วันเวลาปัจจุบัน 23 เม.ย. 2024, 20:19  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ค. 2015, 16:28 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ธ.ค. 2012, 16:46
โพสต์: 412

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


( นะติยา อะสะติ อาคะติคะติ นะ โหติ )
เมื่อความน้อมไป ไม่มี
การมาและการไป ย่อมไม่มี

( อาคะติคะติยา อะสะติ จุตูปะปาโต นะ โหติ )
เมื่อการมาและการไป ไม่มี,
การเคลื่อนและการเกิดขึ้น ย่อมไม่มี

( จุตูปะปาเต อะสะติ เนวิธะ นะ หุรัง นะ อุภะยะมันตะเร )
เมื่อการเคลื่อนและการเกิดขึ้น ไม่มี,
อะไรๆก็ไม่มีในโลกนี้ ไม่มีในโลกอื่น ไม่มีในระหว่างแห่งโลกทั้งสอง

( เอเสวันโต ทุกขัสสะ. )
นั่นแหละ คือที่สุดแห่งทุกข์ละ.

s006 s006 s006
น้อมอะไร อะไรมา อะไรไป

ทำไมอะไรๆไม่มีในโลก ระหว่างสองโลกคืออะไร

s006 s006 s006 :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ค. 2015, 19:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


[url]http://faq.watnapp.com/th/practice/84-new-practice/633-01-01-0132[/url]

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ค. 2015, 19:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:54
โพสต์: 615

สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฏก อรรถกถา
ชื่อเล่น: พุทธฏีกา
อายุ: 0
ที่อยู่: ดอยสัพพัญญู

 ข้อมูลส่วนตัว www


อ้างคำพูด:
[๑๖๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของ
ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาค
ทรงชี้ให้ภิกษุทั้งหลายเห็นแจ้ง ... เงี่ยโสตลงฟังธรรม ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระ-
*ภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า ความหวั่นไหว
ย่อมมีแก่บุคคลผู้อันตัณหาและทิฐิอาศัย ย่อมไม่มีแก่ผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัย
เมื่อความหวั่นไหวไม่มี ก็ย่อมมีปัสสัทธิ เมื่อมีปัสสัทธิ ก็ย่อมไม่มีความยินดี
เมื่อไม่มีความยินดี ก็ย่อมไม่มีการมาการไป เมื่อไม่มีการมาการไป ก็ไม่มีการจุติ
และอุปบัติ เมื่อไม่มีการจุติและอุปบัติ โลกนี้โลกหน้าก็ไม่มี ระหว่างโลกทั้งสอง
ก็ไม่มี นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ฯ

-----------------------------------------------
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
๔. นิพพานสูตรที่ ๔
http://www.84000.org/tipitaka/read/v.ph ... agebreak=0

ข้อความที่ยกมาถาม นำมาจากนิพพานสูตรที่ ๔ ในข้อ [๑๖๑] หลังคำว่า
ภิกษุทั้งหลายเห็นแจ้ง หลังเปยยาลใหญ่ ... ก่อนจบเงี่ยโสตลงฟังธรรม เนื้อความมีว่า

"พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง
ด้วยธรรมมีกถาอันปฏิสังยุตต์ด้วยนิพพาน ก็ภิกษุเหล่านั้นกระทำให้มั่น มนสิการแล้ว
น้อมนึกธรรมีกถาด้วยจิตทั้งปวงแล้ว
เงี่ยโสตลงฟังธรรม"

น้อมอะไร?

จิตครับ มีธรรมชาติน้อมไปในอารมณ์ เรียกว่า อาวัชชนะ ก็ได้

- ตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัย
- ความหวั่นไหวไม่มี
- มีปัสสัทธิ
- ไม่มีความยินดี (ตัณหา ที่ทำให้เกิด ภพ)

น้อมที่ว่า จึงหมายถึง ไม่น้อมไปในตัณหาอุปาทานที่ปรุงแต่งให้เกิดภพ
ไม่มีความน้อมไปในภพนั่นเองครับ :b39:

เช่น นักภาวนาที่พึ่งเริ่มต้น บางครั้งบางทีได้ยินว่า สมถะทำให้สงบนาน ทำให้ติด
พอจำไว้เข้าใจเอาไว้อย่างนั้น ความน้อมใจที่จะไป ทำให้จิตสงบนิ่งๆ ก็ไม่มี
ความน้อม อะไรน้อม จึงหมายถึง วิญญาณขันธ์ หรือจิต ที่ไม่น้อมไปใน นามขันธ์
และรูปขันธ์ ไม่ทำจิตให้มีอารมณ์เดียวนิ่งๆ เกรงจะเป็นมิจฉาสมาธิตามเขาว่า
ก็เลยปฏิเสธ เลยคิดว่าจะทำวิปัสสนาดีกว่า หรือ

พอได้ยินได้ฟังธรรมที่เกี่ยวข้องกับวิปัสสนา รู้จริงไม่จริงไม่รู้ แต่เชื่อแล้วว่าดี
ว่าพ้นทุกข์ ว่าไปถึงนิพพาน จิตก็จะยินดีที่จะน้อมใจ ใส่ใจ ที่จะอบรมวิปัสสนาภาวนา :b44:

อะไรมา อะไรไป?

วิญญาณขันธ์ หรือจิตครับ ถือปฏิสนธิและจุติ คือมีการเกิดดับๆ ตลอดนั่นแหละครับ
ที่เรียกว่าการมาการไป อยู่โดยตลอด จิตท่องเที่ยวไป ใน รูป เวทนา สัญญา สังขาร :b41:

อ้างคำพูด:
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราจักบัญญัติการมา การไป จุติ อุปบัติ
หรือความเจริญงอกงามไพบูลย์แห่งวิญญาณ เว้นจากรูป เวทนา สัญญา สังขาร ข้อนี้ไม่เป็น
ฐานะที่จะมีได้.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าความกำหนัดในรูปธาตุ ในเวทนาธาตุ ในสัญญาธาตุ ใน
สังขารธาตุ ในวิญญาณธาตุ เป็นอันภิกษุละได้แล้วไซร้ เพราะละความกำหนัดเสียได้ อารมณ์
ย่อมขาดสูญ ที่ตั้งแห่งวิญญาณย่อมไม่มี วิญญาณอันไม่มีที่ตั้ง ไม่งอกงาม ไม่แต่งปฏิสนธิ หลุด
พ้นไป เพราะหลุดพ้นไป จึงดำรงอยู่ เพราะดำรงอยู่ จึงยินดีพร้อม เพราะยินดีพร้อม จึงไม่
สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมดับรอบเฉพาะตนเท่านั้น ภิกษุนั้น ย่อมทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว
พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

-------------------------------------------------------
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙
สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค มัชฌิมปัณณาสก์
อุปายวรรคที่ ๑ ๑. อุปายสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นความหลุดพ้นและไม่หลุดพ้น
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.p ... 200&Z=1219

ทำไมอะไรๆไม่มีในโลก ระหว่างสองโลกคืออะไร?

ตัณหาครับ ตัณหาดับ คือไม่มีอะไรในโลกนี้ หมายถึงไม่มีความยึดถือ
หรือมี อุปทานขันธ์ ๕ เช่น เพลินสุข เพ้อทุกข์ พอเบื่อ ก็ไปสงบๆสักพัก
แบบนี้คือ ระหว่าง กามภพ กับ รูปภพ สองโลก เพลินกับเพ้อในกามภพ
สงบในรูปภพ ไปและน้อมไปแบบ มีภาวตัณหา คือไปแบบกามภพ ไป
และหรือน้อมไปแบบ วิภาวตัณหา คือไปในรูปภพ ไปแบบยังมีความ
ยึดถือเห็นผิดในเรา ของเรา และของๆ เราว่าเป็นตัวตนของเรา....

แต่พออาศัยมรรค อาศัยสมาธิและปัญญา ละนิวรณ์ ถอนความเห็นผิดบ้าง
ก็สิ้นตัณหาในสมัยนั้นๆ ดับตัณหาไม่เป็นไปในภูมิ ๓ (ข้างต้นไม่ได้พูดถึงเพียงอรูป)
จะเป็นธรรมชาติเป็นกลาง มีจิตตั่งมั่น ไม่เพลินไม่เพ้อในกามภพ โลกนี้ ๑
ไม่ติดฌานติดสงบติดสุขในรูปภพ โลกหน้า ๑ ฯลฯ :b39: :b44: :b41:

.....................................................
39777.กฎกติกา มารยาท และบทลงโทษ ในการใช้บอร์ด

42529.สีลัพพตปรามาส - สีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
44772.e-Book สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 (ลานธรรมเสวนา)
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2 (ลานธรรมเสวนา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ค. 2015, 21:18 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ธ.ค. 2012, 16:46
โพสต์: 412

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 56 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร