่า
มิจฉาสังกัปปะ รู้จักสัมมาสังกัปปะว่าสัมมาสังกัปปะ ความรู้ของเธอนั้น เป็น
สัมมาทิฐิ ฯ
[๒๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาสังกัปปะเป็นไฉน คือ ความดำริ
ในกาม ดำริในพยาบาท ดำริในความเบียดเบียน นี้มิจฉาสังกัปปะ ฯ


[๒๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสังกัปปะเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวสัมมาสังกัปปะเป็น ๒ อย่าง คือ สัมมาสังกัปปะที่ยังเป็นสาสวะ เป็น
ส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑ สัมมาสังกัปปะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ
เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค อย่าง ๑ ฯ
[๒๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสังกัปปะที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วน
แห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์เป็นไฉน คือความดำริในเนกขัมมะ ดำริในความไม่
พยาบาท ดำริในความไม่เบียดเบียน นี้สัมมาสังกัปปะที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วน
แห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ ฯ
[๒๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสังกัปปะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ
เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความตรึก ความวิตก
ความดำริ ความแน่ว ความแน่ ความปักใจ วจีสังขาร ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก
มีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรคเจริญอริยมรรคอยู่นี้แล สัมมาสังกัปปะ
ของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค ฯ
ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละมิจฉาสังกัปปะ เพื่อบรรลุสัมมาสังกัปปะ
ความพยายามของเธอนั้น เป็นสัมมาวายามะ ฯ
ภิกษุนั้นมีสติละมิจฉาสังกัปปะได้ มีสติบรรลุสัมมาสังกัปปะอยู่ สติ
ของเธอนั้น เป็นสัมมาสติ ฯ
ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาวายามะ สัมมา-
*สติ ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตามสัมมาสังกัปปะ ของภิกษุนั้น ฯ


[๒๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็น
ประธาน ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ ภิกษุรู้จักมิจฉาวาจาว่ามิจฉา-
*วาจา รู้จักสัมมาวาจาว่าสัมมาวาจา ความรู้ของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฐิ ฯ

[๒๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาวาจาเป็นไฉน คือพูดเท็จ พูดส่อเสียด
พูดคำหยาบ เจรจาเพ้อเจ้อ นี้ มิจฉาวาจา ฯ

[๒๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาวาจาเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวสัมมาวาจาเป็น ๒ อย่าง คือ สัมมาวาจาที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ
ให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑ สัมมาวาจาของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ
เป็นองค์มรรค อย่าง ๑ ฯ
[๒๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาวาจาที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ
ให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน คือ เจตนางดเว้นจากการพูดเท็จ งดเว้นจากการพูด
ส่อเสียด งดเว้นจากการพูดคำหยาบ งดเว้นจากการเจรจาเพ้อเจ้อ นี้ สัมมาวาจา
ที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ ฯ
[๒๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาวาจาของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ
เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความงด ความเว้น
ความเว้นขาด เจตนางดเว้น จากวจีทุจริตทั้ง ๔ ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก มีจิต
หาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่ นี้แล สัมมาวาจา
ของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค ฯ
ภิกษุย่อมพยายามเพื่อละมิจฉาวาจา เพื่อบรรลุสัมมาวาจาอยู่ ความ
พยายามของเธอนั้น เป็นสัมมาวายามะ ฯ
ภิกษุนั้นมีสติละมิจฉาวาจาได้ มีสติบรรลุสัมมาวาจาอยู่ สติของเธอนั้น
เป็นสัมมาสติ ฯ
ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาวายามะ
สัมมาสติ ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตามสัมมาวาจาของภิกษุนั้น ฯ

[๒๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน
ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ ภิกษุรู้จักมิจฉากัมมันตะว่า มิจฉากัมมันตะ
รู้จักสัมมากัมมันตะว่า สัมมากัมมันตะ ความรู้ของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฐิ ฯ
[๒๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉากัมมันตะเป็นไฉน คือ ปาณาติบาต
อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร นี้ มิจฉากัมมันตะ ฯ

[๒๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมากัมมันตะเป็นไฉน ดูกรภิกษุ-
*ทั้งหลาย เรากล่าวสัมมากัมมันตะเป็น ๒ อย่าง คือ สัมมากัมมันตะที่ยังเป็น
สาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑ สัมมากัมมันตะของพระอริยะ
ที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค อย่าง ๑ ฯ
[๒๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมากัมมันตะที่ยังเป็นสาสวะเป็นส่วน
แห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์เป็นไฉน คือ เจตนางดเว้นจากปาณาติบาต งดเว้น
จากอทินนาทาน งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร นี้สัมมากัมมันตะที่ยังเป็นสาสวะ
เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ ฯ
[๒๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมากัมมันตะของพระอริยะที่เป็น
อนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรคเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความงด
ความเว้น เจตนางดเว้น จากกายทุจริตทั้ง ๓ ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก มีจิต
หาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่ นี้แล สัมมากัมมันตะ
ของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค ฯ
ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละมิจฉากัมมันตะ เพื่อบรรลุสัมมากัมมันตะ
ความพยายามของเธอนั้น เป็นสัมมาวายามะ ฯ
ภิกษุนั้นมีสติละมิจฉากัมมันตะได้ มีสติบรรลุสัมมากัมมันตะอยู่ สติ-
*ของเธอนั้น เป็นสัมมาสติ ฯ
ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาวายามะ
สัมมาสติ ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตามสัมมากัมมันตะของภิกษุนั้น ฯ



[๒๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็น
ประธาน ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ ภิกษุรู้จักมิจฉาอาชีวะว่า
มิจฉาอาชีวะ รู้จักสัมมาอาชีวะว่าสัมมาอาชีวะ ความรู้ของเธอนั้น เป็น
สัมมาทิฐิ ฯ
[๒๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาอาชีวะเป็นไฉน คือ การโกง
การล่อลวง การตลบตะแลง การยอมมอบตนในทางผิด การเอาลาภต่อลาภ
นี้มิจฉาอาชีวะ ฯ

[๒๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาอาชีวะเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวสัมมาอาชีวะเป็น ๒ อย่าง คือ สัมมาอาชีวะที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วน
แห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑ สัมมาอาชีวะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ
เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรคอย่าง ๑ ฯ
[๒๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาอาชีวะที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วน
แห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมละ
มิจฉาอาชีวะ เลี้ยงชีพด้วยสัมมาอาชีวะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้ สัมมาอาชีวะที่
ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ ฯ
[๒๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาอาชีวะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ
เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความงด ความเว้น
เจตนางดเว้น จากมิจฉาอาชีวะ ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้
พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่ นี้แล สัมมาอาชีวะของพระอริยะ
ที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค ฯ
ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละมิจฉาอาชีวะ เพื่อบรรลุสัมมาอาชีวะ ความ
พยายามของเธอนั้น เป็นสัมมาวายามะ ฯ
ภิกษุนั้นมีสติละมิจฉาอาชีวะได้ มีสติบรรลุสัมมาอาชีวะอยู่ สติของ
เธอนั้น เป็นสัมมาสติ ฯ
ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาวายามะ
สัมมาสติ ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตามสัมมาอาชีวะของภิกษุนั้น ฯ


[๒๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน
ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ เมื่อมีสัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจาจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ
จึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาอาชีวะ
สัมมาวายามะจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาวายามะ สัมมาสติจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาสติ
สัมมาสมาธิจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาสมาธิ สัมมาญาณะจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาญาณะ
สัมมาวิมุตติจึงพอเหมาะได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการนี้แล พระเสขะผู้
ประกอบด้วยองค์ ๘ จึงเป็นพระอรหันต์ประกอบด้วยองค์ ๑๐


[๒๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็น
ประธาน ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ
ผู้มีสัมมาทิฐิ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาทิฐิได้ ทั้งอกุศลธรรมลามกเป็น
อเนกบรรดามี เพราะมิจฉาทิฐิเป็นปัจจัยนั้น ก็เป็นอันผู้มีสัมมาทิฐิสลัดได้แล้ว
และกุศลธรรมเป็นอเนก ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะสัมมาทิฐิเป็น
ปัจจัย ฯ
ผู้มีสัมมาสังกัปปะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาสังกัปปะได้...
ผู้มีสัมมาวาจา ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาวาจาได้...
ผู้มีสัมมากัมมันตะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉากัมมันตะได้...
ผู้มีสัมมาอาชีวะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาอาชีวะได้...
ผู้มีสัมมาวายามะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาวายามะได้...
ผู้มีสัมมาสติ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาสติได้...
ผู้มีสัมมาสมาธิ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาสมาธิได้...
ผู้มีสัมมาญาณะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาญาณะได้...
ผู้มีสัมมาวิมุตติ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาวิมุตติได้ ทั้งอกุศลธรรมลามก
เป็นอเนกบรรดามี เพราะมิจฉาวิมุตติเป็นปัจจัยนั้น ก็เป็นอันผู้มีสัมมาวิมุตติ
สลัดได้แล้ว และกุศลธรรมเป็นอเนกย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะสัมมา-
*วิมุตติเป็นปัจจัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการนี้แล จึงเป็นธรรมฝ่ายกุศล ๒๐ ฝ่าย
อกุศล ๒๐ ชื่อ ธรรมบรรยายมหาจัตตารีสกะ อันเราให้เป็นไปแล้ว สมณะ
หรือ พราหมณ์ หรือเทวดา หรือมาร หรือพรหม หรือใครๆ ในโลก
จะให้เป็นไปไม่ได้ ฯ

[๒๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์ ผู้ใดผู้หนึ่งพึงสำคัญ
ที่จะติเตียน คัดค้านธรรมบรรยายมหาจัตตารีสกะนี้ การกล่าวก่อนและการกล่าว
ตามกัน ๑๐ ประการ อันชอบด้วยเหตุของสมณะหรือพราหมณ์ผู้นั้น ย่อมถึง
ฐานะน่าตำหนิในปัจจุบันเทียว ถ้าใครติเตียนสัมมาทิฐิ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญ
ท่านสมณพราหมณ์ผู้มีทิฐิผิด ถ้าใครติเตียนสัมมาสังกัปปะ เขาก็ต้องบูชา
สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีสังกัปปะผิด ถ้าใครติเตียนสัมมาวาจา เขาก็ต้อง
บูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีวาจาผิด ถ้าใครติเตียนสัมมากัมมันตะ
เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีการงานผิด ถ้าใครติเตียนสัมมา-
*อาชีวะ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีอาชีวะผิด ถ้าใครติเตียน
สัมมาวายามะ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีความพยายามผิด
ถ้าใครติเตียนสัมมาสติ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีสติผิด
ถ้าใครติเตียนสัมมาสมาธิ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีสมาธิผิด
ถ้าใครติเตียนสัมมาญาณะ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีญาณผิด
ถ้าใครติเตียนสัมมาวิมุตติ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มี
วิมุตติผิด ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง พึงสำคัญที่จะติเตียน
คัดค้านธรรมบรรยายมหาจัตตารีสกะนี้ การกล่าวก่อนและการกล่าว
ตามกัน ๑๐ ประการ อันชอบด้วยเหตุของสมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น ย่อมถึง
ฐานะน่าตำหนิในปัจจุบันเทียว ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้พวกอัสสะและพวกภัญญะ
ชาวอุกกลชนบท ซึ่งเป็นอเหตุกวาทะ อกิริยวาทะ นัตถิกวาทะ ก็ยังสำคัญที่
จะไม่ติเตียน ไม่คัดค้านธรรมบรรยายมหาจัตตารีสกะ นั่นเพราะเหตุไร เพราะ
กลัวถูกนินทา ถูกว่าร้าย และถูกก่อความ ฯ


พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ
จบ มหาจัตตารีสกสูตร ที่ ๗

-----------------------------------------------------


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ย. 2015, 06:15 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ชอบจัง.... :b17: :b17: :b17:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ย. 2015, 07:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.ค. 2009, 22:19
โพสต์: 271

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ชอบจัง.... :b17: :b17: :b17:

เลิกได้หรือยัง ท่องคาถาเรียกเงิน55


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ย. 2015, 07:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1382289146-13215641-o.jpg
1382289146-13215641-o.jpg [ 68.4 KiB | เปิดดู 2728 ครั้ง ]
ใครอยากรวยเงินล้านท่องๆซะ
:b1: :b1: :b1:

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ย. 2015, 10:23 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ใครอยากไร้เงินทอง..ก็ขอพรมา...เดียวจะให้พรให้..จะเป็นกรรมก็ยอม...หากสามารถสอนคนให้สำนึกได้..ให้ได้ผลในชาติปัจจุบันกันเลย...ไม่ต้องรอชาติหน้า..
:b32: :b32: :b32:
คำขอพร..มีดังนี้..
" บุญกุศลอันใดที่ข้าพเจ้าทำมาดีแล้ว..ขอบุญกุศลอันนั้นอย่าได้กลายมาเป็นโลกียทรัพย์ใดใดเลย...ขอความไม่มีโลกียร์ทรัพย์จงมีแก่ข้าพเจ้า...ที่มีแล้วก็ขอให้ไม่มี...จะด้วยอัคคีไฟก็ดี...วาตภัยก็ดี...อุทกภัยก็ดี..โจรภัยก็ดี...ขอเปลี่ยนโลกีรย์ทรัพย์ที่มีนั้นมลายกลายกลับไปเป็นบุญหนุนนำให้เกิดโลกุตรทรัพย์...ขอให้ข้าพเจ้าได้เห็นธรรม..บรรลุธรรมด้วยความเห็นทุกข์จากความยากจน...จากความยากไร้..จากความอดอยาก..ในชาติปัจจุบัน
นี้ด้วยเทอญ"

เป็นต้น...

ใครอยากจะลองดูว่า...คำให้พรของคนอื่นจะมีผลกับตัวได้อย่างไร...ก็ลองได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ย. 2015, 10:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.ค. 2009, 22:19
โพสต์: 271

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ใครอยากไร้เงินทอง..ก็ขอพรมา...เดียวจะให้พรให้..จะเป็นกรรมก็ยอม...หากสามารถสอนคนให้สำนึกได้..ให้ได้ผลในชาติปัจจุบันกันเลย...ไม่ต้องรอชาติหน้า..
:b32: :b32: :b32:
คำขอพร..มีดังนี้..
" บุญกุศลอันใดที่ข้าพเจ้าทำมาดีแล้ว..ขอบุญกุศลอันนั้นอย่าได้กลายมาเป็นโลกียทรัพย์ใดใดเลย...ขอความไม่มีโลกียร์ทรัพย์จงมีแก่ข้าพเจ้า...ที่มีแล้วก็ขอให้ไม่มี...จะด้วยอัคคีไฟก็ดี...วาตภัยก็ดี...อุทกภัยก็ดี..โจรภัยก็ดี...ขอเปลี่ยนโลกีรย์ทรัพย์ที่มีนั้นมลายกลายกลับไปเป็นบุญหนุนนำให้เกิดโลกุตรทรัพย์...ขอให้ข้าพเจ้าได้เห็นธรรม..บรรลุธรรมด้วยความเห็นทุกข์จากความยากจน...จากความยากไร้..จากความอดอยาก..ในชาติปัจจุบัน
นี้ด้วยเทอญ"

เป็นต้น...

ใครอยากจะลองดูว่า...คำให้พรของคนอื่นจะมีผลกับตัวได้อย่างไร...ก็ลองได้

บุรุษหนึ่งปรารถนาน้ำมันเขาจึงเอาเมล็ดงามาปะพรมน้ำลงไป มือเขาก็คั้นเมล็ดงาปากก็บ่นว่าน้ำมันจงมาน้ำมันจงมา. และเขาก็ได้น้ำมันสมใจ

อีกคนหนึ่งเขาก็ปรารถนาน้ำมันเขาก็เอาเมล็ดงามาปะพรมน้ำลงไป มือเขาก็คั้นน้ำมันอยู่อย่างนั้น และเขาก็ได้น้ำมัน จะเห็นได้ว่าชายสองคนนี้ปรารถนาเหมือนกันแล้วเขาก็ได้ในสิ่งเดียวกัน. แต่ชายสองคนนี้มีความเห็นต่างกันตรงความคิด เนี่ยหลักธรรมชาติที่ใสๆจะพาสู่จิพพานได้

ความปราถนาในความสุขใครเขาก็ปรารถนากันทั้งนั้นล่ะกบน้อย. แต่มันต้องยืนอยู่บนความจริงที่ถูกต้อง อยากรำ่รวยมีลาภก็ต้องหมั่นทำทาน ไม่ใช่ร้องปากขออย่างเดียว. มือก็ต้องคั้นเมล็ดงาไปด้วยน๊า


แก้ไขล่าสุดโดย ศิริพงศ์ เมื่อ 24 ก.ย. 2015, 11:21, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ย. 2015, 11:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


rolleyes

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


แก้ไขล่าสุดโดย bigtoo เมื่อ 24 ก.ย. 2015, 11:22, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ย. 2015, 11:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


ศิริพงศ์ เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
ใครอยากไร้เงินทอง..ก็ขอพรมา...เดียวจะให้พรให้..จะเป็นกรรมก็ยอม...หากสามารถสอนคนให้สำนึกได้..ให้ได้ผลในชาติปัจจุบันกันเลย...ไม่ต้องรอชาติหน้า..
:b32: :b32: :b32:
คำขอพร..มีดังนี้..
" บุญกุศลอันใดที่ข้าพเจ้าทำมาดีแล้ว..ขอบุญกุศลอันนั้นอย่าได้กลายมาเป็นโลกียทรัพย์ใดใดเลย...ขอความไม่มีโลกียร์ทรัพย์จงมีแก่ข้าพเจ้า...ที่มีแล้วก็ขอให้ไม่มี...จะด้วยอัคคีไฟก็ดี...วาตภัยก็ดี...อุทกภัยก็ดี..โจรภัยก็ดี...ขอเปลี่ยนโลกีรย์ทรัพย์ที่มีนั้นมลายกลายกลับไปเป็นบุญหนุนนำให้เกิดโลกุตรทรัพย์...ขอให้ข้าพเจ้าได้เห็นธรรม..บรรลุธรรมด้วยความเห็นทุกข์จากความยากจน...จากความยากไร้..จากความอดอยาก..ในชาติปัจจุบัน
นี้ด้วยเทอญ"

เป็นต้น...

ใครอยากจะลองดูว่า...คำให้พรของคนอื่นจะมีผลกับตัวได้อย่างไร...ก็ลองได้

บุรุษหนึ่งปรารถนาน้ำมันเขาจึงเอาเมล็ดงามาปะพรมน้ำลงไป มือเขาก็คั้นเมล็ดงาปากก็บ่นว่าน้ำมันจงมาน้ำมันจงมา. และเขาก็ได้น้ำมันสมใจ

อีกคนหนึ่งเขาก็ปรารถนาน้ำมันเขาก็เอาเมล็ดงามาปะพรมน้ำลงไป มือเขาก็คั้นน้ำมันอยู่อย่างนั้น และเขาก็ได้เมล็ดงา. จะเห็นได้ว่าชายสองคนนี้ปรารถนาเหมือนกันแล้วเขาก็ได้ในสิ่งเดียวกัน. แต่ชายสองคนนี้มีความเห็นต่างกันตรงความคิด เนี่ยหลักธรรมชาติที่ใสๆจะพาสู่จิพพานได้

ความปราถนาในความสุขใครเขาก็ปรารถนากันทั้งนั้นล่ะกบน้อย. แต่มันต้องยืนอยู่บนความจริงที่ถูกต้อง อยากรำ่รวยมีลาภก็ต้องหมั่นทำทาน ไม่ใช่ร้องปากขออย่างเดียว. มือก็ต้องคั้นเมล็ดงาไปด้วยน๊า

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ย. 2015, 13:21 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


แล้วมีใครพูดว่าให้ขอไม่ต้องทำงาน..ละ

วิธีการพูดเฉไฉเบียงเบนนั้น.เป็นวิสัยของคนพาล...

มีคนหนึ่งเขาขอให้ชาติหน้าอย่าได้มีทรัพย์...แล้วก้อภูมิจ้าย..ภูมิใจ..ท้าคนอื่นว่ากล้าขออย่างตนรึเปล้า..
อิอิ..ขำ..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ย. 2015, 13:25 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่รู้เขาคิดอะไรของเขา....คงคิดว่าตัวเองก้าวข้ามพ้นอะไรสักอย่างกระมัง...

แต่เขาก็เจอบทเรียนแล้วละว่า...เขายังหวาดหวั่นอยู่มาก...

ไม่รู้อาการอย่างที่เขาเป็น....เป็นมิจฉาทิฏฐิประเภทไหน...อาจจัดเป็นสีลัพตปรามาส..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ย. 2015, 14:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.ค. 2009, 22:19
โพสต์: 271

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ไม่รู้เขาคิดอะไรของเขา....คงคิดว่าตัวเองก้าวข้ามพ้นอะไรสักอย่างกระมัง...

แต่เขาก็เจอบทเรียนแล้วละว่า...เขายังหวาดหวั่นอยู่มาก...

ไม่รู้อาการอย่างที่เขาเป็น....เป็นมิจฉาทิฏฐิประเภทไหน...อาจจัดเป็นสีลัพตปรามาส..

หวั่นอะไร. จำเป็นต้องทำแบบนั้นเพราะอะไรไม่ทราบ. กบจะลองทำดูซิใครจะห้าม. แต่ถ้าท้านิสัยของผู้ประเสริฐเขาจะท้าอะไรกับสิ่งที่ไม่มีสาระ. แต่ถ้ากบจะทำใครจะห้ามกบ ตามสบายพอเข้าใจนะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ย. 2015, 14:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.ค. 2009, 22:19
โพสต์: 271

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
แล้วมีใครพูดว่าให้ขอไม่ต้องทำงาน..ละ

วิธีการพูดเฉไฉเบียงเบนนั้น.เป็นวิสัยของคนพาล...

มีคนหนึ่งเขาขอให้ชาติหน้าอย่าได้มีทรัพย์...แล้วก้อภูมิจ้าย..ภูมิใจ..ท้าคนอื่นว่ากล้าขออย่างตนรึเปล้า..
อิอิ..ขำ..

เนี่ยก็โง่นะ. ใครเขาท้าเพื่อเอาชนะไร้สารา. เข้าท้าพิสูจน์ใจตนเองว่ากลัวอะไรกับกิเลส กลัวอะไรกับสิ่งอ้อนวอนที่ไม่มีเหตุผล คนเราจะจนจะรวยไม่ได้อยู่กับการอ้อนวอนหรือการขอ. มันอยู่ที่เหตุปัจจัยของการให้ทาน. รักษาศิล. ไม่ใช่ท่องคาถาเรียกเเงินเรียกทอง กบยังหลงเยอะเลยขอบอก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ย. 2015, 15:48 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


พระไตรปิฏก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙
สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
๕. มิจฉาทิฏฐิสูตร
ว่าด้วยเหตุแห่งมิจฉาทิฏฐิ


             [๓๕๔] พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่
เพราะอาศัยอะไร เพราะยึดมั่นอะไร จึงเกิดมีมิจฉาทิฏฐิ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ธรรมของ
ข้าพระองค์ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ
             พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูปแลมีอยู่ เพราะอาศัยรูป เพราะยึดมั่นรูป จึงเกิดมีมิจฉาทิฏฐิ.
เมื่อเวทนามีอยู่ ... เมื่อสัญญามีอยู่ ... เมื่อสังขารมีอยู่ ... เมื่อวิญญาณมีอยู่ เพราะอาศัยวิญญาณ
เพราะยึดมั่นวิญญาณ จึงเกิดมีมิจฉาทิฏฐิ.
             [๓๕๕] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยง
หรือไม่เที่ยง?
             ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
             พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
             ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
             พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา พึงเกิดมีมิจฉาทิฏฐิ เพราะไม่
อาศัยสิ่งนั้นบ้างหรือ?
             ภิ. ไม่ใช่เช่นนั้น พระเจ้าข้า.
             พ. เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?
             ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
             พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
             ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
             พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา พึงเกิดมีมิจฉาทิฏฐิ
เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้นบ้างหรือ?
             ภิ. ไม่ใช่เช่นนั้น พระเจ้าข้า.
             พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความ
เป็นอย่างนี้มิได้มี.
จบ สูตรที่ ๕.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ย. 2015, 23:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


เป็นคนที่ขอให้รวยแล้วยังจนอยู่เลยค่ะ 5555
:b32: :b32: แต่ว่ายังได้ลาภลอยทุกเดือนซะงั้น :b32: คือบุญแค่ไหนก็ได้แค่นั้นน่ะ :b13:
เป็นคนตกน้ำไม่ไหลตกไฟไม่ไหม้(ตกน้ำจมแน่ถ้าไม่ว่าย ตกไฟไม่ไหม้.แต่เป็นขี้เถ้าแน่รับรอง555เล่นมุข :b32: ) คือเป็นคนไม่ค่อยตกระกำลำบาก ยามเข้าตาจนค่ะ..จะเจอคนยื่นมือมาช่วยเหลือตลอด..อันนี้คิดว่าเกิดจากทำทาน และรักษาศีล..ขนาดน้ำมันหมดตอนตี 4 กลางถนนเปลี่ยวๆยังรอดมาได้นะเออ เพราะมีเทวดามาโปรด..ของเขาดีจริง :b32:
ที่พูดเนียะไม่ใช่ไรนะ แต่อยากจะบอกว่า ทำทานรักษาศีล...เหมือนมีเกราะคอยคุ้มครอมป้องกันภัยยามเราลำบาก จริงๆนะคุนน้องรู้สึกแบบนั้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 36 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 30 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร