วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 02:23  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง





กลับไปยังกระทู้  [ 26 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2014, 11:26 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๑๕ “อสงฺกิลิฏฺฐาสงฺกิเลสิกา ธมฺมา”
ในบทที่ ๑๕ นั้น โดยพระบาลีว่า “
อสงฺกิลิฏฺฐาสงฺกิเลสิกา ธมฺมา” แปลว่า ธรรม
ทั้งหลายอันทรงไว้ซึ่งจิตที่ไม่เศร้าหมอง ความคิดนึก
ก็คิดนึกแต่ในธรรมที่ไม่เศร้าหมองดังนี้
มีอรรถาธิบายว่า จิตประกอบไปด้วยธรรมอัน
เป็นเครื่องถอนออกเสียได้ซึ่งธรรมอัน
เป็นเครื่องเศร้าหมองอยู่ในสันดาน
เปรียบเสมือนทารกไม่มีความยินดีในกามคุณ
ให้ไปปราศจากก็เป็นเครื่องกำจัดเสียจากกามคุณ
เพราะฉะนั้นจึงสมกับบาลีว่า “
อสงฺกิลิฏฺฐาสงฺกิเลสิกา ธมฺมา” ซึ่งแปลว่าธรรมก็
ไม่เศร้าหมอง จิตก็ไม่เศร้าหมอง ความนึกคิด
ในธรรมารมณ์ไม่เศร้าหมองดังนี้ แก้ไขมา
ในติกมาติกบทที่ ๑๕ ก็ยุติไว้เพียงเท่านี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2014, 11:29 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๑๖ “สวิตกฺกสวิจารา ธมฺมา”
ลำดับนี้จะได้แสดงในติกมาติกาบทที่
๑๖ สืบต่อไป โดยนัยพระบาลีว่า “สวิตกฺกสวิจารา
ธมฺมา” เป็นต้น แปลว่า ธรรมทั้งหลายที่เป็นไป
ด้วยวิตกวิจารณ์ทั้งสองนี้ มีความอธิบายว่า
บุคคลที่มีวิจารณ์ตรึกตรองวิตกไปต่าง ๆ
เปรียบเหมือนพระโสดาบันท่านพิจารณาว่า
สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพตปรามาสขาดไป ไม่มี
อยู่ในสันดานของเราแล้ว จะคิดผิดประการใดหนอ
จึงสละกามฉันทะพยาบาทไปได้ฉะนี้
ท่านวิตกไปว่า กามฉันทะ ความตริตรองไปเช่นนี้
อย่างนี้เรียกชื่อว่า วิจารณ์ แล้วท่าน
จึงวิตกไปอีกว่า กามฉันทะพยาบาทก็ยังมีอยู่
ในสันดานของเรา เราจะคิดเป็นประการใดหนอ
เราจึงสละกามฉันทะพยาบาทออกไปได้ฉะนี้
พระสักกวาทีจึงเรียนขอให้อุปมาอุปไมยต่อไปอีกว่า
ข้าแต่ท่านปรวาที ความข้อนี้ข้าพเจ้ายังมี
ความสงสัยอยู่ เพราะฉะนั้น ขอพระผู้เป็นเจ้า
จงแสดงอุปมาอุปไมยต่อไป พระปรวาทีจึง
ได้แสดงอุปมาอุปไมยว่า
เปรียบเหมือนพ่อค้าลงทุนหากำไร การค้าขาย
นั้นมีกำไรมากอยู่ แต่ก็ยังวิตกไปว่า กลัวคนอื่นเขา
จะมาแย่งชิงค้าขายฉะนี้ ถ้ามิฉะนั้น
เปรียบเหมือนท่าน ทายก อุบาสก อุบาสิกา
ได้โอกาสถวายทานแก่พระภิกษุสงฆ์
อันมีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน
และพิจารณาทดลองของบริโภคเครื่องไทยทานของตน
ก็เห็นว่าดีแล้ว และคิดไปว่า เมื่อพระท่านฉัน ท่าน
จะชอบหมดทุกองค์หรือ หรือว่าจะไม่ชอบบ้าง
เป็นประการใด คอยตรวจตราดูแลเพิ่มเติม เปรี้ยว
หวาน มันเค็ม เป็นต้น อยู่อย่างนี้ เช่นนี้แล เรียกว่า
วิตกวิจารณ์ เพราะฉะนั้นสมกับพระบาลีว่า “
สวิตกฺกสวิจารา ธมฺมา” ดังนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2014, 11:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๑๗ “อวิตกฺกวิจารมตฺตา ธมฺมา”
ในบทที่ ๑๗ ว่า “อวิตกฺกวิจารมตฺตา
ธมฺมา” นั้นแปลว่า ธรรมทั้งหลายอันเป็นเครื่องทรง
ไว้ซึ่งจิต มาตรว่ามีแต่วิจารณ์ วิตกไม่มี ดังนี้ มี
ความอธิบายว่า บุคคลที่กระทำกุศลสุจริต จิต
ไม่วอกแวกหวั่นไหว และคิดไปว่า เป็นบุญเป็นกุศล
แล้วก็ก้มหน้ากระทำไป มิ
ได้สอดแคล้วกินแหนงเมื่อภายหลัง ดุจดังผู้ชำนาญ
ในการดูเงิน ที่ดีก็ว่าดี ที่แดงก็ว่าแดง
เพราว่าเชื่อมือเชื่อตาของตนฉะนั้น พระสักกวาที
จึงถามขึ้นว่า ที่ว่าบุคคลไม่วิตกมีแต่วิจารณ์นั้น
ข้าพเจ้ามีความสงสัยว่า เมื่อบุคคลไม่มีวิตกแล้ว
จะเอาวิจารณ์มาแต่ไหนเล่า ขอพระผู้
เป็นเจ้าจงแสดงอุปมาเพื่อให้เกิดความ
เข้าใจอีกต่อไป พระปรวาทีจึงได้แสดงอุปมาขึ้นว่า
บุคคลที่มีแต่วิจารณ์ วิตกไม่มีนั้น
เปรียบเหมือนปลีกล้วย เมื่อเดิมทีนั้นก็เป็นปลีอยู่
ผลกล้วยเขาหาได้เรียกว่าปลีไม่ ดังโลกโวหารที่พูด
กันอยู่ บุคคลผู้นั้นกระทำสิ่งใดไม่ได้ตริตรอง
กระทำตามความชอบใจของตนดังนี้ เพราะฉะนั้น
จึงสมกับพระบาลีว่า “อวิตกฺกวิจารมตฺตา ธมฺมา”


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2014, 11:33 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๑๘ “อวิตกฺกาวิจารา ธมฺมา”
ในบทที่ ๑๘ ว่า “อวิตกฺกาวิจารา
ธมฺมา” นั้นแปลว่า ธรรมทั้งหลายที่ทรงไว้ซึ่งจิตอัน
ไม่วิตกวิจารณ์ อธิบายว่า บุคคลจำพวกหนึ่ง
กระทำสิ่งใดที่ไม่ตริตรองพิจารณา เมื่อคนอื่น
เขาว่าดีก็ดีตาม มีแต่ความเชื่ออย่างเดียว
พระสักกวาทีจึงถามขึ้นว่า บุคคลที่ไม่วิตกวิจารณ์
มีแต่ความเชื่ออย่างเดียวนั้น คือใครเป็นไปตัวอย่าง
พระปรวาทีจึงนำบุคคลมาแสดงเพื่ออุทธาหรณ์ว่า
เมื่อพระอานนท์กระทำกายคตาสติกัมมัฏฐาน
พิจารณาซึ่งอาการ ๓๒ เป็นอนุโลมปฏิโลม ครั้ง
นั้นก็ยังไม่สำเร็จอาสวักขัยไปได้ เพราะพระอานนท์
ยังวิตกไปถึงสมเด็จพระบรมศาสดาจารย์
และเชื่อคำพยากรณ์ภาษิตที่พระองค์ทรงตรัสไว้ว่า
อาตมาจะได้สำเร็จอาสวักขัยในวันนี้ แต่ก็
เพราะเหตุใดจึงไม่สำเร็จเล่า อย่ากระ
นั้นเลยชะรอยความเพียรของเราจะกล้าไป
จำอาตมาจะพักผ่อนสักหน่อยเถิด พอคิดจะจำวัด
เอนกายลง ก็หมดความวิจารณ์ถึงอาการ ๓๒
และหมดความวิตกถึงสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า เกิด
ได้บรรลุอาสวักขัย ได้สำเร็จ
เป็นพระอรหันต์ปฏิสัมภิทาญาณ
ด้วยมาตัดวิตกวิจารณ์ออกไปเสียได้ เพราะฉะนั้น
จึงสมกับพระบาลีที่ว่า “วิตกฺกาวิจารา ธมฺมา”
ซึ่งแปลว่าธรรมอันหมดวิตกวิจารณ์ฉะนี้ นักปราชญ์
ผู้มีวิจารณญาณพึงสันนิษฐาน
เข้าใจตามนัยพระพุทธภาษิตอันวิจิตรพิสดาร
แก้ไขมาในติกมาติก บทที่ ๑๘ แต่โดยสังเขปคาถา
ก็ขอยุติลงไว้เพียงเท่านี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2014, 11:37 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๑๙ “ปีติสหคตา ธมฺมา”
บัดนี้จักได้แสดงในมาติกาบทที่ ๑๙
เป็นอนุสนธิสืบต่อไป โดยนัยพระบาลีว่า “
ปีติสหคตา ธมฺมา” เป็นต้น แปลว่า ธรรม
ทั้งหลายอันสหรคตด้วยปิติ ปิตินั้นมีลักษณะ ๕
ประการ คือ ขณิกาปีติ ๑ ขุททกาปีติ ๑ โอก
กันติกาปีติ ๑ อุเพงคาปีติ ๑ ผรณาปีติ ๑ ขณิกาปีติ
นั้น บังเกิดเป็นขณะ ๆ เมื่อบังเกิดขึ้น ก็
เป็นประดุจดังว่าสายฟ้าแลบ ขุททกาปีตินั้น
บังเกิดน้อย เมื่อบังเกิดขึ้นก็เป็นดุจดังว่าคลื่นกระทบฝั่ง
โอกกันติกาปีตินั้น เมื่อบังเกิดขึ้น ทำให้กายหวั่นไหว
อุเพงคาปีตินั้น เมื่อบังเกิดขึ้นก็ทำ
ให้ขนพองสยองเกล้า และทำ
ให้ร่างกายลอยไปบนอากาศได้ ผรณาปีตินั้น
เมื่อบังเกิดขึ้น ก็กระทำให้มีความรู้สึกซาบซ่าน ไป
ทั่วสรรพางค์กาย เปรียบเหมือนบุคคลที่
ได้บริโภคโภชนาหารอันโอชารสต่าง ๆ ฉะนั้น ปีติ
นั้น แปลว่าอิ่มใจ เป็นที่ยินดีของสัตว์ที่เป็นโลกียวิสัยนี้
ทั่วไป พระสักกวาทีจึงถามขึ้นว่า ปีตินั้นแปลว่าอิ่ม
บุคคลที่ได้บริโภคอาหารนั้นก็อิ่ม
ได้ลาภที่ชอบใจก็อิ่ม จิตที่ฟุ้งซ่านไปก็อิ่ม
จิตที่ระงับก็อิ่ม เรียกว่าปีติ ปีติในที่นี้จะว่าอิ่มด้วยอะไร
พระปรวาทีจึงวิสัชนาว่า ปีติในที่นี้แปลว่าอิ่ม
เพราะไม่มีความกังวลอีกต่อไป
ดังบุคคลที่หิวอาหารจัด
ก็ไปเที่ยวแสวงหาอาหารตามชอบใจของตน ครั้น
ได้อาหารรับประทานอิ่มแล้ว ก็สิ้นความกังวล ไม่
ต้องแสวงหาอีกต่อไป เปรียบเหมือนท่านวักกลิภิกขุ มี
ความตั้งใจว่า ดูพระรูปพระโฉมพระพุทธเจ้าให้อิ่มใจ
เมื่อไม่เห็นพระพุทธองค์แล้วก็มีความโทมนัสเสียใจ
ครั้นเมื่อได้เห็นพระพุทธองค์แล้ว
จิตใจที่โทมนัสก็หายไป ความอิ่มนี้แล เรียกว่าปีติ
เพราะฉะนั้น จึงสมกับพระบาลีว่า “ปิติสหคตา
ธมฺมา” ดังนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2014, 11:40 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๒๐ “สุขสหคตา ธมฺมา”
ในบทที่ ๒๐ ว่า “สุขสหคตา ธมฺมา”
แปลว่า ธรรมทั้งหลายอันสรหคตแล้วด้วยความสุข
ความสุขนั้นมีประเภทเป็น ๒ ประการ คือ สุขกาย
ความสุขที่ไม่มีโรคเบียดเบียน ๑ ความสุขใจที่
ไม่เศร้าหมอง ความสุขที่สมเหตุที่คิด สมกิจที่กระทำ
๑ ยังมีความสุขอีกประเภทหนึ่งมีอยู่ ๔ ประการคือ
สุขเพราะมีอายุยืน ๑ สุขเพราะมีรูปงาม ๑ สุข
เพราะมีกำลังกาย กำลังทรัพย์ มีกำลังปัญญา ๑
สุขในความหมดเวรหมดกรรม ๑ แต่เมื่อจะว่าโดยย่อ
ก็มีอยู่ ๒ ประการ คือ โลกียสุข ๑ โลกุตรสุข ๑
โดยความอธิบายว่า ความที่
ไม่มีโรคภัยเบียดเบียน เรียกว่าความสบาย
ความสบายเรียกว่าความสุข ความสุขที่ประกอบไป
ด้วยกิเลสนั้น เรียกว่า โลกียสุข ความสุขที่
ไม่มีกิเลสเจือปนเรียกว่า โลกุตรสุข ความสุขทั้ง ๒
ประการนี้เมื่อจะอ้างบุคคล ก็ได้แก่ สุขสามเณร
แต่เดิมทีนั้นเป็นคนยากจนเข็ญใจ
ได้ถวายเครื่องสักการะแด่พระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว
ตั้งแต่นั้น ก็เป็นสุข ๆ มาจนกระทั่ง
ถึงศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่า
พระสมณโคดม นี้เป็นเขตโลกียสุข ตั้งแต่วันได้บรรลุ
เป็นพระอรหัตต์ตัดกิเลสเป็นสมุจเฉทปหานนั้น
เป็นเขตแห่งโลกุตรสุข “สุโข วิเวโก” ความเงียบสงัด
จากกิเลสก็เป็นสุขประการหนึ่ง “สุโข
พุทธานมุปฺปาโท” ความบังเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้า
ทั้งหลายในโลกนี้ก็เป็นความสุขประการหนึ่ง “
สุขธมฺมเทสนา” การที่
ได้ฟังพระสัทธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าก็
เป็นสุขประการหนึ่ง “สุขา สงฺฆสฺส สามคฺคี”
การที่พร้อมเพรียงกันแห่งหมู่สงฆ์ก็
เป็นสุขประการหนึ่ง “ตโป สุโข” การกระทำกิเลส
ให้เร่าร้อน คือการผ่อนผันให้เบาบาง
จากสันดานไปได้ ก็เป็นสุขประการหนึ่ง
การประพฤติปฏิบัติตนเป็นไปใน กายวิเวก อุปธิวิเวก
จิตตวิเวก วิเวกทั้ง ๓ นี้แล เรียกว่าความสุข เพราะฉะ
นั้นจึงสมกับพระบาลีที่ว่า “สุขสหคตา ธมฺมา” ฉะนี้
แก้ไขมาในมาติกา บทที่ ๒๐ ก็ยุติไว้
โดยสังเขปเพียงเท่านี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2014, 11:44 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๒๑ “อุเปกฺขาสหคตา ธมฺมา”
ในบทที่ ๒๑ ว่า “อุเปกฺขาสหคตา
ธมฺมา” นั้น แปลว่า ธรรมทั้งหลายอัน
เป็นอารมณ์แห่งจิตที่เป็นอุเบกขา คือ หมดปีติ
หมดสุข จึงจัดเป็นอุเบกขา ในที่นี้
อุเบกขานี้เกิดขึ้นแต่สุข สุขนั้นก็บังเกิดแต่ปีติ
ต่อเมื่อหมดสุขและปีติแล้ว อุเบกขาจึงจะบังเกิดขึ้นได้
โดยความอธิบายว่า หมดปีติ หมดสุข แล้วจึง
เป็นอุเบกขา ถ้าปีติและสุขยังมีอยู่
อุเบกขาก็บังเกิดขึ้นไม่ได้ อุเบกขาในที่นี้ประสงค์เอา
ความว่า ปีติกับสุขทั้งสองนี้บังเกิดขึ้นแล้วแลหายไป
ถ้าปีติและสุขทั้งสองยังมีอยู่ตราบใด ก็จัด
เป็นอุเบกขาไม่ได้ ถ้าปีติ และสุขนี้ไม่มีมาแต่เดิม
อุเบกขาก็ไม่มีเหมือนกัน เพราะเหตุว่ามีอุเบกขาไม่
ได้ เปรียบเหมือนแสงสว่างอันบังเกิดจากเปลวไฟ
เปลวไฟจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยเชื้อฟาง ฟางก็
ได้แก่ปีติ เปลวไฟก็ได้แก่ความสุข แสงสว่าง
ได้แก่อุเบกขา
เพราะฉะนั้น สมเด็จพระ
ผู้มีพระภาคเจ้าจึง
ได้ทรงประทานพระธรรมเทศนาว่า ปีติ สุข อุเบกขา
เป็นลำดับกันมา เหมือนอย่างสุขทั้ง ๓ ประการ คือ
สุขในมนุษย์ สุขในสวรรค์ และสุขในพระนิพพาน
สุขในมนุษย์ไม่สุขเท่าสุขในสวรรค์ สุข
ในสวรรค์ไม่สุขเท่าสุขในพระนิพพานฉะนี้ ดังมี
ในเรื่องราวพระมหาชมพูบดีเป็นตัวอย่าง
เดิมทีมหาชมพูบดีนั้น ได้เสวยสุขในสิริราชสมบัติ
ในมนุษย์แล้วก็ไม่ยินดี เห็นสุขในสวรรค์ว่ายิ่งกว่า
ครั้นได้เห็นความสุขในพระนิพพาน อัน
เป็นบรมสุขกว่าสุขทั้งสองนั้นแล้ว ก็ทิ้งสุขทั้งสอง
นั้นเสีย
ความสุขทั้ง ๓ คือ มนุษย์ สวรรค์
พระนิพพาน นี้ ก็นัยเดียวกับธรรมทั้ง ๓ ประการ คือ
ปีติ สุข อุเบกขา เพราะฉะนั้น จึงสมกับพระบาลีว่า
“อุเปกฺขาสหคตา ธมฺมา” ดังนี้ แก้ไขมาในมาติกา
บทที่ ๒๑ ก็ยุติไว้เพียงเท่านี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2014, 11:48 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๒๒ “ทสฺสเนน ปหาตพฺพา ธมฺมา”
ลำดับนี้ จักได้แสดงใน ติกมาติกา
บทที่ ๒๒ สืบต่อไป โดยนัยพระบาลีว่า “ทสฺสเนน
ปหาตพฺพา ธมฺมา” เป็นต้น แปลว่า ธรรม
ทั้งหลายอันบุคคลจะพึงละกิเลส เพราะเหตุที่ได้เห็น
ดังนี้ มีความอธิบายว่า
จิตที่ฟุ้งซ่านไปตามอารมณ์ต่าง ๆ นั้น ครั้นได้เห็น
เข้าแล้ว ก็เกิดความสังเวชสลดใจ จึงละกิเลสได้
เหมือนดังบัณฑิตสามเณร เมื่อได้เห็นผมของตนเอง
แล้ว ก็บังเกิดปัญญา พิจารณาเป็นอสุภะ
ว่าผมของเราไม่งาม ผมของผู้อื่นก็เหมือนกัน
พระอรหัตต์ก็บังเกิดขึ้นปรากฏดังนี้ พระสักกวาที
จึงถามขึ้นว่า บุคคลที่ละกิเลสได้เพราะได้เห็นนั้น
ก็เห็นอยู่ด้วยกันโดยมาก ก็เหตุใดเล่า พวกเราเห็น
กันอยู่ทุกวันนี้จึงละกิเลสไม่ได้ หรือการที่เห็นนั้น
จะมีนัยต่างกันอย่างไร พระปรวาทีจึงวิสัชชนาว่า
การเห็นนั้นมีนัยที่ต่างกัน ที่เห็นแล้วให้เกิดกิเลสก็มี
ที่เห็นแล้วละกิเลสได้ก็มี สุดแล้วแต่เหตุที่เห็น
ถ้าเห็นของที่งาม ที่ชอบใจ ก็ทำให้บังเกิดกิเลสได้
เพระเหตุนั้น สมเด็จพระบรมศาสดา จึง
ได้ทรงตรัสสอนหมู่พุทธบริษัทว่า “อสุภานุปสฺสึ
วหรนฺตํ” ดังนี้ ก็เพื่อพระพุทธประสงค์จะให้อยู่ด้วย
ความเห็นซึ่งอารมณ์อันไม่งาม เพราะฉะนั้นจึงสม
กับพระบาลีว่า “ทสฺสเนน ปหาตพฺพา ธมฺมา” ฉะนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2014, 12:01 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๒๓ “ภาวนาย ปหาตพฺพา ธมฺมา”
ในบทที่ ๒๓ ว่า “ภาวนาย
ปหาตพฺพา ธมฺมา” แปลว่า ธรรม
ทั้งหลายอันบุคคลจะพึงละกิเลสได้
เพราะการที่ภาวนา ภาวนานั้นมีอยู่ ๓ ประการ
คือ ปริกัมมภาวนา ละกิเลสอย่างหยาบ
ได้ประการหนึ่ง อุปจารภาวนา
ละกิเลสอย่างกลางได้ประการหนึ่ง
อัปปนาภาวนา ละกิเลสอย่างละเอียด
ได้ประการหนึ่ง เมื่อจะชี้บุคคลที่ท่านละกิเลสให้เห็น
และยังธรรมวิเศษให้บังเกิดขึ้นได้
ด้วยอำนาจแห่งการภาวนาทั้ง ๓ ประการนี้ มีอยู่
โดยมากเป็นอเนกประการ เช่นกับพระภิกษุ
ได้เห็นฟันของสตรี หรือพระนางรูปนันทาที่
ได้เห็นนิมิตที่งามดีกว่ารูปของตน หรือพระปัจเจกโพธิ
ทั้ง ๕๐๐ องค์ที่ได้เห็นดอกบัวร่วงโรยลง
นี่แลเรียกว่าภาวนา โดยความอธิบายว่า
ปัญญาที่หยาบ ก็ละกิเลสอย่างหยาบได้
ปัญญาอย่างกลาง ก็ละกิเลสอย่างกลางได้
ปัญญาอย่างละเอียด ก็ละกิเลสอย่างละเอียดได้
ภาวนานั้น ประสงค์เอาความว่า ให้รู้จักชั่ว รู้จักดี
กำจัดความชั่วให้หมดไป กระทำความดี
ให้บังเกิดขึ้นมีในตน ดังนี้เรียกว่าภาวนา เพราะฉะ
นั้นจึงสมกับพระบาลีว่า “ภาวนาย ปหาตพฺพา
ธมฺมา” ฉะนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2014, 12:09 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๒๔ “เนวทสฺสเนน นภาวนาย ปหาตพฺพา ธมฺมา”
ในบทที่ ๒๔ ว่า “เนวทสฺสเนน
นภาวนาย ปหาตพฺพา ธมฺมา” นี้ แปลว่า ธรรม
ทั้งหลายอันบุคคลจะพึงละได้ด้วยเหตุที่ไม่ได้เห็น และ
ไม่ใช่หนทางภาวนานั้น โดยความอธิบายว่า
ธรรมทั้งหลายที่ละกิเลสไม่ได้ด้วยนิสัย เปรียบเหมือน
กับทุกุลบัณฑิต เห็นก็ไม่ได้เห็น ภาวนาก็ไม่
ได้ภาวนา เป็นแต่กระทำความในใจไม่ให้ยินดี
ในกามคุณ ดุจบุคคลผู้มีอารมณ์ดี ไม่โลภ ไม่โกรธ
ไม่หลง เป็นแต่เฉย ๆ อยู่ เพราะฉะนั้นจึงว่า
เป็นไปตามนิสัย บุคคลที่จะละกิเลสได้ด้วยเหตุที่
ไม่ภาวนา เป็นแต่กระทำความไม่ยินดีในกามคุณ
เช่นกับทุกุลบัณฑิตนั้น ก็หาได้โดยยากยิ่งนัก
เพราะเหตุนั้นจึงสมกับพระบาลีว่า “เนวทสฺสเนน
นภาวนาย ปหาตพฺพา ธมฺมา” ดังนี้ ได้แก้ไข
ในติกมาติกา บทที่ ๒๔ ก็ยุติไว้แต่เพียงเท่านี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2019, 19:10 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2863


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 26 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 6 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร