วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 19:54  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2014, 15:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ไปงานทำบุญบ้านของเพื่อนมา พอได้เวลาเริ่มพิธี คนห้าสิบกว่าคน ไม่มีใครขอศีลได้เลย โยนไป โยมมา จนมาถึงคนนั่งหลังสุดอย่างผม พอถึงอาราธนาพระปริตรก็เหมือนเดิม พอถวายสังฆทานก็เอาอีกแล้ว

เพื่อนซึ่งเป็นเจ้าภาพก็เหมือนไม่ได้ใส่ใจ ขันน้ำมนต์ไม่เตรียม ที่รดน้ำมนต์ไม่มี ตาลปัตรไม่มี

จำได้ว่าเมื่อก่อนคนรุ่นยาย คำกล่าวสำคัญๆ แทบไม่ต้องบอก กล่าวกันได้ทุกคน

แถมไม่เข้าใจพิธี พระสวดถึงบท อเสวนาฯ ไม่มีคนจุดเทียนให้พระ

ฝากไว้สำหรับคนที่จะจัดงาน คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต ก็มีกัน หาโหลดมาปริ้น แล้วหาคนนำซักคน เมื่อถึงเวลางานจะได้ไม่วุ่นวาย

ของใช้ในพิธีศึกษาก่อนจัดงานก็ดี วันนี้วิ่งหาของให้เจ้าภาพจนเหนื่อย แถมยังต้องซิ่งไปเอาตาลปัตรอีก

http://pantip.com/topic/32404838

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2014, 16:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อาราธนา การเชื้อเชิญ, นิมนต์, ขอร้อง, อ้อนวอน, (มักใช้สำหรับพระสงฆ์และสิ่งศักดิ์สิทธิ์)


อาราธนาธรรม กล่าวคำเชิญหรือขอร้องพระให้แสดงธรรม (ให้เทศน์) ว่าดังนี้



"พฺรหฺมา จ โลกาธิปติ สหมฺปติ


กตฺอญฺชลี อนฺธิวรํ อยาจถ

สนฺตีธ สตฺตาปฺปรชกฺขชาติกา

เทเสตุ ธมฺมํ อนุกมฺปมํ ปชํ"


พึงสังเกตว่า กตฺอญฺชลี อนฺธิวรํ คำปกติเป็น กตญฺชลี (กตอญฺชลี) อนธิวรํ (ในพระไตรปิฎก 33/180/403 ก็ใช้ รูปปกติตามไวยากรณ์อย่างนั้น) แต่ที่มีรูปแปลกไปอยา่งนี้ เนื่องจากท่านทำตามฉันทลักษณ์ ที่บังคับครุ-ลหุ เมื่อจะอ่านหรือนำไปสวดเป็นทำนอง จะได้ไม่ขัด


อาราธนาพระปริตร กล่าวคำเชิญหรือขอร้องให้พระสวดพระปริตร ว่าดังนี้


"วิปตฺติปฏิพาหาย สพฺพสมฺปตฺติสิทฺธิยา

สพฺพทุกฺขวินาสาย ปริตฺตํ พฺรูถมงฺคลํ"


(ว่า ๓ ครั้ง แต่ครั้งที่ ๒ เปลี่ยน ทุกฺข เป็น ภย ครั้งที่ ๓ เปลี่ยนเป็น โรค)



อาราธนาศีล กล่าวคำเชิญหรือขอร้องพระให้ให้ศีล สำหรับศีล ๕ ว่าดังนี้


"มยํ ภนฺเต, (วิสุํ วิสุํ รกฺขณตฺถาย) ติสรเณน สห ปญฺจ สีลานิ ยาจาม,

ทุติยมฺปิ มยํ ภนฺเต, (วิสุํ วิสุํ รกฺขณตฺถาย) ติสรเณน สห ปญฺจ สีลานิ ยาจาม,

ตติยมฺปิ มยํ ภนฺเต, (วิสุํ วิสุํ รกฺขณตฺถาย) ติสรเณน สห ปญฺจ สีลานิ ยาจาม,"


(คำในวงเล็บ จะไม่ว่าก็ได้)


คำอาราธนาศีล ๘ ก็เหมือนกัน เปลี่่ยนแต่ ปญฺจ เป็น อฏฺฐ




อาราธนาศีลอุโบสถ กล่าวคำเชิญพระให้ให้อุโบสถศีล ว่าพร้อมกันทุกคน ดังนี้

"มยํ ภนฺเต, ติสรเณน สห อฏฺฐงฺคสมนฺนาคตํ อุโปสถํ ยาจาม" (ว่า ๓ จบ)


อาราม วัด, ที่เป็นที่มายินดี, สวนเป็นที่รื่นรมย์ ความยินดี, ความรื่นรมย์ ความเพลิดเพลิน, ในทางพระวินัยเกี่ยวกับของสงฆ์ หมายถึง ของปลูกสร้างในอารามตลอดจนต้นไม้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2014, 17:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทำบุญ ทำความดี, ทำสิ่งที่ดีงาม, ประกอบกรรมดี ดังที่ท่านแสดงในบุญกิริยาวัตถุ ๓ หรือบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ แต่ที่พูดกันทั่วไป มักเพ่งที่การเลี้ยงพระตักบาตร ถวายจตุปัจจัยแก่พระสงฆ์ บริจาคบำรุงวัด และการก่อสร้างในวัดเป็นสำคัญ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2014, 18:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปริตร คืออะไร


๓. ปริตต์, ปริตร (ปะ-ริด) "เครื่องคุ้มครองป้องกัน" บทสวดที่นับถือเป็นพุทธมนต์ คือ บาลีภาษิตดั้งเดิมในพระไตรปิฎก ซึ่งได้ยกมาจัดไว้เป็นพวกหนึ่งในฐานะเป็นคำขลัง หรือคำศักดิ์สิทธิ์ ที่มีอานุภาพคุ้มครองป้องกันช่วยให้พ้นจากภยันตราย และเป็นสิริมงคลทำให้เกษมสวัสดีมีความสุขความเจริญ

(ในยุคหลังมีการเรียบเรียงปริตรเพิ่มขึ้นมานอกเหนือจากบาลีภาษิตในพระ ไตรปิฎกบ้าง และพึงแยกว่า บทสวดที่มักสวดเพิ่ม หรือพ่วงกับพระปริตรในพิธี หรือในโอกาสเดียวกัน มีอีกมาก มิใช่มาจากพระไตรปิฎก แต่เป็นของนิพนธ์ขึ้นภายหลัง ไม่ใช่พระปริตรแต่เป็นบทสวดประกอบ โดยสวดนำบ้าง สวดต่อท้ายบ้าง)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2014, 19:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่เรียกกันทั่วๆไปว่า ทำบุญๆ ก็คือนิมนต์พระมาสวดพระปริตรนั่นเอง ดูความเป็นมาเป็นไปสักล็กน้อย



๑) โดยชื่อ: เรียกว่า "ปริตร" ตามความหมายที่เป็นเครื่องคุ้มครองป้องกันอันชอบธรรม ซึ่งต่างจากมนต์ ที่ได้มีความหมายโน้มไปในทางเป็นอาถรรพณมนต์ ตามลักทธิของพราหมณ์ อย่างที่เรียกในบัดนี้ว่าเป็นไสยศาสตร์ ซึ่งมักใช้ทำร้ายผู้อื่น และสนองความโลภ เป็นต้น



๒) โดยเนื้อหา: ปริตรเป็นเรื่องของคุณธรรมทั้งในเนื้อหา และการปฏิบัติ คุณธรรมที่เป็นพื้นทั่วไปคือเมตตา บางปริตรเป็นคำแผ่เมตตาทั้งบท (เช่น กรณียเมตตปริตร และขันธปริตร) แม้แต่เมื่อจะเริ่มสวดพระปริตร ก็มีคำประพันธ์ที่แต่งขึ้นมาให้สวดสำหรับชุมนุมเทวดาก่อน ซึ่งบอกให้ผู้สวดตั้งจิตแผ่เมตตาแต่ต้น อย่างที่เรียกว่ามีเมตตาเป็นปุเรจาริก (และคำที่เชิญเทวดามาฟัง ก็บอกว่าเชิญมาฟังธรรม) คุณธรรมสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่เป็นแกนของปริตรคือสัจจะ บางปริตรเป็นคำตั้งสัจกิริยาทั้งบท (เช่น อังคุลิมาลปริตร และวิฏฏกปริตร) บางปริตรเป็นคำระลึกคุณพระรัตตรัย (รตนปริตร โมรปริตร ธชัคคปริตร อาฏานาฎิยปริตร) บางปริตรเป็นคำสอนหลักธรรมที่จะปฏิบัติให้ชีวิตสังคมเจริญงอกงามและหลักธรรม ที่เจริญจิต เจริญปัญญา (มงคลสูตร โพชฌังคปริตร โพชฌังคปริตรนั้นท่านนำสาระจากพระสูตรเดิมมาเรียบเรียง และเติมคำอ้างสัจจะต่อท้ายทุกท่อน)



๓) โดยหลักการ: ปริตรเป็นไปตามหลักพระพุทธศาสนาที่ถือธรรมเป็นใหญ่สูงสุด ไม่มีการร้องขอหรืออ้างอำนาจของเทพเจ้า (เทพทั้งหลายแม้แต่ที่นับถือว่าสูงสุด ก็ยังทำร้ายกัน ไม่บริสุทธิ์แท้ และไม่เป็นมาตรฐานที่แน่นอน ต้องขึ้นต่อธรรม มีธรรมเป็นตัวตัดสินในที่สุด เช่นว่า ก่อนโน้น พราหมณ์ถือว่าพระพรหมเป็นใหญ่ สร้างทุกสิ่งทุกอย่าง แต่ต่อมาลัทธินับถือพระศิวะเล่าว่า เดิมที พระพรหมมี ๕ พักตร์ กระทั่งคราวหนึ่ง ถูกพระศิวะกริ้ว และทำลายพักตร์ที่ห้าเสีย จึงเหลือสี่พักตร์) ปริตรไม่อิงและไม่เอื้อต่อกิเลสโลภะ โทสะ โมหะเลย เน้นแต่ธรรม เฉพาะอย่างยิ่งเมตตา และสัจจะ อย่างที่กล่าวแล้ว และอ้างพุทธคุณ หรือคุณพระรัตนตรัยทั้งหมดเป็นอำนาจคุ้มครองรักษาอำนวยความเกษมสวัสดี ในหลายปริตรมีคำแทรกเสริม บอกให้เทวดามีเมตตาต่อหมู่มนุษย์ ทั้งเตือนเทวดาว่ามนุษย์ได้พากันบวงสรวงบูชาจึงขอให้ทำหน้าที่ดูแลรักษาเขา ด้วยดี



๔) โดยประโยชน์: ตามความหมาย และการใช้ประโยชน์จากปริตร ต่างกันไปตามระดับการพัฒนาของบุคคล ตั้งแต่ชาวบ้านทั่วไป ที่มุ่งให้เป็นกำลังอำนาจปกปักรักษาคุ้มครองป้องกัน จนถึงพระอรหันต์ซึ่งใช้เจริญธรรมปีติ แต่ที่ยืนเป็นหลักคือ ช่วยให้จิตของผู้สวดและผู้ฟังเจริญกุศล เช่น ศรัทธาปสาทะ ปีติ ปราโมทย์และความสุข ตลอดจนตั้งมั่นเป็นสมาธิ รวมทั้งเตรียมจิตให้พร้อมที่จะก้าวสู่ภูมิธรรมที่สูงขึ้นไป คือเป็นกุศลภาวนา เป็นจิตตภาวนา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2014, 19:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รวมแล้ว ในเรื่องปริตรนี้ ข้อสำคัญอยู่ต้องมีจิตใจดเป็นกุศล นอกจากมีเมตตานำหน้า และมั่นในสัจจะบนฐานแห่งธรรมแล้ว ก็พึงรู้เข้าใจสาระขอปริตรนั้นๆ โดยมีกัมมัสสกตาปัญญาอันมองเห็นความมีกรรม (การกระทำ) เป็นของตน ซึ่งผลที่ประสงค์จะสำเร็จด้วยความพากเพียรในการกระทำของตน เมื่อมีจิตใจโล่งเบาสดชื่นผ่องใสด้วยมั่นใจในคุณพระปริตร ที่คุ้มครองป้องกันภัยอันตรายให้แล้ว ก็จะได้มีสติมั่นมีสมาธิแน่วมุ่งหน้าทำการนั้นๆ ให้ก้าวต่อไปด้วยความเข้มแข็งมีกำลังหนักแน่นและแจ่มใสชัดเจนจนถึงความสำเร็จ

สำหรับพระภิกษุ ต้องตั้งใจปฏิบัติในเรื่องปริตรนี้ต่อคฤหัสถ์ด้วยจิตเมตตากรุณา พร้อมไปกับความสังวรระวัง มิให้ผิดพลาดจากพระวินัย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ส.ค. 2014, 05:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


มีเพื่อนสมาชิกคนหนึ่งกล่าวไว้เกี่ยวกับตัวผมว่า ผมไม่ได้ปฎิบัติตามแนวพุทธศาสนา

วันนั้นทั้งวัน ผมสงสัยมาก ผมนั่งสมาธิ มีความเห็นเป็นปัจจุบัน ศึกษาธรรมะในเชิงปฎิบัติทุกรูปแบบเท่าที่ปัญญานี้จะพิจารณาเป็น

มีความเห็นไม่เอาคำทำนาย วันเวลาต่างๆมาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต มีการตัดสิ่งที่คิดว่าผิดศีล งดเว้นการดื่มเหล้า ของมึนเมา งดเว้นการขโมย งดเว้นการพูดจาส่อเสียด เหลือแต่พยายามเรื่องเพศตรงข้ามและการเสี่ยงโชคเล่นหวย

แต่ถ้าหากเข้าไปนั่งในที่ประชุม ผมก็ท่องไม่ได้

นี่คือความเป็นพุทธที่ไม่สมบูรณ์ของผม

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ส.ค. 2014, 08:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สัปปุริสธรรม ๗ ประการ คือ

๑. ธัมมัญญุตา รู้หลักและรู้จักเหตุ คือ รู้หลักความจริงของธรรมชาติ รู้หลักการ กฎเกณฑ์แบบแผนหน้าที่ ซึ่งจะเป็นเหตุให้กระทำการได้สำเร็จผลตามความมุ่งหมาย เช่น ภิกษุรู้ว่าหลักธรรมที่ตนจะต้องศึกษาและปฏิบัติคืออะไร มีอะไรบ้าง ผู้ปกครองรู้ธรรมของผู้ปกครอง คือรู้หลักการปกครอง

๒. อัตถัญญุตา รู้ความมุ่งหมาย และรู้จักผล คือ รู้ความและความมุ่งหมายของหลักธรรม หรือหลักการ กฎเกณฑ์ หน้าที่ รู้ผลที่ประสงค์ของกิจที่จะกระทำ เช่น ภิกษุรู้ว่าธรรมที่ตนศึกษาและปฏิบัตินั้นๆ มีความหมายและความมุ่งหมายอย่าง่ไร ตลอดจนรู้จักประโยชน์ที่เป็นจุดหมายหรือสาระของชีวิต

๓. อัตตัญญุตา รู้จักตน คือ รู้ฐานะ ภาวะ เพศ กำลัง ความรู้ ความถนัด ความสามารถ และคุณธรรม เป็นต้น ของตน ตามเป็นจริง เพื่อประพฤติปฏิบัติได้เหมาะสม และให้เกิดผลดี เช่น ภิกษุรู้ว่าตนมีศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา และปฏิภาณแค่ไหน

๔. มัตตัญญุตา รู้จักประมาณ คือ รุู้ความพอเหมาะพอดี เช่น รู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร ในการใช้จ่ายทรัพย์ ภิกษุรู้จักประมาณในการรับปัจจัย ๔ เป็นต้น

๕. กาลัญญุตา รู้จักกาล เช่น รู้ว่าเวลาไหน ควรทำอะไร รู้จักเวลาเรียน เวลาทำงาน เวลาพักผ่อน เป็นต้น

๖. ปริสัญญุตา รู้จักชุมชน คือ รู้จักถิ่น รู้จักที่ชุมนุม และชุมชน รู้จักมารยาท ระเบียบวินัย ขนบธรรมเนียมประเพณี และข้อควรรู้ควรปฏิบัติ ต่อชุมชนนั้น

๗. ปุคคลัญญุตา รู้จักบุคคล คือ รู้ความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยอัธยาศัย ความสามารถ และคุณธรรม เป็นต้น เพื่อปฏิบัติต่อผู้นั้นโดยถูกต้อง เช่นว่า ควรจะคบหรือไม่ จะเกี่ยวข้อง จะใช้ จะยกย่อง จะตำหนิ หรือจะแนะนำสั่งสอนอย่างไร จึงจะได้ผลดี เป็นต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 46 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร