วันเวลาปัจจุบัน 23 เม.ย. 2024, 15:51  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ค. 2015, 08:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

พระอาจารย์หล้า เขมปัตโต
วัดบรรพตคีรี (วัดภูจ้อก้อ)
ต.หนองสูงใต้ อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร


:b44: ประวัติและปฏิปทา “หลวงปู่หล้า เขมปัตโต”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=44660

:b44: รวมคำสอนและประมวลภาพ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=38521

:b47: :b47:

เครื่องทดสอบของมนุษย์ก็ไม่ต้องยากก็คือ เอา "ศีลธรรม" เป็นเครื่องทดสอบเป็นเครื่องวัด
ผู้ใดแสวงหาศีลหาธรรมก็รู้แล้วว่า ผู้นั้นเคารพพระพุทธศาสนาและเคารพตนด้วย
เคารพธรรมด้วย เคารพปฏิบัติด้วย เป็นคนตาสูงด้วย เป็นคนปัญญาสูงด้วย
เป็นผู้ชอบใคร่ครวญด้วย เป็นนักเหตุนักผลในทางพระพุทธศาสนาด้วย
เครื่องวัดเครื่องตวงสิ่งอื่นๆ ไม่สำคัญ เครื่องวัดเครื่องตวงของมนุษย์ก็คือ ศีลธรรม


เครื่องนุ่งเครื่องห่มภายนอก ผ้าผ่อนท่อนสไบ สังหาริมทรัพย์หรืออสังหาริมทรัพย์ก็ดี
ก็เป็นของสำคัญส่วนหนึ่ง แต่ไม่สำคัญเท่า "ศีลธรรม" ศีลธรรมเป็นของสำคัญ
เฉพาะผู้ถือพระพุทธศาสนา ผู้ตรงกันข้ามก็ยกไว้ ไม่เอามากล่าว

คำสอนใดๆ ในวัฏสงสารไม่เท่าคำสอนของพระพุทธศาสนา
หัวจักรก็ดีด้วย คำสอนก็ดีด้วย เป็นจริงด้วย ไม่มีเท็จด้วย
ผู้ใดเอาไปปฏิบัติก็ไม่ขาดทุน ผู้ปฏิบัติน้อยก็สมน้อย
ผู้ปฏิบัติมากก็สมมาก ไม่ขาดทุนเลย
ผู้ใดทิบเกลือน้อยก็เค็มน้อย ทิบเกลือมากก็เค็มมาก
หวานก็เหมือนกัน พริกก็เหมือนกัน ไม่หนีจากรสชาติตามธรรมชาติของธรรมะ

ทีนี้ธรรมคำสั่งสอนของพระบรมศาสดานั้นจะมีมากมายเป็นก่ายเป็นกอง
ถ้าจะลองกะประมาณ ก็ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์
ถ้าหากว่าจะย่นลงมา ก็หยุดลงมาที่ "กาย วาจา ใจ" ของเราเอง

ย่นลงเป็นสาม ย่นเป็นทีฆนิบาต ย่นเป็นกระทู้ก็มีสามกระทู้ กระทู้กาย กระทู้วาจา กระทู้ใจ
กระทู้ทั้งสามนี้ถ้าไปทำดี ผลของความดีก็มาหา ถ้าไปทำชั่ว ผลของความชั่วก็มาหา
ไม่ต้องเอ่ยเรียกทางดีหรือทางชั่ว..มาหาทันที ทันกาลทันเวลา

เหตุผลไปในทางดี ผลของทางดีก็มา เหตุนั่งผลก็นั่ง เหตุพูดผลก็พูด
เหตุฟังผลก็ฟัง เหตุเข้าใจผลก็เข้าใจ เหตุสงสัยผลก็สงสัย นั่น..เห็นอยู่กับตา

ธรรมทั้งหลายมีนี้จากเหตุ แต่เหตุในทางพระพุทธศาสนา
จัดโดยย่อมี ๒ เหตุ โลกียเหตุ โลกุตตรเหตุ

"โลกุตตรเหตุ" นับตั้งแต่ "พระโสดาบัน" ขึ้นไปจนถึง "อรหัตตมรรค"
ส่วน "อรหัตตผล" ไม่เป็นผลเชื่อมโยงมาหาเหตุ เป็นผลขาดตอน
ส่วน "โลกียเหตุ โลกียผล" นั้นเป็นส่วนเกี่ยวกับทาง "วัตถุนิยม" เป็นส่วนมาก


ทางวัตถุนิยมก็มีดินน้ำไฟลม พอแต่งแส้มสรรค์ออกจากดินน้ำไฟลม
ส่วนอุดมคติเกี่ยวกับจิตกับใจที่คลุกเคล้าไปกับโลภ โกรธ หลง
ธรรมคำสอนพระบรมศาสดาเป็นธรรมคำสอนที่บรรเทาโลภ โกรธ หลง
ให้เบาบางและเหือดแห้งหายไปถ้าเอาไปใช้ในทางถูก
ถ้าเอาไปใช้ในทางผิดก็ทวีคูณ มันขึ้นอยู่กับผู้ใช้


คำสอนแต่ละบทละบาทเป็น "โลกุตตระ" ทั้งนั้น คำสอนของพระบรมศาสดา
นับแต่ศีล ๕ เป็นต้นไป ศีล ๕ เป็นโลกีย์หรือโลกุตระ
คำสอนของพระบรมศาสดาศีล ๕ เป็น "โลกุตรศีล"
ถ้าหากว่าปฏิบัติไม่ให้ด่างไม่ให้พร้อย

การถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
ไม่เอาศาสดาอื่นมาปะปนก็เป็น "โลกุตตรศรัทธา"

ถือทั้งพุทธบ้าง ถือทั้งพราหมณ์บ้าง ถือทั้งผีบ้าง อะไรบ้าง
หลายบ้างเข้าก็เป็น "วิจิกิจฉา" เป็นลังเล..ยังไม่ถึง "โลกุตตรเจตนา"

และยังไม่ถึง "โลกุตตรศรัทธา" อีกด้วย เมื่อไม่ถึงโลกุตตรศรัทธา
ก็ไม่ถึง"โลกุตตรปัญญา" ก็ไม่ถึงโลกุตตรศีลอยู่ในตัว
สิ่งเหล่านี้เป็นหน้าที่ชาวพุทธผู้หวังพ้นทุกข์ในวัฏสงสารจะพิจารณาทั้งนั้น

พระพุทธศาสนาย่นลงมาสั้น ถ้าเป็นเอกนิบาตก็ลงมาหา "ใจ"
เพราะใจเป็นต้นเหตุ ผู้รับผลของเหตุก็ใจเป็นผู้รับ
ผู้สร้างเหตุขึ้นก็คือใจเป็นผู้สร้าง เมื่อสร้างเหตุขึ้นแล้ว
ผลไม่ต้องประสงค์ก็ได้รับตามส่วนควรค่าของเหตุที่ทำดีและชั่ว


เมื่อจิตใจมีกามวิตกทีนี้..ความตริในทางกาม ผลของใจก็นำมาให้ในเวลานั้นในกามวิตก
เมื่อจิตใจส่งเสริมพยาบาทวิตก ผลของความพยาบาทก็มาหาจิตใจในเวลานั้น
เมื่อจิตใจส่งเสริมวิหิงสาวิตก ผลของความเบียดเบียนก็มาหาใจในขณะนั้น
"อกาลิโก" ให้ผลไม่มีกาล ให้ผลไม่มีเวลา จิตใจจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ไม่เป็นปัญหา
เดินไปก็เหมือนกันจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ไม่เป็นปัญหา เวลา "แดดส่อง" เงาก็ไปตามเงา
..ผลของเหตุตามไปยิ่งกว่าเงาอีกด้วย
เงาในที่มันมืดก็ไม่ค่อยจะเห็น
เหตุฉะนั้นพระพุทธศาสนาจึงอาศัย "หลักของเหตุ"
เหตุปัจจะโย เหตุเป็นปัจจัยในมหาปัฏฐานอนันตนัย
ปัจจุบันนะเหตุ ปัจจุบันนะผล อตีตะเหตุ อตีตะผล อนาคตตะเหตุ อนาคตตะผล
ใครเป็นผู้สร้างขึ้น..ก็ "พญาจิตราช" คนเดียวเป็นผู้สร้างขึ้น ตาหูจมูกลิ้นกาย เขาไม่ได้แย่งสร้าง
เพราะเขาอยู่ใต้อำนาจพญาจิตราช ถ้าพญาจิตราชฉลาด
ก็ต้องพาเขาสร้างอันดีเพราะเราเป็นหัวจากเขา
เวลาเขาช่วยได้ เวลาเขาบอกได้ไปเป็น

เมื่อเวลากายและวาจาเขาไม่ยอมทำตามพญาจิตราช พญาจิตราชจะไปสั่งก็ไม่ได้อีก
สั่งให้กระดิกก็ไม่ได้ สั่งให้ไปก็ไม่เป็น เพราะกายกับวาจาเปรียบเหมือนรถ
เมื่อรถไปไม่ไหว ผู้ขับรถจะตีอกชกเศียรให้ไปก็ไปไม่ได้ เพราะชำรุดทรุดโทรมมาก
หมดทางที่จะยกเครื่อง หมดทางที่จะดัดแปลงก็เลยทิ้งกัน หาซื้อคันใหม่
ถ้าเบื่อหน่ายในรถแล้วก็ไม่ต้องซื้ออีก ฉันใดก็ดี ถ้าหากว่าเบื่อหน่ายในชาติๆภพๆแล้ว
ก็ไม่ต้องไปก่อภพอีก ใครจะเป็นผู้เบื่อหน่าย ใครจะเป็นผู้คลายกำหนัด ก็ "พญาจิตราช" คนเดียว

ศีลย่นลงมาหาเอกะศีล ศีล ๕ ก็ย่นลงมาหาเอกะศีล ศีล ๒๒๗ ก็ย่นลงมาเสีย
ศีลขันธ์หมวดศีลย่นลงมาหาเอกะศีลในปัจจุบัน
สมาธิขันธ์หมวดสมาธิย่นลงมาหาเอกะสมาธิในปัจจุบัน
ปัญญาขันธ์หมวดปัญญาย่นลงมาหาเอกะปัญญาในปัจจุบัน
วิมุตติญาณทัสสนะขันธ์ วิมุตติขันธ์หมวดวิมุติ หลุดพ้นความเข้าใจผิดเรียกว่า วิมุติ
หลุดพ้นความเข้าใจผิดไปเป็นตอนๆเรียกว่า วิมุติ เพราะมันไม่ขบถคืน

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ค. 2015, 14:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


เพราะย่นลงมาหาเอกะวิมุตในปัจจุบัน ทุกสิ่งทุกอย่างมันมีอยู่ในปัจจุบันหมด
ไม่ใช่อดีต ไม่ใช่อนาคต ไม่ใช่อะไรต่ออะไร เช่น คุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
ก็มีอยู่ในปัจุุบัน ไม่ใช่เราบ่นเพ้อ ไม่มีเลย ปัจจุบันที่ว่าถือหยาบๆก็เอามาอ้างได้
กุฏิวิหาร ศาลาโรงธรรม ตลอดถึงเครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่ที่อาศัยที่บิณฑบาต เสนาสนะ
ของหยาบๆอย่างนี้คุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ล่ะในทางวัตถุ

ทีนี้ในทางอุดมคติ สอนให้ละชั่ว ประพฤติดี ไม่มีประมาณอีกเสียเลย
นั่นคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มีคุณค่ามาก หาประมาณมิได้
เหตุฉะนั้นท่านผู้มีปัญญามาก ระลึกได้มาก ผู้มีปัญญาน้อยก็ระลึกได้น้อย

เหมือนคนที่มีเชือกสั้นถึงได้ใกล้ ผู้ที่มีเชือกยาวก็ถึงได้ไกล
ผู้ที่สายตายาวก็มองได้ไกล ผู้ที่สายตาสั้นก็มองได้ใกล้
ผู้มีกำลังก็แบกของหนักได้ ผู้ไม่มีกำลังก็แบกของไม่หนัก ของหนักไม่ได้
ฉันใดก็ดี ผู้มีปัญญามากก็ยิ่งเห็นพระคุณของพระบรมศาสดา
คุณของพระบรมศาสดาอยู่ในที่ใด คุณของพระธรรมคุณของพระอริยสงฆ์
ก็กลมกลืนกันอยู่ในขณะเดียวกันในที่นั้น ไม่ได้แยกกันไปทางไหน

คล้ายๆกับว่า เมื่อเห็นหน้าก็เห็นตา เห็นจมูกเหมือนกัน
ฉันใดก็ดีเมื่อเห็นคุณพระพุทธก็เห็นคุณพระธรรม ก็เห็นคุณพระสงฆ์
เมื่อเห็นคุณของพระธรรมก็เห็นคุณของพระสงฆ์ เห็นคุณของพระพุทธ
เมื่อเห็นคุณของพระสงฆ์ ก็เห็นคุณของพระธรรมและพระพุทธอีกเหมือนกัน
อันเดียวกัน ไม่ใช่อื่นเลย เมื่อเห็นหนังก็เห็นเนื้อเห็นกระดูกเพราะอิงอาศัยกันอยู่
สิ่งเหล่านี้ไม่เป็นหน้าที่เราจะสงสัย เราจะสงสัยไปไหน
ผู้ทำดีก็เป็นเรา ผู้ทำชั่วก็เป็นเรา ทำอะไรก็ทำให้เรา ใครทำใครได้

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 30 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร