วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 05:07  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2015, 12:55 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอคำอธิบาย,,ความหมาย,,สมมุติ

ของคำว่า....ฐีติภูตัง

ในแง่มุมต่างๆหน่อยค่ะ

:b8:

:b39: :b39: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2015, 14:22 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
มูลการของสังสารวัฏฏ์ 

ฐีติภูตํ อวิชฺชา ปจฺจยา สงฺขารา อุปาทานํ ภโว ชาติ 

คนเราทุกรูปนามที่ได้กำเนิดเกิดมาเป็นมนุษย์ล้วนแล้วแต่มีที่เกิดทั้งสิ้น กล่าวคือมีบิดามารดาเป็นแดนเกิด ก็แลเหตุใดท่านจึงบัญญัติปัจจยาการแต่เพียงว่า อวิชฺชา ปจฺจยา ฯลฯ เท่านั้น อวิชชา เกิดมาจากอะไรฯ ท่านหาได้บัญญัติไว้ไม่ พวกเราก็ยังมีบิดามารดาอวิชชาก็ต้องมีพ่อแม่เหมือนกัน ได้ความตามบาทพระคาถาเบื้องต้นว่า ฐีติภูตํ นั่นเองเป็นพ่อแม่ของอวิชชา ฐีติภูตํ ได้แก่ จิตดั้งเดิม เมื่อฐีติภูตํ ประกอบไปด้วยความหลง จึงมีเครื่องต่อ กล่าวคือ อาการของอวิชชาเกิดขึ้น

เมื่อมีอวิชชาแล้วจึงเป็นปัจจัยให้ปรุงแต่งเป็นสังขารพร้อมกับความเข้าไปยึดถือ จึงเป็นภพชาติคือต้องเกิดก่อต่อกันไป ท่านเรียก ปัจจยาการ เพราะเป็นอาการสืบต่อกัน วิชชาและอวิชชาก็ต้องมาจากฐีติภูตํเช่นเดียวกัน เพราะเมื่อฐีติภูตํกอปรด้วยวิชชาจึงรู้เท่าอาการทั้งหลายตามความเป็นจริง นี่พิจารณาด้วยวุฏฐานคามินี วิปัสสนา รวมใจความว่า ฐีติภูตํ เป็นตัวการดั้งเดิมของสังสารวัฏฏ์ (การเวียนว่ายตายเกิด) ท่านจึงเรียกชื่อว่า "มูลตันไตร" (หมายถึงไตรลักษณ์) เพราะฉะนั้นเมื่อจะตัดสังสารวัฏฏ์ให้ขาดสูญ จึงต้องอบรมบ่มตัวการดั้งเดิมให้มีวิชชารู้เท่าทันอาการทั้งหลายตามความเป็นจริง ก็จะหายหลงแล้วไม่ก่ออาการทั้งหลายใดๆ อีก ฐีติภูตํ อันเป็นมูลการก็หยุดหมุน หมดการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏฏ์ด้วยประการฉะนี้


-- มุตโตทัย -- 

http://larndham.org/index.php?/topic/43 ... %E0%B8%A1/
เอาต่อมาอีกที...นะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2015, 15:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


การตอบ"ฐิติภูตัง"เป็นไปได้ทั้งรูปธรรมและนามธรรม
ฐีติภูตัง นั้นควรต้องแยกคำทั้งสองออกจากกัน

เพื่อสะดวกแก่การอธิบาย คำว่า ฐิติ แปลว่า ตั้งอยู่ (อุปาทะ+ฐีติ+ภังคะ) เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
(คำว่าตั้งอยู่จะอยู่ในระหว่างกลาง)
เปรียบพระอาทิตย์โผล่ขึ้นจากขอบฟ้า ได้แก่ (อุปาทะ) เมื่อต่อจากนั้นพระอาทิตย์
ก็เคลื่อนไปเรื่อยๆแต่ยังไม่ตก ได้แก่(ฐีติ) และเมื่อพระอาทิตย์ตกคือมืด ได้แก่ (ภังคะ)
ที่ยกมาให้ดูก็เพื่อจะให้เห็นว่าฐีติตั้งอยู่ตรงไหน

ที่นี้ก็มาว่าถึงคำว่า "ภูตัง" ก็คือ ภูต หรือ มหาภูตรูปทั้ง ๔ ไแก่ ดิน น้ำ ไฟ ลม
ซึ่งเป็นฐานเป็นที่ตั้งของอุปาทายรูป ๒๔ ฉะนั้นคำว่า "ฐีติภูตัง" มหาภูตรูปตั้งขึ้น ก็มีอุปาทายรูป
ตั้งขึ้นด้วยตามสมควรแก่เหตุ แต่ก็ไม่ได้ตั้งขึ้นแล้วตั้งโด่เด่อย่างนั้น

ย่อมมีการเปลียนแปลงอยู่ตลอดเวลา ตามความสามารถของ มหาภูตรูป
หรือตามความสามารถของ ดิน น้ำ ไฟ ลม คือเปลี่ยนเป็นร้อนบ้าง เปลี่ยนเป็นเย็นบ้าง
เปลี่ยนเป็นแข็งบ้าง เป็นอ่อนบ้างดังนี้ คือจะไม่อยู่นิ่งเฉย จนกว่าจะถึงภังคะคือ ดับ

สรุปความตรงนี้ได้แก่การตั้งขึ้นของมหาภูตรูป ๔ นั่นเอง อันนี้ไม่ได้อธิบายไปในทางนามธรรม

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2015, 22:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 พ.ค. 2004, 12:30
โพสต์: 147


 ข้อมูลส่วนตัว www


เหมือน แก่น กะลา ...

ไม่มีเปลือก

ชั้นนอก สีเขียว

ชั้นใน ที่เป็นขุยขาว

ไม่มี เป็น เงาวาว ... เวทนาใดๆ ก็ไม่มีข้องใน จิต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2015, 12:17 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 101 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร