วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 04:50  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2011, 19:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

:b42: ค ว า ม เ ข้ า ใ จ พ ร ะ วิ นั ย
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (มมร.)


๑. จุ ด เ ริ่ ม ต้ น พ ร ะ วิ นั ย

เกิดจากการปรารถความดำรงอยู่ยาวนาน
แห่งพระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้า
ในพรรษาที่ ๑๒ ณ เมืองเวรัญชรา

พระสารีบุตรทูลอาราธนาให้บัญญัติในสิกขาบท โดยกราบทูลว่า

ถึงเวลาแล้วพระพุทธเจ้าข้า
ที่พระผู้มีพระภาคจะทรงบัญญัติสิกขาบท
ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงแก่พระสาวก
อันจะเป็นเหตุให้พรหมจรรย์ดำรงอยู่ได้ยืนนาน

พระพุทธเจ้าทรงตรัสตอบแก่พระสารีบุตรว่า

จงรอไปก่อนเถิดสารีบุตร
ตถาคตรู้เวลาในเรื่องที่จะบัญญัติสิกขาบทนั้น
ศาสดาจะยังไม่บัญญัตสิกขาบทแก่สาวก ไม่ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง
ตลอดเวลาที่ยังไม่เกิดอาสวัฏฐานิยธรรมในหมู่สงฆ์

เมื่ออาสวัฏฐานิยธรรมบางอย่างขึ้นในหมู่สงฆ์
ตถาคตจึงจะบัญญัติสิกขาบท
และจักปาติโมกข์ขึ้นแสดงแก่สาวก
เพื่อขจัดธรรมเหล่านั้น


อาสวัฏฐานิยธรรม ในที่นี้คือ
การกระทำผิดอันเป็นต้นกำเนิดของพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง


แต่หลังจากออกพรรษานั้นแล้ว
พระพุทธเจ้าก็ทรงบัญญัติสิกขาบทบทแรก
คือ ปาราชิก ข้อห้ามที่ภิกษุเสพเมถุน

ผู้ที่ประพฤติคนแรกนั้นเรียกว่า อาทิกัมมิกะ เป็นต้นบัญญัติ
ไม่ต้องรับตามบัญญัติแห่งสิกขาบทนั้น
หมายเอาที่สิกขาบทปาราชิกถึงอนิยต


ในการจำบัญญัติสิกขาบทแต่ละข้อนั้น จะมีลำดับดังนี้

๑. เกิดเรื่องมัวหมองขึ้นภายในคณะสงฆ์

๒. พระพุทธเจ้าตรัสประชุมสงฆ์ แล้วตรัสถามพระภิกษุผู้ก่อเหตุ

๓. พระภิกษุรูปหรือคณะนั้นๆ รับในการกระทำความผิด

๔. พระพุทธเจ้าทรงตรัสโทษของการประพฤติผิดเช่นนั้น แลอานิสงส์ของการสำรวมระวัง

๕. ทรงบัญญัติสิกขาบทเพื่อห้ามกระทำต่อไป

๖. ผู้ฝ่าฝืนหรือละเมิดสิกขาบทนั้นเรียกว่า “ปรับอาบัติ”


(มีต่อ : วัตถุประสงค์การบัญญัติพระวินัย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2011, 20:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


๒. วั ต ถุ ป ร ะ ส ง ค์ ก า ร บั ญ ญั ติ พ ร ะ วิ นั ย

• เพื่อความดีแก่สงฆ์

• เพื่อความผาสุกแห่งสงฆ์

• เพื่อมาข่มบุคคลผู้เก้ออยาก

• เพื่อความอยู่ผาสุกของภิกษุผู้มีศีล

• เพื่อปิดกั้นอาสวะอันบังเกิดในปัจจุบัน

• เพื่อป้องกันอาสวะอันบังเกิดในอนาคต

• เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส

• เพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว

• เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม

• เพื่อเอื้อต่อ (ถือตาม) วินัย


(มีต่อ : ประโยชน์ของพระวินัย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2011, 20:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


๓. ป ร ะ โ ย ช น์ ข อ ง พ ร ะ วิ นั ย

พระวินัยนั้นเป็นสิ่งสำคัญของการฝึกอบรม
ผู้ที่เข้ามาบวชไม่ว่าจะมาจากตระกูลไหน อย่างไร ต่างจิตต่างใจ
ก็ล้วนแต่มีข้อบัญญัติเดียวกัน
ในการควบคุมความประพฤติให้เป็นระเบียบเรียบร้อย

การประพฤติอยู่ในระเบียบวินัยนั้นเป็นความงดงาม
ทำให้เกิดความน่าเลื่อมใส
เปรียบดังดอกไม้ที่ร้อยด้วยด้ายไม่กระจัดกระจาย
เป็นพวงมาลัยที่งดงาม


:b44: ประโยชน์หรืออานิสงส์แห่งพระวินัยนั้น มีดังนี้

๑. เพื่อประโยชน์แก่ความสำรวม

๒. ไม่เดือดร้อนปราโมทย์

๓. อิ่มใจ

๔. ปัสสัทธิ

๕. สุข

๖. สมาธิ

๗. เห็นตามความจริง

๘. เบื่อหน่าย

๙. คลายกำหนัด

๑๐. วิมุตติ

แต่ละองค์ประโยชน์นั้นจะเกิดเชื่อมกันเป็นประโยชน์ตามลำดับ
จนกระทั่งถึงพระนิพพาน


ด้วยเหตุนี้ เป็นสำคัญในส่วนของพระพุทธศาสนาเถรวาทนั้น
จะเน้นการประพฤติปฏิบัติตามวินัยอย่าเคร่งครัด โดยไม่ตัดทอน
เนื่องจากการปฏิบัติตามวินัยอย่างเคร่งครัด ก็นำไปสู่วิมุตติได้


ถึงกระนั้นก็ตาม วินัยนั้นเป็นแนวทางให้ตนดำรงอยู่
ด้วยความภาคภูมิใจในความบริสุทธิ์ของตน
ซึ่งจะนำไปสู่ลำดับต่อๆ มา
โดยมีจุดมุ่งหมายอยู่ที่เป็นองค์แห่งการเอื้อให้สมาธิงอกงามนั่นเอง



(มีต่อ : คัมภีร์พระวินัย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2011, 21:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


๔. คั ม ภี ร์ พ ร ะ วิ นั ย

วินัยปิฎก คือประมวลพระพุทธพจน์ว่าด้วยบัญญัติ
เกี่ยวกับระเบียบปฏิบัติ ขนบธรรมเนียบประเพณี วิถีชีวิต
และวิธีดำเนินกิจการต่างๆ ของพระภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์


แบ่งออกเป็น หมวด คือ

๑. หมวดวิภังค์

ว่าด้วยสิกขาบทของพระภิกษุ มี ๒ คัมภีร์ คือ

๑) ภิกขุวิภังค์ หรือมหาวิภังค์ สิกขาบทของพระภิกษุ

๒) ภิกขุณีวิภังค์ สิกขาบทของภิกษุณี


รวมเรียกว่า อาทิพรหมจริยากาสิกขา
ในหมวดนี้สามารถแบ่งออกอีกลักษณะหนึ่ง

มี ๒ คัมภีร์ได้แก่ ปาราชิก และปาจิตตีย์ รวมทั้งสิกขาบทที่เหลือทั้งหมด

๒. หมวดขันธกะ

ว่าด้วยสังฆกรรม พิธีกรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ข้อวัตรปฏิบัติ
ตลอดจนมารยาทที่ดีงาม เรียกว่า อภิสมาจาริกาสิกขา

มี ๒ คัมภีร์ คือ

๑) มหาวรรค ประกอบด้วย ๑๐ ขันธกะ
๒) จุลวรรค ประกอบด้วย ๑๒ ขันธกะ


๓. หมวดปริวาร

ว่าด้วยข้อสรุปพระวินัยปิฏก มีลักษณะของการถามตอบ
ได้แก่ คัมภีร์ปริวาร เรียกว่า คู่มือศึกษาพระวินัยตั้งแต่เล่ม ๑-๗

ดังนั้น ในคัมภีร์ชื่อว่า วชิรสารัตถะสังคหะ
ที่รจนาโดยพระรัตนาปัญญาเถระ ชาวเชียงใหม่
แบ่งพระวินัยออกเป็น ๕ คัมภีร์ ดังมีคำย่อว่า อา ปา ม จุ ป

• อา = อาทิกัมมิกะ หรือปาราชิกจนถึงอนิยต

• ปา = ปาจิตตีย์ นิสสัคคียปาจิตตีย์ จนถึงเสขิยะ

• ม = มหาวรรค

• จ = จุลวรรค

• ป = ปริวาร

อีกสำนวนหนึ่งนั้นย่อตามสิกขาบทเลยก็ได้ คือ ปา ปา ม จุ ปะ
พระวินัยปิฎกว่าโดยขันธ์มี ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์


(มีต่อ : ชื่ อ อ า บั ติ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2011, 21:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b44: ชื่ อ อ า บั ติ

อาบัติเป็นชื่อของการกระทำความผิด
ในแต่ละระดับของสิกขาบทที่มีชื่อไม่เหมือนกับสิกขาบทในบางระดับ


ดังมีชื่ออาบัติดังนี้

• สิกขาบท - อาบัติ

• ปาราชิก - ปาราชิก

• สังฆาทิเสส - สังฆาทิเสส

• อนิยตและนิสสัคคิยปาจิตตีย์ - ถุลลัจจัย, ปาจิตตีย์

• ปาจิตตียะ - ปาจิตตีย์

• ปาฏิเทสนียะ - ปาฏิเทสนียะ

• เสขียะ - ทุกกฏ

• อธิกรณะสมถ - ทุพภาษิต


สิกขาบทเหล่านี้ที่มาในพระปาติโมกข์ไม่รวมเสขิยะ
เรียกว่า อทิพรหมจริยกาสิกขา

ส่วน เสขิยะและสิกขาบทนอกที่มานอกพระปาติโมกข์อีกจำนวนมากนั้น
เรียกว่า อภิสมาจาริกาสิกขา



(มีต่อ : อาการที่ต้องอาบัติ ๖ ประการ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2011, 21:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b44: อาการที่ต้องอาบัติ ๖ ประการ

• ต้องด้วยไม่ละอาย

• ต้องด้วยไม่รู้ว่าเป็นอาบัติ

• ต้องด้วยสงสัยแล้วขืนทำลง

• ต้องด้วยสำคัญว่าควรในของที่ไม่ควร

• ต้องด้วยสำคัญว่าไม่ควรในของที่ควร

• ต้องด้วยหลงลืมสติ


(มีต่อ : เปรียบเทียบสิกขาบทของเถรวาทและมหายาน)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ม.ค. 2011, 17:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


๕. เปรียบเทียบสิกขาบทของเถรวาทและมหายาน

วินัยของทั้งสองนิกายใหญ่ คือวินัยของฝ่ายมหายาน
และวินัยของฝ่ายเถรวาทย่อมมีจำนวนที่ไม่เท่ากัน


เพราะความแตกต่างทางด้านวัฒนธรรม
และภูมิประเทศของแต่ละประเทศนั้นไม่เหมือนกัน
ทำให้มีบางข้อแตกต่างและเหมือนกัน

ในที่นี้เป็นการเปรียบเทียบภิกษุปาติโมกข์

:b40: มหายาน - ๒๕๐ (โพธิสัตว์ปาติโมกข์)

• ปาราชิก ๔

• สังฆาทิเสส ๑๓

• อนิยต ๒

• นิสสัคคียปาจิตตีย์ ๓๐

• ปาจิตตีย์ ๙๐

• ปาฎิเทสนีย ๔

• เสขียะ ๑๐๐

• อธิกรณสมถะ ๗

โพธิสัตว์ปาติโมกข์

• โพธิสัตว์ปาติโมกข์ในพรหมชาลสูตร ๕๘ ข้อ

o ครุกาบัติ ๑๐ ข้อ

o ลหุกาบัติ ๔๘ ข้อ

• โพธิสัตว์ปาติโมกข์ ในโยคาจารภูมิศาสตร์ ๔๗ ข้อ

o ครุกาบัติ ๔ ข้อ

o ลหุกาบัติ ๔๓ ข้อ

:b40: เถรวาท - ๒๒๗ (มหาวิภังค์ & ภิกขุณีวิภังค์)

• ปาราชิก ๔

• สังฆาทิเสส ๑๓

• อนิยต ๒

• นิสสัคคียปาจิตตีย์ ๓๐

• ปาจิตตีย์ ๙๒

• ปาฎิเทสนีย ๔

• เสขียะ ๗๕

• อธิกรณสมถะ ๗


:b8: :b8: :b8:

(ที่มา : เอกสารประกอบการเข้าศึกษาต่อหลักสูตรศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย บัณฑิตวิทยาลัย มหามกุฏราชวิทยาลัย : วิชาเปรียบเทียบคำสอนพระพุทธศาสนาเถรวาทและมหายาน
, หน้า ๖๒-๖๖)


:b47: วินัยสงฆ์-อาบัติ-ปาราชิก
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=30&t=22785

:b47: สิกขา สิกขาบท ลาสิกขา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=30&t=48387


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ต.ค. 2014, 22:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2758


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: ช่างดีแท้ ขออนุโมทนาสาธุนะคะ :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ม.ค. 2015, 22:32 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร