วันเวลาปัจจุบัน 23 เม.ย. 2024, 15:31  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 36 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2014, 20:42 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ครั้งที่ ๑ ทบทวนคำสอนนาค
ลักษณะพุทธศาสนา
ธรรมบรรยายของสมเด็จพระญาณสังวร
ในการอบรมนวกภิกษุพรรษา ๒๕๒๖
ณ สว.ธรรมนิเวศ วัดบวรนิเวศวิหาร
--------------------------------------------------------------
วันนี้เป็นวันเริ่มต้นที่พระอุปัชฌายะพบกับสัทธิวิหาริก
ด้วยการแสดงโอวาท ในวันต้นนี้จะ
ได้ทบทวนโอวาทสอนนาค อัน
เป็นโอวาทที่ประมวลหลักปฏิบัติทั้งปวงแก่ผู้
เข้ามาขอบวช เช่นจะปฏิบัติตนให้เป็น
ผู้สมควรรับการบวช และเมื่อบวชแล้ว
จะพึงปฏิบัติอย่างไรต่อไป ตั้งแต่เบื้องต้นจน
ถึงบรรลุวัตถุประสงค์
หรือเป้าหมายของการบวช จึงจะขอกล่าวทบทวน
และเพิ่มเติมเพื่อให้ได้ยินได้ฟังพร้อม
กันไปตามสมควร
พระรัตนตรัย
อันผู้เข้ามาขอบวชนั้น ในเบื้องต้นสมควรที่จะ
ได้ระลึกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์
โดยพระคุณ เพื่อให้บังเกิดศรัทธา ความเชื่อ ปสาทะ
ความเลื่อมใส ตั้งมั่นในพระคุณแห่งพระพุทธเจ้า
พระธรรม พระสงฆ์
ซึ่งรวมเรียกว่าพระรัตนตรัย
อันพระคุณของพระรัตนตรัยนั้น กล่าว
โดยย่อพระพุทธเจ้าคือพระองค์
ผู้ตรัสรู้พระธรรม
แล้วแสดงพระธรรมสั่งสอนตั้งพุทธศาสนาขึ้น
พระองค์ทรงประกอบด้วยพระปัญญาคุณ คุณคือ
ความรู้จริง พระวิสุทธิคุณ คุณคือ
ความบริสุทธิ์จริง พระกรุณาคุณ คุณคือ
ความกรุณาจริง เพราะว่าพระองค์
ได้ตรัสรู้พระธรรมที่เป็นสัจจะคือ
ความจริงของจริง รวมเข้าในอริยสัจทั้ง ๔ คือทุกข์
เหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ทางปฏิบัติให้ถึง
ความดับทุกข์ เป็นเหตุทำกิเลสและกองทุกข์ในสันดาน
ให้สิ้นไป จึงทรงเป็น
ผู้บริสุทธิ์กายบริสุทธิ์วาจาบริสุทธิ์ใจสิ้นเชิง และก็
ได้มีพระมหากรุณาแผ่ไปในสรรพสัตว์ทุกถ้วนหน้า
เสด็จจาริกไปทรงแสดงพระธรรมสั่งสอนโปรดเวไนยนิกร
ให้บรรลุสุขประโยชน์ตามภูมิตามชั้น
ได้ทรงแสดงธรรม บัญญัติพระวินัย
ตั้งพุทธบริษัทคือภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เป็นอัน
ได้ทรงประดิษฐานพระพุทธศาสนาขึ้นในโลก
นี้คือพระพุทธเจ้า
ธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้แล้ว
ได้ทรงแสดงสั่งสอน โดยเป็นพระธรรมคำสอน
พระวินัยคำสั่ง อันเรียกว่าสัตถุศาสน์ที่แปลว่าคำสอน
หรือคำสอนสั่ง
คำสั่งสอนของพระศาสดาสัตถุศาสน์นี้เรียกว่าปริยัติธรรม
คือเป็นธรรมที่พึงเล่าเรียน อันได้แก่ฟัง อ่าน
ทรงจำทำความเข้าใจ
แล้วก็นำมาประพฤติปฏิบัติทางกายทางวาจาทางใจ
ให้ตั้งขึ้นที่กายที่วาจาที่ใจ การปฏิบัติตามสัตถุศาสน์
คือพระธรรมพระวินัย
ให้พระธรรมวินัยตั้งขึ้นที่กายที่วาจาที่ใจ
นี้เรียกว่าปฏิบัติธรรม และเมื่อปฏิบัติก็ย่อมจะ
ได้รับผลตามสมควรแก่ความปฏิบัติ
ตั้งแต่เบื้องต้นยกตนให้พ้นจากโลกที่ชั่ว ขึ้นสู่โลกที่ดี
โดยลำดับ จนถึงพ้นโลก เป็นมรรคเป็นผล
เป็นนิพพานกำจัดกิเลสให้สิ้นไปหมดไปบาง
ส่วนบ้างสิ้นเชิงบ้าง นี้คือปฏิเวธธรรม
ธรรมคือปฏิเวธความรู้แจ้งแทงตลอด
ปริยัติปฏิบัติปฏิเวธทั้ง ๓
นี้รวมเรียกว่าพระธรรม
หมู่ชนที่ได้ตั้งใจฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว
ได้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามที่ทรงสั่งสอน ทำกิเลส
และกองทุกข์ในสันดานให้สิ้นไปบางส่วนบ้างสิ้นเชิงบ้าง
รวมทั้งท่านผู้ที่ปฏิบัติเพื่อความสิ้นกิเลส
และกองทุกข์ ซึ่งท่านได้นำพุทธศาสนา
และพุทธบริษัทสืบต่อมา จนถึงเราทั้งหลาย
ได้บวชเรียนกันอยู่ในบัดนี้ นี้ก็คือพระสงฆ์
พระพุทธเจ้าพระธรรมพระสงฆ์ ทั้ง ๓
นี้รวมเรียกว่าพระรัตนตรัย ที่แปลว่ารัตนะทั้ง
๓ เป็นสรณะคือที่พึ่งอันเอกอุดมในโลก ฉะนั้น
พระอุปัชฌายะจึงได้เตือนนาคผู้เข้ามาขอบวช ตั้งใจว่า
พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ตั้งใจว่า ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ
ตั้งใจว่า สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้า
เป็นสรณะ คือที่พึ่งอันเอกอุดม ถึงพระธรรม
เป็นสรณะ คือที่พึ่งอันเอกอุดม ถึงพระสงฆ์
เป็นสรณะ คือที่พึ่งอันเอกอุดม เมื่อได้ตั้งใจ
ถึงพระพุทธเจ้าพระธรรมพระสงฆ์ดั่งนี้แล้ว
จึงสมควรบวช นี้เป็นข้อ
ความที่พระอุปัชฌายะสอนนาค ว่าให้ทำความตั้งใจ
ถึงพระพุทธเจ้าพระธรรมพระสงฆ์เป็นสรณะ
เป็นการกระทำตนให้เป็นผู้สมควรบวช
สิกขา ๓ หรือไตรสิกขา
ต่อจากนั้นก็ได้สอนให้รู้จักประโยชน์ของการบวช
โดยย่อ ว่าประโยชน์ของการบวชนั้นเป็นโอกาสคือ
เป็นช่องว่างที่จะให้ได้ศึกษาปฏิบัติพระพุทธศาสนา
เพราะเป็นคฤหัสถ์มีกิจกังวลห่วงใยอาลัยมาก ยากที่
จะปลีกตนออกมาศึกษาปฏิบัติเหมือนดังผู้ที่บวชได้ ฉะ
นั้นเมื่อบวชแล้วก็
ให้ถือเอาโอกาสคือช่องว่างนี้ศึกษาพระพุทธศาสนา
ปฏิบัติพระพุทธศาสนา โดยตรงก็คือปฏิบัติในศีล
ในสมาธิในปัญญา อันเรียกว่าสิกขา ๓
หรือว่าไตรสิกขา สิกขานั้นก็คือศึกษาเป็นคำเดียวกัน
ศึกษามาจากศึกษาที่เป็นภาษาสันสกฤต สิกขา
เป็นภาษามคธหรือภาษาบาลี มีความหมายถึง
ทั้งภาคปริยัติและภาคปฏิบัติ ภาคปริยัตินั้นก็หมาย
ถึงเล่าเรียนด้วยวิธีฟังด้วยวิธีอ่านทรงจำพิจารณา
ให้มีความรู้ความเข้าใจ ภาคปฏิบัตินั้นก็หมาย
ถึงว่านำมาปฏิบัติทางกายทางวาจาทางใจดังที่กล่าว
แล้ว
ศีลนั้นก็ได้แก่ความตั้งใจงดเว้นจาก
ความประพฤติที่พระพุทธเจ้าได้ทรงห้าม
คือทรงบัญญัติห้ามไว้
ปฏิบัติตามข้อที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาต
คือทรงบัญญัติอนุญาตไว้
คือประพฤติตามวินัยที่บัญญัติไว้นั้นเอง
เว้นข้อที่ทรงห้าม ทำตามข้อที่ทรงอนุญาต ศีลนี้
เป็นเครื่องกำจัดกิเลสกองราคะโทสะโมหะ
หรือโลภโกรธหลง ที่เป็นอย่างหยาบ หรือว่าห้าม
กันไว้มิให้หยาบออกมาจนเป็น
ถึงก่อเจตนากรรมทางกายทางวาจาทางใจเป็น
ความละเมิดผิดต่างๆ สมาธินั้นได้แก่ความตั้งจิตมั่นอยู่
ในอารมณ์ที่ดีที่ชอบอันเป็นอารมณ์กรรมฐาน
เป็นเหตุกำจัดกิเลสที่เป็นนิวรณ์ อันบังเกิดขึ้นทำจิต
ให้กลัดกลุ้มวุ่นวายไม่สงบไม่ตั้งมั่นอยู่ในทางที่ชอบ
ทั้งกำบังปัญญามิให้รู้แจ้งเห็นจริง ปัญญานั้นคือความ
เข้าถึงสัจจธรรม ธรรมที่เป็นตัวความจริง
เป็นเครื่องกำจัดกิเลสทุกอย่างได้เป็นอย่างดี จน
ถึงกิเลสที่ดองจิตสันดานอันนับว่าเป็นอย่างละเอียด
ศีลนั้นจะพึงมีได้ก็
ด้วยการที่ตั้งใจสมาทานศึกษาตามพระวินัยบัญญัติ
คือตามสิกขาบทบัญญัติที่พระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติ
ไว้ เว้นข้อที่พระองค์ทรงห้าม
ทำตามข้อที่พระองค์ทรงอนุญาต สมาธินั้นจะพึงมีได้ก็
ด้วยการที่มาตั้งใจปฏิบัติในสมถกรรมฐาน
กรรมฐานเป็นอุบายสงบใจ ปัญญานั้นจะพึงมีได้ก็
ด้วยการมาตั้งใจปฏิบัติในวิปัสสนากรรมฐาน
กรรมฐานเป็นอุบายเกิดปัญญาให้เห็นแจ้งรู้จริง
สมณะ – ผู้สงบ
ตามที่กล่าวมานี้ เป็นข้อที่พระอุปัชฌายะสอนนาค
ให้รู้ว่าเมื่อบวชแล้วจะพึงปฏิบัติอย่างไรโดยย่อ
ซึ่งเมื่อสรุปแล้วก็เป็นการสอนให้รู้ ว่าการ
เข้ามาบวชนั้น อันประกอบด้วยการถือเพศ
เป็นบรรพชิตคือผู้บวช ครองผ้ากาสาวพัสตร์
โกนผม และพระสงฆ์ได้ประกอบสังฆกรรม
ให้อุปสมบทตามที่พระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติไว้
และเมื่อได้กระทำถูกต้องบริบูรณ์
ด้วยคุณสมบัติของการอุปสมบท ก็สำเร็จ
เป็นภิกษุตามพระวินัยบัญญัติ นี้เรียกว่า
เป็นการบวชกาย จึงต้องมีการปฏิบัติทางจิตใจ
ให้จิตใจมีความสงบ สมกับที่ชื่อว่าเป็นสมณะคือเป็น
ผู้สงบ หรือที่เรียกว่าเป็นพระสมณะผู้สงบ
หรือที่ไทยเราเรียกว่าพระก็มีความหมาย
เป็นอันเดียวกัน ก็จะต้องปฏิบัติให้จิตใจเป็นศีล จิตใจ
เป็นสมาธิ จิตใจเป็นปัญญา คือให้จิตใจนี้ปกติสงบ ตั้งมั่น
และรู้เข้าถึงธรรม ดั่งนี้เป็นการบวชใจ
เมื่อมีการบวชกายตามพระวินัยบัญญัติ
และมีการบวชใจคือปฏิบัติอบรมจิตใจของตนพร้อม
ทั้งกายวาจา ให้เป็นศีลเป็นสมาธิเป็นปัญญาดังกล่าว
ก็เป็นการบวชใจ
เมื่อมีการบวชกายมีการบวชใจสมบูรณ์ทั้งสองนี้ จึง
จะเป็นการบวชที่สมบูรณ์ทั้งกายทั้งใจ
มูลกรรมฐาน
ต่อจากนั้นพระอุปัชฌายะก็
ได้สอนกรรมฐานที่เรียกว่าเป็นมูลกรรมฐาน
คือกรรมฐานที่เป็นมูล
เป็นรากเหง้าของกรรมฐานทั้งปวง
คือตจปัญจกรรมฐาน ที่แปลว่ากรรมฐาน ๕ ข้อ
มีหนังเป็นข้อสุดท้าย โดยสอนให้พิจารณาเกศา ผม
โลมา ขน นขา เล็บ ทันตา ฟัน ตโจ หนัง เริ่มต้น
ด้วยสอนให้รู้จักกำหนดผมขนเล็บฟันหนัง ว่าสิ่งที่
เป็นเส้นๆ งอกอยู่บนศีรษะ เบื้องต้นจรดหน้าผาก
เบื้องหลังจรดปลายคอต่อ เบื้องขวางจรดกกหูทั้ง
๒ ข้าง นี้เป็นผม สิ่งที่งอกอยู่เป็นเส้นๆ เว้นจากผม อยู่
ทั่วสรรพางค์กายนอกจากฝ่ามือและฝ่าเท้า
เรียกว่าขน สิ่งที่เป็นเกล็ดๆ งอกอยู่ที่ปลายนิ้วมือ
และนิ้วเท้าเรียกว่าเล็บ สิ่งที่เป็นซี่ๆ งอก
อยู่ที่กระดูกตามเบื้องล่างเบื้องบนในปากเรียกว่าฟัน
สิ่งที่เป็นผืนหุ้มห่ออยู่ทั่วสรรพางค์กายเรียกว่าหนัง
ให้กำหนดดูให้รู้จักผมขนเล็บฟันหนัง
ว่าทุกคนก็มีผมขนเล็บฟันหนัง อัน
เป็นอาการของร่างกายที่ตามองเห็นได้ จะ
เป็นกายตนกายผู้
อื่นก็ย่อมมีผมขนเล็บฟันหนังที่ตามองเห็นได้อยู่ด้วยกัน
แต่โดยปกตินั้นเมื่อมองเห็นร่างกายของกันและกัน
ก็มักจะมีความยึดถือบางส่วนหรือทั้งหมด
ว่าสวยงามน่ารักน่าชม จึงบังเกิดกิเลสกองราคะ
ความติดใจยินดีเป็นต้นขึ้นในกายตนในกายผู้
อื่นเมื่อเกิดกิเลสขึ้นดั่งนี้ หากประพฤติพรหมจรรย์
อยู่ก็ทำให้พรหมจรรย์เศร้าหมอง และไม่
สามารถจะทำจิตให้เป็นสมาธิ ไม่สามารถที่จะปฏิบัติ
ในไตรสิกขาให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ได้
และกิเลสกองราคะความติดใจยินดีแสดง
เป็นหัวหน้าของกิเลสทั้งปวง คือนำหน้า
อย่างอกุศลมูล ๓ ก็ราคะโทสะโมหะ
หรือโลภโกรธหลง ราคะนำคือความติดใจยินดีนำ
ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องมีวิธีปฏิบัติทำใจของตัวเอง
สงบกิเลสกองราคะคือความติดใจยินดีนี้ให้ได้ ก็
โดยที่กายตนและกายผู้อื่นนี้
เป็นที่ตั้งของกิเลสกองราคะเป็นต้น เพราะไม่
ได้พิจารณาโดยแยบคาย คือมิ
ได้พิจารณาจับเหตุจับผลให้รู้ตามเป็นจริง จึง
ได้บังเกิดความหลงรักหลงชังขึ้น ฉะนั้นจึง
ต้องรู้วิธีที่จะปราบใจของตนเองคือปราบกิเลสตัวนี้
จากใจของตัวเองลงให้ได้ โดยพิจารณาจับให้
ถึงตัวต้นเหตุ ว่าตัวต้นเหตุ
นั้นก็คือผมขนเล็บฟันหนังนี้แหละ ทีแรกจึง
ต้องจับพิจารณาผมขนเล็บฟันหนัง ว่านี่เป็นผมนี่
เป็นขนนี่เป็นเล็บนี่เป็นฟันนี่เป็นหนัง สิ่งที่ตามองเห็น
ทั้งหมดรวมเข้าก็เป็นผมขนเล็บฟันหนังทั้ง ๕ นี้
ซึ่งจิตใจนี้หลงยึดถือว่าสวยงามน่ารักน่าชมอยู่ แต่
โดยที่แท้แล้วหาได้เป็นเช่นนั้นไม่
เพราะว่าผมขนเล็บฟันหนังทั้ง ๕ ประการนี้
เป็นสิ่งปฏิกูลไม่สะอาดไม่งดงาม จึง
ต้องมีการชำระมีการตกแต่งตามที่ตัวเองว่างดงาม
ให้ดูงดงามอยู่เสมอ แต่ก็ไม่สามารถจะกระทำ
ได้สำเร็จ จึงต้องกระทำอยู่ทุกวันทุกเวลา ดัง
จะพิจารณาเห็นได้ ว่าทุกคนเสียเวลาที่จะชำระที่
จะตกแต่งร่างกายนี้ คือผมขนเล็บฟันหนังนี้ วันหนึ่งๆ
สิ้นเวลาไปเป็นอันมาก แล้วก็ทิ้งไว้ไม่ได้ ก็ต้องชำระ
ต้องตกแต่งกันอยู่เสมอๆ ความปฏิกูลความไม่งดงาม
นั้นย่อมปรากฏออกมาอยู่เสมอ
เมื่อพิจารณารวมๆ กันนี้หากยังไม่ปรากฏชัด ก็
ให้พิจารณาแยกออกไปอีกโดยสี
โดยสัณฐานคือทรวดทรง โดยกลิ่น โดยที่เกิด
โดยที่อยู่ ว่าผมขนเล็บฟันหนังทั้ง ๕ ประการเหล่านี้
โดยสีก็ไม่สะอาดไม่งดงาม โดยสัณฐาน
หรือทรวดทรงก็ไม่สะอาดไม่งดงาม กลิ่นก็เหมือน
กัน ที่เกิดก็เหมือนกัน เพราะเกิดอยู่กับปุพโพ โลหิต
ซึ่งเป็นปฏิกูลไม่สะอาดให้พิจารณากลับไปกลับมา
อยู่เสมอ ว่าผมขนเล็บฟันหนังปฏิกูลไม่สะอาด
ไม่งดงาม หนังฟันเล็บขนผมปฏิกูลไม่สะอาด
ไม่งดงามดั่งนี้ จนจิตสงบจากกิเลสกองราคะเป็นต้น
ซึ่งจะเป็นกรรมฐาน เมื่อเป็นกรรมฐานก็
ให้รักษากรรมฐานข้อนี้ไว้ ให้เป็นมูลกรรมฐาน
ทั้งปวง ให้เป็นบาทของปัญญาที่
จะอบรมปฏิบัติสืบต่อไป
จนกระทั่งบรรลุวิชชาวิมุตติ ทำให้แจ้งนิพพาน
ในที่สุด ท่านเรียกว่ามูลกรรมฐาน คือเป็นมูล
เป็นรากเหง้า ก็เพราะกำจัดกิเลสกองราคะ
ซึ่งกิเลสกองราคะนี้ ก็กล่าวได้ว่าเป็นมูลหรือ
เป็นเบื้องต้นของบรรดากิเลสทั้งหลาย
นำหน้ากิเลสทั้งหลายอยู่ จึงต้องกำจัดกิเลสกองนี้
ให้ลงเสียก่อน เมื่อกำจัดลงได้แล้ว ก็จะทำให้มี
ความสุขอยู่กับการที่
จะศึกษาพระธรรมพระวินัยยิ่งๆ ขึ้นไป เพราะฉะ
นั้นพระอาจารย์อุปัชฌาย์จึงได้สอน
กันมาตั้งแต่โบราณจนบัดนี้แก่นาคที่เข้ามาขอบวช
ให้ถือปฏิบัติอยู่ในกรรมฐานทั้ง ๕ ข้อนี้อยู่เป็นนิจ
เพราะฉะนั้นจึง
ได้นำเอาข้อที่สอนนาคนี้มากล่าวทบทวนในวันนี้ เท่า
กับว่าเป็นหลักที่จะต้องปฏิบัติอยู่เป็นประจำ อันจะทำ
ให้จิตใจมีความสุข จะทำให้สามารถที่จะดำรงชีวิตอยู่
ในพรหมจรรย์ตามกำหนดที่ตั้งใจ และทำ
ให้มีกำลังใจที่จะศึกษาปฏิบัติพระธรรมวินัยยิ่งๆ
ขึ้นไป
๓ สิงหาคม ๒๕๒๖
--------------------------------------------------------------
หมายเหตุ
บทความนี้เป็นธรรมกถาจากจำนวนทั้งสิ้น ๓๖ ครั้ง
ที่เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ
สุวฑฺฒโน)
บรรยายแก่พระนวกภิกษุวัดบวรนิเวศวิหาร
ในพรรษากาล ๒๕๒๖ มหามกุฏราชวิทยาลัย
ในพระบรมราชูถัมภ์ จัดพิมพ์เนื่อง
ในงานบำเพ็ญกุศลชนมายุครบ ๖ รอบ ของ
สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) ในวันที่ ๓
ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๒๘


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2014, 21:20 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ครั้งที่ ๒ นิสสัย ๔
ลักษณะพุทธศาสนา
ธรรมบรรยายของสมเด็จพระญาณสังวร
ในการอบรมนวกภิกษุพรรษา ๒๕๒๖
ณ สว.ธรรมนิเวศ วัดบวรนิเวศวิหาร
--------------------------------------------------------------
เมื่อวานนี้ได้อธิบายทบทวนคำสอนนาค วันนี้
จะอธิบายอนุศาสน์ซึ่ง
เป็นโอวาทที่พระบรมศาสดาตรัสให้สอนภิกษุผู้บวช
ใหม่ ให้รู้จักนิสสัย ๔ อกรณียกิจ ๔ ในเมื่อ
ได้รับอุปสมบทแล้วทีเดียว คือเป็นคำสอนที่ให้สอน
ในเวลาที่ถัดจากอุปสมบทเสร็จแล้ว ฉะ
นั้นเมื่ออุปสมบทเสร็จ พระอุปัชฌายะก็
จะบอกอนุศาสน์เป็นภาษาบาลี
และต่อมาพระอุปัชฌายะเองหรือพระอาจารย์ก็
จะสอนเป็นคำไทยให้มีความเข้าใจ ซึ่งท่านผู้เข้ามาบวช
แล้วก็ย่อมได้ฟังคำอธิบายมาแล้ว ในวันนี้
จะทบทวนเพียงนิสสัย ๔ ซึ่งมีเหตุผลสืบเนื่องมา
จากการบวช ฉะนั้นจึง
จะอธิบายคำว่าการบวชตามถ้อยคำเสียก่อน
อธิบายนิสสัย ๔
คำว่า บวช นั้น มาจากคำว่า ปพฺพชฺชา หรือบรรพชา
มีความหมายว่าการออก คือการออกจากเรือนมาเป็น
ผู้ไม่มีเรือน ดังที่เราทั้งหลายสวดกันอยู่ว่า สทฺธา
อคารสฺมา อนคาริยํ ปพฺพชิตา แปลว่า
มีศรัทธาบรรพชาคือบวช คือออกจากเรือน มา
เป็นอนาคาริยะที่แปลว่า ผู้ไม่มีเรือนไม่มีบ้าน
จึงมีเหตุผลสืบต่อมาถึงนิสสัย ๔ คำว่านิสสัยนั้น
เป็นนิสสัยทางจิตใจอย่างหนึ่ง
เป็นนิสสัยทางกายอีกอย่างหนึ่ง ทางจิตใจนั้น ดังที่พูด
กันว่ามีนิสสัยดี นิสสัยไม่ดี ส่วนทางกายนั้น ก็หมาย
ถึงเครื่องอาศัยดำรงชีวิตของร่างกาย อันชีวิต
ต้องอาศัยจึงดำรงอยู่ได้ และหมายเอาที่เป็นสิ่งจำ
เป็นอันชีวิตต้องอาศัยจริงๆ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่ฟุ่มเฟือย ก็
ได้แก่ปัจจัย ๔ นั้นเอง คำว่าปัจจัยนั้น ก็หมาย
ถึงเครื่องอาศัยของชีวิตเหมือนกัน แต่ว่าเป็นคำกลางๆ
จะเป็นสิ่งที่จำเป็นจริงๆ ก็ได้ จะ
เป็นสิ่งที่ฟุ่มเฟือยอำนวยความสะดวกสบายยิ่งขึ้นก็ได้
ก็คือจีวร ผ้านุ่งห่ม บิณฑบาต อาหารสำหรับบริโภค
เสนาสนะที่อยู่อาศัย และยาแก้ไข้ นี้คือปัจจัย ๔
ข้อที่หนึ่ง เที่ยวบิณฑบาต
เมื่อมาเรียกว่านิสสัย ๔ ก็มีความหมาย
ถึงเครื่องดำรงชีวิตเหล่านี้ที่จำเป็นจริงๆ และที่
จะพึงแสวงหาได้สำหรับผู้ที่ได้ออกบวช ออก
จากเรือนมาเป็นผู้ไม่มีบ้านไม่มีเรือนแล้วจริงๆ
แต่ว่ายกเอาอาหารมาเป็นที่ ๑ คือเที่ยวบิณฑบาต
ก็หมาย
ถึงว่าถือบาตรเดินออกไปสู่ละแวกบ้านรับอาหารที่ชาวบ้าน
เขาใส่บาตรถวายในละแวกบ้าน ฉะนั้นจึงมีคำเรียก
ผู้ที่ถือบาตรเที่ยวรับอาหารที่เขา
ใส่บาตรถวายว่าภิกษุ หรือภิกขุ ที่แปลว่าผู้ขอ
โดยปกติ อันหมายความว่าเที่ยวขออาหาร
ด้วยวิธีถือบาตรอุ้มบาตรเดินออกไปในละแวกบ้าน
ด้วยอาการที่มีความสำรวม มิได้ออกปากขอ
เป็นแต่เพียงว่ากิริยาที่อุ้มบาตรเดินออกไป
ในละแวกบ้านนั้นก็เป็นอาการที่แสดงว่ารับอาหารที่
เขาถวายเท่านั้น จึงเรียกว่าขอโดยปกติ คือเป็นผู้ขอ
โดยที่อุ้มบาตรออกเดินไปในละแวกบ้านเท่านั้น มิ
ใช่แสดงอาการอย่างยาจกหรือวณิพก ยาจก
หรือวณิพกก็คือผู้ที่เที่ยวขอทานดังที่เรียก
กันกล่าววาจาขอ หรือไม่กล่าววาจา
แต่แสดงอาการขออย่างคนขอทานทั่วไปทั้งหลาย
หรือบางทีก็ขอโดยวิธีที่ร้องรำทำเพลง
เอาการร้องรำทำเพลงนั้นแลกกับสิ่งที่เขาจะให้
เป็นการตอบแทน แต่ว่าภิกษุซึ่งเป็นผู้ขอโดยปกตินั้นมิ
ได้ขออย่างนั้น อุ้มบาตร
ด้วยกิริยาที่สำรวมระวังเดินผ่านบ้านเขาไป เมื่อเขา
จะถวายเขาก็เอาอาหารออกมาใส่บาตรถวายให้
เพราะฉะนั้นจึงได้มีคำเรียกสำหรับ
ผู้นับถือพุทธศาสนา ว่าอาการที่พระพุทธเจ้า
และพระพุทธสาวกออกเที่ยวบิณฑบาต
เป็นการเสด็จออกโปรดสัตว์ เป็นการเรียกด้วย
ความเคารพ แทนที่จะรู้สึกว่าผู้ที่ใส่บาตรเป็น
ผู้ที่สูงกว่า กลับยกย่องพระพุทธเจ้า
และพระพุทธสาวกที่เสด็จออกบิณฑบาตว่าเป็น
ผู้ที่สูงกว่า คือเท่ากับว่าพระองค์และพระพุทธสาวก
ได้เสด็จออกไปโปรดพวกชาวบ้านชาวเมือง
นิสสัยข้อที่ ๑ คือการเที่ยวออกบิณฑบาตนี้ ก็สืบ
เนื่องมาจากการบวช คือการออกจากเรือนมาเป็นผู้
ไม่มีเรือน เมื่อมาเป็นอนาคาริยะคือผู้ที่ไม่มีบ้าน
ไม่มีเรือน จึงไม่มีผู้ที่จะประกอบอาหารให้และก็
ไม่มีการประกอบอาหารเอง เพราะเมื่อไม่มีบ้าน
ไม่มีเรือนก็ต้องไม่มีครัว แต่ว่าร่างกายนี้
ต้องการอาหารสำหรับที่จะบำรุงเลี้ยง ชีวิตจึง
จะดำรงอยู่ได้ ฉะนั้นวิธีที่จะ
ได้อาหารมาสำหรับบำรุงเลี้ยงร่างกายก็คือออกบิณฑบาต
อุ้มบาตรออกเดินไปในละแวกบ้านผู้มีศรัทธาเขาก็
ใส่บาตรถวาย ได้มาก็นำมาฉัน นำมาบริโภค
สำหรับที่จะดำรงชีวิต การออกบิณฑบาตจึง
เป็นวิธีดำรงชีวิตของผู้ออกบวช
แต่ว่าก็ทรงอนุญาตอดิเรกลาภ คืออาหารที่
ผู้มีศรัทธานำมาถวายแก่สงฆ์ แล้วแจกกันไปก็ตาม
หรือถวายส่วนบุคคลก็ตาม เมื่ออาหารที่
เขานำมาถวายนั้นไม่ผิดวินัยข้อใดข้อหนึ่งแล้วก็รับฉัน
ได้ ก็นับเป็นอดิเรกลาภ คือเป็นการได้อาหารที่
เป็นอดิเรก คือที่เกินหรือที่ยิ่งไปกว่าอาหารที่จะพึง
ได้ด้วยการออกบิณฑบาตดังกล่าวนั้น
ข้อที่สอง นุ่งห่มผ้าบังสุกุล
มาถึงนิสสัยข้อที่ ๒ นุ่งห่มผ้าบังสุกุล ผ้าบังสุกุล
นั้นแปลตามศัพท์ว่าผ้าเปื้อนฝุ่น หมายถึงผ้าเก่าที่เขาทิ้ง
ไว้ในกองขยะก็ดี ในป่าก็ดี หรือแม้เป็นผ้าห่อศพก็ดี
ผู้ที่ออกบวชก็จำเป็นที่จะต้องมีผ้านุ่งห่ม ดังที่ตรัสว่า ผู้ที่
เข้ามาขอบวชนั้นจะต้องมีไตรจีวร และมีบาตรเอา
ไว้สำหรับออกบิณฑบาต ดังกล่าวในข้อ ๑ นั้น
ไตรจีวรนั้นก็คือผ้านุ่ง เรียกว่าสบง
หรืออันตรวาสก ผ้าห่มเรียกกันว่าจีวร
หรืออุตตราสงค์ กับอีกผืนหนึ่งเรียกว่าผ้าสังฆาฏิ
เป็นผ้าที่เย็บ ๒ ชั้นสำหรับเป็นผ้าห่มในฤดูหนาว แต่ว่ามา
ในบัดนี้พระสงฆ์ไทยเรามาใช้เป็นผ้าพาดบ่า สำหรับ
ใช้ในสังฆกรรมและในพิธีทำบุญต่างๆ ในวัด
เพราะฉะนั้นเมื่อผ้าไตรจีวรชุดที่ใช้
อยู่เก่าไปขาดไปก็จะได้มาจากไหน ภิกษุไม่มีทรัพย์ที่
จะซื้อหาและจะซื้อหาก็ไม่ได้ รับเงินทองก็ไม่ได้
ซื้อหาก็ไม่ได้ ขอเงินทองจากคนที่มิใช่ญาติหรือที่มิ
ได้ปวารณาก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้นก็จำเป็นที่จะ
ต้องไปเก็บผ้าเก่าที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า ที่โคนไม้ หรือ
ในกองขยะ หรือแม้เป็นผ้าห่อศพในป่าช้ามาซักเย็บย้อม
เป็นผ้านุ่งห่ม พระพุทธเจ้าเองก็ได้มีประวัติเล่าไว้ ว่า
ได้เคยทรงไปนำผ้าห่อศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า ซึ่ง
ในครั้งนั้นเมื่อมีผู้ตายลงเขาก็นำเอาไปทิ้งไว้ในป่าช้า
และมีผ้าห่อศพ
พระพุทธเจ้าก็เคยทรงนำเอาผ้าห่อศพมาซักเย็บย้อม
เป็นผ้าที่ทรงนุ่งทรงห่ม และก็มานิยมเรียกกันว่า
เป็นผ้ามหาบังสุกุล ซึ่งเป็นธรรมเนียมกันมาจนถึง
ในบัดนี้ เวลาจะเผาศพเจ้าภาพก็นำผ้ามาทอดที่หีบศพ
นิมนต์พระไปชัก เรียกว่าชักมหาบังสุกุล แต่ว่า
ในครั้งโบราณนั้นท่านไปชักจริงๆ คือไปเปลื้องมา
จากที่เขาห่อศพ เอามาทำเป็นผ้านุ่งห่มกันจริงๆ
แต่ก็ทรงอนุญาตอดิเรกลาภ คือการได้ผ้า
เป็นอดิเรก คือที่ยิ่งไปกว่าที่เกินไปกว่าผ้าบังสุกุลนั้น
คือผ้าที่เขานำมาถวาย จะเป็นผ้าที่ยังไม่ได้เย็บย้อม
เป็นสบงจีวรก็ตาม หรือจะเป็นผ้าที่เย็บย้อมมา
แล้วก็ตาม ก็รับได้ ถ้าปฏิบัติตามพระวินัยที่ว่า
ด้วยการรับผ้าแล้วก็เป็นอันว่าใช้ได้
ข้อที่สาม อยู่โคนไม้
มาถึงนิสสัยข้อที่ ๓ คืออยู่โคนไม้ นี้ก็สืบเนื่องมา
จากการบวชเช่นเดียวกัน เพราะเมื่อการบวช
เป็นการที่ออกจากเรือนมาเป็นผู้ไม่มีเรือน เมื่อ
ไม่มีบ้านไม่มีเรือนจะอยู่ที่ไหน เพราะฉะนั้น ก็
ต้องอาศัยอยู่ที่โคนไม้นั่นแหละ เพราะไม่มีบ้าน
ไม่มีเรือน และเดิมก็ไม่มีวัดวาอาราม โคนไม้จึง
เป็นนิสสัยข้อที่ ๓ แต่ก็ทรงอนุญาตให้รับที่อยู่อาศัยที่
เป็นอดิเรกลาภได้ คือการได้ที่อยู่อาศัยที่เกิน
หรือที่ยิ่งไปกว่านั้น เป็นต้นว่ากุฏิ วิหาร ที่
เขาสร้างถวาย ซึ่งเมื่อพระพุทธศาสนา
ได้แผ่กว้างออกไป ผู้มีศรัทธาก็ได้สร้างกุฏิวิหาร
ให้พระอยู่อาศัย ตลอดจนถึงสร้างวัดวาอารามให้
เป็นที่อยู่อาศัยเป็นหลักเป็นฐาน หรือว่าอาศัยอยู่ในถ้ำ
ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยได้โดยธรรมชาติก็ใช้ได้
ข้อที่สี่ ฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า
มาถึงนิสสัยข้อที่ ๔ คือฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า
อันนี้ก็สืบเนื่องมาจากการบวชอีกเหมือนกัน
เพราะเมื่อบวชก็ออกจากบ้านจากเรือน เป็นผู้ไม่มีบ้าน
ไม่มีเรือน ต้องเที่ยวบิณฑบาตรับอาหารที่เขา
ใส่บาตรมาฉันเพื่อดำรงชีวิต ต้องนุ่งห่มผ้าบังสุกุล
ต้องอยู่โคนไม้ ฉะนั้นเมื่อร่างกายมีการเจ็บป่วยลงจะ
ได้หยูกยามาจากไหน ก็ต้องใช้ผลไม้ที่เป็นยา
เช่นผลสมอ ผลมะขามป้อม มาดอง
ด้วยน้ำมูตรเน่าสำหรับฉันบำบัดอาพาธ คือ
ความป่วยไข้
และก็ทรงอนุญาตอดิเรกลาภคือการ
ได้เภสัชคือยาที่ยิ่งหรือที่เกินไปกว่านั้น ที่ระบุ
ไว้ก็คือเนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ซึ่งทั้ง ๕
อย่างนี้ไม่ใช่เป็นยาโดยตรง ไม่ใช่เป็นอาหาร
โดยตรง แต่เมื่อร่างกายมีความอ่อนเพลีย
เรียกว่ามีปัจจัย คือมีเหตุอันจะต้องใช้ในเวลากาลก็ดี
ในเวลาวิกาลก็ดี ก็ใช้ได้ แต่ว่าเนยใสเนยข้นนี้ต้อง
เข้าใจ ว่าไม่ใช่เนยอย่างที่เราเรียกกัน
ในปัจจุบันอย่างที่ฝรั่งทำมาจำหน่ายที่เรียกว่าชีส
(cheese) เป็นต้น เรามาเรียกกันว่าเนย แต่ความจริง
แล้วเป็นอาหารชนิดหนึ่ง มีส่วนผสมเป็นอาหาร
พวกชีสเหล่านี้ไม่ใช่เนยใสเนยข้น
ใช้ฉันเวลาหลังเที่ยงไม่ได้ เนยใสเนยข้นนั้นต้อง
เป็นเนยใสเนยข้นที่บริสุทธิ์ ไม่ใช่ชีสที่
เป็นอาหารอย่างนั้น สิ่งที่ใช้ได้ทั้งในกาลทั้งในวิกาล
คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย และแม้ที่เป็นยา
โดยตรงแก้ไขได้โดยตรงก็ใช้ได้
สรุปนิสสัย ๔
เพราะฉะนั้น คำว่านิสสัยนี้จึงหมายถึงปัจจัย ๔
นั่นแหละ แต่หมายเอาจำเพาะที่เป็นสิ่งจำเป็นจริงๆ
หรือพูดอีกอย่างหนึ่งว่าอย่างแร้นแค้นจริงๆ
อาหารก็ต้องขอเขา ที่เขาใส่บาตรนำมาฉัน ไม่ว่าดี
ไม่ว่าเลว เลือกไม่ได้ ผ้านุ่งห่มก็เป็นผ้าเก่า
เอามาเย็บย้อมทำเป็นผ้านุ่งห่มอันเรียกว่าผ้าบังสุกุล ที่
อยู่อาศัยก็โคนไม้ ยาแก้ไข้ก็ยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่านิสสัย ให้ต่างกับคำว่าปัจจัย
และก็มีความหมายทำนองเดียวกันกับนิสัยทางจิตใจ
ดังที่เรียกว่านิสัยทางจิตใจนั้น ก็หมาย
ถึงภาวะทางจิตใจที่เป็นอย่างละเอียด ที่ปรากฏอยู่
ในภายในเป็นตัวนิสัย ซึ่งก็ไม่มีใครมองเห็น
แต่อาการที่แสดงออกมาทางกายวาจานั้นส่อง
ให้เห็นว่าภายในมีนิสัยอย่างไร
นิสัยดีนิสัยเลวอย่างไร มาถึงเป็นนิสสัยที่
เป็นวัตถุบำรุงกาย ก็เอาอย่างที่แร้นแค้นจำ
เป็นที่สุดที่ชีวิตจะพึงดำรงอยู่ได้ เพราะฉะนั้นนิสสัยทั้ง
๔ นี้ พระพุทธเจ้าจึงทรงสั่งว่าให้บอกเมื่อบวชแล้ว
เพราะมีเรื่องว่ามีผู้เข้ามาขอบวช เมื่อยังไม่ได้บวช
ภิกษุผู้เป็นอุปัชฌาย์อาจารย์ก็บอก เมื่อ
ผู้มาขอบวชรู้ว่าบวชแล้วจะเป็นอย่างไรก็ตกใจ
ไม่บวช เพราะฉะนั้นจึงได้ตรัสสอนว่าให้บอกเมื่อบวช
แล้ว ว่าบวชแล้วจะต้องเป็นอยู่อย่างไร
แต่ก็ทรงอนุญาตอดิเรกลาภอย่างนั้น ในบัดนี้
ได้มีอดิเรกลาภมาก ดังที่ปรากฏว่า
ได้มีการสร้างวัดวาอารามสำหรับให้ภิกษุสงฆ์
ได้อาศัย ได้มีการสร้างกันอย่างประณีตงดงาม
และดี ให้มีความผาสุก
ด้วยแรงศรัทธาของประชาชน อันจะพึงเห็นได้ว่าวัด
ทั้งหลายเป็นอันมากนั้นได้มีที่
อยู่อาศัยสำหรับพระภิกษุสามเณรดียิ่งกว่าประชาชนที่
อยู่รอบวัดโดยมาก ยิ่งในชนบทก็ยิ่งจะเห็นได้ง่าย
ประชาชนที่อยู่รอบวัดนั้นเป็นชาวนาชาวไร่อยู่บ้าน
เล็กๆ น้อยๆ เป็นกระต๊อบหลังคามุงจากประกอบ
ด้วยไม้เก่าๆ ที่ผุพังก็มี แต่ว่าวัดในหมู่บ้านนั้นแต่ละวัด
ได้สร้างกันอย่างดี ที่อยู่อาศัยของพระเณรก็ดี
เป็นอย่างนี้โดยมากในเมืองไทย จนถึงทำให้ผู้ที่มิ
ได้นับถือพุทธศาสนาหรือไม่รู้จักพุทธศาสนา
ในเมืองไทย ไม่เข้าใจว่าทำไมจึงเป็นอย่างนี้
หรือบางทีก็เห็นไปว่าพระเป็นฝ่ายที่อยู่
เป็นสุขมากกว่าชาวบ้าน และหาความไปต่างๆ
แต่อันที่จริงนั้นเป็นความยินดีพอใจของประชาชน
ผู้นับถือพุทธศาสนาเองซึ่งการก่อสร้างวัดวานั้น
โดยมากก็เกิดขึ้นจากกำลังศรัทธาของประชาชนผู้ที่
เป็นชาวไร่ชาวนาเป็นต้นเหล่านี้นั่นแหละ พร้อมใจ
กันบริจาคคนละน้อยบ้างมากบ้างตามกำลังมาสร้างขึ้น
และอาศัยความที่รวมกำลังกันนั้นเอง จึงทำให้
สามารถสร้างวัดประกอบ
ด้วยกุฏิวิหารที่เรียบร้อยและมีความผาสุกและผู้ที่
ช่วยกันสร้างนั้นก็มีความสุข มี
ความเบิกบานยินดีเมื่อเห็นว่าวัดในหมู่บ้านของตน
นั้นเรียบร้อยงดงาม ไม่ได้มีความนึกคิดที่
จะอิจฉาริษยาพระอย่างไร หรือที่จะเห็นพระว่า
เป็นอย่างไรเกี่ยวกับความเป็นอยู่นั้น ก็เช่นเดียว
กับที่กล่าวมาข้างต้น ว่าผู้ที่มีศรัทธา
นั้นเมื่อพระพุทธเจ้า
และพระพุทธสาวกเสด็จออกบิณฑบาตก็กล่าวว่าเสด็จไปโปรดสัตว์
ก็กล่าวกันอย่างนี้
ด้วยกำลังศรัทธาที่นับถืออย่างสูงสุดนั้นเอง แต่แม้เช่น
นั้นบรรดาภิกษุสามเณรทั้งหลายก็ควรจะเป็นผู้ที่
ไม่ประมาท และตั้งใจที่จะปฏิบัติตนให้ตั้งอยู่
ในปาริสุทธิศีลทั้ง ๔
ปาริสุทธิศีล
ข้อที่ ๑ ปาฏิโมกขสังวรศีล ศีลคือ
ความสำรวมระวังในพระปาฏิโมกข์
คือพระบัญญัติที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ อัน
เป็นหลักใหญ่ของความประพฤติ ดังที่เรียกกันว่าศีล
๒๒๗ นั้น และตลอดถึงปฏิบัติในพระบัญญัติที่เกี่ยว
กับอาจารมารยาททั้งหลาย
อันเรียกว่าอภิสมาจาร
ข้อที่ ๒ อินทรียสังวรศีล ศีลคือ
ความสำรวมอินทรีย์ อันได้แก่มีสติที่
จะสำรวมระวังตาหูจมูกลิ้นกายและใจ ทุกขณะที่
ได้เห็นรูปอะไรทางตา ได้ยินเสียงอะไรทางหู
ได้ทราบกลิ่นรสโผฏฐัพพะทางจมูกทางลิ้นทางกาย
และได้รู้คิดเรื่องอะไรทางใจ
มีสติสำรวมระวังจิตใจ ไม่ยึดถือสิ่งที่ตาเห็นสิ่งที่หู
ได้ยินเหล่านั้นเป็นต้น มา
เป็นเครื่องก่อกิเลสกองราคะโทสะโมหะขึ้นในจิตใจ
ให้สิ่งที่เห็นสิ่งที่ได้ยินนั้นตกอยู่แค่ตาแต่หูเป็นต้นนั้น ไม่
ให้เข้ามาก่อกิเลสในใจ นี้เรียกว่าอินทรียสังวร
ข้อที่ ๓ อาชีวปาริสุทธศีล ศีลคือ
ความบริสุทธิ์แห่งอาชีพ คือการเลี้ยงชีวิต
เช่นว่าปฏิบัติในนิสสัย ๔ และรับอดิเรกลาภที่
เขาถวาย หรือที่ได้มาโดยชอบ โดยที่ไม่ได้ไปแสวงหา
หรือได้มาโดยไม่สมควรต่างๆ
ข้อที่ ๔ ปัจจยปัจเวขณศีล
ศีลคือการพิจารณาปัจจัย ๔ แล้วจึงบริโภค
ดังที่เราได้สวดบท ปฏิสงฺขา โย .... ในเวลาเช้า อชฺช
มยา ...... ในเวลาเย็นหรือค่ำนั้น
๔ สิงหาคม ๒๕๒๖
--------------------------------------------------------------
หมายเหตุ
บทความนี้เป็นธรรมกถาจากจำนวนทั้งสิ้น ๓๖ ครั้ง
ที่เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ
สุวฑฺฒโน)
บรรยายแก่พระนวกภิกษุวัดบวรนิเวศวิหาร
ในพรรษากาล ๒๕๒๖ มหามกุฏราชวิทยาลัย
ในพระบรมราชูถัมภ์ จัดพิมพ์เนื่อง
ในงานบำเพ็ญกุศลชนมายุครบ ๖ รอบ ของ
สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) ในวันที่ ๓
ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๒๘


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2014, 21:25 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ครั้งที่ ๓ ปาริสุทธิศีล ๔
ลักษณะพุทธศาสนา
ธรรมบรรยายของสมเด็จพระญาณสังวร
ในการอบรมนวกภิกษุพรรษา ๒๕๒๖
ณ สว.ธรรมนิเวศ วัดบวรนิเวศวิหาร
--------------------------------------------------------------
พิจารณาขณะที่รับปัจจัยทั้ง ๔
จะว่าถึงปาริสุทธิศีล ๔ ที่ได้แสดงมาแล้ว ภิกษุผู้
เข้ามาบวชในพระธรรมวินัยนี้พึงตั้งใจปฏิบัติ
ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ และจะได้แสดงขยายความ
ในปัจจยสันนิสิตศีลข้อที่ ๔ ศีลที่อาศัยปัจจัย
อันหมายความว่าตรัสสอนให้พิจารณาปัจจัยทั้ง ๔ คือ
จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และยาแก้ไข้ ในขณะที่รับ
และในขณะที่บริโภค หากว่าในขณะที่บริโภคมิ
ได้พิจารณา ก็ให้พิจารณาเป็นส่วนอดีตในวันนั้น
อันหมายความว่าพิจารณาย้อนหลังในวันนั้น ดั่งนี้ก็ใช้
ได้ พิจารณาในขณะที่รับนั้น คือในขณะที่รับปัจจัย
ทั้ง ๔ ให้พิจารณาโดยความเป็นธาตุ หรือโดยความ
เป็นปฏิกูล พิจารณาโดยความเป็นธาตุ
นั้นก็คือพิจารณาโดยความว่า ปัจจัยทั้ง ๔ สักแต่ว่า
เป็นธาตุ คือเป็นธาตุดินน้ำไฟลม และบุคคล
ผู้บริโภคปัจจัยทั้ง ๔ ก็สักแต่ว่าเป็นธาตุ ไม่
ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา พิจารณาโดย
เป็นของปฏิกูลนั้นก็คือพิจารณาว่า ปัจจัยทั้ง ๔ เมื่อยัง
ไม่มาถึงกายอันนี้ก็ยังไม่ปฏิกูล แต่เมื่อมาถึงกายอันนี้ก็
เป็นของปฏิกูลไม่สะอาด ในขณะที่รับปัจจัยทั้ง ๔
ตรัสสอนให้พิจารณาดั่งนี้
พิจารณาขณะที่บริโภคปัจจัยทั้ง ๔
ในขณะที่บริโภคนั้น คือในขณะที่บริโภคปัจจัยทั้ง ๔
คือในขณะที่นุ่งห่มผ้านุ่งห่มฉันภัตตาหาร
นั่งนอนบนที่นั่งที่นอน และฉันยาแก้ไข้ ก็
ให้พิจารณาว่า นุ่งห่มผ้านุ่งห่มก็เพื่อปกปิด
ส่วนที่พึงละอาย ป้อง
กันลมแดดหนาวร้อนเหลือบยุงเป็นต้น
ฉันภัตตาหารหรือฉันบิณฑบาตก็มิใช่เพื่อเล่น มิ
ใช่เพื่อเปล่งปลั่งประเทืองผิว บริโภคก็เพื่อที่
จะดำรงกายให้เป็นไป
ได้เพื่อสงเคราะห์พรหมจรรย์
คือประพฤติพรหมจรรย์เป็นต้น
นั่งนอนบนที่นั่งที่นอนก็เพื่อป้อง
กันแดดลมหนาวร้อนเหลือบยุง เพื่อหลีกเร้น
เป็นต้น บริโภคยาแก้ไข้ก็เพื่อระงับเวทนาที่เกิด
จากอาพาธต่างๆ ดังนี้เป็นต้น ตามบทปฏิสังขาโยที่สวด
กันในเวลาทำวัตรเช้ารวมความว่า บริโภคปัจจัยทั้ง
๓ ก็เพื่อที่จะทะนุบำรุงชีวิตร่างกายให้ดำรงอยู่ผาสุก
เพื่อที่จะปฏิบัติความชอบ มิ
ใช่เพื่อบำรุงกิเลสตัณหาเพื่อประพฤติชั่วต่างๆ
และหากว่าในขณะที่บริโภคมิได้พิจารณา ก็
ให้พิจารณาปัจจัยที่บริโภคแล้วใน
นั้นย้อนหลังไปว่าได้บริโภคแล้ว ก็เพื่อประโยชน์ที่
ต้องการดังได้กล่าวมาข้างต้น ตามบทอัชชมยาที่สวด
กันในเวลาทำวัตรเย็นหรือทำวัตรค่ำ
แสวงหาปัจจัยทั้ง ๔ โดยสมควร
ภิกษุผู้ที่ได้ปฏิบัติตามที่ได้ตรัสสอนไว้นี้ ก็ได้ชื่อว่า
ได้ปฏิบัติทำศีลอันอาศัยปัจจัย ๔ ข้อนี้
ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ จะเห็นได้ว่าศีลที่เกี่ยว
ด้วยปัจจัยทั้ง ๔ มีอยู่ถึง ๒ ข้อ
คืออาชีวปาริสุทธิศีลอันเป็นข้อที่ ๓
กับปัจจยสันนิสิตศีลอันเป็นข้อที่ ๔
อาชีวปาริสุทธิศีลนั้นก็เกี่ยวด้วยการเลี้ยงชีพ
ก็คือการที่แสวงหาปัจจัยทั้ง ๔ มาบริโภคใช้สอย
โดยถูกต้อง เรียกว่ามีการแสวงหาอันสมควร มิ
ใช่การแสวงหาอันไม่สมควร
เมื่อมีการแสวงหาอันสมควรก็ชื่อว่าได้ปฏิบัติ
ในอาชีวปาริสุทธิศีลข้อที่ ๓ และในขณะที่รับปัจจัย
ทั้ง ๔ ก็พิจารณา และในขณะที่บริโภคปัจจัยทั้ง ๔
ก็พิจารณา และแม้ว่ามิได้พิจารณา
ในขณะที่บริโภค พิจารณาปัจจัยทั้ง ๔
ที่บริโภคย้อนหลังไป เมื่อปฏิบัติดั่งนี้ก็ชื่อว่าได้ปฏิบัติ
ในปัจจยสันนิสิตศีลอันเป็นข้อที่ ๔ จึงจะพึงเห็น
ได้ว่าเกี่ยวด้วยปัจจัยทั้ง ๔ นี้เป็นเหตุให้ภิกษุเป็น
ผู้ที่มีศีลบริสุทธิ์หรือมีศีลไม่บริสุทธิ์ได้ทั้ง ๒ ข้อ
เพราะฉะนั้นจึงเป็นข้อที่ภิกษุทั้งหลายเห็นควรที่
จะมีสติระมัดระวังในเรื่องนี้ และหากพิจารณาดู
ให้กว้างออกไปแล้วก็จะเห็นว่า วัตถุที่ปรากฏ
ในพุทธศาสนาเป็นวัดวาอารามเป็นวิหารเป็นกุฏิ
และทุกๆ อย่าง ย่อมเนื่องอยู่ในปัจจัยทั้ง ๔ นี้ และ
ในบัดนี้ปัจจัยทั้ง ๔ นี้ได้มีมากมายเป็นอดิเรกลาภ
ภิกษุพระเณรไม่จำเป็นที่จะต้องอาศัยนิสสัยทั้ง ๔
เท่าไรนัก เพราะว่าได้มีประชาชนผู้มีศรัทธา
ได้จัดถวาย จนถึงสร้างเป็นวัดวาอาราม
เป็นกุฏิวิหารต่างๆ สำหรับให้พระเณรได้อยู่ผาสุก
อันเป็นส่วนเสนาสนะ และ
ยังมีการจัดอาหารจัดผ้านุ่งห่มจัดยาแก้ไข้ตลอดจน
ถึงสิ่งอื่นถวายอีกมากมาย เพราะฉะนั้นถ้าหากว่า
ไม่หมั่นพิจารณาตามที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน ก็
จะทำให้เกิด
ความประมาทมัวเมาเลินเล่อเผลอเพลิน และเมื่อ
เป็นดั่งนี้ก็เป็นเหตุให้เกิดกิเลสตัณหา
แสวงหาปัจจัยลาภต่างๆ ในทางที่ไม่ถูกต้อง
เป็นอเนสนาคือการแสวงหาอันไม่สมควร ก็
เป็นอันว่าเสียปาริสุทธิศีลข้อที่ ๓ คืออาชีวปาริสุทธิ
และในขณะที่รับ ในขณะที่บริโภค
ในขณะที่บริโภคแล้ว ก็ไม่
ได้พิจารณาตามที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน ทำ
ให้จิตใจไม่สำนึกถึงประโยชน์ที่
ต้องการของการที่บริโภคใช้สอยปัจจัยทั้ง ๔
ว่าเพื่ออะไร คือเพื่อดำรงกายดำรงชีวิต
ดำรงกายดำรงชีวิตไว้ทำไม ก็ดำรงกายดำรงชีวิต
ไว้เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ เพื่อที่จะปฏิบัติ
ความดีความชอบ ไม่
ใช่เพื่อเพิ่มกิเลสตัณหาเพื่อประพฤติความชั่วต่างๆ
และก็จะทำให้ไม่หลงตน ทำให้ไม่ลืมนิสสัยทั้ง ๔
ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงสั่งสอนเอาไว้ และโดยที่แท้
แล้วตรัสสอนให้รู้จักสิ่งที่จำเป็นต้องการจริงๆ
สำหรับร่างกาย ซึ่งดูก็เป็นสิ่งที่แร้นแค้น
แต่อันที่จริงก็เป็นสิ่งที่ร่างกายอาศัยได้ คือนิสสัยทั้ง ๔
นั้นสำหรับบุคคลซึ่งเป็นผู้บวช ออกจากเรือนเป็นผู้
ไม่มีเรือน เพราะฉะนั้นความต้องการจริงๆ
ก็คือนิสสัยทั้ง ๔ นั้นนั่นเอง ส่วนอื่นๆ นั้น
เป็นอดิเรกลาภ ไม่ควรที่จะติดในอดิเรกลาภ
และมีความหลงตนมัวเมาอยู่ในอดิเรกลาภนั้น
หากว่าได้ตั้งใจเพ่งพินิจในอาชีวปาริสุทธิศีลและ
ในปัจจยสันนิสิตศีลทั้ง ๒ ข้อนี้ให้ดี
และตั้งใจปฏิบัติควบคุมจิตใจแล้ว ก็จะทำให้เป็น
ผู้ที่รักษาใจตัวเองได้ ไม่
ให้ประมาทมัวเมาเลินเล่อเผลอเพลินไป
ในอดิเรกลาภทั้งหลาย ไม่ให้ติดในอดิเรกลาภ
ทั้งหลาย และจะมีความสำนึกตนอยู่ ว่าอันที่แท้
แล้วสิ่งที่จำเป็นก็คือนิสสัยทั้ง ๔
ที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนไว้นั้นเอง และเมื่อเป็นดั่งนี้
แล้ว แม้ว่าจะได้ปัจจัยทั้ง ๔ ดีก็ตามเลวก็ตาม ก็จะ
ไม่ตื่นเต้นยินดีจะไม่ฟุบแฟบเสียใจ เพราะจะมี
ความสำนึกว่าถึงอย่างไรๆ ก็ยังดีกว่าที่เป็นนิสสัยทั้ง ๔
อันพระพุทธเจ้าได้ทรงสั่งสอนไว้ และก็จะทำให้มี
ความสำนึกตน เมื่อได้รับบำรุงอดิเรกลาภดีเท่าใด
ก็ยิ่งที่จะตั้งใจปฏิบัติความดีความชอบให้ยิ่งขึ้นไปเท่านั้น
เพราะว่าอันสิ่งที่ผู้มีศรัทธาจัดถวายนั้นเขาต้องการ
จะถวายแก่ภิกษุสามเณรผู้ทรงศีล
ผู้ตั้งใจศึกษาปฏิบัติพระพุทธศาสนาอย่างเต็มที่
เพราะฉะนั้นเมื่อได้ใช้ปัจจัยของเขา ยิ่งเขาถวายดี
เท่าไหร่ ก็ยิ่งต้องตั้งใจปฏิบัติดีเท่านั้น
และก็ตั้งใจแผ่เมตตาจิตแก่ผู้ที่ถวายนั้น เมื่อเป็นดั่งนี้
แล้ว ก็ตรัสสอนไว้เหมือนกัน
ว่าการตอบแทนก้อนข้าวของชาวเมืองที่เขาถวาย
นั้นคือการตั้งใจแผ่เมตตาจิตไปให้เขา
โดยตรงก็เมื่อฉันอาหารของเขาแล้ว
ต้องตั้งใจศึกษาเล่าเรียนปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
การบริโภค ๔ ประการ
เพราะฉะนั้น จึงได้มีแสดงถึงการบริโภคปัจจัยทั้ง ๔
ไว้ว่ามี ๔ อย่าง คือ
หนึ่ง เถยยบริโภค แปลว่าการบริโภคของ
ผู้ที่ทุศีล ซึ่ง
เป็นเหมือนอย่างว่ามาขโมยของสงฆ์ไปบริโภค ก็
เพราะว่าวัดวาอารามที่สร้างขึ้น
กุฏิวิหารที่สร้างขึ้น ปัจจัย
ทั้งหลายมีอาหารผ้านุ่งห่มยาแก้ไข้และอื่นๆ ที่
เขาถวายทั้งหมดนั้น ผู้มีศรัทธาต้องการถวาย
ผู้ที่มีศีลตั้งใจรักษาศีล เพราะฉะนั้นเมื่อ
เป็นคนทุศีลคือมีศีลชั่วศีลขาดศีลด่างพร้อย
ไม่ตั้งใจปฏิบัติศีลให้ดี มาครองผ้าเหลือง แล้วมา
อยู่กุฏิที่เขาถวาย ฉันอาหารที่เขาถวาย อะไรเหล่านี้
เป็นต้น ก็เท่ากับว่ามาขโมยของสงฆ์บริโภค
จึงชื่อว่าเถยยบริโภค บริโภคโดยความเป็นขโมย
หมายความว่า ผู้ทุศีลมาบริโภค
ใช้สอยของสงฆ์ของวัดของที่เขาถวายด้วยศรัทธา
สอง อิณบริโภค บริโภคโดยเป็นหนี้ ก็หมายความว่า
ถึงแม้ว่าไม่ใช่เป็นผู้ที่ทุศีลเหมือนอย่างนั้น ปฏิบัติดีอยู่
ในศีล แต่ว่าในขณะที่รับก็ดี บริโภคก็ดี บริโภค
แล้วมิได้พิจารณาในสิ่งที่ไม่ได้พิจารณา
ในขณะที่บริโภคก็ดี ก็ชื่อว่าบริโภคโดยความเป็นหนี้
คือเหมือนอย่างว่ากู้ยืมทรัพย์สินเขามาบริโภค
สาม ทายัชบริโภค บริโภคโดยความเป็นทายาท
ท่านแก้ไว้สูง ว่าเป็นการบริโภคของพระเสขะทั้ง ๗
คือพระอริยบุคคล ๗ จำพวก ตั้งแต่พระผู้ตั้งอยู่
ในโสดาปัตติมรรค จนถึงพระผู้ตั้งอยู่
ในอรหัตตมรรค แต่เมื่อพิจารณาดูแล้ว แม้ว่าจะ
ยังมิใช่เป็นพระเสขะ แต่ว่าเป็น
ผู้ที่ตั้งใจปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามบทพระสังฆคุณ
หรือปฏิบัติเพื่อบรรลุมรรคผลนิพพานเพื่อทำทุกข์
ให้สิ้นไป ดั่งนี้ก็เป็นทายัชบริโภค บริโภคโดยความ
เป็นทายาทได้ คือพระเสขะดังกล่าวก็ดี
สรุปเอาท่านที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ คือบวชมา
แล้วก็ตั้งใจปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนตั้งใจปฏิบัติในศีลสมาธิปัญญา
หรือไตรสิกขาอยู่เพื่อสิ้นทุกข์ตามกำลังสามารถ
ก็ชื่อว่าเป็นทายาทของพระพุทธเจ้า เมื่อ
เป็นทายาทของพระองค์ที่เป็นสมณศากยบุตร
เป็นบุตรของพระพุทธเจ้า ก็มีสิทธิที่จะบริโภค
ใช้สอยสมบัติของบิดาได้
สี่ สามิบริโภค บริโภคโดยความเป็นเจ้าของ
ท่านแสดงไว้อย่างสูง ก็คือว่า
การบริโภคของพระอรหันตขีณาสพผู้สิ้นอาสวะ
แล้ว การบริโภคปัจจัยทั้ง ๔ ที่เขานำมาถวายนั้น
เป็นการบริโภคอย่างเป็นเจ้าของโดยแท้ เพราะท่าน
เป็นผู้ที่บริสุทธิ์ด้วยประการทั้งปวง
ท่านแสดงการบริโภคไว้ ๔ ประการดั่งนี้ ก็เพื่อ
เป็นเครื่องเตือนใจของพระเณรทั้งหลายให้มี
ความสำนึกรู้อยู่ เพื่อจะได้ตั้งใจปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
และในขณะที่บริโภคก็
ให้พิจารณาตามที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน ไม่
ได้พิจารณาในขณะนั้นก็ให้พิจารณาย้อนหลัง
คือพิจารณาถึงสิ่งที่ได้บริโภคไปแล้ว รวมความก็
เป็นอย่างเดียวกัน
ศีลทั้ง ๔ ข้อนี้ ปาฏิโมกขสังวรศีล ศีลคือ
ความสำรวมในพระปาฏิโมกข์ สำเร็จได้
ด้วยศรัทธาคือความเชื่อฟัง อินทรียสังวร
ความสำรวมอินทรีย์ สำเร็จได้ด้วยสติ คือ
ความระลึกรู้ อาชีวปาริสุทธิ สำเร็จได้ด้วย
ความเพียร ส่วนข้อ ๔ ปัจจยสันนิสิตศีล
ศีลที่อาศัยปัจจัยสำเร็จได้ด้วยปัญญาพิจารณา
และสำหรับปาฏิโมกขสังวรศีลนั้น หากว่า
จะมีการล่วงละเมิด เมื่อแสดงอาบัติ
กระทำคืนอาบัติ หรือว่าอยู่กรรม
ในเมื่ออาบัติที่ล่วงละเมิดนั้นไม่เป็นอันติมะ ถึงที่สุด
แล้ว ก็กลับบริสุทธิ์ได้ เพราะฉะนั้นจึง
เป็นเทสนาสุทธิ บริสุทธิ์ได้ด้วยการแสดง
ต้องอาบัติอะไรก็ไม่ปกปิดเอาไว้
แสดงเสียตามพระวินัยบัญญัติ อินทรียสังวร
ความสำรวมอินทรีย์นั้น ก็อาจจะมีความบกพร่องบ้าง
แต่แม้เช่นนั้นก็ให้ตั้งสำรวมขึ้นใหม่ เพราะฉะนั้นจึง
เป็นศีลที่บริสุทธิ์ได้ด้วยสังวรคือความสังวร
เรียกว่าสังวรสุทธิ ส่วนอาชีวปาริสุทธิ
การเลี้ยงชีพที่บริสุทธิ์อันเป็นข้อที่ ๓ นั้น บริสุทธิ์
ได้ด้วยการแสวงหา คือการแสวงหาที่เป็นเทศนา
การแสวงหาที่เป็นไปโดยชอบ ส่วนข้อที่ ๔
ศีลข้อที่อาศัยปัจจัยนั้น บริสุทธิ์ได้
ด้วยการพิจารณา เพราะฉะนั้นเมื่อ
ได้ปฏิบัติตามหลักเหล่านี้ เมื่อ
ต้องอาบัติอะไรบ้างก็แสดงเสีย
และเมื่อหย่อนสังวรอินทรีย์ไปบ้างก็
ให้กลับตั้งสังวร คือตั้งสติสำรวมระวังขึ้นใหม่
และเกี่ยวแก่ปัจจัยทั้ง ๔ ก็ให้แสวงหาในทางที่ชอบ
และปัจจัยทั้ง ๔ ก็
ให้พิจารณาตามที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนไว้ เมื่อ
เป็นดั่งนี้ก็จะทำให้การปฏิบัติถูกต้อง
เป็นปาริสุทธิศีล คือศีลบริสุทธิ์ทั้ง ๔ ข้อ
เมื่อตั้งใจปฏิบัติอยู่ดั่งนี้แล้ว ก็ได้ชื่อว่าทำการบวชให้
เป็นบุญเป็นกุศล
๕ สิงหาคม ๒๕๒๖
--------------------------------------------------------------
หมายเหตุ
บทความนี้เป็นธรรมกถาจากจำนวนทั้งสิ้น ๓๖ ครั้ง
ที่เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ
สุวฑฺฒโน)
บรรยายแก่พระนวกภิกษุวัดบวรนิเวศวิหาร
ในพรรษากาล ๒๕๒๖ มหามกุฏราชวิทยาลัย
ในพระบรมราชูถัมภ์ จัดพิมพ์เนื่อง
ในงานบำเพ็ญกุศลชนมายุครบ ๖ รอบ ของ
สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) ในวันที่ ๓
ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๒๘


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2014, 21:38 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ครั้งที่ ๔ ลักษณะพุทธศาสนา
ลักษณะพุทธศาสนา
ธรรมบรรยายของสมเด็จพระญาณสังวร
ในการอบรมนวกภิกษุพรรษา ๒๕๒๖
ณ สว.ธรรมนิเวศ วัดบวรนิเวศวิหาร
--------------------------------------------------------------
จะแสดงลักษณะพุทธศาสนา อันเกิดจาก
ความศึกษาปฏิบัติเพ่งพิจารณา หาก
จะมีปัญหาถามว่าศึกษาพุทธศาสนาเพื่ออะไร
ผู้ตอบก็คงจะได้ตอบต่างๆ กันตามที่แต่ละบุคคล
ได้ศึกษาปฏิบัติพินิจพิจารณา และการตอบนั้นอาจ
จะอ้างข้อธรรมข้อใดขอหนึ่งหรือหมวด
ใดหมวดหนึ่งก็ได้ อาจจะพินิจพิจารณาประมวล
ความเอาเองก็ได้ ได้มีคำตอบอันหนึ่งซึ่งจะนำมาแสดง
ในวันนี้ อันเป็นคำตอบของผู้ที่
ได้ศึกษาปฏิบัติพินิจพิจารณาพุทธศาสนามา
เป็นอย่างดียิ่ง ท่านได้ให้คำตอบไว้ว่า
ศึกษาพุทธศาสนาเพื่อความจริง ความดี และความงาม
จึงจะได้อธิบายไปตามความสำนึกพิจารณาว่า
๑. สัจจะ - ความจริง
ข้อแรกเพื่อความจริงนั้น ก็เพื่อให้รู้
ความจริงตามที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน
เพราะว่าคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่
เป็นหลักสูตรแห่งการศึกษานักธรรม
หรือธรรมศึกษาก็ดี เป็นคำแสดงเทศน์ต่างๆ
บรรยายต่างๆ ก็ดี หรือจะรวมเข้าทั้งหมด
เป็นพระวินัยพระสูตรพระอภิธรรมอัน
เป็นคัมภีร์พระไตรปิฏกทั้งสิ้นก็ดี
ที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนไว้ ก็ล้วนเป็น
ความจริงแต่ละข้อที่ควรศึกษาให้มีความรู้
และควรทรงจำควรพิจารณาให้เข้าใจ เพื่อ
ให้เห็นจริงตามที่ทรงสั่งสอนนั้น หรือแม้ว่า
จะคิดค้านก็ต้องคิดพินิจพิจารณาแก้ แล้วก็จะพบ
ความจริง
อันธรรมที่แสดงความจริงของทุกๆ ข้อ หาพิจารณา
แล้วก็จะเห็นไปโดยลำดับ ว่าไม่มีใครจะแสดง
ได้จริงเหมือนพระพุทธเจ้าในทางทั้งหลาย เช่นว่า
ผู้ที่ศึกษาธรรมวิภาคในนวโกวาทตั้งแต่ทุกะหมวด ๒
หมวด ๒ คู่แรก มีธรรมมีอุปการะมาก ๒ อย่าง สติ
ความระลึกได้ และสัมปชัญญะ ความรู้ตัว
และต่อๆ ไป เมื่อฟังเผินๆ ก็จะไม่รู้สึกซาบซึ้ง
เท่าไรนัก แต่ถ้าหากว่าพินิจพิจารณาให้รู้จักว่าสติ
เป็นอย่างไร สัมปชัญญะเป็นอย่างไร
มีอุปการะมากอย่างไร ยิ่งเข้าใจก็จะยิ่งเห็นความจริง
และธรรมอื่นๆ ทุกข้อก็เช่นเดียวกัน
เมื่อยิ่งศึกษาคือฟังอ่านทรงจำพิจารณาให้เข้าใจ ก็
จะยิ่งซาบซึ้ง เพราะจะยิ่งเข้าใจและได้เห็นความจริง
ในทุกๆ ข้อ อันจะพึงค้านตามเหตุผลมิได้ เพราะฉะ
นั้นยิ่งศึกษาดังกล่าวก็ยิ่งจะพบความจริงตามเหตุ
และผล จะพบเหตุและผลตามความจริง
ซึ่งล้วนแต่เป็นเหตุผลในด้านชีวิต ในด้านพฤติกรรม
คือการปฏิบัติของตนเองของแต่ละคน ตลอดจนถึง
ความจริงตามเหตุและผลของจิตใจ
ของเจตนาของกรรม
ที่ประกอบกระทำทางกายวาจาทางใจของตนเอง
และในด้านอื่นๆ และเมื่อรวมเข้าโดยเหตุผล
ในทางกรรม
คือการที่กระทำทางกายทางวาจาทางใจของตนที่พระพุทธเจ้า
ได้ทรงสั่งสอนเอาไว้ ว่าทำกรรมดีได้รับผลดี
ทำกรรมชั่วได้รับผลชั่ว
ซึ่งฟังดูทีแรกก็รู้สึกว่าผิวเผิน ไม่ค่อย
จะรู้สึกรับรองเท่าไรนัก หรืออาจจะรู้สึกคัดค้าน
แต่หากว่าได้ตั้งใจพินิจพิจารณายิ่งๆ ขึ้นไปแล้ว
เมื่อยิ่งเข้าใจก็ยิ่งจะได้พบความจริง ว่าที่ตรัสสอนไว้
นั้นเป็นจริงตามเหตุและผล กรรมเป็นเหตุ ผลดี
หรือผลชั่วที่ได้รับเป็นผล ตลอดจนถึง
ความจริงที่เป็นอริยสัจ คือที่มิใช่สามัญสัจจะ
ความจริงที่เป็นสามัญทั่วไป แต่เป็น
ความจริงที่ละเอียดสุขุมยิ่งขึ้นไปกว่านั้น ซึ่งเป็น
ความจริงที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ดังแสดงไว้
ในปฐมเทศนา ว่าพระองค์ได้ตรัสรู้อริยสัจทั้ง ๔
คือทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ทางปฏิบัติให้ถึง
ความดับทุกข์ เมื่อได้ยิ่งพินิจพิจารณาให้มีความเข้าใจ
ก็ยิ่งจะเห็นความจริง เพราะฉะ
นั้นประการแรกของผู้ศึกษาพุทธศาสนาจึงเพื่อจะรู้
ความจริง เพื่อจะจับความจริงให้ได้ คือเพื่อความจริง
ความจริงที่จับได้หรือที่รู้นี้ มิใช่หมายความว่า
เป็นเพียงการฟังการอ่านและความจำ แต่หมาย
ความว่าต้องพินิจพิจารณาให้เข้าใจ เมื่อเข้าใจก็
จะเห็นจริง จึงต้องการให้รู้จริงให้เห็นจริงแม้แต่
ในข้อใดข้อหนึ่ง อันนี้เป็นหลักกำหนด
ให้รู้จักลักษณะพุทธศาสนาประการแรกของ
ผู้มุ่งศึกษาพุทธศาสนา จะเป็นพระเก่าพระใหม่ จะ
เป็นเณรเป็นอุบาสกอุบาสิกาก็ตาม ประการแรกนั้น
ต้องให้พบความจริง ให้เห็นจริง ให้รู้จริง แม้
ในธรรมข้อใดข้อหนึ่ง ซึ่งในข้อนี้ผู้ศึกษาจะต้องทำใจ
เป็นกลาง คือยังไม่คิดที่จะคัดค้าน ยังไม่คิดที่จะรับ
แต่ว่าตั้งใจฟังตั้งใจอ่านตั้งใจที่จะทรงจำ
แล้วก็ตั้งใจพิจารณาไปตามเหตุและผล ให้
เข้าใจถูกต้อง และเมื่อได้ความเข้าใจถูกต้องแล้วก็
จะเห็นจริง จะพบความจริงแม้ในข้อใดข้อหนึ่ง เช่นแม้
ในข้อทุกกะหมวด ๒ ที่ยกมานั้น ให้เข้าใจจริงๆ ว่าสติ
เป็นอย่างไร สัมปชัญญะเป็นอย่างไร
อุปการะมากอย่างไร ให้เห็นจริงให้เข้าใจจริงแม้
ในข้อใดข้อหนึ่ง ก็จะ
ได้พบลักษณะพุทธศาสนาประการแรก
๒. ความดี
มาถึงข้อที่ ๒ ความดี นี้เป็นข้อสำคัญ ความดีนั้น
เป็นคำที่ทุกคนก็ได้ยินกันมาและก็น่าจะมีความ
เข้าใจพอสมควร อย่างน้อยก็จะต้องเข้าใจว่าความดี
นั้นตรงกันข้ามกับความชั่ว และอะไรเป็น
ความดีอะไรเป็นความชั่วก็ได้ฟังอบรมกันมา ตั้งแต่
จากบิดามารดาครูบาอาจารย์ มาจนถึง
จากพระพุทธเจ้า คือที่พระเทศน์พระสอนต่างๆ และ
ความดีความชั่วนี้ก็รู้กันอยู่ ว่าเกิดจาก
ความประพฤติของบุคคลทุกๆ คนนี้เอง ความดีก็เกิด
จากทำดี ความชั่วก็เกิดจากทำชั่ว เมื่อทำดีก็ได้ความดี
ทำชั่วก็ได้ความชั่ว เพราะฉะนั้นประการต่อมา
จากข้อ ๑ คือความจริง จึงมาถึงความดี ที่เมื่อได้ศึกษา
ให้รู้จักความจริงแล้ว ก็ต้องศึกษาให้รู้จัก
ความดีอันตรงกันข้ามกับความชั่ว ความดีอันตรง
กันข้ามกับความชั่วนี้ก็สืบเนื่องมาจากความจริงข้อแรก
นั้นแหละ เพราะเป็นข้อที่พุทธศาสนาได้สอนไว้ทั้งนั้น
ว่าอะไรเป็นความดีอะไรเป็นความชั่ว เพราะฉะ
นั้นเมื่อได้ศึกษาให้รู้จักความจริง
กล่าวจำเพาะที่สัมพันธ์กับความดีความชั่ว ก็คือ
ความจริงของความดีและความจริงของความชั่ว
พูดสั้นๆ ก็คือให้รู้จักว่าอะไรเป็นความดีจริงอะไร
เป็นความชั่วจริง เพราะฉะนั้นจึงมาถึงว่าจะ
ต้องปฏิบัติละความชั่ว กระทำความดีต้องทำความ
เข้าใจในความดี ว่าคือคุณที่เกื้อกูลตนเองและผู้อื่นให้
เป็นสุขต่างๆ ให้ได้รับสุขประโยชน์ต่างๆ
ความชั่วก็คือโทษที่ทำให้ตนเองและผู้อื่น
ได้รับทุกข์โทษต่างๆ ความชั่วเป็นข้อที่ควรละ
ความดีเป็นข้อที่ควรกระทำ เพราะฉะนั้นจึง
ต้องปฏิบัติละชั่วทำดี จับความดีให้ได้ แต่การจับ
ความดีให้ได้นี้ต้องหมายถึงว่าทำดี
อันที่จริงละชั่วก็นับว่าเป็นดีอย่างหนึ่งแต่ว่าจะ
ต้องทำดีที่เป็นคุณเกื้อกูลยิ่งขึ้นไปอีก ยกตัวอย่างง่ายๆ
เช่นว่า การฆ่า การทำร้ายร่างกาย การเบียดเบียน
เขาให้เป็นทุกข์เดือดร้อน เบียดเบียนชีวิต
เบียดเบียนร่างกาย นั่นเป็นชั่ว ก็ละชั่ว คือแปลว่าเว้น
จากการที่
จะเบียดเบียนทำร้ายชีวิตร่างกายของใคร เมตตา
ความมีจิตปรารถนาให้เป็นสุข และ
ความประพฤติที่เกื้อกูลอนุเคราะห์ต่างๆ แก่เขา
คือแก่บุคคลและสัตว์นั้นๆ เพื่อให้ดำรงชีวิตร่างกาย
อยู่อย่างเป็นสุข เป็นความดี เพราะฉะนั้นจึงต้องศึกษา
ให้รู้จักความดีอันตรงกันข้ามกับความชั่ว สืบเนื่องมา
จากความจริง คือตั้งต้น
จากศึกษาว่าอะไรดีจริงอะไรชั่วจริง
แล้วก็ตั้งใจละชั่วทำดีจริง ต้องจับเอาความดีให้ได้
ในวันหนึ่งๆ ก็ต้องพิจารณาตัวเอง ว่าเราได้ละ
ความชั่วทำความดีอะไรบ้าง หรือแม้ว่าได้ทำ
ความชั่วอะไรบ้างทำความดีอะไรบ้างก็ให้รู้
แล้วก็ตั้งใจละไม่ทำความชั่วอีกต่อไป ฝึกตัว
อยู่เสมอดั่งนี้ หัดให้ละชั่วทำดีอยู่เสมอ ให้รู้จักความดี
ให้รู้จักความชั่ว ให้รู้จักละชั่ว ให้รู้จักทำดี
ในด้านต่างๆ ทั้งทางกายทั้งทางวาจาทั้งทางใจ นี้
เป็นข้อที่ ๒ คือความดี
๓. ความงาม
จึงมาถึงข้อที่ ๓ คือความงาม อันความงามนี้
เป็นข้อที่ละเอียดอ่อนสักหน่อยหนึ่ง แต่ว่าถ้าทำความ
เข้าใจให้ดีแล้ว จะเห็นว่าเป็นข้อสำคัญ
ไม่ยิ่งหย่อนกว่าข้อความจริง และข้อความดี
อันสิ่งที่งามซึ่งเป็นวัตถุย่อมเป็นที่พอใจของชาวโลก
ทั้งหลายของคนทั้งหลาย เพราะฉะนั้นจึงพอใจที่
จะตกแต่งร่างกายกันให้สวยงาม พอใจที่
จะหาเครื่องประดับที่สวยงามมีค่ามาตกแต่ง
บ้านเมืองก็ต้องการที่จะปลูกสร้างกัน
ให้สวยงามเรียบร้อย และอันความสวยงาม
หรือเรียกสั้นๆ ว่าความงามนี้ก็มิใช่หมาย
ถึงเครื่องตกแต่งมีค่าเท่านั้น แต่ย่อมหมายความถึง
ความเป็นระเบียบเรียบร้อยต่างๆ รวมอยู่ด้วย
เช่นการจะตั้งวางสิ่งของในห้องในหับก็ตั้งวางให้
เป็นระเบียบเรียบร้อย การที่จะนุ่งจะห่มก็ให้
เป็นระเบียบเรียบร้อย การที่จะลุกนอนก็ให้
เป็นระเบียบเรียบร้อย วาจาที่พูดก็ให้
เป็นระเบียบเรียบร้อย เหล่านี้เป็นความงามทั้งนั้น
แม้สิ่งที่เรียกว่าศิลปะ วิธีที่จะทำให้
เป็นระเบียบเรียบร้อยเรียกว่าเป็น
ความงามอย่างหนึ่งนั้นก็เป็นศิลปะอย่างหนึ่ง
ดังเช่นพระพุทธเจ้าได้ตรัสสั่งพระอานนท์
ให้ทำแบบอย่างจีวรสำหรับพระห่ม โดยที่เดิม
นั้นพระองค์ได้ทรงบัญญัติให้ตัดผ้าเป็นชิ้นๆ มาเย็บต่อ
กันเข้า คล้ายผ้าผืนเดียว ถ้าใช้ผ้าผืนเดียวมัก
จะถูกขโมย เพราะว่าเขามักจะขโมยไปตัด
เป็นเสื้อผ้าสำหรับสวมของเขาได้ หรือเอาไปนุ่งห่มได้
ทั้งที่เป็นผืนอย่างนั้น เปลี่ยนสีเสียใหม่ หรือซักสีที่
เป็นผ้ากาสายะหรือกาสาวะผ้าย้อมน้ำฝาดออกเสีย
เพราะฉะนั้นจึงได้โปรดให้ใช้ผ้าตัดเป็นชิ้นๆ
เอามาเย็บต่อกันเข้าเพื่อกันขโมย ถ้าขโมยเอาไปก็เอาไป
ใช้นุ่งห่มไม่ได้ แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องการให้เกิด
ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ท่านพระอานนท์จึง
ได้คิดแบบจีวรขึ้นแบบคันนาของชาวมคธ ซึ่งเมื่อ
เขาทำนาเขาทำเป็นคันนา เป็นกระทงเล็กเป็นกระทง
ใหญ่ จึงมาออกแบบตัดเป็นแบบจีวรเป็นกระทงๆ
เป็นกระทงเล็กกระทงใหญ่อย่าง
เป็นระเบียบเรียบร้อย มิได้นำเอามาตัดเป็นชิ้น
เล็กชิ้นน้อย แล้วเอามาเย็บต่อกันเข้าอย่าง
ไม่มีระเบียบ แต่ว่าทำอย่างมีระเบียบก็ดูเป็นของงาม
คืองามด้วยความมีระเบียบเรียบร้อย พระพุทธเจ้า
ได้ตรัสสรรเสริญพระอานนท์ ว่าเป็นผู้ที่มีศิลปะ
ดั่งนี้ก็เป็นความงาม
แม้ที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติพระวินัยขึ้นนั้นก็เป็น
ความงามเหมือนกัน เพราะเมื่อภิกษุผู้อยู่รวมกัน
เป็นหมู่ได้มีความประพฤติปฏิบัติเรียบร้อยอยู่
ในระเบียบอันเดียวกัน และเป็นระเบียบที่ดี ก็ดู
เป็นหมู่ที่เรียบร้อยงดงามน่าเลื่อมใส นี่ก็เป็น
ความงาม เพราะฉะนั้นคำว่า ความงามนั้นจึงกิน
ความกว้าง มิได้หมายถึงตกแต่ง
ให้สวยสดงดงามดั่งแต่งร่างกายด้วยเสื้อผ้า
ด้วยเครื่องประดับอันมีค่าต่างๆ ที่สวยงาม
บางทีเราก็เรียกกันนั่นเป็นความสวย แต่ความงามนั้นมี
ความลึกซึ้งกว่า และแม้ในทางพุทธศาสนาก็ต้องทำ
ความงาม เพราะฉะนั้นในข้อว่าความงามนี้ จึงมี
ความหมายถึงว่าความนิยมชมชอบ หรือว่าเป็นสิ่งหรือ
เป็นข้อที่พึงนิยมชมชอบ พึงพอใจชอบใจ พึงเลื่อมใส
และก็มีความหมายสืบเนื่องมาจากความดี
ก็คือนิยมชมชอบในความดี เห็นความดีว่าเป็นของงามทำ
ให้เป็นสุข ใจเห็นว่างามนิยมชมชอบ เพราะฉะนั้นจึง
ได้มีพุทธศาสนสุภาษิตที่แสดงว่า ศีล
เป็นอาภรณ์ที่ประเสริฐสุด ผู้ที่ได้เห็นงามในศีล
ว่าศีลเหมือนอย่าง
เป็นอาภรณ์เครื่องประดับอันประเสริฐสุด ชื่อว่า
เป็นผู้ที่เข้าถึงศีลจริงๆ ทำให้พอใจที่จะปฏิบัติอยู่
ในศีลเป็นประจำขาดไม่ได้ และมีความสุขที่จะอยู่
กับศีล อันนี้สำคัญ คนโดยมากนั้นรู้จักความดีกันอยู่
รู้จักความชั่วกันอยู่ แต่ว่าไม่เห็นงามในความดี
แต่ไปเห็นงามในความชั่ว จึงละชั่วทำดีไม่ได้ถนัด
ต่อเมื่อเห็นสกปรกในความชั่ว และเห็นงามในความดี
จึงจะทำให้ปฏิบัติความดีกันยิ่งขึ้น พอใจที่จะอยู่กับ
ความดี อันนี้สำคัญ
เพราะฉะนั้นต้องเข้าให้ถึงความงามของพุทธศาสนา
คือข้อที่ ๓ นี้ จึงจะน้อมใจให้ละชั่วทำดีเห็นงามใน
ความดี และปฏิบัติในความดี เพราะฉะนั้นจึง
ได้มีหมวดธรรมอันส่องให้เห็นความงามในพุทธศาสนา
อยู่มาก ตั้งต้นแต่พระรัตนตรัย
รัตนะก็คือแก้วรัตนะ เป็นสิ่งที่งดงามเป็นสิ่งที่มีค่ามาก
เพราะฉะนั้นพูดกันเรื่อยๆ ว่าพระไตรรัตน์
หรือพระรัตนตรัย แต่ว่าใจไม่ถึงฟังดูก็เผินๆ แต่
ถ้าใจถึงแล้ว ก็จะเห็นพระพุทธเจ้างาม
พระธรรมงาม พระสงฆ์งาม อันแสดงถึง
ความมีศรัทธา ความเชื่อ ปสาทะ ความเลื่อมใส
ตลอดถึงปัญญา
ในพระพุทธคุณพระธรรมคุณพระสังฆคุณที่ซาบซึ้ง
จนถึงนิยมชมชอบอย่างสูง ยกย่องขึ้นเป็นของสุดงาม คือ
เป็นรัตนะอันเป็นของมีค่ายิ่ง ในทุกะหมวด ๒
ก็มีธรรมที่ทำให้งาม ๒ อย่าง ขันติ โสรัจจะ
ต้องเห็นว่าขันติงาม โสรัจจะงาม จึงจะน้อมใจปฏิบัติ
ในขันติโสรัจจะ และจะทำให้ทิ้งขันติทิ้งโสรัจจะไม่
ได้ ปล่อยตัวเองไปกระโดดโลดเต้น
ด้วยอำนาจของโลภะโทสะโมหะไม่ได้ ไม่งาม
ต้องอดทนเอาไว้ สงบเสงี่ยมเอาไว้ เพราะนี่งามกว่า
เพราะเป็นสิ่งที่งามจริงๆ ธรรมที่สูงกว่า
นั้นก็เช่นว่าโพชฌงค์ ๗ ก็มียกย่องเรียกเป็นรัตนะทั้ง ๗
เหมือนกัน สติสัมโพชฌังครัตนะ เป็นต้น
ก็แปลว่าจิตใจถึงงาม หรือเช่นที่สวดสรรเสริญว่า
พระธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งาม
ในที่สุด ใจต้องถึงพระธรรม เมื่อใจถึงพระธรรม
จะไม่เบื่อที่จะฟังธรรม ไม่เบื่อที่จะปฏิบัติธรรม
ธรรมจะเป็นสิ่งที่งดงามที่ไพเราะ อยากที่
จะฟังอยากที่จะอ่าน ได้ฟังธรรมได้อ่านธรรม
แล้วมีความเพลิดเพลินมีความสุข นี่แปลว่าใจ
ถึงเห็นงามในพระธรรม งามในเบื้องต้น งาม
ในท่ามกลาง งามในที่สุด และพอใจที่
จะปฏิบัติธรรมเห็นงามในการปฏิบัติธรรม
เพราะฉะนั้นต้องศึกษาให้รู้จักความจริง รู้จัก
ความดี รู้จักความงามอันเป็นข้อที่ ๓ จึงจะ
ถึงพุทธศาสนาดังที่กล่าวมาโดยย่อ
--------------------------------------------------------------
หมายเหตุ
บทความนี้เป็นธรรมกถาจากจำนวนทั้งสิ้น ๓๖ ครั้ง
ที่เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ
สุวฑฺฒโน)
บรรยายแก่พระนวกภิกษุวัดบวรนิเวศวิหาร
ในพรรษากาล ๒๕๒๖ มหามกุฏราชวิทยาลัย
ในพระบรมราชูถัมภ์ จัดพิมพ์เนื่อง
ในงานบำเพ็ญกุศลชนมายุครบ ๖ รอบ ของ
สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) ในวันที่ ๓
ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๒๘


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2014, 21:50 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ครั้งที่ ๕ ลักษณะพุทธศาสนา (๒)
ลักษณะพุทธศาสนา
ธรรมบรรยายของสมเด็จพระญาณสังวร
ในการอบรมนวกภิกษุพรรษา ๒๕๒๖
ณ สว.ธรรมนิเวศ วัดบวรนิเวศวิหาร
--------------------------------------------------------------
จะแสดงลักษณะพุทธศาสนา พุทธศาสนานั้น
เป็นศาสนาที่บังเกิดขึ้นเมื่อ ๒๕๐๐ ปีเศษ และก็
ได้บังเกิดขึ้นหลังจากที่ได้มีศาสนาอื่นๆ สั่งสอนมา
แล้ว เช่นศาสนาพราหมณ์ ซึ่งบัดนี้มักจะเรียก
กันว่าฮินดู และหลังจากพุทธศาสนาบังเกิดขึ้น ก็
ได้มีศาสนาต่างๆ บังเกิดตามขึ้น
ในภายหลังอีกหลายศาสนา เช่นศาสนาคริสต์
ศาสนาอิสลาม และยังมีลัทธิคำสอนต่างๆ
ของบุคคลซึ่งเป็นที่นับถือกัน ในเมืองจีนก็เช่นขงจื้อ
เป็นต้น และในประเทศอื่นก็ยังมีอีก ซึ่งไม่ถึงกับ
เป็นศาสนา เพราะฉะนั้นจึงมีคำสั่งสอนของศาสนาต่างๆ
ในโลก ซึ่งมักจะแตกต่างกัน แม้ว่าในด้านสอน
ให้ทำดีทำชั่วทั่วๆ ไป คือสอนให้รู้จักความดีความชั่ว
รู้จักการทำดีทำชั่ว ทั่วไปคือให้ละชั่วทำดี อะไร
เป็นดีอะไรเป็นชั่ว ก็ยังมีแสดงต่างๆ กัน และนอก
จากนี้ก็ยังมีแสดงถึงอดีตถึงอนาคตและปัจจุบันต่างๆ
อันอีก เมื่อมาพิจารณาดูในแง่ของสัจจะคือความจริง
เมื่อเป็นสิ่งเดียวกัน แต่ว่าแสดงถึงสิ่งนั้นๆ ต่างกัน ก็น่า
จะคิดว่าความจริงเป็นอย่างไร เพราะว่าความจริง
นั้นถ้าเป็นสิ่งเดียว ก็ควรจะเป็น
ความจริงแต่เพียงสิ่งเดียว คือมี
ความจริงเพียงอย่างเดียวในสิ่งนั้น ฉะนั้นจึงจะ
ต้องมีแสดงผิดแสดงถูก ใครจะแสดงผิดใคร
จะแสดงถูก เมื่อเป็นเรื่องอดีตเป็นเรื่องอนาคต ก็
เป็นเรื่องที่เมื่อต่างมีความเชื่อถือกันหลายฝ่าย การ
จะกล่าวหักล้างกันลงไปว่าใครผิดใครถูก แม้ว่า
จะมีใครรู้จริงและกล่าวได้ก็ตาม ก็ย่อม
เป็นที่ตั้งแห่งความทะเลาะวิวาทบาดหมางกัน แม้ที่
เป็นปัจจุบันเองที่แสดงต่างกันก็เช่นเดียวกัน แต่ว่าที่
เป็นปัจจุบันนั้น ทุกคนสามารถที่จะรู้ได้ถ้าสิ่งนั้นอยู่
ในวิสัยของปัญญาที่จะถึงรู้ได้ ถ้า
เป็นปัจจุบันที่พ้นวิสัยของปัญญาที่จะพึงรู้ได้
ผู้ที่อ่อนปัญญานั้นก็จะรู้ไม่ได้ ฉะนั้นจึงควรจะทราบ
ถึงลักษณะของพุทธศาสนาว่าแสดงอย่างไร
ในท่ามกลางของสิ่งที่เป็นปัญหาเหล่านี้
ไม่ทรงพยากรณ์ปัญหาโลกแตก
เพราะฉะนั้นจึงได้มีปัญหาอยู่ ๒ อย่าง
อย่างหนึ่งคือปัญหาที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงพยากรณ์
คือไม่ตรัสตอบแก้
อีกอย่างหนึ่งคือปัญหาที่พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์
คือตรัสตอบแก้ ปัญหาที่พระพุทธเจ้า
ไม่ทรงพยากรณ์นั้น คือเป็นปัญหาที่ถกเถียงกัน
ในครั้งพุทธกาลที่มีอยู่ ๑๐ ข้อ ที่มักจะยกขึ้นอ้างถึง
ในพระสูตรทั้งหลาย ปัญหา ๑๐ ข้อเหล่านี้คือ
โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด
ชีวะก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ชีวะเป็นอย่างอื่น สรีระ
เป็นอย่างอื่น ถัดจากตายไปตถาคตมีอยู่ ถัด
จากตายไปตถาคตไม่มี ถัดจากตายไปตถาคตมีด้วยไม่มี
ด้วย ถัดจากตายไปตถาคตมีก็ไม่ใช่ไม่มีก็ไม่ใช่
ปัญหาเหล่านี้ได้มีผู้มากราบทูลถามพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าไม่ตรัสพยากรณ์ คือไม่ตรัสตอบแก้
ในปัญหาที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงพยากรณ์ทั้ง ๑๐
ประการนี้ พิจารณาดูความก็จะเห็นได้ ว่า
เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับโลก โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง
โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด คือโลกนี้ยั่งยืน
อยู่ตลอดไปหรือไม่ยั่งยืนอยู่ตลอดไป มีที่สุดหรือ
ไม่มีที่สุด ก็สืบมาจากยั่งยืนหรือไม่ยั่งยืนดังกล่าวนั้น
ซึ่งได้มีอาจารย์หรือมีศาสดาแสดงไว้ต่างๆ กัน ดั่ง
ในศาสนาที่บังเกิดขึ้นภายหลังพุทธกาลก็ดี
ก่อนพุทธกาลก็ดี ได้มีแสดงถึงผู้สร้างโลก
พราหมณ์หรือฮินดูก็มีแสดงถึงผู้สร้างโลก
ศาสนาที่มีในภายหลังก็มีแสดงถึงผู้สร้างโลก ก็
เป็นปัญหาเค้าเดียวกัน เรื่องชีวะ
กับเรื่องสรีระก็เหมือนกัน ชีวะนั้นก็คือความเป็นอยู่
หรือตัวชีวิต สรีระนั้นก็คือร่างกาย ตัวชีวะ
หรือชีวิตหรือตัวร่างกายนั้นเป็นอันเดียวกัน
หรือว่าแยกกันอย่างไร ถ้าหากชีวะหรือสรีระ
เป็นอย่างเดียวกัน สรีระแตกสลายคือตาย ชีวะก็จะ
ต้องดับ ถ้าหากว่าแยกกัน สรีระแตกสลาย ชีวะก็อาจ
จะไม่ดับ และชีวะหรือชีวิตนี้ก็รวมถึงอัตตา
หรืออัตมัน อันเป็นปัญหาที่เกี่ยวพันไป
ถึงตายเกิดตายสูญ
คราวนี้มาถึงปัญหาของตถาคต ตถาคตนั้นที่ใช้
ทั่วไปก็หมายถึงพระพุทธเจ้าเอง
ซึ่งตรัสเรียกพระองค์เองว่าตถาคต ถ้าหมาย
ถึงองค์พระพุทธเจ้าเองก็มีปัญหา ว่าถัด
จากที่ตายไปคือดับขันธ์องค์ตถาคตมีหรือไม่มี หรือ
ทั้งมีทั้งไม่มี หรือว่ามีก็ไม่ใช่ไม่มีก็ไม่ใช่
อีกอย่างหนึ่งตถาคตพระอาจารย์แสดงว่าหมาย
ถึงสัตว์ ดังที่เราเรียกว่าสัตวโลกหรือหมู่สัตว์
และคำว่าสัตว์นี้ก็มิได้หมาย
ความว่าสัตว์เดียรัจฉานดังที่เราเรียกกันเท่านั้น
แต่ว่าครอบหมดทั้งมนุษย์ทั้งเดียรัจฉาน
ทั้งเทพดามารพรหมทั้งหมด
หรือแม้ว่าสัตว์นรกเปรตอสุรกายทั้งหมด ซึ่งยังมี
ความติดพันเกี่ยวข้องอยู่กับโลกก็ชื่อว่าสัตว์ทั้งหมด
สิ่งที่เรียกว่าสัตว์นี้ถัดจากตายไปจะมีหรือไม่มี
หรือว่าทั้งมีทั้งไม่มี หรือว่ามีก็ไม่ใช่ไม่มีก็ไม่ใช่ ก็
เป็นปัญหาที่พูดถกเถียงกัน ได้มีผู้มากราบทูลถาม
ถึงปัญหาเหล่านี้ พระองค์ไม่ตรัสพยากรณ์ และก็
ได้มีภิกษุรูปหนึ่งชื่อว่ามาลุงกยะได้คิดว่า
ข้อที่พระพุทธเจ้า
ไม่ตรัสพยากรณ์ปัญหาเหล่านี้ตนเองไม่พอใจ ฉะ
นั้นก็คิดจะเข้าไปเฝ้ากราบทูลถามและคิดว่า
ถ้าตรัสพยากรณ์ตนก็จะบวชอยู่ต่อไป ถ้า
ไม่ตรัสพยากรณ์ก็จะลาสิกขา ท่านมาลุงกยะจึงได้
เข้าไปเฝ้าและได้กราบทูลถามปัญหาเหล่านี้
และก็ได้กราบทูลว่า ขอให้พระองค์ตรัสตอบ
ถ้าทรงทราบก็ให้ตรัสตอบแก้ ถ้าไม่ทรงทราบก็
ให้ตรัสบอกตรงๆ ว่าไม่ทรงรู้ ไม่ทรงเห็น ถ้า
ไม่ตรัสตอบแก้อย่างใดอย่างหนึ่งก็
จะลาสิกขาคือสึกไป พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า
พระองค์มิได้ทรงชักชวนให้ท่านมาลุงกยะเข้ามาบวช
ว่าถ้าเข้ามาบวชแล้วจะตรัสพยากรณ์ปัญหาเหล่านี้
และเมื่อท่านมาลุงกยะเข้ามาบวช
ท่านมาลุงกยะเองก็มิได้ขอ
ให้พระองค์ทรงรับรองว่า
จะตรัสแก้ปัญหาเหล่านี้ ตนจึงจะบวช เพราะฉะ
นั้นใครเล่าที่เป็นผู้ขอร้องและเป็นผู้รับรอง
ในเรื่องนี้ และจะไปทวงเอาเรื่องนี้จากใครเล่า
พระพุทธเจ้าได้ตรัสต่อไป ว่าปัญหาที่พระองค์
ไม่ทรงพยากรณ์เหล่านี้ ก็เป็นปัญหาที่
ไม่พึงทรงพยากรณ์นั่นเอง ผู้ที่จะคิดคาดคั้น
ให้พระองค์ทรงพยากรณ์ก็จะตายเปล่า ไม่
เป็นประโยชน์อะไร
ทรงพยากรณ์เรื่องทุกข์และการแก้ทุกข์
ต่อจากนั้นพระองค์ก็ตรัสต่อไป โดยตรัสแสดง
ถึงปัญหาที่จะทรงพยากรณ์แก้ไข โดย
ความก็คือเรื่องทุกข์และเรื่องแก้ทุกข์เป็นต้น ซึ่ง
เป็นไปอยู่ในปัจจุบัน อันเป็นปัญหาที่จะพึงแก้ไข
ในปัจจุบัน โดยตรัสยกเป็นข้ออุปมาขึ้นก่อน
ว่าเหมือนอย่างว่ามีบุรุษถูกยิง
ด้วยลูกศรที่มีพิษร้ายญาติมิตรได้นำบุรุษที่ถูกยิง
นั้นไปหาหมอผ่าตัด ถ้าหากว่าหมอผ่าตัดนั้น
จะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราจักยัง
ไม่ผ่าตัดนำลูกศรนี้ออกเยียวยารักษา จนกว่าเรา
จะรู้ว่าบุรุษนั้นถูกใครยิง คนยิงนั้นเป็นใคร คนยิง
นั้นชื่ออะไร โคตรสกุลอะไร คนยิงนั้นเป็นคนสูง
เป็นคนต่ำ หรือเป็นคนท่ามกลาง คนยิงนั้นมีผิวดำ
หรือผิวคล้ำหรือผิวสองสี และคนยิงนั้นอยู่ที่ไหน
บ้านไหน นิคมไหน นครไหน และลูกศรที่ยิง
นั้นเล่าเป็นแบบลูกศรมีแล่งหรือ
เป็นแบบเกาทัณฑ์ สายที่ใช้ยิงเป็นสายที่ทำด้วยอะไร
เหล่านี้เป็นต้น ถ้าหากว่าหมอผ่าตัดนั้นจะพึงกล่าวดั่งนี้
ให้สอบสวนค้นคว้าไปถึงเรื่องคนยิงถึงเรื่องลูกศร
เป็นต้นดังกล่าวนั้น บุรุษผู้ถูกยิงด้วยลูกศรนั้นก็
จะพึงตายเสียก่อนที่จะรักษา เพราะฉะนั้นพระองค์จึง
ไม่ทรงพยากรณ์ปัญหาที่ไม่พึงพยากรณ์เหล่านี้
แต่ว่าพระองค์
จะตรัสพยากรณ์ปัญหาที่พึงพยากรณ์อันจะ
เป็นปัญหาที่แก้ทุกข์ถอนทุกข์ทั้งปวงได้ในปัจจุบัน
คือชาติทุกข์ ชราทุกข์ มรณทุกข์ ทุกข์คือโศกะ
ความแห้งใจ ปริเทวะ ความคร่ำครวญรัญจวนใจ
ความไม่สบายกายไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ และ
ในปัญหาที่ไม่ทรงพยากรณ์เหล่านั้น แม้ว่าใครจะมี
ความเห็นอย่างไรในปัญหาเหล่านั้น คือใครจะมี
ความเห็นว่าโลกเที่ยงก็ตาม โลกไม่เที่ยงก็ตาม
ก็คงมีชาติทุกข์ ชราทุกข์ มรณทุกข์ โสกะ ปริเทวะ
ดังกล่าวนั้นอยู่นั่นเอง จะมี
ความเห็นอย่างไรก็ถอนทุกข์เหล่านี้ไม่ได้ พระองค์
จึงต้องการที่จะแก้ปัญหาที่จะถอนทุกข์เหล่านี้ได้
ในปัจจุบันนี่แหละ ฉะนั้นปัญหาที่
ไม่ทรงพยากรณ์เหล่านั้นจึงเป็นปัญหาที่
ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่
เป็นเบื้องต้นของพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปเพื่อ
ความหน่ายความสิ้นติดใจยินดี เพื่อความดับทุกข์ เพื่อ
ความสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อ
ความตรัสรู้พร้อม เพื่อนิพพานคือความดับ
แต่ว่าปัญหาที่ทรงพยากรณ์อันจะเป็นเครื่องแก้ทุกข์
ในปัจจุบันนั้น ย่อมเป็นการแก้ที่ประกอบ
ด้วยประโยชน์ที่เป็นเบื้องต้นของพรหมจรรย์ ที่
เป็นไปเพื่อความหน่าย เป็นไปเพื่อความสิ้นติดใจยินดี
เพื่อความดับ เพื่อความสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อ
ความรู้พร้อม เพื่อนิพพานคือความดับ
ปัญหาที่ทรงพยากรณ์
นั้นก็คือปัญหาที่ทรงพยากรณ์ว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย
เหตุเกิดทุกข์ นี้ทุกขนิโรธ ความดับทุกข์
นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
ดั่งนี้
ทรงแสดงปัจจุบันธรรม
ท่านมาลุงกยะได้ฟังพระพุทธภาษิต ก็มี
ความอภินันท์ยินดีในภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็
เป็นอันว่าท่านก็พอใจในพระพุทธภาษิตที่ตรัสนี้
เพราะฉะนั้นพระสูตรนี้จึง
เป็นพระสูตรที่แสดงลักษณะของพุทธศาสนา
ว่าพุทธศาสนานั้นไม่แสดงถึงเรื่องต่างๆ อันเป็นปัญหาที่
ไม่ตรัสพยากรณ์ และปัญหาที่
ไม่ตรัสพยากรณ์นี้ก็กล่าวได้ว่าเป็นปัญหาโลกแตก
ถึงจะตรัสพยากรณ์ไปก็ไม่มีใครที่จะไปตามรู้ได้
เช่นปัญหาว่าโลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด
โลกไม่มีที่สุด ถึงแม้จะตรัสพยากรณ์ว่าอย่างไร
ดังที่มีศาสดาหรือศาสนาก่อนพุทธศาสนาก็ตาม
หลังก็ตาม ได้กล่าวเอาไว้ถึงเรื่องสร้างโลกต่างๆ
ก็ไม่มีใครที่จะตามไปรู้ได้ ได้อย่างเดียวคือเชื่อหรือ
ไม่เชื่อเท่านั้น และก็เป็นความเชื่อที่ไม่ประกอบ
ด้วยปัญญาคือความรู้ เชื่ออย่างเดียว
จะเรียกว่าเชื่ออย่างหลับตาเชื่อก็ได้เพราะไม่รู้ เชื่อ
ด้วยศรัทธาในศาสดาผู้แสดงนั้นอย่างเดียวเท่านั้น
หรือไม่เช่นนั้นก็ไม่เชื่อเอาทีเดียว เพราะว่าไม่
สามารถจะตามไปรู้ได้ และแม้ว่าจะเชื่อหรือ
ไม่เชื่อก็ตาม ก็ไม่อาจจะแก้ทุกข์อะไรได้ที่
เป็นปัจจุบันดังกล่าว ก็คงยังมีความทุกข์อยู่นั่นเอง
แก้อะไรไม่ได้ และหากทรงแสดงไปก็อาจจะ
เป็นที่ตั้งแห่งความวิวาทขัดแย้งแก่บรรดาผู้แสดงอื่นๆ
ที่ต่างก็แสดงกันไปต่างๆ และก็ไม่ได้ประโยชน์อะไร
ยิ่งเพิ่มความทุกข์เข้าไปอีกเพราะความวิวาทขัดแย้งนั้น
เพราะฉะนั้นพระองค์จึงได้ตัดประเด็นเสียทีเดียว คือ
ไม่แสดงไม่แก้ไขการที่ไม่แสดงนั้นก็มีความหมายว่าไม่
เข้าไปพาดพิงเกี่ยวข้องถึงทั้งในด้านรับรองทั้ง
ในด้านปฏิเสธแปลว่านอกเรื่องที่
จะยกขึ้นมาวินิจฉัยว่าอย่างไร เพราะว่า
ในปัจจุบันนี้ทุกๆ คนต่างก็เพียบกันด้วยความทุกข์ต่างๆ
อยู่แล้ว มีชาติทุกข์ ชราทุกข์ มรณทุกข์ มีโสกะ
ความโศก ปริเทวะ
ความคร่ำครวญรำพันรัญจวนใจ ทุกขะ ความ
ไม่สบายกาย โทมนัสสะ ความไม่สบายใจ อุปายาส
ความคับแค้นใจ ความประจวบกับสัตว์และสังขารที่
ไม่เป็นที่รัก ความพลัดพรากจากสัตว์
และสังขารที่เป็นที่รัก ความปรารถนาไม่สมหวัง
และกล่าวโดยย่อขันธ์เป็นที่ยึดถือทั้ง ๕ ประการ
เป็นทุกข์ ดังที่เราสวดกันอยู่ ต่างก็มีทุกข์กัน
อยู่เต็มแปร้แล้วในปัจจุบัน จึงเหมือนอย่างว่าทุกคน
เป็นบุรุษถูกยิงด้วยลูกศร ถูกลูกศรเสียบใจกัน
อยู่เสียบกายกันอยู่
เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้า
ซึ่งเปรียบเหมือนอย่างหมอที่ผ่าตัดลูกศร
พระองค์ก็มีหน้าที่ที่จะผ่าตัดเอาลูกศรออกโดยเร็ว
เพื่อให้ดับทุกข์อันเกิดจากลูกศรเสียบแทงนั้นได้
ไม่จำเป็นจะต้องเสียเวลาไปสอบค้นว่าใครยิง
คนยิงชื่ออะไรเป็นต้น หรือว่าลูกศรที่ยิงนั้นทำ
ด้วยอะไร สายธนูนั้นทำด้วยอะไร เหล่านี้เป็นต้น
เป็นการเสียเวลาและไม่เกิดประโยชน์อะไร
หน้าที่ของพระองค์ก็คือผ่าตัดเอาลูกศรออก
เพราะฉะนั้นจึงได้ทรงแสดงธรรม
เป็นการผ่าตัดลูกศร ชี้ให้เห็นทุกข์ เหตุเกิดทุกข์
ความดับทุกข์ และทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
คำสั่งสอนที่ทรงพยากรณ์นี้ก็คืออริยสัจจ์ทั้ง ๔ ซึ่ง
เป็นปัจจุบันธรรม ธรรมที่เป็นปัจจุบัน
๙ สิงหาคม ๒๕๒๖
--------------------------------------------------------------
หมายเหตุ
บทความนี้เป็นธรรมกถาจากจำนวนทั้งสิ้น ๓๖ ครั้ง
ที่เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ
สุวฑฺฒโน)
บรรยายแก่พระนวกภิกษุวัดบวรนิเวศวิหาร
ในพรรษากาล ๒๕๒๖ มหามกุฏราชวิทยาลัย
ในพระบรมราชูถัมภ์ จัดพิมพ์เนื่อง
ในงานบำเพ็ญกุศลชนมายุครบ ๖ รอบ ของ
สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) ในวันที่ ๓
ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๒๘


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2014, 22:33 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ครั้งที่ ๖ ลักษณะพุทธศาสนา - อริยสัจ
ลักษณะพุทธศาสนา
ธรรมบรรยายของสมเด็จพระญาณสังวร
ในการอบรมนวกภิกษุพรรษา ๒๕๒๖
ณ สว.ธรรมนิเวศ วัดบวรนิเวศวิหาร
--------------------------------------------------------------
ว่าถึงอริยสัจ ๔ ก็มีข้อที่จะพึงพูดต่อไป แต่เพื่อให้มี
ความอนุสนธิ คือว่าต่อเนื่องกันจึงจะ
ได้ทบทวนข้อที่พูดมาแล้วสักเล็กน้อยว่า
พระพุทธเจ้าไม่ทรงพยากรณ์ปัญหาที่ไม่ควรหรือ
ไม่พึงพยากรณ์
ทรงพยากรณ์แต่ปัญหาที่ควรพยากรณ์
คำว่าพยากรณ์นั้น เดี๋ยวนี้ภาษาไทยก็นำมาใช้เหมือนกัน
เช่นหมอดูพยากรณ์ว่าอย่างนั้นว่าอย่างนี้ แต่ที่นำมา
ใช้สำหรับพระพุทธเจ้าในที่นี้ไม่ใช่หมาย
ความว่าพระพุทธเจ้าเป็นหมอดู
แต่พยากรณ์ของพระพุทธเจ้านั้นหมาย
ความว่าทรงกระทำให้แจ้ง ถ้า
เป็นปัญหามาก็ทรงตอบปัญหานั้นให้แจ้งชัด
และก็ทรงตอบให้แจ้งชัดด้วยพระญาณที่หยั่งรู้ ไม่
ใช่ด้วยตำรา อย่างหมอดูที่พยากรณ์นั้นก็พยากรณ์
ด้วยตำราพยากรณ์ แต่อันที่จริงหมอดูก็
ไม่มีญาณหยั่งรู้เหมือนกัน วินิจฉัย
และก็ว่าไปตามตำราพยากรณ์และที่หมอดูวินิจฉัย
แต่พระพุทธเจ้านั้นทรงพยากรณ์คือกระทำให้แจ้ง
ทรงตอบให้แจ่มแจ้งชัดเจน ทรงแสดง
ให้แจ่มแจ้งชัดเจนด้วยพระญาณคือความหยั่งรู้
อันที่จริงคำว่าพยากรณ์นั้น ก็ได้มีใช้มาในพุทธศาสนา
ดังที่ได้แสดงถึงเรื่องนี้ และข้อที่พยากรณ์
นั้นที่ท่านแสดงไว้ในพระสูตรเกี่ยว
กับท่านมาลุงกยะนี้ ก็แสดงไว้ว่า
ทรงพยากรณ์คือกระทำให้แจ่มแจ้ง ตอบให้แจ่มแจ้ง
แสดงให้แจ่มแจ้งในข้อว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุเกิดทุกข์ นี้
ความดับทุกข์ นี้ทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
ในพระสูตรนี้ไม่ได้ใช้คำว่า อริยสัจ หรืออริยสัจ
จะ แต่ว่าโดยปกตินั้น เมื่อเป็นหมวดธรรม ๔ ข้อนี้ ก็มัก
จะพูดว่าอริยสัจกันทีเดียว แต่สำหรับที่แสดง
ในพระสูตรนั้น บางแห่งท่านก็ใช้คำว่าอริยสัจ
บางแห่งท่านก็ไม่ได้ใช้คำนี้
ปัญหาของสัตวโลก
คราวนี้มาพิจารณาดูว่า ทั้ง ๔ ข้อนี้มาเกี่ยว
กับอุปมาว่าพระพุทธเจ้า
เป็นเหมือนดังหมอผ่าตัดอย่างไร ซึ่งตามอุปมา
นั้นคนไข้ที่ญาติมิตรนำไปหาหมอผ่าตัด
เป็นคนไข้ที่ถูกลูกศรยิงกำลังต้องบาดเจ็บ
เรียกว่าอาการปางตายกันทีเดียว และเมื่อจะ
เป็นข้ออุปไมย คือว่าเป็นสิ่งที่ถูกเปรียบเทียบ
หรือบุคคลที่ถูกเปรียบเทียบ ก็จะต้องหมาย
ถึงบุคคลทั่วไปทั้งหลายในโลก ซึ่งเป็น
ผู้ที่ถูกลูกศรเสียบแทงกันอยู่แล้ว
เรียกว่ามีอาการปางตายกันอยู่แล้ว คราวนี้
ในข้ออุปมานั้น ก็ได้กล่าวถึงว่า ถ้าหมอผ่าตัด
จะไต่ถามสอบสวนถึงคนยิง ถึงลูกศรที่ใช้ยิง เพื่อ
ให้ทราบรายละเอียดต่างๆ เสียก่อน แล้วจึง
จะลงมือรักษาก็ย่อมจะไม่ทันการ คนไข้นั้นก็น่าจะ
ต้องถึงแก่ความตายเสียก่อนก็ได้ หรืออาการก็
จะมากขึ้น ยากแก่การที่จะเยียวยารักษา ฉะ
นั้นหน้าที่ของหมอผ่าตัดก็ไม่
ต้องมัวชักช้าไต่ถามสอบสวน หมอควรที่จะ
ต้องรีบผ่าตัดนำลูกศรออกทันทีนี่เป็นอุปมา
ทีนี้ข้ออุปไมยคือสิ่งที่ถูกเปรียบเทียบ ก็มาถึงบุคคล
และสัตว์ทั้งหลายเรียกว่าสัตวโลกทั่วๆ ไปนั้น ก็เท่า
กับว่าเป็นคนที่ถูกลูกศรเสียบด้วยกันทั้งนั้น
มีอาการปางตายอยู่ด้วยกันทั้งนั้น ฉะ
นั้นหน้าที่ของพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นเสมือนหมอผ่าตัดนั้น
ก็จะต้องทรงรีบเยียวยารักษาทันที ไม่
ต้องมัวไปสอบสอนไต่ถามถึงรายละเอียดต่างๆ ก็มา
ถึงเรื่องปัญหาโลกแตก ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ๑๐
ข้อนั้น เพราะฉะนั้นจึงไม่ทรงพยากรณ์ให้ชักช้า จึง
ได้ตรัสปฏิเสธไม่ทรงพยากรณ์และก็
ได้ตรัสรับรองในข้อที่ทรงพยากรณ์ว่า นี้ทุกข์
นี้เหตุแห่งทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ทางปฏิบัติให้ถึง
ความดับทุกข์ จึงเป็นข้อที่ควรจะทำความเข้าใจ
ว่าบัดนี้ทุกๆ บุคคลกำลังถูกลูกศรเสียบแทงกันอยู่
อาการปางตายด้วยกันทั้งหมดหรือ ในข้อนี้จึงควร
จะทราบลักษณะพุทธศาสนาว่าเป็นจริงอย่างนั้น
ทุกๆ คนในบัดนี้ซึ่งเป็นสามัญชนสามัญสัตว์นั้น
ก็กำลังถูกลูกศรเสียบแทงกันอยู่ทั้งนั้น
และมีอาการปางตายด้วยกันทั้งนั้น
ตัณหา - ลูกศรเสียบแทงใจ
อะไรเป็นลูกศรเสียบแทง และเสียบแทงอะไร
โดยปริยายคือทางอันหนึ่งที่ท่านยกขึ้นแสดงไว้
ลูกศรเสียบแทงนั้นก็คือตัณหา
ความดิ้นรนทะยานอยากของใจ และเสียบแทงอะไร
ก็คือเสียบแทงจิตใจ ต่างมีตัณหาเสียบแทงจิตใจอยู่ด้วย
กันทั้งนั้น ดังที่ได้ตรัสแจกเอาไว้เป็นกามตัณหา
ความดิ้นรนปรารถนาไปในกาม คือ รูป เสียง
กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่ารักใคร่ปรารถนา
พอใจบ้าง ภวตัณหา ความดิ้นรนทะยานอยากไปในภพ
คือความอยากเป็นนั่นเป็นนี่ต่างๆ บ้าง วิภวตัณหา คือ
ความดิ้นรนทะยานอยากไปในวิภพ คือความไม่เป็นนั่น
เป็นนี่ คือต้องการให้สิ่งที่ไม่พอใจอยากจะได้
ไม่พอใจอยากจะเป็นสิ้นไปหมดไป
นี้ยกขึ้นมาเพียงข้อเดียว แต่อันที่จริงนั้น กิเลสที่
เป็นเครื่องเสียบแทงจิต จำแนกออกไป
เป็นอาการต่างๆ อีกมากมาย แต่ว่าเอาข้อเดียว
เท่านี้ก่อน นี่เป็นลูกศรที่เสียบแทงจิตใจบุคคลอยู่
และที่ว่ามีอาการปางตายนั้นก็เป็นอย่างนั้น ก็
เพราะว่ายังต้องถูกความทุกข์ต่างๆ ครอบงำ
อยู่ตลอดเวลา ดังที่ตรัสชี้ไว้ในทุกขสัจจะ
สภาพที่จริงคือทุกข์นั้นแหละ ความเกิดเป็นทุกข์
ความแก่เป็นทุกข์ ความตายเป็นทุกข์ เรียกว่าต้องเกิด
ต้องแก่ ต้องตาย ซึ่งเป็นธรรมดาของชีวิตสังขาร
และยังต้องประสบทุกข์ทางจิตใจอีกมาก เป็น
ความแห้งใจ เป็นความคร่ำครวญไม่สบายกาย
ไม่สบายใจ ความ
ไม่สบายกายนี้ก็รวมเอาอาพาธเจ็บป่วยต่างๆ เข้าด้วย
ความไม่สบายใจความคับแค้นใจ รวมเข้าก็เป็น
ความประจวบกับสัตว์สังขารที่ไม่เป็นที่รัก
ความพลัดพรากจากสัตว์สังขารที่เป็นที่รัก รวม
เข้าก็เป็นความปรารถนาไม่ได้สมหวัง และเมื่อรวม
เข้าอีก ก็รวมอยู่ในขันธ์เป็นที่ยึดถือทั้ง ๕
ประการนี้คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ซึ่งอันนี้ก็จะต้องศึกษาให้เข้าใจให้ชัดเจนกันต่อไป
แต่วันนี้จะยังไม่อธิบายในตอนนี้
นิพพาน - ความสิ้นตัณหา
ก็แปลว่าต้องอยู่ในอาการที่ปางตายด้วยกันทั้งนั้น
ต้องเป็นทุกข์อยู่ด้วยเกิดแล้วก็แก่แล้วก็ไม่สบายกาย
ไม่สบายจิตต่างๆ ต้องพบกับสิ่งที่ไม่ชอบ
ต้องพลัดพรากจากสิ่งที่ชอบปรารถนาไม่
ได้สมหวังต่างๆ รวมเข้าก็ต้องมีขันธ์ ๕ ย่อ
เป็นกายใจนี้เอง เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่าอยู่
ในอาการปางตายด้วยกันทั้งนั้น และก็จะต้องแก่
ต้องตายด้วยกันทั้งนั้น และชีวิตก็ดำเนินไปสู่ความแก่
ความตายอยู่ทุกเวลาไม่มีหยุด เพราะฉะ
นั้นพระพุทธองค์จึงได้ทรงเป็นหมอถอนลูกศร
ผ่าตัดลูกศร ด้วยใช้เครื่องมือก็คือมีดผ่าตัด อัน
ได้แก่ปัญญา โดยตรัสเทศนาสั่งสอนให้ทุกคนได้เข้า
ถึงสัจจะที่เป็นตัวความจริง ก็รวมอยู่ในเรื่อง
ความจริงความดีความงามที่กล่าวมาในวันแรกๆ
นั้นนั่นแหละ และปัญญานี้เองที่บังเกิดขึ้น
ในจิตใจของบุคคล ก็
จะผ่าตัดถอนลูกศรคือตัณหาออกจากจิตใจได้
และเมื่อถอนตัณหาคือลูกศรออกจากจิตใจได้
ด้วยปัญญาแล้ว ทุกข์ก็จะดับไปหมด บุคคลก็จะเป็น
ผู้ที่พ้นทุกข์ เพราะว่าลูกศรออกจากจิตใจได้
เพราะฉะนั้นท่านจึงเรียกธรรม
หรือสภาพธรรมที่จิตใจถอนลูกศรออกได้แล้ว
แปลว่าสิ้นตัณหาหมดแล้ว และก็สิ้นทุกข์หมดแล้ว
ว่านิพพาน อันเป็นธรรมที่มุ่ง
จะบรรลุสำหรับพุทธศาสนาที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน
และพระพุทธเจ้าเองก็ได้ทรงค้นคว้า
ด้วยพระองค์เอง จนได้ปัญญา
เป็นมีดผ่าตัดถอนลูกศรออก
จากพระหทัยของพระองค์เองได้แล้ว สิ้นตัณหา
แล้วก็สิ้นทุกข์ด้วยประการทั้งปวงแล้ว
ทรงบรรลุนิพพานแล้ว เพราะฉะนั้น
จึงมาทรงสั่งสอนเพื่อที่
จะโปรดสัตว์โลกที่กำลังถูกลูกศรเสียบแทงใจ
อยู่นี้ ได้ปัญญาที่จะถอนลูกศรออกแล้ว
ก็พ้นทุกข์อย่างพระองค์บ้าง นี้เป็นพระมหากรุณา
เป็นพระมหากรุณาจริงๆ เพราะรู้สึกว่ามันเป็นทุกข์
และก็กำลังถูกลูกศรเสียบแทงใจอยู่ เพราะฉะ
นั้นท่านจึงอธิบายคำของนิพพาน ว่าออกจากวาณะ
ภาษาสันสกฤตว่านิรวานะ ภาษาบาลีว่านิพพาน
เป็นคำเดียวกัน วาณะนั้น แปลว่าเครื่องเสียบแทง
แปลว่าลูกศร นิรวานะ แปลว่าออก
จากเครื่องเสียบแทง ออก
จากลูกศรคือถอนลูกศรเสียได้
ไม่มีลูกศรเสียบใจ เพราะฉะนั้นก็ให้
เข้าใจคำว่านิพพานง่ายๆ ดั่งนี้ว่า ที่ว่าเป็นนิพพานนั้น
ก็คือว่าสภาพธรรมของจิตใจที่ถอนวาณะคือลูกศรอัน
เป็นเครื่องเสียบแทงของจิตใจได้แล้ว ออก
จากเครื่องเสียบแทง ออกจากลูกศรได้แล้ว
ไม่มีลูกศร ไม่มีเครื่องเสียบแทงจิตใจ เพราะฉะนั้น
จึงเป็นอิสระเสรี มีความสบายคล่องตัวเป็นสุข ไม่
ต้องเป็นทุกข์เดือดร้อน พ้นทุกข์ด้วยประการทั้งปวง
พ้นจากอาการปางตาย อาการที่เป็นทุกข์
ทั้งหลายหมดสิ้น
ทรงสอนให้ใช้ปัญญาถอนลูกศรหรือตัณหา
เพราะฉะนั้นนิพพานมิได้อยู่ที่ไหน แต่ว่า
อยู่ที่ถอนลูกศรออกจากจิตใจนี้แหละ ก็
ด้วยปัญญาที่พระพุทธเจ้าได้ประทานให้
จากการสั่งสอน พระปัญญานี้แหละ
ช่วยผ่าตัดเอาตัณหาที่เป็นลูกศรเสียบใจออกได้
ก็พ้นทุกข์ได้ เพราะฉะนั้นจึงเป็นกิจของพระพุทธเจ้าที่
จะทรงปฏิบัติหน้าที่อันนี้ ซึ่งจะต้องรีบกระทำ
และพระพุทธเจ้าก็ทรงปฏิบัติหน้าที่นี้เป็นเวลาถึง
๔๕ ปี หน้าที่เป็นหมอถอนลูกศรนี้แหละ
ทรงแสดงธรรมสั่งสอนก็
เป็นการประทานปัญญาอันเป็นมีดผ่าตัด เพื่อ
ให้ผ่าตัดลูกศรถอนลูกศรออกจากจิตใจของตนเอง
และเมื่อเป็นดั่งนี้ ก็นำเข้าสรุปใน ๔ ข้อนั้นได้
ทุกข์ก็คือว่าอาการเป็นทุกข์ถึงปางตาย นี่เป็นตัวทุกข์
ทั้งทางกายทั้งทางจิตใจที่โลกต้องพบอยู่ตลอดเวลา
ที่บุคคลทุกๆ คนต้องพบอยู่ตลอดเวลา และสิ่งที่
เป็นลูกศรนั้นก็คือตัณหา ซึ่งเป็นตัวทุกขสมุทัย
เหตุเกิดทุกข์ และก็ถอนลูกศรเสียได้ก็เป็น
ความดับทุกข์หรือทุกขนิโรธ และมีดสำหรับที่
จะผ่าตัดพร้อมกับอุปกรณ์ต่างๆ ก็คือมรรคมีองค์ ๘
อันเป็นทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ อันมีดที่จะผ่าตัด
นั้นก็ขอให้เข้าใจว่าก็จะต้องมีตัวมีด ที่ส่วนหนึ่งคม ผ่าตัด
ได้ และก็จะต้องมีส่วนของเหล็กอันประกอบกันอยู่ที่
เป็นสันของมีดเป็นส่วนของมีด เพราะว่า
ความคมที่สำหรับผ่าตัดนั้นจะอยู่อย่างเดียวไม่ได้
แล้วก็จะต้องมีด้ามมีด เหล่านี้
เป็นอุปกรณ์ของมีดต่างๆ สำหรับที่
จะผ่าตัดลูกศรที่เสียบแทงจิตใจ ซึ่งพระพุทธเจ้า
ได้จำแนกสำหรับที่
จะทรงผ่าตัดสะดวกก็คือมรรคมีองค์ ๘
คือสัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ สัมมาสังกัปปะ
ความดำริชอบ นี่คือเป็นตัวคม และก็ยังมี
ส่วนประกอบอื่นของมีด เช่นว่าสันมีด ด้ามมีด
อะไรเหล่านี้ ก็เป็นสัมมาวาจา เจรจาชอบ
สัมมากัมมันตะ การงานชอบ สัมมาอาชีวะ
เลี้ยงชีวิตขอบ สัมมาวายามะ เพียรชอบ สัมมาสติ
สติระลึกได้ชอบ สัมมาสมาธิ สมาธิตั้งใจมั่นชอบ
รวมเข้าเป็นมีดเล่มเดียวนี่แหละ
ส่วนที่คมสำหรับผ่าตัดจริงๆ ก็คือสัมมาทิฏฐิ
และสัมมาสังกัปปะ ซึ่งเป็นตัวปัญญา ซึ่งจะ
ต้องประกอบด้วยเครื่องอุปกรณ์ต่างๆ
ดังที่กล่าวมานี้จึงจะใช้ได้ ทรงจำแนก
ไว้ดั่งนี้สำหรับที่ทุกคนจะปฏิบัติได้สะดวก แต่แล้วก็
ต้องรวมเป็นมีดเล่มเดียวนี่แหละ ใช้สำหรับที่
จะผ่าตัดจิตใจ ถอนเอาลูกศรออกจากจิตใจ
และการปฏิบัติในมรรคมีองค์ ๘ นี้ก็ปฏิบัติไป
โดยลำดับ ก็
เป็นการรักษาเยียวยาการถอนลูกศรออก
จากจิตใจไปโดยลำดับ เพราะว่าทีแรกนั้น
จะถอนพรวดออกไปจากจิตใจทีเดียวย่อมไม่ได้ ก็จะ
ต้องมีวิธีขั้นตอนของการผ่าตัดไปตั้งแต่ต้น
แล้วก็ค่อยๆ ถอนออก จนถึงถอนได้หมดสิ้น
แล้วก็รักษาเยียวยาแก้ไขแผลให้หาย เหล่านี้
เป็นขั้นตอนของการรักษา
ซึ่งพระพุทธเจ้าก็ปฏิบัติหน้าที่รักษาโรคทางจิตใจนี้
ได้อย่างสมบูรณ์แล้วก็ทรงกระทำทันที
ไม่เสียเวลาไปทรงแสดงเรื่องโน้นเรื่องนี้อะไรต่างๆ
หน้าที่ของพระองค์ก็ต้องรีบทำดั่งนี้ และรีบช่วย
ให้บุคคลพ้นจากความพ้นทุกข์ทันที ได้ทรงปฏิบัติอยู่
เป็นเวลาถึง ๔๕ ปี รวมเข้าก็ในข้อนี้เท่านั้น
๑๑ สิงหาคม ๒๕๒๖
--------------------------------------------------------------
หมายเหตุ
บทความนี้เป็นธรรมกถาจากจำนวนทั้งสิ้น ๓๖ ครั้ง
ที่เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ
สุวฑฺฒโน)
บรรยายแก่พระนวกภิกษุวัดบวรนิเวศวิหาร
ในพรรษากาล ๒๕๒๖ มหามกุฏราชวิทยาลัย
ในพระบรมราชูถัมภ์ จัดพิมพ์เนื่อง
ในงานบำเพ็ญกุศลชนมายุครบ ๖ รอบ ของ
สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) ในวันที่ ๓
ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๒๘


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2014, 23:09 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ครั้งที่ ๗ ลักษณะพุทธศาสนา - อริยสัจ (๒)
ลักษณะพุทธศาสนา
ธรรมบรรยายของสมเด็จพระญาณสังวร
ในการอบรมนวกภิกษุพรรษา ๒๕๒๖
ณ สว.ธรรมนิเวศ วัดบวรนิเวศวิหาร
--------------------------------------------------------------
ญาณในอริยสัจ ๔
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ๔ บทคือ ๑. ทุกข์ ๒.
ทุกขสมุทัย เหตุเกิดทุกข์ ๓. ทุกขนิโรธ ความดับทุกข์
๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ข้อปฏิบัติให้ถึง
ความดับทุกข์ หรือมรรคทางปฏิบัติให้ถึง
ความดับทุกข์ ได้เรียกกันว่าอริยสัจ
ก็เรียกตามพระพุทธเจ้าที่ได้ตรัสไว้ในปฐมเทศนา
คือเทศนาทีแรกของพระองค์
ที่ตรัสว่าพระตถาคตคือพระองค์ได้เว้นทางสุดโต่ง ๒
ทาง คือทางกามสุขัลลิกานุโยค ความประกอบพัวพัน
อยู่ด้วยความสุขสดชื่นในกาม
และทางอัตตกิลมถานุโยค ทางทรมานตน
ให้ลำบาก ได้ทรงปฏิบัติอยู่
ในทางอันเรียกว่ามัชฌิมาปฏิปทา ข้อปฏิบัติอัน
เป็นหนทางกลาง ไม่เกี่ยวข้องด้วยทางสุดโต่งทั้ง ๒ นั้น
ก็คือมรรคมีองค์ ๘ มีสัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบเป็นต้น
มีสัมมาสมาธิ ความตั้งใจมั่นชอบเป็นที่สุด จึง
ได้ทรงเกิดญาณคือความหยั่งรู้ขึ้นในอริยสัจทั้ง ๔
คือ ทุกข์ ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ และมรรค
หรือทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ญาณคือ
ความหยั่งรู้ที่บังเกิดขึ้นแก่พระองค์นั้น
เป็นญาณที่บังเกิดขึ้นในธรรมที่มิได้เคยสดับ
แล้วมาก่อน ก็คืออริยสัจทั้ง ๔ ดังกล่าว
โดยมีวนรอบ ๓ มีอาการ ๑๒
สัจจญาณ
มีวนรอบ ๓ ก็คือวนรอบในสัจจะทั้ง ๔ นี้โดย
เป็นสัจจญาณ คือความหยั่งรู้ว่าจริง คือนี้
เป็นทุกข์จริง นี้เป็นทุกขสมุทัยคือเหตุให้เกิดทุกข์จริง
นี้เป็นทุกขนิโรธคือความดับทุกข์จริง นี้
เป็นมรรคคือทางดับทุกข์จริง ข้อที่ว่านี้
เป็นทุกข์จริง ก็คือว่า ความเกิดเป็นทุกข์จริง ความแก่
เป็นทุกข์จริง ความตายเป็นทุกข์จริง ความโศกคือ
ความแห้งใจ ความปริเทวะคือ
ความรัญจวนคร่ำครวญใจ ทุกขะคือความ
ไม่สบายกาย โทมนัสสะคือความไม่สบายใจ อุปายาสะ
ความคับแค้นใจ เป็นทุกข์จริง ความประจวบ
กับสิ่งคือสัตว์และสังขารไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์จริง
ความพลัดพรากจากสัตว์และสังขารที่เป็นที่รัก
เป็นทุกข์จริง ความปรารถนามิได้สมหวัง
เป็นทุกข์จริง และกล่าวโดยย่อ ขันธ์เป็นที่ยึดถือทั้ง
๕ ประการ คือรูปขันธ์ กองรูป เวทนาขันธ์
กองเวทนา สัญญาขันธ์ กองสัญญา สังขารขันธ์
กองสังขาร วิญญาณขันธ์ กองวิญญาณ เป็นทุกข์จริง
ทุกขสมุทัยเหตุเกิดทุกข์นั้นก็คือตัณหา
ความดิ้นรนทะยานอยาก อันประกอบด้วยนันทิคือ
ความเพลิน ราคะคือความติดใจยินดี
เพลิดเพลินยินดียิ่งในอารมณ์นั้นๆ จำแนกออกเป็น
กามตัณหา ความดิ้นรนทะยานอยากไปในกาม คือ รูป
เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
ที่น่ารักใคร่ปรารถนาพอใจ ภวตัณหา
ความดิ้นรนทะยานอยากไปในภพคือความเป็นนั่นเป็นนี่
วิภวตัณหา ความดิ้นรนทะยานอยากไปในความไม่
เป็นนั่นไม่เป็นนี่ นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์จริง ดับตัณหาเสีย
ได้ ทุกข์ดับไปหมด นี้เป็นความดับทุกข์จริง
มรรคมีองค์ ๘ มีสัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบดังกล่าว
เป็นต้นนั้น เป็นมรรคคือทางปฏิบัติให้ถึง
ความดับทุกข์จริง พระญาณคือความหยั่งรู้ว่า นี้
เป็นทุกข์จริง นี้เป็นเหตุเกิดทุกข์จริง นี้เป็น
ความดับทุกข์จริง นี้เป็นทางปฏิบัติให้ถึง
ความดับทุกข์จริง นี้เป็นสัจจญาณ นี่ก็วนไปในสัจจะทั้ง
๔ รอบหนึ่ง
กิจจญาณ
กิจจญาณ ความหยั่งรู้ในกิจคือข้อที่พึงกระทำ
ได้เกิดพระญาณคือความหยั่งรู้ขึ้นว่าทุกข์
เป็นข้อที่พึงกำหนดรู้อันเรียกว่าปริญญา สมุทัย
เป็นข้อที่ควรละอันเรียกว่าปหานะ ความดับทุกข์
เป็นข้อที่พึงกระทำให้แจ้งอันเรียกว่าสัจฉิกรณะ
มรรคคือข้อที่ควรอบรมปฏิบัติให้มีขึ้นให้
เป็นขึ้นอันเรียกว่าภาวนา นี้เป็นกิจที่พึงกระทำในสัจจะ
ทั้ง ๔ เรียกว่ากิจจญาณ
กตญาณ
และกตญาณ คือความหยั่งรู้กิจทั้ง ๔ นั้นว่าได้กระทำ
แล้ว คือว่าทุกข์นั้นพระองค์ก็ได้ทรงกำหนดรู้แล้ว
สมุทัยคือตัณหาพระองค์ก็ทรงละได้แล้ว
นิโรธคือความดับทุกข์พระองค์ก็ทรงกระทำให้แจ้ง
แล้ว มรรคพระองค์ก็ได้ทรงปฏิบัติทำให้มีให้
เป็นขึ้นครบถ้วนแล้ว เรียกว่ากตญาณ ญาณคือ
ความหยั่งรู้ว่ากิจได้กระทำเสร็จแล้ว
เพราะฉะนั้นพระญาณทั้ง ๓ สัจจญาณ กิจจญาณ
กตญาณ ในอริยสัจทั้ง ๔ รวมเข้าก็เป็นอาการ ๑๒
จึงเรียกวามีวนรอบ ๓ อาการ ๑๒ วนรอบไปโดย
เป็นสัจจญาณ กิจจญาณ และกตญาณในอริยสัจทั้ง ๔
ก็เป็น ๑๒ เรียกว่ามีอาการ ๑๒ พระญาณที่มีวนรอบ
๓ มีอาการ ๑๒ นี้บังเกิดขึ้นในขณะเดียวกัน
เพราะเหตุที่พระองค์ได้บรรลุพระญาณคือ
ความหยั่งรู้ ซึ่งมีวนรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ นี้
ในอริยสัจทั้ง ๔ สมบูรณ์ จึง
ได้ทรงปฏิญญาพระองค์ว่าได้ตรัสรู้อภิสัมโพธิคือ
ความตรัสรู้ยิ่งเป็นยอดเยี่ยมแล้ว พระองค์สิ้นชาติ
แล้ว พรหมจรรย์พระองค์ได้อยู่จบแล้ว ไม่มีกิจ
อื่นที่จะพึงกระทำเพื่อที่จะเป็นอย่างนี้อีก ก็
เป็นอันว่าพระองค์ได้ตรัสรู้เป็นสัมมาสัมพุทธเจ้า
อธิบายอริยสัจ
นี้เป็นเนื้อความในปฐมเทศนาที่พระองค์แสดงทีแรก
เพราะฉะนั้นข้อความทั้ง ๔ บทนี้จึง
ได้เรียกว่าอริยสัจตามที่พระองค์ได้ทรงเรียก
ในปฐมเทศนานั้น และคำว่าอริยะนั้น แปล
กันว่าประเสริฐ แปลกันว่าเจริญ เดิมก็ใช้
เป็นชื่อของเผ่าพันธุ์ ดังที่มีแสดง
ในพุทธประวัติตอนที่แสดงประวัติของประเทศอินเดีย
คือชมพูทวีปในครั้งนั้น ว่าเดิมเป็นเผ่าของมิลักขะ
หรือทัสสยุ และต่อมาได้มีชนเผ่าอริยะหรือเรียก
เป็นภาษาสันสกฤตว่าอาริยะได้อพยพเข้ามาอยู่
โดยที่พวกอริยะหรืออาริยะนี้มีความเจริญกว่า
พวกทัสสยุหรือมิลักขะก็ต้องกลายเป็นทาสไป
พวกอริยะหรืออาริยะก็ได้เป็น
ผู้ปกครองประเทศถิ่นสืบต่อมา เดิม
เป็นชื่อของเผ่าพันธุ์ที่มีความเจริญดังที่แสดงมา
และเมื่อพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ ก็ได้ตรัสเรียกสัจ
จะคือความจริงที่พระองค์ได้ตรัสรู้ทั้ง ๔ บท
นั้นว่าอริยสัจในปฐมเทศนา เพราะฉะ
นั้นพระอาจารย์จึงได้แปลคำว่าอริยสัจไว้ว่า สัจ
จะที่พระอริยะทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น
ได้รู้แจ้งแทงตลอด คือได้ตรัสรู้สัจจะของบุคคลผู้
เป็นอริยะ คือพระตถาคตผู้เป็นอริยะ สัจจะที่
ให้สำเร็จความเป็นพระอริยะ เพราะว่าเป็นสัจ
จะที่พระอริยะทั้งหลายได้ตรัสรู้ สัจจะที่
เป็นอริยะเอง คือหมายความว่าเป็นสัจจะที่แท้ เป็นสัจ
จะที่ไม่ผิด เป็นสัจจะที่กล่าวไม่ผิด เป็นสัจจะที่ไม่
เป็นอย่างอื่น คือเป็นจริงอยู่โดยแท้จริง ไม่มีที่
จะเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่น พระอาจารย์
ได้อธิบายคำแปลไว้อย่างนี้ และหากจะพิจารณาดู
ถ้าแปลว่าสัจจะที่พระอริยะ
ทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นตรัสรู้ หรือว่าสัจ
จะของพระตถาคตพุทธเจ้าผู้เป็นอริยะ หรือว่าสัจ
จะที่ให้สำเร็จความเป็นพระอริยะ
เพราะพระอริยะเหล่านั้นตรัสรู้ก็เข้าใจ
พิจารณาดูไม่ขัดข้อง แต่คำแปลที่ว่าสัจจะ
เป็นอริยะเอง ถ้าอธิบายอย่างที่ท่านอธิบายว่า ที่
เป็นอริยะเองนั้น อริยะในคำนี้หมายถึงจริงแท้ไม่ผิด
ไม่มีที่จะเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นก็เข้าใจ แต่ว่า
ถ้าแปลว่าเจริญ แปลว่าประเสริฐ ก็น่าคิดเหมือน
กัน ว่าสำหรับความดับทุกข์และสำหรับมรรคนั้นก็
เป็นอันว่าเจริญประเสริฐจริง แต่ว่าตัวทุกข์
กับตัวสมุทัยนั้นเจริญประเสริฐได้อย่างไร
เพราะฉะนั้นจึงน่าจะทำความเข้าใจได้ ว่าจะ
ต้องอธิบายอย่างที่ท่านอธิบายคือสัจจะเป็นอริยะเอง
อริยะเองในที่นี้ก็ต้องหมายความว่าจริงแท้แน่นอน
ไม่เปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น ไม่ได้หมาย
ความว่าประเสริฐเจริญ แต่หากว่าจะหมาย
ความว่าประเสริฐเจริญก็จะต้องเข้าใจ ว่าเพราะ
เป็นสัจจะที่บังเกิดขึ้นในญาณคือความหยั่งรู้ที่
เป็นตัวปัญญา ดังที่ตรัสแสดงไว้ในปฐมเทศนาว่าเป็นสัจ
จะที่บังเกิดขึ้นในความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
ว่าข้อนี้จริง คือเป็นทุกข์จริง เป็นสมุทัยจริง
เป็นนิโรธจริง เป็นมรรคจริง และทุกข์
เป็นข้อที่ควรกำหนดรู้ สมุทัยเป็นข้อที่ควรละ
นิโรธเป็นข้อที่ควรกระทำให้แจ้ง มรรค
เป็นข้อที่ควรปฏิบัติอบรมให้มีขึ้นให้เป็นขึ้น
และทุกข์พระองค์ได้กำหนดรู้แล้ว
สมุทัยพระองค์ละได้แล้ว นิโรธพระองค์
ได้กระทำให้แจ้งแล้ว มรรคพระองค์
ได้ปฏิบัติอบรมให้มีขึ้นแล้ว ที่ปรากฏ
ในปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าดั่งนี้ เพราะฉะนั้น
จึงเป็นอริยสัจ
ฉะนั้นทุกข์ที่จะเป็นอริยสัจนั้นจะต้องเป็นทุกข์ที่
ได้ปัญญาหยั่งรู้ว่านี้เป็นทุกข์จริง ทุกข์
เป็นข้อที่ควรกำหนดรู้ และทุกข์เป็นข้อที่กำหนดรู้
แล้ว สมุทัยก็เหมือนกัน จะเป็นอริยสัจขึ้นก็เพราะ
ได้ปัญญาหยั่งรู้ ว่านี้เป็นสมุทัยจริง สมุทัยควรละ
และสมุทัยละได้แล้ว นิโรธก็เหมือนกัน จะ
เป็นอริยสัจก็เพราะได้มีปัญญาหยั่งรู้ ว่านิโรธเป็น
ความดับทุกข์จริง นิโรธเป็นข้อที่ควรกระทำให้แจ้ง
นิโรธเป็นข้อที่กระทำให้แจ้งแล้ว มรรคก็เหมือน
กัน จะเป็นอริยสัจก็เพราะบังเกิดขึ้น
ในญาณปัญญาที่หยั่งรู้ ว่านี้เป็นมรรค
มรรคควรปฏิบัติอบรมให้มีขึ้นให้เป็นขึ้น มรรค
เป็นข้อที่ปฏิบัติอบรมให้มีขึ้นแล้วให้เป็นขึ้นแล้ว
เพราะฉะนั้นจึงเป็นอริยสัจ จะแปลว่าเป็นสัจ
จะที่เจริญที่ประเสริฐก็คงได้เหมือนกัน อันหมาย
ถึงว่าเป็นอริยสัจในปัญญาที่ตรัสรู้ของพระ
ผู้รู้ดังกล่าวนั้น ถ้าไม่เป็นสัจจะบังเกิดขึ้น
ในปัญญาของผู้รู้ดังกล่าวนั้น แม้ว่านิโรธก็ดี
มรรคก็ดีก็ยังไม่เป็นอริยสัจอยู่นั่นเอง
เหมือนอย่างว่าสัจจะใน
ความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าที่พระองค์ทรงแสดง
ไว้ในปฐมเทศนานั้นเป็นอริยสัจ และ
ในพระธรรมที่ทรงสั่งสอนก็เป็นอริยสัจ
แต่ว่าสำหรับในปัญญาที่บุคคลรู้อยู่ด้วยปัญญาที่
เป็นสามัญ คือยังไม่บรรลุมรรคผลอย่างที่
ผู้ศึกษาปฏิบัติธรรมทั่วไปรู้กันอยู่ หมายความว่ารู้
กันอยู่ด้วยปัญญาของตัวเอง ไม่ใช่ว่ารู้
ด้วยปัญญาของพระพุทธเจ้า ถ้ารู้
ด้วยปัญญาของพระพุทธเจ้า
และของพระอรหันตสาวกทั้งหลาย อันประกอบ
ด้วยวนรอบ ๓ อาการ ๑๒ นั้น นั้นเป็นอริยสัจ
ในปัญญาของท่าน แต่ว่ารู้ด้วยปัญญาของ
ผู้ศึกษาปฏิบัติที่ยังไม่ได้เป็นอริยบุคคล คือรู้
ด้วยปัญญาของตนเอง ก็ยังไม่เป็นอริยสัจอยู่นั่นเอง
เพราะว่ายังไม่ได้ญาณที่วนรอบ ๓ มีอาการ ๑๒
ดังพระพุทธเจ้านั้น คือยังไม่แล้ว ทุกข์ก็ยังไม่
ได้กำหนดรู้แล้ว สมุทัยก็ยังละไม่ได้แล้ว นิโรธก็
ยังไม่ได้กระทำให้แจ้งแล้ว มรรคก็ยังไม่ได้ปฏิบัติ
ให้มีให้เป็นขึ้นแล้วอย่างสมบูรณ์ เมื่อยังไม่
แล้วก็แปลว่ายังไม่เป็นอริยสัจของแต่ละบุคคล
คือเป็นแค่สัจจะเท่าที่ปัญญาของบุคคลจะรู้
ต่อเมื่อมีญาณปัญญาที่มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ ดั่ง
นั้นแหละ คือว่าแล้ว จึงจะเป็นอริยสัจทั้ง ๔ บท ถ้า
ยังไม่แล้วก็แปลว่ายังไม่เป็นอริยสัจทั้ง ๔ บท ยัง
เป็นสัจจะคือความจริงอยู่เท่าที่ศึกษาและปฏิบัติ
ได้ของแต่ละบุคคล
กิจในอริยสัจ ๔
กิจในอริยสัจทั้ง ๔ นี้เป็นข้อที่ควรทำความเข้าใจ
คือว่าทุกข์เป็นข้อที่ควรกำหนดรู้ สมุทัย
เป็นข้อที่ควรละ นิโรธเป็นข้อที่ควรกระทำให้แจ้ง
และมรรคเป็นข้อที่ควรอบรมให้มีขึ้นให้เป็นขึ้น นี้
เป็นกิจในอริยสัจทั้ง ๔ ความกำหนดรู้
ในข้อที่ควรกำหนดรู้นั้นเรียกว่า ปริญญา ละ
ในข้อที่ควรละนั้นเรียกว่า ปหานะ กระทำให้แจ้ง
ในข้อที่ควรกระทำให้แจ้งนั้นเรียกว่า สัจฉิกรณะ
ปฏิบัติอบรมในข้อที่ควรปฏิบัติอบรม
นั้นเรียกว่าภาวนา ปริญญาพึงปฏิบัติในข้อทุกข์
ปหานะพึงปฏิบัติในข้อสมุทัย สัจฉิกรณะปฏิบัติ
ในข้อทุกขนิโรธ ภาวนาปฏิบัติในข้อมรรค
ได้มีพุทธภาษิตแสดงไว้ ว่ากุศลธรรม
ทั้งหลายสงเคราะห์เข้าในอริยสัจ ๔ ทั้งหมด
อริยสัจทั้ง ๔ เปรียบเหมือนอย่างว่ารอยเท้าช้าง
กุศลธรรม
ทั้งหลายเปรียบเหมือนอย่างรอยเท้าของสัตว์
ทั้งหลายในโลก รอยเท้าของสัตว์ทั้งหลายในโลก
นั้นย่อมรวมเข้าได้ในรอยเท้าช้างฉันใดก็ดี
บรรดากุศลธรรมทั้งหลายก็รวมเข้า
ในอริยสัจทั้ง ๔ ฉันนั้น คำนี้ต้องเข้าใจว่า
ที่เรียกว่ากุศลธรรมก็หมายถึงว่าตัวอริยสัจที่เกิด
จากปัญญา เกิดจากญาณคือความหยั่งรู้ความตรัสรู้
จึงจะเรียกว่าอริยสัจ เพราะฉะนั้นจึงมุ่งถึงตัวญาณ
และปัญญา เมื่อเป็นตัวญาณและปัญญาก็
เป็นกุศลธรรมทั้งหมด แต่ถ้าหากจะแยกจำเพาะบท
ทุกข์และสมุทัยนั้นเป็นฝ่ายทุกข์ นิโรธกับมรรค
เป็นฝ่ายดับทุกข์ ก็จะต้องใช้คำให้เหมาะสมให้คลุมได้
ทั้งหมด ว่าคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหมด ทั้งที่
เป็นฝ่ายกุศล ทั้งที่เป็นฝ่ายอกุศล ทั้งที่
เป็นฝ่ายอพยากตธรรม ธรรมที่เป็นกลางๆ
กุศลก็ไม่ใช่ อกุศลก็ไม่ใช่ ดังที่มีแสดงไว้
ในอภิธรรมว่า กุสลา ธมฺมา ธรรมทั้งหลาย
เป็นกุศล อกุสลา ธมฺมา ธรรมทั้งหลาย
เป็นอกุศล อพฺยากตา ธมฺมา ธรรมทั้งหลาย
เป็นอพยากฤต คือเป็นกลางๆ กุศลก็ไม่ใช่ อกุศลก็ไม่
ใช่ ธรรมทั้งปวงที่พระพุทธเจ้าตรัสสั่งสอนไว้
ทั้งหมด ทั้งที่เป็นหมวดกุศลธรรม
หมวดอกุศลธรรม หมวดอพยากตธรรมดังกล่าว
นั้น ก็สงเคราะห์เข้าในอริยสัจทั้ง ๔ นี้ทั้งสิ้น ดัง
จะพึงเห็นได้ว่า ข้อที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงถึงขันธ์
อายตนะ ธาตุเป็นต้น โดยตรัสชี้ว่าเป็น อนิจจํ ทุกฺขํ
อนตฺตา ดังเช่นที่เราสวดกันในการทำวัตรเช้า
ที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนโดยมากเป็นพหุลานุสาสนี
ย่อมเป็นไปมากว่า รูปํ อนิจฺจํ รูปไม่เที่ยง เวทนา
อนิจฺจา เวทนาไม่เที่ยง สญฺญา อนิจฺจา สัญญาไม่เที่ยง
สงฺขารา อนิจฺจา สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง วิญฺญาณํ
อนิจฺจํ วิญญาณไม่เที่ยง รูปํ อนตฺตา รูปเป็นอนัตตา
เวทนา อนตฺตา เวทนาเป็นอนัตตา สญฺญา อนตฺตา สัญญา
เป็นอนัตตา สงฺขารา อนตฺตา สังขารทั้งหลาย
เป็นอนัตตา วิญฺญาณํ อนตฺตา วิญญาณเป็นอนัตตา สพฺเพ
สงฺขารา อนิจฺจา สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สพฺเพ ธมฺมา
อนตฺตา ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา เหล่านี้
เป็นข้อที่ตรัสสอนให้กำหนดรู้ กำหนดรู้ว่าไม่เที่ยง
กำหนดรู้ว่าเป็นทุกข์ กำหนดรู้ว่าเป็นอนัตตา
นี่เรียกว่าปริญญา สรุปเข้าในข้อทุกขสัจจะ
สภาพที่จริงคือทุกข์
คำสอนที่ทรงแสดงถึงบรรดากิเลสทั้งปวง
ยกเอาอกุศลมูล ๓ คือราคะ
หรือโลภะโทสะโมหะก็ตาม ยกเอาตัณหา
ความดิ้นรนทะยานอยากก็ตาม หรือกิเลสข้อ
ใดข้อหนึ่งหมวดใดหมวดหนึ่ง ตลอดจน
ถึงบาปอกุศลทุจริตทั้งหลายที่ประพฤติ
ด้วยอำนาจของกิเลส นี่เป็นข้อที่ควรละทั้งหมด
รวมเข้าในหมวดสมุทัย ปหานะ
คำสั่งสอนของพระองค์ที่แสดง
ถึงผลของการปฏิบัติธรรม เป็นวิมุตติ เป็นวิสุทธิ
เป็นนิพพาน เป็นสันติ ดังที่แสดงไว้ในหมวดอนุสสติ ๑๐
อุปสมานุสติ ระลึกถึงความสงบระงับหรือ
ในข้อทุกขนิโรธ อริยสัจทั้ง ๔ นี้
เป็นหมวดธรรมที่ตรัสสอนให้กระทำให้แจ้ง
สัจฉิกรณะ
คำสั่งสอนของพระองค์ที่เป็นธรรมปฏิบัติทั้งหมด
อย่างในธรรมวิภาค นวโกวาท ก็ตั้งต้นด้วยทุกะหมวด
๒ ธรรมมีอุปการะมาก ๒ อย่าง สติ ความระลึกได้
สัมปชัญญะ ความรู้ตัว เป็นต้น อันรวมเข้า
ในไตรสิกขาก็ดี มรรคมีองค์ ๘ ก็ดี เหล่านี้
เป็นข้อที่ควรปฏิบัติอบรมให้มีขึ้นให้เป็นขึ้นทั้งนั้น
รวมเข้าในข้อมรรค เป็นข้อที่ควรปฏิบัติอบรมทำ
ให้มีขึ้นทำให้เป็นขึ้น
เพราะฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่า กิจที่พึงปฏิบัติ
ในพุทธศาสนานั้นก็มี ๔ ข้อ ถ้าเกี่ยวแก่ทุกข์ก็
ให้กำหนดรู้ ถ้าสมุทัยก็ให้ละ ถ้าเกี่ยวกับนิโรธก็
ให้กระทำให้แจ้ง ถ้าเกี่ยวกับมรรคก็
ให้ปฏิบัติอบรมทำให้มีขึ้นทำให้เป็นขึ้น
เมื่อปฏิบัติดั่งนี้ก็ชื่อว่าปฏิบัติให้เหมาะ
เรียกว่าปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
ในพุทธศาสนา
พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมทรงบัญญัติวินัย
ทั้งหมดก็อนุวัตรตามหลักปฏิบัติทั้ง ๔ ข้อนี้ทั้งนั้น แม้
ในข้อที่เราไม่น่าจะคิดว่ามีความสัมพันธ์ถึง ดังเช่นว่า
ในพุทธศาสนานั้นไม่สอน
ให้บุคคลทำอัตวินิบาตกรรมคือฆ่าตัวตาย ก็
เพราะอะไร ก็เพราะสิ่งที่ฆ่าคือชีวิต
ชีวิตร่างกายนี้ก็คือขันธ์ ๕ ซึ่งขันธ์ ๕ นั้นก็รวมอยู่
ในทุกขสัจจะ สภาพที่จริงคือทุกข์ ดังที่ตรัสย่อไว้
ในข้อสุดท้ายของทุกข์ว่า กล่าวโดยย่อ ขันธ์
เป็นที่ยึดถือทั้ง ๕ ประการเป็นทุกข์ เพราะฉะนั้น
ขันธ์ ๕ หรือว่าชีวิตร่างกายนี้จึง
เป็นข้อที่ควรทำปริญญาคือกำหนดรู้ กำหนดรู้ว่า
เป็นทุกข์ เป็นอนิจจะ ไม่เที่ยง เป็นอนัตตา
เป็นสิ่งที่เมื่อเกิดมาก็ต้องแก่ ต้องตาย ต้องเจ็บ
ต้องเสวยเวทนาต่างๆ อันเป็นตัวทุกข์ ให้กำหนดรู้ดั่งนี้
ไม่ใช่ให้ฆ่า ถ้าอยากจะฆ่าก็ให้ฆ่าความอยาก
ความอยากที่จะฆ่าตัวตาย ซึ่งความอยากที่จะฆ่าตัวตาย
นั้นเป็นวิภวตัณหาหรือเป็นตัณหาอย่างหนึ่ง ก็
ต้องฆ่าตัณหาเสีย ไม่ใช่ไปฆ่าร่างกาย ตัณหาคือ
ความอยากตาย อยากฆ่าตัวตายนั้นเป็นปหานะคือ
เป็นข้อที่ควรละ คือให้ละเสียให้ฆ่าเสีย
แต่ว่าร่างกายชีวิตนี้เป็นข้อที่พึงกำหนดรู้ ให้รู้จักว่า
เป็นอนิจจะ เป็นทุกขะ เป็นอนัตตา ไม่ต้องไปฆ่าเขา เขาก็
ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตายไปเอง ให้กำหนดรู้
ไว้ว่าอย่างนี้ อยากจะฆ่าให้ไปฆ่าตัวตัณหา
ทำลายตัวตัณหาในใจ คราวนี้เมื่อโกรธขึ้นมา คิด
จะไปทำร้ายร่างกายเขา คิดที่จะฆ่าเขา นี่ก็ผิดศีล ก็
เพราะว่าที่จะไปฆ่าไปทำร้ายเขานั้น
ก็คือไปฆ่าไปทำร้ายขันธ์ ๕ ของเขา ซึ่งทางพุทธศาสนา
ไม่ได้สอนให้ไปฆ่าขันธ์ ๕ หรือชีวิตร่างกาย แต่
ให้กำหนดรู้ว่าขันธ์ ๕ หรือชีวิตร่างกายนี้เป็นอนิจจะ
ทุกขะ อนัตตา ให้ฆ่าความโกรธ ความโกรธเป็นกิเลส
เป็นข้อที่ควรละ เข้าในข้อสมุทัยที่ควรละต้องฆ่า
ความโกรธ โลภขึ้นมาจะไปลักของของเขาก็เหมือน
กัน ให้ฆ่าความโลภเสีย เพราะความโลภ
เป็นตัวสมุทัยที่ต้องละ ให้ละเสียให้ฆ่าเสีย แต่ไม่
ให้ไปลักขโมยของของเขา ของของเขานั้นก็
เป็นเรื่องของสังขารเหมือนกัน ก็เป็นสิ่งที่อนิจ
จะทุกขะอนัตตา รวมเข้าในหมวดทุกขสัจจะทั้งหมด
เพราะฉะนั้นเมื่อทำความเข้าใจ
ในหน้าที่ของธรรมตามหลักอริยสัจทั้ง ๔ นี้ และ
เข้าใจว่าพุทธศาสนาทั้งหมดสรุปเข้าในอริยสัจทั้ง ๔
นี้ และข้อทำความเข้าใจว่าข้อไหนจัดเข้าในข้อไหน
คือพุทธศาสนาที่เป็นคำสั่งสอนนั้น ข้อใดหมวดใดจัดเข้า
ในทุกขสัจจะก็ให้กำหนดรู้ จัดเข้าในสมุทัยก็ให้ละ จัด
เข้าในข้อนิโรธก็ให้กระทำให้แจ้ง จัดเข้า
ในข้อมรรคก็ให้อบรมให้มีขึ้นให้เป็นขึ้น ดั่งนี้แล้ว
จึงจะปฏิบัติพุทธศาสนาได้ถูกต้อง และการปฏิบัติ
นั้นก็เรียกว่า ธัมมานุธัมมปฏิบัติ
คือปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ย่อมจะ
ได้รับผลอย่างเต็มที่
๑๔ สิงหาคม ๒๕๒๖
--------------------------------------------------------------
หมายเหตุ
บทความนี้เป็นธรรมกถาจากจำนวนทั้งสิ้น ๓๖ ครั้ง
ที่เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ
สุวฑฺฒโน)
บรรยายแก่พระนวกภิกษุวัดบวรนิเวศวิหาร
ในพรรษากาล ๒๕๒๖ มหามกุฏราชวิทยาลัย
ในพระบรมราชูถัมภ์ จัดพิมพ์เนื่อง
ในงานบำเพ็ญกุศลชนมายุครบ ๖ รอบ ของ
สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) ในวันที่ ๓
ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๒๘


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2014, 23:18 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ครั้งที่ ๘ ลักษณะพุทธศาสนา - พระรัตนตรัย
ลักษณะพุทธศาสนา
ธรรมบรรยายของสมเด็จพระญาณสังวร
ในการอบรมนวกภิกษุพรรษา ๒๕๒๖
ณ สว.ธรรมนิเวศ วัดบวรนิเวศวิหาร
--------------------------------------------------------------
พระพุทธคุณ
พระรัตนตรัย รัตนะทั้ง ๓ คือ พระพุทธเจ้า
พระธรรม พระสงฆ์ พระบรมศาสดา
ในพุทธศาสนาคือพระพุทธเจ้า คำว่าพระพุทธเจ้านี้มิ
ใช่เป็นพระนามเดิมของบุคคล
คือสิทธัตถราชกุมาร ซึ่ง
เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ
และพระนางสิริมหามายา แต่ว่าเป็นเนมิตกนาม คือ
เป็นพระนามซึ่ง
เป็นที่ตั้งแห่งนิมิตคือเครื่องกำหนดหมายแห่ง
ความตรัสรู้ของสิทธัตถราชกุมาร
เพราะคำว่าพุทธะแปลว่า ผู้ตรัสรู้ ผู้เบิกบาน ผู้ตื่น
ผู้ปลุกให้ตื่น จึงมาใช้นามว่าพระพุทธเจ้า
หรือพระพุทธะ ไม่ใช้พระนามเดิมว่าสิทธัตถะ
เมื่อเรียกว่าสิทธัตถราชกุมาร
และเมื่อเรียกว่าพระพุทธเจ้า ความรู้สึกของบุคคล
ผู้เรียกย่อมต่างกัน ฉะนั้นจึงควร
จะรู้จักลักษณะของพระพุทธะผู้พระบรมศาสดา
ในพุทธศาสนา
พระพุทธคุณซึ่ง
เป็นเครื่องแสดงลักษณะพิเศษที่เราสวดกันอยู่ก็คือ
อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ อรหํ ก็คือพระอรหัง
หรืออรหันต์ ผู้ไกลกิเลส ผู้ควรไหว้บูชา
สมฺมาสมฺพุทฺโธ ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ
คำว่าสัมมาสัมพุทธะนี้เป็นพระพุทธคุณ
เป็นนามที่แสดงลักษณะพิเศษของพระพุทธเจ้าอยู่
ในถ้อยคำอย่างสมบูรณ์ สัมมา ก็แปลว่า โดยชอบ สัม
ก็แปลว่าเอง พุทธ ก็คือตรัสรู้ ตรัสรู้เองโดยชอบ
หรือตรัสรู้ชอบเอง เพราะฉะนั้นคำนี้จึง
เป็นคำแสดงว่าตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง
และตรัสรู้โดยชอบคือถูกต้องสมบูรณ์ และข้อนี้ก็
ได้มีพระพุทธาธิบายไว้เองแล้วในปฐมเทศนา ซึ่ง
ได้เคยย่อความมากล่าวแล้ว ซึ่งในปฐมเทศนานั้นก็
ได้แสดงไว้ชัดเจนตามเหตุและผลของการตรัสรู้
คือได้ทรงพบทางที่เป็นมัชฌิมาปฏิปทา ข้อปฏิบัติอัน
เป็นหนทางกลาง อันได้แก่มรรคมีองค์ ๘ ก็
โดยที่ตั้งแต่เสด็จออกผนวช ก็ปฏิบัติรพระองค์เองอยู่
ในศีล มีสัมมาวาจา เจรจาชอบ สัมมากัมมันตะ
การงานชอบ สมมาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตชอบ ซึ่งเป็น
ส่วนศีลอยู่ และครั้นเมื่อได้ทรงระลึกได้
ถึงสมาธิที่เคยทรงได้เมื่อ
เป็นพระราชกุมารดังกล่าวนั้น ก็ทรงเห็นว่าทางนั้น
จะเป็นทางแห่งสมาธิอันถูกต้อง จึง
ได้ทรงเริ่มจับปฏิบัติทำสมาธิไปตามทาง
นั้นกำหนดลมหายใจเข้าออกอย่างบริสุทธิ์ ก็เป็นอันว่า
ได้ทรงได้สัมมาสติได้สัมมาสมาธิขึ้นโดยลำดับ
สัมมาวายามะเพียรชอบนั้นเล่าก็
ได้ทรงพากเพียรอย่างยิ่งมาโดยลำดับแล้ว
แต่ว่าเมื่อยังไม่พบทางที่เป็นมัชฌิมาปฏิปทา
ความเพียรนั้นก็ยังไม่เป็นสัมมาโดยแท้ คือยังไม่ชอบ
โดยแท้ แต่ครั้นเมื่อได้จับทางที่ถูกของจิตใจ
เริ่มพบทางที่เป็นสัมมาสมาธิ มีสัมมาสติ ความเพียรก็
เป็นสัมมาคือโดยชอบขึ้น ฉะนั้นจึงได้มีจักขุคือดวงตา
ญาณคือความหยั่งรู้ ปัญญาคือความรู้ทั่วถึง วิชชาคือ
ความรู้ อาโลกคือความสว่าง ผุดขึ้นในธรรมที่มิ
ได้เคยทรงสดับมาก่อนในอริยสัจทั้ง ๔ ดังที่
ได้กล่าวมาแล้ว คำนี้เองคือคำว่าจักษุดวงตาผุดขึ้น
เป็นต้น ก็เป็นอันว่าทรงได้สัมมาสังกัปปะ
ความดำริชอบ สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ นั่น
เป็นตัวปัญญาในธรรมที่มิได้เคยสดับมา
แล้วก่อนคำนี้ก็ชี้ว่ามิได้ทรงฟังมาจากใคร ผุดขึ้นเอง
เมื่อเป็นดั่งนี้ ปัญญาที่ผุดขึ้นในอริยสัจทั้ง ๔ นี้ จึง
เป็นปัญญาที่ผุดขึ้นแก่พระองค์เอง
ไม่มีครูบาอาจารย์สั่งสอนมาก่อน อันนี้เป็น
ความตรัสรู้เองและโดยชอบคือถูกต้อง นี้
เป็นลักษณะพิเศษของพระพุทธเจ้า
ผู้พระบรมศาสดาของเราทั้งหลาย
ความตรัสรู้ของพระองค์ผุดขึ้นเองในธรรมที่มิ
ได้ทรงสดับมาก่อนคืออริยสัจทั้ง ๔ จึง
ไม่ทรงมีเทวดาไม่ทรงมีมนุษย์
เป็นครูบาอาจารย์มาบอกกล่าวไว้ก่อน
เป็นปัญญาผุดขึ้นเอง จึงเป็นสัมมาสัมพุทโธ
ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ และความตรัสรู้เอง
โดยชอบนี้ก็ปรากฏแก่พระองค์เอง
และก็มาปรากฏแก่ผู้อื่นและแก่โลก
ตั้งแต่เมื่อพระโกณฑัญญะเกิดดวงตาเห็นธรรมขึ้นเมื่อ
ได้ฟังปฐมเทศนาจบแล้ว จึง
เป็นเครื่องยืนยันว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็น
ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ เพราะฉะ
นั้นคำว่าสัมมาสัมพุทธะนี้จึงเป็นคำเรียกพระพุทธเจ้า
ซึ่งเป็นผู้ตั้งพุทธศาสนา แสดงธรรมสั่งสอนผู้อื่น
ให้รู้ตามได้ โดยที่มีแสดงพุทธไว้ ๓ คือสัมมาสัมพุทธะ
ปัจเจกพุทธะ และอนุพุทธะ ซึ่งจะได้อธิบายต่อไป
ในเมื่อถึงพระสงฆ์
ฉะนั้นพระพุทธเจ้าผู้พระบรมศาสดาของเรา
ทั้งหลายจึงมิใช่เป็นศิษย์ของใครทั้งเทวดาทั้งมนุษย์
แต่ทรงเป็นพระสยัมภูคือเป็นผู้เป็นเอง
ผู้ตรัสรู้ขึ้นเอง ความตรัสรู้ขึ้นเองนั้นเล่าก็ด้วย
ได้ทรงพบทางที่เป็นมัชฌิมาปฏิปทา และ
ได้ทรงปฏิบัติมาโดยสมบูรณ์
จึงมีปัญญาผุดขึ้นแก่พระองค์เองในอริยสัจทั้ง ๔
ดังกล่าวนั้น อันปัญญาที่ผุดขึ้นเองนี้ ในเมื่อจับทางที่ถูก
ได้ ย่อมมีถึงในสมัยปัจจุบัน ดังที่ปรากฏแก่นัดคิดค้นซึ่ง
ได้พบความรู้ซึ่งใช้ประโยชน์อยู่ในปัจจุบันเป็นอันมาก
ก็คล้ายกัน เป็นความรู้ที่ผุดขึ้น
ในเมื่อจับทางปฏิบัติที่ถูก เพราะฉะนั้นอัน
ความรู้ที่ผุดขึ้นเองนี้จึงเป็นสิ่งที่มีได้แก่นักปฏิบัติคิด
ค้นที่จับทางถูก จึงได้พบความรู้ที่ไม่เคยรู้กันมาก่อน
แล้วนำมาปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ขึ้นได้
พระพุทธเจ้ามิได้เป็นเพียงผู้ที่ตรัสรู้เองชอบเท่านั้น
และมิได้เป็นศิษย์ของเทวดาและมนุษย์เท่านั้น แต่ยัง
เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์อีกด้วย
ดังพระพุทธคุณบทที่ว่า สตฺถา เทวมนุสฺสานํ
เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เพราะฉะ
นั้นจึงนับว่าพระพุทธเจ้าเป็นศาสดาเอกในโลก
คำว่าเอกก็คือพระองค์เดียวซึ่งเป็นผู้ตรัสรู้ขึ้นเอง
ไม่มีใครมากระซิบบอกหรือ
ไม่มีใครมาบอกธรรมแก่พระองค์ จะ
เป็นเทวดาก็ตามเป็นมนุษย์ก็ตาม
แต่พระองค์กลับทรงเป็นศาสดาของเทพและมนุษย์
ทั้งหลาย นี้เป็นลักษณะพิเศษของพระพุทธเจ้า
พระธรรมคุณ
คราวนี้มาถึงพระธรรม
ลักษณะของพระธรรมในพุทธศาสนานั้น
ก็ตั้งต้นแต่เป็นความจริงที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้
ดังที่ยกขึ้นแสดงในปฐมเทศนาก็คืออริยสัจทั้ง ๔ และ
ในโลกจะรู้จักพระธรรมก็เพราะพระพุทธเจ้า
ได้ตรัสรู้แล้ว
ได้ทรงนำพระธรรมมาแสดงสั่งสอน เพราะฉะ
นั้นพระธรรมในพระพุทธศาสนา
ตั้งต้นแต่พระธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ คือ
ความจริงที่พระองค์ได้ตรัสรู้ จึงได้มีแสดงไว้
ในพระสูตรหนึ่งว่า ธาตุนั้นตั้งอยู่ เป็นธรรมฐิติ
ความตั้งอยู่แห่งธรรม เป็นธรรมนิยาม
เป็นธรรมที่กำหนดได้แน่นอนด้วยปัญญา คือข้อที่ว่า
สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์
ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา มิใช่อัตตาตัวตน ข้อนี้เป็นสัจ
จะคือความจริงที่ตั้งอยู่ จึงเรียกว่าธรรมฐิติ
พระตถาคตพุทธเจ้าจะอุบัติขึ้นหรือไม่อุบัติขึ้น
ข้อนี้ก็ตั้งอยู่ คือข้อที่ว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขาร
ทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา
แต่ว่าพระตถาคตพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ ครั้นตรัสรู้
แล้วจึงนำมาเปิดเผยแสดงกระทำให้แจ้งให้โลก
ได้รู้จักความจริงข้อนี้ดั่งนี้ เพราะฉะนั้นธรรมที่
เป็นตัวความจริงที่ตั้งอยู่นี้จึงเป็นสิ่งที่ตั้งอยู่ตลอดมา
พระพุทธเจ้าจะเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นความจริงข้อนี้ก็
ยังตั้งอยู่ดำรงอยู่ พระพุทธเจ้าก็ได้มาตรัสรู้
ความจริงข้อนี้อันเป็นความจริงที่ตั้งอยู่นั้นเอง
แต่อาศัยที่ความจริงที่ตั้งอยู่นี้เป็นธรรมนิยาม
คือกำหนดได้ด้วยปัญญาให้รู้จักได้ ฉะนั้นพระพุทธเจ้า
จึงได้ตรัสรู้ได้ และเมื่อตรัสรู้
แล้วก็นำมาแสดงสั่งสอนได้ เพราะฉะนั้นธรรม
ในพุทธศาสนานั้นจึงจับตั้งแต่ธรรมฐิติ
ความจริงที่ตั้งอยู่ที่ดำรงอยู่ ไม่มีกาลไม่มีเวลา ตั้ง
อยู่ดำรงอยู่ตลอดไป ถึงแม้ว่า
ไม่มีพระพุทธเจ้ามาอุบัติขึ้นคือมาตรัสรู้
ธรรมฐิตินี้ก็ยังเป็นธรรมฐิติคือยังตั้งอยู่อย่างนี้
นั้นแหละ เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้านั้นจึงเป็น
ผู้ที่มาตรัสรู้พระธรรมที่ตั้งอยู่แล้ว
ความจริงที่ดำรงอยู่แล้วนี้แหละ
แล้วก็ทรงนำมาแสดงเปิดเผยชี้แจงแสดงให้แจ้ง
ให้โลกเข้าใจ
และธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงนำมาแสดงสั่งสอนนี้
ก็ทรงแสดงสั่งสอนในบุคคลนี้เองไม่ใช่ในที่อื่น
ดังที่มีแสดงไว้ในพระสูตร (โรหิตัสสสูตร
พระไตรปิฎก เล่ม ๑๕ หน้า ๘๙) หนึ่งว่า
ได้ทรงบัญญัติโลก บัญญัติเหตุเกิดโลก บัญญัติ
ความดับโลก บัญญัติทางปฏิบัติให้ถึงความดับโลก
ในกายอันยาววาหนึ่ง มีสัญญามีใจนี้เอง คำว่าโลก
ในที่นี้ท่านแสดงว่าหมายถึงทุกข์ที่แสดงโดยทั่วไป
คือทรงแสดงให้เห็นทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์
และทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ก็คืออริยสัจ ๔
นี้เอง ทรงแสดงที่กายอันยาววาหนึ่ง
มีสัญญามีใจของทุกๆ คนนี้แหละ ไม่
ได้ทรงแสดงที่ไหน เมื่อทรงแสดงภายในดั่งนี้ ทุกคน
จึงสามารถรู้ได้ และก็เป็นเหตุเป็นผลที่ตรองตาม
ให้เห็นจริงได้และปฏิบัติได้
เพราะว่าธรรมที่ทรงบัญญัติดังกล่าวนี้ โลก
หรือทุกข์ก็เป็นผล เหตุเกิดโลกหรือเกิดทุกข์ก็
เป็นเหตุ ความดับโลกหรือดับทุกข์ก็เป็นผล
ทางปฏิบัติให้ถึงความดับโลกหรือดับทุกข์ก็เป็นเหตุ
รวมความก็เป็นผลหรือเหตุในด้านเกิดทุกข์
หรือเกิดโลก เป็นผลและเป็นเหตุในด้านดับทุกข์
และดับโลก ทั้งหมดนี้อยู่ในกายยาววาหนึ่ง
ซึ่งมีสัญญามีใจครองของทุกๆ คน เพราะฉะ
นั้นอาการที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนจึงมี ๓
อย่างคือสอนให้รู้ยิ่งเห็นจริง
ในธรรมที่ควรรู้ควรเห็น สอนมีเหตุที่
ผู้ฟังอาจตรองตามให้เห็นจริง
ได้สอนมีปาฏิหาริย์คือปฏิบัติได้รับผลสมจริง
ประการแรกอันทุกข์และเหตุเกิดทุกข์ก็เป็นผล
และเหตุที่รู้ยิ่งเห็นจริงได้ เพราะมีอยู่ในตนเอง
ในบุคคลนี้เอง ดับทุกข์และปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
ผลและเหตุส่วนนี้ก็ยิ่งรู้เห็นจริงได้และก็เป็นเหตุ
เป็นผล โดยในอริยสัจนี้ยกผลขึ้นก่อนแล้ว
จึงยกเหตุ เป็นผลและเหตุที่ตรองตามให้เห็นจริง
ได้แล้วก็ปฏิบัติได้ คือปฏิบัติในการที่
จะกำหนดรู้ทุกข์ ที่จะละเหตุเกิดทุกข์ จะทำให้แจ้ง
ความดับทุกข์ และที่จะปฏิบัติอบรมทางปฏิบัติให้ถึง
ความดับทุกข์ให้เกิดขึ้นได้ เป็นสิ่งที่ทำได้ เพราะฉะ
นั้นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้นจึงสั่งสอนอยู่ในภาย
ใน ปฏิบัติได้อยู่ในภายใน รู้ยิ่งเห็นจริงได้เองทุกๆ คน
มีเหตุตรองตามให้เห็นได้จริงทุกๆ คน ปฏิบัติ
ได้ผลสมจริงทุกๆ คน เพราะไม่ได้สอนในภายนอก
สอนในภายใน แล้วก็เป็นเหตุเป็นผลที่ตรองตาม
ให้เห็นได้ปฏิบัติได้ นี้
เป็นลักษณะพิเศษของธรรมของพระพุทธเจ้า
อีกประการหนึ่งพุทธศาสนานั้นได้แสดงธรรมที่
เป็นเหตุและผล ซึ่ง
เป็นธรรมที่ละเอียดสุขุมคือปฏิจจสมุปบาท
ธรรมที่อาศัยกันบังเกิดขึ้น หากจะจับตั้งแต่ชาติคือ
ความเกิดเป็นเหตุและผลย้อนขึ้นไป ต้นเหตุก็
จะพบอวิชชาคือความไม่รู้ เป็นตัวเหตุที่ให้เกิดสังขาร
เป็นต้น และทุกๆ อย่างเป็นอันดับมาเพราะฉะนั้น
ผู้สร้างที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ก็คือตัวอวิชชาคือ
ความไม่รู้ และสืบมาเป็นตัณหาเป็นอุปาทาน
เป็นกรรม ฉะนั้นจะสิ้นทุกข์ได้ก็ต้องทำลายผู้สร้าง
คืออวิชชาเสีย เมื่อทำลายอวิชชาเสียได้แล้ว
ก็ดับสังขารดับตัณหาอุปาทานกรรมและทุกๆ อย่าง
สิ้นทุกข์ได้ ซึ่งเป็นธรรมที่เป็นเหตุเป็นผลซึ่งโยง
กันไปอย่างละเอียด รวมความเข้าแล้วก็คือว่าตัว
ผู้สร้างใหญ่ก็คืออวิชชา ซึ่งทางพุทธศาสนานั้นต้องละ
ต้องดับเสียจึงจะพ้นทุกข์ได้ ก็ดับได้ด้วยวิชชาคือ
ความรู้ก็ต้องปฏิบัติอบรมวิชชาคือความรู้
ให้เกิดผุดขึ้นมา
พระสังฆคุณ
และมาถึงพระสงฆ์ ซึ่งเป็นหมู่
ผู้ฟังคือศิษย์ของพระพุทธเจ้านั้น พระสงฆ์
ในพุทธศาสนานั้นสูงสุดก็คือเป็นผู้ได้ปัญญาคือความรู้
ในอริยสัจ ๔ ดับกิเลสและกองทุกข์
ได้เหมือนพระพุทธเจ้า แต่ว่าต่างจากพระพุทธเจ้า
โดยที่มิได้ตรัสรู้เอง เป็นผู้ตรัสรู้ตาม
คือเมื่อฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าให้ปฏิบัติ
แล้วก็ปฏิบัติตาม เมื่อปฏิบัติตามก็ได้ปัญญารู้แจ้งขึ้น
ตั้งต้นแต่ได้ปัญญาเห็นธรรม จนถึงตรัสรู้
ในอริยสัจ ๔ ตามพระพุทธเจ้า ก็ทำกิเลส
และกองทุกข์ให้สิ้นไปได้เหมือนกัน แต่พระพุทธเจ้า
เป็นผู้ที่ตรัสรู้เองชอบและทรงสั่งสอน พระสงฆ์
เป็นผู้ที่รู้ตาม แต่ก็ทำกิเลสและกองทุกข์ให้สิ้นไป
ได้เช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นพระสงฆ์ในพุทธศาสนา
นั้นจึงได้ปัญญาที่ตัดกิเลส
และกองทุกข์ตามพระพุทธเจ้าเช่นเดียวกัน เป็น
ผู้สิ้นกิเลสและกองทุกข์ได้เช่นเดียวกัน
แต่ว่ารู้ตามพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าเป็นผู้รู้
ด้วยพระองค์เองและทรงแสดงสั่งสอน พระสงฆ์
เป็นผู้ที่รู้ตาม แต่ก็ต้องปฏิบัติให้รู้ด้วยตัวเองเช่นเดียว
กัน เพราะฉะนั้นพระสงฆ์ในพุทธศาสนานั้นจึงมิใช่เป็น
ผู้ที่มีแต่ศรัทธาคือความเชื่อแต่ไม่มีปัญญาคือความรู้
แต่ว่ามีปัญญาคือความรู้ได้ด้วยตนเอง
คือรู้ตามพระพุทธเจ้า ปฏิบัติตามที่ทรงสั่งสอน
และก็ปฏิบัติทำกิเลสและกองทุกข์ให้สิ้นไปได้เหมือน
กัน ต่างแต่ว่าเป็นผู้รู้ตามพระองค์
เป็นสาวกของพระองค์ เพราะฉะนั้นพระสงฆ์
ในพุทธศาสนานั้นจึงเป็นผู้ที่เข้าถึงมรรคผลนิพพาน
ได้เช่นเดียวกัน จึงได้เรียกพระสงฆ์ว่าอนุพุทธคือเป็น
ผู้รู้ตาม
พระพุทธนั้นมี ๓ คือพระสัมมาสัมพุทธ พระ
ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ คือเป็นผู้ที่ตั้งพุทธศาสนาขึ้น
พระปัจเจกพุทธคือพระผู้ตรัสรู้ชอบ
ด้วยพระองค์เอง แต่จำเพาะพระองค์ ไม่สั่งสอนใคร
ให้รู้ตาม ไม่ตั้งพุทธศาสนาขึ้น และพระอนุพุทธ
คือพระผู้ตรัสรู้ตาม ได้แก่พระสงฆ์สาวกผู้ที่
ได้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้าได้ นี้
เป็นลักษณะแห่งพระรัตนตรัย คือพระพุทธเจ้า
พระธรรม และพระสงฆ์
๑๘ สิงหาคม ๒๕๒๖
--------------------------------------------------------------
หมายเหตุ
บทความนี้เป็นธรรมกถาจากจำนวนทั้งสิ้น ๓๖ ครั้ง
ที่เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ
สุวฑฺฒโน)
บรรยายแก่พระนวกภิกษุวัดบวรนิเวศวิหาร
ในพรรษากาล ๒๕๒๖ มหามกุฏราชวิทยาลัย
ในพระบรมราชูถัมภ์ จัดพิมพ์เนื่อง
ในงานบำเพ็ญกุศลชนมายุครบ ๖ รอบ ของ
สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) ในวันที่ ๓
ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๒๘


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2014, 23:27 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ครั้งที่ ๙ ลักษณะพุทธศาสนาที่เกี่ยวกับกายและจิต
ลักษณะพุทธศาสนา
ธรรมบรรยายของสมเด็จพระญาณสังวร
ในการอบรมนวกภิกษุพรรษา ๒๕๒๖
ณ สว.ธรรมนิเวศ วัดบวรนิเวศวิหาร
--------------------------------------------------------------
จะแสดงลักษณะพุทธศาสนาเกี่ยวกับกายและจิต ดังที่
ได้กล่าวมาแล้ว
ว่าธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน ก็ทรงสั่งสอน
จากกายและจิตอันนี้ ดังที่
ได้อ้างพระพุทธภาษิตว่าทรงบัญญัติโลก
เหตุเกิดโลก ความดับโลก ทางปฏิบัติให้ถึง
ความดับโลก ในกายอันยาววาหนึ่ง มีสัญญามีใจนี้
เพราะฉะนั้นจึงมา
ถึงที่ตั้งแห่งคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าดังกล่าว อัน
ได้แก่กายและจิตนี้เอง กายและจิตนี้ได้ตรัสแสดง
โดยเป็นธาตุ ๖ ก็มี โดยเป็นขันธ์ ๕ ก็มี โดยเป็นกาย
และจิตโดยตรงก็มี โดยเป็นธาตุ ๖ นั้น
ก็คือที่ตรัสแสดงไว้ในธาตุวิภังคสูตร ว่า
บุรุษบุคคลนี้มีธาตุ ๖ คือ ปฐวีธาตุ ธาตุดิน อาโปธาตุ
ธาตุน้ำ เตโชธาตุ ธาตุไฟ วาโยธาตุ ธาตุลม อากาศธาตุ
ธาตุอากาศ วิญญาณธาตุ ธาตุรู้ ธาตุ ๕
ข้างต้นคือปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ
อากาศธาตุ เป็นธาตุที่รวมกันเข้ามาเรียกว่ากาย
ส่วนวิญญาณธาตุ ธาตุรู้ ก็คือจิต จะแสดงเรื่องจิตก่อน
จิตเป็นธาตุรู้
คำว่าจิตนี้เป็นภาษาบาลี มีคำเรียกสิ่งที่เป็นจิตใจอีก ๒
คำคือ วิญญาณ มโน หรือมนะ คำว่าจิต วิญญาณ มโน
ทั้งสามนี้เอามาใช้ในภาษาไทย จนคนไทยได้ยินได้ฟัง
และเข้าใจ ในคำภาษาไทยว่าใจ แต่ว่ามีความต่าง
กันตามที่ใช้ในภาษาธรรม ในภาษาธรรมนั้นส่วน
ใหญ่คำว่าจิตใช้หมายถึงตัวธาตุรู้ที่เป็นภายใน
คำว่าวิญญาณใช้หมายถึงวิญญาณในขันธ์ ๕ ที่
เป็นขันธ์ข้อที่ ๕ วิญญาณขันธ์ กองวิญญาณ คือเมื่อตา
กับรูปประจวบกัน เกิดความรู้คือเห็นรูปขึ้น
ก็เรียกว่าจักขุวิญญาณ รู้ทางตา ดั่งนี้ เป็นต้นไป
คำว่ามโนนั้นใช้เป็นอายตนะภายในข้อที่ ๖ คือตา หู จมูก
ลิ้น กายและมโนหรือมนะคือใจ อันเป็นอายตนะข้อที่
๖ ในพระสูตรที่ ๒
ของพระพุทธเจ้าคืออนัตตลักขณสูตร
พระสูตรที่ว่า
ด้วยลักษณะคือเครื่องกำหนดหมายขันธ์ ๕ ว่า
เป็นอนัตตามิใช่ตัวตน ก็ทรงแสดงขันธ์ทั้ง ๕
คือรูปขันธ์ กองรูป เวทนาขันธ์ กองเวทนา สัญญาขันธ์
กองสัญญา สังขารขันธ์ กองสังขาร วิญญาณขันธ์
กองวิญญาณ ว่าเป็นอนัตตา มิใช่ตัวตน และเมื่อ
ผู้พิจารณาเห็นขันธ์ ๕ ว่าเป็นอนัตตา พร้อมทั้ง
เป็นอนิจจะคือไม่เที่ยง เป็นทุกข์คือเป็นสิ่งที่ทนอยู่ไม่ได้
ต้องแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไป ก็หน่ายในขันธ์ ๕
หน่ายในรูปในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ
เมื่อหน่ายก็สิ้นกำหนัดยินดี และเมื่อสิ้นติดใจยินดี
จิตก็วิมุตติคือหลุดพ้นจากอาสวกิเลส
เป็นเครื่องดองจิตทั้งหลาย อันนี้แสดงว่าจิตต่าง
จากวิญญาณ จิตนั้นจะเป็นผู้ที่วิมุตติหลุดพ้น และ
ในพระสูตรที่ ๓ อาทิตตปริยายสูตร
พระสูตรที่ว่าแสดงสิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน ซึ่งสิ่ง
ทั้งปวงนั้นก็ทรงยกเอาอายตนะภายในภายนอก
อายตนะภายในก็คือตา หู จมูก ลิ้น กายและมนะคือใจ
ว่าเป็นของร้อน ร้อนด้วยราคะโทสะโมหะ ร้อนด้วย
ความเกิดความแก่ความตายความโศกเป็นต้น
และเมื่อพิจารณาเห็นว่าเป็นของร้อน จิตก็หน่าย
เมื่อหน่ายก็สิ้นความติดใจยินดี เมื่อสิ้นความติดใจยินดี
จิตก็วิมุตติหลุดพ้นเช่นเดียวกัน ก็แสดงว่าวิญญาณก็ดี
มโนก็ดี เป็นสังขารคือสิ่งผสมปรุงแต่ง ซึ่งต้อง
เป็นอนัตตาและต้องเป็นของร้อนดังกล่าว เพราะฉะ
นั้นจึงต่างกับคำว่าจิต
จิตไม่มีสรีระสัณฐาน
คำว่าจิตนี้จึงมีความหมายถึงตัวธาตุรู้ที่มีอยู่ในบุคคล
อันมีพระพุทธภาษิตแสดงไว้ว่า
ไม่มีสรีระคือรูปร่างทรวดทรงสัณฐานอัน
เป็นเรื่องของรูป มีคูหาคือถ้ำเป็นที่อาศัย
และคำว่ามีคูหาคือถ้ำเป็นที่อาศัยนี้ พระอาจารย์
ได้อธิบายมาแต่ดั้งเดิมรวมๆ มาว่าร่างกายอันนี้
แต่ว่ามีพระอาจารย์อีกจำพวกหนึ่งมีความเห็นว่า
จิตนี้ตั้งอยู่ที่หทัยวัตถุ คือว่าเนื้อหัวใจที่เต้นอยู่นี้และมา
ถึงสมัยต่อมาเมื่อได้พบมันสมองว่า
เป็นที่รวมของประสาททั้งหลาย ก็มีคน
เข้าใจว่าจิตนี้อาศัยตั้งอยู่กับมันสมอง
แต่ก็มีบุคคลบางคนเข้าใจว่า ตัวมันสมองนี้
เป็นตัวจิตทีเดียว ดั่งนี้ก็มีแต่ว่า
ถ้าพิจารณาตามพระพุทธภาษิต ที่ตรัสถึงจิตไว้
โดยตรงดังที่ยกมากล่าวข้างต้นว่า จิตเป็นอสรีระ
คือไม่มีรูปร่างสรีระสัณฐาน ก็จะเป็นหลักฐานที่
ต้องเห็นว่าจิตกับมันสมองต่างกันเพราะมันสมองนั้น
เป็นสิ่งที่มีสรีระสัณฐาน จึงเป็นรูปกายส่วนหนึ่ง
แต่ว่าจิตไม่มีสรีระสัณฐานเพราะฉะนั้นจิตจึงไม่
ใช่มันสมอง แต่จิตกับกายต้องอาศัยกัน เพราะฉะ
นั้นหากว่าจิตเป็นธรรมชาติ ที่ไม่มีสรีระสัณฐาน
อาศัยอยู่กับกายนี้ จะอาศัยอยู่กับส่วนไหน ก็น่า
จะเห็นว่าอาศัยอยู่กับมันสมองเป็นหลักสำคัญ
เพราะมันสมองนั้นเป็นที่ตั้งของประสาททั้งหลาย
ให้เกิดความรู้ทางประสาททั้งปวง และจิตนี้ที่
จะรู้อะไรออกมาทางภายนอกได้ เช่นรู้รูปทางตา
รู้เสียงทางหู ก็
ต้องอาศัยประสาทตาอาศัยประสาทสมองเป็นต้น
ซึ่งศูนย์รวมของประสาทก็รวมอยู่ที่มันสมอง
ให้ไปดูรูปความสัมพันธ์กันของประสาทตาหูเป็นต้น
กับมันสมอง ที่พิพิธภัณฑ์ของวัดนี้ ซึ่งได้มีเขียนแสดง
ความสัมพันธ์เอาไว้ ฉะนั้นจิตก็น่าจะอาศัยอยู่กับ
ส่วนนี้คือมันสมอง
คำว่ามีถ้ำเป็นที่อาศัย มันสมองนั้นก็อยู่
ในกระโหลกศีรษะ กระโหลกศีรษะ
นั้นก็มีลักษณะเป็นถ้ำเป็นคูหา เพราะฉะนั้นก็เข้ากัน
กับถ้อยคำคูหาคือถ้ำ มีคูหาเป็นที่อาศัย
ส่วนพระอาจารย์ในสมัยก่อนที่เอาจิตไปอาศัยอยู่
กับหทัยวัตถุคือเนื้อหัวใจที่เต้นอยู่นี้ ก็เนื่องด้วย
เข้าใจว่าหัวใจที่เต้นอยู่นี้เป็นส่วนที่สำคัญ
ในชีวิตของบุคคล เมื่อหัวใจยังทำงานอยู่คือเต้นอยู่
ชีวิตก็ยังคงดำรงอยู่ หยุดทำงาน
หรือหยุดเต้นชีวิตก็สิ้นไป จึงเอาจิตมาอาศัยอยู่
กับเนื้อหัวใจ นี้
เป็นข้อที่น่าพิจารณาเทียบเคียงดังกล่าว
และก็น่าพิจารณาต่อไปอีกว่า อันลักษณะของจิต
นั้นกำหนดได้ ว่าอาการต่างๆ ที่เนื่องมากับจิตก็ล้วน
เป็นสิ่งที่ไม่มีสรีระสัญฐานด้วยกันทั้งนั้น
ดังเช่นว่าจิตที่แสดงอาการเป็นราคะ
หรือโลภะโทสะโมหะ ตัวกิเลสเหล่านี้ก็
ไม่มีรูปร่างสัณฐาน หรือจิตที่แสดงอาการออกมา
เป็นธรรมที่เป็นส่วนเกื้อกูล เช่นเป็นเมตตา
เป็นกรุณา เมตตากรุณาก็ไม่มีสรีระสัณฐาน
และจิตนี้ประกอบด้วยอารมณ์คือเรื่อง
บรรดาอารมณ์คือเรื่องทั้งหลายก็
ไม่มีสรีระสัณฐาน อาการของจิตอื่นๆ ก็เช่นเดียวกัน
เป็นต้นว่าความรู้ทางอายตนะ เช่นรู้รูปทางตา
รู้เสียงทางหูเป็นต้น ที่เราเรียกกันว่าเห็นรูป
ได้ยินเสียง ความรู้คือการเห็นรูปได้ยินเสียงเป็นต้น
นั้นก็ไม่มีสรีระสัณฐาน ตัวรูปที่เห็นตัวเสียงที่ได้ยิน
นั้นมีสรีระสัณฐาน แต่เมื่อมาเป็นอารมณ์ของจิตมา
เป็นเรื่องที่จิตคิดถึงหมกมุ่นถึงกำหนดถึง มา
เป็นเรื่องที่ตั้งขึ้นในจิต ตัวเรื่องเหล่านี้ก็
ไม่มีสรีระสัณฐาน
อนึ่ง ความรู้ที่บุคคลได้เรียนศึกษาตั้งแต่ต้นมา
ตั้งแต่ชั้นอนุบาลชั้นประถมชั้นมัธยมถึงชั้นอุดม
หรือตลอดจนถึง
ความรู้ที่เล่าเรียนทางพระธรรมวินัยกันนี้ ก็
ไม่มีสรีระสัณฐานอีกเหมือนกัน เพราะฉะ
นั้นที่กล่าวว่าคนนี้รู้มากเรียนมากสำเร็จถึงชั้น
นั้นชั้นนี้ คน
นั้นเรียนน้อยรู้น้อยสำเร็จเพียงแค่ชั้นประถมชั้นมัธยม
เป็นต้น ก็ไม่มีสรีระสัณฐานที่จะนำมาชี้บอกได้ว่า
ความรู้ที่ว่าน้อยหรือมากนั้นมากน้อยแค่ไหน
จะเอาเครื่องชั่งตวงวัดความรู้ของบุคคลว่าเท่านั้น
เท่านี้ก็ชั่งตวงวัดไม่ได้ เพราะฉะนั้นในการที่
จะตรวจสอบความรู้ของบุคคลจึงต้องจัดเกณฑ์ที่
จะทดสอบหรือตรวจสอบ
ความรู้ของบุคคลขึ้นอีกอย่างหนึ่ง ให้บุคคล
ผู้ที่เล่าเรียนนั้นๆ มาแสดงความรู้
ด้วยการเขียนคำตอบก็ดี การแสดงข้อค้นคว้าก็ดี
เป็นต้น แล้วก็เอาใบตอบเหล่านั้นมาตรวจอีกทีหนึ่ง
แล้วก็ให้คะแนนกันไปให้ชั้นกันไปว่าสำเร็จเป็นชั้น
นั้นชั้นนี้เท่านั้นเท่านี้ ทั้งนี้เพราะความรู้นั้น
ไม่มีสรีระสัณฐานที่จะมาวัดชั่งกันได้เหมือนอย่างวัตถุ
และมันสมองนั้นเป็นกายส่วนหนึ่งเพราะฉะ
นั้นโรคของมันสมองก็เป็นอีกลักษณะหนึ่ง
แต่เราก็เรียกกันว่าโรคจิต แต่อันที่จริงนั้นไม่
ใช่โรคจิตเป็นโรคสมอง เพราะฉะนั้น
จึงมีการรักษากันเป็นโรคอย่างหนึ่งของร่างกาย แต่
เป็นโรคของส่วนที่เป็นมันสมอง
จึงมีการแสดงออกมาทางประสาททั้งหลาย
และจิตใจก็อยู่ใต้อำนาจของประสาท เพราะฉะนั้น
จึงแสดงออกไปเป็นอาการที่วิปริตที่เราเรียก
กันว่าเสียจริตและเรียกกันว่าโรคจิต
แต่อันที่จริงเรียกว่าโรคจิตนั้นไม่ถูก โรคเสียจริต
นั้นพอได้ ต้องเป็นโรคสมอง โรคประสาท
แต่ว่าโรคของจิตโดยตรงนั้นก็คือกิเลสนั้นเอง อัน
ได้แก่ตัณหาความดิ้นรนทะยานอยาก
และบรรดากิเลสทั้งปวง เป็นต้นว่าราคะ
หรือโลภะ โทสะ โมหะ เหล่านี้เป็นโรคจิต
โดยตรงซึ่งตั้งขึ้นในอารมณ์
เพราะจิตนี้เองไปยึดถืออารมณ์
แล้วก็ยินดียินร้ายหลงงมงายไปในอารมณ์ต่างๆ
แล้วก็เป็นตัณหา เป็นราคะหรือโลภะ เป็นโทสะ
เป็นโมหะ นี่เป็นโรคจิตโดยตรงอันทำ
ให้เกิดทุกข์ใจต่างๆ เดือดร้อนใจต่างๆ เพราะฉะ
นั้นบรรดาคนที่มีกิเลสอยู่ยังละกิเลสไม่
ได้ก็เรียกว่ามีโรคจิตทั้งนั้น คือโรคกิเลสนั่นแหละ
เป็นโรคจิตทั้งนั้น เพราะฉะนั้นจึงไป
เข้าเรื่องที่พระพุทธเจ้าต้องทรงรักษา
ถอนลูกศรคือตัณหาออกจากจิตให้ได้เสียก่อน ไม่
ต้องไปเสียเวลาที่จะสอบสวนอะไรต่างๆ ดังที่
ได้กล่าวมาแล้ว ด้วยการที่
ต้องรีบทรงแสดงธรรมให้บุคคลเกิดปัญญาอัน
เป็นยาธรรมเรียกว่าธรรมโอสถที่
จะรักษาโรคจิตคือบรรดากิเลสทั้งหลาย
จิตเป็นวิญญาณธาตุ
เพราะฉะนั้น ธรรมโอสถคือธรรมนั้นเองที่
เป็นยารักษาโรคกิเลสของบุคคล สำหรับที่
จะดับตัณหา ดับราคะหรือโลภะ โทสะ โมหะ ตามที่
ได้ยกมากล่าวนี้ก็เพื่อแสดงว่า ในบุคคลเรานี้
ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่เรียกว่าจิต ซึ่งไม่มีสรีระสัณฐาน
อาศัยอยู่กับกายอันนี้ ซึ่งรวมเข้าก็เป็นธาตุ ๖
และจิตนี้ก็เป็นวิญญาณธาตุ และธาตุอีก ๕
ข้อที่กล่าวมาข้างต้นนั้นก็รวมกันเข้าเป็นกาย
วิญญาณธาตุก็เป็นจิต กายและจิตนี้อาศัยกันอยู่ จึง
เป็นบุคคล ถ้าหากว่ากายแตกทำลาย จิตก็
ต้องเคลื่อนออกไป เพราะฉะนั้นเมื่อกายรวมเข้ามา
ธาตุดินน้ำลมไฟอากาศรวมเข้ามาตั้งต้นแต่
ในครรภ์ของมารดา จิตก็ปฏิสนธิเรียกว่าปฏิสนธิจิต
และในที่สุดเมื่อร่างกายนี้แตกสลาย คือธาตุที่รวม
กันเข้านี้ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม
ธาตุอากาศแตกสลาย
จิตก็เคลื่อนออกไปเรียกว่าจุติจิต ทีแรกก็
เป็นปฏิสนธิจิต จิตปฏิสนธิประกอบเข้ามา
และเมื่อกายแตกสลายจิตก็เคลื่อนเรียกว่าจุติจิต
จิตเคลื่อนหรือความเคลื่อนของจิตในที่สุด
ในบัดนี้คนมักเข้าใจผิดไปเรียกเอาปฏิสนธิว่าจุติกันมาก
เช่นว่าจุติในที่นั่นที่นี่คือเกิดในที่นั่นที่นี่ ความจริงไม่
ใช่เกิดจุติคือเคลื่อนซึ่งเราเรียกกันว่าตาย เมื่อเกิด
ในที่นั่นที่นี่เราเรียกว่าปฏิสนธิ แต่ว่าเป็นคำที่
ใช้สำหรับจิตเท่านั้น จิตปฏิสนธิ
และจุติจิตเคลื่อนออกไปในที่สุด
จิตนี้ท่านแสดงไว้ในตำราศัพท์ รวมเข้าก็มีความหมาย
๓ อย่าง คือ
หนึ่ง คิดหรือรู้
สอง สั่งสม และ
สาม วิจิตร คือแตกต่าง
กันหลายอย่างหลายประการ
๑๙ สิงหาคม ๒๕๒๖
--------------------------------------------------------------
หมายเหตุ
บทความนี้เป็นธรรมกถาจากจำนวนทั้งสิ้น ๓๖ ครั้ง
ที่เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ
สุวฑฺฒโน)
บรรยายแก่พระนวกภิกษุวัดบวรนิเวศวิหาร
ในพรรษากาล ๒๕๒๖ มหามกุฏราชวิทยาลัย
ในพระบรมราชูถัมภ์ จัดพิมพ์เนื่อง
ในงานบำเพ็ญกุศลชนมายุครบ ๖ รอบ ของ
สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) ในวันที่ ๓
ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๒๘


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2014, 23:40 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ครั้งที่ ๑๐ ลักษณะพุทธศาสนาที่เกี่ยวกับกายและจิต
(๒)
ลักษณะพุทธศาสนา
ธรรมบรรยายของสมเด็จพระญาณสังวร
ในการอบรมนวกภิกษุพรรษา ๒๕๒๖
ณ สว.ธรรมนิเวศ วัดบวรนิเวศวิหาร
--------------------------------------------------------------
อธิบายลักษณะ ๓ ประการของจิต
ได้แสดงลักษณะพุทธศาสนามาถึงเรื่องจิต ซึ่ง
ได้กล่าวไว้แล้ว ว่าพระอาจารย์ผู้อธิบายศัพท์ได้
ให้คำอธิบายศัพท์ของจิตไว้ แปลเป็น ๓ อย่าง คือ คิด
หรือรู้ เก็บ
และวิจิตรคือหลายหลากหลายอย่างต่างๆ กัน
ที่แปลว่าคิดหรือรู้นั้น ก็โดยอธิบายว่าจิต
เป็นธรรมชาติที่คิดนึกอะไรได้ หรือว่ารู้อะไรได้
คำว่าคิดและคำว่ารู้ในที่นี้มีความหมายเป็นอย่างเดียว
กัน เพราะจะคิดอะไรได้ก็ต้องรู้อะไรนั้น หรือว่า
จะรู้อะไรได้ก็ต้องคิดอะไรนั้น และในความคิด
นั้นก็มีความรู้อยู่ด้วย ในความรู้ก็มีความคิดอยู่ด้วย ฉะ
นั้นจิตจึงเป็นธรรมชาติที่คิดนึกอะไรได้
หรือว่ารู้อะไรได้
ลักษณะที่ ๒ เก็บ ก็หมาย
ความว่าเก็บสิ่งที่ประสบผ่านต่างๆ ไว้ได้
และเก็บกรรมที่ได้กระทำแล้วไว้ได้ ที่ปรากฏ
เป็นเก็บดีที่เรียกว่าบารมี เก็บชั่วที่เรียกว่าอาสวะ
และที่ว่ามีลักษณะวิจิตรคือหลายหลาก
หรือว่าหลายอย่างต่างๆ กัน ก็คือจิตมีลักษณะต่างๆ
ดังเช่นที่มีจำแนกไว้ในอภิธรรม เป็นกามาวจรจิต
จิตที่ท่องเที่ยวไปในกาม รูปาวจรจิต จิตที่ท่องเที่ยวไป
ในรูปภพ อรูปาวจรจิต จิตที่ท่องเที่ยวไปในอรูป
โลกุตรจิต จิตที่เป็นโลกุตระ ฉะนั้นจึง
เป็นสิ่งที่วิจิตรคือหลายหลากหลายอย่างต่างๆ กัน
ดังเช่นเราเรียกในภาษาไทยว่าวิจิตรพิสดาร
หรือว่าวิจิตรงดงาม ดังคำว่าราชรถอันวิจิตร
ราชรถที่งดงาม ที่ทำอย่างงดงามตกแต่งอย่างงดงาม
จิตก็เป็นธรรมชาติที่งดงาม
เพราะเหตุว่ามีลักษณะที่เหมือนดังตกแต่งเอา
ไว้อย่างราชรถนั้น นี้เป็นการให้คำอธิบายคำว่าจิต
ดังที่พระอาจารย์ผู้อธิบายศัพท์ได้ให้เอาไว้
จิตตัวเดิมและจิตที่เป็นตัวอาการ
และก็พึงทราบไว้ ว่าคำว่าจิตท่านใช้เป็น ๒ อย่าง
อย่างหนึ่งใช้หมายถึงธรรมชาติที่เป็นตัวเดิม
กับอีกอย่างหนึ่งท่านใช้หมายถึงธรรมชาติที่
เป็นตัวอาการ ที่ใช้หมายถึงธรรมชาติที่เป็นตัวเดิม
นั้น ก็ใช้หมายถึงธรรมชาติที่เป็นธาตุรู้ อัน
เป็นธรรมชาติที่ประภัสสรคือผุดผ่อง ดังที่
ได้มีพระพุทธภาษิตแสดงไว้ ว่าจิตนี้
เป็นธรรมชาติประภัสสร คือผุดผ่อง แต่
ต้องเศร้าหมองไป
เพราะอุปกิเลสคือเครื่องเศร้าหมองที่จรเข้ามา
แต่ว่าเมื่อปฏิบัติทำจิตตภาวนาคืออบรมจิต จิตก็
จะบริสุทธิ์ คือหมดจดสะอาดผ่องใสได้
วิมุตติคือหลุดพ้นได้ และจิตที่เป็นตัวเดิมนี้
ที่มีพุทธภาษิตแสดงไว้เป็นอันมาก เช่นว่าให้ฝึกจิต
ให้ข่มจิต จิตที่ฝึกแล้วนำสุขมาให้
และเมื่อบุคคลอบรมให้ได้ปัญญารู้แจ้งเห็นจริง
จิตก็หน่าย จะสิ้นความติดใจยินดีและวิมุตติหลุดพ้น
จากอาสวะ คือเครื่องดองจิตดองสันดานทั้งหลายได้
ดั่งนี้ เหล่านี้หมายถึงจิตที่เป็นตัวเดิม
ส่วนจิตที่เป็นตัวอาการนั้นหมายถึงตัวความคิดต่างๆ
คิดดีก็มีคิดไม่ดีก็มี ตัวความคิดนี้เป็นจิตที่เป็นอาการ
จิตที่เป็นอาการนี้เกิดดับอยู่ในอารมณ์ทุกขณะจิต
ทุกขณะอารมณ์ ดังจะพึงเห็นได้ ว่าทุกคนย่อมมี
ความคิดไปในอารมณ์ คือเรื่องต่างๆ คิดถึงเรื่องนี้
ปล่อยเรื่องนี้ไปคิดเรื่องโน้น
ปล่อยเรื่องโน้นไปคิดเรื่องนั้น เรื่องที่จิตจับคิด
แล้วปล่อยไปครั้งหนึ่งก็เรียกว่าเกิดดับไปคราวหนึ่ง
เพราะฉะนั้นจิตที่เป็นตัวความคิดนี้จึงเกิดดับอยู่เสมอ
เพราะฉะนั้นท่านจึงเปรียบจิตที่เป็นตัวอาการนี้
ว่าเหมือนอย่างวานรที่กระโดดไปมาอยู่บนต้นไม้
กระโดดจับกิ่งไม้นี้ ปล่อยกิ่งไม้นี้ กระโดดไปจับกิ่งไม้
นั้น จากกิ่งไม้นั้นก็กระโดดไปจับกิ่งไม้อื่นต่อไปอีก
อยู่ตลอดเวลา อาการที่จับ
และปล่อยอารมณ์ต่างๆ ของจิตนี้คือจิตที่
เป็นตัวอาการ คือ
ความคิดเหมือนอย่างอาการของวานรที่กระโดดจับกิ่งไม้
กระโดดจับกิ่งโน้นกิ่งนี้กิ่งนั้นไปอยู่เสมอ
อาการที่จับปล่อยๆ กระโดดไปดั่งนี้ของวานรคือ
ความคิด แต่ก็น่าจะต้องคิดดูตรงนี้ด้วยว่า
แม้วานรจักกระโดดจับปล่อยกิ่งไม้ไป
อยู่เสมอดั่งนี้ก็ตาม แต่ว่าตัววานรนั้นคง
เป็นวานรตัวเดียวกัน ตัววานรที่อยู่ที่กิ่งไม้นี้
ตัววานรที่อยู่ที่กิ่งไม้นั้น ตัววานรที่อยู่ที่กิ่งไม้โน้น
ซึ่งกระโดดไปนั้น ก็เป็นตัววานรตัวเดียวกัน จึงเทียบ
ได้กับจิตที่เป็นตัวเดิม ก็เป็นจิตเดียวกัน แต่ว่าอาการคือ
ความคิดนั้นเปลี่ยนไปต่างๆ และตัว
ความคิดนี้ก็คืออาการ จิตมี ๒ อย่างดั่งนี้
ความอุปบัติและจุติของจิต
หากจะมีปัญหาว่า จิตที่เป็นตัวอาการนั้นก็
เป็นจิตที่เกิดดับอยู่เสมอดังกล่าว แต่ว่าจิตที่เป็นตัวเดิม
นั้นเล่า เป็นสิ่งที่เกิดดับหรือไม่ ปัญหานี้ก็
เป็นข้อที่น่าพิจารณา ถ้าจะพิจารณาจำเพาะชาตินี้
ไม่ตั้งปัญหาไปถึงชาติหน้าหรือว่าชาติอดีตก็ตอบ
ได้ง่าย ว่าจิตที่เป็นตัวเดิมนั้นก็เป็นสิ่งที่ตั้งอยู่ดำรง
อยู่ตั้งแต่เกิดจนตาย แต่ว่าจิตที่เป็นตัวอาการ
นั้นก็เปลี่ยนแปลงไปตามอารมณ์ เกิดดับไปพร้อม
กับอารมณ์อยู่ทุกขณะจิต
อยู่ทุกขณะอารมณ์ดังกล่าวนั้น จิตที่เป็นตัวเดิมอัน
เป็นสิ่งที่ดำรงอยู่ตั้งแต่เกิดจนตายนั้นก็ดังที่
ได้กล่าวมาแล้ว
ว่าเมื่อเกิดจิตมาปฏิสนธิที่เรียกว่าจิตปฏิสนธิ
เมื่อตายจิตก็จุติคือเคลื่อนออกไป
อันเรียกว่าเคลื่อนออกไปหรือว่าดับจึงต้อง
เข้าใจคำนี้ ว่าคำว่าดับกับคำว่าจุตินั้นต่างกัน
คำว่าดับก็เหมือนกับไฟดับไป แต่คำว่าจุติ
นั้นแปลว่าเคลื่อน คือว่าไม่ดับ เคลื่อนออกไป
ในข้อนี้ก็ตรงกับพระญาณของพระพุทธเจ้าที่ทรง
ได้ในปฐมยามแห่งราตรีที่ตรัสรู้ คือ
บุพเพนิวาสานุสสติญาณ ความหยั่งรู้ระลึกได้
ถึงนิวาสน์คือขันธ์เป็นที่อาศัยอยู่ในปางก่อน คำว่านิวาสน์
นั้นเราแปลกันว่าบ้าน คือเป็นที่อาศัยอยู่ ในที่นี้
ใช้หมายถึงขันธ์คือขันธ์ ๕ นี่แหละอันเป็นที่อาศัยอยู่
ในปางก่อน เพราะว่าขันธ์ ๕ นี้เรียกว่านิวาสน์แปลว่า
เป็นที่อาศัยอยู่ หากจะถามว่าเป็นที่อาศัยอยู่ของใคร
เหมือนอย่างบ้านก็เป็นที่อาศัยอยู่ของบุคคล
มีคนมาอาศัยอยู่ในบ้าน ปลูกบ้านอยู่
ทีนี้มาเรียกว่านิวาสน์อันหมายถึงขันธ์ ๕ นี้ ขันธ์ ๕ นี้
เป็นที่อาศัยอยู่ของใคร
สำหรับในพระญาณที่ตรัสรู้พระญาณแรกนี้
ตรัสแสดงถึงพระองค์เองโดยใช้คำว่าฉัน
หรือข้าพเจ้าหรือว่าเรา ซึ่งได้อุปบัติคือเข้าถึงชาตินี้
แล้วก็จุติคือว่าเคลื่อนจากชาตินี้ไปสู่ชาติอื่นเคลื่อน
จากชาติอื่นนั้นไปสู่ชาติอื่นต่อไปอีก เรื่อยมาดั่งนี้ ตั้งแต่
๑ ชาติ ๒ ชาติ ๓ ชาติจนถึงนับชาติไม่ถ้วน
และระลึกได้ว่าเราหรือข้าพเจ้าหรือว่าฉัน
ได้มีชื่ออย่างนั้นอย่างนี้ในชาตินั้นๆ มี
ความสุขทุกข์อย่างนี้ๆ ในชาตินั้นๆ ระลึกได้
ถึงประวัติความเป็นไปของชีวิตในชาติหนึ่งๆ
ด้วยตามพระญาณที่ตรัสแสดงไว้นี้ ก็แสดงว่าข้าพเจ้า
หรือว่าฉันว่านั้น เป็นผู้ไม่ดับ และก็เป็นผู้ที่เข้า
ถึงชาตินี้เคลื่อนถึงชาตินี้ แล้วเข้าถึงชาตินั้นเคลื่อน
ถึงชาตินั้น และก็ต้องเข้าใจว่าคำว่าดับนั้นคู่กับคำว่าเกิด
หรือคำว่าตายคู่กับคำว่าเกิด เกิดตายหรือว่าเกิดดับ
เป็นศัพท์บัญญัติที่หมายถึงขันธ์อันเป็นที่อาศัยอยู่ อัน
เป็นตัวนิวาสน์หรือตัวบ้าน ขันธ์ที่อาศัยอยู่อัน
เป็นตัวนิวาสน์หรือเป็นตัวบ้านนี้ ในชาติหนึ่งๆ
ก็สร้างขึ้นมาทีหนึ่ง เช่นเมื่อเกิดมา
เป็นมนุษย์นี้ก็เริ่มสร้างตั้งแต่ในครรภ์ของมารดา
เป็นกลละหนึ่ง แล้วก็แตกเป็นปัญจสาขา
มีอายตนะบริบูรณ์ได้กำหนดก็คลอดออกมา
แล้วก็เติบใหญ่ขึ้นมา จนในที่สุดขันธ์นี้ก็แตกสลาย
คือตายหรือว่าดับ คำว่าเกิดตายหรือเกิดดับนี้
เป็นชื่อของขันธ์ เรียกขันธ์หรือว่าบ้าน
สร้างบ้านทีหนึ่งก็เกิด บ้านพังทีหนึ่งก็ดับหรือว่าตาย
แล้วก็สร้างบ้านขึ้นใหม่ก็เป็นเกิด บ้านพังไปอีกทีหนึ่งก็
เป็นดับหรือตาย เพราะฉะ
นั้นคำว่าเกิดตายก็ดีเกิดดับก็ดีเป็นชื่อหรือ
เป็นศัพท์บัญญัติ หมายถึงนิวาสน์เป็นที่อาศัยอยู่ แต่ว่าตัว
ผู้มาอาศัยเหมือนเช่นคนที่มาอยู่บ้าน ไม่ใช่ตัวบ้าน
ซึ่งเรียกในพระญาณที่ ๑ ว่าข้าพเจ้าหรือว่าเรา
หรือว่าฉัน นี่ไม่เรียกว่าเกิดดับหรือว่าเกิดตาย
แต่เรียกว่าอุปบัติ เรียกว่าจุติ อุปบัติแปลว่าเข้าถึง
จุติแปลว่าเคลื่อน คือเมื่อบ้านสร้างขึ้น
ผู้ที่มาอาศัยบ้านก็เข้าถึงบ้านที่สร้างขึ้นนั้น คือเข้ามา
อยู่บ้านนั้น ก็เป็นอุปบัติ แล้วก็เหมือนบ้านพัง ตัว
ผู้อาศัยบ้านนั้นก็เคลื่อนคือย้ายออกไป
เพราะว่าบ้านพังแล้วก็ต้องย้ายออกไป
นี่แปลว่าจุติคือเคลื่อนซึ่งในพระญาณที่ ๑ นี้
ได้เรียกผู้ที่เข้าอาศัยบ้าน อุปบัติเข้าอาศัย
และจุติคือย้ายบ้าน เรียกว่าเราหรือข้าพเจ้า
หรือว่าฉัน คือหมายถึงพระองค์เอง คือทรงระลึก
ถึงพระองค์เองว่าเราหรือฉันหรือข้าพเจ้าเข้า
ถึงชาตินี้ แล้วก็เคลื่อนจากชาตินี้ แล้วก็เข้าถึงชาติ
นั้น แล้วก็เคลื่อนจากชาตินั้นแล้วเข้าถึงชาติโน้น
แล้วเคลื่อนจากชาติโน้น เห็นทยอยมาโดยลำดับดั่งนี้
ด้วยพระญาณที่ระลึกได้ ซึ่งเรียกกันง่ายๆ
ว่าระลึกชาติหนหลังได้ แต่ว่าตามศัพท์แสงของท่าน
นั้น ระลึกถึงชาติคือระลึกถึงบ้านเก่าคือบ้านที่อาศัย
อยู่ในปางก่อนมีความหมายดังที่กล่าวมานี้
สัตวโลกหรือสัตตภาวะ
คราวนี้มาถึงในพระญาณที่ ๒ เรียกว่า
จุตูปปาตญาณ ทรงหยั่งรู้ถึงความเข้าถึงและจุติคือ
ความเคลื่อนไปของสัตว์ทั้งหลาย ซึ่งในพระญาณที่
๒ นี้ แสดงว่าได้ทรงระลึกได้ถึงสัตว์ทั้งหลาย
ว่าสัตว์ที่ประกอบกรรมที่ชั่วไว้
คือประกอบกรรมที่เป็นทุจริตที่เป็นอกุศลที่
เป็นบาปทางกายทางวาจาทางใจต่างๆ
กายแตกสลายทำลายไปแล้วตายไปแล้วก็อุบัติ
คือว่าเข้าถึงชาติที่ชั่ว ที่เป็นทุคติคือคติที่ชั่ว ที่เป็นอบาย
เป็นนรกเป็นเปรตเป็นอสุรกายต่างๆ แต่ว่าสัตว์
ทั้งหลายที่ประกอบกรรมที่ดีไว้เป็นกุศล
เป็นสุจริตทางกาย ทางวาจา ทางใจ
กายแตกทำลายตายไปแล้วก็ถึงสุคติโลกสวรรค์
แต่ว่าก็ไม่ได้อยู่ยั่งยืนในสุคติในทุคตินั้น
เมื่อสิ้นบาปสิ้นบุญที่ให้ไปเกิดในสุคติหรือในทุคตินั้น
แล้ว ก็ต้องจุติ คือเคลื่อนจากชาติที่เป็นสุคติ
หรือทุคตินั้นไปตามกรรมที่กระทำไว้ต่อไปอีกดั่งนี้
ในพระญาณที่ ๒ นี้ ทรงแสดงถึงผู้ที่สร้างบ้านขึ้น
เข้าถึงบ้าน และเมื่อบ้านพัง ก็เคลื่อนออกจากบ้าน ว่า
เป็นสัตว์ ซึ่งคำว่าสัตว์นี้มิใช่หมาย
ถึงสัตว์เดียรัจฉานดังที่เราเรียกเพียงอย่างเดียว
แต่หมายความคลุมหมดถึงสัตวโลก จะเป็นเทวดา
เป็นมนุษย์หรือเป็นสัตว์เดียรัจฉาน เป็นสัตว์นรก
เป็นเปรต เป็นอสุรกายหรือเป็นอะไร เมื่อ
ยังมีกิเลสเป็นเหตุให้ข้องติดอยู่ในโลก ก็เรียกว่าสัตว์
ทั้งนั้น ดังที่เรียกสัตวโลก เมื่อยังมีกิเลสที่ข้องติดอยู่
กับโลก จึงต้องเวียนเกิดเวียนตายอยู่ในโลกทั้งปวง
ความท่องเที่ยววนเวียนเกิดตายอยู่นี้เรียกว่าสังสารวัฏ
สังสาระก็แปลว่าท่องเที่ยวไป วัฏก็คือวัฏฏะ
แปลว่าวนเวียน สังสารวัฏก็คือว่าท่องเที่ยววนเวียน
หรือว่าวนเวียนท่องเที่ยว และคำว่าวนเวียนนี้
ท่องเที่ยวนี้ ก็พูดกันง่ายๆ ว่าวนเวียนท่องเที่ยว
หรือท่องเที่ยวเวียนเกิดเวียนตาย เพราะว่ามาจับ
ความเอาง่ายๆ ตอนที่ว่าต้องเวียนเกิดเวียนตายกันอยู่
สร้างบ้านขึ้นมาก็เกิด เข้าไปอาศัยอยู่
บ้านพังขึ้นมาก็ตาย ตัวบ้านพังก็ตาย ตัว
ผู้อาศัยก็จุติเคลื่อนออกไป และเมื่อเคลื่อนออกไป ก็
เข้าถึงชาติใหม่ แปลว่าสร้างบ้านกันใหม่ เข้าอยู่ใหม่
บ้านพังก็คือตาย ผู้อาศัยก็เคลื่อนออกไป ก็วนเวียนอยู่
เท่านี้ จะเป็นเทวดา เป็นมนุษย์ เป็นสัตว์เดียรัจฉาน
เป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสุรกาย ก็ต้องขึ้นต้น
ด้วยเกิดแล้วลงท้ายด้วยดับหรือตาย หรือว่าขึ้นต้น
ด้วยเข้าถึงคืออุปบัติลงท้ายด้วยจุติคือเคลื่อนออกไป
ไม่จบสิ้น จึงเรียกว่าสังสารวัฏ ท่องเที่ยววนเวียน
หรือวนเวียนท่องเที่ยวไป ในพระญาณที่ ๒
นี้เรียกว่าสัตว์ เพราะฉะนั้นตามที่เล่ามานี้ ที่แรก
นั้นก็คือจิต จิตที่เป็นตัวเดิม แล้วมาถึงว่าเรา
หรือข้าพเจ้าหรือฉัน และในพระญาณที่ ๒
ที่อ้างมานี้ก็สัตว์ซึ่งแสดงว่ามีอยู่สิ่งหนึ่งที่เป็นตัวเดิม
และดำรงอยู่ในปัจจุบันนี้ ทุกคนก็มีจิตที่เป็นตัวเดิม
แล้วก็มีตัวเราหรือตัวฉันตัวข้าพเจ้าอยู่ด้วยกันทุกคน
และก็มีภาวะที่เป็นสัตว์ คือเป็นผู้ข้องติดอยู่ในโลก
เป็นสัตวโลก เรียกว่ามีภาวะที่เป็นจิตตัวเดิม มีภาวะที่
เป็นเรา เป็นข้าพเจ้าเป็นฉัน แล้วก็มีภาวะที่
เป็นสัตวโลกหรือสัตตภาวะอยู่ทุกคนในบัดนี้
๒๑ สิงหาคม ๒๕๒๖
--------------------------------------------------------------
หมายเหตุ
บทความนี้เป็นธรรมกถาจากจำนวนทั้งสิ้น ๓๖ ครั้ง
ที่เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ
สุวฑฺฒโน)
บรรยายแก่พระนวกภิกษุวัดบวรนิเวศวิหาร
ในพรรษากาล ๒๕๒๖ มหามกุฏราชวิทยาลัย
ในพระบรมราชูถัมภ์ จัดพิมพ์เนื่อง
ในงานบำเพ็ญกุศลชนมายุครบ ๖ รอบ ของ
สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) ในวันที่ ๓
ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๒๘
คัดลอกจาก หนังสือลักษณะพุทธศาสนา ของ
สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน)
พิมพ์ที่ โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย
หน้าวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2014, 00:00 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ครั้งที่ ๑๑ ลักษณะพุทธศาสนา - สังสารวัฏ
ลักษณะพุทธศาสนา
ธรรมบรรยายของสมเด็จพระญาณสังวร
ในการอบรมนวกภิกษุพรรษา ๒๕๒๖
ณ สว.ธรรมนิเวศ วัดบวรนิเวศวิหาร
--------------------------------------------------------------
วิญญาณธาตุ - จิตที่เป็นตัวเดิม
ได้กล่าวถึงบุรุษสตรีบุคคลว่ามีกาย
และจิตประกอบกันอยู่ และจิตนั้นในธาตุวิภังคสูตร
เรียกว่าวิญญาณธาตุ แปลว่าธาตุรู้ หมายถึงจิตที่
เป็นตัวเดิม และจิตที่เป็นตัวเดิมนี้ในพระญาณที่ ๑
ของพระพุทธเจ้าเมื่อก่อนที่จะตรัสรู้ในราตรีที่
จะตรัสรู้นั้น ที่ทรงได้ในปฐมยาม ที่ทรงระลึก
ถึงขันธ์เป็นที่อาศัยอยู่ในปางก่อนได้ คำว่าขันธ์
เป็นที่อาศัยอยู่ในปางก่อนนั้นเรียกว่านิวาสน์ ที่มาใช้
กันว่าบ้านที่อยู่อาศัย ตรัสเล่าถึงพระองค์เอง ก็ทรง
ใช้คำว่าฉันข้าพเจ้าหรือเรา และในพระญาณที่ ๒
ทรงใช้ว่าสัตว์ทั้งหลาย เพราะฉะนั้นส่วนที่หมายถึง
ในบุคคลทุกๆ คน อันเป็นส่วนที่แม้เมื่อขันธ์เป็นที่อาศัย
อยู่แตกสลาย ก็ไม่แตกสลายไป
เป็นแต่ว่าเคลื่อนคือเคลื่อนออกจากขันธ์เป็นที่อาศัย
อยู่ที่แตกสลายนั้น ไปเข้าถึงขันธ์เป็นที่อาศัยอยู่ใหม่
คือว่าเคลื่อนออกจากบ้านเก่าไปเข้าอาศัยอยู่ในบ้าน
ใหม่ ในพระญาณที่ ๑ ตรัสเล่า
ถึงพระองค์เองก็เรียกว่าเราหรือฉันหรือข้าพเจ้า
ในพระญาณที่ ๒ ก็ตรัสเรียกว่าสัตว์ทั้งหลาย และ
ในส่วนที่แบ่งออกเป็นกายและจิต
ก็เรียกว่าวิญญาณธาตุ ธาตุรู้ หรือเรียกว่าจิต แม้
ในธาตุวิภังคสูตรนั้นเองที่ตรัสแสดงถึงธาตุ ๖
ก็ตรัสสอนให้พิจารณาธาตุ ๕ ข้างต้น คือปฐวีธาตุ
ธาตุดิน อาโปธาตุ ธาตุน้ำ เตโชธาตุ ธาตุไฟ วาโยธาตุ
ธาตุลม อากาศธาตุ ธาตุอากาศคือช่องว่าง
บรรดาที่มีอยู่ในกายนี้ ว่าเป็นสิ่งที่ไม่พึงยึดถือ ว่านี่
เป็นของเรา เราเป็นนี่ นี่เป็นอัตตาตัวตนของเรา
เพราะเป็นสิ่งที่เกิดดับ
จึงแสดงวิญญาณธาตุคือธาตุรู้ต่อไปว่า
ธาตุรู้ย่อมผ่องใสควรแก่การงาน ในเมื่อ
ได้พิจารณาเห็นธาตุ ๕ ข้างต้นตามที่เป็นจริงดั่งนั้น ฉะ
นั้นวิญญาณธาตุที่เป็นธาตุรู้นี้จึงหมายถึงจิตที่
เป็นตัวเดิม ดังที่ตรัสสอนชี้ให้รู้ลักษณะของจิตว่า
ไม่มีสรีรสัณฐาน มีคูหาเป็นที่อาศัย เที่ยวไปไกล
และตรัสสอนให้ฝึกจิตให้ข่มจิตให้รักษาจิต
ให้อบรมจิต
จิต - อัตตภาวะหรือสัตตภาวะ
ฉะนั้น จึงสรุปว่าสิ่งที่มีอยู่อาศัยอยู่ในกายอันนี้
ซึ่งแม้กายอันนี้จะแตกสลายก็เคลื่อนออกไป
ไม่แตกสลายไปตามกาย เข้าถึงกายใหม่ซึ่งเป็นบ้าน
ใหม่ต่อไป ก็เรียกว่าจิตบ้าง วิญญาณธาตุ ธาตุรู้
หรือวิญญาณบ้าง ถ้ามุ่งขึ้นมาถึงตัวเราเอง
ก็เรียกว่าเราหรือฉันหรือข้าพเจ้า โดยนัยนี้เมื่อมุ่ง
ถึงผู้อื่นเมื่อจะพูดถึง ก็เรียกท่านหรือเธอเป็นต้น
และเมื่อเรียกรวมๆ ก็เรียกว่าสัตว์ทั้งหลาย
ซึ่งคำว่าสัตว์นี้ก็ได้กล่าวแล้วว่า ไม่ได้หมายจำเพาะ
ถึงสัตว์เดรัจฉาน แต่หมายถึงทุกถ้วนหน้า จะ
เป็นมนุษย์สัตว์เดียรัจฉานเปรตอสุรกาย หรือ
เป็นเทวดามารพรหมก็เรียกว่าสัตว์ทั้งหมด ในเมื่อ
ยังมีกิเลสเป็นเครื่องข้องอยู่ก็เรียกว่าสัตว์ทั้งนั้น
เพราะฉะนั้นจึงสรุปว่าตามคติที่แสดงไว้ในพุทธศาสนา
นั้น บุคคลทุกๆ คนไม่ว่าชายไม่ว่าหญิงจึงมีกาย
และจิตอาศัยกันอยู่ หรือเมื่อแบ่งเป็นธาตุทั้ง ๖
ก็มีธาตุที่เป็นส่วนกาย คือธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ
ธาตุลม ธาตุอากาศ และวิญญาณธาตุหรือธาตุรู้ที่
เป็นส่วนจิต และส่วนจิตนี้ก็เรียกว่าเราเขา
หรือเรียกว่าสัตว์ จึงมีวิญญาณธาตุหรือจิต
มีอัตตภาวะ คือภาวะที่เรียกว่าเราหรืออัตตาตัวตน
หรือเรียกว่าสัตตภาวะ ความเป็นสัตว์ อยู่ด้วยกัน
ซึ่งสภาพที่เป็นจิตเป็นวิญญาณธาตุ เป็นอัตตา
หรืออัตตภาวะ ความเป็นเรา ดังที่เรียก
เป็นกิเลสว่าอหังการ มมังการ กิเลสที่
เป็นเครื่องกระทำให้เป็นเราเป็นของเรา ในที่นี้ไม่
ใช้คำนั้น แต่ใช้คำว่าอหภาวะ ภาวะที่เป็นของเรา
หรือว่าเขาก็ได้ที่คู่กัน และสัตตภาวะ
แต่ว่าภาวะเหล่านี้ไม่มีรูปสัณฐาน แต่ก็อาศัยอยู่
ในกายอันนี้ เมื่อก่อเกิดกายอันนี้ขึ้นมาก็เกิดปฏิสนธิ
หรืออุปบัติคือเข้ามาอาศัย
และเมื่อกายอันนี้แตกสลายก็จุติคือว่าเคลื่อนออกไป
แล้วก็เข้าถึงกายใหม่หรืออุปบัติ แต่ว่าภาวะที่เข้ามา
และภาวะที่เคลื่อนออกไป หรือว่าสภาพที่
เข้ามาสภาพที่เคลื่อนออกไปอันเรียกว่าจิต
หรือวิญญาณธาตุ หรืออหภาวะ
หรือว่าสัตตภาวะดังกล่าวนั้น เมื่อไม่มีสรีรสัณฐานก็
เป็นสิ่งที่มองไม่เห็น เป็นสิ่งที่พิสูจน์ทางวัตถุคือ
จะชั่งตวงวัดหรือจะพิสูจน์เหมือนอย่างพิสูจน์วัตถุ
ทั้งหลายไม่ได้ เพราะไม่มีสรีระ เมื่อเป็นดั่งนี้ ผู้
ต้องการที่จะพิสูจน์เหมือนอย่างผู้ที่มีสรีระ
จึงกล่าวปฏิเสธว่าไม่มี เพราะเมื่อคนเกิดก็ไม่ปรากฏ
เป็นสรีระเป็นวัตถุว่า มีสิ่งที่เรียกว่าจิตหรือวิญญาณ
หรือภาวะเป็นเราภาวะเป็นสัตว์ ดังกล่าวนั้นเข้ามา
และเมื่อตายก็ไม่ปรากฏเป็นวัตถุว่า
มีอะไรเคลื่อนออกไป แต่ว่าแม้จะพิสูจน์ทางวัตถุไม่
ได้ดั่งนั้น ก็ควรจะพิจารณาว่าสิ่งที่เรียกว่าจิต
หรือวิญญาณหรือภาวะเป็นเราหรือภาวะ
เป็นสัตว์ดังกล่าวนั้น คือในเดี๋ยวนี้สภาพที่เป็นวัตถุ
ไม่มีสรีระสัณฐานนั้น มีอยู่ในบุคคลหรือไม่ในบัดนี้
อย่างตัวเราเองในบัดนี้มีอยู่หรือไม่
อารมณ์คืออาการที่ปรากฏของจิต
ถ้าหากพิจารณาดูแล้วโดยรอบคอบ ทุกคนก็
จะรู้ว่าทุกคนมีธาตุรู้หรือวิญญาณธาตุ
อยู่คือรู้อะไรๆ ทางตาทางหูเป็นต้นได้ ซึ่งเป็น
ความรู้ทางประสาท สัตว์เดียรัจฉานทั้งหลายก็มี
ความรู้ทางประสาททางตาทางหูเป็นต้นเหมือนกัน
และเมื่อว่าถึงความรู้ทางประสาทตาประสาทหู
เป็นต้นนั้น
ประสาทหูประสาทตาบางอย่างของสัตว์เดียรัจฉานดีกว่าของมนุษย์
อย่างเช่นตามองเห็นอะไรในความมืด
หูฟังเสียงอะไรที่ละเอียด
ตาหูของสัตว์เดียรัจฉานบางจำพวกดีกว่าตาหูของมนุษย์
แต่ว่ามีอยู่สิ่งหนึ่งที่สู้มนุษย์ไม่ได้ ก็คือปัญญา ซึ่งเรามัก
จะเรียกกันว่าสมอง สมองของมนุษย์
นั้นดีกว่าของสัตว์เดียรัจฉาน สมองอันเป็นสิ่งที่
เป็นที่ตั้งของปัญญา แต่ว่าสิ่งที่เรียกว่าสมองนั้นเป็น
ส่วนหนึ่งของร่างกายซึ่งมีสรีรสัณฐาน
มีอีกอย่างหนึ่งคือจิตหรือวิญญาณธาตุซึ่งอาศัยอยู่
ในร่างกายอันนี้ และก็อาศัยสมองอันนี้
เป็นที่ตั้งของประสาทรับรู้ต่างๆ และ
เป็นที่ตั้งของปัญญาต่างๆ สมองนั้นก็
เป็นเครื่องมือของจิตคือธาตุรู้ซึ่งเป็นสิ่งที่
ไม่มีสรีรสัณฐาน ควรจะต้องพิจารณาว่า
บรรดาร่างกายนั้นล้วนเป็นเครื่องมือของจิต
หรือวิญญาณธาตุที่เป็นธาตุรู้ทั้งนั้น เพราะว่าจิต
หรือวิญญาณธาตุที่เป็นธาตุรู้นั้นไม่มีสรีรสัณฐาน
อาศัยร่างกายนี้ซึ่ง
เป็นตัวสรีรสัณฐานสำหรับปฏิบัติงานการต่างๆ
ไปตามต้องการ เช่นเกี่ยวแก่ประสาททั้งหลายก็
ต้องอาศัยสมอง และเมื่อต้องการจะหยิบจับอะไรก็
ใช้มือ จิตหรือวิญญาณธาตุรู้นั้นจะเดินเองก็ไม่ได้
ต้องอาศัยร่างกายอันนี้ ซึ่งรวมเข้าแล้ว จะดูอะไรก็
ต้องอาศัยจักขุประสาท จะฟังอะไรก็
ต้องอาศัยโสตประสาทเป็นต้น ซึ่ง
เป็นปรกติธรรมดา และอาการที่แสดงออกว่า
เป็นอาการของจิตและธาตุรู้นั้น
ก็คืออาการที่ปรากฏเป็นอารมณ์คือเรื่องที่ปรากฏ
เป็นกิเลส ที่ปรากฏเป็นอารมณ์คือเรื่อง
นั้นก็คือเรื่องที่จิตคิด เรื่องที่จิตดำริ
เรื่องที่จิตครุ่นคิดถึงทั้งหลาย เมื่อ
เป็นเรื่องรูปก็เรียกว่ารูปารมณ์ อารมณ์คือรูป
เรื่องเสียงก็เรียกว่าสัททารมณ์ อารมณ์คือเสียง
เรื่องกลิ่นก็เรียกว่าคันธารมณ์ อารมณ์คือกลิ่น
เรื่องรสก็เรียกว่ารสารมณ์ อารมณ์คือรส
เรื่องที่กายถูกต้องก็เรียกว่าโผฏฐัพพารมณ์
อารมณ์คือโผฏฐัพพะ เรื่องของเรื่องเหล่า
นั้นที่รู้ที่คิดอยู่ในใจก็เรียกว่าธรรมารมณ์
อารมณ์คือธรรม คือเรื่องราวของเรื่องเช่นรูป
เป็นต้นเหล่านั้น ที่ประสบพบผ่านมาแล้ว
และก็นำมาคิดนำมาระลึกถึง
และอารมณ์บางอย่างที่เป็นที่ตั้งของราคะ
หรือโลภะ ก็เกิดเป็นราคะ ความกำหนัดยินดีติดอยู่
เป็นความโลภอยากได้ เรื่องที่เป็นที่ตั้งของโทสะ
ก็เกิดความขัดแค้นโกรธเคืองอันเป็นตัวโทสะ เรื่องที่
เป็นที่ตั้งของความหลง ก็เกิดความหลงที่
เป็นตัวโมหะขึ้น บรรดาอารมณ์
และกิเลสเหล่านี้ก็ไม่มีสรีรสัณฐาน ก็เป็นสิ่งที่มี
อยู่ และในด้านปฏิบัติธรรม ที่เรียกว่าปฏิบัติก็ดี
ที่เรียกว่าศึกษาก็ดี ที่เป็นเมตตาเป็นกรุณา เป็นศีล
เป็นสมาธิเป็นปัญญา ก็ไม่มีสรีรสัณฐานอีกเหมือนกัน
แต่ก็เป็นสิ่งที่มีอยู่ แม้ว่าการศึกษาเล่าเรียน
ในทางคดีโลกก็ตามในทางคดีธรรมก็ตาม ก็เป็น
ความรู้ดังที่ได้เคยกล่าวแล้ว ก็ไม่มีสรีรสัณฐาน
อารมณ์เป็นอาหารอย่างหนึ่งของจิต
ในตอนนี้จะพิจารณาเห็นความแตกต่างกัน
ได้ระหว่างสมองกับภาวะที่เรียกว่าจิต
หรือวิญญาณธาตุ อาการของอารมณ์
และกิเลสเหล่านี้เป็นเรื่องของจิต
และวิญญาณธาตุ ไม่ใช่เป็นเรื่องของสมอง
เรื่องของสมองนั้น สมอง
ต้องการอาหารสำหรับเลี้ยงสมอง
เป็นแบบอาหารสำหรับเลี้ยงรูปกาย
และเมื่อสมองป่วยก็เป็นอาการป่วยทางรูปกาย ซึ่ง
ต้องใช้หยูกยาทางรูปกายรักษา แต่ว่าอาหารของจิต
หรือวิญญาณธาตุคือธาตุรู้นั้น ก็คืออารมณ์
จะพึงกล่าวได้ว่า จิตย่อมมีอารมณ์
เป็นอาหารอย่างหนึ่ง และจิตที่มีกิเลส
กิเลสก็มีอารมณ์ที่เป็นอาหาร มีสิ่งที่กิเลสต้องการ
เป็นอาหาร อันนับว่าเป็นอาหารของอารมณ์
และอาหารของกิเลส และเมื่อจิตมีกิเลส กิเลส
นั้นเองต้องการ เช่นว่าเมื่อโลภเกิดขึ้น อยากจะ
ได้เงินอยากจะได้ทอง ก็ทำให้อารมณ์ในเงินในทอง
นั้นมาเป็นอาหารโลภ ของจิตที่โลภ เมื่อได้เงิน
ได้ทองก็รู้สึกว่าอิ่มใจสบายใจ โทสะก็เหมือนกัน
ต้องการอาหาร เมื่อโกรธขึ้นมาก็ต้องการทุบตี
เขาทำลายเขา การที่ได้ทุบตีเขาก็
เป็นอาหารแก้หิวของโทสะ โมหะก็เหมือน
กันหลงสยบติดอยู่ ก็เพลิดเพลินสบายอยู่
กับสิ่งที่หลงสยบติดอยู่ นั่นก็เป็นอาหารของโมหะคือ
ความหลง แต่อันที่จริงไม่ได้เป็นอาหารของจิต
หรือธาตุรู้โดยตรง แต่เป็นอาหารของกิเลส
เหมือนดังว่าตัวพยาธิที่อาศัยอยู่ในท้องของบุคคล
ตัวพยาธิก็ต้องการอาหารที่บุคคลบริโภคอาหาร
เข้าไป ตัวพยาธิก็แย่งบริโภค อาหารก็ไม่
ได้บำรุงเลี้ยงร่างกายเท่าไหร่ จิตก็เหมือนกัน
โดยมากนั้นก็ต้องการอาหารที่
เป็นอาหารของกิเลสดังกล่าวนั้น เหล่านี้
เป็นเรื่องของจิต เป็นเรื่องของธาตุรู้ที่เกี่ยวแก่กิเลส
เป็นอาหารอีกอย่างหนึ่งที่ต่างจากอาหารของสมอง
ธัมมะเป็นอาหารของจิตโดยตรง
คราวนี้อาหารที่เป็นของจิตโดยตรงนั้น
ก็คือธรรมที่เป็นคุณเกื้อกูล เมื่อจิต
ได้ดูดดื่มธรรมที่เป็นคุณเกื้อกูล เช่นว่าเมื่อ
ได้ทำทานก็ได้ปีติได้สุขในทาน จิตก็ดื่มปีติสุขที่เกิด
จากทานและเมื่อทานที่บริจาคที่ทำ
นั้นไปขัดเกลาโลภะมัจฉริยะในจิต
เมื่อโลภะมัจฉริยะเบาบางลง จิตก็บริสุทธิ์ผ่องใส
ก็เกิดสุขเกิดปีติอันเกิดจากความบริสุทธิ์ จิตก็
ได้ดูดดื่มปีติสุขอันเกิดจากความบริสุทธิ์นั้น ปฏิบัติ
ในศีลในสมาธิในปัญญาก็เช่นเดียวกัน จิตบริสุทธิ์จิตก็
ได้ดื่มปีติสุขอันเกิดจากความบริสุทธิ์นั้น ก็ได้ความปีติ
ได้ความสุขที่บริสุทธิ์ยิ่งขึ้น คือธรรมปีติ ปีติ
ในธรรมนั้นเอง นี่เป็นอาหารของจิตโดยตรง ทำ
ให้จิตมีความสุขมีความอิ่มเอิบ เป็นความสุขเป็น
ความอิ่มเอิบยิ่งกว่าที่ได้อาหารของกิเลสเข้ามา เช่น
ได้อาหารของกิเลสเป็นความโลภเป็นต้นดังที่กล่าว
นั้นเป็นความสุขเป็น
ความอิ่มเอิบที่บริสุทธิ์กว่าที่สงบกว่าที่เย็นกว่า
ซึ่งบุคคลผู้ปฏิบัติธรรมได้รับก็ย่อมจะรู้สึก
ธรรมนี้แหละเป็นอาหารของจิตโดยตรง และยัง
เป็นธรรมโอสถหรือยาธรรมสำหรับที่
จะแก้โรคกิเลส แก้โรคโลภหรือราคะ
แก้โรคโกรธ แก้โรคหลง ได้ด้วย ดังที่
ได้เคยกล่าวแล้ว ฉะ
นั้นยาสำหรับแก้โรคทางจิตคือโรคกิเลสดังที่
ได้กล่าวแล้วก็คือธรรมโอสถ ซึ่งต่าง
จากยาแก้โรคสมองที่เป็นเวชโอสถ
โอสถของหมอทางร่างกายนั้นเอง เพราะฉะนั้น
เมื่อพิจารณาดูแล้วดั่งนี้จะเห็นได้ว่า ในบุคคลทุกๆ
คนนี้มีสภาพที่เรียกว่าจิตหรือธาตุรู้ หรือว่าภาวะ
เป็นเราหรือว่าภาวะเป็นสัตว์ อันเป็นสิ่งที่ยังดำรง
อยู่แม้เมื่อร่างกายอันนี้แตกสลาย
แล้วก็เคลื่อนไปสู่ที่บ้านใหม่ภพใหม่ต่อไป
พุทธศาสนาไม่แสดงว่าตายเกิดหรือตายสูญ
ตามที่กล่าวนี้ก็กล่าวเป็นทำนองว่าตายเกิด
แล้วก่อนเกิดนั้นเล่าก็มีชาติภพในอดีตมาก่อนจึงมา
ถึงชาติภพนี้ และก็ต่อไปชาติภพอื่น
เพราะเหตุว่ามีตัวที่เรียกว่าจิตหรือธาตุรู้
หรือว่าตัวที่เป็นเราหรือที่เป็นสัตตภาวะหรือภาวะ
เป็นสัตว์อันเป็นสิ่งที่ไม่ตายไปตามกาย เป็นสิ่งที่
ยังดำรงอยู่เมื่อกายแตกสลาย คือบ้านอันนี้พัง
สภาพที่กล่าวนี้ที่เป็นตัวเรา เป็นสัตตภาพ เป็นจิต
หรือเป็นธาตุรู้ก็จุติเคลื่อนออกไป ไปถือภพชาติ
ใหม่ต่อไป ก็เป็นอันกล่าวไปในเค้าว่าตายเกิด
และก่อนเกิดมาก็เคยเกิดในชาติภพอื่นมาก่อน สืบต่อมา
ถึงชาตินี้ภพนี้ แล้วก็จะสืบต่อไปถึงชาติหน้าภพหน้า ไม่
ใช่ตายสูญ แต่อันที่จริงนั้นตายเกิดตายสูญนี้
เป็นทิฏฐิที่มีมาก่อนพุทธกาล และในบัดนี้ก็ยังมีอยู่
คือบางลัทธิแสดงว่าตายสูญคือไม่มีอะไรไปเกิดอีก
เรียกว่าอุจเฉททิฏฐิ ความเห็นว่าขาดสูญ
อีกลัทธิหนึ่งแสดงว่าตายเกิดเรียกว่าสัสสตทิฏฐิ
ความเห็นว่าเที่ยง เพราะฉะนั้นหาก
จะมีปัญหาว่าพระพุทธศาสนาแสดงอย่างไร ก็ตอบ
ได้ว่า พระพุทธศาสนานั้นไม่แสดงว่าตายเกิด
ไม่แสดงว่าตายสูญ คือปฏิเสธทั้งฝ่ายสัสสตทิฏฐิ
ความเห็นว่าเที่ยงกับอุจเฉททิฏฐิ ความเห็นว่าขาดสูญ
แต่ว่าแสดงตามเหตุผลว่าเมื่อยังมีเหตุก็ยังเกิดอีก
เมื่อสิ้นเหตุให้เกิดก็ไม่เกิด ซึ่งจะแสดงต่อไป
๒๔ สิงหาคม ๒๕๒๖
--------------------------------------------------------------
หมายเหตุ
บทความนี้เป็นธรรมกถาจากจำนวนทั้งสิ้น ๓๖ ครั้ง
ที่เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ
สุวฑฺฒโน)
บรรยายแก่พระนวกภิกษุวัดบวรนิเวศวิหาร
ในพรรษากาล ๒๕๒๖ มหามกุฏราชวิทยาลัย
ในพระบรมราชูถัมภ์ จัดพิมพ์เนื่อง
ในงานบำเพ็ญกุศลชนมายุครบ ๖ รอบ ของ
สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) ในวันที่ ๓
ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๒๘


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2014, 00:10 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ครั้งที่ ๑๒ ลักษณะพุทธศาสนา - สังสารวัฏ (๒)
ลักษณะพุทธศาสนา
ธรรมบรรยายของสมเด็จพระญาณสังวร
ในการอบรมนวกภิกษุพรรษา ๒๕๒๖
ณ สว.ธรรมนิเวศ วัดบวรนิเวศวิหาร
--------------------------------------------------------------
แสดงลักษณะพุทธศาสนามาถึงพุทธวาทะ
ไม่รับรองสัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิ จึง
จะกล่าวอธิบายสืบต่อไป
ทิฏฐิคือความเห็นที่ถือกันมาตั้งแต่เก่าก่อนพุทธศาสนา
เรื่องตายเกิดตายสูญ ฝ่ายที่มี
ความเห็นยึดถือว่าตายเกิดเรียกว่าสัสสตทิฏฐิ แปลว่า
ความเห็นเที่ยง คือมีความเห็นว่าในชาตินี้ก็มีอัตตา
หรืออาตมันตัวตน และเมื่อตายไป อัตตา
หรืออาตมันตัวตนก็ไปถือภพชาติใหม่เรื่อยไป
ไม่มีที่สิ้นสุด เรียกสั้นๆ ก็คือว่าตายเกิด ก็เกิด
กันเรื่อยๆ ไป อีกฝ่ายหนึ่งตายสูญที่เป็นพวกอุจเฉททิฏฐิ
ความเห็นว่าขาดสูญ ก็คือมีความเห็นว่ามีอัตตา
หรืออาตมันตัวตนอยู่ในชาตินี้เท่านั้น ตายไปแล้วก็สูญ
ไม่มีอัตตาหรืออาตมันตัวตนสืบต่อไปอีก ส่วนพุทธวาทะ
วาทะของพระพุทธเจ้านั้น ไม่รับรองทิฏฐิทั้ง ๒ นี้
และก็ถือว่าทิฏฐิทั้ง ๒ นี้เป็นมิจฉาทิฏฐิคือความเห็นผิด
โดยที่วาทะของพระพุทธเจ้านั้นแสดงว่า
เป็นไปตามเหตุผล คือเมื่อยังมีเหตุให้เกิดก็เกิด
เมื่อสิ้นเหตุให้เกิดก็ไม่เกิด แต่ว่าก็ไม่สูญ ฉะนั้นจึงจะ
ต้องอ้างพุทธวาทะว่าตรัสไว้ที่ไหนอย่างนี้
กิเลส กรรม วิบาก
วาทะของพระพุทธเจ้าที่ตรัสไว้อย่างนี้
โดยตรงก็คืออริยสัจทั้ง ๔ และปฏิจจสมุปบาท
อริยสัจทั้ง ๔ นั้นคือสภาพที่จริงคือทุกข์ เรา
ทั้งหลายก็ได้สวดกันอยู่ทุกวันแล้วว่า ชาติปิ ทุกฺขา
ความเกิดเป็นทุกข์เป็นต้น
คือว่าทรงชี้ตัวทุกข์ตั้งแต่ชาติคือความเกิดเป็นต้นไป มา
ถึงสมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์ ก็ทรงชี้เอาตัณหาคือ
ความดิ้นรนทะยานอยาก ฉะนั้นเมื่อยังมีสมุทัยคือเหตุ
ให้เกิดทุกข์คือตัณหาอยู่ ก็ยังต้องมีทุกข์ อันเป็น
ส่วนผล ตั้งต้นแต่ชาติคือความเกิด
ตามหลักอริยสัจนี้ จึงกล่าว
ได้ว่าวาทะของพระพุทธเจ้านี้ทรงแสดงว่าเมื่อ
ยังมีตัณหาเป็นสมุทัยคือเหตุให้เกิดทุกข์อยู่ ก็ยัง
ต้องมีชาติคือความเกิด ก็หมายความว่าเมื่อขันธ์ ๕ นี้แตก
หรือว่าบ้านนี้พัง สัตว์ก็ต้องจุติคือเคลื่อนจากชาตินี้
หรือว่าเคลื่อนออกจากบ้านที่พังนี้ ไปเข้าบ้าน
ใหม่คือชาติภพใหม่หรือขันธ์เป็นที่ยึดถือใหม่ต่อไป เมื่อ
ยังมีตัณหาอยู่ ขันธ์ ๕ นี้แตกสลาย จึง
ต้องไปถือชาติภพสืบต่อไป คราวนี้มาถึงทุกขนิโรธคือ
ความดับทุกข์ ก็คือดับตัณหา เมื่อดับตัณหาเสียได้ อัน
เป็นส่วนเหตุก็ดับทุกข์เสียได้ ก็คือดับตั้งแต่ชาติคือ
ความเกิด ไม่ไปเกิดอีก แต่ว่าก็ไม่สูญ อย่างไรจึงว่า
ไม่สูญนั้น ก็จะต้องอธิบายต่อไป แต่มากล่าว
ถึงตอนนี้ก่อน เมื่อวาทะของพระพุทธเจ้าแสดงไว้ดังนี้
จึงกล่าวได้ว่าลักษณะของพุทธศาสนาที่แสดงเรื่องนี้
ไม่แสดงว่าตายเกิด ไม่แสดงว่าตายสูญเพียงส่วนเดียว
แต่แสดงว่าเมื่อยังมีกิเลสมีตัณหาเป็นต้นก็ต้องเกิด
เมื่อสิ้นตัณหาสิ้นกิเลสก็ไม่เกิด แสดงตามเหตุผลดังนี้
และการที่เกิดนั้นก็เกิดตามกรรม
พระพุทธเจ้าทรงได้พระญาณคือความหยั่งรู้
ในเรื่องนี้ ตั้งแต่ก่อนตรัสรู้ทรงได้พระญาณที่ ๑
คือบุพเพนิวาสญาณตามที่ได้กล่าวมาแล้ว ซึ่ง
ได้ทรงระลึกรู้หรือว่ารู้ระลึกถึงบ้านหนหลัง
ได้ คือระลึกชาติหนหลังได้มีจำนวนมาก ว่าเราเข้า
ถึงชาตินี้ เคลื่อนจากชาตินี้ก็เข้าถึงชาตินั้นต่อๆ กันมา
พร้อมทั้งรายละเอียดต่างๆ ของชาตินั้นๆ มา
ถึงญาณที่ ๒ ก็ทรงได้พระญาณคือความหยั่งรู้
ว่าสัตว์ทั้งหลายเข้าถึงชาติหนึ่งๆ ตามกรรมที่
ได้กระทำไว้ ทำกรรมชั่วก็เข้าถึงชาติที่ชั่วมีทุกข์
ทำกรรมดีก็เข้าถึงชาติที่ดีมีสุขดั่งนี้ พร้อม
ทั้งรายละเอียดต่างๆ จนถึงญาณที่ ๓
ที่เรียกว่าอาสวักขยญาณ คือความหยั่งรู้
เป็นเหตุสิ้นอาสวะ กิเลสที่ดองจิตสันดาน คือ
ได้ตรัสรู้เข้าไปถึงว่าที่ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดไป
ในชาติทั้งหลายตามกรรมซึ่งได้กระทำไว้นั้น ก็
เพราะยังมีกิเลสอันเป็นเหตุให้กระทำกรรม
กิเลสที่ดองสันดานก็เรียกว่าอาสวะ
คือมีกิเลสที่ดองสันดานอยู่ จึงเป็นเหตุ
ให้กระทำกรรม เมื่อกระทำกรรม
กรรมก็ส่งวิบากคือผล ตั้งต้นแต่ให้ไปถือชาติภพ
ได้วิบากขันธ์ คือกายใจที่เป็น
ส่วนวิบากคือผลของกรรม ดังที่ทุกคนได้อยู่นี้
เพราะฉะนั้นเมื่อยังมีกิเลสที่ดองสันดานอยู่ก็
ต้องประกอบกรรม กรรมก็ส่งผลตั้งแต่
ให้ไปเกิดถือชาติภพ เกิดแล้วก็ต้องแก่ต้องตาย คือขันธ์
เป็นที่ยึดถือได้แก่ตัววิบากขันธ์นี้เป็นสิ่งที่ต้องแก่ต้องตาย
และขันธ์อันเป็นวิบากขันธ์นั้นก็เท่ากับเป็นตัวบ้านอัน
เป็นที่อาศัยอยู่ของจิตที่เป็นตัวเดิม
หรือว่าอหภาวะคือตัวเรา หรือที่ยึดถือว่า
เป็นอัตตาตัวตน หรือที่เรียกว่าสัตว์คือเป็นผู้ที่
ยังข้องติดอยู่นี้ และเพราะกิเลสนี้เองจึงทำให้จิตที่
เป็นตัวเดิมนี้เป็นจิตที่แปลว่าคิดนึกรู้
ที่แปลว่าเก็บสั่งสม
ที่แปลว่าวิจิตรหลายหลากต่างๆ ดังที่
ได้แสดงอธิบายแล้ว และก็ทำให้มีอหภาวะคือความ
เป็นเรา ตลอดจนเป็นอหังการมมังการ
อหังการก็คือว่าเครื่องกระทำให้เป็นเรา
มมังการก็แปลว่าเครื่องกระทำให้เป็นของเรา
หรือว่ามีตัวเราของเรา หรือว่ามีสัตตภาวะคือความ
เป็นผู้ข้องเป็นผู้ติดอยู่ และสภาพที่เรียกว่าจิตอัน
เป็นตัวเดิม สภาพที่เรียกว่าอหภาวะความเป็นเรา
หรือสภาพที่เรียกว่าสัตว์ หรือสัตตภาวะความ
เป็นสัตว์ผู้ข้องผู้ติดนี้ ก็
เป็นคำที่สมมติบัญญัติเรียกขึ้นมาถึงสภาพอันหนึ่งซึ่งมี
อยู่ในบุคคลทุกๆ คนนี้ อันไม่มีสรีรสัณฐาน อาศัยอยู่
ในกายซึ่งเหมือนกับเป็นตัวบ้าน กายสร้างขึ้นก่อขึ้นก็
เข้าอาศัย กายพังบ้านพังก็เคลื่อนออก
แล้วก็ไปถือเอากายใหม่บ้านใหม่ตราบเท่าที่
ยังมีกิเลสที่เป็นอาสวะดองจิตสันดานอยู่
ก็แปลว่าสภาพที่กล่าวมานี้ไม่ตาย ส่วนที่ตาย
นั้นก็คือตัวกายหรือตัวขันธ์รูปขันธ์นามขันธ์กายใจ
ซึ่งเหมือนอย่างตัวบ้านดังที่กล่าวมานั้นสร้างขึ้นแล้ว
ในที่สุดก็พัง แล้วสร้างขึ้นใหม่เป็นบ้านใหม่ แล้วบ้าน
ใหม่นั้นก็เก่าไปๆ แล้วก็พัง แล้วก็สร้างบ้านขึ้นใหม่อีก
แล้วเก่าไปๆ แล้วก็พัง และบ้านที่สร้างขึ้นนี้
บางคราวก็ลักษณะเป็นมนุษย์ก็เรียกว่ามนุษยโลก
บางคราวก็ลักษณะเป็นเดียรัจฉาน เป็นช้างเป็นม้า
เป็นวัวเป็นควาย ก็เรียกว่าเดียรัจฉานโลก ก็
เป็นอบายอันหนึ่ง บางคราวก็
เป็นพวกโอปปาติกะพวกลอยเกิด เช่นเป็นเปรต
เป็นอสุรกายเป็นผีเป็นสัตว์นรกซึ่งเป็นอบาย
เป็นฝ่ายดีก็เป็นเทพพวกกายทิพย์หรือเป็นพรหม
บ้านก็มีต่างๆ เหล่านี้ จะเป็นชนิดไหนก็ตามกรรม
ถ้าทำชั่วไว้บ้านก็เป็นสัตว์เดียรัจฉาน เป็นช้างเป็นม้า
เป็นวัวเป็นควายเป็นต้น หรือว่าเป็นเปรต
เป็นอสุรกาย ถ้าทำกรรมดีก็เป็นบ้านมนุษย์
ก็มีหน้ามีตาเป็นมนุษย์อย่างนี้ หรือมีกายทิพย์เป็นเทพ
เป็นพรหมซึ่งคติทางพุทธศาสนานั้น จะเป็นเทพ
เป็นพรหมเป็นมนุษย์หรือเป็นพวกอบายต่างๆ ก็
ต้องมีชาติ เมื่อมีชาติความเกิดก็จะต้องมีความตาย
ในที่สุด ต้องแตกสลายทั้งนั้น ไม่มีที่จะยั่งยืนตลอดไป
เพราะฉะนั้นเมื่อยังมีชาติมีภพอยู่ คติทางพุทธศาสนา
จึงแสดงว่ายังมีกิเลสมีตัณหายังเป็นสัตว์โลก ก็เป็นไป
อยู่ดั่งนี้ เพราะฉะนั้นเมื่อพระญาณของพระพุทธเจ้า
ได้ทรงเห็นปรุโปร่งดั่งนี้ก่อนตรัสรู้ จึง
ได้ทรงมองเห็น อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา ชัดเจน
ว่าบรรดาชาติภพทั้งหลายนับไม่ถ้วน
ที่พระองค์เองก็ได้เวียนว่ายตายเกิดอยู่ จะเลวที่สุด
หรือเลวปานกลางหรือเลวน้อย
หรือดีน้อยดีปานกลางดีที่สุดก็ตาม ก็ล้วนอนิจจะคือ
ไม่เที่ยง ต้องเกิดต้องดับ ทุกขะเป็นทุกข์
ต้องแปรปรวนเปลี่ยนแปลงทนอยู่คงที่ไม่ได้
เป็นอนัตตามิใช่อัตตาตัวตนแท้จริง ล้วนไปยึดถือทั้ง
นั้น เพราะบังคับให้เป็นไปตามปรารถนามิได้
เพราะฉะนั้นจึงทรงหน่ายในทุกข์คือหน่ายในชาติภพ
ทั้งหมด ไม่ว่าจะมีชาติภพเป็นมนุษย์เป็นเทพเป็นพรหม
ซึ่งยึดถือกันว่ามีความสุขน้อยมีความสุขปานกลางมี
ความสุขมากก็ตาม ก็ล้วนเป็นสิ่งที่เกิดดับทั้งนั้น
ต้องวนเวียนไปตามกรรมที่ตนเองได้กระทำนั้น
ทำกรรมดีก็ต้องไปเข้าถึงชาติภพที่ดี ทำกรรมชั่วก็
ต้องไปเข้าถึงชาติภพที่ชั่ว กรรมจึงเท่ากับเป็น
ผู้สร้าง เรียกว่าชนกกรรม กรรมที่ให้เกิด
ไม่มีอะไรมาสร้างให้เกิด แต่กรรมนี้เองเป็น
ผู้สร้างให้เกิด และกรรมนั้นก็ตนเองเป็นผู้กระทำ
ไม่ใช่ผู้อื่นกระทำ กรรมดีก็ตนเองกระทำ
กรรมชั่วก็ตนเองกระทำ ไม่ใช่ผู้อื่นกระทำ
เพราะฉะนั้นตัวเองจึงเป็นผู้กระทำสร้างกรรม
ให้สร้างตัวเองขึ้นมาอีกในชาติภพต่อไป เพราะฉะ
นั้นตัวเองจึงเท่ากับเป็นผู้สร้างตัวเอง
เพราะสร้างกรรมขึ้นให้เป็นผู้สร้างตัวเองต่อไป
ไม่ใช่ผู้อื่น แต่ว่าญาณที่ทรงระลึกได้
ถึงชาติหนหลังและถึงกรรมที่ได้กระทำไว้อัน
เป็นเหตุให้เข้าถึงชาติทั้งหลาย ของพระองค์เองด้วย
และของสัตว์ทั้งหลายด้วยก็เช่นเดียวกัน ยาวนักหนา
เรียกว่าระลึกย้อนหลังขึ้นไปๆ ก็ไม่รู้จักจบ
จึงเรียกว่าอนมตัคคะ ที่แปลว่ามียอดหรือเบื้องต้นที่
ไม่ตามไปรู้แล้ว คำว่าไม่ตามไปรู้แล้วนี้ ไม่ใช่หมาย
ความว่าตามไปรู้ไม่ได้ แต่ว่าตามไปรู้ได้
คราวนี้เมื่อตามไปรู้แล้วก็ไม่รู้สิ้นสุด
เพราะว่าเบื้องต้นอันเป็นส่วนอดีตนั้นยาวไกล
และมากมายนักหนา เพราะฉะนั้นเมื่อทรงระลึก
ได้มีจำนวนมากนักหนาแล้วแต่ยังไม่หมด ก็เป็นอันว่ายุติ
ได้ เพราะว่าได้ความรู้ที่เป็นสัจจะจริงแท้แล้วว่ามี
ความเวียนว่ายตายเกิดตามกรรมมาแล้วนานนักหนา
แล้วก็เป็นความเวียนว่ายตายเกิดจริงๆ
ตามกรรมจริงๆ
ดับตัณหา ดับทุกข์
และก็สรุปได้แล้ว ว่า
ความที่เวียนว่ายตายเกิดตามกรรมไปนานนักหนานั้น
รวมกันเข้าคำเดียวว่าเป็นตัวทุกข์ คือเป็นสิ่งที่ไม่ดำรง
อยู่คงที่ ต้องแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไป มี
ความแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไปเป็นธรรมดา
ซึ่งเมื่อแยกทุกข์ออกไปแล้ว ย่อมจะได้ลักษณะ
เป็นอนิจจะคือไม่เที่ยง ต้องเกิดดับ และลักษณะที่
เป็นตัวทุกข์เอง คือเป็นทั้งสิ่งที่ทนอยู่คงที่ไม่ได้
ต้องแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไปเหมือนอย่างถูก
ความเกิดความดับบีบคั้นอยู่ตลอดเวลา และเมื่อ
เป็นสัตว์บุคคลก็เหมือนอย่างเป็นของร้อน
อยู่ตลอดเวลา ต้องถูกเผาอยู่ตลอดเวลา สรุป
เข้าก็รวมอยู่ในคำเดียวว่าทุกข์ ทุกขสัจจะ
สภาพที่จริงคือทุกข์ และที่มีทุกขสัจ
จะสภาพที่จริงคือทุกข์อยู่ดั่งนี้ เพราะมีสมุทัยคือเหตุ
ให้เกิดทุกข์ คือยังมีตัณหา
ความดิ้นรนทะยานอยากนี้เองที่จับพิจารณาดู
ได้ที่จิตใจ มีลักษณะที่เป็นความอยากความดิ้นรน
ที่ปรากฏออกมาเป็นราคะหรือโลภะ เป็นโทสะ
เป็นโมหะ แต่ก็รวมอยู่ในลักษณะที่เป็นความดิ้นรน
เป็นความอยาก ราคะเองก็เป็นตัวดิ้นรน
โทสะก็ดิ้นรน โมหะก็ดิ้นรน ไม่สงบทั้งนั้น เพราะฉะ
นั้นจึงยกเอาตัณหาขึ้นเป็นตัวสมุทัย แต่
ในปฏิจจสมุปบาทธรรมที่อาศัยกันบังเกิดขึ้นนั้น
ได้ทรงพิจารณาจับตั้งแต่ทุกข์ทั้งหลาย มีชาติ ชรา
มรณะ โสกะ ปริเทวะ เป็นต้นที่เราสวดกันทุกวันอยู่
จับเหตุปัจจัยย้อนขึ้นไป ก็ได้ทรงพบเหตุปัจจัยขึ้นไป
โดยลำดับ ซึ่งรวมทั้งตัวตัณหานั้นด้วยขึ้นไป
ถึงอวิชชาคือความไม่รู้ในสัจจะที่เป็นตัวความจริง
คือจิตนี้เองที่เป็นธาตุรู้ แต่ยังมีอวิชชาคือความไม่รู้
ในสัจจะที่เป็นตัวความจริง จึงเป็นเหตุปัจจัย
ให้เกิดตัณหาเป็นต้นเรื่อยไปจน
ถึงชาติชราโสกะปริเทวะเป็นต้น นี้เป็นสมุทัยคือเหตุ
ให้เกิดทุกข์ จึงทำให้เกิดความหน่าย หน่ายในทุกข์ด้วย
หน่ายในสมุทัยในตัวตัณหาทั้งปวงด้วย
ก็แปลว่าเกิดคลายความติดใจยินดีคลายความรัก
ในตัวทุกข์ คือหน่ายในชาติภพทั้งหลาย คลาย
ความรักในสมุทัยในตัณหาอวิชชา ก็เปลี่ยน
เป็นวิชชาคือความรู้ขึ้น เมื่อเป็นดั่งนี้ตัณหาก็ดับ
เมื่อตัณหาดับทุกข์ก็ดับ ความดับทุกข์ก็ปรากฏขึ้น
ตัววิชชานี้เองซึ่งเมื่อเกิดขึ้นทำให้อวิชชาดับ ก็
เพราะเหตุว่าทรงได้มัชฌิมาปฏิปทา ข้อปฏิบัติที่
เป็นหนทางกลางดังที่ได้กล่าวมาแล้ว เพราะฉะ
นั้นรวมเข้าแล้วจึงเป็นตัวอวิชชา
เมื่อวิชชาเกิดขึ้นอวิชชาก็ดับ กิเลสก็ดับหมดพร้อม
ทั้งตัณหา ทุกข์ก็ดับ จึงทรงเป็นพุทโธ ผู้ตรัสรู้แล้ว
ผู้ตื่นแล้ว ดังที่ตรัสเล่าไว้ในปฐมเทศนา ว่าเมื่อญาณ
ความหยั่งรู้ผุดขึ้นในธรรมที่มิ
ได้สดับฟังมาก่อนคืออริยสัจทั้ง ๔
ก็ทรงปฏิญญาพระองค์ได้ว่าตรัสรู้ยิ่งแล้ว
ซึ่งพระสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นพระสัมมาสัมพุทธะ
ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบในโลก ดั่งนี้
เมื่อพุทธภาวะปรากฏสัตตภาวะก็ดับ
เพราะฉะนั้น ภาวะเป็นสัตว์ซึ่งเป็นผู้ข้องติดจึง
ได้หายไปดับไป ปรากฏเป็นพุทธภาวะ ภาวะ
เป็นพุทธะคือผู้ตรัสรู้ แม้เมื่อเป็นพระพุทธะขึ้น
แล้วก็ยังต้องทรงใช้สมบัติของโลก ว่าเราว่าเขา
หรือว่าตัวว่าตน ตลอดจนถึงว่าจิตใจวิญญาณมโน
เป็นต้น แต่ว่าคำเหล่านี้
เป็นสมมติบัญญัติสมมติธรรมบัญญัติธรรมทั้งนั้น
เพราะฉะนั้นเมื่อเสด็จดับขันธปรินิพพาน
คือว่าพระพุทธสรีระซึ่งเป็นวิบากขันธ์ดับคือแตก
ที่คนสามัญเรียกกันว่าตาย จึงไม่เกิดอีกตามที่ตรัสเอา
ไว้ และสิ่งที่เรียกว่าจิตตัวเดิมก็ดี ตัวเราก็ดี
อัตตาตัวตนก็ดี หรือสัตตภาวะคือภาวะเป็นสัตว์
ก็สิ้นสุดไปแล้วตั้งแต่ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า
ทั้งหมดนี้ก็เป็นอันว่าเลิกพูดกัน เพราะเมื่อ
ไม่เกิดอีกก็สิ้นสมมติบัญญัติ สมมติบัญญัติว่าเป็นจิต
เป็นบุคคลเป็นเทพเป็นมารเป็นพรหมหรืออะไรก็
ไม่มีทั้งนั้น เลิกพูดถึง แต่ว่าแม้จะเลิกพูดถึงก็ไม่
ใช่หมายความว่าสูญ
๒๖ สิงหาคม ๒๕๒๖
--------------------------------------------------------------
หมายเหตุ
บทความนี้เป็นธรรมกถาจากจำนวนทั้งสิ้น ๓๖ ครั้ง
ที่เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ
สุวฑฺฒโน)
บรรยายแก่พระนวกภิกษุวัดบวรนิเวศวิหาร
ในพรรษากาล ๒๕๒๖ มหามกุฏราชวิทยาลัย
ในพระบรมราชูถัมภ์ จัดพิมพ์เนื่อง
ในงานบำเพ็ญกุศลชนมายุครบ ๖ รอบ ของ
สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) ในวันที่ ๓
ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๒๘


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2014, 00:25 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ครั้งที่ ๑๓ ลักษณะพุทธศาสนา - สังสารวัฏ (๓)
ลักษณะพุทธศาสนา
ธรรมบรรยายของสมเด็จพระญาณสังวร
ในการอบรมนวกภิกษุพรรษา ๒๕๒๖
ณ สว.ธรรมนิเวศ วัดบวรนิเวศวิหาร
--------------------------------------------------------------
แสดงลักษณะพุทธศาสนามา
ถึงว่าพระอรหันต์ดับขันธ์แล้วไม่สูญ ก่อนที่
จะกล่าวต่อไปถึงเรื่องนี้ ก็จะ
ได้ทบทวนเรื่องที่กล่าวมาข้างต้นในข้อที่ควรทบทวน
สุคติและทุคติ
ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว
ว่าการเวียนว่ายตายเกิดของสัตวโลก รวม
ทั้งองค์พระพุทธเจ้าเมื่อก่อนตรัสรู้
เป็นระยะเวลาที่นานนักหนา
และชาติภพที่เวียนว่ายตายเกิดก็มากมายนับ
ไม่ถ้วนที่เรียกว่าอสงไขยหรืออสังเขยยะ
ที่แปลว่านับไม่ถ้วน ฉะนั้นจึง
เป็นเรื่องที่ญาณของพระพุทธเจ้า
ไม่ตามไปรู้จนหมดสิ้น จึงเรียกว่าอนมตัคคะ
ที่แปลว่ามีที่สุดในเบื้องต้นที่ไม่ตามไปรู้ ตามศัพท์
นั้นแปลว่าไม่มีที่สุดที่ตามไปรู้ มีที่สุดที่ไม่ตามไปรู้
และคำว่าที่สุดนี้ อันที่จริงก็มีที่สุดอยู่ ๒
อย่างคือที่สุดเบื้องต้น กับที่สุดเบื้องปลาย
คติทางพุทธศาสนานั้น ที่สุดเบื้องต้นอันหมาย
ความว่าอดีตก็ยืดยาวและมากชาติมากภพมากมาย จน
ถึงญาณของพระพุทธเจ้าไม่ตามไปรู้ พิจารณาดู
แล้วว่าพระพุทธเจ้านั้นทรง
ได้พระสัพพัญญุตาญาณคือความรู้ธรรมทั้งปวง ซึ่ง
เข้าใจกันคลุมว่าทรงรู้ทั้งหมด ฉะนั้น
จึงพิจารณาเห็นว่า หากว่าพระญาณของพระองค์
จะตามไปรู้ คือระลึกย้อนหลังไปถึงชาติภพในอดีต
ก็ย่อมจะรู้ได้เรื่อยๆ ไป แต่ว่าก็ไม่หมดสักทีหนึ่ง
เพราะฉะนั้นจึงเป็นอันว่า
ได้ทรงระลึกรู้ย้อนหลังไปมากมาย เพียงพอที่
จะยุติได้แล้ว ก็เป็นอันว่ายุติ ไม่ตามไปรู้ต่อไปอีก
และพิจารณาดูว่าจะมีหลักเกณฑ์อะไรที่จะยุติได้
ก็พิจารณาเห็นว่าเมื่อทรงสรุปได้ว่าจะมีกี่ภพชาติ ๑๐
ชาติ ๒๐ ชาติ ๑๐๐ ชาติ ๑๐๐๐ ชาติ ๑๐๐๐๐ ชาติ
แสนชาติ ล้านชาติ โกฏิชาติ จนถึงนับไม่ถ้วนก็ตาม
ทั้งหมดนั้นก็สรุปลงได้เป็นสอง คือสุคติ
ไปดีอย่างหนึ่ง ทุคติไปชั่วอย่างหนึ่ง สุคติไปดีก็คือชาติที่
เป็นมนุษย์ ชาติที่เป็นเทพ ชาติที่เป็นพรหม
ทุคติไปชั่วก็คือ ชาติที่เป็นเดียรรัจฉาน เป็นสัตว์นรก
เป็นเปรตอสุรกายบรรดาที่เป็นอบายภูมิทั้งหลาย
สรุปลงก็เป็นสุคติและทุคติดังที่กล่าวมานี้ นี้ข้อหนึ่ง
และทรงจับเหตุได้แล้วแน่นอนว่าอะไรเป็นเหตุ
ให้ไปสุคติ อะไรเป็นเหตุให้ไปทุคติ
ก็คือกรรมที่ตนเองได้กระทำไว้ กรรมดี
กรรมชั่ว กรรมดีก็ให้ไปบังเกิดดีเป็นสุคติ
กรรมชั่วก็ให้บังเกิดชั่วเป็นทุคติ ก็ทรงจับเหตุ
ได้ว่าคือกรรม และเมื่อ
ได้ทรงระลึกย้อนดูมากมายก็ทรงเห็นกรรมชัดเจน
เพราะเหตุว่าทรงทราบรายละเอียดว่าเกิดในชาติ
นั้นๆ ทำอะไร และเมื่อตายไปแล้วไปเกิดเป็นอะไร
ก็จับได้ชัดเจนว่าไม่มีใครที่ไหนมาสร้าง
เป็นไปตามกรรมที่ตนเองได้กระทำไว้เท่านั้น และ
ในการที่จะรู้กรรมนี้ จำเป็นที่จะต้องระลึกรู้ไป
ได้มากๆ เหมือนอย่างว่าได้ตรวจทำสถิติของสิ่ง
ใดสิ่งหนึ่งไว้มากๆ มากจนสามารถจะพิจารณาวิจัยได้
ซึ่งก็เป็นหลักปฏิบัติในทางที่จะค้นคว้าแม้สิ่งที่เป็นวัตถุ
จึงจำเป็นที่จะต้องมีสถิติที่เป็นมาแล้ว และ
เพราะเหตุนี้จึงได้มีตรัสไว้ในพระสูตรหนึ่งว่า
คนที่ระลึกชาติได้เพียงหนเดียวนั้น ยังมีมิจฉาทิฏฐิคือ
ความเห็นผิดได้ เพราะว่าบุคคลบางพวกทำดีในชาตินี้
ตายแล้วไปเกิดในทุคติ เช่นไปนรกหรือไปเกิด
เป็นเปรตอสุรกาย บุคคลบางพวกทำชั่วในชาตินี้
ตายแล้วไปเกิดในสุคติ เช่นว่าไปเกิดเป็นมนุษย์
ในตระกูลที่มีสุข หรือไปเกิดในสวรรค์ เมื่อ
เป็นดั่งนี้คนที่ระลึกชาติได้เพียงหนึ่งหนนั้นอาจมี
ความเห็นผิดได้ ว่าทำชั่วได้ดี ทำดีได้ชั่ว ทำชั่ว
ได้ดีคือว่าทำชั่วในชาตินี้ ตายแล้วไปเกิด
ในสุคติดังกล่าว ทำดีได้ชั่วก็คือทำดีในชาตินี้ ตาย
แล้วไปเกิดในทุคติดังกล่าว ระลึกชาติได้หนเดียว
จึงอาจมีมิจฉาทิฏฐิคือความเห็นผิดได้
แต่ว่าพระพุทธองค์นั้นทรงรู้ระลึกชาติ
ได้มากมายดังกล่าวแล้ว นับว่าทรงได้สถิติที่ยืดยาว
และมากมายเพียงพอ จนสรุปได้ว่ากรรมนั้นมีผล
เป็น ๓ อย่าง
สรุปผลของกรรม
หนึ่ง กรรมที่ให้ผลในปัจจุบัน
สอง กรรมที่ให้ผลในภพชาติต่อไป
สาม กรรมที่ให้ผลในภพชาติที่สืบต่อไปอีก
จากภพชาติหน้า
ทรงสรุปผลของกรรมได้เป็น ๓ ดั่งนี้ อันหมาย
ความว่า เช่นคนทำดีในชาตินี้ ชาติหน้าก็
ได้รับผลดีต่อไป แต่บางคนนั้นทำดีในชาตินี้
ในชาติหน้ายังไม่ได้รับผลของความดี เพราะว่า
ต้องรับผลของความชั่วที่ทำไว้แล้วในชาติก่อน
จากชาตินี้ก่อน และในชาติภพต่อๆ ไปอีกจึงจะ
ได้รับผลดีที่ทำไว้ในชาตินี้ เพราะเหตุที่
ได้ทรงระลึกรู้ถึง
ความเวียนว่ายตายเกิดของสัตวโลกมากมาย
จึงสรุปผลการให้ผลของกรรมได้เป็น ๓ ดั่งนี้
ซึ่งเป็นความรู้ที่แน่นอน เพราะสถิติที่ทรงได้
นั้นมากมายเพียงพอ และยังได้ตรัสรู้ถึงกรรม
และการให้ผลของกรรมซึ่งมีรายละเอียดอย่าง
อื่นๆ ซึ่งทรงวางเป็นหลักสั่งสอนได้อย่างแน่นอน
และก็มิใช่ว่าจะต้องรอไปถึงชาติหน้า กรรม
และการให้ผลของกรรมนั้นก็ปรากฏตั้งแต่ชาตินี้
ซึ่งก็ทรงแสดงสั่งสอนไว้อีกที่จะพิจารณาเห็นได้ก็
เป็นอันว่าทรงจับเหตุของความเวียนว่ายตายเกิด
ในสุคติและในทุคติได้ว่าคือกรรม แล้วก็ทรงจับ
ได้ว่าการให้ผลของกรรมย่อลงก็เป็น ๓ ดั่งนี้
และก็ทรงจับเหตุได้อีกว่า ทำไมจึงต้องทำกรรมอัน
เป็นเหตุให้เวียนว่ายตายเกิดในสุคติบ้างในทุคติบ้าง ก็
เพราะยังมีกิเลส ตั้งต้นแต่อวิชชาคือความไม่รู้ และ
เป็นปัจจัยให้เกิดผล แล้วก็เป็นปัจจัยให้เกิดเหตุสืบต่อ
กัน จนถึงเป็นภพเป็นชาติ เป็นภพต่างๆ เป็นทุกข์ต่างๆ
วนเวียนกันอยู่ ดังที่เรียกว่าปฏิจจสมุปบาท
ธรรมที่อาศัยกันบังเกิดขึ้น ซึ่งสรุปเข้าก็ในอริยสัจ
ทั้ง ๔ อันทำให้ได้ตรัสรู้ว่านี้ทุกข์ นี้เหตุเกิดทุกข์ นี้
ความดับทุกข์ นี้ทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ นี้อาสวะ
กิเลสที่ดองสันดาน นี้เหตุเกิดอาสวะ นี้ความดับอาสวะ
นี้ทางปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ วิชชาที่ทำ
ให้รู้แจ่มแจ้งขึ้นตามความเป็นจริงในอริยสัจทั้ง ๔
เรียกว่า ๒ สาย สายหนึ่งก็คือทุกข์ เหตุเกิดทุกข์
ความดับทุกข์ ทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
อีกสายหนึ่งก็คืออาสวะ เหตุเกิดอาสวะ ความดับอาสวะ
ทางปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ จึงได้ทรงเป็นพุทโธ
คือเป็นผู้ตรัสรู้แล้ว เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้เห็นแล้ว
เป็นความตรัสรู้ขึ้นในธรรมที่มิได้ทรงสดับมาก่อน
เป็นความรู้ที่ผุดขึ้นเอง จึง
ได้พระนามว่าสัมมาสัมพุทธะ พระผู้ตรัสรู้เอง
โดยชอบ ที่เรียกว่าไม่มีครูบาอาจารย์สั่งสอนก็หมาย
ถึงตอนนี้ ตอนที่พระญาณที่อริยสัจทั้ง ๔ นี้ผุดขึ้น
ในธรรมที่มิได้ตรัสรู้มาก่อน คือไม่
ได้สดับฟังมาก่อน จึงทรงปฏิญญาพระองค์ว่า
เป็นอภิสัมพุทธะ ตรัสรู้เองชอบ
พระสัมมาสัมโพธิญาณ ความหยั่งรู้ ตรัสรู้เอง
โดยชอบ เมื่อทรงจับเหตุแห่ง
ความเวียนว่ายตายเกิดที่ทรงระลึกรู้
ในพระญาณที่ ๑ จนถึงที่สุดแล้ว เพราะฉะนั้นก็
เป็นอันว่ายุติได้ ไม่ต้องไปหาสถิติต่อไปอีก
สถิติคือชาติภพในอดีตมากมายนั้น ทรงระลึกรู้ไปๆ
ก็ไม่หมด แต่ว่าเมื่อมากจนมีสถิติเพียงพอให้ทรงจับเหตุ
ได้ดังกล่าว ก็เป็นอันยุติได้แล้ว ไม่
ต้องตามรู้ต่อไปอีก
เพราะฉะนั้นความเวียนว่ายตายเกิดในอดีตคือ
ในเบื้องต้น จึงเรียกว่าอนมตัคคะ คือมียอด
หรือมีที่สุดที่ไม่ตามไปรู้ แม้พระพุทธญาณเองก็
ไม่ตามไปรู้ ไม่ใช่หมายความว่าตามไปรู้ไม่ได้
ตามไปรู้ได้ แต่ว่าไม่จบ คงมีเรื่อยๆ
เมื่อระลึกก็รู้ไปๆ และเมื่อมีสถิติจับเหตุ
ได้แน่นอนดังกล่าว ก็เป็นอันว่ายุติได้ เพราะฉะนั้น
จึงเรียกว่ามีที่สุดที่ไม่ตามไปรู้ คือแม้พระพุทธญาณก็
ไม่ตามไปรู้ และเพื่อให้ชัดจึงเติมคำว่าในเบื้องต้น
มีที่สุดในเบื้องต้นที่ไม่ตามไปรู้ แต่ว่าในที่สุด
ในเบื้องปลายคือในอนาคตนั้นก็อาจตามไปรู้ได้
ไม่ยาวนักก็ได้หรือยาวก็ได้ คือผู้ที่ได้ตั้งอธิษฐานจิตที่
จะตรัสรู้ธรรมเป็นพระพุทธเจ้าขึ้นเอง
คือที่ปรารถนาพุทธญาณ ปรารถนาความตรัสรู้
เป็นพระพุทธเจ้า แล้วก็จับบำเพ็ญบารมี ก็อาจ
จะทำนายถึงที่สุดเบื้องปลายได้ และแม้
ผู้ที่บำเพ็ญบารมีในส่วนที่จะเป็นสาวก
คือฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้วก็ปฏิบัติไป
ในมรรคมีองค์ ๘ ก็ทำกิเลสและกองทุกข์
ให้สิ้นไปจริงๆ มีความก้าวหน้าไปในทางปฏิบัติ ก็อาจ
จะทำนายรู้อนาคตในเบื้องปลายได้ว่าจะถึงที่สุด
ในเมื่อไหร่ อย่างสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้พระบรมศาสดาของเรา
ทั้งหลายทรงปรารถนาพุทธภูมิ
ทรงบำเพ็ญพระบารมี พระพุทธเจ้า
ในอดีตที่ทรงปรารถนาพุทธภูมิด้วยนั้น ก็
ได้เคยมีพุทธทำนายไว้ ว่าเมื่อนั้นๆ ท่านผู้นี้จะได้ตรัสรู้
เป็นพระพุทธเจ้าก็เป็นอันว่ารู้ถึงที่สุดเบื้องปลายได้
แม้พระสาวกทั้งหลายก็เหมือนกัน เมื่อได้ปฏิบัติ
ในมรรคมีองค์ ๘ จริงๆ ก็สามารถที่
จะกำหนดเบื้องปลายได้ว่าจะสิ้นสุดเมื่อใด หมาย
ความว่ากำจัดกิเลสและอาสวะได้สิ้นเชิง
เป็นพระอรหันต์ ก็เป็นอันสิ้นชาติสิ้นภพไม่เกิดอีก ก็
เป็นถึงที่สุด คือที่พระอรหันต์ดับขันธ์แล้วไม่เกิด
แต่ว่าก็ไม่สูญ ดังที่ได้กล่าวถึงไว้แล้ว
ตามที่กล่าวมานี้ ก็มาทบทวนทำความเข้าใจ
ในคำว่าอนมตัคคะ ที่หมายถึงสังสารวัฏ
ความเวียนว่ายตายเกิด มีที่สุดในเบื้องต้นที่ไม่ตามไปรู้
แล้ว แม้พระพุทธญาณก็ไม่ตามไปรู้ แต่
ในเบื้องปลายนั้นอาจจะรู้ได้ ยาวก็ได้สั้นก็ได้ แต่ผู้ที่
ไม่ได้ปฏิบัติในมรรคมีองค์ ๘ นั้น
ก็คงยาวมากคล้ายๆ หรือเหมือนในเบื้องต้นเหมือนกัน
แต่ถ้าปฏิบัติในมรรคมีองค์ ๘ แล้ว ก็ยังอยู่
ในเขตที่เรียกว่าตามไปรู้ได้ ยิ่งเป็นพระโสดาบัน
แล้วยิ่งมีกำหนดไว้ชัดเจนทีเดียวว่า จะเกิดอีกไม่เกินเท่า
นั้นชาติเท่านี้ชาติ จึงเป็นระยะเวลาไม่มาก ก็นับว่า
ถึงที่สุด
พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมที่เรียกว่าธรรม
นั้นก็เป็นคำสั่งสอนที่คล้ายๆ อย่างนี้เป็นอันมาก
ดังบรรดาโรคทั้งหลายมีมากมายโรคนั้นโรคนี้
พระพุทธเจ้าได้สรุปไว้ ๓ อย่าง คือ
๑. โรคบางอย่างไม่รักษาก็หาย รักษาก็หาย
๒. โรคบางอย่างรักษาก็ไม่หาย ไม่รักษาก็ไม่หาย
๓. โรคาบางอย่างรักษาหายได้ ไม่รักษาก็ไม่หาย
ทรงสรุปไว้ ๓ อย่าง และธรรมที่ทรงแสดง
ถึงบุคคลประเภทต่างๆ ทรงแสดง
ถึงธรรมมีข้อเดียว สองข้อเป็นต้น ต่างก็ล้วน
เป็นข้อสรุปทั้งนั้น ตั้งแต่ทุกะ หมวด ๒
ธรรมมีอุปการะมาก ๒ อย่าง
คือบรรดาธรรมคือคุณอันจะ
เป็นเครื่องเกื้อกูลอุปการะมากทั่วๆ ไปนั้น ก็สรุป
เข้ามา ๒ อย่าง คือ ๑. สติ ความระลึกได้ ๒.
สัมปชัญญะ ความรู้ตัว ในข้ออื่นอีกก็เหมือนกัน เช่น
เป็นบุคคลก็บุคคลหาได้ยากสอง คือ ๑. บุพการี
ผู้กระทำอุปการะก่อน ๒. กตัญญูกตเวที บุคคล
ผู้รู้อุปการะที่ท่านได้กระทำแล้ว
และประกาศอุปการะของท่านที่ทำแล้ว
ให้ปรากฏคือตอบแทน ดั่งนี้ก็เป็นข้อที่สรุปเข้ามา
สรุปเข้ามาให้บุคคลรู้และจะได้ปฏิบัติ
ทรงตรัสรู้เหตุและผลในอริยสัจ
ดังเช่นพระญาณของพระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้ระลึก
ถึงชาติหนหลังต่างๆ ได้มากมายดังกล่าวแล้ว ก็เป็น
ความระลึกรู้ที่รู้ไปว่าชาติไหนเกิด
เป็นอะไรทำอะไร และชาติต่อไป
เป็นอะไรทำอะไรระลึกไปก็รู้ไปๆ
เป็นสถิติที่ทรงจับได้ว่ารวมเข้าก็เป็นสุคติเป็นทุคติ
และรวมเข้าก็เพราะกรรมรวมเข้าก็เพราะ
ยังมีกิเลสซึ่งเป็นเหตุให้ทำกรรม และกิเลส
นั้นก็ทรงจับเริ่มต้นแต่อวิชชาเป็นเหตุปัจจัยเรื่อยไป
จนถึงชาติภพต่างๆ รวมเข้าก็เป็นอริยสัจ ๔ สองสาย
รวมเข้าก็เป็นข้อสรุปทั้งนั้น และเมื่อได้ข้อที่สรุป
เข้าดั่งนี้แล้ว ก็เป็นอันว่าสิ้นปัญหาทั้งหมด แม้
จะมีปริมาณมากมายนับไม่ถ้วน แต่ก็สรุปเข้า
ในหลักการในหัวข้อที่ตรัสรู้นั้น
ยกตัวอย่างดังเช่นว่า เมื่อยังมีทุกขสมุทัยเหตุให้เกิดทุกข์
ก็จะต้องมีทุกข์อันเป็นตัวผล และเมื่อมีเหตุคือสมุทัย
ก็ต้องมีผล มีทุกขสมุทัยก็ต้องมีทุกข์ ทุกขสมุทัย
เป็นเหตุ ทุกข์ก็เป็นผล และทุกข์นั้นก็ตั้งต้นเป็น ชาติปิ
ทุกฺขา ชาติความเกิดเป็นทุกข์ ดังที่เราสวดกัน
เพราะฉะนั้น
ในชาติเดียวสองชาติสามชาติหมื่นชาติแสนชาติล้านชาติโกฏิชาติ
หรือนับไม่ถ้วนชาติ ก็รวมเข้าเป็น ชาติปิ ทุกฺขา ทั้งนั้น
ไม่มีที่จะเป็น ชาติปิ สุขา ต้องเป็น ชาติปิ ทุกฺขา ทั้งนั้น
แล้วก็เกิดทุกขสมุทัยที่ตัณหา ซึ่งสืบขึ้นไปถึงอวิชชา
เป็นต้นทั้งนั้น
เพราะฉะนั้นเมื่อจับหลักอันแน่นอนได้ดั่งนี้แล้ว ก็
ไม่จำเป็นจะต้องไปกังวลว่ากี่ชาติๆ เมื่อยังมีทุกขสมุทัย
อยู่ก็ต้องมีชาติทุกข์ อดีตก็เหมือนกัน อนาคตก็เหมือนกัน
ปัจจุบันก็เหมือนกัน เป็นหลักอันเดียวกันหมด
เหมือนอย่างวิชาการปัจจุบัน เช่นว่าฝนตก หากว่าจะ
ค้นหาสถิติว่าปีหนึ่งมีฝนตกกี่หน
แล้วก็นับย้อนขึ้นไปว่าปีที่แล้วมีฝนตกกี่หน
แล้วก็นับย้อนขึ้นไปๆ อีก ๑๐ ปี ๒๐ ปี ๓๐ ปี ๕๐ ปี ๑๐๐
ปี ๑๐๐๐ ปี แสนปี ว่าปีหนึ่งๆ มีฝนตกกี่หน ก็
ไม่สิ้นสุดอีกเหมือนกัน หรือแม้ว่าจะย้อนไป
ในอนาคตว่าปีหน้าฝนตกกี่หนก็เหมือนกัน
แต่ว่าเมื่อพิจารณาหาเหตุว่าฝนตกเพราะอะไร
เมื่อจับเหตุได้ดังหลักของวิทยาศาสตร์
ในปัจจุบันที่จับเหตุของฝนตกได้ว่าเพราะอะไรฝน
จึงตก เมื่อจับเหตุได้ว่าเพราะอะไร เพราะเหตุนี้ฝน
จึงตก ดังนี้ฝนซึ่งเป็นตัวผลจึงบังเกิดขึ้น ก็เป็นอันว่า
ไม่จำเป็นจะต้องไปทำสถิติว่าปีที่แล้วๆ
มาย้อนหลังไปฝนตกกี่หนเพราะว่าจับเหตุได้แล้ว
และเมื่อจับเหตุได้แล้วจึงสามารถทำฝนเทียมได้
ทำฝนหลวงได้ ดังที่ทำกันอยู่ ก็ต้องการที่
จะรู้เหตุรู้ผล นี้แหละซึ่งเป็นตัวหลัก
พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้นั้นก็คือตรัสรู้เหตุและผล
ซึ่งเป็นตัวหลัก ดูตรงที่จิตซึ่ง
เป็นตัวเดิมของอหังการที่เป็นตัวเรา
หรือของสัตวโลกหรือของอัตตาตัวเราตัวเขาที่
เป็นภายในนี้แหละ ทรงจับเหตุจับผลได้
และทรงแสดงเหตุผลที่ทรงจับได้นั้นมาสั่งสอน
เพราะว่าเมื่อทรงรู้ได้แน่นอนแล้ว ว่าเมื่อ
ยังมีตัวทุกขสมุทัยอยู่ ก็ต้องมีความเวียนว่ายตายเกิด มี
ชาติปิ ทุกฺขา กันอยู่เรื่อยไปนั่นแหละ แล้วก็ที่จะมา
ถึงชาติภพอันนี้ที่มาเกิดเป็นมนุษย์ ก็นับว่าเป็นสุคติ ก็
เพราะกรรมดี ฉะนั้นจึงได้ทรงสั่งสอน
ให้ทำกรรมดี ละกรรมชั่ว ดังโอวาทปาฏิโมกข์ว่า
สพฺพปาปสฺส อกรณํ การไม่ทำบาปทั้งปวง
กุสลสฺสูปสมฺปทา การยังกุศลให้
ถึงพร้อมคืออุปสมบทกุศล พระพุทธเจ้าก่อนที่
จะทรงตั้งวินัยนั้น ก็ทรงสอนให้อุปสมบท
แล้วตั้งแต่ต้น ให้อุปสมบทกุศลคือการทำกุศลให้
ถึงพร้อม แล้วก็ สจิตฺตปริโยทปนํ การทำจิตของตน
ให้ผ่องใส ก็ให้ผ่องใสจากบรรดากิเลสทั้งหลาย
เมื่อผ่องใสได้หมด จิตบริสุทธิ์เต็มที่แล้ว ก็
เป็นอันว่าบรรลุถึงที่สุด
คือว่าถอนลูกศรคือกิเลสออกจากจิตได้หมดแล้ว
จิตสิ้นกิเลสสิ้นอาสวะที่ดองสันดาน ก็
เป็นพระอรหันต์ก็สิ้นชาติสิ้นภพกัน ก็ไม่
ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป จึงเอาธรรมที่ตรัสรู้
แล้วนี้แหละมาสั่งสอนและธรรมที่ตรัสรู้
นั้นก็ทรงจับเหตุจับผลจากความตรัสรู้นั้นเองไป
โดยลำดับ จนถึงสรุปยอดสุดคือทำกิเลส
และกองทุกข์ทั้งปวงให้สิ้นไปหมด จึงทรง
เป็นพุทโธขึ้นที่ตรงจุดนั้น
๒๗ สิงหาคม ๒๕๒๖
--------------------------------------------------------------
หมายเหตุ
บทความนี้เป็นธรรมกถาจากจำนวนทั้งสิ้น ๓๖ ครั้ง
ที่เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ
สุวฑฺฒโน)
บรรยายแก่พระนวกภิกษุวัดบวรนิเวศวิหาร
ในพรรษากาล ๒๕๒๖ มหามกุฏราชวิทยาลัย
ในพระบรมราชูถัมภ์ จัดพิมพ์เนื่อง
ในงานบำเพ็ญกุศลชนมายุครบ ๖ รอบ ของ
สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) ในวันที่ ๓
ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๒๘


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2014, 00:47 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ครั้งที่ ๑๔ ลักษณะพุทธศาสนา - สังสารวัฏ (๔)
ลักษณะพุทธศาสนา
ธรรมบรรยายของสมเด็จพระญาณสังวร
ในการอบรมนวกภิกษุพรรษา ๒๕๒๖
ณ สว.ธรรมนิเวศ วัดบวรนิเวศวิหาร
--------------------------------------------------------------
ได้แสดงลักษณะพุทธศาสนา ถึงว่าพระอรหันต์ดับขันธ์
ที่เรียกว่าตายไม่เกิดและไม่สูญ แต่ยังไม่
ได้อธิบายประกอบ ขอกล่าวทบทวนเพิ่มเติม
ในข้อสังสารวัฏ ความท่องเที่ยวเวียนเกิดเวียนตาย
เวียนตายเวียนเกิด มีที่สุดอันไม่ตามไปรู้ ซึ่ง
ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า ที่สุดในเบื้องต้นไม่ตามไปรู้ ไม่ใช่
เพราะพระสัพพัญญุตญาณไม่อาจที่จะระลึกรู้ได้
แต่ว่าพระสัพพัญญุตญาณนั้นระลึกรู้ได้
เมื่อระลึกรู้ไปมากมาย ทรงจับเหตุจับผลได้เพียงพอ
แล้วก็เป็นอันว่ายุติเพราะว่าระลึกไปก็ยิ่งรู้ไปยืดยาว
เมื่อจับเหตุจับผลได้เพียงพอแล้วก็ยุติได้ ไม่
ต้องระลึกรู้ไปจนถึงที่สุด จับเหตุจับผลที่สรุปลง
ได้แน่นอน ว่าสรุปลงแล้วก็เป็นสุคติอย่างหนึ่ง
และทุคติอย่างหนึ่ง และจะไปสุคติหรือไปทุคติก็
เป็นไปตามกรรมซึ่งได้กระทำไว้ ถ้าเป็นกรรมดีก็
ให้ไปสุคติ คติที่ดี ถ้าเป็นกรรมชั่วก็ให้ไปทุคติ คติที่ชั่ว
เมื่อจับเหตุคือกรรมได้ ก็จับเหตุของกรรมต่อไปได้
ว่าคืออาสวะ กิเลสที่ดองจิตสันดานอยู่ อัน
เป็นตัวเหตุสำคัญที่ต้องให้ประกอบกรรม อันจะนำ
ให้ไปสุคติหรือทุคติ ท่องเที่ยววนเวียนไป
ไม่จบสิ้นดังกล่าวนั้น ฉะนั้นเมื่อปัญญาญาณที่จับ
ถึงอาสวกิเลสที่ดองจิตสันดานเป็นวิชชาคือ
ความรู้แจ่มแจ้งโพลงขึ้น อวิชชาก็ดับ กิเลส
ทั้งปวงก็ดับหมด เมื่อสิ้นอาสวะก็สิ้นกรรม
เมื่อสิ้นกรรมก็สิ้นความที่จะ
ต้องท่องเที่ยววนเวียนเกิดตายไปอันเป็นตัวผล
ผู้ที่สิ้นอาสวกิเลสแล้ว เมื่อยังมีชีวิตอยู่ ตัวชีวิตนี้พร้อม
กับร่างกายจิตใจก็เรียกว่าเป็นวิบากขันธ์ คือขันธ์ที่
เป็นผลของกรรมเก่า ก็ดำรง
อยู่ต่อไปจนแตกดับไปตามธรรมดา แต่ท่าน
ผู้สิ้นอาสวะที่เรียกว่าขีณาสพหรือพระอรหันต์
เมื่อดับขันธ์ก็ไม่เกิดอีก แต่ก็ไม่สูญ
อธิบายสังสารวัฏเพิ่มเติม
จะยังไม่อธิบายประกอบถึงเรื่องไม่สูญนี้ แต่ว่า
จะจับกล่าวถึงเรื่องเวียนเกิดเวียนตายอีกเล็กน้อย แล้ว
จะต่อไปถึงเรื่องจิต เรื่องเวียนเกิดเวียนตายอีกเล็กน้อย
นั้นก็คือ อันที่จริงสุคติก็ดีอยู่เพราะเป็นชาติที่มีสุข แต่ว่า
ความที่จะเกิดในสุคตินั้นจะต้องเพราะกรรมดี คราวนี้เมื่อ
ยังมีอาสวกิเลสที่ดองสันดาน ก็ยังไม่แน่ว่า
จะทำกรรมดีเรื่อยไปในเมื่อมี
ความประมาทมัวเมาเลินเล่อเผลอเพลิน
เมื่อส้องเสพมิตรชั่วหรือที่เรียกว่าส้องเสพคนพาลอัน
จะนำให้ประพฤติชั่วประกอบกรรมที่บาปเป็นอกุศล ก็จะ
ต้องไปทุคติคือคติที่ชั่ว เมื่อไม่ประมาทเพราะเหตุต่างๆ
เช่นเหตุที่ส้องเสพบัณฑิตเป็นต้น ก็จะนำ
ให้ประกอบกรรมที่ดีก็ให้ไปสุคติ เพราะฉะ
นั้นภาวะของบุคคลที่ยังมีกิเลสที่ดองจิตสันดาน
อยู่ดังกล่าวนี้ จึงเรียกว่าบุถุชน แปลว่าคนหนา คนหนา
นั้นก็มักจะอธิบายว่าคนที่มีกิเลสหนา มีกิเลสยัง
ไม่บางเบา หรืออีกอย่างหนึ่งหนาแปลว่ามาก
บุถุชนคือคนหมู่มาก หรือคนกลุ่มใหญ่ ก็
เพราะว่าคนหมู่มากหรือคนกลุ่มใหญ่ในโลกนี้
ยังมีกิเลสที่ทำให้บางคราวก็ประมาทบางคราวก็
ไม่ประมาท ก็ตกอยู่ในอรรถคือเนื้อ
ความว่ากิเลสหนานั่นแหละ บุถุชนจึงเป็นบุคคลที่อยู่
ในจำพวกอนิยต อนิยตแปลว่าไม่แน่ คือไม่แน่ใจว่า
จะดีเรื่อยไปหรือว่าจะชั่วเรื่อยไป ไม่แน่ว่า
จะไปสุคติเรื่อยไป ฉะนั้นจึงมีโอกาสที่จะต้องไปทุคติ
เมื่อเป็นดั่งนี้ความท่องเที่ยวเวียนเกิดเวียนตายนั้นจึง
ยังหวังไม่ได้ว่าจะไปสุคติเรื่อยไป ต้องเป็นไปตามกรรมที่
ได้กระทำแต่เมื่อรวมเข้า
แล้วก็คือว่าไปสุคติบ้างไปทุคติบ้างสลับกันไป
และอีกประการหนึ่ง แม้ว่าจะไปสุคติคติที่ดีก็ไม่
เป็นสิ่งที่แน่นอนว่าจะมีสุขเสมอไป จะต้องมีทุกข์
เพราะสมปรารถนาบ้างไม่สมปรารถนาบ้าง
เพราะเหตุที่ว่าเมื่อยังมีความปรารถนาอยู่แล้ว ก็
ไม่มีหลักประกันว่าจะต้องสมปรารถนาเรื่อยไป จะ
ต้องสมปรารถนาบ้างไม่สมปรารถนาบ้าง เพราะว่า
ความสมปรารถนานั้นมิใช่บังเกิดจากตัวความปรารถนา
บังเกิดจากข้อหนึ่ง ก็คือว่าสิ่งที่ปรารถนานั้นเป็นวิสัยที่
จะพึงได้ และสองก็ต้องประกอบเหตุให้ถูกต้องแก่ผลที่
ต้องการ จึงจะได้ประสบผล เช่นว่าต้องการผลมะปรางก็
ต้องปลูกต้นมะปราง และการปลูกต้นมะปรางนั้นก็จะ
ต้องมีความพากเพียรในการปลูก ทำการปลูกให้ถูกต้อง
รักษาต้นไม้ให้เติบโตจนมีผล ทั้งไม่มีเหตุอะไรมาตัดทอน
ในระหว่าง ก็จะได้บริโภคผล ถ้าไปปลูกต้นอื่นด้วย
ต้องการได้ผลมะปรางก็ย่อมไม่ได้ ฉะนั้นจึง
ต้องประกอบเหตุให้เหมาะกับผลที่ต้องการจึงจะได้ผล
และการได้ผลนั้นก็ต้องได้ตามกาลเวลา เช่นว่าต้องการ
จะได้ผลมะปราง เริ่มปลูกเป็นระยะเวลากี่ปีจึงจะเกิดผล
ผลบางอย่างก็ใช้ระยะเวลาน้อย เช่นไม่ถึงปีก็ได้
การทำนาปลูกข้าวไม่ต้องถึงปีก็ได้ข้าว แต่ว่าก็ต้อง
ใช้เวลาเป็นเดือน เท่านั้นเท่านี้เดือน และเมื่อ
ไม่มีอะไรมาทำลาย น้ำไม่ท่วมน้ำไม่ขาดและ
ไม่มีสัตว์อะไรมากินเป็นต้น มีความสวัสดีมาโดยตลอด
เมื่อถึงระยะเวลาก็ได้ผล เพราะฉะนั้นเมื่อมี
ความปรารถนาและตั้งความปรารถนาขึ้นแล้ว ก็จะต้อง
เป็นดั่งนี้ ได้บ้างไม่ได้บ้าง ไม่ได้ก็เป็นทุกข์ ได้ก็เป็นสุข
แต่สุขเพราะได้ก็สุขประเดี๋ยวเดียว ทั้งภพชาตินั้นๆ แม้จะ
เป็นสุคติก็ตาม เมื่อยังมีชาติความเกิดก็ต้องมีดับ
มีจุติคือเคลื่อนไปในที่สุด ไม่มีสิ่งใดที่จะตั้งอยู่ตลอดไป
เป็นนิรันดร
วิชชา วิมุตติ
เพราะฉะนั้นเมื่อได้พระญาณระลึกรู้ จับเหตุจับผลได้
โดยตลอดแล้ว จึงทำให้เกิดนิพพิทาคือความหน่าย
หน่ายในชาติภพ หน่ายในกิเลสตัณหาเอง เห็นทุกข์
ในกิเลสตัณหา เป็นวิชชาคือความรู้แจ่มแจ้งโพลงขึ้น
เมื่อรู้ชัดว่านี่เป็นตัวสมุทัยเหตุเกิดทุกข์
รู้ชัดว่าตัวชาติภพต่างๆ เป็นตัวทุกข์จริง และสมุทัย
เป็นเหตุให้เกิดทุกข์จริง ก็หน่ายไม่ต้องการ ตัวหน่ายไม่
ต้องการนี้ก็คือความสละ สละไปเอง ท่าน
จึงมีเปรียบเหมือนอย่างว่า ทีแรกก็คบศัตรูเป็นมิตร
ไม่รู้ว่าเป็นศัตรู นึกว่าเป็นมิตรซึ่งเป็นความรู้ผิด ก็คบเอา
ไว้ มีความชอบพอใจรับว่าเป็นมิตร แต่อันที่จริงเป็นศัตรู
เพราะเขามุ่งที่จะฆ่ามุ่งที่จะทำลาย ความที่เข้าใจศัตรูว่า
เป็นมิตรนี้คือตัวอวิชชา เป็นตัวโมหะ แต่ว่าตัวบุคคลนั้น
ไม่รู้ว่าเป็นอวิชชา ไม่รู้ว่าเป็นโมหะ คือไม่รู้ตัวเอง ไม่รู้
ความรู้ของตัวเองว่าเป็นอวิชชา ไม่รู้ว่าเป็นโมหะคือ
ความหลง แต่ครั้นเมื่อมารู้ชัดว่าความทุกข์ต่างๆ ที่ได้รับ
นั้นเป็นตัวทุกข์จริง ซึ่งเกิดจากบุคคลนั้นที่ตนเข้าใจว่า
เป็นมิตร แต่อันที่จริงเป็นศัตรูไม่ใช่มิตร รู้ชัดว่าเป็นศัตรู
เมื่อเป็นดั่งนี้จึงได้หน่ายในตัวบุคคลนั้น แล้วก็หน่ายใน
ความรักบุคคลนั้น ก็แปลว่าหมดรัก จึงได้ปล่อยวางคน
นั้นไม่ยึดเอาไว้ ไม่คบต่อไป นี้คือตัววิชชาคือ
ความรู้แจ่มแจ้งตามความเป็นจริง
แล้วก็วิมุตติหลุดพ้นคือหลุดพ้นได้จากความ
เข้าใจผิดรู้ผิดหลงผิด รู้แจ้งเห็นจริงขึ้นแล้วก็ละได้
ไม่คบอีกต่อไปไม่ให้เข้าใกล้อีกต่อไป นี้คือตัววิชชา
และเมื่อเป็นวิชชาความรู้แจ่มแจ้งขึ้นแล้ว อวิชชาคือความ
ไม่รู้ความหลงที่มีอยู่ก็หายหมด เป็นวิชชาคือความรู้ที่ถูก
ต้อง เพราะฉะนั้นเมื่อรู้ก็หลุดพ้นคือพ้นดั่งนั้นแหละ พ้น
จากความยึดถือว่าคนนั้นเป็นมิตรต่อไป สละได้หมด
ไม่คบเป็นมิตร คลายความรักความยึดความติดหมด
ในบุคคลนั้น เพราะรู้ชัดว่าเป็นศัตรูผู้ทำลาย เมื่อรู้จริง
แล้วก็ละสิ่งที่ไม่รู้นั้นได้ ละสิ่งที่ถือเอาผิดนั้นได้ อันนี้
เป็นตัววิมุตติคือความหลุดพ้น พระพุทธเจ้าจึง
ได้ทรงนำธรรมที่ตรัสรู้นี้แหละมาทรงแสดงสั่งสอน
แต่ว่าธรรมที่พระองค์ทรงสั่งสอนนั้นก็คือเป็นประมวล
หรือเป็นย่อ เพื่อเป็นแบบปฏิบัติได้ทีเดียวหรือ
เป็นแบบคติพจน์ทีเดียว ได้ตรัสรู้ถึงความ
เป็นไปของสังสารวัฏของสัตว์บุคคล ที่เวียนว่ายตายเกิด
ที่ประกอบกรรมดีบ้างชั่วบ้าง ที่ต้องเป็นทุกข์อยู่
ได้ตรัสรู้แจ้งแทงตลอดทั้งหมด แล้วก็ทรงแสดงสั่งสอน
การที่ทรงแสดงสั่งสอนนั้น ก็ทรงแสดงสั่งสอน
ให้เหมาะแก่อุปนิสัยของผู้ฟังให้เหมาะ
กับอินทรีย์ของบุคคลผู้ฟัง เพื่อให้บุคคล
ผู้ฟังรู้แจ้งเห็นจริงขึ้นมา ฉะนั้น
ในบางคราวก็ทรงเล่าประวัติที่พระองค์
ได้ทรงปฏิบัติมาเช่นในปฐมเทศนา
ในบางคราวก็ทรงยกเอาเหตุผลที่ได้ตรัสรู้นั้นมาแสดง
ในบางคราวก็ทรงแสดงเป็นคติพจน์
หรือคติธรรมสำหรับปฏิบัติทีเดียว เช่นที่ได้ยกมา
แล้วหลายข้อหลายบท ตลอดจนถึงข้อที่ทรงแสดง
ถึงพระโอวาท ๓ ข้อ ว่าไม่ทำบาปทั้งปวง ทำกุศลให้
ถึงพร้อม และทำจิตของตนให้บริสุทธิ์ผ่องใส
ทรงสอนให้ฝึกจิตอบรมจิตที่เป็นตัวเดิม
ก็จะทบทวนเรื่องจิตนี้อีก ที่ได้เริ่มกล่าวมาแล้วว่าจิตนี้
เป็นหลักสำคัญ และทางพุทธศาสนาก็สอนให้อบรมจิต
ให้ฝึกจิตให้ข่มจิต อันหมายถึงจิตที่เป็นตัวเดิมนี้เอง และ
ในบางแห่งก็เรียกว่าวิญญาณธาตุคือธาตุรู้ในธาตุ ๖
ดังที่กล่าวมาแล้ว และในข้อที่กล่าว
ถึงจิตนี้บางทีก็กล่าวว่า ตัวฉันหรือตัวเราหรือตัวข้าพเจ้า
หรืออัตตาตัวตน และก็
ได้มีพระพุทธภาษิตที่ตรัสสอนอีกเหมือนกัน ให้รักษาตน
ให้ฝึกตนให้มีตนเป็นที่พึ่ง และเมื่อกล่าวเป็นกลางๆ
ก็กล่าวว่าสัตว์หรือสัตวโลกดังที่ได้กล่าวมาแล้ว และก็
ได้กล่าวมาแล้วว่าในบุคคลทุกๆ คนนี้มี ๒
อย่างที่ประกอบอาศัยกันอยู่ คือส่วนที่เป็นสรีรสัณฐาน
กับส่วนที่ไม่มีสรีรสัณฐาน ส่วนที่มีสรีรสัณฐานนั้นก็รวม
ทั้งรูปธรรมนามธรรมที่ประกอบกันเป็นขันธ์ ๕ และส่วนที่
ไม่มีสรีรสัณฐานนั้นก็จิตที่เป็นตัวเดิมหรือธาตุรู้
และแม้นามธรรมนั้นที่อาศัยกายบังเกิดขึ้น
หรืออาศัยจิตบังเกิดขึ้น ก็ไม่มีสรีรสัณฐานเหมือนกัน
แต่ก็เป็นสิ่งที่เกิดดับไปกับสรีรสัณฐาน แต่จิตที่
เป็นตัวเดิมหรือเป็นสภาวะอัตตา ดังที่ตรัสสอนว่าตน
เป็นที่พึ่งของตนให้ฝึกตน และจิตที่
เป็นตัวเดิมนี้ก็ตรัสสอนว่าให้ฝึกจิตให้อบรมจิต หรือว่าเรา
หรือข้าพเจ้าหรือฉันดังที่แสดงไว้ในพระญาณที่ ๑
ดังกล่าวแล้ว หรือสัตว์ที่เรียกว่าสัตวโลก เมื่อขันธ์
เป็นที่ยึดถือหรือนามรูปนี้ดับ ที่เรียกว่าตาย
ส่วนที่เรียกว่าจิต วิญญาณธาตุ ตัวเราหรืออัตตา
หรือสัตว์ ก็ไม่ดับไม่แตกสลาย
ไม่ตายไปตามรูปธรรมนามธรรม
แต่จุติคือเคลื่อนไปถือภพชาติใหม่ตามกรรมดังที่กล่าวมา
แล้ว ก็ชื่อว่าเป็นสิ่งที่ส่วนหนึ่งตายส่วนหนึ่งไม่ตาย ส่วนที่
ไม่ตายนั้นก็เคลื่อนไปถือภพชาติใหม่ตามกรรม
จึงมาสรุปเข้าตอนนี้อย่างนี้ และเมื่อสรุปเข้าตอนนี้อย่างนี้
แล้ว จึงใคร่ที่จะ
ได้แสดงเสียตอนนี้เลยทีเดียวว่าอันสภาพที่
ไม่ตายที่เคลื่อนไปถือภพชาติใหม่นั้นก็จำเป็นที่จะ
ต้องสมมติชื่อขึ้นเรียก ว่าสภาพนั้นคืออะไร เพราะฉะ
นั้นชื่อที่สมมติขึ้นเรียกก็ดังที่ได้กล่าวมานั้นนั่นแหละ จิต
วิญญาณ อัตตา หรือเมื่อเพ่ง
เข้ามาจำเพาะก็ตัวเราตัวข้าพเจ้าหรือตัวฉันหรือภาวะที่
เป็นสัตว์ ก็สมมติเรียกสิ่งนั้นว่าอย่างนี้
อนุสสติญาณเกิดจากสมาธิ
คราวนี้เมื่อมีสภาพอันหนึ่งที่ยังไม่ตาย ยังไปถือภพชาติ
ใหม่อันสมมติเรียกชื่อต่างๆ กันนั้น ก็สภาพอันนี้เองที่
ได้ผ่านภพชาติทั้งหลายมาเป็นอันมาก
และสภาพที่ผ่านภพชาติทั้งหลายมาเป็นอันมากนี้ ก็
เป็นธรรมชาติที่เก็บไว้ได้ เพราะฉะนั้นจิตจึงแปลว่าเก็บ
สั่งสม ซึ่งอย่างหนึ่งก็คือสั่งสมอาสวะอันเป็นส่วนชั่ว
สั่งสมบารมีอันเป็นส่วนดีไว้ได้ พอกพูนไว้ได้เรื่อยๆ ไป
ตลอดถึงเก็บเรื่องราวที่ผ่านมาไว้ได้ด้วย
เหมือนอย่างที่เราเรียกอย่างสามัญว่าจำได้ จารึกไว้ได้
อยู่ในสภาพอันนี้ ซึ่งอย่างหนึ่งก็สมมติเรียกว่าจิต
ซึ่งแปลว่าเก็บหรือสั่งสม ฉะนั้นทุกๆ คนจึงยังมีสิ่งที่เก็บ
ไว้ในจิตอันเป็นตัวเดิมนี้ หรือเป็นสภาพที่ยังไม่ตายอยู่
ได้ทุกอย่างในจิตของตนเอง จิตของทุกๆ คนในบัดนี้ก็
เป็นอย่างนั้น ยังเก็บเอาไว้ได้
อย่างเช่นเหตุการณ์ของทุกๆ คนในบัดนี้ตั้งแต่เกิดมาจำ
ความได้จนบัดนี้ ทำอะไรทุกๆ วัน เห็นอะไรทุกๆ วัน
ได้ยินอะไรทุกๆ วัน เป็นต้น จิตอันนี้ก็เก็บไว้ได้ทุกอย่าง
แต่ว่าเรานึกไม่ได้หรือระลึกไม่ได้
บางทีเหตุการณ์เมื่อวานนี้เองก็รู้สึกว่าลืมไปแล้ว ระลึกไม่
ได้นึกไม่ได้ ยิ่งย้อนหลังไปหลายๆ วันก็ยิ่งนึกไม่
ได้ที่เรียกว่าลืม แต่อันที่จริงนั้นไม่ลืมไม่ได้หายไป
ยังคงเก็บไว้ในจิตของตนของทุกๆ คน คราวนี้
ในชาติอดีตที่แล้วมาก็เหมือนกัน ได้เกิด
เป็นอะไรมาทำอะไรไว้ที่ไหน ก็ยังเก็บเอาไว้
ในจิตของตนเช่นเดียวกัน แต่ว่านึกไม่ได้ระลึกไม่ได้
พระพุทธเจ้าเมื่อเป็นพระโพธิสัตว์ได้ทรงทำสมาธิ
ดังที่กล่าวแล้วว่าทรงทำอานาปานสติ จนทรง
ได้อัปปนาสมาธิ สมาธิที่แนบแน่น จึงได้ทรงน้อมจิตที่
เป็นสมาธิที่แนบแน่นนั้นเองระลึกไป
ซึ่งตัวระลึกไปนี้ก็คือตัวสตินี้เอง ซึ่งท่านเรียก
ในพระญาณว่าอนุสสติ ระลึกย้อนไประลึกตามไป
คราวนี้เมื่อนึกย้อนไปนึกตามไปก็รู้ รู้ถึงบ้านเก่าคือขันธ์
เป็นที่ยึดถืออยู่ในปางก่อน ที่เรียกว่าระลึกชาติหนหลัง
ก็คือระลึกได้ถึงสิ่งที่ผ่านไปแล้ว แต่เก็บไว้ในจิตนี้แหละ
ไม่ได้เก็บไว้ที่ไหน ระลึกได้ถึงทุกๆ อย่างที่เก็บไว้
ในจิตอันนี้ที่ผ่านมาแล้วทั้งหมดเพราะฉะนั้นจึง
ใช้คำว่าอนุสสติญาณ คือพระญาณความหยั่งรู้ที่เกิด
จากระลึกตามไปหรือระลึกย้อนไปถึงหนหลัง
ก็ระลึกสิ่งที่เก็บไว้ในจิตนี้แหละ ในบัดนี้ที่ศึกษา
ค้นคว้าทางจิตก็ยังได้มีแสดงเอาไว้
ในเค้าที่พระพุทธเจ้าทรงระลึกได้นั้น ซึ่งมาแสดงเป็นจิต
ในสำนึกจิตใต้สำนึก จิตในสำนึกก็คือจิตที่อยู่
ในภาวะพื้นผิวที่ปรากฏแก่ทุกๆ คนนี้แหละ ที่คิดอะไร
และมีเรื่องอะไรปรากฏขึ้นมาและบรรดากิเลสที่
เป็นนิวรณ์ทั้งหลาย ก็ปรากฏอยู่ในจิตในสำนึกที่
เป็นพื้นผิวนี้แหละ และอีกอันหนึ่งที่เรียกว่าจิตใต้สำนึก
นี้ลึกลงไป ซึ่งใช้วิธีปฏิบัติในปัจจุบันที่สะกดจิตลงไป
เมื่อสะกดจิตลงไปถึงจิตใต้สำนึกแล้ว ก็
ให้บุคคลที่ถูกสะกดจิตอยู่ใต้สำนึกนั้น
ได้แสดงเรื่องราวต่างๆ ของตน เช่นสั่งให้ย้อนไป
ว่าเมื่ออายุ ๕ ขวบเขียนหนังสือได้อย่างไร ก็ให้เขียน
อายุ ๔ ขวบเขียนได้อย่างไร ก็ให้เขียน เหล่านี้เป็นต้น
ซึ่งทุกคนที่ได้ผ่านการกระทำของตนมาในอดีตแล้ว
เมื่อถูกสะกดจิตให้ถึงระยะเช่นนั้น และ
ให้แสดงออกไปก็แสดงเช่นนั้น แต่ว่า
จะผิดถูกอย่างไรก็ตามแต่ก็ปรากฏว่ากระทำกันอยู่
และสำหรับที่ย้อนหลังไปในชาตินี้ของตัวเองนั้น
ก็อาจสอบสวนได้ง่าย แต่เขาก็สะกดลงไปจนถึงก่อนที่
จะมาเกิดชาตินี้อีก ๑ ปี ว่าไปเป็นอะไรอยู่ที่ไหน ซึ่ง
ได้มีชาวต่างประเทศผู้หนึ่งที่สนใจในการระลึกชาติ
ได้ของคนทั้งหลายในประเทศ ได้ค้นคว้าและเขียน
เป็นหนังสือขึ้น ได้เคยเข้ามา
ในเมืองไทยมาสืบหาคนที่ระลึกชาติได้ในเมืองไทย
แล้วก็จดบันทึกเอาไปเป็นบางคน
และฝรั่งคนนี้เคยมาพักที่วัดนี้เมื่อนานปีมาแล้ว แต่บัดนี้
ได้ทราบว่าถึงแก่กรรมไปแล้ว
ได้เขียนหนังสือเรื่องระลึกชาติได้ โดยที่ไปรวบรวม
จากคนที่ระลึกชาติได้พร้อมทั้งพยานหลักฐานต่างๆ
ไว้หลายเล่ม
ตามที่เล่ามานี้ ก็แสดงว่าแม้ในปัจจุบันนี้ก็ยังมีการศึกษา
ค้นคว้ากันเรื่องสภาพจิตนี้เป็นอันมาก
ซึ่งเราทุกคนก็มีจิตใจของเรานี้แหละ แต่ว่า
เป็นสภาพที่เรายังศึกษาไม่ถึง ยังไม่รู้
ถึงอำนาจจิตใจของตัวเอง ยังไม่รู้
ถึงภาวะจิตใจของตนอย่างแท้จริง และเพียงที่ได้ศึกษา
แล้วก็จับเป็นจิตในสำนึก จิตใต้สำนึกดังที่กล่าวมานี้ ก็อยู่
ในเค้าเดียวกับอนุสสติญาณ
ญาณที่ระลึกย้อนหลังของพระพุทธเจ้านั้น ท่านปฏิบัติ
ให้ระลึกย้อนหลังได้ด้วยอำนาจของอัปปนาสมาธิ
ในพุทธศาสนา ไม่ใช้วิธีสะกดจิต วิธีสะกดจิตนั้น
ให้คนหนึ่งไปสะกดจิตของอีกคนหนึ่ง แต่ก็สามารถที่
จะพอยกขึ้นมาพิจารณาได้ว่า จิตส่วนลึกของทุกๆ
คนนี้เมื่อเข้าถึงได้แล้ว จะได้พบความรู้ต่างๆ อีกมาก
ความรู้ที่เกิดจากตัวเองได้พบผ่านมาแล้วในอดีต
ตลอดจนถึงในปัจจุบันและก็
ได้มีคณะแพทย์ของไทยคณะหนึ่งมาสนใจเรื่องนี้
อยู่ครั้งหนึ่ง บัดนี้จะเลิกแล้วหรือยังก็ไม่ทราบ แต่ขณะที่
เขายังสนใจอยู่นั้นเคยมาพบแล้วมาเล่าให้ฟัง คือ
ใช้วิธีสะกดจิตอันนี้แหละนำเอาคนตาบอดมาหัด
ให้ทำสมาธิ และเมื่อได้สมาธิแล้ว
คณะแพทย์ที่ทำเรื่องนี้ก็สะกดจิตเด็กคนนั้น
ช่วยสะกดจิตเด็กคนนั้นด้วย เพื่อทดลองดู ว่าเมื่อจิตอยู่
ในสภาพนั้นจะแสดงถึงสิ่งที่เก็บไว้ได้เพียงไร เด็กที่
ได้รับฝึกหัดคือเด็กตาบอด บางคน
สามารถเหมือนอย่างเห็นอะไรที่วางอยู่ในห้องของตนได้
และคนๆ หนึ่งนั้นเมื่อได้อำนาจพิเศษอย่างนี้
แล้วเกิดขโมยขึ้นมา ขโมยของหนีไปนี้ก็รายหนึ่ง
ส่วนอีกรายหนึ่งนั้นพาไปพิสูจน์ในโรงหนัง
พาเด็กตาบอดไปดูภาพยนตร์
และคณะแพทย์ก็ถามเด็กว่าภาพยนตร์แสดงเรื่องอะไร
เป็นอย่างไร เด็กก็เล่าให้ฟังว่ากำลังว่าถึงเรื่องนั้นๆ ก็ถูก
ต้อง แต่ว่าพอถึงบทโอ้โลมปฏิโลมเด็กตามืดไม่เห็น
ทั้งนี้ก็เพราะเกิดนิวรณ์ขึ้นมา
และเมื่อเกิดนิวรณ์ขึ้นมาก็เสียสมาธิ เสียสมาธิแล้ว
ความรู้ที่เคยได้ก็เลยไม่ได้ อันนี้แสดงว่าจิตเป็นธาตุรู้
และแม้ว่าจักขุประสาทที่เป็นดวงตาสำหรับเห็นตามปรกติ
จะเสีย แต่ถ้าฝึกปฏิบัติให้จิตเข้าถึงภาวะอันเหมาะสม
แล้ว แม้ตาบอดก็อาจจะเห็นได้โดยอาศัยประสาท
อื่นของร่างกาย
๒๘ สิงหาคม ๒๕๒๖
--------------------------------------------------------------
หมายเหตุ
บทความนี้เป็นธรรมกถาจากจำนวนทั้งสิ้น ๓๖ ครั้ง
ที่เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน)
บรรยายแก่พระนวกภิกษุวัดบวรนิเวศวิหาร ในพรรษากาล
๒๕๒๖ มหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูถัมภ์
จัดพิมพ์เนื่องในงานบำเพ็ญกุศลชนมายุครบ ๖ รอบ ของ
สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) ในวันที่ ๓
ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๒๘


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2014, 00:53 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ครั้งที่ ๑๕ ลักษณะพุทธศาสนา - สังขตธรรม
และอสังขตธรรม
ลักษณะพุทธศาสนา
ธรรมบรรยายของสมเด็จพระญาณสังวร
ในการอบรมนวกภิกษุพรรษา ๒๕๒๖
ณ สว.ธรรมนิเวศ วัดบวรนิเวศวิหาร
--------------------------------------------------------------
ได้แสดงลักษณะพุทธศาสนา และทบทวน
ถึงจุดที่ว่ามีสิ่งที่ตายและสิ่งที่ไม่ตายประกอบกันอยู่
ในบุคคลทุกๆ คน และสิ่งที่ไม่ตายนั้นก็
ได้มีคำสมมติบัญญัติเรียกว่าจิต อันหมายถึงจิตที่
เป็นตัวเดิม หรือเมื่อหมายจำเพาะเข้ามาถึงในบุคคล
ก็เรียกว่าเจ้าหรือฉัน เรียกว่าอัตตา เรียกว่าสัตว์ อันหมาย
ถึงสัตวโลกหรือสัตตภาวะ ความเป็นสัตว์ และก็จะ
ได้กล่าวถึงจุดนี้ต่อไปเพราะจะทำให้เข้าใจ
ถึงเรื่องอะไรที่ยังอยู่ พร้อมทั้งข้อที่ควรคิดว่า
จะถือเอาทางไหน ฉะนั้นในเบื้องต้นนี้ก็จะได้กล่าวสรุป
เข้ามาเสียก่อนว่า ในสัตว์บุคคลตัวตนเราเขาที่ยึดถือกัน
อยู่นี้ ตลอดจนถึงในโลกธาตุทั้งหมดหรือในสากลโลก
ทั้งหมด ย่อลงก็มีอยู่ ๒ ส่วน
ที่ทางพุทธศาสนาบัญญัติชื่อเรียกไว้เป็นหลักฐานว่า
สังขตธรรม กับ อสังขตธรรม หรือสังขารและวิสังขาร
ได้มีอธิบายไว้ว่า ธรรมอันปัจจัยปรุงเรียกว่าสังขตธรรม
ธรรมอันปัจจัยไม่ได้ปรุงเรียกว่าอสังขตธรรม
และสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
ได้ทรงอธิบายไว้ในธรรมวิภาค ปริจเฉท ๒ ว่าสิ่ง
หรือสภาพมีเกิดในเบื้องต้น มีแปรไปในท่ามกลาง มีดับ
ในที่สุด เป็นสังขตธรรม อีกอย่างหนึ่ง สภาพเกิดแต่เหตุ
ทั้งปวงจัดเป็นสังขตธรรม พระนิพพานจัด
เป็นอสังขตธรรม ในพระสูตรได้มีแสดงไว้ ว่าธรรม
ทั้งหลายทั้งที่เป็นสังขตธรรม ทั้งที่เป็นอสังขตธรรม
มีวิราคธรรม ธรรมเป็นที่สิ้นราคะคือกิเลสที่
เป็นเครื่องย้อมใจให้ติดให้ยินดี คือนิพพาน เป็นยอด
ธรรมทั้งหลายที่เป็นสังขตธรรม มีมรรคเป็นองค์ ๘ คือ
สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ
สัมมาวาจา เจรจาชอบ สัมมากัมมันตะ การงานชอบ
สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตชอบ สัมมาวายามะ เพียรชอบ
สัมมาสติ ระลึกชอบ สัมมาสมาธิ ตั้งใจไว้ชอบ เป็นยอด
ในพระสูตรแสดงอธิบายไว้อย่างนี้ ข้อที่พึงสังเกตก็คือว่า
ทั้งสังขตธรรมทั้งอสังขตธรรม ท่านใช้คำ
เป็นพหูพจน์ว่าธรรมทั้งหลาย เมื่อใช้คำ
เป็นพหูพจน์ว่าธรรมทั้งหลาย ก็ต้องหมายความว่าไม่
ใช่มีสิ่งเดียวทั้ง ๒ อย่าง และเพราะฉะนั้นจึงได้มียอด
ถ้าหากว่ามีอย่างเดียวก็ไม่ต้องกล่าวว่ามียอด
ที่กล่าวว่ามียอดนั้นก็ต้องแปลว่ามีที่ไม่ใช่ยอด
เช่นต้นไม้ก็มีส่วนทั้งหลายของต้นไม้ เช่นราก ลำต้น
กิ่งใบ ขึ้นไปตั้งแต่โคนต้นจนถึงยอด เพราะฉะ
นั้นต้นไม้มียอดแปลว่าต้นไม้นั้นต้องมีโคน มีลำต้นเป็นต้น
ฉะนั้นที่แสดงว่ามียอด ดังที่แสดงว่าวิราคะ คือนิพพาน
เป็นยอดทั้งสังขตธรรมทั้งอสังขตธรรม และตรงที่แสดง
เป็นอสังขตธรรม ก็แสดงเป็นพหูพจน์ว่า อสงฺขตา ธมฺมา
ธรรมทั้งหลายที่เป็นอสังขตะ สังขตะก็เหมือนกัน สงฺขตา
ธมฺมา ธรรมทั้งหลายที่เป็นสังขตะ แปลว่ามีมาก เพราะฉะ
นั้นเมื่อหมายความว่ามีมาก ถ้าเป็นอสังขตะก็ไม่
ใช่นิพพานเพียงอย่างเดียว จึงควรพิจารณาดูว่าอะไร
เป็นสังขตธรรม อะไรเป็นอสังขตธรรม
สังขตธรรม ธรรมที่มีปัจจัยปรุง
ว่าถึงสังขตธรรม ธรรมอันปัจจัยปรุงเสียก่อน
คำว่าธรรมอันปัจจัยปรุงนี้ก็หมายความว่าธรรมที่มีเหตุ
ทั้งปวงปรุงให้บังเกิดขึ้น คือเป็นส่วนผลที่เกิดจากเหตุ
จึงมีเหตุเป็นตัวปัจจัย คือเป็นเหตุเป็นเครื่องอาศัย
ให้บังเกิดขึ้น นี้เรียกว่าสังขตธรรม ดังเช่นขันธ์
เป็นที่ยึดถือ ๕ ประการนี้ของบุคคล คือกายและใจอันนี้
นามรูปอันนี้ ว่าถึงรูปอันเป็นส่วนรูปกายซึ่งประกอบขึ้น
ด้วยธาตุทั้งหลาย ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม
ธาตุอากาศคือช่องว่าง เหล่านี้ก็บังเกิดขึ้นจากเหตุ
นามกายหรือนามธรรม อาการของจิตที่แสดงออก
เป็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็เหมือนกัน
ที่ปรากฏเป็นเวทนาเป็นต้นนั้น ก็เป็นผลที่เกิดจากเหตุ
มีเหตุปรุงให้บังเกิดขึ้น เหตุที่ตามองเห็นหรือที่ทราบได้
ในปัจจุบันก็มี เหตุที่ทราบด้วยญาณคือ
ความหยั่งรู้ของพระพุทธเจ้าและของท่านผู้รู้ก็มี
เหตุที่เกิดในปัจจุบันที่ตามองเห็นและที่ทราบได้
ก็เช่นรูปกายอันนี้ต้องอาศัยอาหารที่เป็นธาตุ ๔ นั่นแหละ
ซึ่งบุคคลบริโภคใช้สอยสำหรับที่จะทนุบำรุงกายให้ดำรง
อยู่ได้ ถ้าขาดอาหารก็ดำรงอยู่ไม่ได้ นามธรรมก็เหมือน
กัน ก็ต้องอาศัยเหตุซึ่งเป็นอาหารสำหรับที่จะให้เกิดขึ้น
และบำรุงให้เป็นไปอยู่ เช่นตัวเวทนาเองที่เป็นสุข
เป็นทุกข์หรือว่าเป็นกลางๆ ไม่สุขไม่ทุกข์ ก็เกิด
จากผัสสะหรือสัมผัส สัญญาก็เหมือนกัน ก็เกิดสืบมา
จากเวทนา สืบมาจากสัมผัสหรือผัสสะ วิญญาณ
นั้นเล่าก็เกิดมาจากนามรูปนี้แหละ และ
โดยตรงก็คือเมื่ออายตนะภายใน
อายตนะภายนอกมาประจวบกัน ก็เกิดเป็นจักขุวิญญาณ
เป็นต้น เช่นตากับรูปมาประจวบกันก็เกิดจักขุวิญญาณ
วิญญาณทางตา ก็คือมองเห็น การเห็นนี้ก็
เป็นตัวจักขุวิญญาณ การเห็นรูป และก็เป็นสิ่งที่เกิดดับ
เพราะฉะนั้นท่านจึงแสดงว่ามีเกิดในเบื้องต้น มีแปรไป
ในท่ามกลาง และมีดับในที่สุด ฉะนั้นจึง
ต้องมีอาหารมาบำรุงกันอยู่เป็นส่วนเหตุ นามรูปนี้ชีวิต
จึงดำรงอยู่ได้ ดังเช่นที่รูปกายอันนี้ก็ต้องบริโภคอาหาร
กันอยู่ วันหนึ่งหนหนึ่งสองหนสามหนเป็นต้น
และอาหารบางอย่างก็ต้องบริโภคอยู่ตลอดเวลา
คือลมหายใจเข้าลมหายใจออก หายใจ
ไม่ออกเสียสักนาทีสองนาทีก็จะอยู่ไม่ได้แล้ว นี้
ต้องมีอาหารบำรุงอยู่ตลอดเวลา
นามธรรมก็เหมือนกัน การที่อายตนะภาย
ในภายนอกประจวบกันอยู่ นี้เป็นอาหารของนามธรรม
ทุกคนตั้งแต่ตื่นขึ้นมาตาก็ประจวบกับรูป หูก็ประจวบ
กับเสียง จมูกก็ประจวบกับกลิ่น ลิ้นก็ประจวบกับรส
กายก็ประจวบกับสิ่งที่กายถูกต้อง มโนคือใจก็ประจวบ
กับธัมมะคือเรื่องราว ตั้งแต่ตื่นจนหลับ จึง
ได้มีเวทนาสัญญาสังขารวิญญาณกันอยู่ตลอด แม้
ในขณะที่หลับอันที่จริงนั้นอายตนะ ๕
ข้างต้นพักสนิทสักหน่อยหนึ่ง คือตาหูจมูกลิ้นกาย
แปลว่าตาไม่รับรูป หูไม่รับเสียง จมูกไม่รับกลิ่น ลิ้น
ไม่รับรส กายไม่รับสิ่งถูกต้อง คือไม่รับรู้อะไรทาง ๕ นี้
แต่มโนคือใจกับธัมมะคือเรื่องราวนั้นยังไม่หยุด
จึงปรากฏเป็นความฝัน ความฝันนั้นก็เกิดขึ้น
ในขณะที่มโนคือใจกับธัมมะคือเรื่องราวอันเป็นข้อที่ ๖ นี้
ยังไม่พัก คือแปลว่ายังไม่หลับ ถ้ามโนคือใจหลับละก็
ไม่ฝัน แต่นักจิตวิทยาแม้ในปัจจุบันก็บอกว่าคนเราฝัน
อยู่มากมาย แต่ว่าตื่นขึ้นมาลืมเสียมาก จึงรู้สึกว่าบางทีก็
ไม่ฝัน บางทีก็ฝันน้อย จำได้เลือนรางบ้าง จำ
ได้แน่นอนบ้าง แต่ว่าอันที่จริงนั้นฝันอยู่เรื่อย
ก็คือมโนอันนี้ไม่หลับหรือหลับไม่สนิท ไม่ค่อยจะได้พัก
ถ้ามโนพักละก็ไม่ฝัน
สังขตลักษณะ
เพราะฉะนั้นเหล่านี้จึงเป็นสังขตธรรม ธรรมอันปัจจัยปรุง
ทั้งนั้น และรอบกายของบุคคล สิ่งที่ตามองเห็นโดย
เป็นรูปต่างๆ เป็นต้นไม้ เป็นภูเขา เป็นบ้าน เป็นเรือน
เป็นบุคคล เสียงที่ได้ยิน กลิ่นรสและสิ่งที่ถูกต้องที่
ได้ทราบ เรื่องราวที่คิดนึกทางใจซึ่งปรุงขึ้นมา เหล่านี้ก็
เป็นสังขตธรรมทั้งนั้น ธรรมมีปัจจัยปรุงทั้งนั้น ตลอดจน
ถึงโลกที่เราอาศัยอยู่นี้ ดินฟ้าอากาศอะไรทั้งหมด
ฝนตกแดดออกอะไรเหล่านี้ ดวงอาทิตย์ดวงจันทร์
ทั้งหมด นี้เป็นสังขตธรรม ธรรมที่มีปัจจัยปรุงทั้งนั้น เกิด
จากเหตุทั้งนั้น เพราะฉะนั้นทุกสิ่งทุกอย่างนี้จึงตกอยู่
ในลักษณะของสังขตลักษณะ คือลักษณะที่ปัจจัยปรุงทั้ง
นั้น อันได้แก่
๑. อุปฺปาโท ปญฺญายติ ความเกิดขึ้นปรากฏ
๒. วโย ปญฺญายติ ความเสื่อมดับไปปรากฏ
๓. ฐิตสฺส อญฺญถตฺตํ ปญฺญายติ เมื่อยังตั้งอยู่
ความแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไปปรากฏ
ไตรลักษณ์หรือสามัญลักษณะ
หรือว่าที่แยกออกมาเป็นไตรลักษณ์
ลักษณะเครื่องกำหนด ๓ หรือเรียกว่าสามัญลักขณะ
ลักษณะที่ทั่วไปของสังขารทั้งปวง อันได้แก่อนิจจะ
ไม่เที่ยง ทุกขะเป็นทุกข์คือตั้งอยู่คงที่มิได้
ต้องแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไป และอนัตตามิ
ใช่อัตตาตัวตน เพราะบังคับให้เป็นไปตามปรารถนาไม่ได้
แต่ว่าความตั้งอยู่ในระหว่างเกิดและเสื่อมดับในที่สุดนั้น
มีระยะเวลาที่เร็วและช้าต่างกัน ชีวิตของบุคคลทุกคนก็
เร็วและช้าต่างกัน แต่ว่าพอที่จะกำหนดได้ว่าส่วนมาก
นั้นสักเท่าไร ดังเช่นที่กำหนดว่า กปฺป หนึ่งหรือกัปหนึ่ง
ดังที่มีพระพุทธภาษิตแสดงว่า หากเจริญอิทธิบาทภาวนา
ก็จะเจริญอายุกัปหนึ่งหรือเกินกัปหนึ่ง
เป็นพระพุทธภาษิตที่ตรัสแก่พระอานนท์ที่แสดงถึงบุคคล
ผู้เจริญอิทธิบาทภาวนา เมื่อได้ปลงอายุสังขารแล้ว
พระอานนท์จึงได้กราบทูลอันเชิญ
ให้อย่าเพิ่งเสด็จดับขันธปรินิพพาน
ให้ทรงเจริญอิทธิบาทภาวนาเพื่อมีพระชนม์ยืนไปกัปหนึ่ง
หรือเกินกัปหนึ่ง แต่พระพุทธองค์ได้ตรัสว่า
ได้ทรงปลงอายุสังขารแล้ว ไม่ทรงกลับคำ
คำว่ากัปหนึ่งหรือเกินกัปหนึ่งนี้ พระอาจารย์ได้อธิบายว่า
หมายถึง ชีวิตกปฺป ซึ่งประมาณ ๑๐๐ ปีสำหรับคน
ในยุคปัจจุบัน ปัจจุบันก็ตั้งแต่ครั้งพุทธกาลนั้นเรื่อยมา
หรือก่อนพุทธกาลนั้นเรื่อยมา ไม่ใช่หมาย
ถึงกัปกัลป์นับอายุไม่ถ้วนดั่งที่บางคนเข้าใจ
ชีวิตปัจจุบันก็อยู่ในราวนั้นเป็นอย่างมาก
ที่มากไปกว่าก็มีน้อย แต่โดยมากก็ไม่ถึง ๑๐๐ ปี ๘๐
ปีก็นับว่ามาก ชีวิตของสัตว์เดรัจฉานก็มียาวสั้นต่างๆ กัน
ดั่งที่ทราบกันอยู่ นี้เป็นระยะของเวลาที่ตั้งอยู่ ขณะตั้ง
อยู่ก็แปรปรวนเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ และก็ได้มีแสดง
ไว้ตั้งแต่เก่าก่อนพุทธศาสนาบังเกิดขึ้น
และเมื่อพุทธศาสนาบังเกิดขึ้นก็รับรองเอามาแสดง
ไว้เหมือนกัน คืออายุของโลก เมื่อโลกเรานี้ก็มีอายุเหมือน
กัน มีเกิดมีดับเหมือนกัน แต่ว่าระยะเวลาที่ตั้งอยู่ของโลก
นั้นยาวมาก แม้ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ดวงดาวต่างๆ นักคิด
ค้นในปัจจุบันนี้ก็ยังรับรองว่าเป็นสิ่งที่มีเกิดมีดับ
แต่ระยะเวลาที่ตั้งอยู่นั้นยาวมาก
สำหรับระยะเวลาเกิดดับของโลก
นั้นยาวมากจนเรียกว่าหลายสิบกัปกัลป์
เป็นอสงไขยที่แปลว่านับไม่ถ้วนปีคือว่ายาวมาก
และโลกนี้เมื่อถึงคราววินาศก็จะวินาศไป
แตกสลายไปดับไป ด้วยไฟด้วยน้ำด้วยลม นี้
เป็นคติที่แสดงไว้ตั้งแต่ก่อนที่พุทธศาสนาจะบังเกิดขึ้น
และเมื่อพุทธศาสนาบังเกิดขึ้นก็รับรองสิ่งนี้เข้ามาแสดง
ไว้เหมือนกัน
โอกาสโลกและสังขารโลก
เพราะฉะนั้นทุกอย่างก็เป็นสังขตธรรม คือ
เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงทั้งนั้น
มีเกิดมีดับมีแปรปรวนเปลี่ยนแปลงทั้งนั้น โลก
ทั้งหมดนี้เรียกว่าเป็น โอกาสโลก โลกคือพื้นปฐพี
และก็แยกออกมาเป็นภูเขาเป็นต้นไม้พวกพืชต่างๆ
เป็นร่างกายมนุษย์ เป็นสัตว์เดรัจฉาน ก็เรียกว่า
สังขารโลก โลกคือสังขาร
คือว่าร่างกายของมนุษย์ของสัตว์เดรัจฉานตลอด
ถึงของต้นไม้ทั้งหลายก็แบ่งส่วนธาตุดินน้ำลมไฟมา
จากโอกาสโลกคือพื้นปฐพีนี้มาประกอบกันขึ้น
ผสมปรุงแต่งกันขึ้นเป็นคนเป็นสัตว์เป็นต้นไม้
ก็เรียกว่าสังขารโลก และก็เรียกว่าสัตวโลก
หรือสัตตโลกซ้อนอยู่
ในสังขารโลกของมนุษย์ของเดรัจฉาน คือว่ามีจิตใจที่
เป็นธาตุรู้ซึ่งยึดถืออยู่ มีกิเลสอาสวะอยู่ ก็
เป็นสัตว์โลกซ้อนอยู่ในสังขารโลกอันนี้ ซึ่งหาก
จะกล่าวดังที่กล่าวมาแล้วก็กล่าวได้
ว่าเมื่อสังขารโลกของคนของสัตว์นี้แตกสลาย
ส่วนที่เรียกว่าสัตวโลก
นั้นก็จุติคือเคลื่อนออกไปถือสังขารโลกใหม่ ทุกคนเรานี้
จึงเป็นโลกน้อยๆ ซึ่งแบ่งส่วนมาจากโลก
ใหญ่คือโอกาสโลก และก็ตกอยู่ในลักษณะเดียว
กันคือเกิดดับ และเมื่อตั้งอยู่ก็แปรปรวน
ทรงสอนให้พิจารณาแยกธาตุ
คราวนี้ก็จะต้องคิดเหมือนกัน ว่าตามที่กล่าวมาแล้วนั้น จะ
เป็นรูปธรรมนามธรรมที่รวมกัน
เป็นอัตภาพร่างกายจิตใจของทุกๆ คนตลอด
ถึงสัตว์เดรัจฉาน ตลอดจนถึงสังขารโลกทั้งหมด
โอกาสโลกทั้งหมด นี้เป็นสังขตธรรมฝ่ายที่เป็นรูป
หรือฝ่ายที่เป็นวัตถุ คราวนี้ฝ่ายที่เป็นรูปหรือที่
เป็นวัตถุนี้อันเป็นอสังขตธรรม ธรรมอันปัจจัยไม่ปรุง
จะมีอีกหรือไม่ คือว่าบรรดาส่วนที่เป็นวัตถุหรือเป็นรูป
ซึ่งมาปรุงแต่งกันขึ้นก็มาจากเหตุ และบรรดา
ส่วนที่มาปรุงแต่งกันนั้น ก็จะ
ต้องมีที่มาว่าเอาอะไรมาปรุงแต่ง เพราะฉะนั้น
ในทางพุทธศาสนาจึงมีสอนให้แยกธาตุ
และการแยกธาตุที่ต้องการ
เป็นการปฏิบัติเพื่อสมาธิเพื่อปัญญา อัน
เป็นสมถกรรมฐานวิปัสสนากรรมฐานนั้น
ก็คือว่าก้อนกายอันนี้เอาส่วนที่เป็นรูปก่อน ก็
เป็นที่ยึดถือว่าเป็นตัวเราเป็นของเรา ก็มาเป็นก้อน
อยู่อย่างนี้ มันก็ควรจะเห็นว่าเป็นตัวเราเป็นของเราได้ จึง
ได้ตรัสสอนให้แยกธาตุออกไป ว่าอันที่จริง
นั้นประกอบขึ้นจากธาตุทั้งหลาย โดยมากก็คือธาตุ ๔
คือประกอบขึ้นจากปฐวีธาตุ ธาตุดิน อาโปธาตุ ธาตุน้ำ
เตโชธาตุ ธาตุไฟ วาโยธาตุ ธาตุลม และ
ในที่บางแห่งก็มีสอน
ให้แยกออกไปเพิ่มอีกธาตุหนึ่งคืออากาสธาตุ
ธาตุอากาศคือช่องว่าง เป็นที่ ๕ สอนให้แยกธาตุออกไป
ว่าอันที่จริงนั้นไม่ใช่เป็นก้อนดอก แต่ว่าแยกออกไปได้
เป็นธาตุ ๔ หรือเป็นธาตุ ๕ เพื่อที่จะได้กระจายออกไปว่า
ไม่ใช่เป็นก้อนเป็นแท่ง จะได้มองเห็นว่าอันที่จริงนั้นไม่
ใช่อัตตาตัวตน ไม่ใช่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
แต่แยกออกไปได้เป็นธาตุ ๔ หรือธาตุ ๕
เพราะฉะนั้นคำว่าธาตุนี้จึงเป็นคำที่แสดงถึงส่วนสิ่งที่
เป็นที่มาประกอบกับของสิ่งที่เรียกว่าสังขารหรือ
ส่วนผสมอันนี้ คือว่ารูปกายอันนี้ของทุกคนที่เป็นสังขาร
หรือสังขตธรรมดังที่กล่าวมาแล้ว คือเป็น
ส่วนผสมปรุงแต่งมาประกอบกันเข้า เหมือนอย่างว่าบ้าน
ที่เรียกว่าบ้านนั้นก็คือว่าเครื่องทัพพสัมภาระ
ทั้งหลายมาประกอบกันเข้าเป็นบ้าน แต่อันที่จริงนั้น
บ้านก็มาจากสิ่งที่ประกอบทั้งหลาย เช่นมาจากไม้จากอิฐ
จากปูนจากเหล็กที่เป็นบ้านตึกราม สิ่งต่างๆ
เหล่านี้มาประกอบกันเข้ามาปรุงกันเข้าก็เป็นบ้าน บ้านจึง
เป็นสังขารคือส่วนผสมปรุงแต่ง ซึ่งอันที่จริงนั้น
ไม่มีตัวบ้านจริงๆ คือตัวตนไม่มี ไม่มีตัวบ้านจริงๆ แต่มา
จากส่วนผสมปรุงแต่ง ร่างกายอันนี้ก็เหมือนกัน
ตัวตนร่างกายไม่มี มีมาจากธาตุที่มาผสมปรุงแต่งกันขึ้น
เพราะฉะนั้นเพื่อที่จะให้ละความยึดถือว่าตัวเราของเรา
จึงได้ตรัสสอนให้แยกธาตุ
ให้พิจารณาแยกธาตุอันแสดงว่าธาตุ คำว่าธาตุนี้เป็น
ส่วนที่แยกมาจากคำว่าสังขาร สังขารคือ
ส่วนผสมปรุงแต่งนั้นก็เป็นสิ่งที่ยึดถือกันว่า สมมติบัญญัติ
กันว่าเป็นตัวเราของเรานี้ ก็มาจากบรรดาธาตุ
ทั้งหลายที่มาปรุงแต่งกันขึ้น ตรัสสอนให้แยกออกไป
๒๙ สิงหาคม ๒๕๒๗
--------------------------------------------------------------
หมายเหตุ
บทความนี้เป็นธรรมกถาจากจำนวนทั้งสิ้น ๓๖ ครั้ง
ที่เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน)
บรรยายแก่พระนวกภิกษุวัดบวรนิเวศวิหาร ในพรรษากาล
๒๕๒๖ มหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูถัมภ์
จัดพิมพ์เนื่องในงานบำเพ็ญกุศลชนมายุครบ ๖ รอบ ของ
สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) ในวันที่ ๓
ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๒๘


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 36 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 3 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร