วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 16:52  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 130 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 9  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ย. 2014, 07:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าเราจะรู้อดีต รู้ปัจจุบัน รู้อนาคต เอาอย่างนี้ดีไหม มารู้ทางทวารต่างๆ
อาจพอเข้าใจได้บ้าง เช่นว่า
ทางทวารตาจะรู้ได้เพียงปัจจุบันเท่านั้น ตาจะไปรู้อดีต หรืออนคตไม่ได้ จริงไหม
ทางทวารหูจะรู้ได้เพียงปัจจุบันเท่านั้น หูจะไปรู้อดีต หรืออนคตไม่ได้ จริงไหม
ทางทวารจมูกจะรู้ได้เพียงปัจจุบันเท่านั้น จมูกจะไปรู้อดีต หรืออนคตไม่ได้ จริงไหม
ทางทวารลิ้นจะรู้ได้เพียงปัจจุบันเท่านั้น ลิ้นจะไปรู้อดีต หรืออนคตไม่ได้ จริงไหม
ทางทวารกายจะรู้ได้เพียงปัจจุบันเท่านั้น กายจะไปรู้อดีต หรืออนคตไม่ได้ จริงไหม
มีทางทวาใจเท่านั้นที่รู้ อดีต อานคต ปัจจุบัน ได้
ไม่รู้นะที่ยกมาให้ดูจะยากง่ายไปหรือเปล่า

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ย. 2014, 09:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
มีทางทวาใจเท่านั้นที่รู้ อดีต อานคต ปัจจุบัน ได้

ขออนุโทนาครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ย. 2014, 10:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


bbby เขียน:
ขอบคุณ คุณลุงสมาน-คุณศรีสมบัติ-คุณstudent ค่ะ
ที่ให้ความรู้เรื่องอาตยะนะ :b8:

คุณโสมฯเขียน
อ้างคำพูด:
พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ว่า เวลาไม่มีอยู่จริง เวลาเป็นของลวงโลก เวลาที่เป็นปัจจุบันไม่มีอยู่จริง เพราะรอบโลกเรานั้นเวลาก็ไม่เท่ากันในแต่ละประเทศ แม้ในประเทศเดียวกันก็เวลาไม่เท่ากัน แหะๆ คงไม่ค่อยเกี่ยวกับกระทู้เท่าไหร่นะคะ

ในขณะที่เรารับรู้ทางอารมณ์ต่างๆทางปัญจทวารที่เป็นปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส นั้นเราไม่สามารถรู้ได้ทันตรงนี้ได้ ตอนที่เราสามารถรับรู้ได้จริงๆ นั้น มันเป็นแค่รู้อดีต เป็นธัมมารมณ์ เป็นวิถีจิตที่เกิดขึ้นทางมโนทวารมีมโนวิญญาณเป็นผู้รู้ค่ะ เช่น เห็นรูปทางตาแล้วลงสู่ใจ เราถึงจะเห็นได้ค่ะ



ดิฉันก็คิดอย่างที่คุณโสมเขียนนะ
คือถ้าทางธรรมไม่น่าจะมีอดีต. ปัจจุบัน
หรืออนาคต. น่าจะมีแค่
(คิดได้แต่พูดไม่ถูก. ไม่รู้ว่าต้องใช้คำว่าอะไร)


แล้วก้อส่วนที่ตรงนี้

อ้างคำพูด:
ในขณะที่เรารับรู้ทางอารมณ์ต่างๆทางปัญจทวารที่เป็นปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส นั้นเราไม่สามารถรู้ได้ทันตรงนี้ได้ ตอนที่เราสามารถรับรู้ได้จริงๆ นั้น มันเป็นแค่รู้อดีต เป็นธัมมารมณ์ เป็นวิถีจิตที่เกิดขึ้นทางมโนทวารมีมโนวิญญาณเป็นผู้รู้ค่ะ เช่น เห็นรูปทางตาแล้วลงสู่ใจ เราถึงจะเห็นได้ค่ะ


ถ้าเป็นอย่างที่คุณโสมเขียนมา
ก็จะต้องเกิดการปรุงแต่งนะสิค่ะ
(เราคุยถูกเรื่องหรือปล่าวค่ะเนี่ยะ) :b1: :b41: :b55: :b47:[/quote]

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:


มีสังขารเป็นปัจจัยปรุงแต่งตลอดค่ะ ทำให้เกิดความเห็นคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง เช่น เห็นพระพุทธรูปซึ่งเป็นรูปารมณ์ที่ดีก็ว่าไม่ดี จึงเกิดอกุศล เป็นต้น วิปลาสคลาดเคลื่อนกับสิ่งที่เห็น ตัวที่ตัดสินคือ อโยนิโส
มีแต่พระอรหันต์เท่านั้นที่ไม่เกิดวิปลาส นอกนั้นยังเห็นวิปลาสอยู่

สติ ก็เป็นสังขารขันธ์ การเจริญสติปัฏฐานนั่นแหละค่ะช่วยได้
การคิดดี ดีตามคำสอนพระพุทธเจ้าสอนไม่ใช่ดีแค่แบบชาวโลกดีก็เป็นจุดเริ่มต้น ตรงไหนที่เราทำได้เราก็ทำตรงนั้นค่ะ แล้วก็จะพากันดีไปเองค่ะ มีรากเหง้าที่ดีก่อน คิดดี ก็จะทำดี พูดดีตามมาค่ะ

เราจึงจำเป็นต้องฟังคำสอนพระพุทธเจ้าเป็นหลัก ถ้าเราคิดเองอาจจะคลาดเคลื่อนจากความจริงได้ค่ะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ย. 2014, 11:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
ถ้าเราจะรู้อดีต รู้ปัจจุบัน รู้อนาคต เอาอย่างนี้ดีไหม มารู้ทางทวารต่างๆ
อาจพอเข้าใจได้บ้าง เช่นว่า
ทางทวารตาจะรู้ได้เพียงปัจจุบันเท่านั้น ตาจะไปรู้อดีต หรืออนคตไม่ได้ จริงไหม
ทางทวารหูจะรู้ได้เพียงปัจจุบันเท่านั้น หูจะไปรู้อดีต หรืออนคตไม่ได้ จริงไหม
ทางทวารจมูกจะรู้ได้เพียงปัจจุบันเท่านั้น จมูกจะไปรู้อดีต หรืออนคตไม่ได้ จริงไหม
ทางทวารลิ้นจะรู้ได้เพียงปัจจุบันเท่านั้น ลิ้นจะไปรู้อดีต หรืออนคตไม่ได้ จริงไหม
ทางทวารกายจะรู้ได้เพียงปัจจุบันเท่านั้น กายจะไปรู้อดีต หรืออนคตไม่ได้ จริงไหม
มีทางทวาใจเท่านั้นที่รู้ อดีต อานคต ปัจจุบัน ได้
ไม่รู้นะที่ยกมาให้ดูจะยากง่ายไปหรือเปล่า


ไม่ยากแล้วค่ะลุง
:b31: แต่ขออนุญาติเพิ่มเติมว่าทางมโนทวารนั้นยังรู้ บัญญัติและนิพพาน ได้ด้วย ตรงนี้แหล่ะค่ะที่ยาก

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ย. 2014, 12:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ก.พ. 2009, 22:21
โพสต์: 1975


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณโสมฯเขียน

อ้างคำพูด:
สติ ก็เป็นสังขารขันธ์ การเจริญสติปัฏฐานนั่นแหละค่ะช่วยได้



การเจริญสติปัฏฐานกับการทำ
อานาปานสติ ใช่แบบเดียวกันหรือปล่าวค่ะคุณโสมฯ :b1:

เพราะเท่าที่เราอ่านดูจะคล้ายๆกัน ถ้าไม่ใช่
แตกต่างกันอย่างไรค่ะ :b41: :b55: :b47:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ย. 2014, 16:33 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:

มีทางทวาใจเท่านั้นที่รู้ อดีต อานคต ปัจจุบัน ได้



:b1:

เอกอนมีความเห็นว่าเป็นการรู้ปัจจุบันเท่านั้นเช่นกัน
เพียงแต่เป็นการนำสัญญาที่เป็นอดีต ปัจจุบัน หรืออนาคต มาปรุงแต่ง

:b8:

เช่นว่า เมื่อเราเห็นแฟนเก่า ภาพ ณ ขณะที่เห็น ก็ภาพหนึ่ง คือภาพเขากำลังยืนรอรถเมล์
ซึ่งถ้าสักแต่ว่าเห็น เราก็จะเห็นภาพเขายืนรอรถเมล์ และเราก็จะไม่รู้สึกอะไรไปกับภาพนั้น ๆ มากนัก
คือ อารมณ์อันเห็นก็สักแต่ว่าเห็นก็จะเป็นไปอย่างหนึ่ง
แต่ถ้าเรามีอารมณ์หวนไปถึงภาพต่าง ๆ ในอดีตที่เคยหวานชื่นหรือขมขื่น
หวนไปถึงภาพในอนาคตที่เราคาดหวังอยากให้เป็นไป
อารมณ์ที่ปรากฎกับใจก็จะดำเนินไปอีกอย่างน่ะ
อารมณ์ที่ปรากฎจะทำให้เรามีการเลือกกระทำต่อเหตุการณ์หนึ่ง ๆ ได้ต่างกันไป
ปรากฎเป็นตัวตนที่ต่างกันไปตาม สังขารที่เราปรุงแต่งมัน

:b1:

จิตปรุงแต่งด้วยสัญญาในอดีต ก็คือจิตปัจจุบันที่น้อมไปในอดีต
จิตปรุงแต่งด้วยสัญญาในอนาคต ก็คือจิตปัจจุบันที่น้อมไปในอนาคต
จิตปรุงแต่งด้วยสัญญาอันเป็นปัจจุบัน ก็คือจิตปัจจุบันที่อยู่กับสัญญาในปัจจุบัน

:b1: :b1: :b1:

นี่เป็นความหมาย อดีต ปัจจุบัน อนาคต ที่เอกอนเข้าใจน่ะ

:b1:


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 15 พ.ย. 2014, 18:19, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ย. 2014, 18:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
ลุงหมาน เขียน:

มีทางทวาใจเท่านั้นที่รู้ อดีต อานคต ปัจจุบัน ได้



:b1:

เอกอนมีความเห็นว่าเป็นการรู้ปัจจุบันเท่านั้นเช่นกัน
เพียงแต่เป็นการนำสัญญาที่เป็นอดีต ปัจจุบัน หรืออนาคต มาปรุงแต่ง

:b8:

เช่นว่า เมื่อเราเห็นแฟนเก่า ภาพ ณ ขณะที่เห็น ก็ภาพหนึ่ง คือภาพเขากำลังยืนรอรถเมล์
ซึ่งถ้าสักแต่ว่าเห็น เราก็จะเห็นภาพเขายืนรอรถเมล์ และเราก็จะไม่รู้สึกอะไรไปกับภาพนั้น ๆ มากนัก
คือ อารมณ์อันเห็นก็สักแต่ว่าเห็นก็จะเป็นไปอย่างหนึ่ง
แต่ถ้าเรามีอารมณ์หวนไปถึงภาพต่าง ๆ ในอดีตที่เคยหวานชื่นหรือขมขื่น
หวนไปถึงภาพในอนาคตที่เราคาดหวังอยากให้เป็นไป
อารมณ์ที่ปรากฎกับใจก็จะดำเนินไปอีกอย่างน่ะ
อารมณ์ที่ปรากฎจะทำให้เรามีการเลือกกระทำต่อเหตุการณ์หนึ่ง ๆ ได้ต่างกันไป
ปรากฎเป็นตัวตนที่ต่างกันไปตาม สังขารที่เราปรุงแต่งมัน

:b1:

อดีต และ อนาคต ในลักษณะนี้ล่ะ ที่เอกอนเฝ้าสังเกต
และเป็น อดีต กับ อนาคต ที่เข้ามาข้องเกี่ยวกับจิต
ที่นักปฏิบัติพอจะทำความรู้สึกตัวให้เท่าทัน และสำรวมระวังมันได้
ถ้าเป็นสัญญาในอดีต อนาคตที่เป็นคุณต่อใจ ก็บำรุงให้มันเจริญ
ส่วนถ้าเป็นสัญญาที่เป็นโทษต่อใจแล้วก็ เพียรละค่ะ

:b1: :b1: :b1:

:b9: ...เอกอนก็เลยไม่มีแฟนกะเขาสักกะที... :b9:

เพราะมัวแต่ทำวิจัยนี่ล่ะ :b32: :b32: :b32:


สัญญานำมาปรุงแต่งเป็นอาการของใจ ไม่ใช่อาการของ ตา หู จมูก ลิ้น กาย
มีใจเท่านั้นที่รู้ได้ทั้งสามกาลครับ เอาแบบง่ายๆ เข่นว่า
ขณะที่เราเห็นอยู่นั้นเรียกว่าขณะปัจจุบัน แต่ถ้าเราหลับตาภาพที่เห็นก็จะดับไป
ภาพที่ดับไปนั้นก็เป็นอดีตไปใช่หรือไม่ แล้วถามว่าที่หลับตานั้นยังเห็นอยู่หรือไม่
ก็ต้องตอบว่ายังเห็นอยู่ สิ่งที่เห็นภาพได้นั้นเป็นทางใจที่สัญญาจำสิ่งที่เป็นปัจจุบันเอาไว้
แม้นานแค่ไหน ใจที่มีสัญญาเกิดร่วมด้วยก็ยังเห็นได้อยู่เรียกว่าเห็นได้ด้วยใจ

ในขณะคิดเห็นเรื่องราวในอดีตทางตาอยู่นั้น มันก็เป็นปัจจุบันทางใจด้วย
ส่วนที่เป็นอนาคตใจก็คิดถึงเรื่องราวต่างๆที่ยังไม่เห็น ขึ้นว่าจะเห็นอย่างนั้นอย่างนี้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ย. 2014, 18:36 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:

สัญญานำมาปรุงแต่งเป็นอาการของใจ ไม่ใช่อาการของ ตา หู จมูก ลิ้น กาย
มีใจเท่านั้นที่รู้ได้ทั้งสามกาลครับ เอาแบบง่ายๆ เข่นว่า
ขณะที่เราเห็นอยู่นั้นเรียกว่าขณะปัจจุบัน แต่ถ้าเราหลับตาภาพที่เห็นก็จะดับไป
ภาพที่ดับไปนั้นก็เป็นอดีตไปใช่หรือไม่ แล้วถามว่าที่หลับตานั้นยังเห็นอยู่หรือไม่
ก็ต้องตอบว่ายังเห็นอยู่ สิ่งที่เห็นภาพได้นั้นเป็นทางใจที่สัญญาจำสิ่งที่เป็นปัจจุบันเอาไว้
แม้นานแค่ไหน ใจที่มีสัญญาเกิดร่วมด้วยก็ยังเห็นได้อยู่เรียกว่าเห็นได้ด้วยใจ



อ๋อ พอจะเข้าใจนัยยะที่ลุงหมานพยายามจะสื่อแล้ว
ลุงหมานหมายความว่า

ใจเข้าไปรู้เป็นปัจจุบันนั่นล่ะ
เพียงแต่ใจนั้นรู้ได้ในเรื่องของกาล

มีใจเท่านั้น ที่รู้เรื่องของกาลได้

:b1:

เพราะตอนแรกเอกอนอ่านแล้วเข้าใจไปว่า
ลุงหมานหมายถึงใจมันจะเดินทางไปตั้งอยู่ในอดีตแล้วรับรู้อดีต
ใจมันเดินทางไปตั้งอยู่ในอนาคตและรับรู้อนาคตน่ะ
ก็ลุงหมานเล่นเขียนสั้นเกินไป

:b32: :b32: :b32:

ลุงหมาน เขียน:
ถ้าเราจะรู้อดีต รู้ปัจจุบัน รู้อนาคต เอาอย่างนี้ดีไหม มารู้ทางทวารต่างๆ
อาจพอเข้าใจได้บ้าง เช่นว่า
ทางทวารตาจะรู้ได้เพียงปัจจุบันเท่านั้น ตาจะไปรู้อดีต หรืออนคตไม่ได้ จริงไหม
ทางทวารหูจะรู้ได้เพียงปัจจุบันเท่านั้น หูจะไปรู้อดีต หรืออนคตไม่ได้ จริงไหม
ทางทวารจมูกจะรู้ได้เพียงปัจจุบันเท่านั้น จมูกจะไปรู้อดีต หรืออนคตไม่ได้ จริงไหม
ทางทวารลิ้นจะรู้ได้เพียงปัจจุบันเท่านั้น ลิ้นจะไปรู้อดีต หรืออนคตไม่ได้ จริงไหม
ทางทวารกายจะรู้ได้เพียงปัจจุบันเท่านั้น กายจะไปรู้อดีต หรืออนคตไม่ได้ จริงไหม
มีทางทวาใจเท่านั้นที่รู้ อดีต อนาคต ปัจจุบัน ได้

:b41: :b41: :b41:

เห็นมั๊ย สั้นจริง ๆ

:b32: :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ย. 2014, 19:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุครับ...ที่เข้าใจการสื่อ บางตรั้งคนไทยด้วยกันแต่คนละภาค
ยังสื่อสารกันยากเกิดทะเลาะกันก็มี...นัยยะแรกต้องคิดดีไว้ก่อน
แล้วค่อยมาวิเคราะห์ต่อไป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ย. 2014, 08:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


bbby เขียน:
คุณโสมฯเขียน

อ้างคำพูด:
สติ ก็เป็นสังขารขันธ์ การเจริญสติปัฏฐานนั่นแหละค่ะช่วยได้



การเจริญสติปัฏฐานกับการทำ
อานาปานสติ ใช่แบบเดียวกันหรือปล่าวค่ะคุณโสมฯ :b1:

เพราะเท่าที่เราอ่านดูจะคล้ายๆกัน ถ้าไม่ใช่
แตกต่างกันอย่างไรค่ะ :b41: :b55: :b47:




คล้ายกันแบบไหน. ลองอธิบายมาก่อนนนะคะ

วันนี้ไม่ว่างค่ะ


ต้องรีบออกไปธุระ คุณเต้คุยไปก่อนนะคะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ย. 2014, 09:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จริงๆ แล้ว ปัจจุบันขณะมัมีชั่วแว็บเดียวจริง ๆ หรืออาจไม่มีด้วยซ้ำ แต่มันจะเป็นประโยชน์กับเราได้ ถ้าจิตน้อมไประลึก รู้ชั่วขณะนั้น ฝึกดู รู้ ระลึก ก็การเจริญ วิปัสสนา คือเป็นการปฏิบัติเจริญวิปัสสนา ในขณะนั้น
จะต้องระลึกให้ตรงต่อ รูป นาม แล้วก็เป็นปัจจุบัน ปัจจุบัน คือ กำลังปรากฏ
เช่น กำลังเห็น.เห็นปัจจุบัน เห็นผ่านไปแล้วเป็นอดีต ยังไม่เห็นก็เป็นอนาคต สติต้องระลึกรู้ขณะที่กำลังเห็น
กำลังได้ยิน ต้องระลึกรู้ ขณะนั้น ถ้ามันได้ยินผ่านไปแล้ว เป็นอดีตไปหมด... ยังไม่ได้ยินก็อย่าไปนึกถึง
จะระลึกรู้อยู่ เฉพาะกำลังได้ยิน ๆๆ กำลังรู้รส กำลังรู้กลิ่น ก็เหมือนกัน เรียกว่า กำลัง" ผัสสะ " กำลังมีการผัสสะ คือการกระทบกัน หรือการประชุมพร้อม เช่น มีประสาทหู มีเสียง มีการได้ยินเกิดขึ้น
..ผ่านไปแล้วก็แล้วไป ก็รู้ใหม่ มันมีใหม่เข้ามาเรื่อยๆ ไม่ทางใดก็ทางนึง ก็ระลึกไปเรื่อยๆ เฉพาะที่กำลังปรากฏ..............นีคือปัจจุบันขณะ ไม่ว่าจะเป็นรูป นาม ที่กำลังปรากฏในขณะนั้น....ถ้าเรามีสติ ระลึกรู้ อยู่บ่อยๆ เนือง ก็จะเห็น อนัตตา คือความไม่เที่ยง ความเปลี่ยนแปลง ความบังคับบัญชาไม่ได้ ไม่ใช่เรา ตัวเรา
เจริญในธรรม :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ย. 2014, 12:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ก.พ. 2009, 22:21
โพสต์: 1975


 ข้อมูลส่วนตัว


bbby เขียน

อ้างคำพูด:
การเจริญสติปัฏฐานกับการทำ
อานาปานสติ ใช่แบบเดียวกันหรือปล่าวค่ะคุณโสมฯ :b1:


คุณโสมฯเขียน

อ้างคำพูด:
คล้ายกันแบบไหน. ลองอธิบายมาก่อนนนะคะ

วันนี้ไม่ว่างค่ะ



คือฝึกให้สติกับจิต จับอยู่ที่สิ่งเดียวกัน
สติอยู่ตรงไหนจิตอยู่ตรงนั้น จิตอยู่ตรงไหนสติอยู่ตรงนั้น
ไม่ยึดติดกับสิ่งใด
เพราะเราฝึกอาณาปาณสติ เราก็ฝึกแบบนี้ค่ะ
เคยทิ้งไปช่วงหนึ่ง เจอกิเลส
แต่ตอนนี้ฝึกต่อค่ะ ก้อคุมจิตได้ค่ะ

ถ้าไม่ใช่แบบเดียวกันถ้างั้น
การเจริญสติปัฏฐาน ทำแบบไหนค่ะ เพราะที่เราหาข้อมูล
ในความคิดของเราคือคล้ายๆกันค่ะ

ช่วยแนะนำข้อแตกต่างให้ด้วยนะค่ะ :b41: :b55: :b47:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ย. 2014, 10:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


bbby เขียน:
bbby เขียน

อ้างคำพูด:
การเจริญสติปัฏฐานกับการทำ
อานาปานสติ ใช่แบบเดียวกันหรือปล่าวค่ะคุณโสมฯ :b1:


คุณโสมฯเขียน

อ้างคำพูด:
คล้ายกันแบบไหน. ลองอธิบายมาก่อนนนะคะ

วันนี้ไม่ว่างค่ะ



คือฝึกให้สติกับจิต จับอยู่ที่สิ่งเดียวกัน
สติอยู่ตรงไหนจิตอยู่ตรงนั้น จิตอยู่ตรงไหนสติอยู่ตรงนั้น
ไม่ยึดติดกับสิ่งใด
เพราะเราฝึกอาณาปาณสติ เราก็ฝึกแบบนี้ค่ะ
เคยทิ้งไปช่วงหนึ่ง เจอกิเลส
แต่ตอนนี้ฝึกต่อค่ะ ก้อคุมจิตได้ค่ะ

ถ้าไม่ใช่แบบเดียวกันถ้างั้น
การเจริญสติปัฏฐาน ทำแบบไหนค่ะ เพราะที่เราหาข้อมูล
ในความคิดของเราคือคล้ายๆกันค่ะ

ช่วยแนะนำข้อแตกต่างให้ด้วยนะค่ะ :b41: :b55: :b47:


สมาธิ มีอารมณ์เดียว
ผลคือ ทำให้จิตตั้งมั่นสงบ

ส่วนสติปัฏฐานอารมณ์เปลี่ยนตลอด
ผลคือ ได้ปัญญา ถึงความหลุดพ้นได้ค่ะ

สมาธิ กับสติปัฏฐานก็มีสติด้วยกันทั้งสิ้น ทุกงานก็ขาดสติไม่ได้เลยสักงานเดียวค่ะ
จึงควรฝึกสติให้เกิดขึ้นได้ก่อน จะด้วยสมถะหรือสมาธิ และฝึุกให้มีสติเกิดบ่อยๆ เนืองๆ ก่อนค่ะ

ถ้าจะเริ่มก็ฝึกให้มีสติเกิดบ่อยๆ เนืองๆ ในแต่ละวัน
และเดินจงกรม นั่งสมาธิในรูปแบบ
ในระหว่างวันว่างเมื่อไรก็เอาจิตหลบไปทำสมาธิไปและฝึกมีสติไป ทำเท่าที่ได้ในวันที่ต้องทำงาน
เริ่มแบบนี้ก่อนอย่าเพิ่งไปรีบร้อนทำอะไรค่ะ
:b50: :b50: :b50: :b50: :b50:

สติเจตสิก

สติเจตสิก คือ ธรรมชาติที่มีความระลึกได้ในอารมณ์ และให้สังวรอยู่ในกุศลธรรมเป็นลักษณะ
มีอรรถโดยเฉพาะ (ลักขณาทิจตุกะ) ๔ ประการ คือ
อปิลาปนลกฺขณา มีความระลึกได้ในอารมณ์เนืองๆ เป็นลักษณะ
อสมฺโมหรสา มีความไม่หลงลืม เป็นกิจ
อารกฺขปจฺจุปฏฺฐานา (วา) มีการรักษาอารมณ์ เป็นผล
วิสยาภิมุขภาวปจฺจุปฏฺฐานา มีความจดจ่อต่ออารมณ์ เป็นผล
ถิรสญฺญา ปทฏฺฐานา (วา) มีความจำอันมั่นคง เป็นเหตุใกล้ (หรือ)
กายาทิสติปฏฺฐาน ปทฏฺฐานา มีสติปัฏฐาน ๔ คือ กาย เวทนา จิต ธรรม เป็นเหตุใกล้

สติมีลักษณะ ๒ ประการ คือ
๑. อปิลาปนลักขณาสติ
๒. อุปคัณหณลักขณาสติ

๑. อปิลาปนลักขณาสติ ได้แก่ สติที่เตือนให้ระลึกไปในธรรมทั้งหลายว่า ธรรมสิ่งนี้ดี สิ่งนั้นชั่ว,
สิ่งนี้เป็นประโยชน์ สิ่งนั้นไม่เป็นประโยชน์, ธรรมสิ่งนี้เป็นสติปัฏฐาน๔, สิ่งนี้เป็นสัมมัปปธาน๔,
สิ่งนี้เป็นอิทธิบาท๔, สิ่งนี้เป็นอินทรีย์๕, สิ่งนี้เป็นพละ๕, สิ่งนี้เป็นโพชฌงค์๗, สิ่งนี้เป็นมรรค๘,
หรือสิ่งนี้เป็นสมถกรรมฐาน, สิ่งนี้เป็นวิปัสสนากรรมฐาน, สิ่งนี้เป็นฌาน, เป็นสมาบัติ, เป็นวิชา,
เป็นวิมุตติ, เป็นกองจิต, กองเจตสิก

เมื่อ อปิลาปนลักขณาสติ เตือนให้ระลึกถึงธรรมเหล่านี้แล้ว ก็มิได้ส้องเสพธรรมอันมิควรเสพ
กลับเสพธรรมที่ควรเสพ สตินี้ จึงหมายถึงสติที่ประกอบทั่วไปในโสภณจิต ย่อมให้ระลึกถึงกุศลธรรม
โดยทำหน้าที่กั้นกระแสแห่งนิวรณ์ธรรม จะประกอบด้วยปัญญา หรือมิได้ประกอบด้วยปัญญา
ก็สามารถให้ระลึกถึงกุศลธรรมโดยชอบได้

๒. อุปคัณหณลักขณาสติ ได้แก่ สติที่ชักชวนให้ถือเอาคติในธรรมอันดี ย่อมระลึกว่า ธรรมสิ่งนี้มีอุปการะ
ธรรมสิ่งนี้มิได้มีอุปการะ, นำออกเสียซึ่งธรรมมิได้เป็นประโยชน์ มิได้เป็นอุปการะ ถือเอาแต่ธรรมที่เป็น
ประโยชน์ ธรรมที่เป็นอุปการะ ดุจนายประตูของพระบรมกษัตริย์ ถ้าเห็นผู้ใดประหลาดเข้าไปสู่ประตู
พระราชวัง ก็ห้ามเสียมิให้เข้า ผู้ใดมีอุปการะแก่พระบรมกษัตริย์ ก็ปล่อยให้เข้าไปสู่พระราชฐาน
ย่อมกำจัดเสียซึ่งคนอันมิใช่ข้าเฝ้า ถือเอาแต่คนที่เป็นข้าเฝ้าให้เข้าสู่พระราชฐานนั้นได้

อุปคัณหณลักขณาสติ จึงเป็นสติที่อุปการะแก่ปัญญาโดยตรง ได้แก่ สติ สัมปชัญญะที่เกิดขึ้นในขณะ
พิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม ที่เรียกว่า เจริญ "สติปัฏฐาน ๔" อันเป็นปุพพภาคมรรค ซึ่งเป็นเบื้องต้น
แห่งมรรคพรหมจรรย์ ที่จะอุปการะให้แจ้งพระนิพพาน

ฉะนั้น สติจึงมี ๒ อย่าง คือ
๑. สติ ที่ประกอบกับโสภณจิตโดยทั่วไป ในขณะระลึกรู้อารมณ์ที่อดีตสัญญาเก็บจำไว้ตามนัยปฏิบัติ
ด้วยอปิลาปนลักขณาสติ กับ
๒. สติ ที่ทำความรู้สึกตัวขณะกำหนดรูปนามตามความจริงในการเจริญสติปัฏฐาน ตามนัยปฏิบัติด้วย
อุปคัณหณลักขณาสติ (สติที่ประกอบด้วยปัญญา)
จากเอกสารประกอบการเรียน อชว.

อ่านต่อได้ค่ะที่กระทู้นี้ค่ะ
viewtopic.php?f=2&t=44499&start=15

:b49: :b49: :b49: :b49: :b49: :b49:

แนะนำอ่านที่ ๒ กระทู้นี้ด้วยค่ะ
viewtopic.php?f=66&t=47227

viewtopic.php?f=66&t=47227

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ย. 2014, 11:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ก.พ. 2009, 22:21
โพสต์: 1975


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณโสมฯเขียน

อ้างคำพูด:
สมาธิ มีอารมณ์เดียว
ผลคือ ทำให้จิตตั้งมั่นสงบ

ส่วนสติปัฏฐานอารมณ์เปลี่ยนตลอด
ผลคือ ได้ปัญญา ถึงความหลุดพ้นได้ค่ะ

สมาธิ กับสติปัฏฐานก็มีสติด้วยกันทั้งสิ้น ทุกงานก็ขาดสติไม่ได้เลยสักงานเดียวค่ะ
จึงควรฝึกสติให้เกิดขึ้น wink ได้ก่อน จะด้วยสมถะหรือสมาธิ และฝึกให้มีสติเกิดบ่อยๆ เนืองๆ ก่อนค่ะ



ขอบคุณค่ะ :b8: คุณโสมฯ :b1: :b41: :b55: :b47:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ย. 2014, 12:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


bbby เขียน:
คุณโสมฯเขียน

อ้างคำพูด:
สติ ก็เป็นสังขารขันธ์ การเจริญสติปัฏฐานนั่นแหละค่ะช่วยได้



การเจริญสติปัฏฐานกับการทำ
อานาปานสติ ใช่แบบเดียวกันหรือปล่าวค่ะคุณโสมฯ :b1:

เพราะเท่าที่เราอ่านดูจะคล้ายๆกัน ถ้าไม่ใช่
แตกต่างกันอย่างไรค่ะ :b41: :b55: :b47:


ไปคุยกันโพสต่อมา ก็เลยไม่ตรงกับโพสแรกค่ะ
วันนี้กลับมาอ่านก็เลยเห็นว่า ที่คุยอีกโพสต่อมา มันเลยไม่ได้คุยกันตรงนี้ค่ะ

ในอานาปานสติทั้ง ๑๖ ขั้นนี้ แบ่งออกเป็น ๔ หมวด คือ
หมวดที่ ๑ ตั้งแต่ขั้นที่ ๑ ถึงขั้นที่ ๔ ว่าด้วยการกำหนดลมหายใจเข้า-ออก เป็น
กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน

หมวดที่ ๒ ตั้งแต่ขั้นที่ ๕ ถึงขั้นที่ ๘ ว่าด้วยการกำหนดเวทนา เป็น
เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน

หมวดที่ ๓ ตั้งแต่ขั้นที่ ๙ ถึงขั้นที่ ๑๒ ว่าด้วยการกำหนดจิต เป็น
จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน

หมวดที่ ๔ ตั้งแต่ขั้นที่ ๑๓ ถึงขั้นที่ ๑๖ ว่าด้วยการกำหนดธรรมที่ปรากฏในจิต เป็น
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน (เป็นฝ่ายวิปัสสนาอย่างเดียวเท่านั้น)

หมวด ๑ ถึงหมวด ๓ เป็นได้ทั้งฝ่าย สมถะ และวิปัสสนา
หมวด ๔ เป็นฝ่ายวิปัสสนาอย่างเดียว
หมวด ๒ ถึงหมวด ๔ จะปฏิบัติหลังจากได้ฌานแล้ว

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=42031

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 130 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 9  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 39 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร