วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 22:41  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=22



กลับไปยังกระทู้  [ 15 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2014, 17:18 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระมงคลวิเสสกถา
ธรรมและวินัยอันปฏิบัติดีแล้ว
เป็นมงคล
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส.
หิโต พหุนฺนํ ปฏิปชฺช โภเค
ตํ เทวตา รกฺขติ ธมฺมคุตฺตํ
พหุสฺสุตํ สีลวตูปปนฺนํ
ธมฺเม ฐิตํ น วิชหาติ กิตฺติ
ธมฺมฏฺฐํ สีลสมฺปนฺนํ สจฺจวาทึ หิรีมนํ
เนกฺขํ ชมฺโพนทสฺเสว โก ตํ นินฺทิตุมรหติ
เทวาปิ นํ ปสฺสนฺติ พฺรหฺมุนาปิ ปสํสิโต
บัดนี้ จักรับพระราชทานถวายวิสัชนา
ในพระมงคลวิเสสกถา ฉลองพระเดชพระคุณ
ประดับพระปัญญาบารมี
เป็นปสาทนียกถามังคลานุโมทนา
ในมหามงคลสมยาภิลักขิตกาล
ด้วยสมเ็ด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า
ทรงเจริญพระชนมพรรษามาด้วยสวัสดี
บัดนี้มาประจบสุรทินบรมราชสมภพ
ทรงพระราชปรารภมหามงคลสมัย
ทรงมีพระบรมราชโองการสั่ง
ให้ตั้งการพระราชพิธี
ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเฉลิมพระชนมพรรษา
ทรงกระทำสักการบูชาพระพุทธาทิรัตนตรัย
ด้วยราชาภิมานสักการภัณฑ์
ประทีปธูปเทียนสุคันธชาติระเบียบกุสุมมาลา
พระราชทานถวายบิณฑบาตขัชชะโภชชาหาร
และไทยธรรมสมณบริขารในภิกษุสงฆ์แล้ว
ทรงพระราชอุทิศ
ส่วนพระราชกุศลแก่เทวดามนุษย์เป็น
ส่วนเทวตาพลี สรรพสาธารณพลี
ธรรมบรรณาการ เพื่อ
ให้อนุโมทนาสัมฤทธิ์วิบุลสุขสมบัติ และจะ
ได้ตั้งไมตรีหิโตปเทศกัลยาณจิต
ประสิทธิชัยมงคลสิริสวัสดิ์
พระชนมสุขศุภวิบุลมนุญผล
ถวายสมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า
ให้ทรงพระสถาพรนิรมล
ในพระสิริราชมไหศวรรยสมบัติ
โดยอุดมสิริสวัสดิ์เกษมนิราศ
สรรพพิบัติอุปัทวันตราย
ทรงบำเพ็ญพระราชธรรมจริยารัฎฐาภิปาลโนบาย
และพระราชกุศลบุญนิธิให้อุฬาราดิเรกไพศาล
เพิ่มพระบรมสมโพธิสมภารสัปปุริสปฏิบัติ ทรง
เป็นองค์บรมนาถบพิตรแห่งประชานิกรทุกหมู่เหล่าเทพ
ทั้งมนุษย์อารักษ์ทุกสถาน ทรงเบิกบาน
ด้วยพระราชกัลยาณเกียรติคุณอดุลยบริสุทธิ์
สมดังพระพุทธภาษิตตรัสไว้
ในปัญจกังคุตตรนิกายว่า สปฺปุริโส ภิกฺขเว ชายมาโน
เป็นอาทิ แปลความว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
สัปบุรุษเกิดในตระกูลเป็นไปเพื่อประโชน์
เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่ชนเป็นอันมาก
คือแก่มารดาบิดา แก่บุตรภริยา แก่คนรับ
ใช้คนทำงานทั่วไป แก่มิตรอำมาตย์ แก่สมณพราหมณ์
เหมือนอย่างมหาเมฆฝนหลวงยังข้าวกล้าให้
ถึงพร้อมงอกงาม
เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลสุขแก่คนเป็นอันมาก ฉะ
นั้น"
หิโต พหุนฺนํ ปฏิปชฺช โภเค
บุคคลใดได้ปฏิบัติโภคสมบัติ ดำรงฆราวาสวิสัย
เกื้อกูลให้เป็นประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก
ตํ เทวตา รกฺขติ ธมฺมคุตฺตํ
เทวดาย่อมรักษาบุคคลนั้น
ผู้อันธรรมคุ้มครองรักษา
พหุสฺสุตํ สีลวตูปปนฺนํ ธมฺเม ฐิตํ น วิชหาติ กิตฺติ
เกียรติคุณย่อมไม่ละบุคคลนั้นผู้เป็นพหูสูต
มีอรรถและธรรมได้สดับมา
ประกอบด้วยศีลาจารวัตร สถิตในธรรม
ธมฺมฎฺฐํ สีลสมฺปนฺนํ สจฺจวาทึ หิรีมนํ
เนกฺขํ ชมฺโพนทสฺเสว โก ตํ นินฺทิตุมรหติ
ใครควรจะนินทาบุคคลนั้น ผู้ตั้งอยู่ในธรรม
ถึงพร้อมด้วยศีล
มีปกติกล่าววาจาสัตย์ มีหิริิอยู่ในใจ
บริสุทธิ์ประดุจแท่งทองชมพูนุท
เทวาปิ นํ ปสฺสนฺติ พฺรหฺมุนาปิ ปสํสิโต
อย่าว่าแต่มนุษย์เลย
แม้เทวดาและพรหมก็ย่อมสรรเสริญบุคคลนั้น
ด้วยประการฉะนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2014, 17:23 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อิโต ปรํ ปวกฺขามิ ตํ ตํ วิเสสมงฺคลํ
วุจฺจมานํ หิ สุตฺวาน โยนิโส ปจฺจเวกฺขโต
มหาราชาธิราชสฺส ภเวยฺย กตฺตุกามตา
ตโต สมฺปาทนตฺถาย ภิยฺโยภาวาย สพฺพถา
สมฺมา ว ปทหนฺตสฺส ธมฺเมน ปฏิปชฺชโต
ตปฺปจฺจยา ชนินฺทสฺส สิยา สุวตฺถิมงฺคลํ
ลำดับนี้
จักรับพระราชทานเลือกสรรคุณสมบัติที่ตั้งแห่งสวัสดิมงคลอันพิเศษยิ่ง
ซึ่งได้ชื่อว่า มงคลวิเสส
มารับพระราชทานถวายวิสัชนา
เพื่อประดับพระปัญญาบารมี ได้ทรงสดับ
แล้วทรงพระปัจจเวกขณ์
ด้วยกำลังพระปรีชาญาณ พระราชปณิธาน เพื่อ
จะทรงบำเพ็ญ จะพึงเกิดมี
ในสมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า แต่
นั้นทรงพระราชอุตสาหะโดยอาการอันชอบ เพื่อจะ
ยังคุณสมบัตินั้น ๆ อันยังขาดให้บริบูรณ์ เพื่อเพิ่มพูน
ส่วนที่ได้ทรงบำเพ็ญมาแล้วให้ภิญโญยิ่ง ทรงปฏิบัติ
อยู่โดยราชธรรม สิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคลก็
จะพึงสำเร็จแด่สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า
เพราะพระราชจรรยาเป็นปัจจัย
ในศกนี้ (๒๕๓๓) พระคุณพิเศษส่วนอัตตสมบัติ
จะขอรับพระราชทานถวายวิสัชนาด้วยธรรม
กับวินัยส่วนปรหิตปฏิบัติ
จะขอรับพระราชทานถวายวิสัชนา
ด้วยรัฏฐาภิปาลโนบาย พอเป็นนิทัสสนนัย
ธรรม : สภาพที่ทรงไว้ตามความ
เป็นจริง
ธรรม มีความหมายทั่วไปตามศัพท์ว่า สภาพที่ทรงไว้
คือทรงไว้ ดำรงไว้ตามความเป็นจริง ดังที่มีแสดงไว้
ในอภิธรรมว่า
กุสลา ธมฺมา ...
ธรรมทั้งหลายเป็นกุศล คือ ส่วนดี
อกุสลา ธมฺมา ...
ธรรมทั้งหลายเป็นอกุศล คือ ส่วนชั่ว
อพฺยากตา ธมฺมา ...
ธรรมทั้งหลายเป็นอัพยากฤต คือ ส่วนกลาง ๆ
ไม่พยากรณ์ว่าดีหรือชั่ว
อริยสัจ ๔ ประการ
หรือดังที่แสดงว่าพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้พระธรรม
คือทรงตรัสรู้อริยสัจ ๔ ได้แก่ ทุกข์ ทุกขสมุทัย...
เหตุเกิดทุกข์ ทุกขนิโรธ...ความดับทุกข์
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา...ทางปฏิบัติให้ถึง
ความดับทุกข์
ตามที่แสดงนี้ ธรรมคือสัจจะ ความทุกข์จริงก็
เป็นอริยสัจธรรม เหตุเกิดทุกข์จริงก็
เป็นอริยสัจธรรม ดับทุกข์จริงก็
เป็นอริยสัจธรรม ทางให้ถึงความดับทุกข์จริงก็
เป็นอริยสัจธรรม หรือแม้ดีจริงก็
เป็นกุศลธรรม ชั่วจริงก็เป็นอกุศลธรรม
เป็นกลาง ๆ ไม่ดีไม่ชั่วจริง ก็เป็นอัพพยากตธรรม
ปริยัติธรรม ปฏิบัติธรรม
ปฏิเวธธรรม
ส่วนในพระรัตนตรัย
รัตนะ ๓ คือ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์
พระธรรมหมายถึง มรรค ผล นิพพาน
และปริยัติ ย่อลงเป็น ๓ คือ ปริยัติธรรม
ปฏิบัติธรรม ปฏิเวธธรรม
ปริยัติธรรม คือธรรมที่พึงเรียน
ได้แก่คำสอนของพระพุทธเจ้า พระพุทธสาวก
เป็นธรรมที่พึงเรียน คือ ตั้งใจฟัง อ่าน จำ ทรงเพ่ง
ด้วยใจคือพินิจพิจารณา ขบเจาะด้วยทิฐิ คือความเห็น
ได้แก่ทำความเข้าใจให้ถูกต้อง
ปฏิบัติธรรม คือธรรมที่พึงปฏิบัติ คือเมื่อเรียนรู้
แล้ว ก็นำมาปฏิบัติที่กาย วาจา ใจ กล่าวโดยย่อคือ
ละชั่ว ทำดี ทำจิตของตนให้ผ่องแผ้ว
ปฏิเวธธรรม ธรรมที่รู้แจ้งแทงตลอด
เป็นผลของการปฏิบัติ จึง
ได้แก่ผลของการปฏิบัติตั้งแต่เบื้องต้น ... ยกตนให้พ้น
จากโลกที่เป็นส่วนชั่ว ขึ้นสู่โลกที่เป็นส่วนดี
โดยลำดับ จนถึงสุดโลก พ้นโลก
เป็นมรรคผลนิพพาน เพราะเมื่อปฏิบัติไป ก็ย่อม
ได้รับผลดังกล่าวไป จึงรู้ในผลที่ได้ไปด้วย
โดยลำดับ โดยถนัดชัดแจ้ง
เพราะปรากฏผลขึ้นที่ตน ที่จิตใจของผู้ปฏิบัติเอง
คำว่า ธรรม ที่แสดงโดยมาก หมายถึงธรรมทั้ง ๓ นี้
โดยสรุป เช่นคำว่า ฟังธรรม ปฏิบัติธรรม
เห็นธรรม และในคำว่าปฏิบัติธรรมนั้น ก็
ต้องหมายถึงปฏิบัติธรรมที่เป็นกุศลส่วนดี
คือละชั่วทำดี
ฉะนั้นเมื่อพระพุทธเจ้า ทรงสั่งสอนเพื่อ
ให้ปฏิบัติธรรม ประพฤติธรรม แก่บุคคลทั้งปวง
ในที่ทั้งปวง จึงตรัสคำว่าธรรม หมายถึงส่วนที่ดี
หรือคุณงามความดี และตรัสใช้คำว่าอธรรม ใน
ความหมายตรงกันข้าม คือส่วนที่ชั่ว
ดังพระพุทธภาษิตที่ตรัสไว้ว่า ...
ธรรม และ อธรรม
น หิ ธมฺโม อธมฺโม จ
อุโภ สมวิปากิโน
อธมฺโม นิรยํ เนติ
ธมฺโม ปาเปติ สุคตึ
ธรรมและอธรรมทั้งสอง
หามีวิบากคือผลเสมอกันไม่
อธรรมย่อมนำไปสู่นิรยะที่ไร้ความเจริญ
ธรรมย่อมให้ถึงสุคติ คติที่ไปที่บรรลุถึงที่ดี
ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารึ
ธมฺโม สุจิณฺโณ สุขมาวหาติ
เอสานิสํโส ธมฺเม สุจิณฺเณ
น ทุคฺคตึ คจฺฉติ ธมฺมจารี
ธรรมแลย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม
ธรรมที่ประพฤติดีแล้วนำสุขมาให้
นี้เป็นอานิสงส์ผลดีในธรรมที่ประพฤติดีแล้ว
ผู้ประพฤติธรรม ย่อมไม่ไปสู่ทุคติ คติที่ชั่ว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2014, 17:35 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรม ๕ ประการ : องคคุณ ๕
ประการ
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ได้ตรัส
ถึงพระราชาจักรพรรดิไว้โดยความว่า ...
พระราชาจักรพรรดิทรงตั้งอยู่ในธรรม ทรง
เป็นพระธรรมราชา ไม่ทรงยังจักรอัน
ไม่มีพระราชาให้เป็นไป
เมื่อพระองค์ตรัสอย่างนั้นแล้ว ภิกษุรูปหนึ่ง
ได้กราบทูลว่า ใครเล่า? ...
เป็นพระราชาแห่งพระราชาจักรพรรดิ ผู้ตั้งอยู่
ในธรรม เป็นธรรมราชา
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ธรรม
เป็นพระราชาแห่งพระราชาจักรพรรดินั้น
แล้วได้ตรัสว่า พระราชาจักรพรรดิทรงตั้งอยู่
ในธรรม เป็นธรรมราชา ทรงอาศัยธรรม
สักการะธรรม ทำความเคารพธรรม
นอบน้อมธรรม มีธรรมเป็นธง มีธรรมเป็นตรา
เป็นเบื้องหน้า เป็นธรรมาธิปไตย มีธรรมเป็นใหญ่
ทรงจัดแจงรักษาปัองกันคุ้มครองประกอบ
ด้วยธรรม ในอันโตชนคนภายใน ในกษัตริย์
ในอนุยันตะคือราชบริพาร ในพลกาย
ในพราหมณ์คฤหบดี ในชาวนิคมชนบท
ในสมณพราหมณ์ ในเนื้อและนกทั้งหลาย
ทรงจัดแจงรักษาป้องกันคุ้มครอง ทรงยังจักรให้
เป็นไปโดยธรรมนั่นเทียว จักรนั้นอันข้าศึกที่
เป็นมนุษย์ไร ๆ ปฏิวัติเปลี่ยนแปลงไม่ได้
ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ฉันนั้นเหมือนกัน ตั้ง
อยู่ในธรรม เป็นธรรมราชา อาศัยธรรม
สักการะธรรม ทำความเคารพธรรม
นอบน้อมธรรม มีธรรมเป็นธง มีธรรมเป็นตรา
เป็นเบื้องหน้า เป็นธรรมาธิปไตย มีธรรมเป็นใหญ่
จัดแจงรักษาป้องกันคุ้มครอง ประกอบด้วยธรรม
ในภิกษุทั้งหลาย ในภิกษุณีทั้งหลาย ในอุบาสก
ทั้งหลาย ในอุบาสิกาทั้งหลาย ว่ากายกรรม
วจีกรรม มโนกรรม
มีรูปลักษณะอย่างนี้พึงส้องเสพ อย่างนี้ไม่พึงส้องเสพ
อาชีพคามนิคมมีรูปลักษณะอย่างนี้ควรส้องเสพ
อย่างนี้ไม่ควรส้องเสพ ทรงจัดแจงรักษาป้อง
กันคุ้มครอง ทรงยังธรรมจักรอันยอดเยี่ยมให้
เป็นไปโดยธรรมนั่นเทียว จักร
นั้นอันสมณพราหมณ์ เทพ มาร หรือพรหมไร ๆ
ในโลกปฏิวัติคือเปลี่ยนแปลงไม่ได้
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ความว่า
พระราชาจักรพรรดิทรงประกอบด้วยองคคุณ
๕ ประการ ทรงยังจักรให้เป็นไป
โดยธรรมนั่นเทียว จักรนั้นอันข้าศึกที่เป็นมนุษย์ไร
ๆ ปฏิวัติเปลี่ยนแปลงมิได้
องคคุณ ๕ ประการ คือ
พระราชาจักรพรรดิ ทรงเป็น ...
อัตถัญญู ... รู้เนื้อความหรือผล
ธัมมัญญู ... รู้ธรรมหรือเหตุ
มัตตัญญู ... รู้ประมาณ
กาลัญญู ... รู้กาลเวลา
ปริสัญญู ... รู้บริษัท
ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าประกอบ
ด้วยธรรม ๕ ประการ
ยังธรรมจักรอันยอดเยี่ยมให้เป็นไป
โดยธรรมนั่นเทียว จักรนั้นอันสมณพราหมณ์ เทพ
มาร หรือพรหมไร ๆ
ในโลกปฏิวัติเปลี่ยนแปลงมิได้
ธรรม ๕ ประการ คือ
ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็น อัตถัญญู ...
รู้เนื้อความหรือผล ธัมมัญญู ... รู้ธรรม
หรือเหตุ มัตตัญญู ... รู้ประมาณ กาลัญญู ...
รู้กาลเวลา ปริสัญญู ... รู้บริษัท


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2014, 17:41 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บารมี ๑๐ ประการ :
ทศพิธราชธรรม
แม้บารมี ๑๐ ประการ ที่แสดงว่าพระโพธิสัตว์
ได้ปฏิบัติมา และทศพิธราชธรรม คือราชธรรม
๑๐ ประการสำหรับพระราชามหากษัตริย์ ก็
เป็นการปฏิบัติธรรมตามที่
ได้รับพระราชทานถวายวิสัชนามาแล้วในศกอดีต
โดยลำดับมา ก็ควรประมวลมา
ในพระมงคลวิเสสข้อธรรมนี้
บารมี ๑๐ ประการ คือ
๑. ทาน
การให้เพื่ออนุเคราะห์สงเคราะห์ บูชาต่าง ๆ
๒. ศีล
รักษากายกรรม วจีกรรม ตลอดถึงมโนกรรม
ให้ตั้งเป็นปกติดี
๓. เนกขัมมะ
การออก ออกจากห่วงเครื่องผูก เครื่องกั้นต่าง ๆ
เพื่อปฏิบัติกรณียะกิจควรทำที่ยิ่งขึ้นไป แม้สมาธิก็
เป็นการออกอย่างหนึ่ง
๔. ปัญญา
ความรู้ทั่วถึงเหตุผลตามเป็นจริง
๕. วิริยะ
ความเพียร คือความเป็นผู้กล้า ทั้งในทางละไม่ทำชั่ว
ทั้งในทางทำดีให้มีขึ้นเป็นขึ้น
๖. ขันติ
ความอดทน อดกลั้น ทนทาน
๗. สัจจะ
ความจริง ทำจริง พูดจริง คิดจริง ใจจริง
๘. อธิษฐานะ
ความตั้งใจมุ่งมั่น
๙. เมตตา
ความมีเมตตาไมตรีจิต คิดปรารถนาให้ผู้อื่นมี
ความสุข
๑๐. อุเบกขา
ความมีใจมัธยัสถ์เป็นกลาง ประกอบด้วยความ
เป็นธรรม ไม่ลุอำนาจอคติในการปฏิบัติทั้งปวง
ทศพิธราชธรรม ๑๐ ประการ คือ
๑. ทาน
การให้เพื่อสงเคราะห์ อนุเคราะห์ บูชา เป็นต้น
๒. ศีล
ระวังรักษาความประพฤติทางกาย วาจา ตลอดถึงใจ
ให้สงบเรียบร้อย
๓. ปริจจาคะ
การสละส่วนที่เป็นประโยชน์น้อยกว่า เพื่อได้ส่วนที่
เป็นประโยชน์มากกว่า
๔. อาชชวะ
ความซื่อตรง
๕. มัททวะ
ความอ่อนโยน
๖. ตปะ
ความเพียร เืพื่อกำจัดความเกียจคร้านและความชั่ว
ในอันปฏิบัติหน้าที่ให้สำเร็จด้วยดี ไม่ทอดทิ้งหน้าที่
๗. อักโกธะ
ความไม่โกรธ ตลอดถึงไม่พยาบาทมุ่งร้ายใคร
ประกอบด้วยเมตตา
๘. อวิหิงสา
ความไม่เบียดเบียนผู้อื่น ตลอดถึงสัตว์มีชีวิตให้
เป็นทุกข์เดือดร้อน ประกอบด้วยกรุณา
๙. ขันติ
ความอดทนต่อความทุกข์ยาก ต่อถ้อยคำ
และเหตุการณ์อันไม่พึงประสงค์ทั้งปวง
๑๐. อวิโรธนะ
การปฏิบัติไม่ให้ผิดจากทางที่ถูกที่ควร ไม่ให้ผิด
จากทำนองคลองธรรม แต่ให้เป็นไปตามธรรม
สม
ด้วยประพันธคาถาที่บัณฑิตรับพระราชทานกล่าวถวายพระมหากษัตริย์ครั้งโบราณกาล
กราบทูล
ให้ทรงวิจารณ์ทศพิธราชธรรมที่ทรงบำเพ็ญ
อยู่ว่า
ทานํ สีลำ ปริจฺจาคํ อาชฺชวํ มทฺทวํ ตปํ
อกฺโกธํ อวิหึสญฺจ ขนฺติญฺจ อวิโรธนํ
อิจฺเจเต กุสเล ธมฺเม ชิเต ปสฺสาหิ อตฺตนิ
ตโต เต ชายเต ปีติ โสมนสฺสญฺจนปฺปกํ
ขอพระมหาราชเจ้าผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ
ทรงพิจารณากุศลธรรมที่ตั้งอยู่ในพระองค์ คือ
ทาน ศีล บริจาค ความตรง ความอ่อนโยน ตบะคือ
ความเพียร ความไม่โกรธ ความไม่เบียดเบียน
ความอดทน ความไม่ผิด ดังนั้น ๆ เถิด แต่
นั้นพระปีติโสมนัสมิใช่น้อยจักเกิดแด่พระองค์
แม้บารมี ๑๐ ประการ ก็ปรากฏว่า
พระราชามหากษัตริย์โพธิสัตว์ในโบราณกาล
ก่อนพุทธกาลก็ได้ทรงบำเพ็ญมา
แล้วหลายพระองค์ ดังปรากฏในคัมภีร์ชาดก
เช่นพระเวสสันดรโพธิสัตว์
จึงรับพระราชทานกล่าวได้ว่า
เป็นธรรมอันควรที่พระราชามหากษัตริย์ทั้งปวง
พึงปฏิบัติตามพระราชประสงค์ปรารถนา
แม้พระราชามหากษัตริย์แห่งประเทศไทยเองตั้งแต่โบราณมา
ก็ได้มีคำกล่าวว่า
ได้ทรงมีพระบารมีบรมโพธิสมภาร
ทรงแผ่พระบารมีปกครองประชาชนให้เป็นสุข
ทั้งธรรมในทศพิธราชธรรมก็คล้ายคลึง
กับทศบารมีหลายข้อ แม้จะมีชื่อต่างกัน ก็มีใจ
ความสัมพันธ์กันได้ทุกข้อ ดัง
ได้รับพระราชทานถวายวิสัชนาเทียบเคียง
กันมาตามลำดับ ข้อในศกก่อน ๆ
จึงรับพระราชทานกล่าวได้ว่า
พระราชามหากษัตริย์ไทยได้ทรงปฏิบัติ
ทั้งทศบารมี ทั้งทศพิธราชธรรม
มาแต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบัน
ได้ทรงมีพระบารมีแผ่ไพศาล
ธรรมอันปฏิบัติดี
แล้วเ็ป็นมงคลอันอุดม
สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า ทรง
เป็นพระธรรมิกะ ตั้งอยู่ในธรรม ทรง
เป็นพระธรรมราชา
ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจทั้งปวง
ทรงอาศัยธรรม สักการะธรรม ทรงทำ
ความเคารพธรรม นอบน้อมธรรม มีธรรม
เป็นธง มีธรรมเป็นตราเป็นเบื้องหน้า มีธรรมเป็น
ใหญ่ ทรงจัดแจงรักษาคุ้มครองป้องกัน ประกอบ
ด้วยธรรม ดังพระพุทธภาษิตที่ตรัส
ถึงพระราชาจักรพรรดิ นับเป็นพระราชปฏิบัติ
ส่วนอัตตสมบัติ คือ ธรรม จัดเป็นมงคลวิเสสที่ ๑


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2014, 17:51 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วินัย : ระเบียบปฏิับัติเพื่อ
ความเรียบร้อย
วินัย คือ พระพุทธบัญญัติ เป็นคำสั่งปรับอาบัติแก่ภิกษุ
ผู้ประพฤติทางกายวาจา เป็นอาสวัฏฐานิยธรรม
คือการกระทำที่ไม่ดีงาม เป็นที่ตั้งแห่งอาสวะ
กิเลสดองจิตสันดานนั้น ๆ โดยทรงปรารภ
ความประพฤติดังนั้นของภิกษุรูปหนึ่งเป็นเหตุ
จึงทรงบัญญัติวินัยป้องกันเป็นสิกขาบท ๆ หรือเป็นข้อ
ๆ ไป โดยภิกษุผู้เป็นต้นเหตุให้ทรงบัญญัติไม่ต้องอาบัติ
เพราะยังมิได้ทรงบัญญัติไว้
ส่วนภิกษุผู้ประพฤติดังนั้น หลังจากทรงบัญญัติแล้ว
จึงต้องอาบัติ ชื่อว่าวินัย เพราะ
เป็นเครื่องกำจัดห้ามป้องกันโทษละเมิดทางกายวาจา
เป็นเครื่องนำไปโดยวิเศษ เป็นเหตุให้เกิด
ความเรียบร้อยดีงาม
ดังที่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าตรัสไว้โดยความว่า
ทรงอาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ
ทรงบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย คือเพื่อ
ความดีงามแห่งสงฆ์ เพื่อความผาสุกแห่งสงฆ์
เพื่อข่มบุคคลผู้แก้ยาก เพื่ออยู่ผาสุกแห่งภิกษุ
ทั้งหลายผู้มีศีลเป็นที่รัก เพื่อสำรวมระวังป้อง
กันอาสวะทั้งหลายที่เป็นปัจจุบัน เพื่อกำจัดห้ามอาสวะ
ทั้งหลายที่เป็นภายหน้า เพื่อความเลื่อมใสแห่งผู้ที่ยัง
ไม่เลื่อมใส เื่พื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นแห่งผู้ที่เลื่อมใส
แล้ว เพื่อความตั้งมั่นแห่งสัทธรรม
เพื่ออนุเคราะห์ถือเอาตามวินัย
ความตั้งมั่นแห่งพระศาสนา
ในวินัยปิฎกได้มีแสดงว่า ท่านพระสารีบุตร
ได้กราบทูลถามพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าว่า
พรหมจรรย์ศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์ไหน
ไม่ตั้งอยู่นาน ของพระองค์ไหนตั้งอยู่นาน
เพราะเหตุปัจจัยอะไร
ตรัสตอบว่า พรหมจรรย์ศาสนาของพระ
ผู้มีพระภาคเจ้าวิปัสสี ของพระผู้มีพระภาคเจ้าสิขี
ของพระผู้มีพระภาคเจ้าเวสสภู ไม่ตั้งอยู่นาน
เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้า ๓ พระองค์นี้
ไม่ทรงขวนขวายเพื่อแสดงธรรมโดยพิสดาร
นวังคสัตถุศาสน์ คือคำสอนของพระศาสดา มีองค์ ๙
มีสุตตะ เคยยะ เป็นต้น มีน้อย
ไม่ทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย ปาติโมกข์ก็
ไม่ทรงแสดงโดยอันตรธานแห่งพระพุทธเจ้าเหล่า
นั้น โดยอันตรธานแห่งพระสาวกพุทธานุพุทธะ
สาวกภายหลังต่างนาม ต่างโคตร ต่างชาติ
ต่างตระกูล บวชแล้วยังพรหมจรรย์ศาสนานั้น
ให้อันตรธานไปโดยเร็ว เหมือนอย่างดอกไม้ต่างๆ วาง
ไว้บนแผ่นกระดาน มิได้ร้อยไว้ด้วยด้าย
ลมย่อมเกลี่ยเรี่ยรายกระจัดกระจายดอกไม้เหล่า
นั้น โดยเหตุที่มิได้ร้อยไว้ด้วยด้าย
ส่วนพรหมจรรย์ศาสนาของพระ
ผู้มีพระภาคเจ้ากกุสันธะ ของพระ
ผู้มีพระภาคเจ้าโกนาคมนะ ของพระ
ผู้มีพระภาคเจ้ากัสสปะ ตั้งอยู่นาน เพราะพระ
ผู้มีพระภาคเจ้า ๓ พระองค์นี้
ทรงขวนขวายเพื่อแสดงธรรมโดยพิสดารแก่สาวก
ทั้งหลาย สุตตะ เคยยะ เป็นต้น มีมาก
ทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย
ทรงแสดงปาติโมกข์
โดยอันตรธานแห่งพระพุทธเจ้าเหล่านั้น
โดยอันตรธานแห่งพระสาวกพุทธานุพุทธะ
สาวกภายหลังต่างนาม ต่างโคตร ต่างชาติ
ต่างตระกูล บวชแล้ว ตั้งพรหมจรรย์
นั้นตลอดกาลนาน เหมือนอย่างดอกไม้ต่าง ๆ ที่วาง
ไว้บนแผ่นกระดาน ร้อยไว้ดีแล้วด้วยด้าย ลมย่อม
ไม่เกลี่ยเรี่ยรายกระจัดกระจายดอกไม้เหล่านั้น
โดยเหตุที่ร้อยไว้ดีแล้วด้วยด้าย
ท่านพระสารีบุตรได้กราบทูลว่า เป็นกาลที่พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าพึงทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก
ทั้งหลาย ทรงแสดงปาติโมกข์
โดยประการที่พรหมจรรย์ศาสนานี้พึงดำรง
อยู่นาน ตั้งอยู่นาน
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโดยความว่า ... จงรอ
อยู่ก่อน ตถาคตจักรู้กาลในการบัญญัติสิกขาบทนั้น
พระศาสดายังไม่บัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย
ไม่แสดงปาติโมกข์ ตราบเท่าที่อาสวัฏฐานิยธรรม
คือธรรมที่เป็นที่ตั้งแห่งอาสวะ กิเลสดองจิตสันดาน
บางอย่างในโลกนี้ไม่เ่กิดปรากฏในสงฆ์
แต่ในกาลที่อาสวัฏฐานิยธรรมบางอย่าง
ในโลกนี้เกิดปรากฏในสงฆ์ พระศาสดาจึง
จะบัญญัติสิกขาบท แสดงปาติโมกข์แก่สากทั้งหลาย
เพื่อกำจัดห้ามกันอาสวัฏฐานิยธรรมเหล่านั้น
อาสวัฏฐานิยธรรมบางอย่าง ในโลกนี้ยัง
ไม่เกิดปรากฏในสงฆ์ก่อน ตราบเท่าที่สงฆ์ ยังไม่ถึง
ความเป็นหมู่ใหญ่ที่รู้ราตรีนาน คืออยู่มานาน ตราบ
เท่าที่สงฆ์ยังไม่ถึงความเป็นหมู่ใหญ่ที่ไพบูลย์
คือจำนวนมาก ตราบเท่าที่สงฆ์ยังไม่ถึงความเป็นหมู่
ใหญ่ด้วยลาภอันเลิศ
จริงอยู่ภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านี้ อย่างต่ำก็โสดาบัน
ต่อมาเมื่อภิกษุประพฤติไม่ดีไม่งามขึ้น เรียกว่า
ได้มีอาสวัฏฐานิยธรรมเกิดขึ้นในสงฆ์ พระพุทธเจ้า
จึงทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลายเป็นคราว ๆ
ไป และได้ทรงแสดงปาติโมกข์
คือโอวาทปาติโมกข์แก่ภิกษุทั้งหลาย ต่อมาอีก
จึงโปรดให้ภิกษุสงฆ์สวดสิกขาบทที่ทรงบัญญัติขึ้น
เป็นปาติโมกข์เอง
อนึ่งได้ทรงบัญญัติสิกขาบทแก่คฤหัสถ์ทั้งหลาย
ให้มีเวรมณี คืองดเว้นจากภัยเวร ๕ ประการ
ดังที่เรียกว่า ศีล ๕ เป็นต้น โดยให้คฤหัสถ์สมาทาน
พระอาจารย์จึงได้แสดงจำแนกวินัยว่ามี ๒ คือ
อนาคาริยวินัย ... วินัยสำหรับบรรพชิต
และ
อาคาริยวินัย ... วินัยสำหรับคฤหัสถ์ ผู้ครองเรือน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2014, 18:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนาคาริยวินัย : วินัยของบรรพชิต
และแสดงว่า ...
อนาคาริยวินัย ได้แก่ การไม่ต้องอาบัติ ๗ กอง
อีกนัยหนึ่ง ...
ได้แก่ จตุปาริสุทธิศีล ศีลที่บริสุทธิ์ ๔ คือ
ปาติโมกข์สังวร ... ความสำรวมปาติโมกข์
อินทรียสังวร ... ความสำรวมอินทรีย์ คือ ตา หู
จมูก ลิ้น กาย ใจ
อาชีวปาริสุทธิ ... ความเลี้ยงชีพบริสุทธิ์
ปัจจยสันนิสสิตะ ... อาศัยปัจจัย
คือพิจารณาบริโภคปัจจัยสี่
อาคาริยวินัย : วินัยของคฤหัสถ์ ผู้ครองเรือน
การเว้นจากอกุศลกรรมบถ ทางแห่งกรรมที่
เป็นอกุศล ๑๐ ประการ ชื่ออาคาริยวินัย
วินัยของคฤหัสถ์ คือ
เว้นจากกายกรรมฝ่ายอกุศล ๓
ได้แก่ ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม
เว้นจากวจีกรรมฝ่ายอกุศล ๔
ได้แก่ พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ
พูดเพ้อเจ้อเหลวไหล
เว้นจากมโนกรรมฝ่ายอกุศล ๓
ได้แก่ โลภเพ่งเล็งทรัพย์สมบัติของผู้อื่น
คิดปองร้ายผู้อื่น เห็นผิดจากทำนองคลองธรรม
แต่มีสัมมาทิฐิ เห็นชอบตามทำนองคลองธรรม
แม้ศีลสำหรับคฤหัสถ์ทั้งหมด มีศีล ๕ เ็ป็นต้น
ก็นับรวมเข้าด้วย
วินัยอันศึกษาดีแล้วเ็ป็นมงคลอันอุดม
วินัยนั้น ชื่อว่าศึกษาดีแล้ว เพราะไม่
ต้องโทษเครื่องเศร้าหมอง และเพราะทำตนให้ตั้ง
อยู่ในคุณ มีมารยาท ชื่อว่าเป็นมงคล
เพราะนำประโยชน์สุขมาให้ในโลกทั้ง ๒
พระดาบสโพธิสัตว์ชื่อคันธาระ
ได้กล่าวเตือนดาบสสหายว่า "ถ้าปัญญาของตนเอง
หรือวินัยที่ศึกษาดีแล้วจะไม่พึงมีไซร้
ชนเ็ป็นอันมากก็จะพึงเที่ยวไป
เหมือนกระบือบอดเที่ยวไปในป่า ก็แต่
เพราะสัตว์บางเหล่าในโลกนี้เป็นผู้ศึกษาดีแล้ว
ในสำนักอาจารย์ ฉะนั้น สัตว์เหล่านั้นเ็ป็นผู้มีปัญญา
มีวินัย อันอาจารย์แนะนำแล้ว มีใจมั่นคงแล้ว
จึงเที่ยวไป"
พระโพธิสัตว์ได้แสดงความนี้ว่า "ก็ผู้นี้ที่ยังเป็นคฤหัสถ์
ควรศึกษาข้อศึกษาอันสมควรแก่สกุลของตน ที่
เป็นบรรพชิต
ก็ควรศึกษาข้อศึกษาอันสมควรแก่บรรพชา
เพราะว่า แม้คฤหัสถ์ทั้งหลายผู้ศึกษาดีในการงาน
มีกสิกรรมและโครักขกรรมเป็นต้น
ชื่อว่าสมควรแก่สกุลของตน เป็นผู้มีอาชีพสมบูรณ์
แล้ว ชื่อว่าเป็นผู้มั่นคงดีเที่ยวไป แม้บรรพชิต
ผู้ศึกษาดีในมรรยาท มีการก้าวไปข้างหน้า
และถอยกลับเป็นต้น อันนำมาซึ่งความเลื่อมใส
และในอธิศีลสิกขา อธิจิตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา
ซึ่งสมควรแก่บรรพชา ชื่อว่าเป็น
ผู้มีจิตมั่นคงดีเที่ยวไป"
พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสไว้ในมงคลสูตรว่า
วินโย จ สุสิกฺขิโต เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ
วินัยอันศึกษาดีแล้ว ข้อนี้เป็นมงคลอันอุดม
สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า
ทรงศึกษาปฏิบัติวินัยอันสมควรแก่พระองค์ดีถูกชอบทุกประการ
จึงทรงประสบมงคลเหตุให้ถึงความเจริญอันอุดม
สมตามพระพุทธภาษิตในมงคลสูตร นับ
เป็นพระราชปฏิบัติส่วนอัตตสมบัติ คือวินัย จัด
เป็นมงคลวิเสสที่ ๒
พระราชจริยารัฏฐาภิปาลโนบายนั้น
คือวิธีปกครองพระราชอาณาจักร
สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า
ได้ทรงอาศัยธรรมวินัย
ทรงสักการระเคารพธรรมวินัย
ที่พระบรมศาสดาจารย์ตรัสบรรหาร
ตั้งพระธรรมวินัยไว้แทนพระองค์
แก่พระอานนทพุทธอุปัฏฐาก ในสมัยใกล้
จะเสด็จดับขันธปรินิพพานว่า ...
โย โว อานนฺท มยา เทสิโต ปญฺญตฺโต ธมฺโม จ
วินโย จ โส โว มมจฺจเยน สตฺถา
ความว่า ...
"ดูก่อนอานนท์ ธรรมและวินัยใดที่เราผู้ตถาคต
ได้แสดงแล้ว ได้บัญญัติแล้วแก่ท่านทั้งหลาย
ธรรมและวินัยนั้นจักเป็นศาสดาของท่านทั้งหลาย
ภายหลังแต่เราล่วงไปแล้ว
โดยนัยสัทธรรม ธรรมเป็นคำสอน วินัยเป็นคำสั่ง
รวมเป็นพุทธศาสนา คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
หรือสัตถุศาสน์ คำสั่งสอนของพระศาสดา
เป็นปริยัติธรรม ธรรมที่พึงเรียนก่อน จึง
เป็นธรรมวินัยที่เป็นปฏิบัติธรรม"
สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า
ทรงศึกษาธรรม ศึกษาวินัย ทั้งภาคเรียน
ทั้งภาคปฏิบัติ เป็นอัตตสมบัติแล้ว
ไ้ด้ทรงประยุกต์ปฏิบัติในพระราชจรรยาที่เป็น
ส่วนรัฏฐาภิปาลโนบายทั้งปวง
จึงปรากฏว่าทรงปฏิบัติได้สมบูรณ์ ทั้งใน
ส่วนที่ทรงปฏิบัติตามกำหนดกฎหมาย
พระราชประเพณี ทั้งในส่วนที่ทรงปฏิบัติ
ในฐานองค์พระประมุขแห่งชาติ ทั้ง
ในฐานพระมหากรุณา
พระราชทานโครงการพระราชดำริต่าง ๆ
เป็นอันมาก เพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุขประชาราษฎร
ทั้งปวง ...
หมายเหตุ :
เป็นพระธรรมเทศนา
ในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย
ในพระบรมมหาราชวัง
เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ ๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๓ เวลา ๑๒.๐๐
น.
...................


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2014, 18:20 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระมงคลวิเสสกถา
ธรรมเป็นเครื่องเจริญอายุ
และวรรณะ
ลำดับนี้
จักรับพระราชทานเลือกสรรคุณสมบัติที่ตั้งแห่งสวัสดิมงคลอันพิเศษยิ่ง
ซึ่งได้ชื่อว่า มงคลวิเสส
มารับพระราชทานถวายวิสัชนา
เพื่อประดับพระปัญญาบารมี ได้ทรงสดับ
แล้วทรงพระปัจจเวกขณ์
ด้วยกำลังพระปรีชาญาณ พระราชปณิธาน เพื่อ
จะทรงบำเ็พ็ญ จะพึงเกิดมี
ในสมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า แต่
นั้นทรงพระราชอุตสาหะโดยอาการอันชอบ เพื่อจะ
ยังคุณสมบัตินั้น ๆ อันยังขาดให้บริบูรณ์ เพื่อเพิ่มพูน
ส่วนที่ได้ทรงบำเพ็ญมาแล้วให้ภิญโญยิ่ง ทรงปฏิบัติ
อยู่โดยราชธรรม สิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคลก็
จะพึงสำเร็จแด่สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า
เพราะพระราชจรรยาเป็นปัจจัย
ในศกนี้ (๒๕๓๔) พระคุณสมบัติส่วนอัตตสมบัติ
จะขอรับพระราชทานถวายวิสัชนา
ด้วยอายุวัฑฒนธรรมกับวรรณวัฑฒนธรรม
ส่วนปรหิตปฏิบัติ
จะขอรับพระราชทานถวายวิสัชนา
ด้วยรัฏฐาภิปาลโนบายพอเป็นนิทัสสนนัย
ธรรมเป็นเครื่องเจริญอายุ
อายุวัฑฒนธรรม ธรรมเป็นเครื่องเจริญอายุ
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในจักกวัตติสูตรว่า
อตฺตทีปา ภิกฺขเว วิหรถ เป็นต้น
แปลความว่า ...
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมีตนเป็นเกาะ
มีตนเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง จงมีธรรมเป็นเกาะ
มีธรรมเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นสรณะ (ที่พึ่ง) อยู่
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างไรเล่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
พิจารณาเห็นกายในกายอยู่
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่
พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา (
ความยินดี) โทมนัส (ความยินร้าย) ในโลกเสียได้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง
มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่น
เป็นสรณะ (ที่พึ่ง) อยู่อย่างนี้แล"
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงท่องเที่ยวไป
ในโคจร (ที่เที่ยว) ซึ่งเป็นวิสัยอันสืบมาจากบิดาของตน
จักเจริญด้วยอายุบ้าง จักเจริญด้วยวรรณะบ้าง
จักเจริญด้วยสุขบ้าง จักเจริญด้วยโภคะบ้าง
จักเจริญด้วยพละบ้าง"
อิทธิบาท : คุณเครื่องแห่งความสำเร็จ
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องอายุของภิกษุ
มีอธิบายอย่างไร
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เจริญอิทธิบาท ประกอบด้วย ...
ฉันทสมาธิ สมาธิที่มีฉันทะเป็นเหตุหรือเป็นใหญ่ คือ
ทำฉันทะให้เป็นอธิบดี (เป็นใหญ่) จึงได้สมาธิ
ได้เอกัคคตาแห่งจิต
ปธานสังขาร สังขารคือความเพียรพยายาม
เป็นปธาน คือความเพียร ๔ อย่าง คือภิกษุนั้นทำฉันทะ
ให้เกิด พยายามปรารภความเพียร ประคองจิตไว้
ทำความเพียร เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยัง
ไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้น
แล้ว เพื่อสร้างกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
เพื่อความดำรงอยู่ ไม่สาบสูญ ภิญโญยิ่ง ไพบูลย์
เจริญบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
ฉันทสมาธิ และปธานสังขาร ดังกล่าวมานี้
ประมวลย่อ ๒ อย่างนั้นเข้าเป็นอันเดียวกัน ย่อมถึง
ซึ่งอันนับว่าฉันทสมาธิปธานสังขาร"
ก็ภิกษุเจริญอิทธิบาทอันประกอบ
ด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร
เจริญอิทธิบาทอันประกอบ
ด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร เจริญอิทธิบาทประกอบ
ด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร แม้ ๓
ข้อนี้ก็มีอธิบายเช่นเดียวกับข้อที่หนึ่ง คือ
ฉันทสมาธิปธานสังขาร
ภิกษุนั้น เพราะกระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้
เมื่อปรารถนาก็พึงตั้งอยู่ได้ถึงกัป ๑ หรือเกินกว่ากัป

อธิบายตามนวโกวาท ว่า
อิทธิบาท คือ คุณเครื่องให้สำเร็จความประสงค์ ๔
อย่าง
๑. ฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น
๒. วิริยะ เพียรประกอบสิ่งนั้น
๓. จิตตะ เอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้นไม่วางธุระ
๔. วิมังสา หมั่นตริตรองพิจารณาเหตุผลในสิ่งนั้น
คุณ ๔ อย่างนี้ มีบริบูรณ์แล้วอาจชักนำบุคคลให้
ถึงสิ่งที่ต้องประสงค์ซึ่งไม่เหลือวิสัย สิ่งที่
ต้องประสงค์นั้นก็ไม่จำกัดว่าสิ่งใด พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรวมไว้
ในหมวดโพธิปักขิยธรรม ... ธรรมเป็นฝักฝ่ายแห่ง
ความตรัสรู้ ๓๗ ประการ
ในจักกวัตติสูตรนี้แสดงว่าอิทธิบาท ๔ นี้แต่ละข้อ
เป็นอธิบดีให้ได้สมาธิ ประกอบด้วยสัมมัปปธาน
ความเพียรชอบ ๔ ข้อ และแสดงยกภิกษุเป็นที่ตั้ง
ในทางเจริญอายุ โดยความมุ่งหมายย่อม
เป็นข้อพึงปฏิบัติได้สำหรับบุคคลทั่วไป ทั้งคฤหัสถ์
ทั้งบรรพชิต ผู้ประสงค์สำเร็จสิ่งที่ประสงค์ซึ่ง
ไม่เหลือวิสัย ทั้งทางคดีโลกทั้งทางคดีธรรม
ในข้ออายุตามที่ตรัสไว้ว่า กัป ๑ หรือเกินกัป ๑ นั้น
พระอาจารย์แสดงว่าหมายถึง อายุกัปปะ
คือกำหนดอายุ ๑๐๐ ปี กัป ๑ ก็คือ ๑๐๐ ปี
พิจารณาตามหลักอิทธิบาท ผู้มุ่งเจริญอายุ
เมื่อปฏิบัติมีฉันทะ พอใจรักใคร่ในอายุ
มีเพียรรักษาอายุตามวิธีที่ถูกต้อง มีจิตเอาใจใส่
มีวิมังสา ปัญญารู้เหตุผลที่ถูกต้อง มีสุขภาพทางกาย
และปฏิบัติทางจิตใจให้มีสมาธิสงบดี มีสุขภาพทางจิต
มีสัมมัปปธาน ๔ สรุปเข้าว่าละชั่วทำดี
คือมีศีลธรรม มีกุศลกรรมบถ เป็นหลัก
ความประพฤติ เป็นบุญกุศลสนับสนุน ย่อม
จะเจริญอายุได้ตามควรแก่กรรม
และคติธรรมดา
สมเด็จพระบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า
ได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่ พร้อม
ทั้งทศพิธราชธรรม และบารมีธรรม
โดยพระราชประสงค์ด้วยอิทธิบาททั้ง ๔ ซึ่ง
เป็นอายุวัฑฒนธรรม คือธรรม
เป็นเหตุเจริญพระชนมพรรษาด้วย
จึงรับพระราชทานถวายวิสัชนาอายุวัฑฒนธรรม
เป็นมงคลวิเสสที่ ๑


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2014, 18:44 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมเป็นเครื่องเจริญวรรณะ
วรรณวัฑฒนธรรม ธรรม
เป็นเครื่องเจริญวรรณะ
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในจักกวัตติสูตร ต่อ
จากอายุวัฑฒนธรรมว่า
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ในเรื่องวรรณะของภิกษุมีอธิบายอย่างไร
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศีล สำรวมระวัง
ในพระปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาท
และโคจร (ที่เที่ยว) มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เพียง
เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นอธิบาย
ในเรื่องวรรณะของภิกษุ
ในพระสูตรตอนนี้ ตรัสแสดงยกภิกษุเป็นที่ตั้ง
แสดงศีลว่าเป็นเหตุเจริญวรรณะ โดย
ความมุ่งหมายย่อมหมายถึงบุคคลทั่วไป เมื่อปฏิบัติอยู่
ในศีลตามควรแก่ภาวะของตน ย่อมถึง
ความเจริญวรรณะ คือความมีผิวพรรณงาม
กรรมที่เป็นเหตุให้วรรณะเสื่อม
ในพระสูตรนี้ ยังได้แสดงถึงหตุแห่งความเืสื่อมอายุ
เสื่อมวรรณะ ของประชาชนพสกนิกรทั่วไปว่า
ได้แก่อกุศลกรรมบถ ส่วนเหตุแห่งความเจริญอายุ
เจริญวรรณะ ว่าได้แก่ กุศลกรรมบถ
ทั้งนี้เหตุเบื้องต้นได้แก่การปกครองของท่าน
ผู้ปกครองทั่วไป
เมื่อท่านผู้ปกครองมิได้แจกจ่ายทรัพย์ หรือมิ
ได้จัดปกครองให้ประชาชนพสกนิกรมีทรัพย์
ความขัดสนก็ได้ถึงความแพร่หลาย
เมื่อความขัดสนถึงความแพร่หลาย อทินนาทาน (
การลักทรัพย์) ก็ได้ถึงความแพร่หลาย
เมื่ออทินนาทานถึงความแพร่หลาย ศาสตราก็ได้ถึง
ความแพร่หลาย
เมื่อศาสตราถึงความแพร่หลาย ปาณาติบาต (
การฆ่าสัตว์) ก็ได้ถึงความแพร่หลาย
เมื่อปาณาติบาติถึงความแพร่หลาย มุสาวาท (พูดเท็จ)
ก็ได้ึถึงความแพร่หลาย
เมื่อมุสาวาทถึงความแพร่หลาย ปิสุณวาจา (
พูดส่อเสียด) ก็ถึงความแพร่หลาย
กาเมสุมิจฉาจาร (ประพฤติผิดในกาม) ก็ถึง
ความแพร่หลาย
โดยทำนองเดียวกัน ผรุสวาจา (พูดคำหยาบ)
สัมผัปปลาปะ (พูดเพ้อเจ้อ) อภิชฌา (
โลภเพ่งเล็งทรัพย์ของผู้อื่น) พยาบาท (มุ่งปองร้าย
) มิจฉาทิฐิ (เห็นผิด) ก็ถึงความแพร่หลาย
ต่อจากนี้ ๓ ประการ คือ อธรรมราคะ (
ความติดใจยินดีโดยไม่ชอบธรรม) วิสมโลภะ (โลภ
ไม่สม่ำเสมอ) มิจฉาธรรม (ประพฤติผิดชั่วร้ายต่าง
ๆ ) ก็ได้ถึงความแพร่หลาย
นอกจากนี้ความไม่ปฏิบัติชอบในมารดา ความ
ไม่ปฏิบัติชอบในบิดา ความไม่ปฏิบัติชอบในสมณะ ความ
ไม่ปฏิบัติชอบในพราหมณ์ ความไม่อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่
ในตระกูล ก็ได้ถึงความแพร่หลาย
เมื่ออกุศกรรมบถและอธรรมปฏิบัติเหล่านี้ ถึง
ความแพร่หลาย อายุ วรรณะ ของสัตว์เหล่านั้น
คือของมนุษย์เหล่านั้น ก็เสื่อมถอย จน
ในที่สุดเมื่ออกุศลกรรมบถ
และอธรรมปฏิบัติแรงที่สุด ก็จักสำคัญกันและ
กันว่าเป็นเนื้อ เหมือนนายพรานเห็นเนื้อ
จักทำลายล้างกันและกันด้วยศาสตรา
ทั้งหลายอันคมอยู่ ๗ วัน เรียกว่า สัตถันตรกัป (
กัปที่พินาศในระหว่างด้วยศาสตรา) ผู้ที่หนีไปอยู่ในป่า
จึงรอดตาย
เหตุแห่งความเจริญในวรรณะ
สัตว์คือมนุษย์ทั้งหลายที่รอดตาย จึงเริ่มได้สติคิดว่า
เราถึงความสิ้นญาติอย่างใหญ่เห็นปานนี้ เหตุ
เพราะสมาทานอกุศลธรรม อย่ากระนั้นเลย
เราควรทำกุศล งดเว้นปาณาติบาต จึงเริ่มเจริญ
ด้วยอายุบ้าง เจริญด้วยวรรณะบ้าง เมื่อเห็นมีผลดี
จึงเริ่มทำกุศลยิ่ง ๆ ขึ้นไป งดเว้นจากอทินนาทาน
งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร งดเว้นจากมุสาวาท งดเว้น
จากผรุสวาท งดเว้นจากสัมผัปปลาปะ ละอภิชฌา
ละพยายาท ละมิจฉาทิฏฐิ ละอธรรมราคะ
ละวิสมโลภะ ละมิจฉาธรรม ปฏิบัติชอบ
ในมารดา ปฏิบัติชอบในบิดา ปฏิบัติชอบในสมณะ
ปฏิบัติชอบในพราหมณ์ ประพฤติอ่อนน้อมต่อท่านผู้
ใหญ่ในตระกูล
เพราะเหตุที่สมาทานกุศลธรรมเหล่านั้น
เขาเหล่านั้นจักเจริญด้วยอายุบ้าง จักเจริญ
ด้วยวรรณะบ้าง
สรุปความว่า อกุศลธรรมทั้งปวง
มีอกุศลกรรมบถ ๑๐ เ็ป็นต้น เป็นเหตเสื่อมถอย อายุ
วรรณะ ส่วนกุศลธรรมทั้งปวง
เป็นเหตุเจริญอายุ วรรณะ ศีลที่ตรัสว่า
เป็นเครื่องเจริญวรรณะ ก็รวมอยู่
ในกุศลกรรมบถ ๑๐ นั่นเอง
สมเ็ด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า ได้ทรงตั้ง
อยู่ในทศพิธราชธรรม และบารมีธรรม
โดยพระราชประสงค์ ซึ่งมีข้อศีลรวมอยู่ด้วย
แล้ว ชื่อว่าได้ทรงปฏิบัติพระองค์อยู่
ในวรรณวัฑฒนธรรม พร้อม
ด้วยอายุวัฑฒนธรรม
จึงรับพระราชทานถวายวิสัชนาวรรณวัฑฒนธรรม
เป็นมงคลวิเสสที่ ๒ ต่อจากอายุวัฑฒนธรรม ที่
ได้รับพระราชทานถวายวิสัชนาเป็นมงคลวิเสสที่ ๑


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2014, 18:53 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระผู้ทรงสมบูรณ์
ด้วยวัตรอันประเสริฐ
พระราชจริยารัฏฐาภิปาลโนบายนั้น
คือวิธีปกครองพระราชอาณาจักร
จักถวายวิสัชนาสาธกในเบื้องต้นนี้ด้วยจักกวัตติวัตร
ในจักกวัตติสูตร พระเจ้าจักรพรรดิ พระราชาผู้
ยังจักรรัตนะ จักรแก้ว คือจักรอันประเสริฐ
มีพลานุภาพสามารถครอบงำทุกประเทศในโลก
ให้อยู่ในอำนาจ เป็นใหญ่ในแผ่นดิน มีมหาสมุทร ๔
เป็นขอบเขต ทรงชนะแล้วเป็นพระราชาแห่งโลก
โดยธรรม มีราชอาณาจักรมั่นคงสมบูรณ์
ด้วยรตนะ ที่แปลว่าแก้ว คือสิ่งประเสริฐสุด ๗
ประการ คือ
๑. จักกรตนะ ... จักรแก้ว
๒. หัตถิรตนะ ... ช้างแก้ว
๓. อัสสรตนะ ... ม้าแก้ว
๔. มณีรตนะ ... มณีแก้ว
๕. อิตถีรตนะ ... นางแก้ว
๖. คหปติรตนะ ... คฤหบดีแก้ว
๗. ปริณายกรตนะ ... ปริณายกแก้ว
ทรงอาศัยธรรม ทรงสักการะธรรม ทรงทำ
ความเคารพธรรม ทรงนับถือธรรม
ทรงบูชาธรรม ทรงยำเกรงธรรม
ทรงมีธรรมเป็นธงชัย ทรงมีธรรมเป็นยอด
ทรงมีธรรมาธิปไตย คือมีธรรมเป็นใหญ่
ทรงจัดการรักษาป้องกันและคุ้มครองอัน
เป็นธรรม ในชนภายใน ในหมู่พล ในหมู่กษัตริย์ผู้
ได้รับราชาภิเษก ในหมู่กษัตริย์ประเทศราช
ในพวกพราหมณ์และคฤหบดี ในชาวนิคมและชนบท
ทั้งหลาย ในพวกสมณพราหมณ์ ในหมู่เนื้อและนก
การกระทำสิ่งที่เป็นอธรรมอย่าเป็นไปในแว่นแคว้น
บุคคลเหล่าใดในแว่นแคว้นไม่มีทรัพย์ พึง
ให้ทรัพย์แก่บุคคลเหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่า
ใดในแว่นแคว้น งดเว้นจากความเมาและความประมาท
ตั้งมั่นอยู่ในขันติและโสรัจจะ ฝึกตนแต่ผู้เดียว
สงบตนแต่ผู้เดียว ให้ตนดับกิเลสอยู่แต่ผู้เดียว พึง
เข้าไปหาสมณพราหมณ์เหล่านั้น
โดยกาลอันสมควร ไต่ถามสอบถามถึงกุศล อกุศล
กรรมมีโทษ กรรมไม่มีโทษ กรรมควรเสพ
กรรมไม่ควรเสพ กรรมเป็นไปเพื่อไม่
เป็นประโยชน์เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน กรรม
เป็นไปเพื่อประโยชน์เพื่อสุขสิ้นกาลนาน
เมื่อฟังคำของสมณพราหมณ์เหล่านั้นแล้ว สิ่งใด
เป็นอกุศลพึงละเว้นสิ่งนั้นเสีย สิ่งใด
เป็นกุศลพึงถือประพฤติ
นี้แลคือจักกวัตติวัตรอันประเสริฐนั้น
จักกวัตติวัตร คือ
วัตรที่พึงปฏิบัติของพระเจ้าจักรพรรดิ เก็บความ
จากบาลีและอรรถกถา จัดเป็นข้อได้ดังนี้
๑. วัตรที่พึงปฏิบัติในอันโตชน คือ ชนภายใน
๒. วัตรที่พึงปฏิบัติในพลกาย คือ หมู่พล หมู่ทหาร
๓. วัตรที่พึงปฏิบัติในหมู่กษัตริย์
๔. วัตรที่พึงปฏิบัติในกษัตริย์ประเทศราช
๕. วัตรที่พึงปฏิบัติในพราหมณ์และคฤหบดี
๖. วัตรที่พึงปฏิบัติในชาวนิคม และชาวชนบท
๗. วัตรที่พึงปฏิบัติในสมณพราหมณ์
๘. วัตรที่พึงปฏิบัติในหมู่มคฤและเหล่าปักษา
๙. การห้ามการกระทำอันไม่เป็นธรรม
๑๐. การมอบทรัพย์ให้แก่ผู้ไม่มีทรัพย์
๑๑. การเข้าไปหาสมณพราหมณ์แล้วถามปัญหา
๑๒. การละเว้นสิ่งเป็นอกุศล
ถือประพฤติสิ่งเ็ป็นกุศล
เมื่อแยกข้อ ๕ เ็ป็น ๒ ข้อ ๘ เป็น ๒ ก็เป็น ๑๔
สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า ทรงตั้งอยู่
ในทศพิธราชธรรม ทรงปฏิบัติในบารมีธรรม
โดยพระราชประสงค์ ทรง
เป็นพระธรรมราชา
ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจทั้งปวง
ทรงอาศัยธรรมทรงสักการะธรรม ทรงทำ
ความเคารพธรรม ทรงนอบน้อมธรรม
ทรงมีธรรมเป็นธง ทรงมีธรรมเป็นตรา
เป็นเบื้องหน้า ทรงมีธรรมเป็นใหญ่
ทรงจัดแจงรักษาคุ้มครองป้องกัน ทรงประกอบ
ด้วยธรรม ดังพระพุทธภาษิตที่ตรัส
ถึงพระราชาจักรพรรดิและจักกวัตติวัตร
พร้อมทั้งอายุวัฑฒนธรรม วรรณวัฑฒนธรรม
ได้ทรงประยุกต์ธรรมทั้งปวงโดยนัยที่
ได้ถวายวิสัชนามาในจักกวัตติสูตร ในพระราชปฏิบัติ
ทั้งที่เป็นส่วนพระราชอัตตหิตสมบัติ ทั้งที่เป็น
ส่วนพระราชปรหิตปฏิบัติ เป็น
ส่วนรัฏฐาภิปาลโนบายทั้งปวง
จึงปรากฏว่าทรงปฏิบัติได้สมบูรณ์ในฐานะทั้งปวง
อาทิ
ในฐานะที่ทรงปฏิบัติตามกำหนดกฎหมายพระราชประเพณี
ในฐานะองค์พระประมุขแห่งชาติ ประกอบ
ด้วยพระมหากรุณาพ้นประมาณ ดังที่
ได้พระราชทานโครงการพระราชดำริต่าง ๆ
ได้ทรงปฏิบัติตามโครงการพระราชดำริทั้งปวง
เป็นอันมาก เพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุขประชาราษฎร
ทั้งปวง ชื่อว่าได้ทรงปฏิบัติจักกวัตติวัตร
ในข้อว่ามอบทรัพย์ให้แก่ผู้ไม่มีทรัพย์ อัน
เป็นเหตุสำคัญของความอยู่เย็นเป็นสุข นำ
ให้ประชาราษฎร์ทั้งปวงประพฤติตนอยู่
ในกุศลกรรมบถ เป็นเหตุเจริญอายุ วรรณะ
เป็นต้น ตามนัยในจักกวัตติสูตร ...
หมายเหตุ:
เป็นพระธรรมเทศนา
ในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย
ในพระบรมมหาราชวัง
เมื่อวัันศุกร์ที่ ๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ เวลา ๑๒.๐๐ น.
...........................


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2014, 18:59 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระมงคลวิเสสกถา
ธรรมเป็นเครื่องเจริญสุข โภคะ
พละ
ลำดับนี้
จักรับพระราชทานเลือกสรรคุณสมบัติที่ตั้งแห่งสวัสดิมงคลอันพิเศษยิ่ง
ซึ่งได้ชื่อว่า มงคลวิเสส
มารับพระราชทานถวายวิสัชนา
เพื่อประดับพระปัญญาบารมี ได้ทรงสดับ
แล้วทรงพระปัจจเวกขณ์
ด้วยกำลังพระปรีชาญาณ พระราชปณิธาน เพื่อ
จะทรงบำเพ็ญ จะพึงเกิดมี
ในสมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า แต่
นั้นทรงพระราชอุตสาหะโดยอาการอันชอบ เพื่อจะ
ยังคุณสมบัตินั้น ๆ อันยังขาดให้บริบูรณ์ เพื่อเพิ่มพูน
ส่วนที่ได้ทรงบำเพ็ญมาแล้วให้ภิญโญยิ่ง ทรงปฏิบัติ
อยู่โดยราชธรรม สิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคลก็
จะพึงสำเร็จแด่สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า
เพราะพระราชจรรยาเป็นปัจจัย
ในศกนี้ (๒๕๓๕) พระคุณสมบัติส่วนอัตตสมบัติ
จะขอรับพระราชทานถวายวิสัชนาด้วย
สุขวัฑฒนธรรม กับโภควัฑฒนธรรม
ส่วนปรหิตปฏิบัติ
จะขอรับพระราชทานถวายวิสัชนา
ด้วยรัฏฐาภิปาลโนบาย สาธกในเบื้องต้น
ด้วยพลวัฑฒนธรรม พอเป็นนิทัสสนนัย
ธรรมเป็นเครื่องเจริญสุข
สุขวัฑฒนธรรม ธรรมเป็นเครื่องเจริญสุข
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในจักกวัตติสูตร นำ
ด้วยพระพุทธภาษิตตรัสสอนให้มีตนเป็นเกาะ (
อัตตทีป) มีตนเป็นที่พึ่ง (อัตตสรณ) อย่ามีสิ่งอื่น
เป็นที่พึ่ง โดยมีธรรมเป็นเกาะ (ธัมมทีป) มีธรรม
เป็นที่พึ่ง (ธัมมสรณ) อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง
ด้วยตรัสสอนภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ให้ปฏิบัติจิต
ให้เห็นในสติปัฏฐาน ๓ ซึ่งชื่อว่าได้ปฏิบัติจิตใจ
ให้ท่องเที่ยวไปในโคจร (ที่เที่ยว) ซึ่งเป็นวิสัยอันสืบมา
จากบิดาของตน (สกเปตติกวิสย) แล้วตรัสว่า
จักเจริญด้วยอายุบ้าง จักเจริญด้วยวรรณะบ้าง
จักเจริญด้วยสุขบ้าง จักเจริญด้วยโภคะบ้าง
จักเจริญด้วยพละบ้าง ได้ถวายวิสัชนาแล้ว ๒ ข้อ
ในมงคลวิเสสกถา พุทธศักราช ๒๕๓๔ คือ
อายุวัฑฒนธรรม และวรรณวัฑฒนธรรม
สุขวัฑฒนธรรม ได้ตรัสไว้ยกภิกษุเป็นที่ตั้งว่า
กิญฺจ ภิกฺขเว ภิกฺขุโน สุขสฺมึ เป็นต้น
แปลความว่า
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องสุขของภิกษุ
มีอธิบายอย่างไร
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัด
จากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
บรรลุปฐมฌาน มีวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิด
จากวิเวก (ความสงัด) อยู่
บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต ณ ภายใน
เป็นธรรมเอกผุดขึ้นเพราะวิตกวิจารสงบไป
ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่
เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย
เพราะปีติสิ้นไป
บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะ
ทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา
มีสติ อยู่เป็นสุข
บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข
ละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขา
เป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นอธิบาย
ในเรื่องสุขของภิกษุ"
เหตุแห่งความสุข
อธิบายโดยทั่วไป ความสุขที่ทุก ๆ คนได้ นอก
จากอาศัยสุขสมบัติประการอื่นแล้ว ยัง
ต้องอาศัยสุขสมบัติทางจิตใจประกอบเป็นหลักสำคัญ
คือสมาธิ ... ความตั้งจิตมั่น หรือฌาน ... ความเพ่ง อัน
ได้แก่ การปฏิบัติทำจิตใจให้สงบ ตั้งมั่น เพ่งพินิจ
ในอารมณ์ อันเป็นที่ตั้งของความสงบ อันเป็นกุศล จึง
จะทำให้จิตใจมีสุข เป็นสุขภาพทางจิต
มีพละกำลังควรแก่การงาน คือ
สามารถปฏิบัติงานต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ถูกต้อง
เป็นบุญเป็นกุศลได้ ทั้งจะทำให้ได้ทักษะสติปัญญา
สามารถในการงานที่ปฏิบัติทั้งปวง
ได้มีพระพุทธภาษิตตรัสไว้ว่า
นตฺถิ ฌานํ อปญฺญสฺส
ปญฺญา นตฺถิ อฌายโต
ยมฺหิ ฌานญฺจ ปญฺญา จ
ส เว นิพฺพานสนฺติเก
แปลความว่า
ฌาน ความเพ่งพินิจย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่มีปัญญา ปัญญาย่อม
ไม่มีแก่ผู้ไม่เพ่งพินิจ ปัญญาและฌานมีในผู้ใด ผู้นั้นแล
เข้าไปในที่ใกล้นิพพาน
สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า
ได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่สำเร็จ
พร้อมทั้งทศพิธราชธรรม และบารมีธรรม
โดยพระราชประสงค์ ด้วย
ความที่ทรงมีพระราชมนัสจิตใจสงบ ตั้งมั่น มุ่งมั่น
อันนับได้ว่าเป็นสมาธิหรือฌาน ในระดับที่
เป็นราชธรรม เป็นเหตุให้เกิดความสุข ทั้งที่เป็น
ส่วนพระองค์ และอาณาประชาราษฎร
ทั้งปวงตามพระราชประสงค์
จึงรับพระราชทานถวายวิสัชนา สุขวัฑฒนธรรม
เป็นมงคลวิเสสที่ ๑


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ค. 2014, 14:26 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมเป็นเครื่องเจริญโภคะ
โภควัฑฒนธรรม พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้
ในจักกวัตติสูตร ต่อจากสุขวัฑฒนธรรมว่า
กิญฺจ ภิกฺขเว ภิกฺขุโน โภคสฺมึ เป็นต้น
แปลความว่า
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องโภคะของภิกษุ
มีอธิบายอย่างไร
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
มีจิตประกอบด้วยเมตตาแผ่ไปตลอดทิศ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒
ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน
เบื้องล่าง เบื้องขวา ด้วยจิตประกอบ
ด้วยเมตตาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิ
ได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปตลอดโลก
ทั้งสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน
มีจิตประกอบด้วยกรุณา มุทิตา อุเบกขา
แผ่ไปตลอดทิศ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือน
กัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวา
ด้วยจิตประกอบด้วยกรุณา มุทิตา อุเบกขา
อันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้
ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปตลอดโลก
ทั้งสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นอธิบาย
ในเรื่องโภคะของภิกษุ"
เหตุแห่งความเจริญในโภคทรัพย์
ธรรม ๔ ข้อนี้ คือ พรหมวิหารธรรม ธรรม
เป็นเครื่องอยู่ของพรหม โดยทั่วไปหมายถึง
ผู้มีภูมิธรรมสูง บริสุทธิ์ยุติธรรม
เรียกยกย่องว่าท่านผู้ใหญ่ คือ
เมตตา ได้แก่ ความสนิทสนม มีมิตรจิตรักใคร่ เว้น
จากราคะ ปรารถนาความสุขความเจริญเพื่อผู้อื่น
กรุณา ได้แก่ ความหวั่นใจ เมื่อเห็นผู้อื่นได้ทุกข์ร้อน
เว้นจากความเบียดเบียน ปรารถนาเพื่อ
จะปลดเปลื้องทุกข์ของเขา
มุทิตา ได้แก่ ความชื่นบาน เว้นจากอิสสา ริษยา อรติ
ไม่ยินดี พลอยยินดีด้วยในเมื่อเห็นผู้อื่นได้ดี
อุเบกขา ได้แก่ ความวางใจเพ่งพิจารณาในกรรม
และผลของกรรม เว้นราคะ ปฏิฆะ ยินดียินร้าย
รักชัง อันทำให้ลำเอียง เสียความเป็นกลาง เสีย
ความยุติธรรม ปฏิบัติ
ให้ถูกชอบยุติธรรมตามกรรม
พรหมวิหาร ๔ นี้ เมื่อแผ่ไปโดยไม่เจาะตัว ไม่มีจำกัด
จึงเป็นอัปปมัญญา แปลว่า ภาวนามีสัตว์หาประมาณมิ
ได้เป็นอารมณ์ ดังที่ตรัสสอนเป็นโภควัฑฒนธรรม
ในจักกวัตติสูตรนี้
พรหมวิหารธรรม มีในพระคุณของพระพุทธเจ้า
ยกกรุณาเป็นประธานว่า พระกรุณาคุณ
ดังพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๔
รตนัตตยัปปณามคาถา บาทแรกว่า พุทฺโธ สุสุทฺโธ
กรุณามหณฺณโว พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระพุทธะ
ผู้ตรัสรู้ พระสุสุทธะ ผู้บริสุทธิ์ดี กรุณามหัณณวะ
มีพระกรุณาดุจห้วงมหรรณพทะเลหลวง
มีในพระคุณโดย
เป็นพระราชธรรมจริยาสำคัญของพระมหากษัตริยาธิราชเจ้า
ยกกรุณาเป็นประธานว่า พระมหากรุณาธิคุณ
มีในพระคุณของมารดาบิดา
ดังที่มีพระพุทธภาษิตตรัสไว้ว่า พรฺหฺมาติ
มาตาปิตโร มารดาบิดาเป็นพรหมของบุตร
ทั้งหลาย
สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า
ได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่ พร้อม
ทั้งทศพิธราชธรรม และบารมีธรรม
โดยพระราชประสงค์ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ
เป็นล้นพ้น ชื่อว่าได้ทรงปฏิบัติพระองค์อยู่
ในโภควัฑฒนธรรม เป็นเหตุให้เกิดโภคทรัพย์
โภคสมบัติต่าง ๆ แก่ประชาชน ตลอด
ถึงประเทศชาติโดยทั่วไป
จึงรับพระราชทานถวายวิสัชนา โภควัฑฒนธรรม
เป็นมงคลวิเสสที่ ๒


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ค. 2014, 14:34 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมเป็นเครื่องเจริญพละ (กำลัง
)
พระราชจริยารัฏฐาภิปาลโนบายนั้น คือ
วิธีปกครองพระราชอาณาจักร
จักรับพระราชทานถวายวิสัชนา สาธกในเบื้องต้นนี้
ด้วย พลวัฑฒนธรรม ธรรม
เป็นเครื่องเจริญพละ คือ กำลัง
ในจักกวัตติสูตร
พระพุทธเจ้าตรัสพลวัฑฒนธรรม
ไว้สำหรับภิกษุว่า
กิญฺจ ภิกฺขเว ภิกฺขุโน พลสฺมึ เป็นต้น
แปลความว่า
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องพละของภิกษุ
มีอธิบายอย่างไร
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ทำ
ให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง
ในทิฏฐธรรม (ปัจจุบัน) เทียว เข้าถึงอยู่
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นอธิบาย
ในเรื่องพละของภิกษุ"
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา
ไม่เล็งเห็นแม้กำลังสักอย่างหนึ่งอื่น อันข่ม
ได้แสนยากเหมือนกำลังของมารนี้เลย ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย บุญนี้จะเจริญขึ้นได้อย่างนี้
เพราะเหตุถือมั่นกุศลธรรมทั้งหลาย
พละ (กำลัง) ๕ ประการ
ส่วน พลวัฑฒนธรรม
สำหรับพระราชามหากษัตริยาธิราชเจ้า
ได้มีคำสอนซึ่งมาในพระพุทธศาสนา
แสดงพละกำลัง ๕ ประการ คือ
๑. กายพละ กำลังพระกาย เกิดแต่ทรงผาสุกสบาย
ทรงพระพละกำลังเข้มแข็ง
ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจต่าง ๆ ได้สะดวกดี
๒. โภคพละ กำลังโภคสมบัติ
เกิดแต่พระมหากรุณาธิคุณ
ทรงขวนขวายบำรุงกสิกรรม พาณิชยกรรม
เป็นต้น อันเป็นทางเกิดแห่งโภคสมบัติ โภคทรัพย์ต่าง ๆ
ให้ไพศาล เพียงพอแก่ราชกิจราชการ
เพียงพอเพื่อดำรงชีวิตอยู่ผาสุกของข้าราชการ
ข้าราชบริพาร เป็นต้น และประชาชนทั่วไป
๓. อมัจจพละ กำลังอำมาตย์ มีอำมาตย์ผู้ใหญ่ผู้น้อย
เป็นกำลังทางนิติบัญญัติ ทางบริหาร
และทางตุลาการ ทุกทางครบถ้วน
๔. อภิชัจจพละ กำลังพระชาติสูง
เป็นที่นิยมของมหาชน เป็นผลที่มีมา
เพราะปุพเพกตปุญญตา คือ
ได้เคยทรงบำเพ็ญพระราชกุศลอบรมมาแต่
ในกาลก่อน เป็นเหตุให้ประพฤติดี ประพฤติชอบได้
โดยง่าย เพราะได้เคยอบรมมาในธรรมที่ดี
มีหิริโอตตัปปะ รู้จักละอายแก่ใจ เกรงกลัวต่อ
ความชั่วความผิด กล้าหาญในการไม่ทำชั่วทำผิด
มุ่งแต่การที่ดี ดังคชสาร อัสดร อุสุภะ ผู้อาชาไนย
ดำรงอยู่เป็นศรีสวัสดิ์แก่พระราชอาณาจักร
๕. ปัญญาพละ กำลังพระปัญญา
ทรงมีพระปรีชาญาณรอบคอบและ
สามารถทรงวิจารณ์เหตุการณ์ภายในภายนอก อัน
เป็นไปในสมัยเพื่อ
ได้พระญาณแจ้งเหตุผลประจักษ์ชัด
ทรงประกอบพระราโชบาย
หรือพระราชนโยบายให้ลุล่วงอุปสรรค
ทั้งหลาย ประสบความสำเร็จเป็นผลดีต่าง ๆ
ตามโครงการพระราชดำริ
ตามพระราชประสงค์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ค. 2014, 14:45 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระองค์ผู้สมบูรณ์พร้อมด้วยพละ ๕
กายพละ คือกำลังพระกาย
สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า
ทรงพรั่งพร้อมด้วยพลวัฑฒนธรรม
ทรงมีพระราชภารกิจมากมายนักหนา
จนปรากฏว่าพสกนิกรผู้รู้เห็นส่วนใหญ่ มี
ความเหน็ดเหนื่อยแทนพระบาทสมเด็จพระเจ้า
อยู่หัวของพวกเขาอยู่เสมอ เป็นห่วงพระสุขภาพ
พลานามัย แต่ก็ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจที่
ต้องทรงลำบากเหนื่อยยากตรากตรำ
ให้ลุล่วงเกิดผลสำเร็จตลอดมา
ด้วยทรงมีกำลังพระวรกายดี
คือทรงมีพลวัฑฒนธรรม ข้อกายพละ
โภคพละ คือกำลังแห่งโภคทรัพย์ อัน
เป็นสิ่งสำคัญสำหรับความเป็นประมุข ประมุข
ผู้มีธรรม เมื่อมีโภคพละ ย่อม
ใช้ประโยชน์แห่งโภคพละได้อย่างเป็นคุณยิ่ง
เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ ศาสนา ประชาชน
สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า ทรง
เป็นองค์พระประมุขที่ทรงธรรม
ได้พระราชทาน
ความเจริญรุ่งเรืองแก่ประเทศชาติ
ด้วยโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานบำรุงพาณิชยกรรม
และกสิกรรม เป็นต้น ได้รับผลดีตลอดมา ทั้งนี้ก็
ด้วยทรงมีพลวัฑฒนธรรมข้อโภคพละ
อมัจจพละ คือกำลังแห่งอำมาตย์ นี้
เป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่งสำหรับความเป็นประมุข
อำมาตย์ คือบริวาร ประมุขผู้มีบริวารมาก
บริวารดี ย่อมสามารถยังความสำเร็จให้เกิดได้
สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า ทรง
สามารถสร้าง
ความสำเร็จสัมฤทธิ์ผลนานาประการ
ดังทรงมีพระราชประสงค์
ด้วยทรงมีกำลังแห่งอำมาตย์
คือบริวารพรั่งพร้อมเป็น
ผู้รับสนองพระราชดำริทั้งปวง เป็นไป
ด้วยพระบารมีใหญ่หลวงสูงส่ง นี้ก็
ด้วยทรงมีพลวัฑฒนธรรม ข้ออมัจจพละ
กำลังคืออำมาตย์
อภิชัจจพละ คือกำลังพระชาติสูง
สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกล่าวแสดง
ไว้ว่า ผู้เกิดในสกุลสูงนั้น ในอดีตชาติเป็นผู้อ่อนน้อมต่อ
ผู้ควรได้รับความอ่อนน้อม ด้วยเหตุนี้ผู้เิกิด
ในตระกูลสูง จึงปกติมีกิริยาวาจาสุภาพ อ่อนโยน
นุ่มนวล งดงาม ติดมาแต่อดีตชาติ
สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า
ทรงมีพระชาติสูงสุดในมวลมนุษย์ชาวสยาม
พระราชจริยวัตรที่นุ่มนวล งดงาม ทำให้ทรง
เป็นที่เทิดทูนจงรักภักดีด้วยใจจริงเหนือผู้ใดอื่น
ทั้งหลายทั้งนั้น พระราชปรารถนาสารพัน มี
ผู้โสมนัสยินดีที่จะได้มีส่วนสนองให้สำเร็จสัมฤทธิ์ด้วยดี
นี้ก็ด้วยทรงมีพลวัฑฒนธรรมข้ออภิชัจจพละ
กำลังพระชาติสูง
ปัญญาพละ คือกำลังพระปัญญา
ในบรรดาคุณสมบัติทั้งปวง ปัญญาเป็นเยี่ยม
ความสำเร็จไม่ว่าเล็กน้อยหรือใหญ่ยิ่ง เกิดได้
ด้วยมีปัญญาพาเริ่มต้น และพาดำเินินไปสู่จุดหมายทั้ง
นั้น เช่นโครงการมากหลายเพื่อพัฒนาประเทศชาติ
ที่เกิดแต่พระราชดำริ
ล้วนอำนวยประโยชน์อย่างยิ่งแก่ประเทศชาติ
ประชาชน ก่อนหน้าโครงการพัฒนาล่าสุดคือ
โครงการพัฒนาลุ่มน้ำบางนรา จังหวัดนราธิวาส
ซึ่งมีน้ำเค็มและกร่อยเกือบตลอดปี ไม่สามารถ
ใช้อุปโภคบริโภคและทำการเกษตรได้
ทรงมีพระราชดำริให้พัฒนาลุ่มน้ำบางนรานี้
เพื่อกักเก็บน้ำจืดไว้ใช้อุปโภคบริโภค
และทำการเกษตร และเพื่อป้องกันไม่
ให้น้ำเค็มไหลเข้าไปทำลายพื้นที่เพาะปลูก รวม
ทั้งเพื่อระบายน้ำมิให้เกิดอุทกภัย
โครงการพัฒนาลุ่มน้ำบางนราเป็นโครงการใหญ่
กำหนดจะต้องใช้เวลากว่าสิบปีจึง
จะสำเร็จเรียบร้อยได้ผลเต็มที่
โครงการพัฒนาล่าสุดเพิ่งทรงมีพระราชดำริ
ในคราวเสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานไปประทับ
ณ พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์
ในเดือนตุลาคมที่ผ่านไปนี้
คือโครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำ ที่จังหวัดสกลนคร
และนครพนม เพื่อช่วยระบายน้ำมิให้ท่วมสองฝั่ง
ในฤดูฝน และเก็บกักน้ำไว้ในลำน้ำก่ำ เพื่อให้ราษฎร
ได้ใช้อุปโภคบริโภคและทำการเกษตรได้
ให้มีจำนวนน้ำมากที่สุด
ความสำเร็จผลแห่งโครงการพัฒนาตามพระราชดำริ
ทั้งปวง เกิดได้ด้วยทรงมีพลวัฑฒนธรรม
ข้อปัญญาพละ กำลังคือปัญญา เป็นที่ประจักษ์และ
เป็นที่ยอมรับว่าผลสำเร็จทั้งน้อยใหญ่เป็นไปได้
ด้วยพระปัญญาบารมี อันเกิดแต่พระมหากรุณา
โดยแท้ และประกอบด้วยทรงบริบูรณ์
ด้วยพลวัฑฒนธรรมสำหรับพระราชามหากษัตริยาธิราชเจ้า
ที่เป็นคำสอนในพระพุทธศาสนา
ดังรับพระราชทานถวายแล้ว
นอกจากจะทรงห่วงใยในทรัพยากรธรรมชาติ
แล้ว ยังทรงห่วงใยในด้านสิ่งแวดล้อมและสิ่งอื่นอีก
เป็นอันมาก ได้มีพระราชดำริ
และทรงปฏิบัติตามโครงการพระราชดำรินั้น ๆ
เป็นไปเพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุข
แก่ประชาชนประเทศชาติโดยนานัปการ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ค. 2014, 15:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อม
สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า
และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
ได้เสด็จพระราชดำเนินไป
ในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตน
และสวนสนามของทหารรักษาพระองค์
ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๓๕ เนื่อง
ในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ณ
พระที่นั่งชุมสาย พระลานพระราชวังดุสิต
เมื่อเวลา ๑๖.๐๐ น. วันพฤหัสบดีที่ ๓ ธันวาคม
พุทธศักราช ๒๕๓๕
วันที่ ๔ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๓๕ เวลา ๑๖.๐๐ น.
สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า
ได้เสด็จพระราชดำเนิน ณ ศาลาดุสิตาลัย
พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บุคคลคณะต่าง ๆ
เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท นายกรัฐมนตรี
ได้กราบบังคมทูลถวายพระพร
ในนามสโมสรสันนิบาตและประชาชนชาวไทย
ได้พระราชทานพระราชดำรัสพระบรมราโชวาท
ทุกคนรับพระราชดำรัสพระบรมราโชวาท
ไว้เหนือเกล้าฯ เป็นที่เบิกบานปีติยินดีทั่วกัน
ในฝ่ายศาสนจักร
สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า
ได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในฐานะทรง
เป็นพุทธมามกะ และเอกอัครศาสนูปถัมภกครบถ้วน
ได้ทรงศึกษาปฏิบัติธรรม ทรงค้นคว้า
และมีพระราชปุจฉาในคดีธรรมอยู่เนือง ๆ
ในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษานี้
ได้ทรงพระกรุณาโปรดสถาปนาแต่งตั้งสมณศักดิ์
และทรงบำเพ็ญพระราชกุศลนานัปการ
ในกาลเทศะทั้งปวง
พระราชกรณียกิจ
ในฝ่ายราชอาณาจักรทุกประการ ดัง
ได้รับพระราชทานถวายวิสัชนาแต่เพียงโดยเอกเทศ
ส่วนหนึ่ง ทรงปฏิบัติได้สมบูรณ์
เพราะทรงสมบูรณ์ด้วยสุขวัฑฒนธรรม
และโภควัฑฒนธรรม อันเนื่องมาจากจักกวัตติวัตร
ที่ได้ทรงบำเพ็ญเพื่อเพิ่มพูนพระบารมี
และพระราชธรรมจริยา
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
สมเด็จพระราชโอรสธิดา พร้อม
ด้วยสมเด็จพระบรมราชชนนี
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ กับเจ้านาย และรัฐบาล
ข้าราชการทั้งปวง ต่างได้ทรงช่วยและ
ช่วยรับปฏิบัติสนองพระราชกรณียกิจต่าง ๆ
แห่งองค์พระมหากษัตริย์
และปฏิบัติตามโครงการพระราชดำรินั้น ๆ
ให้สำเร็จสมบูรณ์ เพื่อประโยชน์สุขแห่งประชาชน
ทั้งปวง
พระราชกรณียกิจทั้งปวงที่ได้ทรงปฏิบัตินี้ นับว่า
เป็นรัฏฐาภิปาลโนบาย (ส่วนปรหิตปฏิบัติ) จัด
เป็นมงคลวิเสสที่ ๓
พระราชจริยาฝ่ายอัตตสมบัติ คือสุขวัฑฒนธรรม
และโภควัฑฒนธรรม ส่วนปรหิตปฏิบัติ
คือรัฏฐาภิปาลโนบาย สาธกในเบื้องต้น
ด้วยพลวัฑฒนธรรม สำหรับภิกษุประกอบ
ด้วยพลวัฑฒนธรรม ๕ ประการ
สำหรับพระมหากษัตริย์ ซึ่ง
เป็นที่ตั้งแห่งสิริมงคลอันพิเศษ มีเอกเทศดัง
ได้รับพระราชทานถวายวิสัชนามา ฉะนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ค. 2014, 15:09 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


น้อมเกล้า น้อมกระหม่อม
น้อมจิตใจ ถวายพระพรชัยมงคล
สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า
ได้ทรงอบรมพระองค์ให้สมบูรณ์ด้วยธรรม
เป็นมงคลวิเสสส่วนอัตตสมบัติ
ทรงดำรงราไชศวรรย์
ทรงปกครองภิบาลประเทศชาติ ประชาชน
โดยธรรม ให้วัฒนสถาพรมีความสุขในทุกทาง
เป็นมงคลวิเสสส่วนปรหิตปฏิบัติรัฏฐาภิปาลโนบาย
ประชาชนทั้งชาติกับ
ทั้งสกลมหาสงฆ์สมณพราหมณาจารย์ทั้งปวง
ต่างระลึกสำนึก
ในพระมหากรุณาธิคุณพ้นประมาณ
ถึงวันมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา จึงพร้อม
กันเฉลิมฉลองทั่วประเทศด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น
แซ่ซ้องถวายพระราชสดุดีเทิดพระเกียรติปฏิบัติธรรม
ทำจิตตภาวนา บำเพ็ญกุศลสาธารณประโยชน์ต่าง ๆ
น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมน้อมจิตใจตั้งสัจจาธิษฐานถวาย
เป็นพระราชกุศล ถวายพระพรชัยมงคล
เตหิ เตหิ วิเสเสหิ คุเณหิ ปฏิมณฺฑิโต
จิรญฺชีวี มหาราชา สุขปฺปตฺโต อนามโย
ยสสา เตชสา จาปิ วฑฺฒยนฺโต นรุตฺตโม
สทา ภทฺรานิ สมฺปสฺํำสํ จิรํ รชฺเช ปติฎฺฐตุ
ขอสมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า
ผู้ทรงประดับด้วยพระคุณสมุทัยอันพิเศษนั้น ๆ
ทรงพระชนมายุยืนนาน
ทรงพระสำราญสมบูรณ์พระอนามัย
ทรงพระเจริญด้วยพระราชอิสริยยศเดชานุภาพ
ทอดพระเนตรเห็นแต่กิจการอันเจริญ
เป็นนิตยกาล เสด็จสถิตยืนนาน
ในพระราชมไหศวรรย์ ปกครองรัชสีมามณฑล
ให้สมบูรณ์สมพระราชประสงค์
ลำดับนี้ พระสงฆ์ผู้ได้มาในมหามงคลกาลนี้
มีสมานฉันท์ตั้งสัตยาธิษฐาน
ขอพรพระศรีรัตนตรัยที่ปรากฏ
เป็นมงคลสูงสุดของทวยเทพและมนุษย์ทั้งหลาย
ประสิทธิ์ถวายแด่สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า
อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ อุตฺตมํ ธมฺมมชฺฌคา
มหาสงฺฆํ ปโพเธสิ อิจฺเจตํ รตนตฺตยํ
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ได้ทรงตรัสรู้ธรรมอันสูงสุด ยังพระสงฆ์หมู่ใหญ่
ให้เบิกบานตื่นจากกิเลสนิทรา
นี้จัดว่าพระรัตนตรัย คือวัตถุอันประเสริฐให้เกิด
ความดี ๓ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อ
ความบริสุทธิ์อย่างยิ่งใหญ่ไพศาลแก่ผู้เลื่อมใส
ด้วยเดชานุภาพพระศรีรัตนตรัยดลบันดาล
ขออุปัทวันตรายและอุปสรรคศัตรูทั้งหลาย
จงอย่าบังเกิดถูกต้องพ้องพาน
ซึ่งไทยสยามรัฐมหาชนบทนี้ ในกาลไหน ๆ จงบำราศ
ไกลด้วยประการทั้งปวง
ขอความเป็นผู้ไม่มีโรค ความสุขสำราญ ความเป็น
ผู้มีอายุยืนนาน และความบริบูรณ์แห่งวัตถุ
ทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งวิบุลผลนั้น
ทั้งสุขโสมนัสสวัสดี ในทุกที่ทุกสถานจงเกิดมี จงเป็นไป
แด่สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า
ผู้ทรงอภิบาลไทยสยามรัฐมหาชนบทนี้ กับ
ทั้งสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
พระราชโอรสธิดา พระบรมราชวงศ์
และคณะรัฐบาล
มุขอำมาตย์มนตรีสภาเสวกามาตย์ ทหาร พลเรือน
ตำรวจ พสกนิกรประชาราษฎร
สมณชีพราหมณ์ ขอเทพเจ้าทั่วจักรราศีผู้สิงสถิตอยู่
ในไทยสยามรัฐมณฑลจงตั้งไมตรีจิต
อภิบาลรักษาสกลไทยสยามรัฐสีมาอาณาเขต
ซึ่งมีสมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้าทรง
เป็นองค์พระประมุข ด้วยนำเข้าไปใกล้
ซึ่งอิฐวิบุลผล อันเป็นหิตานุหิตประโยชน์ คอยป้อง
กันซึ่งสรรพโทษอันไม่เกื้อกูลแก่ความเจริญอย่า
ให้เกิดมี
สิทฺธมตฺถุ สิทฺธมตฺถุ สิทฺธมตฺถุ อทํ ผลํ
เอตสฺมึ รตนตฺตยสฺมึ สมฺปสาทนเจตโส
ขอผลที่กล่าวนี้ จงเป็นผลสัมฤทธิ์ จงเป็นผลสัมฤทธิ์
จงเป็นผลสัมฤทธิ์
แด่สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า
ผู้มีพระราชมนัสเลื่อมใสในพระรัตนตรัยนี้
สมพระบรมราชประสงค์ทุกประการ
รับพระราชทานถวายวิสัชนาพระธรรมเทศนา
ในพระมงคลวิเสสกถา เป็นปสาทนียมังคลานุโมทนา
เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้
ขอถวายพระพร
หมายเหตุ :
เป็นพระธรรมเทศนา
ในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย
ในพระบรมมหาราชวัง
เมื่อวันศุกร์ที่ ๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ เวลา ๑๒.๐๐ น.
......................................


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 15 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 2 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร