วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 19:39  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 241 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 11, 12, 13, 14, 15, 16, 17  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2015, 08:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




F16.png
F16.png [ 143.08 KiB | เปิดดู 5976 ครั้ง ]
asoka เขียน:
:b12:
กบ...ตามมาดูด้วยนะ ลุงหมานสรุปคร่าวๆให้ดูแล้วว่าอะไรบ้างเป็น "อารมณ์"
:b12:

สรุปง่ายๆ อะไรที่ถูกจิตเข้าไปรู้อันนั้นแหละคืออารมณ์

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2015, 10:23 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว




crocodile_PNG13167.png
crocodile_PNG13167.png [ 142.1 KiB | เปิดดู 5976 ครั้ง ]
asoka เขียน:
:b12:
กบ...ตามมาดูด้วยนะ ลุงหมานสรุปคร่าวๆให้ดูแล้วว่าอะไรบ้างเป็น "อารมณ์"
:b12:


:b32: :b32:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2015, 06:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




ช่อน.gif
ช่อน.gif [ 51.64 KiB | เปิดดู 5985 ครั้ง ]
อารมณ์ของสมถะกับวิปัสสนานั้นแตกต่างกันมาก

สมถะจะเน้นตัวสมาธิเพื่อกำหนดอารมณ์ให้เป็นหนึ่งเดียว
อารมณ์ของสมถะนั้นได้แก่กรรมฐาน ๔๐ ดังนี้ คือ
กสิณ ๑๐, อสุภะ ๑๐, อนุสสติ ๑๐ พรหมวิหาร ๔, อรูปฌาน ๔, อาหาเรปฏิกูล ๑, จตุววัฏฐาน ๑

วิปัสสนานั้นจะเน้นสติกับปัญญา ตามดูตามรู้อารมณ์ปัจจุบันที่เกิดขึ้นทางทวารต่างๆ
อารมณ์ของวิปัสสนานั้นมี ๖ ได้แก่ รูปกับนาม มีดังนี้คือ
ขันธ์ ๕, อายตนะ ๑๒, ธาตุ ๑๘, สัจจะ ๔, อินทรีย์ ๒๒, ปฏิจจ ๑๒

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ม.ค. 2015, 06:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1367072046.png
1367072046.png [ 98.99 KiB | เปิดดู 5985 ครั้ง ]
สมาธินั้นแบ่งได้ ๓ ระดับ มีขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปณาสมาธิ
จะขอพูดไปตามลำดับของสมาธิ เนื่องจากขณิกสมาธิเป็นสมาธิอีกระดับหนึ่ง
ที่สามารถเกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติ ซึ่งเรียกว่า ขณิกสมาธิ คืออารมณ์ของจิต
ที่เกิดความแน่วแน่อยู่เพียงชั่วระยะเวลาสั้นๆ แล้วไม่สามารถทรงอยู่ได้นาน
คงกระจายออกไป ยึดจับอารมณ์เดิม ตามสภาพเดิมของมันเอง ตามเรื่องราวที่เกิดขึ้นขณะนั้น

ขณิกสมาธินี้ เกิดขึ้นจากการสนใจหรือจดจ่อความคิดของตน
อยู่กับเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง ชั่วระยะหนึ่ง เช่น การฟัง การอ่าน
หรือการดูภาพยนตร์ ดูโทรทัศน์ เล่นกิฬา เป็นต้น สมาธิในลักษณะเช่นนี้ ไม่สามารถนำไปใช้
ประโยชน์ในภายหลังได้ คงเกิดประโยชน์ต่อผู้นั้น เพียงในชั่วระยะเวลาสั้น ๆ ที่เกิดขึ้นเท่านั้น
เป็นเสมือนสมาธิต้นทาง หรือจุดทางแยก ของการเจริญสมถะและทั้งวิปัสสนาได้อย่างชัดเจน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ม.ค. 2015, 07:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1399257279.png
1399257279.png [ 106.32 KiB | เปิดดู 5985 ครั้ง ]
อุปจารสมาธิ คือ อารมณ์ของสมาธิ ที่เกิดขึ้นจากการฝึกอบรมจิต
ตามวิธีการของสมถกรรมฐานจนเกือบจะแน่วแน่ หรือมั่นคงดีแล้ว คือ
ยังไม่ตั้งมั่นอย่างถาวรและสมบูรณ์ จึงเรียกอุปจารสมาธินี้ว่า สมาธิที่เกือบจะมั่นคง

สมาธิในระดับนี้เป็นสมาธิที่เฉียดถึงฌานหรือใกล้ฌานเกิดจากการที่ผู้นั้น
ได้ฝึกฝนปฏิบัติอบรมความคิด หรือจิตของตนเอง ตามวิธีการของสมถกรรมฐานวิธีใดวิธีหนึ่ง

แล้วไม่สามารถประคองจิต หรือความคิดของตนเอง ที่ยึดเกาะอยู่กับอารมณ์ความสงบนั้น
ได้นานเท่าที่ควร สมาธิที่เกิดขึ้นจึงยังไม่เต็มระดับ จำเป็นจะต้องฝึกฝนเพิ่มเติมจนจิต
หรือ ความคิดนั้นสามารถเกิดความตั้งมั่นได้อย่างแท้จริง จิตจึงจะถูกยกระดับเข้าสู่ความสงบอย่างสมบูรณ์
อุปจารสมาธินั้นเรียกได้ว่าเป็นสมาธิที่ยังเข้าไม่ถึงระดับฌาน หรือเพียงแค่จดจ่อเท่านั้นเอง

การเจริญสมถะเป็นการบำเพ็ญเพียรทางจิตโดยใช้สมาธิเป็นหลัก ไม่เกี่ยวกับการใช้ปัญญาและ
มุ่งให้จิตสงบ ระงับจากนิวรณ์ซึ่งเป็นตัวขัดขวางจิตไม่ให้บรรลุความดีที่ให้เข้าถึงฌานเป็นสำคัญ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ม.ค. 2015, 15:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




unnamed.gif
unnamed.gif [ 51.23 KiB | เปิดดู 5985 ครั้ง ]
อัปปนาสมาธิ คือ อารมณ์ของสมาธิ ที่เกิดขึ้นจากการฝึกฝนอบรมจิต
ตามวิธีการของสมถกรรมฐาน จนจิตนั้นเกิดความตั้งมั่นอย่างสมบูรณ์ มีความมั่นคงแห่งจิตเกิด
ขึ้นอยู่ตลอดเวลา หรืออีกนัยหนึ่ง จิตหรือความคิดในขณะนั้น ยึดเกาะรวมกันเป็นอารมณ์เดียวกัน
ซึ่งเรียกว่า ปฐมฌาน อันประกอบด้วยอารมณ์อีก ๕ ลักษณะ รวมกันเป็นอารมณ์เดียว คือ
๑. วิตก ๒. วิจาร ๓. ปีติ ๔. สุข ๕. เอกัคตา ที่เกิดขึ้นอันเนื่องจากเกิดความสงบ
ระงับ หยุดนิ่ง วางเฉยเป็นอุบกขา ไม่ยินดียินร้ายต่อสิ่งที่จิตยึดเกาะจับอยู่ ถือเป็นอารมณ์หนึ่งเดียว

อารมณ์ปฐมฌานที่เกิดขึ้นนี้ จะเกิดขึ้นเมื่อไรก็ได้ ในระหว่างการปฏิบัติตามวิธีการของสมถกรรมฐาน
และหลังจากที่ผู้ปฏิบัติสามารถประคองอารมณ์ ปฐมฌาน นี้ได้มั่นคงดีแล้ว ผู้ปฏิบัติสามารถยกระดับ
ของฌานให้สูงขึ้นได้ จากปฐมฌาน เข้าสู่ ทุติยฌาน ตติยฌาน และ จตุตถฌานได้
ทุติยฌานจะละ วิตก วิจาร ตติยฌานจะละ ปีติ และ จตุตถฌานจะละ สุข ออกได้ดังนี้
เส้นทางของสมถะกรรมฐานจะเป็นไปลักษณะเช่นนี้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ม.ค. 2015, 07:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




BRB.gif
BRB.gif [ 32.25 KiB | เปิดดู 5985 ครั้ง ]
อารมณ์ของวิปัสสนา

อารมณ์ของวิปัสสนานั้น แตกต่างไปจากอารมณ์ของสมถะ เพราะว่าสมถะนั้นมุ่งแต่ให้จิตตั้งมั่นอยู่ใน
อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งแต่อารมณ์เดียวโดยแน่นิ่งอยู่เช่นนั้น ไม่ซัดซ่ายไปในอารมณ์อื่น

แต่วิปัสสนาไม่ใช่ให้จิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวนิ่งอยู่เช่นนั้น แต่เป็นจิตที่คิดและใคร่ครวญ
หาเหตุและผลในสภาวธรรมทั้งหลายและสิ่งที่เป็นอารมณ์ของวิปัสสนานั้น โดยการพิจารณา
สภาวธรรมหรือนามรูป คือ ขันธ์ ธาตุ อายตนะอินทรีย์ให้เห็นตามความเป็นจริง คือ เห็นด้วยปัญญาว่า
สภาวธรรมเหล่านี้ ตกอยู่ในสามัญลักษณะหรือไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวของธาตุ ๔ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม เท่านั้น เป็นสิ่งที่ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น

เพราะแท้จริงแล้วเป็นแต่เพียงสังขารธรรมที่เกิดขึ้นเนื่องจากการปรุงแต่ง แต่เพราะอวิชชา
คือความไม่รู้เท่าสภาวธรรม จึงทำให้เกิดความยึดมั่นด้วยอำนาจอุปาทานเป็นตัวตนและของตน
การเจริญวิปัสสนาก็โดยมีจิตพิจารณาจนรู้แจ้งเห็นจริงว่า อันสภาวธรรมทั้งหลายอันได้แก่
ขันธ์ ๕ นั้นล้วนแต่มีอาการเป็น พระไตรลักษณ์ คือ เป็น อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา..

วิปัสสนากรรมฐาน คือ กรรมฐานเป็นอุบายเรืองปัญญา, ปฏิบัติธรรมที่ใช้สติเป็นหลักมุ่งเน้นปัญญา
โดยมุ่ง สุตมยปัญญา จินตามยปัญญา จนถึงภาวนามยปัญญา รายละเอียดวิธีการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
หรือการเจริญปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ได้แก่ การปฏิบัติตามสติปัฏฐาน ๔ ดังมีบรรยายไว้โดยละเอียด
ในมหาสติปัฏฐานสูตร ในพระไตรปิฎก

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.พ. 2015, 06:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




BrownBullheadIsolated.gif
BrownBullheadIsolated.gif [ 35.47 KiB | เปิดดู 5985 ครั้ง ]
ถ้าติตามมาตั้งแต่ต้นจะเห็นได้ว่าว่า สมถะกับวิปัสสนาจะมีความแตกต่างกันเรื่อง อารมณ์
ในเมื่อต้นทางแตกต่างกัน ปลายทางก็ย่อมจะต้องแตกต่างกัน แต่ก็ย่อมไปเคียงข้างกันได้
เหมือนการเดินไปด้วยขาทั้งสองข้าง ข้างซ้ายกับข้างขวา แต่ความแตกต่างของขาทั้งสองข้าง
จะมีขาอีกข้างหนึ่งที่ถนัดกว่าขาอีกข้างหนึ่ง

สมถะ ไม่สามารถจะละหรือทำลายอนุสัยกิเลสอย่างละเอียดได้ เพราะแม้ในฌานสมาบัติเอง
ก็ยังมีอนุสัยกิเลสอย่างละเอียดนอนเนื่องอยู่ เหตุนั้นจึงทำให้ผู้ได้ฌานสมาบัติยังมีความชื่นชมยินดี
ในความสุขที่เกิดจากฌานนั้นอยู่

ส่วนวิปัสสนานั้น เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็สามารถเปิดเผยความจริงของนามรูป
ที่อวิชชา คือ ความไม่รู้ อันเป็นตัวปิดบังความจริงไว้ เมื่ออวิชชาทำกิจปกปิดความจริงไม่ได้แล้ว
ก็ได้ชื่อว่า “กำลังถูกวิปัสสนาทำลายให้หมดไปในตัวอีกส่วนหนึ่งด้วย”

สมถะ เมื่อทำไปจนเกิดผลก็ทำให้เกิดความสงบสุข ส่วนวิปัสสนานั้นเมื่อทำไป
จนเกิดวิปัสสนา(ปัญญา)แล้ว ก็ทำให้เห็นแต่ทุกข์อย่างเดียว เมื่อผู้ปฏิบัติเห็นทุกข์แล้ว
ตัณหาและทิฏฐิ ก็ไม่อาจจะอาศัยเกิดได้ในอารมณ์เช่นที่ว่านั้น

สมถะ คือ สมาธิที่เกิดในฌานนั้น สามารถเกิดมีได้ทั้ง อุปจาระ และ อัปปนาสมาธิ
ส่วนสมถะ คือ สมาธิที่เกิดร่วมกับวิปัสสนาปัญญานั้น จะเกิดมีได้เฉพาะ ขณิกสมาธิที่เกิดตาม
สภาวะอารมณ์ชั่วขณะที่อารมณ์นั้นๆ ยังปรากฏอยู่ชั่วขณะหนึ่งๆ เท่านั้น เมื่ออารมณ์นั้นดับไปแล้ว
สมาธิที่เกิดร่วมกับวิปัสสนาปัญญานั้น ก็พลอยดับไปด้วย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.พ. 2015, 12:27 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ย. 2014, 11:55
โพสต์: 123

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




Lobocheilus-melanotaenia.gif
Lobocheilus-melanotaenia.gif [ 49.64 KiB | เปิดดู 5985 ครั้ง ]
สวัสดีครับลุงหมาน

ขอถามลุงว่าทั้งสมถะและวิปัสสนาทำไปเพื่อให้เกิดผลเป็นอย่างไรครับ และจุดมุ่งหมาบที่แท้จริงทั้งสมถะและวิปัสสนานั้นคืออะไรครับ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2015, 08:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




fc3914b330ebfda5804bf62f18ef528c938e5340_original.png
fc3914b330ebfda5804bf62f18ef528c938e5340_original.png [ 101.04 KiB | เปิดดู 5985 ครั้ง ]
toy1 เขียน:
สวัสดีครับลุงหมาน

ขอถามลุงว่าทั้งสมถะและวิปัสสนาทำไปเพื่อให้เกิดผลเป็นอย่างไรครับ และจุดมุ่งหมาบที่แท้จริงทั้งสมถะและวิปัสสนานั้นคืออะไรครับ

ผลจากการเจริญสมถะ ย่อมได้ ฌาน อภิญญา ละนิวรณ์ ๕
ให้ได้รับความสุขเข้าถึงพรหมโลก

ผลของเจริญวิปัสสนา ย่อมละสังโยชน์ ๑๐ ตัดอนุสัย ๗
ให้ได้รับความสุขในชาตินี้และเข้าถึงความสุขที่สุด คือ พระนิพพาน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2015, 08:37 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ย. 2014, 11:55
โพสต์: 123

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




seabass.png
seabass.png [ 21.72 KiB | เปิดดู 5985 ครั้ง ]
เรืองของชีวิตที่มีกรรม มีสิ่งปรุงแต่งให้เดินไปตามกรรม เหมือนความคิดเนื่่องด้วยอารมณ์ของโลกียะทีเราหลงยึดถืออยู่ให้เดินอยู่ในคำว่าทุกข์ อยากถามลุงหมานต่อว่า การปฏิบัติธรรมทั้งสมถะและวิปัสสนานั้นมีความสัมพันธ์แอบอิงกันอยู่หรือไม่ แล้วเวลาไหนที่เราควรใข้สมถะ เวลาไหนควรใช้วิปัสสนาครับ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2015, 16:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




ตะเพียนขาว.gif
ตะเพียนขาว.gif [ 61.99 KiB | เปิดดู 5985 ครั้ง ]
Quote Tipitaka:
[๒๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างเป็นไปในส่วนแห่งวิชชา
ธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สมถะ ๑ วิปัสสนา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมถะ
ที่ภิกษุเจริญแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมอบรมจิต จิตที่อบรมแล้ว
ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมละราคะได้ วิปัสสนาที่อบรมแล้วย่อมเสวย
ประโยชน์อะไร ย่อมอบรมปัญญา ปัญญาที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร
ย่อมละอวิชชาได้ ฯ
[๒๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่เศร้าหมองด้วยราคะ ย่อมไม่หลุดพ้น
หรือปัญญาที่เศร้าหมองด้วยอวิชชา ย่อมไม่เจริญด้วยประการฉะนี้แล ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย เพราะสำรอกราคะได้ จึงชื่อว่าเจโตวิมุติ เพราะสำรอกอวิชชาได้
จึงชื่อว่าปัญญาวิมุติ ฯ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.พ. 2015, 08:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1367072714.png
1367072714.png [ 79.57 KiB | เปิดดู 5985 ครั้ง ]
toy1 เขียน:
เรืองของชีวิตที่มีกรรม มีสิ่งปรุงแต่งให้เดินไปตามกรรม เหมือนความคิดเนื่่องด้วยอารมณ์ของโลกียะทีเราหลงยึดถืออยู่ให้เดินอยู่ในคำว่าทุกข์ อยากถามลุงหมานต่อว่า การปฏิบัติธรรมทั้งสมถะและวิปัสสนานั้นมีความสัมพันธ์แอบอิงกันอยู่หรือไม่ แล้วเวลาไหนที่เราควรใข้สมถะ เวลาไหนควรใช้วิปัสสนาครับ


มันก็ขึ้นอยู่กับว่า เราต้องการความสุขแบบไหน
ความสุขมันมี ๒ อย่าง
ถ้าต้องการความสุขทางโลกียะเราก็ควรฝึกสมถะ
ถ้าต้องการความสุขในโลกุตตระเราก็ต้องฝึกวิปัสสนา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.พ. 2015, 11:30 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ย. 2014, 11:55
โพสต์: 123

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




ดุกด้าน.gif
ดุกด้าน.gif [ 49.75 KiB | เปิดดู 5985 ครั้ง ]
ลุงหมาน เขียน:
toy1 เขียน:
เรืองของชีวิตที่มีกรรม มีสิ่งปรุงแต่งให้เดินไปตามกรรม เหมือนความคิดเนื่่องด้วยอารมณ์ของโลกียะทีเราหลงยึดถืออยู่ให้เดินอยู่ในคำว่าทุกข์ อยากถามลุงหมานต่อว่า การปฏิบัติธรรมทั้งสมถะและวิปัสสนานั้นมีความสัมพันธ์แอบอิงกันอยู่หรือไม่ แล้วเวลาไหนที่เราควรใข้สมถะ เวลาไหนควรใช้วิปัสสนาครับ


มันก็ขึ้นอยู่กับว่า เราต้องการความสุขแบบไหน
ความสุขมันมี ๒ อย่าง
ถ้าต้องการความสุขทางโลกียะเราก็ควรฝึกสมถะ
ถ้าต้องการความสุขในโลกุตตระเราก็ต้องฝึกวิปัสสนา


ทำไมจึงว่า ถ้าต้องการความสุขทางโลกียะเราก็ควรฝึกสมถะ เพราะที่เข้าใจก็เห็นพระอริยะเจ้าก็ล้วนอาศัยสมถะภาวนาให้จิตสงบ ย่อมเสพเสนาสนะ อันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ
ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง ในกาลภายหลังภัต เธอกลับจากบิณฑบาตแล้ว นั่งคู้บัลลังก์
ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า ละความเพ่งเล็งในโลก มีใจปราศจากความเพ่งเล็งอยู่
ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความเพ่งเล็งได้ ละความประทุษร้ายคือพยาบาท ไม่คิดพยาบาท
มีความกรุณาหวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความประทุษร้ายคือ
พยาบาทได้ ละถีนมิทธะแล้ว เป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ มีความกำหนดหมายอยู่ที่แสงสว่าง
มีสติสัมปชัญญะอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะได้ละอุทธัจจกุกกุจจะแล้ว เป็นผู้ไม่
ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบ ณ ภายในอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะได้ ละวิจิกิจฉาแล้ว
เป็นผู้ข้ามวิจิกิจฉา ไม่มีความคลางแคลงในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก
วิจิกิจฉาได้.

ผมจึงสงสัยว่าสมถะจะเป็นสุขแบบโลกียะได้อย่างไร
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.พ. 2015, 20:51 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


หากเราเอาอาการ.....มีเกิดแล้วก็มีดับ...เป็นคุณสมบัติของโลก...คุณสมบัติวัฏฏะสงสาร

ความสุข...จากสมถะ...ก็จัดเป็นโลกียะ...คือ...เป็นอย่างโลก..เป็นของโลก


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 241 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 11, 12, 13, 14, 15, 16, 17  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 45 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron