วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 14:49  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง





กลับไปยังกระทู้  [ 103 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2014, 16:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 21:53
โพสต์: 235

สิ่งที่ชื่นชอบ: ใจต่อใจในการฝึกตน
ชื่อเล่น: เมฆ
อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ



บทที่ ๔๒ ธรรมชาติหล่อเลี้ยงคนจน

ฉันถูกสั่งให้นั่งอยู่เฉยๆเพื่อดูแม่หุงข้าวทำกับข้าว
ความเป็นเด็กวัยห้าขวบของฉันมันทำให้ดูอึดอัดเมื่อต้องนั่งอยู่กับที่นานๆ
หลังจากที่แม่หุงข้าวเสร็จแล้วเห็นแม่หยิบผักอะไรบางอย่างขึ้นมาเพื่อแกงกิน
มันเป็นผักใบเล็กๆมนๆดูไม่น่ากินแม่หยิบมันทั้งก้านใส่หม้อแกงที่น้ำกำลังร้อน
หลังจากที่ตั้งวงข้าวเสร็จแล้วและทุกคนนั่งอยู่กันอย่างพร้อมหน้า
ด้วยความที่ยังสงสัยอยู่จึงอดถามแม่ขึ้นมาไม่ได้ว่า
ผักที่แม่แกงวันนี้มันคือผักอะไรและลูกกินมันได้ไหม
เพราะความเข้าใจในความเป็นเด็กของฉันผักที่ฉันรู้จักส่วนใหญ่จะมีใบใหญ่ๆเท่านั้น
แต่เจ้าผักที่ว่านี้มันเป็นผักแปลกประหลาดในความรู้สึก
เพราะไม่เคยเห็นมาก่อนและใบมันมีขนาดเล็กมาก
สิ่งที่ฉันเห็นตอนพ่อตักแกงร้อนๆขึ้นมาใส่จาน
ฉันเห็นผักที่ว่านี้มันถูกตักขึ้นมาเป็นขยุ้มๆ
เพราะยอดผักในแกงมันพันกันยุ่งไปหมดและเห็นพ่อเคี้ยวมันอยู่นาน
แม่บอกฉันว่ามันคือผักอีไรและมันขึ้นอยู่บนคันนาที่แม่ไปเก็บมาจากนาหลังบ้าน
สิ่งที่แม่บอกมันทำให้ฉันรู้สึกงงๆและจินตนาการไม่ออก
ว่าทำไมผักชนิดนี้มันถึงขึ้นในท้องนาและทำไมเขาไม่ปลูกมันขาย
กาลเวลาได้ผ่านไปจนฉันเติบโตขึ้นได้เข้าเรียนชั้นมัธยมปีที่หนึ่ง
แม่จึงเปิดโอกาสให้ฉันตามแกออกไปที่ทุ่งนาห่างจากบ้านหลายกิโล
มันเป็นการออกไปนาเป็นครั้งแรกในชีวิตของฉันเพื่อขุดหาหอยตามคันนา
และก็เป็นครั้งแรกเช่นกันที่แม่ชี้ให้ฉันดูว่านี่คือต้นผักอีไรที่ฉันเคยกินตอนเด็กๆ
มาวันนี้ฉันจึงพอจะเข้าใจแล้วว่า
ทำไมครอบครัวของเราต้องเก็บผักอีไรตามท้องนามากิน
เพราะความที่เป็นคนบ้านนอกและฐานะยากจนครอบครัวมีรายได้น้อย
การเก็บผักเก็บหญ้าที่มันขึ้นอยู่ตามธรรมชาติของมันเองโดยไม่ต้องเสียเงินซื้อ
มันจึงเป็นเรื่องปกติในวิถีชีวิตของคนบ้านนอกคอกนาที่ขัดสนเรื่องเงินทอง
และพยายามที่จะดำรงชีวิตของตนเองไปด้วยความประหยัดเรียบง่ายไม่ฟุ้งเฟ้อ
ขอบคุณธรรมชาติที่ยังมีความเมตตา
หล่อเลี้ยงชีวิตครอบครัวของเรา


“สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
“การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
ราเชนทร์ สิมะสุนทร
หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"


แก้ไขล่าสุดโดย เมฆ โซะระคุโมะ เมื่อ 12 ธ.ค. 2014, 13:00, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2014, 16:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 21:53
โพสต์: 235

สิ่งที่ชื่นชอบ: ใจต่อใจในการฝึกตน
ชื่อเล่น: เมฆ
อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ


บทที่ ๔๓ สัมปชัญญบรรพ

พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสถึงการพึงมีสติระลึกถึงความรู้ตัวทั่วพร้อมในการเคลื่อนไหวแห่งร่างกายต่างๆ เพื่อพิจารณาเห็นถึงความเกิดขึ้นแห่งการเคลื่อนไหวของร่างกายต่างๆและการเคลื่อนไหวแห่งร่างกายต่างๆที่เกิดขึ้นก็เปลี่ยนสภาพไปตั้งอยู่ในการเคลื่อนไหวแห่งร่างกายเดิมๆได้ไม่นานและมีความเสื่อมไปสิ้นไปจากการเคลื่อนไหวแห่งร่างกายเดิมๆนั้น
ด้วยความตระหนักชัดถึงความสิ้นไปเสื่อมไปเป็นธรรมดาของการเคลื่อนไหวแห่งร่างกายต่างๆที่ไม่สามารถตั้งอยู่ในจุดเดิมได้มีความแปรผันไม่เที่ยงแท้ในจุดเดิมนั้น การเคลื่อนไหวแห่งร่างกายต่างๆและร่างกายเรานี้ย่อมหาความมีตัวตนที่แท้จริงไม่และพึงพิจารณาถึงจิตที่ปรุงแต่งขึ้นอันเป็นไปในการเคลื่อนไหวแห่งร่างกายต่างๆและขันธ์ทั้งห้าอันคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นกลายเป็นจิตที่ปรุงแต่งขึ้นมาอันเกี่ยวกับกายในการเคลื่อนไหวไปทั้งหลายนั้น "จิตชนิดนี้และขันธ์ทั้งหลายเหล่านี้" ย่อมมีความแปรผันไม่เที่ยงแท้แน่นอนเช่นกันและควรน้อมนำสิ่งที่เราเห็นกายภายนอกคือการเคลื่อนไหวแห่งร่างกายต่างๆของคนอื่นมาพิจารณาให้เห็นถึงความเป็นจริงแห่งธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าฯเช่นกัน จิตที่ปรุงแต่งขึ้นและขันธ์ทั้งห้ารวมถึงทุกสรรพสิ่งนั้นย่อมว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนซึ่งหมายถึงแท้จริงแล้วธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งมันย่อมว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนของมันอยู่อย่างนั้น




“สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
“การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
ราเชนทร์ สิมะสุนทร
หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2014, 16:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 21:53
โพสต์: 235

สิ่งที่ชื่นชอบ: ใจต่อใจในการฝึกตน
ชื่อเล่น: เมฆ
อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ




บทที่ ๔๔ หอมกรุ่นไอดิน



หลังจากที่ฝนได้ตกกระหน่ำลงมาอย่างไม่ลืมหูลืมตา
ไอดินได้ระเหือดระเหยแทรกตัวมันเองขึ้นมา
ท่ามกลางพืชพันธุ์ที่ปลูกลงกล้าไว้เมื่อสามเดือนที่แล้ว
มันโรยตัวล่องลอยไปในอากาศเหมือนความฝันของฉัน
ดวงอาทิตย์ได้พยายามส่องสาดแสงอ่อนๆของมันผ่านสายรุ้งเจ็ดสี
ทะลุก้อนปุยเมฆสีขาวสะอาดที่ยังมีอยู่อย่างกระจัดกระจายบนท้องฟ้าหลังฝนได้หยุดตก
ลงมากระทบหยาดฝนที่ยังพรมอยู่ตามใบหญ้า
ฉันอยู่ในกระท่อมหลังเก่าที่อยู่เชิงตีนเขาซึ่งปลูกอยู่ที่กลางไร่
ความเย็นของละอองฝนที่พึ่งสร่างซา
ทำให้ฉันต้องนอนเอาคางเกยหมอนมองดูธรรมชาติ
ที่มันกำลังทำหน้าที่ของมันอยู่อย่างนั้น
ความสวยงามที่ธรรมชาติได้สร้างสรรค์ขึ้น
พาให้ฉันหลุดลอยไปในภวังค์แห่งความคิด
ว่าแท้จริงชีวิตก็สามารถมีความสุขได้อย่างเรียบง่าย
หากเราพึงพอใจและเข้าใจในสิ่งที่เรามีอยู่
และได้ดำรงร่วมอยู่กับมันตามสภาพความเป็นจริง
โดยไม่ขัดขืนและไม่ฝืนใจตน



“สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
“การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
ราเชนทร์ สิมะสุนทร
หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2014, 16:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 21:53
โพสต์: 235

สิ่งที่ชื่นชอบ: ใจต่อใจในการฝึกตน
ชื่อเล่น: เมฆ
อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ


บทที่ ๔๕ ปฏิกูลมนสิการบรรพ


พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสถึงการพึงพิจารณาธรรมว่ากายเรานี้เป็นสิ่งไม่สวยงาม เพื่อพิจารณาเห็นถึงความเกิดขึ้นแห่งทิฐิเกี่ยวกับรูปกายที่เห็นเป็นร่างกายสมบูรณ์สวยงาม เมื่อเข้าใจแล้วว่าแท้จริงร่างกายนั้นมันเพียงถูกห่อหุ้มและเต็มไปด้วยอวัยวะน้อยใหญ่ซึ่งเป็นสิ่งไม่สวยงาม ด้วยความตระหนักชัดถึงความสิ้นไปเสื่อมไปเป็นธรรมดาของทิฐิเกี่ยวกับรูปกายที่เห็นเป็นร่างกายสมบูรณ์สวยงามนั้นไม่สามารถตั้งอยู่ในความหมายเดิมตามความเข้าใจแห่งเราเดิมๆได้มันมีความแปรผันไม่เที่ยงแท้ ทิฐิเกี่ยวกับรูปกายที่เห็นเป็นร่างกายสมบูรณ์สวยงามและร่างกายเรานี้ย่อมหาความมีตัวตนที่แท้จริงไม่และพึงพิจารณาถึงจิตที่ปรุงแต่งขึ้นอันคือทิฐิเกี่ยวกับรูปกายที่เห็นเป็นร่างกายสมบูรณ์สวยงามและขันธ์ทั้งห้าอันคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นกลายเป็นจิตที่ปรุงแต่งขึ้นมาเป็นทิฐิเกี่ยวกับรูปกายที่เห็นเป็นร่างกายสมบูรณ์สวยงามนั้น "จิตชนิดนี้และขันธ์ทั้งหลายเหล่านี้" ย่อมมีความแปรผันไม่เที่ยงแท้แน่นอนเช่นกันและควรน้อมนำสิ่งที่เราเห็นกายภายนอกคือการที่เรามีทิฐิเกี่ยวกับรูปกายคนอื่นที่เห็นเป็นร่างกายสมบูรณ์สวยงามมาพิจารณาให้เห็นถึงความเป็นจริงแห่งธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าฯเช่นกัน จิตที่ปรุงแต่งขึ้นและขันธ์ทั้งห้ารวมถึงทุกสรรพสิ่งนั้นย่อมว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนซึ่งหมายถึงแท้จริงแล้วธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งมันย่อมว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนของมันอยู่อย่างนั้น




“สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
“การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
ราเชนทร์ สิมะสุนทร
หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2014, 16:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 21:53
โพสต์: 235

สิ่งที่ชื่นชอบ: ใจต่อใจในการฝึกตน
ชื่อเล่น: เมฆ
อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ



บทที่ ๔๖ นาบัว

คันนาเก่าๆซึ่งเป็นดินที่ถูกพูนขึ้นมานานจนมีต้นกระดุมทองขึ้นอยู่เต็มไปหมดนี้
บัดนี้มันกลายมาเป็นขอบบึงบัวที่กว้างใหญ่และอยู่ไม่ไกลจากที่นาของฉัน
ฉันมานั่งเล่นอยู่ที่นี่ประจำ
ด้วยคันดินที่ถูกยกขึ้นจนสูงเพื่อให้พ้นระดับน้ำที่มีปริมาณมากที่ท่วมขังอยู่ในนาบัวแห่งนี้
จึงทำให้ฉันมองเห็นถึงความเป็นธรรมชาติของบึงแห่งนี้ได้อย่างทั่วถึง
ที่นี่มีธรรมชาติที่สวยงามและมีบรรยากาศที่น่านอนเล่นพักผ่อนหย่อนใจ
ในตอนเช้าๆเราสามารถเห็นฝูงนกกวักสีดำที่ทำรังอยู่ตามกอหญ้าที่ลอยอยู่ไปทั่วบึงบัวแห่งนี้
พวกนกกวักมันจะค่อยๆย่ำไปตามใบบัวที่ลอยอยู่ตามผิวน้ำและคอยจิกหาปลาตัวเล็กๆที่แหวกว่ายอยู่ใต้หนองน้ำ
ที่นี่มีความอุดมสมบูรณ์ทางด้านนิเวศวิทยาอย่างมาก
มีนกอยู่หลายสายพันธุ์ที่ใช้บึงแห่งนี้เป็นบ้านของพวกมัน
ที่เห็นอย่างเด่นชัดก็คือฝูงของนกกระยางสีขาวที่บินโฉบลงมาที่ละหลายร้อยตัว
สรรพสัตว์ต่างๆก็ต่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันแบ่งปันพื้นที่เพื่อดำรงชีวิตหากินของพวกตน
เพราะความกว้างใหญ่ไพศาลของบึงจึงมีชาวประมงได้พายเรือออกวางเบ็ดราวหาปลากันหลายชีวิตหลายครอบครัว
เคยสอบถามพวกเขาเหล่านี้ได้ความว่าพวกหาปลาพอมีรายได้จากการวางเบ็ดวันละสามสี่ร้อยบาท
ปลาส่วนใหญ่ที่หาได้ก็มีพวกปลาช่อนและปลาสวายที่มีอยู่ชุกชุมในหนองน้ำลึกแห่งนี้
นักหาปลามักจะเอากล้วยน้ำว้าสุกเป็นลูกๆมาเกี่ยวเป็นเหยื่อเพราะปลาสวายชอบกิน
ปลาสวายที่นี่ตัวใหญ่มากเพราะเป็นปลาที่มีอยู่ตามธรรมชาติตัวหนึ่งหนักเป็นกิโลขึ้นไป
เดี๋ยวนี้ถึงแม้จะมีเกษตรกรนิยมเลี้ยงปลาพวกนี้ไว้ในสระของตนแต่ชาวบ้านไม่นิยมรับประทานเพราะปลาเลี้ยงมีกลิ่นคาวมากเวลาปรุงเป็นอาหาร
เหตุอาจมาจากการใช้หัวอาหารเลี้ยงปลาและปลาอยู่แต่ในบ่อที่คับแคบขาดความเป็นธรรมชาติไป
บัวที่ขึ้นอยู่แบบแออัดเต็มบึงนั้นส่วนใหญ่เป็นบัวหลวง
จะมีก็เป็นบางพื้นที่ของบึงที่บัวสายมีดอกใหญ่มันพอแทรกตัวขยายพันธุ์ของพวกมัน
ก็มีบางวันที่ฉันได้ลงไปเก็บสายบัวมาแกงกะทิกับปลาทูกินยามเบื่ออาหาร
บัวหลวงนับว่าทำรายได้งามให้กับคนในท้องถิ่นนี้
บัวหลวงที่ตูมและไม่ใหญ่นักชาวบ้านได้เอาเรือลงมาลุยเก็บกันในหัวรุ่งอรุณยามเช้าของทุกวัน
ชาวบ้านเก็บเอาไปส่งที่ตลาดในราคาดอกละหนึ่งบาท
มันเป็นราคาส่งที่ไม่เคยขยับขึ้นมาเลยหลายปีแล้ว
พวกเขาจะเลือกเก็บดอกที่มันสวยๆและเด็ดเอาใบบัวขนาดใหญ่มาห่อไว้เป็นมัดๆ
มัดหนึ่งก็ตกราวยี่สิบดอก
บัวจะขายดีมากในวันพระพอๆกับดอกกล้วยไม้ที่ท้ายหมู่บ้านที่เขาได้ปลูกไว้เป็นไร่ๆและตัดมาขายที่ตลาดสด
บางครั้งความยากจนทำให้ชาวบ้านต้องใช้แรงงานของตนเองมาขุดเหง้าบัวไปเชื่อมเพื่อวางขาย
การขุดรากบัวแต่ละกอขึ้นมาไม่ใช่งานง่ายๆ
เพราะรากบัวจะชอนไชฝังตัวมันเองอยู่ในโคลนลึก
ถ้าหากชาวบ้านได้เหง้าบัวที่มีความสมบูรณ์ขนาดใหญ่ก็ถือเป็นความโชคดีของพวกเขา
เพราะมันหมายถึงรายได้อย่างงามสมกับกำลังงานที่พวกเขาสูญเสียไป
ชาวบ้านต่างก็ได้ประโยชน์จากหนองน้ำแห่งนี้มาหลายชั่วอายุคนแล้ว
ฉันเป็นเพียงคนรุ่นใหม่ที่ยังมีความโชคดีได้เห็นบึงบัวอันเก่าแก่แห่งนี้อยู่
ในปีหน้าถ้าหากฉันพอมีเงินเหลือเก็บ
ฉันมีความตั้งใจว่าจะมาสร้างศาลาทรงไทยหลังเล็กๆไว้ตรงที่ที่ฉันมานั่งเล่นนี้
เพื่อให้คนที่เดินผ่านไปมาในหนทางนี้ได้เข้ามาพักหลบแดดหลบฝน
และนั่งมองดูดอกบัวที่ขึ้นอย่างตระการตาในบึงสวยแห่งนี้


“สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
“การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
ราเชนทร์ สิมะสุนทร
หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2014, 16:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 21:53
โพสต์: 235

สิ่งที่ชื่นชอบ: ใจต่อใจในการฝึกตน
ชื่อเล่น: เมฆ
อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ



บทที่ ๔๗ ธาตุมนสิการบรรพ


พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสถึงการพึงพิจารณาธรรมว่ากายเรานี้เป็นสิ่งที่ย่อมสลายออกเป็นส่วนๆไปตามกาลเวลาพึงตั้งอยู่ตามที่พึงตั้งอยู่ตามปรกติได้ไม่นาน เพื่อพิจารณาเห็นถึงความเกิดขึ้นแห่งทิฐิเกี่ยวกับรูปกายที่เห็นกายนี้ซึ่งตั้งอยู่ตามที่ตั้งอยู่ตามปรกติด้วยความเป็นธาตุว่ามีอยู่ในกายนี้มี ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม เมื่อเข้าใจว่าแท้จริงร่างกายนั้นมันย่อมสลายออกเป็นส่วนๆไปตามกาลเวลาพึงตั้งอยู่ตามที่พึงตั้งอยู่ตามปรกติได้ไม่นาน ด้วยความตระหนักชัดถึงความสิ้นไปเสื่อมไปเป็นธรรมดาของทิฐิเกี่ยวกับรูปกายที่เห็นว่ากายนี้พึงตั้งอยู่ตามที่พึงตั้งอยู่ตามปรกติด้วยความเป็นธาตุว่ามีอยู่ในกายนี้มี ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม นั้นไม่สามารถตั้งอยู่ในความหมายเดิมตามความเข้าใจแห่งเราเดิมๆได้มันมีความแปรผันไม่เที่ยงแท้ ทิฐิเกี่ยวกับรูปกายที่เห็นว่ากายนี้พึงตั้งอยู่ตามที่พึงตั้งอยู่ตามปรกติด้วยความเป็นธาตุว่ามีอยู่ในกายนี้มี ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลมและร่างกายเรานี้ย่อมหาความมีตัวตนที่แท้จริงไม่และพึงพิจารณาถึงจิตที่ปรุงแต่งขึ้นอันคือทิฐิเกี่ยวกับรูปกายที่เห็นว่ากายนี้พึงตั้งอยู่ตามที่พึงตั้งอยู่ตามปรกติด้วยความเป็นธาตุว่ามีอยู่ในกายนี้มี ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลมและขันธ์ทั้งห้าอันคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นกลายเป็นจิตที่ปรุงแต่งขึ้นมาเป็นทิฐิเกี่ยวกับรูปกายที่เห็นว่ากายนี้พึงตั้งอยู่ตามที่พึงตั้งอยู่ตามปรกติด้วยความเป็นธาตุว่ามีอยู่ในกายนี้มี ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม นั้น "จิตชนิดนี้และขันธ์ทั้งหลายเหล่านี้" ย่อมมีความแปรผันไม่เที่ยงแท้แน่นอนเช่นกันและควรน้อมนำสิ่งที่เราเห็นกายภายนอกคือการที่เรามีทิฐิเกี่ยวกับรูปกายคนอื่นที่เห็นเป็นร่างกายที่พึงตั้งอยู่ตามที่พึงตั้งอยู่ตามปรกติด้วยความเป็นธาตุว่ามีอยู่ในกายนี้มี ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม นั้นมาพิจารณาให้เห็นถึงความเป็นจริงแห่งธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าฯเช่นกัน จิตที่ปรุงแต่งขึ้นและขันธ์ทั้งห้ารวมถึงทุกสรรพสิ่งนั้นย่อมว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนซึ่งหมายถึงแท้จริงแล้วธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งมันย่อมว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนของมันอยู่อย่างนั้น



“สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
“การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
ราเชนทร์ สิมะสุนทร
หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2014, 16:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 21:53
โพสต์: 235

สิ่งที่ชื่นชอบ: ใจต่อใจในการฝึกตน
ชื่อเล่น: เมฆ
อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ



บทที่ ๔๘ ข้าวของคนไทย

นับแต่วันสิ้นเสียงปืนแตกโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐได้ยิงปะทะกับกลุ่มคอมมิวนิสต์
ที่บ้านนาบัว ตำบลโคกหินแฮ่ อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม เมื่อปี 2508
พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยมีมติให้ประกาศการต่อสู้ด้วยอาวุธ
ในเขตชนบทอย่างเป็นทางการเพื่อตอบโต้การปรามปราบของฝ่ายอำนาจรัฐ
และถือเป็นวันเริ่มต้นของสงครามประชาชนนับแต่นั้นมา
พรรคคอมมิวนิสต์เริ่มใช้ยุทธศาสตร์ป่าล้อมเมืองด้วยการดึงมวลชนเข้าร่วม
สถานการณ์ในห้วงเวลาดังกล่าวทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น
เนื่องจากประเทศเพื่อนบ้านได้ถูกพรรคคอมมิวนิสต์เข้ายึดครองรอบด้าน
ต่อมาได้มีการจัดตั้งงานใต้ดินด้วยการดึงนักศึกษามหาวิทยาลัยเข้ามาเป็นแนวร่วม เมื่อปี 2519
รัฐได้ปราบปรามนักศึกษาอย่างหนักฐานที่มั่นที่ธรรมศาสตร์พ่ายแพ้
การหนีเข้าป่าของนักศึกษาถือว่างานใต้ดินของพรรคคอมมิวนิสต์ล้มเหลว
แต่กลับได้กองกำลังเข้าประจำการฐานที่มั่นเป็นสหายทหารป่ามากขึ้น
การอ้าแขนต้อนรับเป็นไปอย่างฉันมิตร
เพราะถือว่านักศึกษาเหล่านี้คือชนชั้นปัญญาชนระดับมันสมอง
ที่จะพาพรรคคอมมิวนิสต์ก้าวต่อไปข้างหน้า
แต่ด้วยการปราบปรามปิดล้อมอย่างหนักในทุกด้านของเจ้าหน้าที่บ้านเมือง
ทำให้การเคลื่อนไหวเพื่อแสวงหามวลชนเป็นไปอย่างยากลำบาก
มีแต่ปืนและคำข่มขู่ที่ทำได้แค่เพียงการกดดัน
ไม่ให้ชาวบ้านชาวนาที่อยู่ในที่ราบหันเหไปฝักใฝ่อยู่กับทางรัฐมากเกินไป
และต้องมีหน้าที่ส่งเสบียงให้แก่พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย
ภาพของนักศึกษาหญิงชายที่แบกปืนเดินลงมาจากขุนเขาด้วยสภาพหิวโซ
เพื่อมาขนอาหารขึ้นไปเป็นเสบียงแบ่งกันระหว่างสหายทั้งหลายในป่าใหญ่
ปืนที่จี้คอชาวนาคนหนึ่งในหมู่บ้านและเสียงข่มขู่ให้ไปเอาข้าวสารมาให้มัน
มิได้ทำให้ชาวนาผู้มีวัยชราคนนั้นเกรงกลัวพวกนักศึกษาที่เป็นคอมมิวนิสต์แต่อย่างไร
ชาวนาผู้เฒ่าได้เดินนำหน้าไปที่ยุ้งฉางของตนและกล่าวขึ้นมาว่า
"กูไม่ได้กลัวพวกสูหรอกนะเพราะกูก็แก่ชรามากแล้ว
แต่ที่กูจะให้ข้าวมึงกินเพราะกูเห็นว่าพวกมึงคือคนไทยด้วยกัน
และกูกลัวพวกมึงจะอดข้าวตายก็เท่านั้น"
พลันที่ชายชราพูดจบ
ก็ได้แอบเห็นนักศึกษาซึ่งเป็นพวกคอมมิวนิสต์ทั้งหลาย
ต่างก็ได้ก้มกราบลงที่ตีนของชายชราผู้ใจดีคนนั้น
และทั้งหมดก็รีบขนข้าวเปลือกใส่ถุงย่ามเท่าที่ตนจะขนได้และเดินหายไปในราวป่า



“สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
“การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
ราเชนทร์ สิมะสุนทร
หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2014, 16:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 21:53
โพสต์: 235

สิ่งที่ชื่นชอบ: ใจต่อใจในการฝึกตน
ชื่อเล่น: เมฆ
อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ



บทที่ ๔๙ นวสีวถิกาบรรพ



พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสถึงการพึงพิจารณาธรรมว่าการคงอยู่ของร่างกายนั้นก็มีการเสื่อมสิ้นสลายไปเหมือนที่เห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้าและกระจัดกระจายอยู่ในรูปแบบต่างๆอย่างนี้เป็นธรรมดาคงเป็นอย่างนี้ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ เพื่อพิจารณาเห็นถึงความเกิดขึ้นแห่งทิฐิเกี่ยวกับรูปกายที่เห็นว่ากายนี้จะต้องคงอยู่ในสภาพแบบนี้ตลอดไป เมื่อเข้าใจว่าแท้จริงร่างกายนั้นมันย่อมสลายออกเป็นส่วนๆไปตามกาลเวลาการคงอยู่ของร่างกายนั้นก็มีการเสื่อมสิ้นสลายไปเหมือนที่เห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้าและกระจัดกระจายอยู่ในรูปแบบต่างๆอย่างนี้เป็นธรรมดาคงเป็นอย่างนี้ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ด้วยความตระหนักชัดถึงความสิ้นไปเสื่อมไปเป็นธรรมดาของทิฐิเกี่ยวกับรูปกายที่เห็นว่ากายนี้จะต้องคงอยู่ในสภาพแบบนี้ตลอดไปนั้นมันไม่สามารถตั้งอยู่ในความหมายเดิมตามความเข้าใจแห่งเราเดิมๆได้มันมีความแปรผันไม่เที่ยงแท้ในทิฐิเกี่ยวกับรูปกายที่เห็นว่ากายนี้จะต้องคงอยู่ในสภาพแบบนี้ตลอดไปและร่างกายเรานี้ย่อมหาความมีตัวตนที่แท้จริงไม่และพึงพิจารณาถึงจิตที่ปรุงแต่งขึ้นอันคือทิฐิเกี่ยวกับรูปกายที่เห็นว่ากายนี้จะต้องคงอยู่ในสภาพแบบนี้ตลอดไปและขันธ์ทั้งห้าอันคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นกลายเป็นจิตที่ปรุงแต่งขึ้นมาเป็นทิฐิเกี่ยวกับรูปกายที่เห็นว่ากายนี้จะต้องคงอยู่ในสภาพแบบนี้ตลอดไปนั้น "จิตชนิดนี้และขันธ์ทั้งหลายเหล่านี้" ย่อมมีความแปรผันไม่เที่ยงแท้แน่นอนเช่นกันและควรน้อมนำสิ่งที่เราเห็นกายภายนอกคือการที่เรามีทิฐิเกี่ยวกับรูปกายคนอื่นที่เห็นเป็นร่างกายที่จะต้องคงอยู่ในสภาพแบบนี้ตลอดไปมาพิจารณาให้เห็นถึงความเป็นจริงแห่งธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าฯเช่นกัน จิตที่ปรุงแต่งขึ้นและขันธ์ทั้งห้ารวมถึงทุกสรรพสิ่งนั้นย่อมว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนซึ่งหมายถึงแท้จริงแล้วธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งมันย่อมว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนของมันอยู่อย่างนั้น




“สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
“การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
ราเชนทร์ สิมะสุนทร
หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2014, 16:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 21:53
โพสต์: 235

สิ่งที่ชื่นชอบ: ใจต่อใจในการฝึกตน
ชื่อเล่น: เมฆ
อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ



บทที่ ๕๐ แม่โขง


โขงเป็นแม่น้ำสายยาวสายเดียวในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ที่มีผู้คนจำนวนหลายร้อยล้านจากหลายประเทศได้ใช้สอยประโยชน์จากแม่น้ำสายนี้
โขงเป็น "แม่" คือผู้ที่หล่อเลี้ยงมนุษย์จำนวนมากที่ได้ดำรงชีวิตอาศัยอยู่ในแถบลุ่มแม่น้ำนี้
น้ำนมจาก "แม่" โขงได้ไหลหลั่งออกมาเป็นสายน้ำเพื่อให้ลูกๆในแถบนี้ได้ดื่มได้กิน
มนุษย์ทุกหมู่เหล่าคือผู้มีความอหังการถือตัวถือตนในความเป็นตัวเอง
แต่มนุษย์เหล่านี้ก็ยอมมอบหัวใจแห่งตนให้กับสายน้ำที่ตนเองได้พึ่งพักพิงมาโดยตลอด
มนุษย์จึงมีความอ่อนน้อมถ่อมตนยอมรับและเคารพต่อความเป็นธรรมชาติของสายน้ำ
มนุษย์จึงยอมเรียกสายน้ำว่าแม่และเป็น "แม่" น้ำที่ไม่เคยทำให้ลูกๆคนไหนอดตาย
กุ้งหอยปูปลาที่มนุษย์ได้จับขึ้นมาจากท้องน้ำของแม่
ก็คือสินในน้ำที่แม่ได้หยิบยื่นให้แก่ลูกๆได้กินกันจนอิ่มไม่ต้องอดอยากหิวโหย
แม่น้ำโขงช่างเหมือนมีมนต์สะกดให้ลูกๆหลายคนได้เดินทางมาเยือนชมความงามของแม่
โขงเป็นแม่ที่มีความสวยงามโดดเด่นและมีความแตกต่างในตัวเองไม่เหมือนใคร
ยามหน้าแล้งน้ำโขงจะขอดลงเหมือนจะแห้งเหือดหายไปจากผืนแผ่นดินนี้
ยามที่แม่ผอมโซเราจะเห็นกระดูกของแม่คือโขดหินที่เรียงรายอยู่กลางสายน้ำ
ยามหน้าแล้งน้ำโขงลดลงจนน่าใจหายแต่มันก็ทำให้แผ่นดินไทยลาวใกล้ชิดกันเข้ามาแค่คืบ
ความแล้งมันทำให้เราข้ามไปฝั่งลาวได้โดยง่ายเพียงแค่ก้าวขากระโดดข้ามก้อนหินแต่ละก้อน
แก่งหินของแม่น้ำโขงที่เรียงรายกระจัดกระจายไม่เป็นรูปทรงมันสวยแปลกสะดุดตา
มันสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวจากต่างถิ่นแดนไกลของประเทศไทย
ให้มาเยือนชมความงามแห่งมันที่จะปรากฏตัวเฉพาะหน้าแล้งเท่านั้น
แต่เมื่อยามหน้าฝนล่วงเข้ามาปริมาณน้ำที่ไหลลงสู่สายน้ำอย่างมากมายมหาศาล
ทำให้แม่มีความอุดมสมบูรณ์สามารถหลั่งน้ำนมให้แก่ลูกๆจนเอ่อล้นท่วมตลิ่งริมฝั่งแทบทุกปี
น้ำจำนวนมหาศาลที่ทะลักไหลบ่ามาจากต้นน้ำอย่างน่ากลัว
ปริมาณน้ำมีมากจนเหมือนมันแย่งกันเบียดเสียดแออัดยัดเยียดกันอยู่ในคุ้งน้ำ
ทำให้ท้องน้ำดูกว้างขวางสุดลูกหูลูกตา
วันนี้ฉันได้มีโอกาสมาเยือนเพื่อรำลึกความหลังที่มีต่อแม่โขงแห่งนี้อีกครั้งหนึ่ง
และกับใครบางคนที่จากไปเหมือนสายน้ำที่ไหลผ่านไม่เคยหวนกลับคืน
คำสัจจะวาจาที่เคยฝากไว้ให้โขงเป็นสักขีพยาน
มันก็พร่าเลือนหายไปกับใจที่ไม่มั่นคงของใครคนนั้น
น้ำโขงที่ขุ่นโคลนมันคือความหมองเศร้าของใจหนุ่มสาวที่อกหัก
และมายืนเซื่องซึมอยู่ที่ริมฝั่งอย่างเดียวดายเฉกเช่นเดียวกันกับฉันในวันนี้




“สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
“การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
ราเชนทร์ สิมะสุนทร
หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2014, 16:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 21:53
โพสต์: 235

สิ่งที่ชื่นชอบ: ใจต่อใจในการฝึกตน
ชื่อเล่น: เมฆ
อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

บทที่ ๕๑ เวทนา

ในส่วนเวทนานุปัสสนาสติหรือสติปัฎฐานในหมวด เวทนา นั้น เป็นพุทธประสงค์ที่จะให้เราย้อนกลับมาพิจารณาถึง "สิ่งที่เพียงแค่ประกอบขึ้นมาเป็นเราอันคือขันธ์ทั้งห้า ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และการยึดมั่นถือมั่นเป็นจิตปรุงแต่งเป็นอัตตาตัวตนเป็นเราเกิดขึ้น" ว่าจิตที่ปรุงแต่งขึ้นมาต่างๆด้วยการยึดมั่นถือมั่นโดยอิงอาศัย สุขเวทนา(ความรู้สึกเป็นสุข) ทุกขเวทนา(ความรู้สึกเป็นทุกข์) อทุกขมสุขเวทนา(ความรู้สึกกลางๆที่ไม่สุขไม่ทุกข์) ว่านี่คือ “ อัตตาตัวตนแห่งเรา ” แต่แท้ที่จริงนั้นเวทนา(ความรู้สึก)ทั้งหลายมันก็ล้วนมีสภาพเกิดขึ้นแล้วตั้งอยู่ได้ไม่นานแล้วเวทนา(ความรู้สึก)ทั้งหลายนั้นก็ต้องเปลี่ยนสภาพไปเพราะมันมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดาตามสภาพธรรมชาติ เวทนา(ความรู้สึก)ทั้งหลายมันเป็นเพียงสิ่งๆหนึ่งที่มีความแปรผันไม่เที่ยงแท้แน่นอนไม่สามารถคงอยู่ในคุณลักษณะหรือคุณสมบัติเดิมๆได้ในขณะที่เข้าไปยึดความเป็นมันในขณะนั้น ก็สมัยใดได้เสวยสุขเวทนา ในสมัยนั้นไม่ได้เสวยทุกขเวทนา ไม่ได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา ได้เสวยแต่สุขเวทนาเท่านั้น. ในสมัยใดได้เสวยทุกขเวทนา ในสมัยนั้นไม่ได้เสวยสุขเวทนา ไม่ได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา ได้เสวยแต่ทุกขเวทนาเท่านั้น. ในสมัยใดได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา ในสมัยนั้นไม่ได้เสวยสุขเวทนา ไม่ได้เสวยทุกขเวทนา ได้เสวยแต่อทุกขมสุขเวทนาเท่านั้น. เวทนาย่อมแปรผันไปตามเหตุปัจจัยที่ปรุงแต่งขึ้นเพราะฉะนั้นจึงไม่มีเวทนาใดๆที่จะคงอยู่ในสภาพของมันเองอยู่อย่างนั้นได้ตลอดไป เมื่อเสวยสุขเวทนาอยู่ ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนา หรือ เสวยทุกขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนา หรือ เสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนา มีความหมายว่าเมื่อเสวยสุขเวทนาอยู่ ก็รู้ชัดว่า สุขเวทนาที่กำลังเสวยนั้นหามีตัวตนที่แท้จริงไม่สุขเวทนานั้นย่อมคือความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนทุกสรรพสิ่งรวมทั้งสุขเวทนานี้ย่อมคือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนอยู่อย่างนั้น มีความหมายว่าเมื่อเสวยทุกขเวทนาอยู่ ก็รู้ชัดว่า ทุกขเวทนาที่กำลังเสวยนั้นหามีตัวตนที่แท้จริงไม่ทุกขเวทนานั้นย่อมคือความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนทุกสรรพสิ่งรวมทั้งทุกขเวทนานี้ย่อมคือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนอยู่อย่างนั้น มีความหมายว่าเมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ ก็รู้ชัดว่า อทุกขมสุขเวทนาที่กำลังเสวยนั้นหามีตัวตนที่แท้จริงไม่อทุกขมสุขเวทนานั้นย่อมคือความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนทุกสรรพสิ่งรวมทั้งอทุกขมสุขเวทนานี้ย่อมคือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนอยู่อย่างนั้น การพิจารณาเวทนาเป็นอุบายที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้เพื่อให้เราละจากทิฐิความเห็นที่เป็นจิตปรุงแต่งขึ้นมาต่างๆด้วยการยึดมั่นถือมั่นโดยอิงอาศัย สุขเวทนา(ความรู้สึกเป็นสุข) ทุกขเวทนา(ความรู้สึกเป็นทุกข์) อทุกขมสุขเวทนา(ความรู้สึกกลางๆที่ไม่สุขไม่ทุกข์) ว่านี่คือ “อัตตาตัวตนแห่งเรา ” และให้เราเห็นถึงเวทนานี้แท้จริงหาความมีตัวตนที่แท้จริงไม่ตามความเป็นจริงตามธรรมชาตินั้นเวทนาย่อมเป็นธรรมชาติแห่งความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนอยู่อย่างนั้น พระพุทธองค์ท่านสอนให้เห็นถึงธรรมอันคือธรรมชาติที่แท้จริงโดยใช้การพิจารณาเวทนาเป็นบาทฐานด้วยการพึงพิจารณาถึงความเป็นจริงว่าจิตปรุงแต่งขึ้นมาต่างๆด้วยการยึดมั่นถือมั่นโดยอิงอาศัย สุขเวทนา(ความรู้สึกเป็นสุข) ทุกขเวทนา(ความรู้สึกเป็นทุกข์) อทุกขมสุขเวทนา(ความรู้สึกกลางๆที่ไม่สุขไม่ทุกข์) ว่านี่คือ “อัตตาตัวตนแห่งเรา ” นั้นย่อมว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนและพึงพิจารณาเห็นถึงความเป็นจริงว่าจิตปรุงแต่งขึ้นมาต่างๆด้วยการยึดมั่นถือมั่นโดยอิงอาศัย สุขเวทนา(ความรู้สึกเป็นสุข) ทุกขเวทนา(ความรู้สึกเป็นทุกข์) อทุกขมสุขเวทนา(ความรู้สึกกลางๆที่ไม่สุขไม่ทุกข์) ว่านี่คือ “อัตตาตัวตนแห่งเรา ” นั้นมันเกิดจากความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้งห้าและให้พึงพิจารณาด้วยว่าในความเป็นขันธ์ทั้งห้าอันประกอบไปด้วย รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นั้นสิ่งเหล่านี้ก็ล้วนแต่เป็นสิ่งที่แปรผันไม่เที่ยงแท้แน่นอนหาความเป็นตัวตนที่แท้จริงไม่ แท้จริงมันย่อมคือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนอยู่อย่างนั้น และพระพุทธองค์มีพุทธประสงค์ให้น้อมนำเวทนาภายนอกที่พึงเห็นจากบุคคลอื่นเข้ามาพิจารณาให้เห็นถึงธรรมชาติที่แท้จริงเช่นเดียวกัน เป็นการพิจารณาเวทนาในเวนาโดยการพิจารณาเวทนาภายในคือเวทนาเราเองและเวทนาภายนอกคือเวทนาของบุคคลอื่นที่พึงเห็น

การพิจารณาเวทนาเป็นบาทฐานจึงย่อมได้ความเป็นจริงปรากฏขึ้นมาว่าแท้ที่จริง "ทุกสรรพสิ่ง" ย่อมคือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนอยู่อย่างนั้น ธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าฯย่อมทำหน้าที่ตามสภาพธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้น




“สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
“การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
ราเชนทร์ สิมะสุนทร
หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2014, 17:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 21:53
โพสต์: 235

สิ่งที่ชื่นชอบ: ใจต่อใจในการฝึกตน
ชื่อเล่น: เมฆ
อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ




บทที่ ๕๒ ลมหายใจสุดท้ายของพุทธศาสนา

วันนี้คงเป็นเช้าวันสุดท้ายที่ฉันถอดใจจะไม่ออกบิณฑบาตอีกต่อไป
มันเป็นมาอย่างนี้หลายปีแล้ว ข้าวที่ได้มาทัพพีเดียวมันก็เป็นของโยมที่อยู่ข้างวัดซึ่งรู้จักและสนิทสนมกันเป็นอย่างดี
ไม่น่าเชื่อเลยว่ากาลเวลาจะพัดพาสิ่งดีงามทั้งหลาย ให้หายไปจากความทรงจำของมนุษย์ยุคนี้
นับแต่องค์ศาสดาเสด็จปรินิพพานล่วงเข้ามาถึงกาลบัดนี้ พ.ศ. 4500 แล้ว
วัดและพระภิกษุซึ่งหมายถึงตัวแทนแห่งความเป็นพระพุทธศาสนา ได้ถูกสังคมทอดทิ้งให้อยู่อย่างเดียวดาย
ชาวบ้านไม่เข้ามาทำบุญที่วัดได้แต่ขี่รถผ่านไปผ่านมาหน้าวัด
ตั้งแต่ฉันเข้ามาบวชใหม่ๆเจ้าอาวาสถามแต่เพียงว่าท่านทำนาเป็นหรือไม่
เมื่อท่านเข้ามาบวชก็ดีแล้ววัดของเราจะได้มีแรงงานเพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งคน
ณ วันนี้สังคมของเราได้แปรเปลี่ยนไปมาก
ชาวบ้านทั้งหลายทำตัวเหมือนคนไม่มีศาสนา
ไม่เชื่อเรื่องบาปบุญและไม่นิยมมาทำบุญที่วัดมานานมากแล้ว
ทุกคนเอาแต่ทิฐิของตนเองเป็นที่ตั้งแสวงหาความสุขอันไม่จีรังยั่งยืนไปวันๆ
สังคมก็มีแต่ความวุ่นวายไม่สงบสุขขโมยโจรเต็มบ้านเต็มเมืองไปหมด
ใครถูกจับได้ก็เพียงแค่มีเงินติดสินบนตำรวจก็ได้กลับบ้านไม่ต้องติดคุกติดตาราง
สังคมได้เปลี่ยนไปเป็นสังคมที่ต่ำทรามเลวช้า
ใครทำตัวดีก็ถูกคนอื่นหัวเราะเยาะเย้ยหยันว่าจะทำตัวดีไปถึงไหนกัน
ที่หน้าวัดของเราก็ต้องมีประตูเปิดปิดเป็นเวลา
เพราะมีโจรใจบาปหยาบหนาเข้ามาขโมยของวัดอยู่เป็นประจำ
มันขโมยแม้กระทั่งข้าวในยุ้งฉางที่พวกเราภิกษุได้ปลูก
และเก็บเกี่ยวสะสมไว้เป็นเสบียงตลอดทั้งปีแห่งการจำวัดอยู่ที่นี่
วันนี้ฉันได้ตัดสินใจอย่างแน่วแน่แล้วว่า
จะถอดเครื่องนุ่งห่มผ้าย้อมฝาดอันเป็นสัญลักษณ์แห่งนักบวชในศาสนานี้ออก
เจ้าอาวาสได้เตือนฉันมานานแล้วว่าไม่มีใครนับถือพระอย่างเราอีกต่อไป
เสื้อและกางเกงที่พ่อและแม่นำมาให้เมื่อสองวันที่แล้วฉันได้หยิบมันออกมาใส่
และได้แต่อธิษฐานจิตเอาไว้ว่า "ฉันยังเป็นพระภิกษุ" อยู่
ลมหายใจแห่งพระพุทธศาสนากำลังอ่อนแรงลงไปอย่างปลายแผ่วจนน่าใจหาย
มีคนเพียงไม่กี่คนในประเทศนี้
ที่ยังมีหัวใจศรัทธาต่อคำสอนแห่งองค์ศาสดาและเชื่อในบาปบุญคุณโทษ
และเป็นเพียงกลุ่มคนกลุ่มเล็กๆที่หันหลังให้กับซากปรักหักพังของสังคม
ที่เหลือเพียงแต่จิตวิญญาณแห่งความแห้งผากแล้งน้ำใจ
พวกเราถึงแม้จะไม่ได้นุ่งห่มผ้าเหลืองและต้องทำมาหากินเอง
แต่การใช้ชีวิตเยี่ยงนักบวชอยู่ในวัดและถือศีลงดเว้นไม่เบียดเบียนสรรพสัตว์ด้วยกันเอง
และสำคัญที่สุดคือการพยายามดำรงจิตตน
ให้อยู่กับธรรมชาติแห่งความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตน
สิ่งเหล่านี้ทำให้เราเป็นชนชั้นพวกชนกลุ่มน้อยซึ่งเป็นส่วนเกินของสังคมในยุคนี้ไป
แต่พวกเราก็ยังเป็นพระในพุทธศาสนาเท่าที่เราจะเป็นได้ในวันนี้และเดี๋ยวนี้
ฉันถูกเจ้าอาวาสว่ากล่าวตักเตือนหลายครั้งแล้วว่า
ฉันเป็นภิกษุหัวดื้อที่ยังฝืนใจครองผ้าและยังอวดตัวตนออกบิณฑบาต
ฉันนั่งทำใจอยู่นานสองนาน ก่อนที่จะหยิบเอากรรไกรขึ้นมาตัดผ้าจีวรชิ้นเล็กๆ
มาผูกห้อยไว้ที่หูให้เหมือนเพื่อนภิกษุรูปอื่นๆในวัด




“สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
“การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
ราเชนทร์ สิมะสุนทร
หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2014, 17:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 21:53
โพสต์: 235

สิ่งที่ชื่นชอบ: ใจต่อใจในการฝึกตน
ชื่อเล่น: เมฆ
อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ




บทที่ ๕๓ จิต

ในส่วนจิตตานุปัสสนาสติหรือสติปัฎฐานในหมวด จิต นั้น เป็นพุทธประสงค์ที่จะให้เราย้อนกลับมาพิจารณาถึง "สิ่งที่เพียงแค่ประกอบขึ้นมาเป็นเราอันคือขันธ์ทั้งห้า ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และการยึดมั่นถือมั่นเป็นจิตปรุงแต่งเป็นอัตตาตัวตนเป็นเราเกิดขึ้น" ว่าจิตที่ปรุงแต่งขึ้นมาต่างๆเป็น "อัตตาตัวตนแห่งเรา" ด้วยการยึดมั่นถือมั่นนั้นแท้ที่จริงจิตต่างๆที่ปรุงแต่งขึ้นมาทั้งหลายมันก็ล้วนมีสภาพเกิดขึ้นแล้วตั้งอยู่ได้ไม่นานแล้วจิตต่างๆที่ปรุงแต่งขึ้นมาทั้งหลายนั้นก็ต้องเปลี่ยนสภาพไปเพราะมันมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดาตามสภาพธรรมชาติ จิตต่างๆที่ปรุงแต่งขึ้นมาทั้งหลายมันเป็นเพียงสิ่งๆหนึ่งที่มีความแปรผันไม่เที่ยงแท้แน่นอนไม่สามารถคงอยู่ในคุณลักษณะหรือคุณสมบัติเดิมๆได้ในขณะที่เข้าไปยึดความเป็นมันในขณะนั้น. จิตต่างๆที่ปรุงแต่งขึ้นมาทั้งหลายย่อมแปรผันไปตามเหตุปัจจัยที่ปรุงแต่งขึ้นเพราะฉะนั้นจึงไม่มีจิตต่างๆที่ปรุงแต่งขึ้นมาทั้งหลายใดๆที่จะคงอยู่ในสภาพของมันเองอยู่อย่างนั้นได้ตลอดไป จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่ จิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตเป็นมหรคต หรือจิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคต จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น

มีความหมายว่าจิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะที่เกิดขึ้นนั้นหามีตัวตนที่แท้จริงไม่จิตมีราคะที่เกิดขึ้นนั้นย่อมคือความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตน ทุกสรรพสิ่งรวมทั้งจิตมีราคะที่เกิดขึ้นนี้ย่อมคือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนอยู่อย่างนั้น

มีความหมายว่าจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะที่เกิดขึ้นนั้นหามีตัวตนที่แท้จริงไม่จิตปราศจากราคะที่เกิดขึ้นนั้นย่อมคือความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตน ทุกสรรพสิ่งรวมทั้งจิตปราศจากราคะที่เกิดขึ้นนี้ย่อมคือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนอยู่อย่างนั้น

มีความหมายว่าจิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะที่เกิดขึ้นนั้นหามีตัวตนที่แท้จริงไม่จิตมีโทสะที่เกิดขึ้นนั้นย่อมคือความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตน ทุกสรรพสิ่งรวมทั้งจิตมีโทสะที่เกิดขึ้นนี้ย่อมคือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนอยู่อย่างนั้น

มีความหมายว่าจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะที่เกิดขึ้นนั้นหามีตัวตนที่แท้จริงไม่จิตปราศจากโทสะที่เกิดขึ้นนั้นย่อมคือความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตน ทุกสรรพสิ่งรวมทั้งจิตปราศจากโทสะที่เกิดขึ้นนี้ย่อมคือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนอยู่อย่างนั้น

มีความหมายว่าจิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะที่เกิดขึ้นนั้นหามีตัวตนที่แท้จริงไม่จิตมีโมหะที่เกิดขึ้นนั้นย่อมคือความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตน ทุกสรรพสิ่งรวมทั้งจิตมีโมหะ ที่เกิดขึ้นนี้ย่อมคือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนอยู่อย่างนั้น

มีความหมายว่าจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะที่เกิดขึ้นนั้นหามีตัวตนที่แท้จริงไม่จิตปราศจากโมหะที่เกิดขึ้นนั้นย่อมคือความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตน ทุกสรรพสิ่งรวมทั้งจิตปราศจากโมหะที่เกิดขึ้นนี้ย่อมคือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนอยู่อย่างนั้น

มีความหมายว่าจิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่ที่เกิดขึ้นนั้นหามีตัวตนที่แท้จริงไม่จิตหดหู่ที่เกิดขึ้นนั้นย่อมคือความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตน ทุกสรรพสิ่งรวมทั้งจิตหดหู่ที่เกิดขึ้นนี้ย่อมคือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนอยู่อย่างนั้น

มีความหมายว่าจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่านที่เกิดขึ้นนั้นหามีตัวตนที่แท้จริงไม่จิตฟุ้งซ่านที่เกิดขึ้นนั้นย่อมคือความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตน ทุกสรรพสิ่งรวมทั้งจิตฟุ้งซ่านที่เกิดขึ้นนี้ย่อมคือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนอยู่อย่างนั้น

มีความหมายว่าจิตเป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตเป็นมหรคตที่เกิดขึ้นนั้นหามีตัวตนที่แท้จริงไม่จิตเป็นมหรคตที่เกิดขึ้นนั้นย่อมคือความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตน ทุกสรรพสิ่งรวมทั้งจิตเป็นมหรคตที่เกิดขึ้นนี้ย่อมคือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนอยู่อย่างนั้น

มีความหมายว่าจิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคตที่เกิดขึ้นนั้นหามีตัวตนที่แท้จริงไม่จิตไม่เป็นมหรคตที่เกิดขึ้นนั้นย่อมคือความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตน ทุกสรรพสิ่งรวมทั้งจิตไม่เป็นมหรคตที่เกิดขึ้นนี้ย่อมคือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนอยู่อย่างนั้น

มีความหมายว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่าที่เกิดขึ้นนั้นหามีตัวตนที่แท้จริงไม่จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่าที่เกิดขึ้นนั้นย่อมคือความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตน ทุกสรรพสิ่งรวมทั้งจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่าที่เกิดขึ้นนี้ย่อมคือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนอยู่อย่างนั้น

มีความหมายว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าที่เกิดขึ้นนั้นหามีตัวตนที่แท้จริงไม่จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าที่เกิดขึ้นนั้นย่อมคือความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตน ทุกสรรพสิ่งรวมทั้งจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าที่เกิดขึ้นนี้ย่อมคือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนอยู่อย่างนั้น


มีความหมายว่าจิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิที่เกิดขึ้นนั้นหามีตัวตนที่แท้จริงไม่จิตเป็นสมาธิ ที่เกิดขึ้นนั้นย่อมคือความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตน ทุกสรรพสิ่งรวมทั้งจิตเป็นสมาธิที่เกิดขึ้นนี้ย่อมคือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนอยู่อย่างนั้น


มีความหมายว่าจิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิที่เกิดขึ้นนั้นหามีตัวตนที่แท้จริงไม่จิตไม่เป็นสมาธิที่เกิดขึ้นนั้นย่อมคือความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตน ทุกสรรพสิ่งรวมทั้งจิตไม่เป็นสมาธิที่เกิดขึ้นนี้ย่อมคือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนอยู่อย่างนั้น

มีความหมายว่าจิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้นที่เกิดขึ้นนั้นหามีตัวตนที่แท้จริงไม่จิตหลุดพ้นที่เกิดขึ้นนั้นย่อมคือความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตน ทุกสรรพสิ่งรวมทั้งจิตหลุดพ้นที่เกิดขึ้นนี้ย่อมคือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนอยู่อย่างนั้น

มีความหมายว่าจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้นที่เกิดขึ้นนั้นหามีตัวตนที่แท้จริงไม่จิตไม่หลุดพ้นที่เกิดขึ้นนั้นย่อมคือความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตน ทุกสรรพสิ่งรวมทั้งจิตไม่หลุดพ้นที่เกิดขึ้นนี้ย่อมคือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนอยู่อย่างนั้น

การพิจารณาจิตเป็นอุบายที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้เพื่อให้เราละจากทิฐิความเห็นที่เป็นจิตที่ปรุงแต่งขึ้นมาต่างๆเป็น "อัตตาตัวตนแห่งเรา" ด้วยการยึดมั่นถือมั่นนั้นและให้เราเห็นถึงจิตนี้แท้จริงหาความมีตัวตนที่แท้จริงไม่ตามความเป็นจริงตามธรรมชาตินั้นจิตย่อมเป็นธรรมชาติแห่งความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนอยู่อย่างนั้น พระพุทธองค์ท่านสอนให้เห็นถึงธรรมอันคือธรรมชาติที่แท้จริงโดยใช้การพิจารณาจิตเป็นบาทฐานด้วยการพึงพิจารณาถึงความเป็นจริงว่าจิตที่ปรุงแต่งขึ้นมาต่างๆเป็น "อัตตาตัวตนแห่งเรา" ด้วยการยึดมั่นถือมั่นนั้นย่อมว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนและพึงพิจารณาเห็นถึงความเป็นจริงว่าจิตที่ปรุงแต่งขึ้นมาต่างๆเป็น "เรา" ด้วยการยึดมั่นถือมั่นนั้นมันเกิดจากความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้งห้าและให้พึงพิจารณาด้วยว่าในความเป็นขันธ์ทั้งห้าอันประกอบไปด้วย รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นั้นสิ่งเหล่านี้ก็ล้วนแต่เป็นสิ่งที่แปรผันไม่เที่ยงแท้แน่นอนหาความเป็นตัวตนที่แท้จริงไม่ แท้จริงมันย่อมคือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนอยู่อย่างนั้น และพระพุทธองค์มีพุทธประสงค์ให้น้อมนำจิตภายนอกที่พึงเห็นจากบุคคลอื่นเข้ามาพิจารณาให้เห็นถึงธรรมชาติที่แท้จริงเช่นเดียวกัน เป็นการพิจารณาจิตในจิตโดยการพิจารณาจิตภายในคือจิตเราเองและจิตภายนอกคือจิตของบุคคลอื่นที่พึงเห็น

การพิจารณาจิตเป็นบาทฐานจึงย่อมได้ความเป็นจริงปรากฏขึ้นมาว่าแท้ที่จริง "ทุกสรรพสิ่ง" ย่อมคือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนอยู่อย่างนั้น ธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าฯย่อมทำหน้าที่ตามสภาพธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้น




“สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
“การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
ราเชนทร์ สิมะสุนทร
หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2014, 17:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 21:53
โพสต์: 235

สิ่งที่ชื่นชอบ: ใจต่อใจในการฝึกตน
ชื่อเล่น: เมฆ
อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ




บทที่ ๕๔ สิ้นศาสนามานานแล้ว

ข่าวแตกตื่นในหมู่บ้านเมื่อช่วงบ่ายว่า
มีการขุดพบเหล็กหล่อสำริดเป็นรูปคนนั่งขัดสมาธิขนาดใหญ่กลางทุ่งนาของทิดขาม
ชาวบ้านทั้งหมดมารวมตัวและช่วยกันขุดวัตถุดังกล่าวขึ้นมา
ทำให้นาแปลงนั้นดูคับแคบเล็กลงไปถนัดตา
รูปหล่อด้วยสำริดถูกดินกลบมานานเป็นพันๆปีจนสนิมจับเกรอะกรังไปหมด
มันมีลักษณะเหมือนคนทุกประการแต่ที่หัวมีเปลวอะไรสักอย่างหนึ่งขึ้นมาเป็นยอดแหลม
และใต้ฐานก็แกะสลักด้วยคำที่พอจะอ่านได้ใจความว่า "พระพุทธรูป ปาง มารวิชัย"
แต่ไม่มีใครเลยในหมู่บ้านนี้รู้จักที่มาของรูปหล่อสำริดที่ได้ขึ้นชื่อว่า "พระพุทธรูป"
ทุกคนต่างไต่ถามกันว่าพระพุทธรูปนี้คือใครและมีความหมายอย่างไร
และทำไมต้องมาถูกฝังไว้ในดินที่นาท้ายหมู่บ้านของพวกเราแบบนี้
มีบางคนกล่าวขึ้นมาว่า
พระพุทธรูปน่าจะเป็นบุคคลสำคัญในสมัยก่อนๆ
ที่เค้าหล่อขึ้นมาเพื่อเชิดชูเกียรติคุณอะไรสักอย่าง
แต่บางคนก็แย้งขึ้นมาว่ามันไม่น่าจะเป็นรูปหล่อที่สำคัญอะไรขนาดนั้น
เพราะดูท่าทางจากรูปหล่อแล้วมันเป็นรูปที่ถูกหล่อขึ้นมา
ในท่านั่งแบบสบายๆโดยเอามือมาวางที่หัวเข่าข้างหนึ่งและอีกข้างหนึ่งก็แบไว้ที่กลางตัก
คนสมัยก่อนๆคงหล่อกันออกมาเล่นๆและไม่มีความหมายอะไร
ทุกคนในหมู่บ้านจึงออกความเห็นกันว่า
เราควรเอาเศษเหล็กสำริดนี้ไปขายที่ตัวตลาดและเอาเงินมาแบ่งกัน
ก่อนที่พระอาทิตย์จะตกดินรูปหล่อสำริดจึงถูกย้ายไปอยู่ที่ร้านรับซื้อของเก่า
ในราคาที่รับซื้อมากพอสมควร
เงินที่ได้มาชาวบ้านในหมู่บ้านต่างก็รวมใจกัน
ซื้อเหล้ายาปลาปิ้งและหมูเห็ดเป็ดไก่มาจากตัวตลาด
คืนนั้นทุกคนพอมีโชคกับรูปหล่อสำริดเก่าๆอันนั้น
ด้วยการได้กินเหล้าเมามายและอิ่มท้องไปตามๆกัน
ก็เพราะกาลเวลาที่เดินทางพัดผันผ่านมาอย่างเนิ่นนานมากๆ
จนพระพุทธศาสนาได้สูญสิ้นหายไปจากสังคมมนุษย์มาหลายพันปีแล้ว
ไม่มีใครมานับเวลาเป็น พ.ศ. ต่อไปอีกแล้ว
ศาสนาคืออะไรผู้คนในยุคนี้ล้วนแต่ไม่รู้จักว่ามันมีความหมายอย่างไร
รวมทั้งจารีตประเพณีศีลธรรมอันดีที่ครั้งแต่ปู่ย่าตายายเคยถือกันมา
ก็ล้วนสูญหายไปตามกาลเวลา
ทุกคนในสังคมนี้ล้วนแต่ดำเนินชีวิตไปตามแต่ที่ "สุดแต่ใจของตนจะปรารถนา"
ผู้คนในยุคนี้มีอายุสั้นมากไม่ถึงสี่สิบปีก็ตายแล้วเป็นคนอายุไม่ยืน
ทุกคนจะถูกสั่งสอนให้รีบใช้ชีวิตเพราะอายุไม่ยืนนานเดี๋ยวก็ตายหมดลมหายใจแล้ว
ทุกคนจึงแสวงหาแต่ความสุขใส่ตน
บางครั้งมันมากเกินไปจนไม่มีใครรู้จักคำว่าพอเหมาะพอสม
ทุกคนในสังคมมีหน้าที่ระวังตัวกลัวภัยเพราะคนที่มีกำลังมากจะเข้ามาข่มเหงเอาได้
สังคมจึงเป็นสังคมที่เกาะกลุ่มกันแจ
และต่างก็ถือมีดศัสตราอาวุธเพื่อเข้าประหัตประหารกันหากโดนอีกฝ่ายรังแก
มันเป็นสังคมที่เบียดเบียนกันอยู่ตลอดเวลา
และไม่มีใครเลยรู้จักคำว่า "ความดีอันคือกุศล" อันแท้จริง
ใจของมนุษย์ในยุคนี้จึงเป็นใจที่ต่ำเตี้ยเบียดเบียนกันสูง
มีพฤติกรรมคล้ายสัตว์เดรัจฉานที่ขาดการพัฒนา
ทุกคนต่างก็ตกอยู่ในอำนาจตัณหาอุปาทานอันมืดดำแห่งตน
มันทุกคนในสังคมนี้คงเป็นรอบของสัตว์นรกมาเกิดอย่างไม่เป็นที่สงสัย


“สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
“การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
ราเชนทร์ สิมะสุนทร
หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2014, 17:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 21:53
โพสต์: 235

สิ่งที่ชื่นชอบ: ใจต่อใจในการฝึกตน
ชื่อเล่น: เมฆ
อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ



บทที่ ๕๕ ความหมายของจิต

จิตมีโมหะ ได้แก่จิตที่ปรุงแต่งขึ้นด้วยความไม่รู้และไม่เท่าทันถึงสภาวะธรรมที่แท้จริงของธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตน ทำให้เกิดความวิปริตเห็นผิดไปจากธรรมชาติที่แท้จริง ได้แก่ ความไม่รู้ในทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

จิตเป็นมหัคคตะ ได้แก่จิตที่เป็นรูปาวจรและอรูปาวจร หมายถึงจิตอันประณีตอันเกิดจากฌานและอรูปฌานทั้งหลาย เป็นจิตที่ได้ยึดมั่นถือมั่นในภาวะธรรมแห่งฌานและอรูปฌานที่เกิดขึ้น

จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ได้แก่จิตที่เป็นรูปาวจรและอรูปาวจร หมายถึงจิตอันประณีตอันเกิดจากฌานและอรูปฌานทั้งหลายและเข้าใจไปว่าจิตนี้เป็นที่สุดแห่งภาวะธรรมของตนโดยจิตอื่นๆไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในจิตอันประณีตอันเกิดจากฌานและอรูปฌานทั้งหลายแห่งตนนี้

จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ได้แก่จิตที่เป็นรูปาวจรและอรูปาวจร หมายถึงจิตอันประณีตอันเกิดจากฌานและอรูปฌานทั้งหลายและเข้าใจไปว่าจิตนี้ยังไม่เป็นที่สุดแห่งภาวะธรรมของตนโดยมีจิตอื่นๆที่ยังสามารถเกิดขึ้นได้ในจิตอันประณีตอันเกิดจากฌานและอรูปฌานทั้งหลายแห่งตนนี้

จิตเป็นสมาธิ ได้แก่จิตอันประณีตอันเกิดจากฌานด้วยผลแห่งอัปปนาสมาธิหรืออุปจารสมาธิเป็นจิตที่ได้ยึดมั่นถือมั่นในภาวะธรรมแห่งอัปปนาสมาธิหรืออุปจารสมาธิที่เกิดขึ้น

จิตไม่เป็นสมาธิ ได้แก่จิตอันไม่สามารถทำให้เกิดความประณีตอันเกิดจากฌานด้วยผลแห่งอัปปนาสมาธิหรืออุปจารสมาธิได้เป็นจิตที่ได้ยึดมั่นถือมั่นในภาวะธรรมแห่งความไม่มีสมาธิ

จิตไม่หลุดพ้น ได้แก่จิตที่ปรุงแต่งขึ้นด้วยความไม่เข้าใจในความเป็นธรรมชาติที่แท้จริงที่มันคือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่มันว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนของมันอยู่อย่างนั้นอยู่แล้วมันเป็นเช่นนั้นของมันเองอยู่อย่างนั้น เป็นจิตที่ปรุงแต่งไปในการยึดมั่นถือมั่นว่าตนเองยังมีอัตตาตัวตนอยู่และยังไม่หลุดพ้น

จิตหลุดพ้น ได้แก่จิตที่ปรุงแต่งขึ้นด้วยความไม่เข้าใจในความเป็นธรรมชาติที่แท้จริงที่มันคือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่มันว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนของมันอยู่อย่างนั้นอยู่แล้วมันเป็นเช่นนั้นของมันเองอยู่อย่างนั้น เป็นจิตที่ปรุงแต่งไปในการยึดมั่นถือมั่นว่าตนเองได้หลุดพ้นแล้ว




“สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
“การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
ราเชนทร์ สิมะสุนทร
หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2014, 17:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 21:53
โพสต์: 235

สิ่งที่ชื่นชอบ: ใจต่อใจในการฝึกตน
ชื่อเล่น: เมฆ
อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ



บทที่ ๕๖ ราบเป็นหน้ากลอง


เมื่อกาลเวลาได้เดินทางมาถึงห้วงภยันตรายอย่างมากซึ่งคือกาลแห่ง "สัตถันตรกัปกลียุค"
ด้วยความคิดอันต่ำทรามของมนุษย์ในยุคนี้
จึงได้คิดค้นผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัยก้าวล้ำหน้า
เป็นอาวุธที่สามารถประหัตประหารมนุษย์ด้วยกันเองในคราวละมากๆจนเป็นที่น่าสะพรึงกลัว
การผลิตอาวุธดังกล่าวขึ้นมาก็เพื่อเป็นไปในการสนองความต้องการของมนุษย์กลุ่มหนึ่ง
ที่ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้นำประเทศที่ไร้ความสามารถ
เป็นการผลิตอาวุธเพื่อรองรับฐานอำนาจแห่งตนในทางการเมืองระหว่างประเทศ
จนกระทั้งเมื่อวาระแห่งกรรมวิบากได้มาเยือนโลกใบนี้
ประเทศที่มีอาวุธที่ทันสมัยทั้งหลายก็ก่อสงครามโลกขึ้น
ต่างก็เข้าประหัตประหารเอาชีวิตกันเองมาก็หลายครั้ง
ทำให้มนุษย์ได้ล้มหายตายจากไปกันทีละมากๆเป็นจำนวนหลายล้านคน
ครั้งล่าสุดมนุษย์ได้ตัดสินใจรบราฆ่าฟันกันเอง
เพื่ออำนาจอันจอมปลอมที่มีมนุษย์หน้าโง่บางตัวเข้าใจไปเองแบบผิดๆ
ต่อมาจึงก่อให้เกิด "สงครามนิวเคลียร์" ล้างโลก
และทำให้มนุษย์แทบจะสูญสิ้นเผ่าพันธุ์ไปจากโลกนี้
หลังจากที่สงครามนิวเคลียร์เกิดขึ้นทำให้วิวัฒนาการของมนุษย์และสังคม
หยุดชะงักลงเดินต่อไปข้างหน้าไม่เป็น
สังคมที่เคยเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าด้วยเทคโนโลยีแบบก้าวกระโดด
จนถึงขั้นมีความพยายามเดินทางออกไปนอกโลกสู่ดวงดาวดวงอื่นๆ
แล้วความฝันของมวลหมู่มนุษยชาติที่อยากเห็นความเจริญเกิดขึ้นในสังคมแห่งตน
ด้วยฐานะมนุษย์ผู้มีความสามารถในการประดิษฐ์คิดค้น
ก็มาพังทลายด้วยโมหะซึ่งคือความคิดใฝ่ต่ำของมนุษย์กลุ่มหนึ่ง
ที่หลงไปในความมีบทบาทของตนในสังคมที่ยกย่องคนชั่ว
หลังจากที่นิ้วมือในอุ้งแห่งหัตถามาร
ได้กดปุ่มคำสั่งปล่อยนิวเคลียร์ไปในจุดต่างๆที่สำคัญของแผนที่โลก
ทำให้ประชากรที่มีจำนวนมากถึงเก้าพันกว่าล้านคน
ได้สูญเสียชีวิตไปอย่างมากมายนับไม่ถ้วนภายในพริบตา
มีเพียงมนุษย์จำนวนหนึ่งเท่านั้นที่มีความโชคดีอย่างมากรอดชีวิตจากการทำลายล้างในครั้งนี้
เมื่อทุกอย่างได้ถูกทำลายลงอย่างสิ้นเชิงราบคาบเป็นหน้ากลอง
การสูญเสียแม้กระทั้งความสะดวกขั้นพื้นฐานในการดำเนินชีวิต
ทำให้มนุษย์พยายามดิ้นรนที่จะประทังชีวิตตนเองอยู่ให้ได้
ท่ามกลางความสิ้นหวังในทุกสิ่งทุกอย่าง



“สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
“การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
ราเชนทร์ สิมะสุนทร
หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 103 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 3 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร