วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 08:43  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 284 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 13, 14, 15, 16, 17, 18, 19  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2014, 16:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มังกรน้อย
มักออกมาแนว นี้

การสนทนา ยากแก่การทำความเข้าใจ
ก็พยายามอธิบาย ตามความรู้ความเห็นที่มีอยู่

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2014, 17:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ธ.ค. 2009, 00:22
โพสต์: 223

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ข้อความลิ้งแรกควรอ่านก่อนครับ) :b46: ก่อนอ่านลิ้งที่สอง อนุโมทนาครับ :b8: :b46:

๗. จูฬตัณหาสังขยสูตร
ว่าด้วยข้อปฏิบัติธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา
[๔๓๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทแห่งมิคารมารดา (มหาอุบาสิกาวิสาขา
ผู้เป็นดังว่ามารดาแห่งมิคารเศรษฐี) ในวิหารบุพพาราม เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ท้าวสักกะ
จอมเทพ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นยืนเรียบร้อยแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กล่าวโดยย่อ ด้วยข้อ
ปฏิบัติเพียงเท่าไร ภิกษุชื่อว่าน้อมไปแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นแห่งตัณหา มีความสำเร็จล่วงส่วน
มีความปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่องประกอบล่วงส่วน เป็นพรหมจารีล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วน
เป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย?
[๔๓๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรจอมเทพ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้สดับว่า ธรรม
ทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น ถ้าข้อนี้ ภิกษุได้สดับแล้วอย่างนี้ ภิกษุนั้นย่อมรู้ยิ่งซึ่งธรรมทั้งปวง ครั้นรู้
ยิ่งซึ่งธรรมทั้งปวงแล้ว ย่อมทราบชัดธรรมทั้งปวง ครั้นทราบชัดธรรมทั้งปวงแล้ว ย่อมกำหนดรู้ธรรม
ทั้งปวง ครั้นกำหนดรู้ธรรมทั้งปวงแล้ว เธอได้เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี
มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี เธอย่อมพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง พิจารณาเห็นความหน่าย พิจารณาเห็น
ความดับ พิจารณาเห็นความสละคืนในเวทนาทั้งหลายนั้น เมื่อพิจารณาเห็นดังนั้น ย่อมไม่ยึด
มั่นสิ่งอะไรๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่สะดุ้งหวาดหวั่น เมื่อไม่สะดุ้งหวาดหวั่น ย่อมดับ
กิเลสให้สงบได้เฉพาะตัว และทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำ
เสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้ ดูกรจอมเทพ กล่าวโดยย่อ ด้วยข้อปฏิบัติเท่านี้แล
ภิกษุชื่อว่าน้อมไป ในธรรมเป็นที่สิ้นแห่งตัณหา มีความสำเร็จล่วงส่วน มีความปลอดโปร่ง
จากกิเลสเป็นเครื่องประกอบล่วงส่วน เป็นพรหมจารีล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วน เป็นผู้ประเสริฐ
กว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.
ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพ ชื่นชม ยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ถวายอภิวาท
พระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณและหายไปในที่นั้นนั่นเอง.
............................
............................
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 915&Z=8040


ข้อมูลเพิ่มเติมลิ้งที่สองครับ(อยู่ช่วง อุปายสูตร พีชสูตร อุทานสูตร)แต่สูตรอื่นที่อยู่ในหน้านั้นก็น่าอ่านและน่าสนใจมาก

http://www.tripitaka91.com/91book/book27/101_150.htm


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2014, 17:21 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณเช่นนั้น
เช้านี้นั่งสมาธิ เป็นดังคุณเช่นนั้น แนะแนวปฏิบัติมาเลยค่ะ
ตามธรรมชาติจริงๆนะ
:b19: :b19:
พอนั่งหลับตารู้ลมหายใจ จนเกิดปิติ ก็รู้ พิจารณาอยู่อย่างนั้นได้นาน
สักพักก็รู้สุข ก็พิจารณาอยู่อย่างนั้นได้นาน
เป็นดังนี้เลย สลับไปมา
:b17: :b17:
แต่ มีอีกสภาวะหนึ่งด้วยค่ะ เฉยๆ
Kiss


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2014, 17:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


idea เขียน:
คุณเช่นนั้น
เช้านี้นั่งสมาธิ เป็นดังคุณเช่นนั้น แนะแนวปฏิบัติมาเลยค่ะ
ตามธรรมชาติจริงๆนะ
:b19: :b19:
พอนั่งหลับตารู้ลมหายใจ จนเกิดปิติ ก็รู้ พิจารณาอยู่อย่างนั้นได้นาน
สักพักก็รู้สุข ก็พิจารณาอยู่อย่างนั้นได้นาน
เป็นดังนี้เลย สลับไปมา
:b17: :b17:
แต่ มีอีกสภาวะหนึ่งด้วยค่ะ เฉยๆ
Kiss

เดินตามแนวที่พระพุทธองค์แนะนำมาครับ
เช่นนั้น เพียงนำมาโดยลำดับ
ศึกษาอย่างนี้อีกสักสองวันดีไหมครับ
จะได้ไปต่อ ลำดับที่ 7-8
ในเวทนานุปัสสนา ไปเร็วไปเด๋วจะสับสน : ))

สภาวะเฉยๆ จะเป็นของแถมที่มากับ รู้สุข ในตติยฌานจิตครับ
ความแตกต่างระหว่าง ปิติสุข กับ สุขใจ จึงต่างกันตรงของแถมนี้ : ))

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2014, 17:50 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณเอกอน
ไม่ขัดจังหวะค่ะ ยินดีค่ะ มีเพื่อนเยอะดี เข้ามาทักทายกันบ้างนะคะ
Kiss


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2014, 12:28 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วันนี้ปฏิบัติเหมือนเดิม คงสภาวะเหมือนเมื่อวาน
แต่ระหว่างที่พิจารณาปิติ สุขทางกาย
เกิดรู้สึกขึ้นมาว่า สุขทางกายนี้สุขแท้แต่ควบคุมไม่ๆได้
พอสภาวะสุข พิจารณาสุข
เกิดรู้สึกขึ้นมาว่า
สุขนี้มีมากมีน้อย ไม่แน่นอน

ตอนพิจารณา นี่ไม่ได้คิดอะไรเลยจริงๆนะคะ รู้อยู่ที่ลมและพอเกิดสภาวะเข้ามาก็แค่รู้ในสภาวะนั้นไปด้วย
แต่เหมือน จู่ก็รู้สึกขึ้นมาเอง แต่ก็ปล่อยผ่านนะคะไม่ไดยึดติด ยังคงตั้งมั่นในลม และพิจารณาสภาวะที่เข้ามา
Kiss


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2014, 13:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


idea เขียน:
วันนี้ปฏิบัติเหมือนเดิม คงสภาวะเหมือนเมื่อวาน
แต่ระหว่างที่พิจารณาปิติ สุขทางกาย
เกิดรู้สึกขึ้นมาว่า สุขทางกายนี้สุขแท้แต่ควบคุมไม่ๆได้
พอสภาวะสุข พิจารณาสุข
เกิดรู้สึกขึ้นมาว่า
สุขนี้มีมากมีน้อย ไม่แน่นอน

ตอนพิจารณา นี่ไม่ได้คิดอะไรเลยจริงๆนะคะ รู้อยู่ที่ลมและพอเกิดสภาวะเข้ามาก็แค่รู้ในสภาวะนั้นไปด้วย
แต่เหมือน จู่ก็รู้สึกขึ้นมาเอง แต่ก็ปล่อยผ่านนะคะไม่ไดยึดติด ยังคงตั้งมั่นในลม และพิจารณาสภาวะที่เข้ามา
Kiss

ให้ คุณ idea ทำความสังเกตุ ลึกลงไปอีก
ดังนี้
ปิติแห่งลมหายใจเข้าออกยาว สั้น หยาบ ละเอียด
สุขแห่งลมหายใจเข้าออก ยาวสั้น หยาบ ละเอียด

แม้ปิติ ก็มีความแตกต่างกัน เพราะเวทนาความรู้สึก สุขกายสุขใจ แตกต่างกัน
ในความรู้สึกสุขใจที่ละเอียดอ่อนกว่า รู้สึกชัดขึ้นเมื่อปิติทางกายระงับไป

ความสำคัญมั่นหมายในแต่ละเวทนา ความรู้สึกสุขกายสุขใจ นั้นเป็นความจำหมายอันเนื่องด้วยความแตกต่างแห่งความรู้สึกนั้น.

ผัสสะ จึงเป็นปัจจัยแก่เวทนา และเวทนาจึงเป็นปัจจัย ความจำหมาย(สัญญา)... ที่ลมหายใจออกเข้า
ผัสสะ เป็นปัจจัยแก่เวทนา...ที่ลมหายใจออกเข้า
ผัสสะ เป็นปัจจัยแก่สัญญา...ที่ลมหายใจออกเข้า

ความรู้สึกชัดถึงเวทนา และสัญญา จึงมีด้วยประการดังนี้.

พิจารณาสังเกตุให้ชัด จนถ้ามีความคิดฟุ้งซ่านไปเรื่องอื่นใด ก็ให้หยุดพิจารณาและ ทำความสงบรู้ลมหายใจออกเข้าเหมือนเดิม.

ในขั้นที่ 5-6 จึงเป็นเรื่องการศึกษา ของเวทนา ความรู้สึก ปิติ สุข และความระงับสงบ(ปัสสัทธิ).
พอพ้นจากชั้นนี้ ก็เข้าใกล้การศึกษาเรื่อง ที่เกี่ยวกับจิตครับ.

สัญญา ต่างๆ ที่มีอยู่เป็นอยู่ และมีอิทธิพลต่อความรู้สึกเรา มีเวทนาเป็นสำคัญครับ.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2014, 14:19 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณเช่นนั้น
ไม่ค่อยเข้าใจค่ะ
จะพยายามทำความเข้าใจค่ะ
s002
:b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2014, 14:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


idea เขียน:
คุณเช่นนั้น
ไม่ค่อยเข้าใจค่ะ
จะพยายามทำความเข้าใจค่ะ
s002
:b12: :b12:

เป็นเรื่องละเอียดขึ้นครับ
ด้วยว่ากำลังลงไปสู่สำคัญในการศึกษา อริยสัจจ์ ครับ
ความกังวล ความรำคาญ ความฟุ้งซ่าน ความอาลัยอาวรณ์ ความกลัว ฯลฯ
ล้วนมีผัสสะ มีเวทนา มีสัญญา เป็นปัจจัยสำคัญครับ.

เหตุที่ไม่กำหนดให้ศึกษาทุกขเวทนา เพราะเรามักผลักออก ครับ
และการศึกษาที่สุขเวทนา เราละมันได้ยากกว่าด้วยครับ

การใส่ใจเอาสุขเวทนาเป็นที่ตั้งแห่งการศึกษา จะเป็นความสบายแก่การศึกษาได้รอบครับ.
ขณะนี้ คุณ idea กำลัง ศึกษาธรรมที่ปรากฏในตัวในตนนี้ล่ะครับ เป็นห้องเรียน.
เพื่อนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2014, 07:34 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue สวัสดีค่ะ
หายไปวันหนึ่ง เมื่อวานไม่สบายมากค่ะ นอนซมปวดท้องซ้ายทั้งวัน
เป็นต่อเนื่องมาเกือบ10วันละ มีวันนี้แหละที่เป็นตลอดเวลา ไปหาหมอต่อเนื่องมา8วัน
กลับเจ็บมากขึ้นอีกค่ะ หมอบอกเป็นโรคกระเพาะ ยังไม่อยากเชื่อแล้วหละตอนนี้ เจ็บด้านสีข้างนะคะ
เริ่มจะอวดเก่งกว่าหมอละ cry นิสัยเดิมๆ
ที่อยากจะเล่า คือระหว่างที่นอนเจ็บ มากๆนะคะ มีความคิดฟุ้งซ่านปรุงแต่งกลัวไปเรื่อย ว่าจะเป็นไรมาก
สลับกับเอาหลักธรรมมาคิดพิจารณาสังขารค่ะ ยื้อไปยื้อมา ได้บ้างไม่ได้บ้าง
มองเห็นวันนี้ได้แค่การพยายามปล่อยวางค่ะ
:b41: :b41: :b41:
แต่ช่วงเช้ายังรักษาการปฏิบัติเหมือนเคยนะคะ คุณเช่นนั้น
นั่งสมาธิ แต่สับสนค่ะ ระหว่างปิติ พิจารณาลมก็รู้ ระหว่างสุขพิจารณาลมก็รู้ ส่วนมากก็ลมระเอียดเบามาก
เหมือนจะคล้ายที่เป็นก่อนหน้านี้ ก็ไม่เชิง เพราะเหมือนไม่มีสติเต็มที่ แต่จะฟุ้งซ่านเรื่องใดก็ไม่ใช่
แต่มีแสงสว่างจ้า ปกติก็มีนะคะ แต่ไม่ไปสนใจ
สงสัย ว่าคราวนี้สนใจมากไปรึเปล่า เพราะรู้ได้ว่าบ่อยมาก จ้ามากๆขึ้นเรื่อยๆ
เป็นอารมณ์หลงตามดูรึเปล่าคะ ครามจริงปกติก็จะปล่อยไปแล้วกับเรื่องนี้ แต่ก็พอรู้ทันนะคะ
แต่ก็ตามดูสักพักก่อนถึงตัดมา แต่ก่อนคิดว่าหากได้เห็นแสงสว่างนี่ใช่ละค่ะจะอยู่เพลินกับแสงไป
แต่พอมาทำอย่างคุณเช่นนั้นแนะนำ เป็นขั้นตอน ถึงเข้าใจว่าการหลงตามดูเป็นยังไง
เพราะมันสงบเหมือนกัน เลยเคยคิดว่าใช่ แต่สติความรู้ตัวไม่เต็มที่เท่ากันค่ะ
อันนี้เข้าใจถูกใหม
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2014, 14:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


idea เขียน:
tongue สวัสดีค่ะ
หายไปวันหนึ่ง เมื่อวานไม่สบายมากค่ะ นอนซมปวดท้องซ้ายทั้งวัน
เป็นต่อเนื่องมาเกือบ10วันละ มีวันนี้แหละที่เป็นตลอดเวลา ไปหาหมอต่อเนื่องมา8วัน
กลับเจ็บมากขึ้นอีกค่ะ หมอบอกเป็นโรคกระเพาะ ยังไม่อยากเชื่อแล้วหละตอนนี้ เจ็บด้านสีข้างนะคะ
เริ่มจะอวดเก่งกว่าหมอละ cry นิสัยเดิมๆ
ที่อยากจะเล่า คือระหว่างที่นอนเจ็บ มากๆนะคะ มีความคิดฟุ้งซ่านปรุงแต่งกลัวไปเรื่อย ว่าจะเป็นไรมาก
สลับกับเอาหลักธรรมมาคิดพิจารณาสังขารค่ะ ยื้อไปยื้อมา ได้บ้างไม่ได้บ้าง
มองเห็นวันนี้ได้แค่การพยายามปล่อยวางค่ะ

ความเจ็บป่วยทางกาย ให้หมอรักษา เชื่อหมอ ^ ^ ปฏิบัติรักษาตัวตามแพทย์แนะนำครับ : ))

ระหว่างที่นอนเจ็บ กายก็อาพาธเจ็บๆป่วยๆ เพราะโรคภัยเบียดเบียน
แต่
เกิดความคิดฟุ้งๆ ซ่าน ปรุงแต่งจนกลัวขึ้นมา นั่นล่ะทุกข์สัจจ์ แท้จริง
เกิดขึ้นเพราะ ไม่อยากเป็นไรมาก อยากให้ปรกติ อันมีความไม่อยาก และอยากเป็นปัจจัย

ให้กำหนดที่รู้ลมหายใจ อย่าให้จิตไปคิดที่ไม่อยาก กับอยาก กำหนดที่รู้ลมเข้าลมออกตลอดเวลา
ให้กายที่อาพาธ ก็อาพาธไป ความเจ็บความป่วยมีเพราะโรคภัยเบียดเบียน
หากดูแลถูกต้องเมื่อถึงเวลาที่ โรคภัยหายเพราะการรักษาได้ผล ก็เป็นเช่นนั้นเองครับ
ร่างกายจะเป็นอย่างไร ก็ปล่อยไปกับการรักษานั้น.
แต่อย่าก่อความยึดอยู่ที่ ไม่อยากเจ็บ หรืออยากหาย จนกลายเป็นทุกข์ เป็นความกลัวขึ้นมาครับ
ภาวนาไปให้ใจสงบรู้อยู่ที่ลมหายใจเข้าออก ความเจ็บทางกายก็กลายเป็นสักว่าเจ็บครับ
จิตก็จะสงบลง ความกลัวก็ระงับเบาบางลงครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2014, 15:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


idea เขียน:
แต่ช่วงเช้ายังรักษาการปฏิบัติเหมือนเคยนะคะ คุณเช่นนั้น
นั่งสมาธิ แต่สับสนค่ะ ระหว่างปิติ พิจารณาลมก็รู้ ระหว่างสุขพิจารณาลมก็รู้ ส่วนมากก็ลมระเอียดเบามาก
เหมือนจะคล้ายที่เป็นก่อนหน้านี้ ก็ไม่เชิง เพราะเหมือนไม่มีสติเต็มที่ แต่จะฟุ้งซ่านเรื่องใดก็ไม่ใช่
แต่มีแสงสว่างจ้า ปกติก็มีนะคะ แต่ไม่ไปสนใจ
สงสัย ว่าคราวนี้สนใจมากไปรึเปล่า เพราะรู้ได้ว่าบ่อยมาก จ้ามากๆขึ้นเรื่อยๆ
เป็นอารมณ์หลงตามดูรึเปล่าคะ ครามจริงปกติก็จะปล่อยไปแล้วกับเรื่องนี้ แต่ก็พอรู้ทันนะคะ
แต่ก็ตามดูสักพักก่อนถึงตัดมา แต่ก่อนคิดว่าหากได้เห็นแสงสว่างนี่ใช่ละค่ะจะอยู่เพลินกับแสงไป
แต่พอมาทำอย่างคุณเช่นนั้นแนะนำ เป็นขั้นตอน ถึงเข้าใจว่าการหลงตามดูเป็นยังไง
เพราะมันสงบเหมือนกัน เลยเคยคิดว่าใช่ แต่สติความรู้ตัวไม่เต็มที่เท่ากันค่ะ
อันนี้เข้าใจถูกใหม
:b8: :b8: :b8:

คุณ idea สับสนไปมา ต่อปิติ และสุข
เพราะจิต รู้จัก ปิติ กับสุข ว่ามีความแตกต่างกัน จึงพยายามทำความสังเกตุเรื่อยๆ
จนขณะที่ รู้ลมหายใจละเอียดนั้น ปิติไม่ปรากฏ แต่ก็ไปวิตกคือคิดที่ปิติ มองหาปิติในขณะลมหายใจละเอียดมาก

ตรงนี้ดีครับ ทำให้คุณ idea ทำความศึกษาต่อไป ให้รู้จัก วิตก คือความคิด ซึ่งเกิดจากเวทนา และสัญญาเป็นปัจจัย

ถ้า เราๆท่านๆ ไม่มีเวทนา สัญญาก็ย่อมมีไม่ได้ครับ เราเชื่อมโยง เวทนาเราเข้ากับสิ่งที่เราสัมผัส การเชื่อมโยงด้วยการสำคัญความแตกต่าง ความรู้สึกต่างๆ เป็นสัญญา

เช่น คุณ idea เชื่อมโยง ความสุข ต่างๆ กับความรู้ลมเข้าลมออก จนจำได้ถึงปิติ สัญญาเกิดว่าปิติ
การใส่ใจลงไปที่ ปิติ คือ คิดที่ปิติ ยกปิติขึ้นมาสู่จิต เรียกว่า ก่อวิตกขึ้นมา ก่อความคิดขึ้นมา
พอลมหายใจละเอียดขึ้นๆ ปิติมันหายไปโดยธรรมชาติ แต่จิตวิตกอยู่ จึงค้นหาครับ.
(การค้นหาสุข ก็เป็นไปด้วยอาการเดียวกัน เพราะคิดวิตก คำนึงไปถึง ตริถึง ดำริถึง)

คุณ idea จะสังเกตุสภาวะธรรมที่แยกกันได้ตรงนี้ครับ ว่า
สัญญา เป็นปัจจัยแก่วิตก
ซึ่งคนเราจะคิดจะนึกจะกังวล จะกลัวอะไรก็ตาม ก็เพราะ วิตก คือความคิดนี่เอง
ความคิดนี้ เป็นส่วนของจิต ซึ่งอาศัยความจำได้หมายรู้ และความรู้สึก สุข ทุกข์ อทุกขมสุข ก่อร่างสร้างขึ้น
วิตก จะบันเทาลงไป เมื่อเวทนาระงับลง
เมื่อกำหนดรู้ลมหายใจละเอียดขึ้นๆ สุขอันละเอียดขึ้นๆ ก็จะระงับวิตก ความคิดต่างๆ ได้

Quote Tipitaka:
ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตสังขารหายใจเข้า.
ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับจิตสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับจิตสังขารหายใจเข้า.


คุณ idea ทำความศึกษา ในชั้นที่ 7 คือ
ทำความสังเกตุ ว่า
ผัสสะเป็นปัจจัยแก่เวทนา
เวทนาเป็นปัจจัยแก่สัญญา
สัญญาเป็นปัจจัยแก่วิตก

ความรู้สึกสุขปรากฏทางกาย
จำได้ว่าปิติ
คำนึงถึงปิติ

ความรู้สึกสุขอันละเอียดขึ้นปรากฏ เมื่อลมหายใจละเอียดปรากฏ
จำได้ว่า สุขอันไม่อาศัยปิติ
คำนึงถึงสุขนั้น

ในชั้น ที่ 8
เมื่อแยกแยะได้ชัดเจน และต้องการพักเพื่อให้ใจสงบ
ก็ให้ระงับวิตก
ด้วยการกำหนดรู้ลมหายใจอันละเอียด กายสงบระงับ ไม่ใส่ใจวิตกครับ

ก็เป็นอันเข้าสู่การเรียนรู้ ความคิด ความคำนึง ความตรึก
เมื่อเข้าใจเรื่องวิตก จิตก็จะหายสับสน ระหว่างสภาวะที่กำลังศึกษาอยู่ครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 23 ก.ค. 2014, 15:32, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2014, 15:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


idea เขียน:
แต่มีแสงสว่างจ้า ปกติก็มีนะคะ แต่ไม่ไปสนใจ
สงสัย ว่าคราวนี้สนใจมากไปรึเปล่า เพราะรู้ได้ว่าบ่อยมาก จ้ามากๆขึ้นเรื่อยๆ
เป็นอารมณ์หลงตามดูรึเปล่าคะ ครามจริงปกติก็จะปล่อยไปแล้วกับเรื่องนี้ แต่ก็พอรู้ทันนะคะ
แต่ก็ตามดูสักพักก่อนถึงตัดมา แต่ก่อนคิดว่าหากได้เห็นแสงสว่างนี่ใช่ละค่ะจะอยู่เพลินกับแสงไป
แต่พอมาทำอย่างคุณเช่นนั้นแนะนำ เป็นขั้นตอน ถึงเข้าใจว่าการหลงตามดูเป็นยังไง
เพราะมันสงบเหมือนกัน เลยเคยคิดว่าใช่ แต่สติความรู้ตัวไม่เต็มที่เท่ากันค่ะ
อันนี้เข้าใจถูกใหม
:b8: :b8: :b8:

จิตเกิดความสับสน ไปกับวิตก คือวิตกที่ปิติ และสุข
ก่อให้เกิดอันตรายแก่สมาธิ
จิตจึงวิตกกับสิ่งที่เคยมีสัญญาในอดีตที่เคยเนื่องกับสุขเวทนาอยู่ครับ
สติจึงเคลื่อนไปจากรู้ลมหายใจไปเกาะที่แสงสว่างนั้น

พอกำหนดได้ถึง เหตุปัจจัยของวิตกได้ จิตก็จะตั้งสติได้เร็วขึ้น
ความหลงไปกับแสงสว่างถึงรู้ก็ไม่ตามไปแล้วครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2014, 17:15 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณเช่นนั้น
ขอบคุณมากๆค่ะ
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2014, 09:39 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณเช่นนั้น
วันนี้ทำสมาธิ ศึกษา
ผัสสะ ทำให้เกิดเวทนา ก่อสัญญา แล้ววิตก มาถึงตรงนี้คือทุกข์ใช่ใหม
หากเรารู้เท่าทันผัสสะ ละได้ตั้งแต่จะมากระทบ เวทนา สัญญา วิตกก็จะไม่เกิด ใช่รึเปล่า
ขอขยายคำว่าผัสสะ ให้พอเข้าใจง่ายๆ ชัดเจน หน่อยค่ะ Kiss
:b41: :b41: :b41: :b48: :b48: :b48:
วันนี้ระหว่างนั่งสมาธิ มีความสงบดีคะ จนถึงลมหายใจละเอียดเบามากก็เป็นอย่างนั้นคงที่เรื่อย มีสติรู้ตัวเต็มที่
ด้านสภาวะ มีปิติก็ศึกษาตามที่แนะ ก็ไม่นานจะสุข สลับกัน แต่สุขนานกว่า เมื่อสุขละเอียดขึ้นเรื่อยๆ
ท้ายๆจะอยู่ในสภาวะสุขก็ไม่ใช่ ไม่สุขก็ไม่ใช่ ร่างกายจะหายก็ไม่ใช่เหมือนจะไม่มีแต่ระลึกได้อยู่
เสียงก็ยังได้ยิน แต่ไม่รำคาญ ไม่ใส่ใจค่ะ คงอยู่สภาวะนี้ได้นาน
วันนี้มีงานยุ่ง เลยตั้งใจไว้แค่30นาที ก็ตรงเวลาไม่ตกหล่นเลย
:b16: :b16: :b16:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 284 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 13, 14, 15, 16, 17, 18, 19  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 7 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร