วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 01:36  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2014, 15:21 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ธ.ค. 2012, 16:46
โพสต์: 412

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เจตสิกคืออะไร ครับ

อ่านคำแปลทางเวป แล้วไม่เข้าใจเลย

รู้เพียงว่าเกิดพร้อมกับ จิต และ ดับไปพร้อมกับจิต

ตอนเจตสิกเกิด มันไปอยู่ส่วนไหนของจิตครับ

เราสามารถรู้สึกถึง เจตสิกได้ไหมครับ

เจตสิก กับ อารมณ์ คืออันเดียวกันไหม

ขอบคุณครับ ไม่เข้าใจจริงๆครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2014, 16:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 พ.ค. 2004, 12:30
โพสต์: 147


 ข้อมูลส่วนตัว www


ความเข้าใจเรื่องพระอภิธรรม - สมเด็จพระญาณสังวร

รูปภาพ

อ่านฟรี - โหลด

Full Version รวมงานพระนิพนธ์สมเด็จพระญารสังวร ไฟล์ PDF กว่าร้อยเรื่อง

http://www.jozho.net/index.php?lite=art ... d=42134000

https://archive.org/download/DVD_PraYanasv/30014.PDF


แก้ไขล่าสุดโดย jojam เมื่อ 12 พ.ย. 2014, 23:25, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2014, 16:28 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ธ.ค. 2012, 16:46
โพสต์: 412

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


smiley


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2014, 17:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


choochu เขียน:
เจตสิกคืออะไร ครับ

อ่านคำแปลทางเวป แล้วไม่เข้าใจเลย

รู้เพียงว่าเกิดพร้อมกับ จิต และ ดับไปพร้อมกับจิต

ตอนเจตสิกเกิด มันไปอยู่ส่วนไหนของจิตครับ

เราสามารถรู้สึกถึง เจตสิกได้ไหมครับ

เจตสิก กับ อารมณ์ คืออันเดียวกันไหม

ขอบคุณครับ ไม่เข้าใจจริงๆครับ

เจตสิก เป็นอาการ หรือการกระดุกกระดิกของจิต ที่ตอบสนองอารมณ์ที่มากระทบจิต
เมื่อ จิตกระดุกกระดิก กระเพื่อม ก็เรียกจิตนั้นด้วยชื่อต่างๆ
เช่น กุศลจิต อกุศลจิต ฯลฯ..

ที่กล่าวว่าดับไปพร้อมกับจิต ....จิตในที่นี้ไม่ได้หมายถึงจิตเดิมแต่ หมายถึงจิตที่ปรุงแต่งไปกับเจตสิก หรืออาการจิต กล่าวคือ เมื่อจิตกระดุกกระดิกไปในอีกทิศทางหนึ่ง จิตก็ต้องดับจากทิศทางหนึ่งเพื่อไปสู่อีกทิศทางหนึ่ง

เพราะธรรมชาติของจิตนั้น เป็นธรรมชาติที่รู้อารมณ์
เมื่อรู้อารมณ์ บางทีก็ตอบสนองอารมณ์ ก็มีการกระดุกกระดิก
^v^

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2014, 18:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1457670_598484926947809_2245947122455054424_n.jpg
1457670_598484926947809_2245947122455054424_n.jpg [ 158.25 KiB | เปิดดู 3253 ครั้ง ]
choochu เขียน:
เจตสิกคืออะไร ครับ

อ่านคำแปลทางเวป แล้วไม่เข้าใจเลย

รู้เพียงว่าเกิดพร้อมกับ จิต และ ดับไปพร้อมกับจิต

ตอนเจตสิกเกิด มันไปอยู่ส่วนไหนของจิตครับ

เราสามารถรู้สึกถึง เจตสิกได้ไหมครับ

เจตสิก กับ อารมณ์ คืออันเดียวกันไหม

ขอบคุณครับ ไม่เข้าใจจริงๆครับ


- เจตสิกเป็นนามธรรมที่ไม่ใช่จิต แต่เป็นธรรมชาติชนิดหนึ่งซึ่งประกอบกับจิต
ปรุงแต่งจิตให้มีความเป็นไปต่าง ๆ มีโลภะ โทสะ โมหะ เป็นต้น
อาการที่ประกอบกับจิตนั้น มีลักษณะ ๔ ประการ คือ
๑. เกิดพร้อมกับจิต
๒. ดับพร้อมกับจิต
๓. มีอารมณ์เดียวกับจิต
๔. อาศัยวัตถุเดียวกับจิต
ลักษณะของเจตสิกคือ มีการอาศัยจิตเกิดขึ้น กิจการงานของเจตสิกคือ เกิดร่วมกับจิต
ผลงานของเจตสิกคือ เป็นอารมณ์ของจิต เหตุที่ทำให้เจตสิกเกิดขึ้นได้ คือ การเกิดขึ้นของจิต

- ตอนเจตสิกเกิดก็อยู่ในขณะจิตรู้
- เรารู้เจตสิกเกิดได้ขณะที่ สติ รู้ความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นต้น
- อารมณ์เป็นธรรมชาติที่ถูกจิตรู้ เจตสิกก็เป็นอารมณ์ได้ ที่เรียกว่านามรู้นาม

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2014, 20:13 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ธ.ค. 2012, 16:46
โพสต์: 412

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญญา ของผมคงยังไม่มี ยังไม่เข้าใจอยู่ดีฮ่าๆๆ

s002

ขอสมุมติ สถานะการณ์ นะครับ

เราไปเห็น นาฬิกา เรือนหนึ่งขึ้นมา แล้วเราอยากได้

คือตาเราไปเห็น นาฬิกา แล้วเกิดความอยากได้ขึ้นมา ทันใดนั่น จิตก็รู้ว่าความอยากได้เกิดขึ้นแล้ว

ถ้าจิตคือสภาวะ รู้อารมณ์ ก็หมายความว่า จิตได้รู้แล้วว่ามีความอยากได้เกิดขึ้น

จิตรู้และเห็นความอยาก เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป

จากที่อ่านมา เจตสิกเกิดพร้อมกับจิต และดับไปพร้อมกับจิต

แสดงว่าช่วงที่จิตรู้อารมณ์ เจตสิกก็ต้องมีอยู่แล้ว แต่มันอยู่ตรงไหน??? ผมไม่เข้าใจ ตรงนี้อะครับ

ช่วงไหนเรียกเจตสิก??? ไม่รู็จะเข้าใจที่ผมสงสัยไหม รบกวนด้วยนะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2014, 21:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


choochu เขียน:
ปัญญา ของผมคงยังไม่มี ยังไม่เข้าใจอยู่ดีฮ่าๆๆ

s002

ขอสมุมติ สถานะการณ์ นะครับ

เราไปเห็น นาฬิกา เรือนหนึ่งขึ้นมา แล้วเราอยากได้

คือตาเราไปเห็น นาฬิกา แล้วเกิดความอยากได้ขึ้นมา ทันใดนั่น จิตก็รู้ว่าความอยากได้เกิดขึ้นแล้ว

ถ้าจิตคือสภาวะ รู้อารมณ์ ก็หมายความว่า จิตได้รู้แล้วว่ามีความอยากได้เกิดขึ้น

จิตรู้และเห็นความอยาก เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป

จากที่อ่านมา เจตสิกเกิดพร้อมกับจิต และดับไปพร้อมกับจิต

แสดงว่าช่วงที่จิตรู้อารมณ์ เจตสิกก็ต้องมีอยู่แล้ว แต่มันอยู่ตรงไหน??? ผมไม่เข้าใจ ตรงนี้อะครับ

ช่วงไหนเรียกเจตสิก??? ไม่รู็จะเข้าใจที่ผมสงสัยไหม รบกวนด้วยนะครับ

ช่วงที่ตาไปกระทบรูป(นาฬิกา)แล้วเกิดผัสสะ คือความอยาก ช่วงนี้เจตสิกเกิดแล้วค่ะ เพราะหลงเข้าไปยึด(ตัณหา)แต่ถ้ารู้ชัดสติฉับไวก็ตัดช่วงผัสสะนั่นหละค่ะ รู้แล้วว่าอยากเพราะมีเรา(ตัวเรา)เข้าไปยึด ถ้ารู้ชัดเราจะหยุดไม่ปรุงแต่งต่อไปจนเกิดอุปทาน เป็นการตัดวงจรปฏิจจสมุปบาท การหมุนวนของกรรม (การกระทำ ถ้าเรายังมี กิเลศ ยังไงมันก็ต้องหมุนวน นั่นคือ กิเลศ กรรม วิบาก ถ้าจะตัดกรรมก็ต้องตัดสายเกิดของวงจรปฏิจจสมุปปบาท ก็ขึ้นอยู่กับกำลังอินทรีย์ของแต่ละท่านค่ะ)
พยายามเจริญสติอยู่เนืองๆ คือรู้ตัวทั่วพร้อม รู้สึกอย่างไรก็รู้ แต่ไม่ปรุงแต่งต่อไป แต่ไม่ใช่ไม่ให้พูดกับใครนะค่ะ555 คุนน้องหมายถึงรู้เท่าทันความอยากของตนเอง เด่วก็เห็นค่ะ มันจะทำให้เราเข้าใจ นามรูป เข้าใจขันธ์5 เข้าใจวงจรปฎิจจสมุปปบาท เหมือนพี่เอกอนบอก เราเห็นพระไตรปิฎกในตัวเรา มันจะไม่มีภาษาบาลีให้ยุ่งยากเลยค่ะ :b12:


แก้ไขล่าสุดโดย nongkong เมื่อ 12 พ.ย. 2014, 22:31, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2014, 21:42 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


เวลาที่ผู้ปฏิบัติทำสมาธิ
มีบ้างที่ผู้ปฏิบัติอาจจะทำจิตให้ใสดังดวงแก้วใสบริสุทธิได้
ซึ่งถ้าผู้ปฏิบัติพิจารณารู้อยู่ในสิ่งที่ปรากฎตลอด ได้อย่างต่อเนื่องมากพอ

ก็จะเปรียบทัศนะที่เห็น ๆ ออกมาได้ว่า
จิตเปรียบได้ดั่ง น้ำใส ๆ ที่อยู่ในแก้ว
ส่วนเจตสิก ก็จะเปรียบดังสีที่เจืออยู่ในน้ำนั้น

การเห็นนาฬิกา ผ่าน น้ำใส
กับ
การเห็นนาฬิกา ผ่าน น้ำสีต่าง ๆ
จิตก็จะรับรู้สิ่งที่เห็นแตกต่างกันไป

เราเห็นนาฬิกาออกแนวอม ๆ สีเขียว
ซึ่ง นาฬิกา ไม่ได้มีสีเขียว ตัวที่ทำการรับรู้(ตาเรา)ไม่ได้เขียว
แต่มันกลับรับรู้ นาฬิกาออกมาเป็นสีเขียว เพราะมองผ่านน้ำสีเขียว

ซึ่งเวลาที่เรามองนาฬิกาผ่านน้ำใสที่เจือสีเขียว เราจะแยกแยะออก
เพราะมันองค์ประกอบทั้งสามมันแยกออกจากกัน
เราแยกมันออกจากกันได้ และพิจารณามันทีละส่วน

แต่พอเป็นจิต ทั้งหมดทั้งสิ้นมันแสดงอยู่บนจิต
ซึ่ง มันเป็นเช่นนั้นได้อย่างไร

:b1:

เจตสิกมาปรากฎที่จิตได้อย่างไร
คือ ความถี่ของการเคลื่อนของ ... อะไรบางอย่างที่ไม่รู้ว่าจะเรียกมันว่าอย่างไร
จะทำให้สิ่งนั้นแสดงลักษณะที่ต่างกันไป

เปรียบเทียบกับเช่นว่า ความถี่ทำให้เกิดแสง สี เสียง
ความถี่เปลี่ยนแปลง แสง สี เสียง ก็เปลี่ยนแปลงไป

ในสิ่งนั้น ๆ ก็เช่นกัน ความถี่จะทำให้สิ่งนั้น ๆ แสดงลักษณะต่าง ๆ ออกมา
เหมือนกับ ระลอกคลื่น ก็ปรากฎอยู่บนผืนน้ำที่ราบเรียบมาก่อน
ระลอกคลื่นอย่างถี่ กับระลอกคลื่นอย่างห่าง ก็แสดงลักษณะผืนน้ำที่ต่างกันไป

ประหนึ่งเช่นว่า กระดิ่ง ไม่ใช่เสียง
แต่เสียงกระดิ่ง เกิดจากการสั่นของกระดิ่ง ....

เช่นกัน กระดิ่ง ใช้เคาะหัวคนให้เจ็บก็ได้
และ ใช้สั่นให้เกิดเสียงก็ได้

:b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ย. 2014, 06:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


choochu เขียน:
ปัญญา ของผมคงยังไม่มี ยังไม่เข้าใจอยู่ดีฮ่าๆๆ

s002

ขอสมุมติ สถานะการณ์ นะครับ

เราไปเห็น นาฬิกา เรือนหนึ่งขึ้นมา แล้วเราอยากได้

คือตาเราไปเห็น นาฬิกา แล้วเกิดความอยากได้ขึ้นมา ทันใดนั่น จิตก็รู้ว่าความอยากได้เกิดขึ้นแล้ว

ถ้าจิตคือสภาวะ รู้อารมณ์ ก็หมายความว่า จิตได้รู้แล้วว่ามีความอยากได้เกิดขึ้น

จิตรู้และเห็นความอยาก เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป

จากที่อ่านมา เจตสิกเกิดพร้อมกับจิต และดับไปพร้อมกับจิต

แสดงว่าช่วงที่จิตรู้อารมณ์ เจตสิกก็ต้องมีอยู่แล้ว แต่มันอยู่ตรงไหน??? ผมไม่เข้าใจ ตรงนี้อะครับ

ช่วงไหนเรียกเจตสิก??? ไม่รู็จะเข้าใจที่ผมสงสัยไหม รบกวนด้วยนะครับ


ขณะเห็นนาฬิกา ขณะนั้นนาฬิกาเป็นอารมณ์ที่มากระทบกับตา จิตก็เกิดขึ้นมารับรูันาฬิกาที่ตา
เจตสิกก็ปรุงแต่งจิตให้เกิดความอยากได้ (จิตเขารู้เห็นทางตาว่าเป็นภาพที่มาปรากฏทางตาเท่านั้น
ต่อจากนั้นเจตสิกปรุงแต่งจิตให้เห็นว่าเป็นนาฬิกา ว่าสวยว่างามจนเกิดความอยากได้ขึ้นมา จิตก็รู้
ไปตามอารมณ์ที่เจตสิกปรุงแต่งว่าสวยว่างามจนเกิดความอยากได้ด้วย เพราะรู้อารมณ์อันเดียวกับเจตสิก)

ช่วงที่รู้อารมณ์ จิตและเจตสิกจะเกิดขึ้นพร้อมกัน ไปรู้อารมณ์เดียวกัน เหมือนน้ำกับสีแดงที่อยู่ในน้ำ
น้ำก็อย่างหนึ่ง สีแดงก็อย่างหนึ่งทั้งสองอย่างรวมกันเข้าก็ต้องเรียกว่าน้ำสีแดงนั้นด้วย

และในขณะนั้น เสียงมาปรากฎที่หูอีกจิตก็ไปรับรู้เสียงที่หู เจตสิกก็เกิดพร้อมด้วยไปปรุงแต่งจิต
ให้จิตรู้ว่าเสียงอะไร หรือให้รู้ว่าเสียง นกกา เสียงระฆัง เสียงคน เหล่านี้เป็นต้น และในขณะนี้จิตและ
เจตสิกที่เกิดขึ้นที่ตาเห็นนาฬิกาก็ดับไปแล้ว และถ้าเกิดได้กลิ่นทางจมูกอีกจิตกับเจตสิก
ที่เกิดทางหูก็ดับอีกมาเกิดทางจมูก ฉะนั้นเราจะเห็นความเกิดดับของจิตเเละเจตสิกอย่างหยาบๆได้

ผมเข้าใจคำถามครับแต่ว่าท่านจะเข้าใจคำตอบหรือไม่เท่านั้น
ต้องขอขอบคุณที่ถาม น้อยคนนักที่จะมีคำถามแบบนี้มันเป็นประโยชน์มากในการศึกษาพระอภิธรรม
เป็นคำถามที่ลึกซึ้งโดยที่ไม่ยกบุคคลเข้ามาอ้าง แต่คำตอบจำเป็นต้องเอารูปเอาบุคคลมาอ้างบ้าง
เพื่อประโยชน์เพื่อความเข้าใจนามธรรมเช่นจิตและเจตสิก

สงสัยถามมาอีกนะครับเพื่อจะได้ละความสงสัยให้ได้ สงสัยแล้วไม่ถามความสงสัย
มันก็จะเพิ่มพูนมากขึ้น จะหาความเข้าใจแตกฉานในธรรมต้องถามครับ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 28 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร