วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 18:37  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 เม.ย. 2015, 13:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

onion onion onion

สิ้นภพสิ้นชาติ

พระธรรมเทศนาโดย...หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร

ฟังเทศน์ก็ฟังกันมามากแล้ว บัดนี้เราต้องฟังธรรม
ธรรมเราก็รู้จักแล้วทางภายนอก มันก็เหลือแต่ภายใน
นี้คือการวินัย ฟังแต่ว่าวินัย วินะโย มันนำออกเสียจากความชั่ว
ถ้าแปลทับศัพท์ก็ว่า “เกิดจากภายใน”
สิ่งทั้งหลายมันเกิดมาจากภายใน ไม่ใช่จากภายนอก
เช่นผลมะพร้าวมันจะงอกขึ้น มันก็งอกขึ้นจากข้างใน
ทีนี้มันเกิดเป็นต้นแล้ว มันจะเป็นลูกก็เกิดขึ้นจากต้น
มันไม่ได้ปลิวจากอื่นมาติดเอา นี่เปรียบเป็นอย่างนั้น

ทีนี้ภายในจิตใจของเรา มรรคผลก็อยู่ภายใน สวรรค์นิพพานก็อยู่ภายใน
สุขทุกข์ก็อยู่ภายใน ไม่ใช่อยู่ภายนอก
ทีนี้ศาสนา ตัวพระพุทธศาสนานั่นก็อยู่ภายใน
ท่านไม่ได้ว่าอื่นไกล ปริมณฑลของศาสนากว้างศอกยาววาหนาคืบ
นั่น พิจารณาดูซี่ มีเท่านี้แหละปริมณฑลศาสนา
เบื้องบนเพียงศีรษะเรา เบื้องต่ำเพียงพื้นเท้า
ข้างขวาติดแขนขวา ข้างซ้ายติดแขนซ้าย
ข้างหน้าติดหน้าอก ข้างหลังติดแผ่นหลัง
ปริมณฑลศาสนามีเท่านี้ เราก็มาพิจารณาในนี้ ให้มันรู้ในนี้

ในโอวาทปาฏิโมกข์ท่านได้กล่าวไว้ว่า “สัพพปาปัสสะ อกรณัง
กุสลัสสูปสัมปทา สจิตตปริโยทปนัง เอตัง พุทธานะสาสนัง”

ถ้าแปลใจความเป็นภาษาของพวกเราแล้ว
ท่านบอกว่าละความชั่วทางกาย ทางวาจาและทางใจ
สิ่งใดมันชั่วท่านให้ละ สิ่งใดไม่ดีไม่งามท่านให้ละ
ไม่ไปกระทำทั้งทางกาย ทางวาจาและทางใจ
ทีนี้ กุสลัสสูปสัมปทา พากันทำกุศล ให้เกิด ให้ดีขึ้น
ทั้งทางกาย ทางวาจา ทางใจ ให้กระทำคุณงามความดี
สจิตตปริโยทปนัง ชำระดวงใจให้ผ่องใส
ท่านว่าชำระดวงใจ ท่านไม่ได้ว่าอันอื่นผ่องใส ใจผ่องใส
เอตัง พุทธานะสาสนัง นั้นเป็นศาสนา
ท่านไม่ได้ให้ละความชั่วจากอื่น จากกายจากใจเท่านี้ล่ะ
ความสุขทุกข์ก็ไม่ได้มาจากอื่น เกิดขึ้นจากในกายของเรา

เมื่อเป็นเช่นนี้จึงว่าให้ฟังข้างใน การประพฤติการปฏิบัติ
ถ้าเราไปดูแต่ข้างนอก ไปฟังแต่ข้างนอก
เราก็มองไม่เห็น หรือเห็นแต่มันละไม่ได้วางไม่ได้
เช่นว่าความเกิดอย่างนี้แหละ เราก็มองเห็นคนเกิดมา
คนแก่เราก็มองเห็น แต่เราละไม่ได้
ความเจ็บไข้ได้พยาธิเราก็มองเห็น แต่เราละไม่ได้
คนตายเราก็มองเห็น แต่เราละไม่ได้
อันนี้ในพระธรรมคุณท่านจึงบอกไว้ว่า “เอหิปัสสิโก”
จงร้องเรียกสัตว์ทั้งหลายมาดูธรรม ท่านให้มาดูธรรม
“โอปะนะยิโก” ท่านให้น้อมเข้ามา มาดู ดูความเกิด
อะไรมันเกิดเล่า ตัวเรานี้เป็นผู้เกิด
ถ้าเราเห็นความเกิดของเราว่าเป็นตัวทุกข์ มันก็ละเอง
ถ้าเราไม่เห็นในตัวของเราว่าเป็นทุกข์แล้ว มันก็ละไม่ได้

เปรียบอุปมาอุปไมยเหมือนกับเรายกของหนักๆ ถ้าเรารู้จักว่ามันหนักแล้ว เราก็วาง
ถ้าเราไม่รู้จักหนัก มันก็ไม่วาง นี่แหละฉันใดก็ฉันนั้น

ถ้าเราเห็นความเกิดเป็นทุกข์แล้ว เราก็หยุดจากการเกิดทั้งหลาย
ถ้าเราเห็นความแก่แล้ว มันก็ถอนราคะ โลภะ โทสะ โมหะ
ความโลภ ความโกรธ ความหลงได้
ทั้งความทะเยอทะยานดิ้นรนหรือความอยากทั้งหลาย
นี่ยิ่งเห็นความเจ็บไข้ได้พยาธิ ยิ่งทุกข์แสนทุกข์ ร้องโอยครางโอยอยู่อย่างนี้แหละ
ถ้าเราเห็นอย่างนี้แล้ว ก็ยิ่งวาง ยิ่งละ ละอุปาทานการยึดทั้งหลายทั้งหมด
ว่าสิ่งนั้นเป็นของเรา สิ่งนี้เป็นของเรา รวมเข้าแล้ว ตัวของเราก็ไม่เป็นตัวของเราแล้ว
มีแต่บ่นที่เจ็บ มีแต่บ่นที่ปวด ตรงไหนๆ ก็เหมือนกัน
เราเห็นจริงแจ้งประจักษ์แล้ว จิตของเราก็ถอนอุปาทานการยึดถือ หรือละสักกายทิฏฐิได้
รู้ว่าที่ถือว่าเป็นตัวเป็นตนเป็นสัตว์เป็นบุคคล เป็นเราเป็นเขา มันเป็นไปไม่ได้

เมื่อเราเห็นเป็นอย่างนี้แล้วจิตมันก็สงบภายในได้
มันไม่มีความพัวพันในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์
ไม่มีความทะยานอยากในสิ่งเหล่านั้น
เมื่อรู้ว่าไม่มีแก่นไม่มีสาร ไม่มีสาระ มันก็เลิกก็ละได้ นี่เป็นข้อสำคัญ
ทีนี้เราน้อมเข้ามาพิจารณาถึงความตาย
เมื่อเห็นความตายเข้าแล้ว ยิ่งเบื่อหน่าย
หมดความกำหนัดยินดี ความโลภ ความโกรธ ความหลง
ถ้ามันเห็นอย่างนี้แล้ว มันไม่ได้อะไรสักอย่าง ไม่เป็นแก่น ไม่เป็นสาร ไม่มีสาระ
มันก็เลยละหมด สิ้นอุปาทานการยึดถือและไม่มีความสงสัยคือวิจิกิจฉา
สีลัพพตปรามาส การลูบคลำศีลก็ไม่มี

นี่แหละ เมื่อเป็นเช่นนี้จึงว่าให้ฟังธรรม
น้อมเข้ามาพิจารณาในตัวของเราให้พึงรู้พึงเห็น
ที่พระพุทธเจ้าท่านละราชสมบัติได้ก็เพราะอันนี้ ท่านตรัสรู้ก็รู้อันนี้
คือตัดกิเลส ตัดตัณหา ตัดราคะ โลภะ โทสะ โมหะ เมื่อเห็นแล้วมันก็ตัดเอง
เมื่อเรารู้เราเห็นก็ดังอุปมาในเบื้องต้น คือเมื่อเรายกของหนักไว้
พอเรารู้จักว่าหนักเราก็วางเอง แม้บุคคลอื่นจะห้ามไว้ไม่ให้วางก็ห้ามไม่ได้
เหมือนกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ท่านละราชสมบัติได้ ก็เพราะท่านมาเห็นสิ่งเหล่านี้

เพราะฉะนั้นต่อไปให้พากันเข้าที่นั่งฟังภายในให้มันเห็นจริงแจ้งประจักษ์ลงไป
พิจารณาเท่านี้ล่ะ อริยสัจธรรมทั้งสี่ เข้าวิปัสสนาเพ่งพิจารณา
เอ้า นั่งเข้าที่ นั่งให้สบาย เพ่งเล็งดูให้มันรู้มันเห็น นั่งเพ่งพิจารณาให้มันแน่นอนลงไป
เมื่อเห็นสิ่งใดเกิด ก็เห็นเกิดเป็นทุกข์
อะไรมันเกิดเล่า อะไรมันแก่เล่า อะไรมันเจ็บไข้ได้พยาธิเล่า อะไรมันตายเล่า
ทีนี้เมื่อเห็นสิ่งเหล่านั้นเกิด สิ่งเหล่านั้นแก่ สิ่งเหล่านั้นเจ็บไข้ได้พยาธิ สิ่งเหล่านั้นตาย
พิจารณาต่อไปว่าสิ่งที่ไม่เกิดล่ะ สิ่งที่ไม่แก่ล่ะ มันก็มี
สิ่งไม่เจ็บไม่ไข้ไม่ตายมันก็มี สิ่งไม่ทุกข์มันก็มี
มันเป็นคู่กัน เหมือนมืดกับสว่างอย่างนี้ล่ะ
ความร้อนและความเย็นมันก็เป็นคู่กัน เมื่อจิตตวิญญาณปฏิสนธิ
ขันธ์คือกองรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณก็เกิดขึ้น
เมื่อเรารู้แล้ว เรากำหนดเห็นผู้รู้อยู่ภายใน
ผู้รู้ว่านั่นดี นั่นชั่ว นั่นสุข นั่นทุกข์ เรารู้แล้ว
มันมีผู้รู้ รู้ว่าเกิด รู้ว่าแก่ ใครเป็นผู้รู้ล่ะ เราก็โอปะนะยิโก น้อมเข้าหาผู้รู้นั่นล่ะ
รู้ว่าเจ็บ ใครเป็นผู้รู้ล่ะ รู้ว่าตาย ใครเป็นผู้รู้ล่ะ รู้ว่าทุกข์ ใครเป็นผู้รู้ล่ะ

ถ้าเราน้อมเข้าตรงผู้รู้แล้ว สิ่งเหล่านั้นมันก็ดับไปเอง
เมื่อเรารู้สิ่งเหล่านั้นแล้วมันก็ไม่เกิด
เมื่อเกิดไม่มีแล้ว แก่มันก็ไม่มี
แก่ไม่มีแล้ว ความเจ็บไข้ได้พยาธิมันก็ไม่มี
ความเจ็บไข้ได้พยาธิไม่มีแล้ว ความตายมันก็ไม่มี
เมื่อความตายไม่มีแล้ว ความทุกข์มันก็ไม่มี
จะเอาอะไรมาทุกข์ล่ะน่ะ มันก็มีแต่พุทโธ ผู้รู้อยู่นี่ล่ะ
ที่เราตายแล้วก็เกิดมาเวียนว่ายตายเกิด ก็เพราะไม่มีพุทโธ คือไม่มีผู้รู้นี่ล่ะ


บัดนี้ละเราจะทำให้รู้ เราอยากรู้ว่าสิ่งใดเป็นอะไร
จึงให้น้อมเข้ามาภายใน อะไรๆ มันออกไปจากภายใน ดีก็ดีจากภายใน
เมื่อภายในเราไม่ว่าแล้ว สิ่งเหล่านั้นภายนอกเขาว่าไหม
ในคำสอนท่านว่า อัชฌัตตาวา พหิทธา
อัชฌัตตา คือภายใน พหิทธา คือภายนอก
ภายนอกคือนอกจากจิตของเรา ภายในคือในจิตของเรา ผู้นี้เป็นผู้ปรุง ผู้นี้เป็นผู้แต่ง
เหตุนั้นพระพุทธเจ้าจึงให้น้อมเข้ามาพิจารณาภายในของเรา
ปัจจัตตัง รู้จำเพาะตนเท่านั้น ถ้าตนไม่ก่อภพก่อชาติแล้วมันจะมาจากไหนล่ะ
ไม่ก่อกรรมก่อเวรแล้วกรรมเวรมันจะมาจากไหนล่ะ

ถ้าจิตของเราสงบนิ่ง มันไม่ส่งไปข้างหน้ามาข้างหลัง
ข้างซ้ายข้างขวาข้างบนข้างล่าง ตั้งเฉพาะท่ามกลางความรู้อยู่นั้น
มันไม่สำคัญมั่นหมายอดีตอนาคต กำหนดดูอยู่แต่ในปัจจุบันนี้
นั่งดูอยู่เดี๋ยวนี้ มันเป็นสุขหรือเป็นทุกข์
ทุกข์ก็เราไปว่าเอา สุขก็เราไปว่าเอา เมื่อเราไม่ว่าสุขแล้วมันจะมีไหม
นั่น เราไปยึดเอาสุขมันก็เลยเป็นสุข เราไปยึดเอาทุกข์มันก็เป็นทุกข์
เพราะฉะนั้นเราต้องสงบนิ่งอยู่ อย่าให้โอนเอียงไปนั่นไปนี่
ให้ตั้งอยู่ที่ พุทโธ คือ ผู้รู้อยู่ภายใน

เราทั้งหลายอยากพ้นทุกข์ ทุกข์อยู่ที่ไหนเล่า ทุกข์ไม่ได้อยู่ในต้นไม้ภูเขาเลากา
คือดวงใจเรานี้เป็นทุกข์ ทุกข์เพราะความหลง
ทีนี้การพ้นทุกข์ ที่เรานั่งอยู่นี้จิตของเรามันมีความเบิกบาน
พุทโธคือกำหนดผู้รู้อยู่ มันไม่ทุกข์
จิตมันไม่ทุกข์ก็แปลว่ามันพ้นทุกข์ สุขเพราะมันไม่ทุกข์
นี้ไม่ใช่อื่น ทุกข์ไม่ใช่ผ้าผ่อนท่อนสไบที่อยู่ที่อาศัยมันทุกข์
ไม่ใช่เงินทองมันทุกข์ ญาติพี่น้องมันทุกข์ก็ไม่ใช่
พ่อแม่พี่น้องมันทุกข์ ข้าวของเงินทองมันทุกข์ การงานมันทุกข์ยังงั้นหรือ
ก็เรานั่งอยู่นี่มีอะไรล่ะ ก็ดูซี เรานั่งอยู่เดี๋ยวนี้ไม่มีอะไรซักอย่างไม่ใช่เรอะ
การที่ไหนมี งานที่ไหนมี ให้นั่งอยู่เฉยๆ ทำไมมันทุกข์ล่ะ
นั่นล่ะ ทุกข์เพราะจิตของเรามันหลง
เหตุนี้ให้พากันนั่งดู ต่อไปนี้ให้ฟังธรรมของตัว มันเป็นกุศลธรรมหรืออกุศลธรรม
กุศลธรรมคือจิตฉลาดจิตมีความเยือกความเย็น จิตมีความเบาความสบาย
กายะลหุตา จิตตะลหุตา เมื่อจิตเบาแล้วกายก็เบา

เมื่อจิตของเราเป็นสมาธิแล้วมันมีความอ่อนนิ่มนวลในจิตในใจ ยิ้มในใจ
อิ่มอกอิ่มใจ ใจไม่วุ่นวายใจว่านอนสอนง่าย นั่น มันเป็นอย่างนั้น
มีความอ่อนละมุนละไมไม่ใช่อ่อนแอ เบายิ่งกว่าสำลี ยิ่งกว่าหมด
อิ่มอกอิ่มใจ เกิดปีติขึ้น อิ่มยิ่งกว่าหลับกว่านอน อิ่มยิ่งกว่ารับอาหาร มันเป็นอย่างนี้
เมื่อจิตมันสงบแล้วมันสบายเบาหมดร่างหมดกายนี้ล่ะ นี่ล่ะให้รู้จัก นี่จิตเป็นกุศล
อกุศลล่ะ จิตทะเยอทะยาน จิตฟุ้งซ่าน มันไม่สงบ
มีแต่ปวดตรงนั้นปวดตรงนี้ ไปยึดเอาอันนั้นไปยึดเอาอันนี้มาเป็นของตน
ไปถือเอาสิ่งโน้นสิ่งนี้มาเป็นของตน มันก็เลยเป็นทุกข์อย่างนี้แหละ

ต่อไปนี้ให้พิจารณาอัพยากตธรรม สุขมันก็ไม่ใช่ ทุกข์มันก็ไม่ใช่
มันไม่ได้ไปยึดเอาสุข มันไม่ได้ไปยึดเอาทุกข์ อุเบกขา วางเฉย
ไม่ได้ส่งไปข้างหน้าข้างหลัง ไม่ได้สำคัญสูงสำคัญต่ำ
สำคัญใกล้สำคัญไกล สำคัญในสำคัญนอก มันไม่ได้หมายเป็นอย่างโน้นเป็นอย่างนี้
พุทโธเป็นความรู้จำเพาะอยู่อันเดียว เป็นเอกัคคตารมณ์ เป็นอารมณ์อันเดียว
นี่ล่ะอัพยากตธรรม หรืออัพยากฤต นั่น ไม่ได้สำคัญมั่นหมาย
ไม่ได้สำคัญเย็นไม่ได้สำคัญร้อน สำคัญมืดสำคัญสว่าง
หรือสมมติทั้งหลายเหล่านี้ มันไม่ได้สมมุติว่าเป็นอย่างโน้น ไม่ได้สมมุติว่าเป็นอย่างนี้
วิมุตติ แปลว่าหลุดพ้นไปหมด แน่ะ จุดสำคัญเป็นอย่างนี้

เหตุนั้นให้พากันเพ่งดูต่อไป ต่างคนต่างเพ่งเล็งดู
หัวใจของเรามันของอะไร มันคาอะไร ให้พิจารณา มันมืดหรือมันสว่าง
ยถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง ภูตัง
ความเป็นอยู่ในตัวของเรามันเป็นอยู่อย่างไร เราก็เพ่งดูซิ
ถ้ามันทะเยอทะยาน มันยึดถือรูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ อายตนะภายนอก
เราก็ค้นพิจารณาถึงความเกิดแก่เจ็บตายนี่ซี
เราชอบไหมความเกิดนั่น เราชอบไหมความแก่นั่น
เราชอบไหมความเจ็บไข้ได้พยาธิ เราชอบไหมความตาย
เรายินดีไหม ถ้าไม่ยินดี ทำไมเราไปยึดโน่นยึดนี่ ไปก่อที่โน่นไปก่อที่นี่
ดังที่ว่า ภวาภเว สัมภวันติ ภวะ แปลว่าภพ สัมภวันติ คือต่อ
ไปต่ออารมณ์สัญญา อารมณ์ของธรรม เรื่องเป็นอย่างนี้
ธรรมารมณ์ กามารมณ์ รูปารมณ์ สัทธารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์
เราเอาอะไรเป็นอารมณ์เราก็ได้ไปเกิดเป็นสิ่งนั้น

เมื่อเกิดแล้วมันก็แก่ ถ้าเรารู้แล้วเราไม่ไปยึดอะไรทั้งหมด เราก็ไม่เกิดน่ะซี
เมื่อเราไม่เกิดแล้ว เราจะเอาอะไรมาแก่เล่า
ถ้าเราไม่แก่แล้ว จะเอาอะไรมาเจ็บไข้ได้พยาธิเล่า
ถ้าไม่เจ็บไข้ได้พยาธิ แล้วจะเอาอะไรมาตายเล่า
ถ้าไม่ตาย จะเอาอะไรมาทุกข์ล่ะ
แน่ะ มันก็หมดซี่ สิ้นภพสิ้นชาติ เรื่องเป็นยังงี้
ทีนี้เราไม่สิ้นภพสิ้นชาติซี่ ก่อภพก่อชาติเรื่อยไป ไม่มีที่สิ้นสุด
เอ้า ต่อนี้ไปต่างคนต่างเพ่งดูซี่ เราไม่ต้องการทุกข์ เราก็หยุดความเกิดซี่
ให้จิตมันนิ่งเฉย อย่าส่งไป เอ้า พิจารณาให้มันรู้
เราว่าไม่ต้องการเป็นบาปเป็นกรรมอะไร
ไม่ต้องการภัย ไม่ต้องการเวร ไม่ต้องการความชั่ว
ให้ดูซี่ ผู้ใดเป็นกรรม ผู้ใดเป็นภัย ผู้ใดเป็นเวร
กรรมทั้งหลายไม่ได้มาจากอื่นไกล เช่น กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม
มันเกิดจากกาย เกิดจากวาจา เกิดจากใจ
นี่กายกรรมของเราก็ไม่มีแล้ว วจีกรรมของเราก็ไม่มีแล้ว ยังเหลือแต่มโนกรรมนั่นซี่
มโนกรรมคือความน้อมนึก เราระลึกอันใดอยู่
ความรู้สึกในตัวของเรา เราก็รู้ตรงนั้นซี่

เมื่อจิตของเราวางหมด ละหมด ปล่อยหมด
มันก็หมดภัยหมดเวร หมดบาปหมดกรรมนั่นซี่
เพราะผู้นี้ ไม่เป็นกรรมแล้ว กรรมมันจะมาจากไหนเล่า
ผู้นี้ไม่เป็นภัยแล้ว ภัยมันจะมาจากไหนเล่า
ผู้นี้ไม่มีความชั่วแล้ว ความชั่วมันจะมาจากไหนเล่า
เพ่งดูซี่ ให้น้อมเข้ามาภายใน ฟังทางในมันปรุงมันแต่งสังสารจักรเครื่องหมุนเวียน
ทีนี้พอเป็นอรหันต์จึงว่าหักซึ่งสังสารจักร คือหักอารมณ์สัญญานี่ซี่
ความปรุงความแต่งนี้เป็นเครื่องจักรหมุน
อิทัง โข ภิกขเว ทุกขัง อริยสัจจัง ชาติปิทุกขา
นั่นของจริง คือความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย เป็นทุกข์
จริงอย่างนี้ล่ะ เมื่อเราเห็นแล้วเราก็มาดูหัวใจเราซี่

เอ้า ต่อไปนี้ให้พากันพิจารณาให้มันรู้มันเห็น
สันทิฏฐิโก ผู้ปฏิบัติรู้เองเห็นเอง
จะไม่เห็นยังไงได้จิตของเราเอง เพ่งเล็งดูให้มันรู้มันเห็นซี่
ให้มันแน่นอนลงไป ให้มันเห็นจริงแจ้งประจักษ์
อย่าให้คนล่อลวงว่าสุขเป็นอย่างนั้น ทุกข์เป็นอย่างนี้ ดีเป็นอย่างนั้น ไม่ดีเป็นอย่างนี้
ไม่ต้องสงสัย สุขจริงไหม ทุกข์จริงไหมใจของเรา นั่งอยู่เดี๋ยวนี้ล่ะ
นั่น ให้รู้มันซี่ เกิดจริงไหม แก่จริงไหม ให้รู้ซี่
มันไม่เกิดจริงไหม มันไม่แก่จริงไหม ไม่มีใครไปก่อภพก่อชาติ มันก็ไม่เกิดซี่
เมื่อไม่เกิดแล้วความแก่จะมาแต่ไหนล่ะ นี่แหละให้พากันพึงรู้พึงเห็นต่อไป


คัดมาจาก : หนังสือรวมพระธรรมเทศนา ๑๐๘ กัณฑ์ เล่ม ๒
ที่ระลึกในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี พ.ศ.๒๕๒๕
จัดพิมพ์โดย ชมรมพุทธศาสตร์เอสโซ่
:b8: :b8: :b8:


• ประวัติและปฏิปทา “หลวงปู่ฝั้น อาจาโร”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=58068

• รวมคำสอน “หลวงปู่ฝั้น อาจาโร”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=44391

• ประมวลภาพ “หลวงปู่ฝั้น อาจาโร” วัดป่าอุดมสมพร
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=38&t=42819

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 เม.ย. 2015, 00:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มี.ค. 2016, 09:09 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 เม.ย. 2015, 09:43
โพสต์: 702

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุโมทนาสาธุนะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ต.ค. 2016, 14:38 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2863


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2019, 07:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ธ.ค. 2008, 09:34
โพสต์: 1322


 ข้อมูลส่วนตัว


4Aขออนุโมทนาสาธุการค่ะ :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2019, 20:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2758


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8: :b20:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.พ. 2021, 13:23 
 
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 07:16
โพสต์: 2374

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุโมทนาสาธุการค่ะ
ศรัทธาในปฏิปทาและคำสอนของหลวงปู่ฝั้น อาจาโร
พระอริยเจ้าผู้มีพลังจิตเหนือฟ้าดิน ยิ่งเจ้าค่ะ
:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 15 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร