วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 04:01  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 44 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2015, 15:16 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แต่ละท่านพอจะขยาย
ความเข้าใจในคำนี้
"จิตผู้รู้"
ได้ยังไงบ้างคะ
tongue

เอาแบบชัดเจนให้เข้าใจง่าย
ถึงการเกิดขึ้น..ตั้งอยู่..ดับไป
ยิ่งดีค่ะ :b20:
:b9: :b9:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2015, 15:23 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


s002 s002

คงต้องรอชม...ละคับ..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2015, 15:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


idea เขียน:
แต่ละท่านพอจะขยาย
ความเข้าใจในคำนี้
"จิตผู้รู้"
ได้ยังไงบ้างคะ
tongue

เอาแบบชัดเจนให้เข้าใจง่าย
ถึงการเกิดขึ้น..ตั้งอยู่..ดับไป
ยิ่งดีค่ะ :b20:
:b9: :b9:

จิตผู้รู้คำนี้ เป็นคำแต่งใหม่
ไม่มีในพุทธวจนะ

ไม่จำเป็นต้องไปใส่ใจ
หากต้องการความชัดเจนต้องให้ผู้ที่ประดิษฐ์คำนี้อธิบายเองครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2015, 15:42 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b38:
จิตผู้รู้.....รู้อะไร? รู้อารมณ์

การรู้อารมณ์เป็นหน้าที่ของจิต


จิต อุปมาเหมือนแก้วน้ำเปล่าๆ เมื่อเอาน้ำใส่ลงไป เรียกว่าแก้วน้ำ เอาเหล้าใส่ลงไปเรียกว่าแก้วเหล้า เอายาใส่ลงไปเรียกว่า แก้วยา ถ้าไม่ใส่อะไรลงไปในแก้ว เรียกว่า แก้วว่าง(จิตว่าง)ฯลฯ

อารมณ์ คือสิ่งที่มาประกอบหรือครอบครองจิตในขณะนั้นๆ
เราเรียกว่าเจตสิก

อารมณ์เกิดขึ้นและดับไปเปลี่ยนไปตลอดเวลา การเกิดขึ้นดับไปของอารมณ์ต่างๆนั้นเป็นเรื่องละเอียดอ่อนมาก

ผู้ไปรู้ทันอารมณ์ต่างๆนั้นคือสติหรืออารมณ์สติ

ผู้ไปสังเกต พิจารณา ดู เห็นและรู้จักอารมณ์ทั้งปวงนั้นคือ ปัญญา หรืออารมณ์ปัญญา

จิตตั้งมั่นอยู่กับสิ่งเดียว เรียกอารมณ์สมาธิ
:b38:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2015, 17:29 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ธ.ค. 2012, 16:46
โพสต์: 412

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จิตผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน wink


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ย. 2015, 03:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


idea เขียน:
แต่ละท่านพอจะขยาย
ความเข้าใจในคำนี้
"จิตผู้รู้"
ได้ยังไงบ้างคะ
tongue

เอาแบบชัดเจนให้เข้าใจง่าย
ถึงการเกิดขึ้น..ตั้งอยู่..ดับไป
ยิ่งดีค่ะ :b20:
:b9: :b9:


จิตผู้รู้ คือ 1ในขันธ์5 เรียกว่า วิญญาณขันธ์

หน้าที่คือรู้กายใจ ใจคือ สังขารขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ กายคือรูปขันธ์

จิตผู้รู้ไม่ใช่ความเห็น จิตผู้รู้คือตื่น
ความเห็นหรือสังขารขันธ์ คือปัญญา(สัมมาทิฎฐิ สัมมาสังกัปปะ)

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ย. 2015, 05:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
ในที่นี้กล่าวถึงลักษณะสภาวะธรรมที่เป็นอภิธรรมที่เป็นปรมัตถ์
ประกอบด้วย4ประการคือจิต เจตสิก รูป และนิพพาน(ย่อจิเจรุนิ)
เป็นความละเอียดที่ปราศจากขันธ์ไม่เป็นการรู้รูปนามตามปกติ
ที่คนทั่วไปรู้สิ่งที่มีว่าไม่ดับคือไม่หายไปตั้งแต่เกิดจิตดับคือตาย
:b1:
เพราะจิตผู้รู้เป็นจิตขณะดับกิเลสอาสาวะที่ปกปิดความจริง
จิตผู้รู้มีหนึ่งเดียวเป็นจิตดิ่งในเอกัคตาจิตเป็นเอกัคตารมณ์
จิตที่เป็นตัวรู้เป็นประธานไม่เป็นตัวกรรมเป็นเพียงรับทราบ
จิตเป็นดวงรู้ที่ไม่ใช่สาเหตุแต่เป็นจิตดวงรู้ดั้งเดิมที่บริสุทธิ์
:b16:
สภาพรู้ซึ่งไม่ใช่จิตแต่เกิดดับพร้อมจิตเป็นกรรมคือเจตสิก
เจตสิกนี้เองที่เป็นเจตนาที่เป็นกรรมดี(กุศล)หรือชั่ว(อกุศล)
:b1:
รูปเป็นรูปปรมัตถ์ที่เป็นแสง สี เสียง สัมผัสลักษณะธาตุทั้ง4
ทั้งจิตเจตสิกและรูปเกิด_ดับพร้อมจิต ส่วนนิพพานไม่เกิด_ดับ
จิตผู้รู้เกิดจากการดับรูปธรรมและนามธรรมเหลือแต่ความรู้จริง
เป็นสภาพธัมมะที่ดับการรับรู้ผ่านอายตนะ6ทั้งภายนอกและภายใน
ที่มีการรับรู้ของจิตที่หลงกายว่ามีตัวตนแบบสฬายตนะเกิดจึงมีผัสสะ
เมื่อเข้าถึงความจริงที่ดับกายหยาบ ความรู้ที่ทำสมถภาวนาจนกายหาย
บรรลุมรรคผลดับสัญญาเดิมเป็นจิตที่รู้ทั่วตัวสติสัมปชัญญะว่าไม่ใช่ตัวตน
ดับจิตที่ไม่รู้อาการของกายหยาบเกิดจิตผู้รู้ความจริงในกาย เวทนา จิต ธรรม
ดับอวิชชาเป็นการเกิดจิตดวงใหม่ที่รู้นามเกิด รูปดับที่เป็นกุศลเจตสิกในจิตล้วนๆ
เมื่อจิตถอนจากสมาธิมารับรู้ทางอายตนะ6จึงเกิดญาณรู้แจ้งไม่หลงกายนี่คือจิตผู้รู้
:b44:
onion onion onion


แก้ไขล่าสุดโดย Rosarin เมื่อ 20 ก.ย. 2015, 05:07, แก้ไขแล้ว 6 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ย. 2015, 07:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


idea เขียน:
แต่ละท่านพอจะขยาย
ความเข้าใจในคำนี้
"จิตผู้รู้"
ได้ยังไงบ้างคะ
tongue


จิตเป็นผู้รู้ คือ จิตเป็นผู้รู้เห็น จิตเป็นผู้ได้ยิน จิตเป็นผู้ได้รู้กลิ่น จิตเป็นผู้รู้รส
จิตเป็นผู้รู้สัมผัส และจิตเป็นผู้รู้เรื่องราวต่างๆ เหล่านี้แหละจิตเป็นผู้รู้ จึงเรียกว่า"จิตเป็นผู้รู้"

เช่นว่า ทางทวารตา ตาไม่ได้เห็น ตาเป็นเพียงการรับกระทบกับรูป
เพื่อให้จิตเกิดขึ้นรู้เห็นรูปเหล่านั้น ตาเป็นรูป สิ่งที่มากระทบทางตาก็เป็นรูป
ทั้งสองอย่างจึงเป็นเพียงอุปาทายรูป คือรูปกับรูปกระทบกันจะไม่สามารถรู้อะไรได้เลย
เหมือนคนตายที่ยังลืมตาอยู่ หรือเราจะเห็นได้จากบางคนนอนหลับแต่ตายังลืมอยู่
ที่บางคนเรียกว่าคนนอนหลับตาค้าง

จะถามว่าคนนั้นจะเห็นหรือไม่ ก็ต้องตอบว่าไม่เห็น และที่ไม่เห็นนั้นเพราะอะไร ?
ขอตอบว่า ที่ไม่เห็นก็เพราะว่าจิตไม่ไปเกิดที่ตา อย่างนี้เป็นต้น

หรืออีกอย่างหนึ่งทางทวารหูบ้าง เช่น คนนอนหลับอยู่ทั้งๆที่วิทยุก็ยังเปิดอยู่
ถามว่าคนนั้นจะได้ยินเสียงไหม? ก็ขอตอบว่า ไม่ได้ยินเสียง และที่ไม่ยินเสียงก็เพราะว่า
จิตไม่ได้ไปเกิดที่หูเพื่อจะรู้เสียงใช่หรือไม่ ! ทั้งๆที่หูก็มีอยู่ เสียงก็มีอยู่ ทำไมจึงไม่ได้ยิน
ฉะนั้นจึงยืนยันได้ว่าจิตเป็นผู้รู้เสียง จริงไหม๊

อ้างคำพูด:
เอาแบบชัดเจนให้เข้าใจง่าย
ถึงการเกิดขึ้น..ตั้งอยู่..ดับไป
ยิ่งดีค่ะ :b20:


พระพุทธเจ้าเจ้าก็ตรัสไว้ว่า "จิต" ตกอยู่ภายใต้ของกฏไตรลักษณ์ ใช่หรือไม่?
จึงมีความเกิดขึ้นและดับไปเป็นธรรมดา มันเป็นของไม่เที่ยง ยกตัวอย่างเช่นว่า
จิตโลภ จิตโกรธ จิตหลง เกิดขึ้นนั้น ถามว่า เวลาอยากได้อะไรขึ้นมานั้นความอยากได้นั้น
มันจะอยากได้อยู่ตลอดเวลาหรือไม่?

หรือเวลาที่เราร้องให้ หรือ ดีใจเหล่านี้ มันจะร้องให้หรือดีใจ ได้ตลอดเวลาหรือไม่?
โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง นี่แหละเพียงรู้จิตเกิดดับโดยวิธีง่ายๆ ถ้าจะไปรู้เรื่องจิตดวงเดียว
เกิดดับมันก็จะยากขึ้นไปอีก เราจะต้องไปเข้าใจเรื่องวิธีจิตอีก

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ย. 2015, 09:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 09:07
โพสต์: 761

แนวปฏิบัติ: อานาปาฯ
งานอดิเรก: ศึกษาพุทธธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม
ชื่อเล่น: ปลีกวิเวก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


idea เขียน:
แต่ละท่านพอจะขยาย
ความเข้าใจในคำนี้
"จิตผู้รู้"
ได้ยังไงบ้างคะ
tongue

เอาแบบชัดเจนให้เข้าใจง่าย
ถึงการเกิดขึ้น..ตั้งอยู่..ดับไป
ยิ่งดีค่ะ :b20:
:b9: :b9:


tongue สวัสดีค่ะคุณ Idea

ถ้าเรา “ดูใจ” ตัวเองเป็นก็จะหาจิตผู้รู้ได้ไม่ยาก เช่น ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง ลิ้นรับรส จมูกได้กลิ่น
กายรับสัมผัส (เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง ไหว) ให้ดูเข้ามาที่ใจหรือความคิดที่ก้องอยู่ในหัว ว่าในขณะนั้น
เรารู้อะไร คิดอะไร รู้สึกอย่างไร และมันเป็นกุศลหรืออกุศล มีราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้น ความรู้
ความตรึกนึกคิด จะเกิดขึ้นทางมโนทวาร หรือทางใจเราต้องหัดดูใจให้เป็น

จิตนั้นอยู่ในสภาพรู้อารมณ์ รู้ทุกอย่างผ่านทางทวารทั้งหก ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แต่จิตผู้รู้ก็ไม่เที่ยง
มีความเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัยเช่นกัน เช่นตาเห็นสี ใจก็ตีความเป็นรูปร่างสัณฐาน ปรุงแต่งโดยอาศัยความรู้ ความเชื่อ และประสบการณ์ที่ผ่านมาของเรา เป็นความชอบใจ ไม่ชอบใจ แล้วแสดงออกมาทางกาย หรือวาจา ซึ่งในชีวิตประจำวันนั้นสิ่งที่เข้ามากระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย หรือใจ ของเรามีตลอดเวลาเกิดขึ้นและหมดไปอย่างรวดเร็ว ของเก่าหมดไปของใหม่เกิด เป็นอยู่อย่างนี้ตลอดเวลา เช่น หูได้ยินเสียง ใจก็ตรึกนึกคิด ตาเห็นรูป ใจก็ตรึกนึกคิด หรือกายรับสัมผัสใจก็ตรึกนึกคิด เกิดต่อเนื่องเป็นสาย จนทำให้เราหลงอยู่แต่ในความตรึกนึกคิดในเรื่องราวแห่งมายาของความคิดที่ต่อเนื่อง เสมือนจริงและเที่ยงแท้ แต่ถ้าเราฝึกสังเกตโดยอาศัย สติและสมาธิในระดับประเดี๋ยวประด๋าวหรือที่เขาเรียกว่า ขณิกะสมาธิและอาศัยปัญญาพอประมาณ เราก็จะพบว่า จิตผู้รู้นั้นทำงานในลักษณะรู้ได้เพียงอย่างเดียว (เรามนสิการในเรื่องนั้นๆอยู่ก็ไม่อาจรู้เรื่องอื่นได้) อาศัยเหตุปัจจัยในการเกิดขึ้นและหมดไปอยู่ตลอดเวลา เกิดแล้วหมดทันที ตกอยู่ภายใต้กฎไตรลักษณ์

สรุป ถ้าเราไม่เข้าใจเรื่องร่างกายและจิตใจหรือชีวิตของเราเกิดจากอะไรมีกระบวนการทำงานอย่างไร เราก็จะปฏิบัติต่อเขาไม่ถูกต้อง ดังนั้นต้องทำความเข้าใจเสียก่อน

ขอให้เจริญในธรรม

.....................................................
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุสเส
ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้คู่ความดี คือผู้ที่ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์และเทวดา
วรรคทอง วรรคธรรม โดยท่าน ว.วชิรเมธี


แก้ไขล่าสุดโดย ปลีกวิเวก เมื่อ 10 ก.ย. 2015, 12:53, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ย. 2015, 09:47 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ม.ค. 2015, 21:55
โพสต์: 1067

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จิตผู้รู้มีอยู่ 2 อย่าง รู้แบบญาณปัญญากับรู้แบบวิญญาณ ถ้ารู้แบบวิญญาณ รู้แบบความยึดถือทั่วไป รู้โดยแต่งตั้งและจินตนาการ ถึงฌาณและรู้ใจผู้อื่น ถูกบ้างผิดบ้างตามความยึดถือ แต่ถ้ารู้ด้วยญาณและปัญญาจะรู้ถึงต้นเหตุแห่งการปรุงแต่งและข้อความแห่งจิต รู้เห็นตามความเป็นจริง ถูกเป็นถูก ผิดเป็นผิด เป็นเรื่องสัจธรรม รู้โดยที่ไม่อาศัยความจำและความคิด เรียกว่ารู้ด้วยญาณและปัญญา เอาสักแต่ว่ารู้ไม่เหลื่อมล้ำหน้าหลัง ไม่เชื่อมต่ความจำและความคิด เหลือแค่แตะดับๆ ผู้รู้ทันชอบ ชัง เฉย ความรู้สึกย่อมดับ ผู้รู้ทันย่อมเห็นว่าความเกิดอย่างนี้ไม่มีอีกแล้ว การกระทำที่ดียิ่งกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว จะคิดดับๆ

จากสายสืบสั่งสอนนิสัยศาสตร์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ย. 2015, 12:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
Kiss
ในที่นี้กล่าวถึงลักษณะสภาวะธรรมที่เป็นอภิธรรมที่เป็นปรมัตถ์
ประกอบด้วย4ประการคือจิต เจตสิก รูป และนิพพาน(ย่อจิเจรุนิ)
เป็นความละเอียดที่ปราศจากขันธ์ไม่เป็นการรู้รูปนามตามปกติ
ที่คนทั่วไปรู้สิ่งที่มีว่าไม่ดับคือไม่หายไปตั้งแต่เกิดจิตดับคือตาย
:b1:
เพราะจิตผู้รู้เป็นจิตขณะดับกิเลสอาสาวะที่ปกปิดความจริง
จิตผู้รู้มีหนึ่งเดียวเป็นจิตดิ่งในเอกัคตาจิตเป็นเอกัคตารมณ์
จิตที่เป็นตัวรู้เป็นประธานไม่เป็นตัวกรรมเป็นเพียงรับทราบ
จิตเป็นดวงรู้ที่ไม่ใช่สาเหตุแต่เป็นจิตดวงรู้ดั้งเดิมที่บริสุทธิ์
:b16:
สภาพรู้ซึ่งไม่ใช่จิตแต่เกิดดับพร้อมจิตเป็นกรรมคือเจตสิก
เจตสิกนี้เองที่เป็นเจตนาที่เป็นกรรมดี(กุศล)หรือชั่ว(อกุศล)
:b1:
รูปเป็นรูปปรมัตถ์ที่เป็นแสง สี เสียง สัมผัสลักษณะธาตุทั้ง4
ทั้งจิตเจตสิกและรูปเกิด_ดับพร้อมจิต ส่วนนิพพานไม่เกิด_ดับ
จิตผู้รู้เกิดจากการดับรูปธรรมและนามธรรมเหลือแต่ความรู้จริง
เป็นสภาพธัมมะที่ดับการรับรู้ผ่านอายตนะ6ทั้งภายนอกและภายใน
ที่มีการรับรู้ของจิตที่หลงกายว่ามีตัวตนแบบสฬายตนะเกิดจึงมีผัสสะ
เมื่อเข้าถึงความจริงที่ดับกายหยาบ ความรู้ที่ทำสมถภาวนาจนกายหาย
บรรลุมรรคผลดับสัญญาเดิมเป็นจิตที่รู้ทั่วตัวสติสัมปชัญญะว่าไม่ใช่ตัวตน
ดับจิตที่ไม่รู้อาการของกายหยาบเกิดจิตผู้รู้ความจริงในกาย เวทนา จิต ธรรม
ดับอวิชชาเป็นการเกิดจิตดวงใหม่ที่รู้นามเกิด รูปดับที่เป็นกุศลเจตสิกในจิตล้วนๆ
เมื่อจิตถอนจากสมาธิมารับรู้ทางอายตนะ6จึงเกิดญาณรู้แจ้งไม่หลงกายนี่คือจิตผู้รู้
:b44:
onion onion onion

:b1:
การใช้จิตผู้รู้เพื่อให้เกิดธัมมะวิจยะ จึงเป็นความจริงของสติปัฏฐานสี่
ที่ทั้ง4อย่างในสติปัฏฐานคือ1.สติผู้รู้แจ้งวิธีดับกายหยาบโดยที่ยังไม่ตาย
2.สติผู้รู้ดับเวทนาไม่เหลือความเป็นตัวตน 3.สติรู้ในจิตว่ากายและเวทนาดับ
4.สติผู้รู้ที่เห็นว่าจิตรู้ความว่างเป็นอารมณ์อันดียวที่ปล่อยวางกายและเวทนา
เป็นความเข้าใจที่จิตหมดความสงสัยเป็นสติสัมโพชฌงค์ดับสัญญาที่ยึดมั่นกาย
:b43:
:b44: :b44:


แก้ไขล่าสุดโดย Rosarin เมื่อ 20 ก.ย. 2015, 08:46, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ย. 2015, 14:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.ค. 2009, 22:19
โพสต์: 271

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตัววิญญานขันธ์นั้นแหล่ะนะคือจิตผู้รู้.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2015, 00:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
การจะเข้าถึงจิตผู้รู้ที่แท้จริง
ต้องรู้จักปล่อยวางอารมณ์ที่
ไปยึดความจำลักษณะธัมมะ
เพราะจะเกิดการบังคับข่มจิต
เมื่อบังคับจิตจะกลายเป็นหดหู่
ต้องปล่อยวางให้กายเบาจิตเบา
การทำงานของจิตจะไปผสานกับ
ความบริสุทธิ์ทางกายวาจาที่เจตนา
ศีลบริสุทธิ์เกิดประสานกันโดยอัตโนมัติ
จิตจะรู้เห็นตามเป็นจริงโดยไม่ต้องกำหนด
เพราะขณะที่จิตรู้แจ้งคำบริกรรมก็ไม่ปรากฎ
:b17: :b17:
onion onion onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2015, 06:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.ค. 2009, 22:19
โพสต์: 271

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
Kiss
การจะเข้าถึงจิตผู้รู้ที่แท้จริง
ต้องรู้จักปล่อยวางอารมณ์ที่
ไปยึดความจำลักษณะธัมมะ
เพราะจะเกิดการบังคับข่มจิต
เมื่อบังคับจิตจะกลายเป็นหดหู่
ต้องปล่อยวางให้กายเบาจิตเบา
การทำงานของจิตจะไปผสานกับ
ความบริสุทธิ์ทางกายวาจาที่เจตนา
ศีลบริสุทธิ์เกิดประสานกันโดยอัตโนมัติ
จิตจะรู้เห็นตามเป็นจริงโดยไม่ต้องกำหนด
เพราะขณะที่จิตรู้แจ้งคำบริกรรมก็ไม่ปรากฎ
:b17: :b17:
onion onion onion
ฟังธรรมและนำมาโยนิโสมนสิการครับ. ถึงรู้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2015, 22:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


เวลาตั้งใจรู้ธรรมต่างๆรวมทั้งปัจจุบันอารมณ์ ถ้าปฎิบัติในขณะทำการงาน
มักจะมีวิปัสสนูปกิเลส หรือไม่ก็เห็นนิวรณ์อย่างชัดเจน
ส่วนตัวเป็นบ่อย นิวรณ์ที่เหมือนหมดแรง จะขยับทำอะไรมันเหนื่อยมาก
เหมือนไม่มีพลังงาน เป็นกิเลสชนิดหนึ่ง

ถ้านั่งสมาธิ จะกำหนดดีมาก ชัดเจน แยกธรรมได้ง่ายแต่หมดพลัง เพราะโดนนิวรณ์ก่อกวนก่อนหน้า

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 44 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 31 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron