วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 14:05  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 78 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2014, 13:39 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แผ่เมตตาใหญ่วันละ ๓ ครั้ง
ท่านเล่าว่า ท่านแผ่เมตตาใหญ่ในรอบ
๒๔ ชั่วโมงต่อ ๓ ครั้ง คือ
เวลากลางวันตอนบ่ายขณะนั่งภาวนาหนึ่งครั้ง
ตอนก่อนนอนหนึ่งครั้ง ตอนตื่นนอนหนึ่งครั้ง
ส่วนการแผ่เมตตาปลีกย่อยประจำนิสัยนั้น มิ
ได้นับอ่านว่าวันหนึ่งกี่สิบครั้ง ท่านแผ่เมตตาใหญ่
ท่านว่ากำหนดจิตให้ดำรงตัวอยู่เฉพาะ
แล้วกำหนดกระแสใจให้แผ่ซ่านออกไป
ทั่วโลกธาตุเบื้องบนเบื้องล่าง ทั่วทุกทิศทุกทาง
ไม่มีว่างเว้น ปรากฏว่าจิตในขณะนั้นมีอำนาจแผ่รัศมี
และแสงสว่างออกไปทั่วพิภพ ไม่มีที่สิ้นสุด และ
ไม่มีอะไรมาปิดบังได้เลย
ยิ่งกว่าแสงพระอาทิตย์กี่ร้อยกี่พันดวงเป็นไหน ๆ
และไม่มีอะไรจะทรงแสงสว่างเสมอด้วยใจที่
ได้ชำระอย่างเต็มภูมิแล้ว คุณสมบัติซึ่งแสดงออก
จากจิตที่บริสุทธิ์สิ้นเชิงแล้ว ย่อมทำให้โลกสว่าง
และมีความร่มเย็นอย่างอัศจรรย์ที่บอกไม่ถูก
เพราะไม่มีพิษสงแม้น้อยเจือปนอยู่ มีแต่คุณธรรมคือ
ความเย็นล้วน ๆ ดำรงอยู่ในดวงใจ ท่านผู้มีเมตตาจิต
และมีใจบริสุทธิ์สะอาดไปอยู่ ณ ที่ใด
มนุษย์เทวดาอารักษ์ย่อมเคารพเลื่อมใส
ตลอดสัตว์เดียรัจฉานก็ไม่ระเวียงระวังว่าจะ
เป็นภัยต่อเขา เพราะจิตท่านอ่อนนิ่มไปทั้งดวง
ด้วยเมตตาที่มีอยู่ประจำตลอดเวลา
ไม่นิยมกาลสถานที่ บุคคล และกำเนิดสูงต่ำ
เหมือนฝนตกลงสู่พื้นพิภพ
ไม่นิยมว่าสถานที่สูงต่ำประการใดฉะนั้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2014, 14:00 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คราวท่านกลับจากอุบลฯ
ทีแรกท่านมาจำพรรษาที่บ้านหนองลาด
อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร
มีพระเณรติดตามมาศึกษาปฏิบัติด้วย
เป็นจำนวนมากมาย ประชาชนหญิงชายพา
กันตื่นเต้นมาก ประหนึ่งท่านผู้มีบุญมาเกิด แต่มิ
ได้ตื่นเต้นแบบมงคลตื่นข่าว
หากแต่ตื่นเต้นเพื่อละชั่วทำดี ละการนับถือผีไหว้เจ้า
กราบพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์แทนเท่า
นั้น
พอออกพรรษาแล้ว
ท่านออกเที่ยวธุดงค์ไปเรื่อย ๆ มาทางจังหวัดอุดรธานี
ไปอำเภอหนองบัวลำภูบ้าง อำเภอบ้านผือ
และจำพรรษาที่บ้านค้อบ้าง
ไปอำเภอท่าบ่อจำพรรษาที่นั้น
ในเขตจังหวัดหนองคายบ้าง พัก
อยู่สองจังหวัดนี้นานพอควร สถานที่ที่ท่านพักบำเพ็ญ
โดยมากมีแต่ป่าแต่เขาดังกล่าวแล้ว หมู่บ้านก็มีอยู่ห่าง
ๆ กัน ในสมัยโน้นไม่แออัดด้วยผู้คน
และบ้านเรือนเหมือนสมัยนี้ การอบรมสั่งสอนก็ง่าย
ป่าก็เป็นป่าจริง ๆ เต็มไปด้วยหมู่ไม้ใหญ่ ๆ สูง
ไม่มีใครทำลาย สัตว์ป่าก็ชุกชุม
พอตกกลางคืน
ได้ยินแต่เสียงสัตว์ชนิดต่าง ๆ ร้องไปตามภาษาของเขา
ฟังแล้วทำให้เพลิดเพลินไปตามด้วยความเมตตา
และสนิทสนม เพราะเสียงสัตว์ไม่ค่อย
เป็นข้าศึกต่อการบำเพ็ญสมณธรรม ผิด
กับเสียงมนุษย์อยู่มาก ท่านว่า ทั้งนี้อาจเป็นเพราะเรา
ไม่เข้าใจความหมายของเสียงก็เป็นได้ ส่วนเสียงมนุษย์
ไม่ว่าจะพูดสนทนากันธรรมดา ไม่ว่า
จะขับลำทำเพลงกัน ไม่ว่าจะทะเลาะวิวาทกัน ไม่ว่า
จะแสดงความสนุกรื่นเริงกัน
เพียงแต่เริ่มแสดงออกก็เริ่มเข้าใจ
ความหมายไปตามทุก ๆ คำและทุก ๆ ระยะ จึงทำให้
ไม่ค่อยสะดวกนัก
ในเวลามีเสียงคนมากระทบขณะทำสมาธิภาวนา ยิ่ง
เป็นเสียง อิตฺถี สทฺโท ด้วยแล้ว ก็ยิ่งเพิ่ม
ความทิ่มแทงมากขึ้น ถ้าสมาธิไม่ดีพอ
มีหวังล้มละลายได้อย่างง่ายดาย
แต่ต้องขออภัยจากท่านเจ้าของเสียงนี้มาก
ๆ ที่เขียนนี้มิได้มุ่งเพื่อจะตำหนิท่านผู้
เป็นเจ้าของเสียงแต่อย่างใด แต่เขียนไปตามความไม่
เป็นท่าของนักภาวนาต่างหาก เพื่อจะได้สติฮึดสู้บ้าง
พอมีทางเอาตัวรอดได้ ไม่หมอบยอมแพ้ราบ
อยู่ท่าเดียว ที่ท่านชอบพักอยู่ในป่าในเขาอาจมี
ส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องทำนองนี้อยู่บ้าง เพื่อหลบภัย
และเพื่อบำเพ็ญคุณงามความดีให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป
ไม่ล่าถอย จนถึงที่สุดอันเป็นจุดหมายปลายทางของ
ผู้ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อธรรมขั้นนั้น
ท่านพระอาจารย์มั่นท่านชอบอยู่ในป่าใน
เขาตลอดมาจนถึงวันมรณภาพ จึงได้ธรรมอัน
เป็นขวัญใจมาฝากพวกเราอย่างภูมิใจ
ท่านเล่าว่า
เวลาท่านกำลังบำเพ็ญ ถ้าเป็นโรคก็
เป็นประเภทชีวิตไม่ยังเหลือค้างโลกให้ใคร ๆ
ได้เห็นต่อไป เพราะมีแต่การฝึกทรมานทั้งกาย
ทั้งใจตลอดไป ไม่มีวันจะ
ได้ลืมตาอ้าปากพูดอย่างสนุกรื่นเริงเหมือนท่านผู้
อื่นบ้างเลย เพราะกิเลสกับใจมันไวต่อการติดพัน
กันจนมองไม่ทัน เผลอตัวบ้างไม่ได้เลย เป็น
ได้เรื่องทันที แต่พอมันติดพันใจได้แล้ว แก้หรือถอน
ไม่ยอมออกอย่างง่าย ๆ มีแต่จะพันให้แน่นเข้าทุกที
อันนี้แลที่จะทำให้เผลอตัวไม่ได้ ต้องจ้อง ต้องมอง
ต้องคอยจองจำทำโทษมันอยู่เสมอ ไม่ยอม
ให้มีกำลังขึ้นมาได้ เดี๋ยวมันมัดเรา
เข้าอีกมีหวังจอดจมแน่ ทำถึงขนาดนั้นจึงพอมีความสุข
และลืมตาได้บ้างเท่านั้น พอมีกำลังใจบ้างและ
ได้รับความสะดวกกายสบายใจก็
ได้วกมาสั่งสอนหมู่เพื่อน ต่อจากนั้นหมู่เพื่อน ทั้งพระ
ทั้งเณร ทั้งฆราวาส ไม่ทราบมาจากไหน ทางนั้นก็มา
ทางนี้ก็มา มาไม่หยุด และมาทุกทิศทุกทาง
บางครั้งจนไม่มีที่พักเพียงพอกัน เพราะมามากต่อมาก
ทั้งน่าสงสาร ทั้งน่าเห็นใจ ท่านว่า
บางครั้งก็ทำให้วิตกกับผู้อื่นเกี่ยวกับ
ความปลอดภัย ซึ่งมีผู้หญิงและชีนุ่งขาวไปเยี่ยม เช่น
คราวพักอยู่ในถ้ำบ้านนาหมี นายูง อำเภอบ้านผือ
จังหวัดอุดรธานี สมัยนั้นคนมีน้อย
และสัตว์เสือก็ชุกชุมมาก ถ้ำและบริเวณที่ท่านพักอยู่
เสือโคร่งใหญ่ ซึ่งมีอยู่หลายตัวในแถวนั้นเคย
เข้ามาบริเวณนั้นเสมอ ไม่เป็นที่ไว้ใจในชีวิตของ
ผู้ไปเยี่ยมท่านและค้างคืนที่นั้น เวลาเขาไปเยี่ยม ท่าน
ต้องสั่งให้ชาวบ้านหาไม้มาทำห้างสูง ๆ จนพ้น
จากปากเสือที่จะกระโดดขึ้นไปถึงที่คนที่หลับนอน
อยู่บนห้างนั้น เวลาค่ำคืนท่านห้ามไม่ให้ลงมาพื้นดิน
กลัวเสือจะโดดคาบเอาไปกิน แม้ปวดหนักปวดเบาก็
ให้เตรียมหาภาชนะขึ้นไปไว้ข้างบนด้วย
เพื่อสะดวกแก่การขับถ่ายในเวลาค่ำคืน เพราะแถว
นั้นเสือชุมมากและดุร้ายด้วย ผู้ที่ไปเยี่ยม ท่านไม่
ให้พักอยู่หลายวัน ต้องรีบพากันกลับ เสือแถบนั้น
ไม่ค่อยกลัวคนนัก ยิ่งเป็นผู้หญิงด้วยแล้วมันยิ่ง
ไม่กลัวเอาเลย หากพอทำอันตรายได้มันอาจทำ
แม้ชาวบ้านก็พูดเหมือนกันว่า เสือพวกนี้ไม่ค่อย
จะกลัวคนนัก
บางครั้งเวลากลางคืน
ท่านกำลังเดินจงกรมอยู่ โดยจุดเทียนไข
ใส่โคมไฟแขวนไว้ที่ทางจงกรม ยังเห็นเสือโคร่ง
ใหญ่เดินตามหลังฝูงควาย ที่พา
กันเดินผ่านมาที่พักท่านอย่างองอาจ ไม่กลัวท่าน
ซึ่งกำลังเดินจงกรมอยู่บ้างเลย
ฝูงควายที่ถูกเสือรบกวนมาก ต้องพากันกลับเข้าบ้าน
เสือยังกล้าเดินตามหลังฝูงควายมา
ได้ต่อหน้าต่อตาพระซึ่งก็เป็นคนผู้หนึ่งที่นั้น
พระที่ไปศึกษาอบรมกับท่านต้อง
เป็นพระที่เตรียมพร้อมทุกอย่างแล้ว ทั้ง
ความสละเป็นสละตายต่อการประกอบ
ความพากเพียรในสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งไม่เป็นที่แน่ใจ
และอาจมีภัยรอบด้าน ทั้งสละทิฐิมานะ
ความถือตัวว่ามีราคาค่างวด ซึ่งอวดรู้อวดฉลาด
อยู่ภายใน และสละทิฐิมานะต่อหมู่ต่อคณะ ประหนึ่ง
เป็นอวัยวะอันเดียวกัน จิตใจถึงจะมีความสงบสุข
การประกอบความเพียรก็มี เกิดสมาธิได้เร็ว
ไม่มีนิวรณ์มาขัดขวางถ่วงใจ
ในที่ถูกบังคับให้อยู่ในวงจำกัด เช่น
สถานที่กลัว ๆ อาหารมีน้อย ฝืดเคืองด้วยปัจจัย
สติกำกับใจไม่ลดละ
คิดอ่านเรื่องอะไรมีสติคอยสะกิดบังคับอยู่เสมอ ย่อม
เข้าสู่ความสงบได้เร็วกว่าเท่าที่ควรจะเป็น
เพราะข้างนอกก็มีภัย ข้างในก็มีสติคอยบังคับขู่เข็ญ
จิตซึ่งเปรียบเหมือนนักโทษก็ยอมตัวไม่คึกคะนอง
นอกจากนั้น ยังมีอาจารย์คอย
ใส่ปัญหาเวลาจิตคิดออกนอกลู่นอกทางอีกด้วย จิต
ซึ่งถูกบังคับด้วยเครื่องทรมานอยู่ตลอดเวลา
ทั้งข้างนอกข้างใน ย่อมกลายเป็นจิตที่ดีขึ้นได้อย่าง
ไม่คาดฝัน คือ กลางคืนซึ่งเป็นเวลากลัว ๆ
เจ้าของก็บังคับให้ออกเดินจงกรมแข่งกับความกลัว
ทางไหนจะแพ้จะชนะ ถ้าความกลัวแพ้ ใจก็เกิด
ความอาจหาญขึ้นมาและรวมสงบลงได้
ถ้าใจแพ้สิ่งที่แสดงขึ้นมาในเวลานั้นก็คือ
ความกลัวอย่างหนักนั่นเอง ฤทธิ์ของความกลัวคือ
ทั้งหนาวทั้งร้อน ทั้งปวดหนักปวดเบา ทั้งเหมือนจะ
เป็นไข้ หายใจไม่สะดวกแบบคนจะตายเราดี ๆ นี่เอง
เครื่องส่งเสริม
ความกลัวคือเสียงเสือกระหึ่ม ๆ อยู่ตามชายเขาบ้าง
ไหล่เขาบ้าง หลังเขาบ้าง พื้นราบบ้าง จะกระหึ่ม
อยู่ที่ไหนทิศใดก็ตาม ใจจะไม่คำนึงทิศทางเลย แต่
จะคำนึงอย่างเดียวว่าเสือจะตรงมากินพระองค์เดียว
ที่กำลังเดินจงกรมด้วยความกลัวตัวสั่นไม่เป็นท่าอยู่นี้
เท่านั้น แผ่นดินกว้างใหญ่ขนาดไหน ไม่ได้นึกว่าเสือ
เป็นสัตว์มีเท้าจะเที่ยวไปที่อื่น ๆ แต่คิดอย่างเดียวว่าเสือ
จะตรงมาที่ที่มีบริเวณแคบ ๆ เล็ก ๆ นิดเดียว
ซึ่งพระขี้ขลาดกำลังเดินวุ่นวายอยู่ด้วย
ความกลัวนี้แห่งเดียว การภาวนาไม่ทราบว่าไป
ถึงไหนมิได้คิดคำนึงเพราะลืมไปหมด
ที่จดจ่อที่สุดก็คือ คำบริกรรมโดยไม่รู้สึกตัว ว่า
ได้บริกรรมว่า เสือจะมาที่นี่ เสือจะมาที่นี่ อย่างเดียว
เท่านั้น จิตก็ยิ่งกำเริบด้วยความกลัว
เพราะการส่งเสริม
ด้วยคำบริกรรมแบบโลกแตก ธรรมก็เตรียม
จะแตกหากบังเอิญเสือเกิดหลงป่าเดินเปะปะมาที่
นั้นจริง ๆ ลักษณะนี้อย่างน้อยก็ยืนตัวแข็งไม่มีสติ
มากกว่านั้นเป็นอะไรไปเลยไม่มีทางแก้ไข
นี่คือการตั้งจิตไว้ผิดธรรม ผล
จะแสดงความเสียหายขึ้นมา ตามขนาดที่ผู้นั้นพาให้
เป็นไป
ทางที่ถูกที่ท่านสอน ให้ตั้งหลักใจไว้
กับธรรม จะเป็นมรณัสสติหรือธรรมบท
ใดบทหนึ่งในขณะนั้น ไม่
ให้ส่งจิตปรุงออกไปนำเอาอารมณ์ที่เป็นภัย
เข้ามาหลอกตัวเอง เป็นกับตายก็ตั้งจิตไว้
กับธรรมที่เคยบริกรรมอยู่เท่านั้น
จิตเมื่อมีธรรมเป็นเครื่องยึดจะไม่เสียหลัก และ
จะตั้งตัวได้ในขณะที่ทั้งกลัว ๆ นั่นแล จะกลาย
เป็นจิตที่อาจหาญขึ้นมาในขณะ
นั้นอย่างอัศจรรย์ที่บอกไม่ถูก
ท่านพระอาจารย์มั่นท่านสอน
ให้ตั้งหลักด้วยความเสียสละทุกสิ่งบรรดามีอยู่
กับตัว คือ ร่างกาย จิตใจ แต่มิ
ให้สละธรรมที่ตนปฏิบัติหรือบริกรรมอยู่
ในขณะนั้น จะเป็นอะไรก็ปล่อยให้
เป็นไปตามคติธรรมดา เกิดแล้วต้องตาย จะ
เป็นคนขวางโลกไม่ยอมตายไม่ได้ ผิดคติธรรมดา
ไม่มีความจริงใด ๆ มาชมเชยคนผู้มี
ความคิดขวางโลกเช่นนั้น
ท่านสอนให้เด็ดเดี่ยวอาจหาญ ไม่
ให้สะทกสะท้านต่อความตาย เกี่ยวกับสถานที่ที่
จะไปบำเพ็ญเพื่อหาความดีใส่ตัว
ดงหนาป่ารกชัฏมีสัตว์เสือชุมเท่าไรยิ่งสอนให้ไปอยู่
โดยให้เหตุผลว่า ที่นั้นแลจะ
ได้กำลังใจทางสมาธิปัญญา เสือจะได้ช่วย
ให้ธรรมเกิดในใจได้บ้าง เพราะคนเราเมื่อ
ไม่กลัวพระพุทธเจ้า ไม่เชื่อพระพุทธเจ้า
แต่กลัวเสือและเชื่อเสือว่าเป็นสัตว์ดุร้าย
จะมาคาบเอาไปเป็นอาหาร และช่วยไล่ตะล่อมจิต
เข้าสู่ธรรมให้ก็ยังดี จะได้กลัว
และตั้งใจภาวนาจนเห็นธรรม เมื่อเห็นธรรม
แล้วก็เชื่อพระพุทธเจ้าและเชื่อพระธรรมไปเอง
เมื่อเข้าสู่ที่คับขันแล้วจิตไม่เคยเป็นสมาธิก็จะเป็น
ไม่เคยเป็นปัญญาก็จะเป็นในที่เช่นนั้นแล
ใจไม่มีอะไรบังคับบ้าง มันขี้เกียจ
และตั้งหน้าสั่งสมแต่กิเลสพอกพูนใจ แทบ
จะหาบหามไปไม่ไหว ไปให้เสือ
ช่วยหาบขนกิเลสตัวขี้เกียจ
ตัวเพลิดเพลินจนลืมตัวลืมตายออกเสียบ้าง จะ
ได้หายเมาและเบาลง ยืนเดินนั่งนอนจะ
ไม่พะรุงพะรังไปด้วยกิเลสประเภทไม่เคยลง
จากบนบ่า คือหัวใจคน ที่ใดกิเลสกลัวท่านสอน
ให้ไปที่นั้น แต่ที่ที่กิเลสไม่กลัวอย่าไปเดี๋ยวเกิดเรื่อง
ไม่ได้ความแปลกและอัศจรรย์อะไรเลย นอก
จากกิเลสจะพาสร้างความฉิบหายใส่ตัวจนมอง
ไม่เห็นบุญบาปเท่านั้น ไม่มีอะไรน่าชมเชย
ท่านให้ความมั่นใจแก่นักปฏิบัติว่า
สถานที่ที่ไม่มีสิ่งบังคับบ้าง ทำความเพียรไม่ดี
จิตลงสู่ความสงบได้ยาก แต่สถานที่ที่เต็มไปด้วย
ความระเวียงระวังภัย ทำความเพียรได้ผลดี ใจก็
ไม่ค่อยปราศจากสติ ซึ่งเป็นทางเดินของความเพียร
อยู่ในตัวอยู่แล้ว ผู้หวังความพ้นทุกข์โดยชอบจึง
ไม่ควรกลัวความตายในที่ ๆ น่ากลัว มีในป่าในเขาที่
เข้าใจว่าเป็นสถานที่น่ากลัว เป็นต้น
เวลาเข้าสู่ที่คับขันจริง ๆ ขอให้ใจอยู่
กับธรรม ไม่ส่งออกนอกกายนอกใจ ซึ่งเป็นที่สถิต
อยู่ของธรรม ความปลอดภัย
และกำลังใจทุกด้านที่จะพึงได้ในเวลานั้น จะ
เป็นสิ่งที่ยอมรับกันไปในตัว อย่างไรก็ไม่ตายถ้าไม่
ถึงกาลตามกรรมนิยม แทนที่จะตายดัง
ความคาดหมายที่ด้นเดาไว้ ท่านเคยว่า ท่านได้กำลังใจ
ในที่เช่นนั้นแทบทั้งนั้น จึงชอบสั่งสอนหมู่เพื่อน
ให้มีใจมุ่งมั่นต่อธรรมในที่คับขัน จะสมหวังใน
ไม่ช้าเลย แทนที่จะทำไปแบบเสี่ยงวาสนาบารมีอัน
เป็นเรื่องเหลวไหลหลอกลวงตนมากกว่าจะเป็น
ความจริง เพราะความคิดเช่นนั้น ส่วนมากมัก
จะออกมาจากความอ่อนแอท้อถอย จึงมักเป็น
ความคิดที่กดถ่วงลวงใจมากกว่าจะช่วยเสริมให้ดี
และเพิ่มพูนกำลังสติปัญญาให้ยิ่ง ๆ ขึ้น ธรรมที่ให้
ความมั่นใจแก่นักปฏิบัติเพื่อถือเป็นหลักประกันชีวิต
และความเพียร คือ พึงหวังพึ่งเป็น
และพึ่งตายต่อธรรมจริง ๆ อย่าฟั่นเฟือนหวั่นไหว
โดยประการทั้งปวงหนึ่ง พึงเป็นผู้กล้าตายด้วย
ความเพียรในที่ที่ตนเห็นว่าน่ากลัวนั้น ๆ หนึ่ง
เมื่อเข้าที่จำเป็นและคับขันเท่าไร พึง
เป็นผู้มีสติกำกับใจให้มั่นในธรรม มีคำบริกรรม
เป็นต้น ให้กลมกลืนกันทุกระยะ อย่าปล่อยวาง
แม้ช้างเสืองูเป็นต้น จะมาทำลาย
ถ้าจิตสละเพื่อธรรมจริงอยู่แล้ว สิ่งเหล่านั้นจะ
ไม่กล้าเข้าถึงตัว มิหนำเรายังจะกล้าเดิน
เข้าไปหามันด้วยความองอาจกล้าหาญ ไม่กลัวตาย
แทนที่มันจะทำอันตรายเรา แต่ใจเรากลับจะ
เป็นมิตรอย่างลึกลับอยู่ภายในกับมันอีกด้วย โดยไม่
เป็นอันตรายหนึ่ง ใจเรามีธรรมประจำแต่ใจสัตว์
ไม่มีธรรม ใจเราต้องมีอำนาจเหนือกว่าสัตว์เป็นไหน
ๆ แม้สัตว์จะไม่ทราบได้ว่ามีธรรม แต่สิ่งที่ทำให้สัตว์
ไม่กล้าอาจเอื้อมมีอยู่กับใจเราอย่างลึกลับ
นั่นแลคือธรรมเครื่องป้องกัน
หรือธรรมเครื่องทรงอำนาจให้สัตว์ใจอ่อน
ไม่กล้าทำอะไรได้หนึ่ง อำนาจของจิต
เป็นอำนาจที่ลึกลับและรู้อยู่เฉพาะตัว แต่ผู้
อื่นทราบได้ยากหากไม่มีญาณภายในหนึ่ง
ฉะนั้น ธรรมแม้จะเรียน
และประกาศสอนกันทั่วโลก ก็ยัง
เป็นธรรมชาติที่ลึกลับอยู่นั่นเอง ถ้าใจยังเข้าไม่
ถึงธรรมชาติเป็นขั้น ๆ ที่ควรจะเปิดเผยกับใจ
เป็นระยะ ๆ ไป เมื่อเข้าถึงกันจริง ๆ แล้ว
ปัญหาระหว่างใจกับธรรมก็สิ้นสุดลงเอง เพราะใจ
กับธรรมมีความละเอียดสุขุมและลี้ลับพอ ๆ กัน
เมื่อถึงขั้นนี้แล้ว แม้จะพูดว่าใจคือธรรม
และธรรมคือใจก็ไม่ผิด และไม่มีอะไรมาขัดแย้ง
ถ้ากิเลสตัวเคยขัดแย้งสิ้นไปไม่มีเหลือแล้ว
เท่าที่ใจกลาย
เป็นเครื่องมือของกิเลสตัณหาจนมองหาคุณค่าไม่เจอ
นั้น ก็
เพราะใจถูกสิ่งดังกล่าวคละเคล้ากลุ้มรุมจน
เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จึงดูเหมือนไม่มีคุณค่าอะไรแฝง
อยู่เลยในระยะนั้น ถ้าปล่อยให้เป็นทำนอง
นั้นเรื่อยไป ไม่สนใจรักษาและชำระแก้ไข ใจก็
ไม่มีคุณค่า ธรรมก็ไม่มีราคาสำหรับตน แม้จะตาย
แล้วเกิด และเกิดแล้วตายสักกี่ร้อยกี่พันครั้ง ก็
เป็นทำนองเขาเปลี่ยนชุดเสื้อผ้าซึ่งล้วน
เป็นชุดที่สกปรกด้วยกัน จะเปลี่ยนวันละกี่ครั้งก็คือ
ผู้สกปรกน่าเกลียดอยู่นั่นเอง
ผิดกับผู้เปลี่ยนชุดเสื้อผ้าที่สกปรกออก
แล้วสวมใส่เสื้อผ้าที่สะอาดแทนเป็นไหน ๆ ฉะนั้น
การเปลี่ยนชุดดีชั่วสำหรับใจ จึง
เป็นปัญหาสำคัญของแต่ละคนจะพิจารณา
และรับผิดชอบตัวเองในทางใด ไม่มีใคร
จะมารับภาระแทนได้ ไม่ต้องเป็นกังวลอีกต่อไป
แต่เรื่องตัวเองนี้เป็นเรื่องใหญ่โตของแต่ละคน ซึ่งรู้
อยู่กับตัวทั้งปัจจุบันและอนาคต ว่าต้องเป็น
ผู้รับผิดชอบตัวเองตลอดไป ไม่มีกำหนดกาล นอก
จากผู้ให้การบำรุงรักษาจนถึงที่ปลอดภัย
โดยสมบูรณ์แล้วเท่านั้น ดังพระพุทธเจ้า
และพระสาวกท่านเป็นตัวอย่าง นั้นชื่อว่าเป็น
ผู้หมดภาระโดยประการทั้งปวงอย่างสมบูรณ์
ผู้เช่นนั้นแลที่โลกกล่าวอ้างเป็นสรณะเพื่อหวังฝาก
เป็นฝากตายในชีวิตตลอดมา แม้ผู้ตกอยู่
ในลักษณะแห่งความไม่ดี แต่ยังพอรู้บุญรู้บาป
อยู่บ้าง ก็ยังกล่าวอ้าง พระพุทธเจ้า พระธรรม
พระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะอย่างไม่หยุดปากกระดากใจ
ยังระลึกถึงพอให้พระองค์ทรงเป็นห่วง
และรำคาญในความไม่ดีของเขาอยู่นั่นเอง เช่นเดียว
กับลูก ๆ ทั้งที่เป็นลูกที่ดีและลูกที่เลวบ่นถึง
ผู้บังเกิดเกล้าว่าเป็นพ่อเป็นแม่ของตนฉะนั้น
ท่านพระอาจารย์มั่นท่านฝึกอบรมพระเณรเพื่อเห็นผลประจักษ์
ในการบำเพ็ญ ท่านมีอุบายปลุกปลอบด้วยวิธีต่าง ๆ
ดังกล่าวมา ผู้ตั้งใจปฏิบัติตามท่านด้วย
ความเคารพเทิดทูนจริง ๆ ย่อมได้รับคุณธรรม
เป็นการถ่ายทอดข้อวัตรวิธีดำเนิน
จากท่านมาอย่างพอใจ ตลอดความรู้
ความฉลาดภายในใจเป็นที่น่าเลื่อมใส
และนำมาสั่งสอนลูกศิษย์สืบทอดกันมาพอเห็น
เป็นสักขีพยานว่า ศาสนา
ยังทรงมรรคทรงผลประจักษ์ใจของ
ผู้ปฏิบัติตลอดมาไม่ขาดสูญ ถ้าพูดตามความเป็นมา
และการอบรมสั่งสอนของท่านพระอาจารย์มั่น
แล้ว ควรเรียกได้อย่างถนัดใจว่า
“ปฏิปทาอดอยาก” คือที่อยู่ก็อดอยาก ที่อาศัยก็ฝืดเคือง
ปัจจัยเครื่องอาศัย โดยมากดำเนินไปแบบขาด ๆ เขิน ๆ
ทั้งที่สิ่งเหล่านั้นมีอยู่ ความเป็นอยู่หลับนอนที่ล้วน
อยู่ในสภาพอนิจจังนั้น
ถ้าผู้เคยอยู่ด้วยความสนุกรื่นเริง
และสมบูรณ์ไปเจอเข้า อาจเกิดความสลดสังเวชใจ
ในความเป็นอยู่ของท่านเหล่านั้นอย่างยากจะปลงตก
ได้ เพราะไม่มีอะไรจะ
เป็นที่เจริญตาเจริญใจสำหรับโลกผู้
ไม่เคยต่อสภาพเช่นนั้น จึงเป็นที่น่าทุเรศเอานักหนา
แต่ท่านเองแม้จะเป็นอยู่ในลักษณะของนักโทษ
ในเรือนจำ แต่ก็เป็นความสมัครใจและอยู่ได้
ด้วยธรรม เป็นอยู่หลับนอนด้วยธรรม
ลำบากลำบนทนทุกข์ด้วยธรรม
ทรมานตนเพื่อธรรม อะไร ๆ ในสายตาที่เห็นว่า
เป็นการทรมานของผู้ไม่เคยพบเคยเห็น จึงเป็นเรื่อง
ความสะดวกกายสบายใจสำหรับท่านผู้มีปฏิปทาในทาง
นั้น ดังนั้น จึงควรให้นามว่า “ปฏิปทาอดอยาก”
เพราะอยู่ด้วยความตั้งใจทรมานอดอยาก
ฝืนกายฝืนใจจริง ๆ คือ อยู่ก็ฝืน ไปก็ฝืน นั่งก็ฝืน
ยืนก็ฝืน นอนก็ฝืน เดินจงกรมก็ฝืน นั่งสมาธิก็ฝืน
ในอิริยาบถทั้งสี่เป็นท่าฝืนกายฝืนใจทั้งนั้น ไม่ยอมให้
อยู่ตามอัธยาศัยใจชอบเลย
บางครั้งยังต้องทนอดทนหิว
ไม่ฉันจังหันไปหลายวัน เพื่อเร่งความเพียรทางใจ
ขณะที่ไม่ฉันนั้นเป็นเวลาทำความเพียรตลอดสาย
ไม่มีการลดหย่อนผ่อนตัวว่าหิวโหย แม้
จะทุกข์ก็ทราบว่าทุกข์ในเวลานั้น
แต่ก็ทราบว่าตนทนอดทนหิวเพื่อความเพียร เพราะ
ผู้ปฏิบัติบางรายจริตนิสัยชอบทางอดอาหาร
ถ้าฉันไปทุกวันร่างกายสมบูรณ์ความเพียรทางใจ
ไม่ก้าวหน้า ใจอับเฉา ไม่สว่างไสว ไม่องอาจกล้าหาญ
ก็จำต้องหาทางแก้ไข โดยมีการผ่อน
และอดอาหารบ้าง อดระยะสั้นบ้าง ระยะยาวบ้าง
พร้อมกับความสังเกตตัวเองว่า
อย่างไหนมีผลมากน้อยต่างกันอย่างไรบ้าง
เมื่อทราบนิสัยของตนว่าถูกกับวิธีใดก็เร่งรีบในวิธีนั้น
รายที่ถูกจริตกับการอดหลายวันก็จำ
ต้องยอมรับตามนิสัยของตน
และพยายามทำตามแบบนั้นเรื่อยไป แม้
จะลำบากบ้างก็ยอมทนเอา เพราะอยากดี อยากรู้
อยากฉลาด อยากหลุดพ้นจากทุกข์
ผู้ที่จริตนิสัยถูกกับการอด
ในระยะยาวย่อมทราบได้ในขณะที่กำลังทำการอด
อยู่ คืออดไปหลายวันเท่าไร ใจยิ่งเด่นดวง
และอาจหาญต่ออารมณ์ที่เคยเป็นข้าศึก ใจมี
ความคล่องแคล่วแกล้วกล้าต่อหน้าที่ของตนมากขึ้น
นั่งสมาธิภาวนาลืมมืดลืมสว่าง เพราะความเพลิน
กับธรรม ขณะใจสัมผัสสัมพันธ์กับธรรมย่อม
ไม่สนใจต่อความหิวโหยและกาลเวลา มีแต่
ความรื่นเริงในธรรมทั้งหลายอันเป็นสมบัติที่ควร
ได้ควรถึงในเวลานั้น จึงรีบตักตวงให้ทัน
กับเวลาที่กิเลสความเกียจคร้านอ่อนแอ ความ
ไม่อดทน เป็นต้น กำลังนอนหลับอยู่ พอจะ
สามารถแอบปีนขึ้นบนหลังหรือบนคอมันบ้างก็ให้
ได้ขึ้นในเวลานั้น ๆ หากรั้ง ๆ รอ ๆ
หาฤกษ์งามยามดีพรุ่งนี้มะรืนอยู่ เวลามันตื่นขึ้นมา
แล้วจะลำบาก ดีไม่ดีอาจสู้มันไม่ได้และกลาย
เป็นช้างให้มันโดดขึ้นบนคอ
แล้วเอาขอสับลงบนศีรษะคือหัวใจ แล้ว
ต้องยอมแพ้มันอย่างราบ
เพราะใจเราเคยเป็นช้างให้กิเลส
เป็นนายควาญบังคับมานานแสนนานแล้ว
ความรู้สึกกลัวที่เคยฝังใจมานานนั้นแลพาให้ขยาด ๆ
ไม่กล้าต่อสู้กับมันอย่างเต็มฝีมือได้
ทางด้านธรรมท่านว่ากิเลสกับธรรมเป็นคู่อริกัน
แต่ทางโลกเห็นว่ากิเลสกับใจเป็นคู่มิตร
ในลักษณะบ๋อยกลางเรือนอย่างแยกกันไม่ออก ฉะ
นั้น ผู้มีความเห็นไปตามธรรมจึงต้องพยายามต่อสู้
กับสิ่งที่ตนเห็นว่าเป็นข้าศึก เพื่อเอาตัวรอด
และครองตัวอย่างอิสระ ไม่ต้องขึ้นกับกิเลสเป็น
ผู้คอยกระซิบสั่งการ แต่ผู้เห็นตามกิเลสก็
ต้องคอยพะเน้าพะนอเอาอกเอาใจ ที่มันแนะนำ
หรือสั่งการออกมาอย่างไร
ต้องยอมปฏิบัติตามทุกอย่างไม่ขัดขืนมันได้
ส่วนผลที่ได้รับจากมันนั้น
เจ้าตัวก็ทราบว่ามีความกระเทือนต่อจิตใจเพียงใด แม้
ผู้อื่นก็ย่อมทราบได้จากการระบายออกของผู้
เป็นเจ้าทุกข์ เพราะ
ความกระทบกระเทือนทางจิตใจที่ถูกกิเลสกลั่นแกล้ง
และทรมานโดยวิธีต่าง ๆ ไม่มีประมาณ โทษ
ทั้งนี้แลทำให้ผู้มีความรักตัวสงวนใจต้องมีมานะต่อสู้
ด้วยความเพียรทุกด้านอย่างไม่อาลัยเสียดายชีวิต ถึง
จะอดก็ยอมอด ทุกข์ก็ยอมทุกข์
แม้ตายก็ยอมพลีชีพเพื่อยอมบูชาพระศาสนาไปเลย
ไม่มีการแบ่งรับแบ่งสู้ไว้เพื่อกิเลสได้หวังมีส่วนด้วย
จะได้ใจ
ที่ท่านพระอาจารย์มั่นเทศน์ปลุกใจพระเณร
ให้มีความอาจหาญร่าเริงต่อความเพียรเพื่อยกตน
ให้พ้นทุกข์เครื่องกดถ่วงจิตใจ ก็เพราะท่าน
ได้พิจารณาทดสอบเรื่องของกิเลส
กับธรรมมาอย่างละเอียดถี่ถ้วนจนเห็นผลประจักษ์ใจ
แล้ว จึงได้กลับมาภาคอีสาน
และทำการสั่งสอนอย่างเต็มภูมิแห่งธรรมที่ท่านรู้เห็นมา
เป็นคราว ๆ ในสมัยนั้น
ธรรมที่ท่านสั่งสอนอย่างอาจหาญ
และออกหน้าออกตาแก่บรรดาศิษย์อยู่เสมอ ได้แก่
พลธรรม ๕ คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา
โดยให้เหตุผลว่า ผู้ไม่เหินห่างจากธรรมเหล่านี้ ไป
อยู่ที่ไหนก็ไม่ขาดทุนและล่มจม เป็นผู้มีหวัง
ความเจริญก้าวหน้าไปโดยลำดับ ธรรมทั้ง ๕ ข้อนี้
ท่านแยกความหมายมาใช้สำหรับท่านเองเป็นข้อ ๆ ซึ่ง
โดยมากเป็นไปในทางปลุกใจให้อาจหาญ มีใจความว่า
ศรัทธา เชื่อศาสนธรรมที่พระองค์ประทาน
ไว้เพื่อโลก เราผู้หนึ่งในจำนวนของคนในโลก ซึ่งอยู่
ในข่ายที่ควรได้รับแสงสว่างแห่งธรรม
จากข้อปฏิบัติที่ทำจริงแน่นอนไม่เป็นอื่น
และเชื่อว่าเกิดแล้วต้องตาย แต่จะช้าหรือเร็ว
ไม่สำคัญ ที่สำคัญอยู่ตรงที่ว่าเราจะตายแบบ
ผู้แพ้กิเลสวัฏฏ์ กรรมวัฏฏ์ วิปากวัฏฏ์ หรือจะเป็น
ผู้ชนะวัฏวนสามนี้ก่อนจะตาย คำว่าแพ้ไม่
เป็นสิ่งพึงปรารถนา แม้แต่เด็กเล่นกีฬากันต่างฝ่าย
เขายังหวังชนะกัน เราจึงควรสะดุดใจ และ
ไม่ควรทำตัวให้เป็นผู้แพ้ ถ้าเป็นผู้แพ้ก็ต้องทนอยู่อย่าง
ผู้แพ้
ทุก ๆ อาการของผู้แพ้ต้อง
เป็นการกระเทือนใจอย่างมาก
และระทมทุกข์จนหาทางออกไม่ได้ ขณะที่จิต
จะคิดหาทางออกของผู้แพ้มีอยู่ทางเดียวคือ
“ตายเสียดีกว่า” ซึ่งตายไปแบบที่ว่าดีกว่านี้ ก็ต้อง
เป็นการตายของผู้แพ้ต่อข้าศึกอยู่นั่นเอง อัน
เป็นทางกอบโกยโรยทุกข์ใส่ตัวเองจนไม่มีที่ปลงวาง
จึงไม่มีอะไรดีเลยสำหรับผู้แพ้ทุกประตูแล้ว ถ้า
จะตายแบบผู้ชนะดังพระพุทธเจ้าและพระสาวกท่าน
ก็ต้องเชื่อแบบท่าน ทำแบบท่าน เพียร
และอดทนแบบท่าน มีสติรักษาใจ รักษาตัว
รักษากิริยาที่แสดงออกทุกอาการแบบท่าน ทำใจ
ให้มั่นคงต่อหน้าที่ของตน
อย่าโยกเยกคลอนแคลนแบบคนจวนตัวไม่มีสติ
เป็นหลักยึด แต่จงทำใจ
ให้มั่นคงต่อเหตุที่ทำเพื่อผลอันพึงพอใจจะ
ได้มีทางเกิดขึ้นได้ อันเป็นแบบที่ท่านพาดำเนิน
ศาสนาคือคำสั่งสอนของท่านผู้ฉลาด
ท่านสอนคนเพื่อให้เกิดความฉลาดทุกแง่ทุกมุม ซึ่งพอ
จะพิจารณาตามท่านได้ แต่เราอย่าฟังเพื่อความโง่ อยู่
ด้วยความโง่ กินดื่มทำพูดด้วยความโง่ คำว่าโง่ไม่
ใช่ของดี คนโง่ก็ไม่ดี สัตว์โง่ก็ไม่ดี เด็กโง่ ผู้ใหญ่โง่ มิ
ใช่ของดีทั้งนั้น เราโง่จะให้ใครเขาชมว่าดี จึง
ไม่ควรทำความสนิทติดจมอยู่กับความโง่โดยไม่ใช้
ความพิจารณาไตร่ตรอง ไม่ใช่ทางพ้นทุกข์
โดยประการทั้งปวง จึงไม่ควรแก่สมณะซึ่ง
เป็นเพศที่ใคร่ครวญไตร่ตรอง นี่คือความหมาย
ในธรรม ๕ ข้อที่ท่านคิดค้นขึ้นมาพร่ำสอนท่านเอง
และหมู่คณะที่ไปอบรมศึกษากับท่าน รู้สึกว่าเป็นคติ
ได้ดีมาก เพราะเป็นอุบายปลุกใจให้เกิดสติปัญญา
และอาจหาญ ทั้งเหมาะสมกับสภาพการณ์
และสถานที่ของพระธุดงค์ ผู้เตรียมพร้อมแล้ว
ในการรบพุ่งชิงชัยระหว่างกิเลสกับธรรมเพื่อ
ความชนะเลิศ คือวิมุตติพระนิพพาน อัน
เป็นหลักเขตแดนมหาชัยที่ปรารถนามานาน
พระอาจารย์ที่เป็นศิษย์ผู้
ใหญ่ของท่านเล่าให้ฟังว่า เวลาอยู่กับท่าน แม้
จะมีพระเณรจำนวนมากด้วยกัน
แต่มองดูอากัปกิริยาของแต่ละองค์
เหมือนพระเณรที่สิ้นกิเลสกันแล้วทั้งนั้น
ไม่มีอาการแสดงความคึกคะนองใด ๆ แม้แต่น้อย
ให้ปรากฏบ้างเลย ต่างองค์ต่างสงบเสงี่ยมเจียมตัว
ทั้งที่อยู่โดยลำพังตนเอง ทั้งเวลามารวมกัน
ด้วยกิจธุระบางอย่าง
และเวลารวมประชุมฟังการอบรม
ต่างมีมรรยาทสวยงามมาก ถ้าไม่ได้ฟังธรรมเกี่ยว
กับภูมิจิต เวลาท่านสนทนากันกับท่านอาจารย์บ้าง
ก็อาจให้เกิดความสงสัย
หรือเชื่อแน่ว่าแต่ละองค์คงสำเร็จพระอรหัตกันแน่
ๆ แต่พอเดาได้
จากการแก้ปัญหาธรรมขณะที่ท่านสนทนากัน
ว่าองค์ไหนควรอยู่ในภูมิธรรมขั้นใด นับแต่สมาธิ
และปัญญาขั้นต้นขึ้นไปถึงสมาธิและวิปัสสนาขั้นสูง
การแก้ปัญหาในเวลามีผู้ไปศึกษาก็ดี
การแสดงธรรมอบรมพระเณร
ในเวลาประชุมก็ดี ท่านแสดงด้วยความแน่ใจ
และอาจหาญ พอให้ผู้ฟังทราบ
ได้ว่าธรรมที่แสดงออก
เป็นธรรมที่ท่านรู้เห็นทางจิตใจจริง ๆ ไม่แสดงด้วย
ความลูบคลำหรือสุ่มเดา ว่าเห็นจะเป็นอย่างนั้น เห็น
จะเป็นอย่างนี้ จึงเป็นที่แน่ใจได้ว่า
เป็นธรรมที่ส่อแสดงอยู่กับใจของทุกคนแม้ยังไม่รู้
ไม่เห็น และคงมีวันหนึ่งที่ผู้ปฏิบัติจะสามารถรู้
ได้จำเพาะตนหากไม่ลดละความเพียรไปเสีย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2014, 14:10 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิธีให้การอบรมแก่พระเณร
และฆราวาส รู้สึกว่าท่านแสดงให้พอเหมาะสม
กับขั้นภูมิความเป็นอยู่และจริตนิสัยของ
ผู้มาอบรมศึกษาได้ดี และได้รับประโยชน์
ทั้งสองฝ่ายขณะที่ฟังอยู่ด้วยกัน
เพราะท่านอธิบายแยกแยะธรรมออกเป็นตอน ๆ
ซึ่งพอเหมาะสมกับภูมิของผู้มาฟังจะเข้าใจ
และนำไปปฏิบัติให้เกิดผลได้
โดยมากเวลาท่านสอนฆราวาสญาติโยม
โดยเฉพาะ ท่านยกธรรมเกี่ยวกับฆราวาสขึ้นแสดง
มี ทาน ศีล ภาวนา เป็นพื้น โดยให้เหตุผลว่า ธรรม
ทั้งสามนี้เป็นรากแก้วของความเป็นมนุษย์และ
เป็นรากเหง้าของพระศาสนา ผู้เกิดมาเป็นมนุษย์ต้อง
เป็นผู้เคยผ่าน คือเคยสั่งสมธรรมเหล่านี้มา
อย่างน้อยต้องมีอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นเชื้ออยู่
ในนิสัยของผู้จะมาสวมร่างเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
ด้วยมนุษยสมบัติอย่างแท้จริง
ทาน คือเครื่องแสดงน้ำใจมนุษย์
ผู้มีจิตใจสูง ผู้มีเมตตาจิตต่อเพื่อนมนุษย์และสัตว์
ผู้อาภัพ ด้วยการให้การเสียสละแบ่งปันมากน้อย
ตามกำลังของวัตถุเครื่องสงเคราะห์ที่มีอยู่ จะ
เป็นวัตถุทาน ธรรมทาน หรือวิทยาทานแขนงต่าง ๆ
ก็ตาม ที่ให้เพื่อสงเคราะห์ผู้อื่นโดยมิ
ได้หวังค่าตอบแทนใด ๆ นอกจากกุศลคือความดีที่เกิด
จากทานนั้น ซึ่งจะเป็นสิ่งตอบแทนให้เจ้าของทานได้รับ
อยู่โดยดีเท่านั้น ตลอดอภัยทานที่ควรให้แก่กัน
ในเวลาอีกฝ่ายหนึ่งผิดพลาดหรือล่วงเกิน คนมีทาน
หรือคนที่เด่นในการให้ทาน ย่อมเป็นผู้สง่าผ่าเผย
และเด่นในปวงชนโดยไม่นิยมรูปร่างลักษณะ
ผู้เช่นนี้มนุษย์และสัตว์ตลอดเทวดาที่มอง
ไม่เห็นก็เคารพรัก จะตกทิศใดแดนใดย่อม
ไม่อดอยากขาดแคลน หากมีสิ่งหรือผู้อุปถัมภ์จนได้
ไม่อับจนทนทุกข์
แม้ในแดนมนุษย์เรานี้ก็พอเห็น
ได้อย่างเต็มตารู้ได้อย่างเต็มใจว่า ผู้มีทาน
เป็นเครื่องประดับตัวย่อมเป็นคนไม่ล้าสมัยในสังคม
และบุคคลทุกชั้นไม่มีใครรังเกียจ
แม้แต่คนที่มั่งมีแต่แสนตระหนี่ถี่เหนียวก็
ยังหวังต่อการสงเคราะห์ช่วยเหลือจากผู้
อื่นเช่นเดียวกับมนุษย์ทั่ว ๆ ไป ไม่ต้องพูดถึงคนที่
ช่วยตัวเองไม่ได้ แต่ไม่หวังให้ผู้อื่นช่วยเหลือ จะไม่มี
ในโลกเมืองไทยเรา อำนาจทานทำให้
ผู้มีใจชอบบริจาคเกิดความเคยชินต่อนิสัย จนกลาย
เป็นผู้มีฤทธิ์บันดาลไม่ให้อดอยากในภพที่เกิดกำเนิดที่อยู่
นั้น ๆ ฉะนั้น ทานและคนที่มีใจเป็นนักให้ทาน
การเสียสละ จึงเป็นเครื่องและเป็น
ผู้ค้ำจุนหนุนโลกให้เฟื่องฟูตลอดไป โลกที่
ยังมีการสงเคราะห์กันอยู่ยังจัดเป็นโลกที่มี
ความหมายตลอดไป ไม่
เป็นโลกที่ไร้ชาติขาดกระเจิง
เหลือแต่ซากคือแผ่นดินแน่ ๆ ทานจึง
เป็นสาระสำคัญสำหรับตัวและโลกทั่ว ๆ ไป
ผู้มีทานย่อมเป็นผู้อบอุ่นและหนุนโลกให้ชุ่มเย็น ไม่
เป็นบุคคลและโลกที่แห้งแล้งแข่ง
กับทุกข์ตลอดไป
ศีล คือรั้วกั้นความเบียดเบียน
และทำลายสมบัติร่างกายและจิตใจของกันและ
กัน ศีลคือพืชแห่ง
ความดีอันยอดเยี่ยมที่ควรมีประจำชาติมนุษย์
ไม่ปล่อยให้สูญหายไปเสีย เพราะมนุษย์ที่ไม่มีศีล
เป็นรั้วกั้นและเป็นเครื่องประดับตัวเสียเลย
ก็คือกองเพลิงแห่งมนุษย์เราดี ๆ นี่เอง
การเบียดเบียนและทำลาย
กันย่อมมีไปทุกหย่อมหญ้าและทั่วโลกดินแดน
ไม่มีเกาะมีดอนพอจะเอาศีรษะซุกนอนให้หลับสนิทได้
โดยปลอดภัย แม้โลกจะเจริญ
ด้วยวัตถุจนกองสูงกว่าพระอาทิตย์บนท้องฟ้า แต่
ความรุ่มร้อนแผดเผาจะทวีคูณยิ่งกว่าพระอาทิตย์
เป็นไหน ๆ โลกจะไม่มีที่ปลงใจได้เลยถ้า
ยังมัวคิดว่าวัตถุมีคุณค่ายิ่งกว่าศีลธรรมอยู่
เพราะศีลธรรมเป็นสมบัติของจอมมนุษย์
คือพระพุทธเจ้า ผู้ค้นพบ
และนำมาประดับโลกที่กำลังมืดมัวกลัวทุกข์พอ
ให้สว่างไสวร่มเย็น ควรอาศัยได้บ้าง
ด้วยอำนาจศีลธรรมเป็นเครื่องปัดเป่ากำจัด
ลำพัง
ความคิดของมนุษย์ที่มีกิเลสคิดผลิตอะไรออกมา ทำ
ให้โลกร้อนจะบรรลัยอยู่แล้ว ยิ่งจะปล่อย
ให้คิดตามอำนาจโดยไม่มีกลิ่นแห่งศีลธรรมช่วย
เป็นยาแก้และชะโลมไว้บ้าง ก็น่ากลัวความคิดนั้น ๆ
จะผลิตยักษ์
ใหญ่ตัวโหดร้ายที่ทรงพิษขึ้นมากี่แสนกี่ล้านตัว
ออกเที่ยวหากว้านกินมนุษย์ให้ฉิบหายกันทั้งโลก
ไม่มีอะไรเหลืออยู่บ้างเลย
ความคิดของคนสิ้นกิเลสที่ทรงคุณอย่างสูงสุดคือพระพุทธเจ้า
มีผลให้โลกได้รับความร่มเย็นซาบซึ้ง กับ
ความคิดที่เป็นไปด้วยกิเลสที่มีผลให้ตัวเองและผู้อื่น
ได้รับความเดือดร้อนจนจะคาดไม่ถึงนี่แล เป็น
ความคิดที่ผิดกันอยู่มาก พอ
จะนำมาเทียบเคียงเพื่อหาทางแก้ไขผ่อนหนักผ่อนเบาลง
ได้บ้าง ไม่จมไปกับความคิดประเภท
นั้นจนหมดทางแก้ไข ศีลจึงเป็นเหมือนยาปราบโรค
ทั้งโรคระบาดและโรคเรื้อรัง อย่างน้อยก็พอ
ให้คนไข้ที่สุมด้วยกิเลสกินอยู่หลับนอนได้บ้าง
ไม่ถูกบีบคั้นด้วยโรคที่เกิดแล้ว
ไม่ยอมหายนี้ตลอดไป มากกว่านั้นก็หายขาดอยู่สบาย
ท่านพระอาจารย์มั่นท่านเมตตาสั่งสอนฆราวาส
ให้รู้คุณของศีล และให้รู้โทษของความ
ไม่มีศีลอย่างถึงใจจริง ๆ ฟังแล้วจับใจไพเราะ แม้
ผู้เขียนเองพอได้ทราบว่า ท่านสั่งสอนประชาชน
ให้เห็นโทษเห็นคุณในศีลอย่างซาบซึ้งจับใจเช่นนั้น
ยังเผลอตัวไปว่า “อยากมีศีล ๕ กับเขาบ้าง” ทั้ง ๆ
ที่ขณะนั้นตนก็มีศีลอยู่ถึง ๒๒๗ ศีลอยู่แล้ว เพราะ
ความปีติผาดโผนไปบ้างเวลานั้นจึงขาดสติไปพักหนึ่ง
พอได้สติขึ้นมาเลยนึกอายตัวเองและ
ไม่กล้าบอกใคร กลัวท่านเหล่านั้นจะหาว่าเราบ้า
ซ้ำเข้าไปอีก เพราะขณะนั้นเราก็ชักจะบ้า ๆ อยู่บ้าง
แล้วที่คิดว่าอยากมีศีล ๕ กับฆราวาสเขาโดย
ไม่คลำดูศีรษะบ้างเลย อย่างนี้แลคนเรา
เวลาคิดไปทางชั่วจนถึงกับทำชั่วตามความคิดจริง ๆ
ก็คงเป็นไปในลักษณะดังกล่าวมา จึงควรสำเหนียก
ในความคิดของตนไปทุกระยะ ว่าคิดไปในทางดี
หรือชั่ว ถูกหรือผิด ต้องคอยชักบังเหียนไว้เสมอ
ไม่เช่นนั้นมีหวังเลยเถิดได้แน่นอน
ภาวนา คือ การอบรมใจ
ให้ฉลาดเที่ยงตรงต่อเหตุผลอรรถธรรม
รู้จักวิธีปฏิบัติต่อตัวเองและสิ่งทั้งหลาย ไม่
ให้จิตผาดโผนโลดเต้นแบบไม่มีฝั่งมีฝา ยึดการภาวนา
เป็นรั้วกั้นความคิดฟุ้งของใจให้อยู่ในเหตุผลอันจะ
เป็นทางแห่งความสงบสุข ใจที่ยังมิได้รับการอบรม
จากภาวนาจึงยังเป็นเหมือนสัตว์ที่ยังมิ
ได้รับการฝึกหัดให้ทำหน้าที่ของตนอย่างสมบูรณ์
มีจำนวนมากน้อยก็ยังมิได้รับประโยชน์จากมัน
เท่าที่ควร จำต้องฝึกหัด
ให้ทำประโยชน์ตามประเภทของมันก่อน ถึงจะ
ได้รับประโยชน์ตามควร ใจจึงควร
ได้รับการอบรมให้รู้เรื่องของตัวเสียบ้าง จะเป็น
ผู้ควรแก่การงานทั้งหลาย ทั้งส่วนหยาบ
ส่วนละเอียด ทั้งส่วนเล็กส่วนใหญ่ ทั้งภายในภายนอก
ผู้มีภาวนาเป็นหลักใจจะทำอะไรชอบใช้
ความคิดอ่านเสมอ ไม่ค่อยเอาตัว
เข้าไปเสี่ยงต่อการกระทำที่ไม่แน่ใจ ซึ่งอาจเกิด
ความเสียหายแก่ตนและผู้เกี่ยวข้องตลอด
ส่วนรวมเมื่อผิดพลาดลงไป การภาวนาจึง
เป็นงานเพื่อผลในปัจจุบันและอนาคต
ไม่เสียประโยชน์ทั้งสองทาง
ประโยชน์สำคัญคือประโยชน์เฉพาะหน้า ที่เรียกว่า
ทิฏฐธรรมมิกัตถประโยชน์
การงานทุกชนิดที่ทำด้วยใจของ
ผู้มีภาวนา จะสำเร็จลงด้วยความเรียบร้อย
ขณะที่ทำก็ไม่ทำแบบขอไปที แต่ทำด้วย
ความใคร่ครวญ และเล็งถึงประโยชน์ที่จะได้รับ
จากงานเมื่อสำเร็จลงไปแล้ว จะไปมาในทิศทางใด
จะทำอะไร ย่อมเล็งถึงผลได้เสียเกี่ยวกับการนั้น ๆ
เสมอ การปกครองตนก็สะดวก ไม่ฝ่าฝืนตัวเองซึ่งเป็น
ผู้มีหลักเหตุผลอยู่แล้ว ถือหลักความถูกต้อง
เป็นเข็มทิศทางเดินของกาย วาจา ใจประจำตัว
ไม่ยอมเปิดช่องให้ความอยากอันไม่มีขอบเขต
เข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะความอยากไป อยากมา
อยากทำ อยากพูด อยากคิด ที่เคยเป็นมาดั้งเดิม
เป็นไปตามอำนาจของกิเลสตัณหา ซึ่งไม่เคยสนใจต่อ
ความผิดถูกดีชั่วเสียมากต่อมาก
และพาเราเสียไปจนนับไม่ถ้วนประมาณไม่ถูก
จะเอาโทษกับมันก็ไม่ได้ นอกจากยอม
ให้เสียไปอย่างน่าเสียดาย แล้วพยายามแก้ตัวใหม่เท่า
นั้นเมื่อยังมีสติอยู่บ้างพอจะหักล้างกันได้ ถ้า
ไม่มีสติพอระลึกบ้างเลยแล้ว ทั้งของเก่าก็เสียไป
ทั้งของใหม่ก็พลอยจมไปด้วย ไม่มีวันกลับฟื้นคืนตัว
ได้เลย นี่แลเรื่องของกิเลส ต้องพา
ให้เสียหายเรื่อยไป ฉะนั้นการภาวนาจึง
เป็นเครื่องหักล้างความลามกไม่มีเหตุผลของตน
ได้ดี แต่วิธีภาวนานั้นรู้สึกลำบากอยู่บ้าง เพราะ
เป็นการบังคับใจซึ่งเหมือนบังคับลิงให้อยู่เชื่อง ๆ
พองามตาบ้าง ย่อมเป็นของลำบากฉะนั้น
วิธีภาวนาก็คือวิธีสังเกตตัวเองนั่นแล
คือสังเกตจิตที่มีนิสัยหลุกหลิกเหมือนถูกไฟ
หรือน้ำร้อนลวก ไม่อยู่เป็นปกติสุข
ด้วยสติตามระลึกรู้ความเคลื่อนไหวของจิต
โดยมีธรรมบทใดบทหนึ่งเป็นคำบริกรรม เพื่อ
เป็นยารักษาจิตให้ทรงตัวอยู่ได้ด้วยความสงบสุข
ในขณะภาวนา ตามที่นิยมใช้กันมากและ
ได้ผลดีก็มีอานาปานสติบ้าง พุทโธบ้าง ธัมโมบ้าง
สังโฆบ้าง มรณานุสสติบ้าง หรือเกสา โลมา นขา
ทันตา ตโจ โดยอนุโลม ปฏิโลมบ้าง หรือ
ใช้บริกรรมเฉพาะบทใดบทหนึ่งบ้าง
พยายามบังคับใจให้อยู่
กับอารมณ์แห่งธรรมบทที่นำมาบริกรรมขณะภาวนา
ใจที่อาศัยบทธรรมอันเป็นอารมณ์ที่ให้คุณ ไม่
เป็นภัยแก่จิตใจ ย่อมจะเกิดความสงบสุขขึ้นมาในขณะ
นั้น ที่เรียกว่าจิตสงบ หรือจิตรวมเป็นสมาธิ คือ
ความมั่นคงต่อตัวเอง ไม่อาศัยธรรมบทใด ๆ
เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวในเวลานั้น
เพราะจิตมีกำลังพอดำรงตนอยู่โดยอิสระได้
คำบริกรรมที่เคยนำมากำกับใจ
ก็ระงับกันไปชั่วขณะที่จิตปล่อยอารมณ์
เข้าพักสงบตัว ต่อเมื่อถอนขึ้นมา
ถ้ามีเวลาทำต่อไปอีกก็นำคำบริกรรมที่เคยกำ
กับมาบริกรรมต่อไป พยายามทำอย่างนี้เสมอด้วย
ความใฝ่ใจไม่ลดละความเพียร
จิตที่เคยทำบาปหาบทุกข์อยู่เสมอก็จะค่อยรู้สึกตัว
และปล่อยวางไปเป็นลำดับ และมี
ความสนใจหนักแน่นในหน้าที่ของตนเป็นประจำ
ไม่ถูกบังคับถูไถเหมือนขั้นเริ่มแรก ซึ่ง
เป็นขั้นกำลังฝึกหัด จิตที่สงบตัวลงเป็นสมาธิ
เป็นจิตที่มีความสุขเย็นใจมากและจำไม่ลืม ถ้า
ได้ปรากฏขึ้นเพียงครั้งเดียว ย่อมเป็นเครื่องปลุกใจ
ให้ตื่นตัวและตื่นใจได้อย่างน่าประหลาด หาก
ไม่ปรากฏอีกในวาระต่อไปทั้งที่ภาวนาอยู่ในใจ จะเกิด
ความเสียดายอย่างบอกไม่ถูก อารมณ์แห่งความติดใจ
และความเสียดายในจิตประเภทนั้นจะฝังใจไปนาน
นอกจากจิตจะเจริญก้าวหน้าขึ้นสู่
ความสงบสุขอันละเอียดไปเป็นลำดับเท่านั้น จิตถึง
จะลืมและเพลินในธรรมขั้นสูงเรื่อยไป
ไม่มาเกี่ยวข้องเสียดายจิตและความสงบที่เคยผ่านมา
แล้ว
แต่เมื่อพูดถึงการภาวนาแล้ว ท่าน
ผู้อ่านอาจจะรู้สึกเหงาหงอยน้อยใจและอ่อนเปียกไป
ทั้งร่างกายและจิตใจ ว่าตนมีวาสนาน้อย ทำไม่ไหว
เพราะคิดว่ากิจการยุ่งยากทั้งภายในบ้าน
และนอกบ้านตลอดงานสังคมต่าง ๆ
ลูกหลานก็มีหลายคนล้วนแต่ต้องเป็นธุระ
ในการเลี้ยงดู จะมัวมานั่งหลับตาภาวนาอยู่เห็นจะ
ไม่ทันอยู่ทันกินกับโลกเขา ต้องอดตายแน่ ๆ แล้วทำ
ให้เกิดความอิดหนาระอาใจไม่อยากทำ
ประโยชน์ที่ควรได้เลยผ่านไป ความคิดเช่นนั้นเป็น
ความคิดที่เคยฝังนิสัยมาดั้งเดิม และอาจเป็น
ความคิดที่คอยกีด
กันทางเดินเพื่อการระบายคลายทุกข์ทางใจไปเสีย
ถ้าไม่พยายามคิดแก้ไขเสียแต่บัดนี้เป็นต้นไป
แท้จริงการภาวนา คือวิธีการแก้
ความยุ่งยากและความลำบากทางใจทุกประเภท
ที่เคยรับภาระอันหนักหน่วงมานานให้เบาลง
และหมดสิ้นไป เหมือนอุบายอื่น ๆ
ที่เราเคยนำมาแก้ไขไล่ทุกข์ออก
จากตัวเหมือนที่โลกทำกันมานั่นเอง เช่น เวลาร้อน
ต้องแก้ด้วยวิธีอาบน้ำ เวลาหนาวแก้ด้วยวิธีห่มผ้า
หรือผิงไฟ หรือด้วยวิธีอื่น ๆ เวลาหิวกระหายแก้
ด้วยวิธีรับประทานและดื่ม เวลาเป็นไข้ก็แก้
ด้วยวิธีรับประทานหรือฉีดยาที่จะยังโรคให้สงบ
และหายไป ซึ่งล้วน
เป็นวิธีการที่โลกเคยทำตลอดมาถึงปัจจุบัน โดย
ไม่มีการผัดเพี้ยนเลื่อนเวลา ว่ายังยุ่งยากยังลำบาก
และขัดสนจนใจใด ๆ ทั้งนั้น ทุกชาติชั้นวรรณะจำ
ต้องปฏิบัติกันทั่วโลก แม้แต่สัตว์ก็ยัง
ต้องอาศัยการเยียวยารักษาตัว ดังที่เราเห็น
เขาหากินเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง
เพื่อผ่อนคลายระบายทุกข์ไปวันหนึ่ง ๆ พอยังชีวิตให้
เป็นไปตลอดกาลของเขา ล้วนเป็นวิธีการแก้ไข
และรักษาตัวแต่ละอย่าง ๆ
การอบรมใจด้วยภาวนาก็
เป็นวิธีหนึ่งแห่งการรักษาตัว วิธีนี้ยิ่ง
เป็นงานสำคัญที่ควรสนใจเป็นพิเศษ เพราะ
เป็นวิธีที่เกี่ยวกับจิตใจผู้เป็นหัวหน้างานทุกด้านโดยตรง
งานอะไรเรื่องอะไรที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับตัว จิตจำ
ต้องเป็นตัวการอย่างแยกไม่ออก ที่จะต้อง
เข้ารับภาระแบกหามโดยไม่คำนึงถึงความหนักเบา
และชนิดของงานว่าเป็นงานชนิดใด จะพอยกไหวไหม
แต่จิตต้องเข้ารับภาระทันที ดีหรือชั่วผิดหรือถูก
ไม่ค่อยสนใจคิด แม้งานหรือเรื่อง
จะหนักเบาเศร้าโศกเพียงใด ซึ่งบางเรื่องแทบ
จะคว้าเอาชีวิตไปด้วยในขณะนั้น แม้เช่นนั้นใจ
ยังกล้าเอาตัวเข้าไปเสี่ยงและแบกหามจนได้ โดย
ไม่คำนึงว่าจะเป็นจะตายเพราะเหลือบ่ากว่าแรง
มิหนำยังหอบเอาเรื่องมาคิดเป็นการบ้านอยู่อีก
จนแทบนอนไม่หลับ รับประทานไม่ได้ ก็ยังมี
ในบางครั้ง คำว่าหนักเกินไปยกไม่ไหว
เพราะเกินกว่ากำลังใจจะคิดและต้านทานนั้นเป็นไม่มี
มีแต่จะสู้เอาท่าเดียว
งานทางกายยังมีเวลาพักผ่อน และ
ยังรู้ประมาณว่าควรหรือ
ไม่ควรแก่กำลังของตนเพียงใด ส่วนงานทางใจ
ไม่มีวันเวลาได้พักผ่อนเอาเลย จะมีพักอยู่บ้าง
เล็กน้อยก็ขณะหลับนอนเท่านั้น แม้เช่นนั้นจิต
ยังอุตส่าห์ทำงานด้วยการละเมอเพ้อฝันต่อไปอีก
และไม่รู้จักประมาณว่าเรื่องต่างๆ นั้นควรหรือ
ไม่ควรแก่กำลังของใจเพียงใด เมื่อเกิด
เป็นอะไรขึ้นมาก็ทราบแต่เพียงว่าทุกข์เหลือทน แต่
ไม่ทราบว่าทุกข์เพราะงานหนัก
และเรื่องเผ็ดร้อนเหลือกำลังที่ใจจะสู้ไหว
จึงควรให้นามว่า “ใจคือนักต่อสู้” เพราะดีก็สู้ ชั่วก็สู้
สู้จนไม่รู้จักหยุดยั้งไตร่ตรอง
อารมณ์ชนิดใดผ่านมาต้องสู้
และสู้แบบรับเหมา ไม่ยอมให้อะไรผ่านหน้าไปได้
จิตเป็นเช่นนี้แลจึงสมนามว่านักต่อสู้ เพราะสู้จน
ไม่รู้จักตายถ้ายังครองร่างอยู่ และไม่
ได้รับการแก้ไข ก็ต้องเป็นนักต่อสู้เรื่อยไปชนิด
ไม่มีวันปลงวางภาระลงได้ หากปล่อยให้
เป็นไปตามชอบของใจที่ไม่รู้ประมาณ โดย
ไม่มีธรรมเครื่องยับยั้งบ้าง คงไม่มีเวลาได้รับ
ความสุขแม้สมบัติจะมีเป็นก่ายกอง เพราะนั้นมิ
ใช่กองแห่งความสุข แต่กลับ
เป็นกองส่งเสริมทุกข์สำหรับใจที่
ไม่มีเรือนพักคือธรรมภายในใจ
นักปราชญ์ท่านกล่าวได้อย่างเต็มปากว่า
ธรรมแลเป็นเครื่องปกครองทรัพย์สมบัติ
และปกครองใจ ถ้าใจมีธรรมมากน้อย ผู้
นั้นแม้มีทรัพย์สมบัติมากน้อยย่อมจะมี
ความสุขพอประมาณ ถ้าขาดธรรมเพียงอย่างเดียว
ลำพังความอยากของใจ จะพยายามหาทรัพย์ให้
ได้กองเท่าภูเขาก็ยังหาความสุขไม่เจอ เพราะนั้น
เป็นเพียงเครื่องอาศัยของกายและใจ ผู้ฉลาดหา
ความสุขใส่ตัวเท่านั้น ถ้าใจไม่ฉลาดด้วยธรรม
ไม่มีธรรมในใจเพียงอย่างเดียวจะไปอยู่โลกใด
และกองสมบัติใด ก็เป็นเพียงโลกเศษเดน
และกองสมบัติเศษเดนอยู่เท่านั้น
ไม่มีประโยชน์อะไรแก่ใจเลยแม้นิด
ความสมบุกสมบัน ความรับทุกข์ทรมาน ความอดทน
และความทนทานต่อสิ่งกระทบกระทั่งต่าง ๆ
ไม่มีอะไรจะแข็งแกร่งเท่าใจ ถ้าได้รับความ
ช่วยเหลือที่ถูกทาง ใจจะกลาย
เป็นของประเสริฐขึ้นมาให้เจ้าของได้ชมอย่างภูมิใจ
และอิ่มพอต่อเรื่องทั้งหลายทันที
การใช้งานจิตนับแต่วันเกิดจนบัดนี้
รู้สึกว่าใช้เอาอย่างไม่มีปรานีปราศรัย ถ้า
เป็นเครื่องใช้ชนิดต่าง ๆ มีรถราเป็นต้น จะ
เป็นอย่างไรบ้าง ไม่ควรพูดถึงการนำเข้าอู่ซ่อม
แต่ควรพูดถึงความแหลกยับเยินของรถจนกลาย
เป็นเศษเหล็กไปนานแล้วจะเหมาะสมกว่า
นี่แลทุกสิ่งเมื่อมีการใช้ต้องมีการบูรณะซ่อมแซม
มีการเก็บรักษา ถึง
จะพอมีทางอำนวยประโยชน์ต่อไป จิต
เป็นสมบัติสำคัญมากในตัวเราที่ควร
ได้รับการเหลียวแล ด้วยวิธีเก็บรักษาเช่นเดียว
กับสมบัติทั่วไป วิธีที่ควรแก่จิต
โดยเฉพาะก็คือภาวนาวิธีดังที่อธิบายมาบ้างแล้ว
ผู้สนใจในความรับผิดชอบต่อจิตอัน
เป็นสมบัติที่มีค่ายิ่งของตน จึงควรปฏิบัติรักษาจิต
ด้วยวิธีที่ถูกต้องเหมาะสม คือฝึกหัดภาวนา
ในโอกาสอันควร เพื่อ
เป็นการตรวจตราดูเครื่องเคราของรถคือจิต
ว่ามีอะไรบกพร่องและเสียไปบ้าง จะได้นำ
เข้าโรงซ่อมสุขภาพทางจิต
คือนั่งพินิจพิจารณาดูสังขารภายใน คือ
ความคิดปรุงของใจ ว่าคิดอะไรบ้างในวัน
และเวลาหนึ่ง ๆ พอมีสารประโยชน์บ้างไหม
หรือพยายามคิดแส่หาแต่เรื่อง หาแต่โทษ
และขนทุกข์มาเผาลนเจ้าของอยู่ทำนองนั้น พอให้รู้
ความผิดถูกของตัวบ้าง
และพิจารณาสังขารภายนอก คือร่างกายของเรา
ว่ามีความเจริญขึ้นหรือเจริญลงในวัน
และเวลาหนึ่ง ๆ ที่ผ่านไปจนกลายเป็นปีเก่าและปี
ใหม่ผลัดเปลี่ยนกันไปไม่มีที่สิ้นสุด
สังขารร่างกายเรามีอะไรใหม่ขึ้นบ้างไหม
หรือมีแต่ความเก่าแก่
และคร่ำคร่าชราหลุดลงไปทุกวัน ซึ่งพอ
จะนอนใจกับเขาละหรือ จึง
ไม่พยายามเตรียมตัวเตรียมใจเสียแต่เวลาที่พอทำ
ได้ เวลาตายแล้วจะเสียการ นี่คือการภาวนา
การภาวนาคือวิธีเตือนตนสั่งสอนตน ตรวจตราดู
ความบกพร่องของตนว่าควรจะแก้ไขจุด
ใดตรงไหนบ้าง
ผู้ใช้ความพิจารณาอยู่ทำนองนี้เรื่อย ๆ
ด้วยวิธีสมาธิภาวนาบ้าง ด้วยการรำพึง
ในอิริยาบถต่าง ๆ บ้าง ใจจะสงบเยือกเย็น
ไม่ลำพองผยองตัวและคว้าทุกข์มาเผาลนตัวเอง เป็น
ผู้รู้จักประมาณ
ทั้งหน้าที่การงานที่พอเหมาะพอดีแก่ตัว ทั้งทางกาย
และทางใจ ไม่ลืมตัวมั่วสุมในสิ่งที่เป็นหายนะต่าง ๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2014, 14:15 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณสมบัติของผู้ภาวนานี้มีมากมาย
ไม่อาจพรรณนาให้จบสิ้นลงได้
แต่ท่านพระอาจารย์มั่นท่านมิ
ได้อธิบายลึกซึ้งมากไปกว่าฐานะของฆราวาสที่มารับการอบรม
ผิดกับท่านอธิบายให้พระเณรฟังอยู่มาก
เท่าที่เขียนตามท่านอธิบายไว้พอหอมปากหอมคอนี้ ก็
ยังอาจมีบทที่รู้สึกว่าเปรี้ยวจัดเค็มจัดแฝง
อยู่บ้างตามทรรศนะของนานาจิตตัง จะให้
เป็นแบบเดียวกันย่อมไม่ได้
เท่าที่ได้พยายามตะเกียกตะกายนำมาลง
ก็เพื่อท่านผู้อ่านได้ช่วยติชมพอเป็นยาอายุวัฒนะ
ผิดถูกประการใดโปรดได้ตำหนิผู้นำมาเขียน
กรุณาอย่าได้สนใจกับท่านผู้เป็นเจ้าของประวัติ
เพราะท่านมิได้มีส่วนรู้เห็นด้วย
เวลาแสดงธรรมขั้นสูงท่านก็แสดงเป็นการภาย
ในเฉพาะผู้ที่อยู่ใกล้ชิดเท่านั้น แต่ผู้เขียนคะนองไปเอง
ใจและมือไม่อยู่เป็นสุข ไปเที่ยวซอกแซกบันทึกเอา
จากปากคำของพระอาจารย์ทั้งหลายที่
เป็นลูกศิษย์ท่านพระอาจารย์มั่น ซึ่งเคยอยู่
กับท่านมาเป็นคราว ๆ ในสมัยนั้น ๆ
แล้วนำมาลงเพื่อท่านผู้อ่าน
ได้ทราบปฏิปทาการดำเนินของท่านบ้างแม้
ไม่สมบูรณ์
เพราะปฏิปทาท่านปรากฏว่าเด็ดเดี่ยวอาจหาญมาก
แทบจะพูดได้ว่าไม่มีท่านผู้
ใดบรรดาลูกศิษย์ที่เคยพึ่งร่มเงาแห่งบารมีท่านมา
จะสามารถปฏิบัติเด็ดเดี่ยวต่อธุดงควัตร
และจริยธรรม
ทั้งหลายอย่างสม่ำเสมอเหมือนท่าน สำหรับองค์ท่าน
ทั้งข้อปฏิบัติ ทั้งความรู้ภายในใจ นับว่าเป็นเยี่ยม
ในสมัยปัจจุบัน ยากจะหาผู้เสมอเหมือนได้
แถบจังหวัดอุดร และหนองคาย ตาม
ในป่า ชายเขา และบนเขาที่ท่านพักอยู่
ท่านเล่าว่าพวกเทพฯ
ทั้งเบื้องบนเบื้องล่างมาเยี่ยมฟังธรรมท่านเป็นคราว
ๆ ครึ่งเดือนบ้าง หนึ่งเดือนบ้างมาหนหนึ่ง
ไม่บ่อยนักเหมือนจังหวัดเชียงใหม่ แต่
จะเขียนต่อเมื่อประวัติท่านดำเนินไปถึง
ระยะนี้ขอดำเนินเรื่องไปตามลำดับเพื่อไม่ให้ก้าวก่าย
กัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2014, 14:22 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านเคยไปพักบำเพ็ญเพียรอยู่ชาย
เขาฝั่งไทยตะวันตกเมืองหลวงพระบาง
นานพอสมควร ท่านเล่าว่าที่ใต้ชายเขาลูก
นั้นมีเมืองพญานาคตั้งอยู่ใหญ่โตมาก
หัวหน้าพญานาคพาบริวารมาฟังธรรมท่านเสมอ
และมากันมากมายในบางครั้ง พวกนาค
ไม่ค่อยมีปัญหามากเหมือนพวกเทวดา พวกเทวดา
ทั้งเบื้องบนเบื้องล่างมักมีปัญหามากพอ ๆ กัน ส่วน
ความเลื่อมใสในธรรมนั้นมีพอ ๆ กัน ท่านพักอยู่ชาย
เขาลูกนั้น พญานาคมาเยี่ยมท่านแทบทุกคืน
และมีบริวารติดตามมาไม่มากนัก นอกจากจะพามา
เป็นพิเศษ ถ้าวันไหนพญานาคจะพาบริวารมามาก
ท่านก็ทราบได้ล่วงหน้าก่อนทุกครั้ง
ท่านว่าท่านพักอยู่ที่นั้น
เป็นประโยชน์แก่พวกนาคและพวกเทวดาโดยเฉพาะ
ไม่ค่อยเกี่ยวกับประชาชนนัก พวกนาคมาเยี่ยมท่าน
ไม่มาตอนดึกนัก ท่านว่าอาจจะเป็นเพราะที่ที่พักสงัด
และอยู่ห่างไกลจากหมู่บ้านก็ได้ พวกนาคจึงพา
กันมาเยี่ยมเฉพาะที่นั้นราว ๒๒–๒๓ นาฬิกา คือ ๔-๕
ทุ่ม ส่วนที่อื่น ๆ มาดึกกว่านั้นก็มี เวลาขนาดนั้นก็มี
พญานาคอาราธนานิมนต์ท่านให้อยู่ที่นั่นนาน ๆ
เพื่อโปรดเขา เขาเคารพเลื่อมใสท่านมาก และจัด
ให้บริวารมารักษาท่านทั้งกลางวันและกลางคืน
โดยผลัดเปลี่ยนวาระกันมามิได้ขาด แต่เขามิได้มา
อยู่ใกล้นัก อยู่ห่าง ๆ พอทราบ
และรักษาเหตุการณ์เกี่ยวกับท่านได้สะดวก
ส่วนพวกเทพฯ โดยมากมักมาดึกกว่าพวกนาค คือ ๒๔
นาฬิกาหรือตี ๑ ตี ๒ ถ้าอยู่ในเขาห่างไกล
จากหมู่บ้าน พวกเทพฯ ก็มีมาแต่วัน ราว ๒๒–๒๓ นาฬิกา
อยู่บ้างจึงไม่แน่นัก แต่โดยมากนับแต่เที่ยงคืนขึ้นไป
พวกเทพฯ ชอบมากันเป็นนิสัย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2014, 14:35 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ข้อวัตรประจำองค์ท่านโดยเฉพาะในมัชฌิมวัย
ข้อวัตรประจำองค์ท่านโดยเฉพาะ
ในมัชฌิมวัย หลังจังหันเสร็จแล้ว
เข้าทางจงกรมจวนเที่ยงหรือเที่ยงวัน
เข้าที่พักกลางวันเล็กน้อย หลังจากพักก็
เข้าที่ทำสมาธิภาวนาราวชั่วโมงครึ่ง จาก
นั้นลงเดินจงกรม จนถึงเวลาบ่าย ๔
โมงปัดกวาดลานวัดหรือที่พัก เสร็จแล้วสรงน้ำ
แล้วเข้าทางจงกรมอีก จนถึงเวลา ๑-๒ ทุ่ม
เข้าที่พักทำสมาธิภาวนาต่อไป ถ้าเป็นหน้าฝน
หรือหน้าแล้ง คืนที่ฝนไม่ตกท่าน
ยังลงมาเดินจงกรมอีกจนดึกดื่น ถึงจะขึ้นกุฏิหรือ
เข้าที่พัก ซึ่งเป็นร้านเล็ก ๆ ถ้าเห็นว่าดึกมากไปท่านก็
เข้าพักจำวัด ปกติท่านพักจำวัดราว ๒๓ นาฬิกา คือ ๕
ทุ่ม ไปตื่นเอาตี ๓ คือ ๙ ทุ่ม
ถ้าวันใดจะมีแขกเทพฯ มาเยี่ยมฟังธรรม
ซึ่งปกติท่านต้องทราบไว้ล่วงหน้าในตอนเย็นก่อน
แล้วทุกครั้ง วันนั้นถ้าเขา
จะมาดึกท่านก็รีบพักเสียก่อน ถ้าจะมาราว ๕ ทุ่ม
หรือเที่ยงคืนก็เข้าที่รอรับพวกเทพฯ อย่างนี้
เป็นประจำ
ท่านไปพักบำเพ็ญในที่บางแห่ง บางคืนมี
ทั้งพวกเทพฯ เบื้องบนและเทพฯเบื้องล่างจะมาเยี่ยมท่าน
ในเวลาเดียวกันก็มี ถ้าเป็นอย่างนี้ ท่าน
ต้องย่นเวลาคือรับแขกเทพฯ พวกมาถึงก่อนแต่น้อย
แสดงธรรมให้ฟังและแก้ปัญหาเท่าที่จำเป็น
แล้วก็บอกชาวเทพฯ ที่มาก่อนให้ทราบว่า ถัดจากนี้ไป
จะมีชาวเทพฯมาฟังธรรมและถามปัญหาอีก
พวกที่มาก่อนก็รีบลาท่านกลับไป พวกมาทีหลัง
ซึ่งรออยู่ห่าง ๆ พอไม่ให้เสียมารยาท
ความเคารพก็พากันเข้ามา ท่านก็เริ่มแสดงธรรม
ให้ฟัง ตามแต่บาทคาถาที่ท่านกำหนดในขณะนั้น
จะผุดขึ้นมา ซึ่งพอเหมาะกับจริตนิสัยและภูมิของเทพฯ
พวกนั้น ๆ บางทีหัวหน้าเทพฯ ก็แสดง
ความประสงค์ขึ้นเสียเองว่าขอฟังธรรมนั้น
ท่านก็เริ่มกำหนด พอธรรมนั้นผุดขึ้นมาก็เริ่มแสดง
ให้พวกเทพฯ ฟัง
ในบางครั้งหัวหน้าเทพฯ
ขอฟังธรรมประเภทนั้น ท่านสงสัยต้องถาม
เขาก่อนว่าธรรมนั้นชื่ออะไรในสมัยนี้
เพราะชื่อธรรมที่พวกเทพฯ เคยนับถือ
กันมาดั้งเดิมแต่สมัยโน้นกับชื่อธรรมในสมัยนี้ต่างกัน
ในบางสูตรบางคัมภีร์ เขาก็บอกว่าอย่างนั้นในสมัยนี้
แต่สมัยโน้นซึ่งพวกเทพฯ นับถือกันมาชื่อว่าอย่างนั้น
บางครั้งถ้าสงสัยท่านก็กำหนดเอง ยอมเสียเวลา
เล็กน้อย บางครั้งก็ถามเขาเลยทีเดียว
แต่บางครั้งพอเขาขอฟังธรรมสูตรนั้นหรือคัมภีร์
นั้น ซึ่งเป็นสูตรหรือคัมภีร์ที่ท่านเคยรู้อยู่แล้ว
นึกว่าเป็นความนิยมในชื่ออันเดียวกัน ท่านเลยไม่
ต้องกำหนดพิจารณาต่อไป เพราะเข้าใจว่าตรงกัน
กับที่เขาขอ ท่านเริ่มแสดงไปเลย พอแสดงขึ้น
เขารีบบอกทันทีว่าไม่ใช่ ท่านยกสูตร
หรือคัมภีร์ผิดไป ต้องขึ้นคาถาว่าอย่างนั้นถึงจะถูก
อย่างนี้ก็เคยมี
ท่านว่าพอโดนเข้าครั้งหนึ่งสองครั้งก็จำ
ได้เอง จากนั้นท่านต้องกำหนดให้แน่ใจเสียก่อนว่าตรง
กับมนุษย์และเทวดานิยมใช้ตรงกันหรือเปล่า
ค่อยเริ่มแสดงต่อไป บางวันพวกเทพฯเบื้องบนบ้าง
เบื้องล่างบ้าง พวกใดพวกหนึ่งจะมาเยี่ยมฟังธรรม
กับท่านในเวลาเดียวกันกับพวกพญานาคจะมาก็มี
เช่นเดียวกับแขกมนุษย์เรามาเยี่ยมครูอาจารย์
ในเวลาเดียวกันฉะนั้น แต่นาน ๆ มีครั้ง
ในกรณีเช่นนี้ เมื่อเขามาในเวลาตรงกันบ่อย ๆ เข้า
ท่านจำต้องตกลงกับเทพฯ
ทั้งเบื้องบนเบื้องล่างว่าพวกนี้ให้มาในเวลาเท่านั้น พวก
นั้นให้มาในเวลาเท่านั้น และพวกนาคให้มาในเวลา
เท่านั้น เพื่อความสะดวกทั้งฝ่ายพระฝ่ายเทพฯ
และฝ่ายนาคทั้งหลาย
ตามท่านเล่าว่า ท่านไม่ค่อยมีเวลาว่าง
เท่าไรนัก แม้จะไปอยู่ในป่าในเขาลึก ๆ ก็จำ
ต้องปฏิบัติต่อพวกเทพฯ ซึ่งมาจากเบื้องบนชั้นต่าง ๆ
และมาจากเบื้องล่างในที่ต่าง ๆ กันอยู่นั่นเอง
ในคืนหนึ่งพวกหนึ่งชั้นหนึ่งไม่มา ก็
ต้องมีอีกพวกหนึ่งอีกชั้นหนึ่ง และพวกรุกขเทพฯ ที่
ใดที่หนึ่งมากันจนได้ จึงไม่ค่อยมีเวลาว่าง
ในเวลากลางคืน แต่ที่เช่นนั้นมนุษย์ไม่ค่อยมี
ถ้าลงมาพักใกล้บ้านใกล้เมืองก็เป็นชาวมนุษย์
จากที่ต่าง ๆ มาเยี่ยม แต่ต้องต้อนรับเวลากลางวัน
ตอนบ่ายหรือตอนเย็น จาก
นั้นก็อบรมพระเณรต่อไป


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2014, 14:46 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขณะที่จะเขียนประวัติของชาวมนุษย์เรา
ในอันดับต่อจากชาวเทพฯที่มาเกี่ยวข้องกับท่านซึ่ง
ผู้เขียนมีส่วนได้เสียรวมอยู่ด้วย เพราะความ
เป็นมนุษย์ปุถุชนด้วยกัน จึงต้องขออภัยท่านผู้อ่านมาก ๆ
หากเป็นการไม่งามและไม่สมควรประการใด
ในเนื้อหาต่อไปนี้ เพราะความจำเป็นที่จำต้องเขียนตาม
ความจริงที่ท่านเล่าให้ฟังเป็นการภายในโดยเฉพาะ
แต่ผู้เขียนมีนิสัยไม่ดีประจำตัวที่แก้ไม่ตกในบางกรณี
ดังเรื่องที่จะเขียนต่อไปนี้ ทั้งนี้เพื่อจะ
ได้นำมาเทียบเคียงกันระหว่างชาวมนุษย์กับชาวเทพฯ
และถือเอาประโยชน์เท่าที่ควร จึงขออภัยอีกครั้ง
ท่านเล่าว่า
การติดต่อ
และแสดงธรรมระหว่างมนุษย์กับเทวดารู้สึกต่าง
กันอยู่มาก คือเวลาแสดงธรรมให้เทวดาฟัง
ไม่ว่าเบื้องบน เบื้องล่าง หรือรุกขเทวดา พวกนี้ฟัง
เข้าใจง่ายกว่ามนุษย์เราหลายเท่า
พอแสดงธรรมจบลง เสียงสาธุการ ๓ ครั้ง
กระเทือนโลกธาตุ ขณะที่พวกเทพฯ
ทุกชั้นทุกภูมิมาเยี่ยมก็มีความเคารพพระอย่างยิ่ง
ไม่เคยเห็นพวกเทพฯ แม้รายหนึ่งแสดงอาการไม่ดี
ไม่งามภายในใจ ทุกอาการของพวกเทพฯ
อ่อนนิ่มเหมือนผ้าพับไว้เสมอกันในขณะนั้น ขณะที่มาก็ดี
ขณะนั่งฟังธรรมก็ดี ขณะจะจากไปก็ดี เป็น
ความสงบเรียบร้อยและสวยงามไปตลอดสาย
แต่เวลาแสดงธรรมให้ชาวมนุษย์ฟังกลับไม่เข้าใจ
กัน แม้อธิบายซ้ำแล้วซ้ำเล่าก็ยังไม่ค่อยจะเข้าใจ
นอกจากไม่เข้าใจแล้ว ยังคิดตำหนิผู้แสดงอยู่ภาย
ในอีกด้วยว่าเทศน์อะไรฟังไม่รู้เรื่องเลย สู้องค์นั้น
ไม่ได้ สู้องค์นี้ไม่ได้
บางรายยังอดจะเอากิเลสหยาบ ๆ
อยู่ภายในของตัวออกอวดไม่ได้ว่า สมัยเราบวช
ยังเทศน์เก่งกว่านี้เป็นไหน ๆ คนฟังฮากันตึง ๆ ด้วย
ความเพลิดเพลิน ไม่มีการง่วงเหงาหาวนอนเลย
ยิ่งเทศน์โจทก์สองธรรมาสน์ด้วยแล้ว
คนฟังหัวเราะกันไม่ได้หุบปากตลอดกัณฑ์
บางรายก็คิดในใจว่า คนเล่าลือ
กันว่าท่านเก่งมากทางรู้วาระน้ำจิตคน
ใครคิดอะไรขึ้นมาท่านรู้ได้ทันที
แต่เวลาเราคิดอะไร ๆ ท่านไม่เห็นรู้บ้างเลย
ถ้ารู้ก็ต้องแสดงออกบ้าง ถ้าไม่แสดงออกตรง ๆ
ต่อหน้าผู้กำลังคิด ก็ควรพูด
เป็นอุบายเปรียบเปรยว่า นาย ก. นาย ข.
ไม่ควรคิดเช่นนั้น ๆ มันผิด ควรเปลี่ยนความคิดเสีย
ใหม่ดังนี้ พอจะจับเงื่อนได้ว่า
ผู้รู้หัวใจคนจริงสมคำเล่าลือ บางรายเตรียมตัว
จะมาจับผิดจับพลาดด้วย
ความอวดตัวว่าฉลาดอย่างพอตัว ผู้นั้นไม่มี
ความสนใจต่อธรรมเอาเลย แม้จะแสดงธรรมให้ผู้
อื่นฟังด้วยวิธีใด ๆ ที่เขานั่งฟังอยู่ด้วยในขณะนั้น ก็
เป็นเหมือนเทน้ำใส่หลังหมานั่นเอง
มันสลัดทิ้งหมดทันที ไม่มีน้ำเหลือ
อยู่บนหลังแม้หยดเดียว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2014, 14:53 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ว่าแล้วท่านก็หัวเราะ อาจจะขบขันในใจ
อยู่บ้าง ที่นาน ๆ ท่านจะ
ได้พบมนุษย์ที่ฉลาดสักครั้งหนึ่ง แล้วก็เล่าต่อไป
เวลามา ต่างก็แบกทิฐิมานะมาจน
จะเดินแทบไม่ไหว เพราะหนักมากเกินกว่าแรงมนุษย์
ทั้งคนจะแบกหามได้ ในตัว
ทั้งหมดปรากฏว่ามีแต่ทิฐิมานะตัวเป้ง ๆ ทั้งนั้น ไม่
ใช่ของเล่น มองดูแล้วน่ากลัวยิ่งกว่าที่จะน่าสงสาร
และคิดแสดงธรรมให้ฟัง แต่ก็จำ
ต้องแสดงเพื่อสังคม ถูไถกันไปอย่างนั้นแล ธรรมก็
ไม่ทราบว่าหายไปไหนหมด คิดหาแต่ละบทละบาทก็
ไม่เห็นมีแสดงขึ้นมาบ้างเลย เข้าใจว่าธรรม
จะสู้ตัวเป้ง ๆ ไม่ไหวเลยวิ่งหนีหมด
ยังเหลือแต่ตัวเปล่าที่เป็นเหมือนตุ๊กตา
ซึ่งกำลังถูกเหล็กแหลมทิ่มแทงอยู่อย่าง
ไม่มีใครสนใจว่าจะมีความรู้สึกอย่างไรเวลานั้น ที่
เขาตำหนิก็ถูกของเขา เพราะบางครั้งเราก็
ไม่มีธรรมโผล่หน้าขึ้นมาเพื่อให้แสดงบ้างเลยจริง
ๆ มีแต่นั่งอยู่เหมือนหัวตอ จะได้อรรถได้ธรรมมา
จากไหน
แล้วท่านก็หัวเราะไปพลางเล่าไปพลาง
ผู้นั่งฟังอยู่ด้วยกันหลายคนในขณะนั้น
บางรายก็เกิดตัวสั่นขึ้นมาเอาเฉย ๆ แต่หาไข้ไม่เจอ
หาหนาวไม่เจอ เพราะไม่ใช่หน้าหนาว เลยพา
กันเดาเอาเองว่าคงเป็นเพราะความกลัวนั่นเอง
ท่านว่า
ถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ ก็ไม่เทศน์
เพราะการเทศน์เป็นเหมือนโปรยยาพิษทำลายคนผู้
ไม่มีความเคารพอยู่ภายใน ส่วนธรรมนั้นยกไว้ว่า
เป็นธรรมที่เยี่ยมยอดจริง ๆ
มีคุณค่ามหาศาลสำหรับผู้ตั้งใจและมีเมตตา
เป็นธรรม ไม่อวดรู้อวดฉลาดเหนือธรรม
ตรงนี้แลที่สำคัญมาก และทำให้
เป็นยาพิษเผาลนเจ้าของผู้ก่อเหตุโดยไม่รู้สึกตัว ผู้
ไม่ก่อเหตุ ผลจะเกิดขึ้นได้อย่างไร ขณะนั่งฟังอยู่ด้วย
กันหลายคน ผู้ร้อน ๆ จนจะละลายตายไปก็มี
ผู้เย็น ๆ จนตัวจะเหาะลอยขึ้นบนอากาศก็มี มันผิด
กันที่ใจดวงเดียวนี้เท่านั้น นอกนั้นไม่สำคัญ เรา
จะพยายามอนุเคราะห์เขาเพื่อผ่อนหนักให้เป็นเบาบ้างก็
ไม่มีทาง เมื่อใจไม่ยอมรับแล้วแม้จะพยายามคิดว่า ถ้า
ไม่เกิดประโยชน์ก็ไม่อยากให้เกิดโทษ แต่ก็ปิดไม่อยู่
เพราะผู้คอยจะสร้างบาปสร้างกรรมนั้น
เขาสร้างอยู่ตลอดเวลา แบบไม่สนใจกับใคร
และอะไรทั้งนั้น
การเทศน์สั่งสอนมนุษย์นับว่ายากอยู่
ไม่น้อย เวลาเขามาหาเราซึ่งไม่กี่คน แต่โดยมาก
ต้องมียาพิษแอบติดตัวมาจนได้ไม่มากก็พอ
ให้รำคาญใจได้ ถ้าเราจะสนใจรำคาญอย่างโลก ๆ
ก็ต้องได้รำคาญจริง ๆ
แต่นี้ปล่อยตามบุญตามกรรม เมื่อหมดทางแก้ไข
แล้วถือว่าเป็นกรรมของสัตว์
ท่านว่าแล้วก็หัวเราะ
ผู้ตั้งใจมาเพื่อแสวงหาอรรถหาธรรม
หาบุญกุศลด้วยความเชื่อบุญเชื่อกรรมจริง ๆ ก็มี
นั่นน่าเห็นใจและน่าสงสารมาก แต่มีจำนวนน้อย
ผู้มาแสวงหาสิ่งไม่เป็นท่าและไม่มีขอบเขต
นั้นรู้สึกมากเหลือหูเหลือตาพรรณนาไม่จบ ฉะนั้น
จึงชอบอยู่แต่ในป่าในเขาอันเป็นที่สบายกายสบายใจ ทำ
ความพากเพียรก็เต็มเม็ดเต็มหน่วย ไม่มีสิ่งรบกวน
ให้ลำบากตาลำบากใจ มองไปทางไหน
คิดเรื่องอะไรเกี่ยว
กับอรรถธรรมก็ปลอดโปร่งโล่งใจ
มองดูและฟังเสียงสัตว์สาราสิง
พวกลิงค่างบ่างชะนีที่หยอกเล่นกัน
ทั้งห้อยโหนโยนตัวและกู่ร้องโหยหวนหากัน
อยู่ตามกิ่งไม้ชายเขาลำเนาป่า ยังทำ
ให้เย็นตาเย็นใจไปตาม โดยมิได้คิดว่าเขาจะมี
ความรู้สึกอะไรต่อเรา ต่างตัวต่างหากิน
และปีนขึ้นโดดลงไปตามภาษาของสัตว์ ทำให้รู้สึก
ในอิริยาบถและความเป็นอยู่ทุกด้านสดชื่นผ่องใส
และวิเวกวังเวง หากจะมีอันเป็นอันตายขึ้นมาในเวลา
นั้น ก็เป็นไปด้วยความสงบสุขทั้งทางกายและจิตใจ
ไม่เกลื่อนกล่นวุ่นวาย
ตายแบบธรรมชาติคือมาคนเดียวไปคนเดียวแท้
โดยมากพระสาวกอรหันต์ท่านนิพพานแบบนี้กันทั้งนั้น
เพราะกายและจิตของท่านไม่มี
ความเกลื่อนกล่นวุ่นวายมาแอบแฝง มีกายอันเดียว
จิตดวงเดียว และมีอารมณ์เดียว ไม่ไหลบ่าแส่หา
ความทุกข์ ไม่สั่งสมอารมณ์ใด ๆ มาเพิ่มเติมให้
เป็นการหนักหน่วงถ่วงตน ท่านอยู่แบบอริยะ
ไปแบบอริยะ ไม่ระคนคละเคล้ากับสิ่งที่จะทำ
ให้กังวลเศร้าหมองในทิฏฐธรรมปัจจุบัน
สะอาดเท่าไรยิ่งรักษา บริสุทธิ์
เท่าไรยิ่งไม่คุ้นกับอารมณ์ ตรงกันข้ามกับที่ว่าหนัก
เท่าไรยิ่งขนมาเพิ่มเข้า แต่ท่านเบา
เท่าไรยิ่งขนออกจนไม่มีอะไรจะขน แล้วก็อยู่กับ
ความไม่มีทั้ง ๆ ที่ผู้ว่าไม่มีคือใจก็มีอยู่กับตัว คือไม่มีงาน
จะขนออกและขนเข้าอีกต่อไป เรียกว่าบรรลุ
ถึงขั้นคนว่างงาน ใจว่างงาน
ทางศาสนาถือการว่างงานแบบนี้เป็นความสุขอันยิ่ง
ใหญ่ ผิดกับโลกที่ผู้ว่างงานกลายเป็นคนมีทุกข์มากขึ้น
เพราะไม่มีทางไหลมาแห่งโภคทรัพย์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2014, 14:56 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านเล่าความแตกต่างระหว่างมนุษย์
กับเทวดาให้ฟังมากมาย แต่นำมาเขียนเท่าที่จำได้
และที่เห็นว่าควรจะยึดเป็นสารประโยชน์
ได้บ้างตามสติปัญญา ที่จะคัดเลือกหาแง่ที่
เป็นประโยชน์ ที่มีขาดตอนไปบ้างในเรื่องเดียวกัน
เช่น เรื่องเทวดา เป็นต้น ซึ่งควร
จะนำมาเชื่อมโยงติดต่อกันไปจนจบ แต่ไม่สามารถทำ
ได้ในระยะนี้นั้น เกี่ยวกับประสบการณ์ของท่านผู้
เป็นเจ้าของ มีประสบหลายครั้งทั้งในที่
และสมัยต่าง ๆ กัน จำ
ต้องเขียนไปตามประวัติที่ท่านประสบเพื่อ
ให้เรียงลำดับกันไป แม้เรื่องเทวดาก็ยังจะมีอยู่อีก
ในวาระต่อไป ตามประวัติที่ผู้เขียนดำเนินไป
ถึงตามประสบการณ์นั้น ๆ ไม่กล้านำมาลง
ให้คละเคล้ากัน จึงขออภัยด้วยหากไม่สะดวก
ในการอ่าน ซึ่งมุ่งประสงค์จะให้จบสิ้น
ในเรื่องทำนองเดียวกันในตอนเดียวกัน
ที่ท่านเล่าระหว่างมนุษย์กับเทวดานั้น
เป็นเรื่องราวของมนุษย์และเทวดา
ในสมัยโน้นต่างหาก ซึ่งองค์ท่านผู้ประสบและเล่า
ให้ฟังก็มรณภาพผ่านไปราว ๒๐ ปีนี้แล้ว
คิดว่ามนุษย์และเทวดาสมัยนั้นคงจะแปรสภาพ
เป็นอนิจจังไปตามกฎอันมีมาดั้งเดิม อาจจะ
ยังเหลือเฉพาะมนุษย์และเทวดาสมัยใหม่ ซึ่งต่างก็
ได้รับการอบรมพัฒนาทางจิตใจและความประพฤติ
กันมาพอสมควร เรื่องมนุษย์ทำนองที่มี
ในประสบการณ์ของท่านจนกลายเป็นประวัติมานั้น
คงจะไม่มีท่านผู้สนใจสืบต่อให้รกรุงรังแก่ตน
และประเทศชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์อีกต่อไป
เพราะการศึกษานับวันเจริญ ผู้
ได้รับการศึกษามากคงไม่มีท่านผู้มีจิตใจใฝ่ต่ำขนาด
นั้น จึงเป็นที่เบาใจกับชาวมนุษย์ในสมัยนี้
ท่านพักบำเพ็ญและอบรมพระเณร
และประชาชนชาวจังหวัดอุดรฯ หนองคาย
พอสมควรแล้ว
ก็ย้อนกลับไปทางจังหวัดสกลนคร
เที่ยวไปตามหมู่บ้านที่มีอยู่ในป่าในเขาต่าง ๆ
มีอำเภอวาริชภูมิ พังโคน สว่างแดนดิน วานรนิวาส
อากาศอำนวย แล้วก็เลยเข้าเขตจังหวัดนครพนม
เที่ยวไปตามแถบอำเภอศรีสงคราม มีหมู่บ้านสามผง
โนนแดง ดงน้อย คำนกกก เป็นต้น ซึ่ง
เป็นหมู่บ้านที่เต็มไปด้วยดงหนาป่าทึบและชุกชุมไป
ด้วยไข้ป่า (ไข้มาลาเรีย) ซึ่งรายใดเจอเข้า
แล้วก็ยากจะหายได้ง่าย ๆ อย่างน้อยเป็นแรมปีก็ยัง
ไม่หายขาด หากไม่ตายก็พอทรมาน
ดังที่เคยเขียนผ่านมาบ้างแล้วว่า
“ไข้ที่พ่อตาแม่ยายเบื่อหน่ายและเกลียดชัง” เพราะ
ผู้เป็นไข้ประเภทนี้นาน ๆ ไป แม้ยัง
ไม่หายขาดแต่ก็พอไปมาได้และรับประทานได้
แต่ทำงานไม่ได้ บางรายก็ทำให้
เป็นคนวิกลวิการไปเลยก็มี ชาวบ้านแถบนั้นเจอ
กันบ่อยและมีดาษดื่น ส่วนพระเณรจำต้องอยู่
ในข่ายอันเดียวกัน มากกว่านั้นก็ถึงตาย
ท่านจำพรรษาแถบหมู่บ้านสามผง ๓ ปี
มีพระตายเพราะไข้ป่าไปหลายรูป ที่
เป็นพระชาวทุ่งไม่เคยชินกับป่ากับเขา เช่น
พระชาวอุบล ร้อยเอ็ด สารคาม ไปอยู่กับท่าน
ในป่าแถบนั้นไม่ค่อยได้ เพราะทนต่อไข้ป่าไม่ไหว
ต้องหลีกออกไปจำพรรษาตามหมู่บ้านแถวทุ่ง ๆ
ท่านเล่าว่า
ขณะท่านกำลังแสดงธรรมอบรมพระเณรตอนกลางคืนที่หมู่บ้านสามผง
มีพญานาคที่อยู่แถบลำแม่น้ำสงคราม
ได้แอบมาฟังเทศน์ท่านแทบทุกคืน
เฉพาะวันพระมาทุกคืน ถ้า
ไม่มาตอนท่านอบรมพระเณร ก็
ต้องมาตอนดึกขณะท่านเข้าที่ภาวนา ส่วนพวกเทวดา
ทั้งเบื้องบนเบื้องล่างมีมาห่าง ๆ ไม่เหมือนอยู่ที่อุดรฯ
หนองคาย เฉพาะวันเข้าพรรษา วันกลางพรรษา
และวันปวารณาออกพรรษาแล้ว ไม่ว่าท่าน
จะพักจำอยู่ที่ไหน แม้แต่ในตัวเมือง ก็ยังมีพวกเทวดา
ทั้งเบื้องบนเบื้องล่างชั้นใดชั้นหนึ่ง และที่ใดที่หนึ่ง
มาฟังธรรมท่านมิได้ขาด เช่น
ที่วัดเจดีย์หลวงที่จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2014, 15:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระเณรไม่เชื่อคำเตือนจนเกือบเกิดอันตราย
ขณะที่ท่านพัก
อยู่บ้านสามผงมีเรื่องที่แปลกอยู่เรื่องหนึ่ง
เวลานั้นเป็นหน้าแล้ง
พระเณรอบรมกับท่านมากราว ๖๐–๗๐ รูป
น้ำท่ามีไม่พอใช้และขุ่นข้นไปหมด พระและเณรพา
กันปรึกษากันกับชาวบ้านว่า ควรจะขุดบ่อ
ให้ลึกลงไปอีก เผื่อจะได้น้ำที่สะอาดและพอกินพอ
ใช้ไม่ขาดแคลนดังที่เป็นอยู่บ้าง เมื่อตกลงกันแล้ว
พระผู้ใหญ่ก็เข้าไปกราบเรียนท่านเพื่อขออนุญาต
พอกราบเรียนความประสงค์
ให้ท่านทราบ ท่านนิ่งอยู่พักหนึ่ง
แล้วแสดงอาการเคร่งขรึม
และห้ามออกมาอย่างเสียงแข็งว่า “อย่า ๆ ดีไม่ดี
เป็นอันตราย” พูดเท่านั้นก็หยุด ไม่พูดอะไรต่อไปอีก
พระอาจารย์รูปนั้นก็งงงัน
ในคำพูดท่านที่ว่า “ดีไม่ดีเป็นอันตราย”
พอกราบท่านออกมาแล้วก็นำเรื่องมาเล่า
ให้พระเณรและญาติโยมฟังตามที่ตนได้ยินมา
แทนที่จะมีผู้คิดและเห็นตามที่ท่านพูดห้าม
แต่กลับปรึกษากันเป็นความลับว่าพวกเราไม่ต้อง
ให้ท่านทราบ พากันขโมยทำก็ยังได้ เพราะน้ำบ่อก็
อยู่ห่างไกลจากวัด พอจะขโมยทำได้
พอเที่ยงวันกะว่าท่านพักจำวัดก็พา
กันเตรียมออกไปขุดบ่อ พอขุดกันยังไม่ถึงไหน
ดินรอบ ๆ ปากบ่อก็พังลง
ใหญ่จนเต็มขึ้นมาเสมอพื้นที่ที่เป็นอยู่ดั้งเดิม
ปากบ่อเบิกกว้างและเสียหายไปเกือบหมด
พระเณรญาติโยมพา
กันกลัวจนใจหายใจคว่ำไปตาม ๆ กันและตั้งตัวไม่ติด
เพราะดินพังลงเกือบทับคนตายหนึ่ง เพราะพา
กันล่วงเกินคำที่ท่านห้ามโดย
ไม่มีใครระลึกรู้พอยับยั้งกันไว้บ้างหนึ่ง
และกลัวท่านจะทราบว่าพวกตนพากันขโมยทำ
โดยการฝ่าฝืนท่านหนึ่ง
พระเณรทั้งวัดและญาติโยมทั้งบ้านพา
กันร้อนเป็นไฟไปตาม ๆ กัน และรีบพา
กันหาไม้มากั้นดินปากบ่อที่พังลงด้วยความเห็นโทษ
ขออาราธนาวิงวอนถึงพระคุณท่านให้
ช่วยคุ้มครองพอเอาดินที่พังลงในบ่อขึ้นได้ และ
ได้อาศัยน้ำต่อไป เดชะบุญพออธิษฐานถึงพระคุณท่าน
แล้ว
ทุกอย่างเลยเรียบร้อยไปอย่างน่าอัศจรรย์คาดไม่
ถึง จึงพอมีหน้ายิ้มต่อกันได้บ้าง
พอเสร็จงานพระเณร
และญาติโยมต่างก็รีบหนีเอาตัวรอด กลัวท่าน
จะมาที่นั่น ส่วนพระเณรทั้งวัดต่างก็มีความร้อนใจสุม
อยู่ตลอดเวลา เพราะความผิดที่พากันก่อ
ไว้แต่กลางวัน ยิ่งจวนถึงเวลาประชุมอบรมซึ่งเคยมี
เป็นประจำทุกคืนก็ยิ่งเพิ่มความไม่สบายใจมากขึ้น
ใคร ๆ ก็เคยรู้เคยเห็น
และเคยถูกดุเรื่องทำนองนี้มาแล้วจนฝังใจ
บางเรื่องแม้ตนเคยคิดและทำจนลืมไปแล้ว ท่านยัง
สามารถรู้และนำมาเทศน์สอนจนได้
เพียงเรื่องน้ำบ่อซึ่งเป็นเรื่องหยาบ ๆ ที่พา
กันขโมยท่านทำทั้งวัด จะเอาอะไรไปปิดไม่
ให้ท่านทราบ ท่านต้องทราบ
และเทศน์อย่างหนักแน่นอนในคืนวันนี้
หรืออย่างช้าก็ตอนเช้าวันรุ่งขึ้น
อารมณ์เหล่านี้แลที่ทำให้พระเณรไม่สบายใจกัน
ทั้งวัด
พอถึงเวลาประชุมและแทนที่
จะถูกโดนอย่างหนักดังที่คาดกันไว้ ท่านกลับ
ไม่ประชุมและไม่ดุด่าอะไรแก่ใคร ๆ เลย สม
เป็นอาจารย์ที่ฉลาดสั่งสอนคนจำนวนมาก
ทั้งที่ทราบเรื่องนั้นได้ดีและยังทราบความ
ไม่ดีของพระทั้งวัดที่ล่วงเกินฝ่าฝืนท่านแล้วกำลัง
ได้รับความเร่าร้อนกันอยู่ หาก
จะว่าอะไรลงไปเวลานั้นก็เท่ากับการซ้ำเติม
ผู้ทำผิดที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ขณะนั้น
ผู้ทำผิดต่างกำลังเห็นโทษของตนอย่างเต็มที่อยู่แล้ว
พอรุ่งเช้าวันใหม่เวลาท่านออก
จากที่ภาวนา ปกติท่านลงเดินจงกรมจน
ได้เวลาบิณฑบาต แล้วค่อยขึ้นบนศาลา
ครองผ้าออกบิณฑบาต อย่างนั้นเป็นประจำมิได้ขาด
เช้าวันนั้นพอท่านจากทางจงกรมขึ้นศาลา พระ
ทั้งวัดต่างร้อนอยู่ภายในและคอยฟังปัญหาว่าท่าน
จะออกแง่ไหนบ้างวันนี้
แต่แทนที่จะเป็นไปตามความคิดของพระ
ทั้งวัด ซึ่งกำลังกระวนกระวายอยากฟัง
แต่เรื่องกลับเป็นไปคนละโลก
คือท่านกลับพูดนิ่มนวลอ่อนหวานแสดง
เป็นเชิงปลอบใจพระเณรที่กำลังเร่าร้อน
ให้กลับสบายใจว่า
“เรามาศึกษาหาอรรถหาธรรม
ไม่ควรกล้าจนเกินตัวและกลัวจนเกินไป เพราะ
ความผิดพลาดอาจมีได้ด้วยกันทุกคน ความเห็นโทษ
ความผิดนั่นแลเป็นความดี
พระพุทธเจ้าท่านก็เคยผิดมาก่อนพวกเรา
ตรงไหนที่เห็นว่าผิดท่านก็เห็นโทษในจุดนั้น
และพยายามแก้ไขไปทุกระยะที่เห็นว่าผิด เจตนานั้นดี
อยู่ แต่ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์นั้นอาจมีได้
ควรสำรวมระวังต่อไปทุกกรณี เพราะ
ความมีสติระวังตัวทุกโอกาสเป็นทางของนักปราชญ์”
เพียงเท่านี้ก็หยุด
และแสดงอาการยิ้มแย้มต่อพระเณรต่อไป
ไม่มีใครจับพิรุธท่านได้เลย
แล้วก็พาออกบิณฑบาตตามปกติ
คืนวันหลังก็ไม่ประชุมอีก เป็นแต่สั่ง
ให้พากันประกอบความเพียร รวม
เป็นเวลาสามคืนที่ไม่มีการประชุมอบรมธรรม
พอดีกับระยะนั้นพระเณรกำลังกลัวท่าน
จะเทศน์เรื่องบ่อน้ำอยู่แล้ว ก็พอเหมาะกับที่ท่านไม่สั่ง
ให้ประชุม จนคืนที่สี่ถึงมีการประชุม
เวลาประชุมก็มิได้เอ่ยถึงเรื่องบ่อน้ำ ทำเป็นไม่รู้
ไม่ชี้ให้เรื่องหายเงียบไปเลยตั้งนาน
จนปรากฏว่าพระทั้งวัดลืมกันไปหมดแล้ว เรื่องถึง
ได้โผล่ขึ้นมาอย่างไม่นึกไม่ฝัน และก็
ไม่มีใครกล้าเล่าถวายให้ท่านทราบเลย
เพราะต่างคนต่างปิดเงียบ ท่านเองก็มิได้เคยไปที่บ่อซึ่ง
อยู่ห่างจากวัดนั้นเลย
เริ่มแรกก็แสดงธรรมอบรมทางภาคปฏิบัติไปเรื่อย
ๆ อย่างธรรมดา พอแสดงไปถึงเหตุผลและ
ความเคารพในธรรม ในครูอาจารย์
ธรรมก็เริ่มกระจายไปถึง
ผู้มารับการศึกษาอบรม ว่า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2014, 15:14 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ควรเป็นผู้หนักในเหตุผลซึ่ง
เป็นเรื่องของธรรมแท้ ไม่ควรปล่อยให้
ความอยากที่คอยผลักดัน
อยู่ตลอดเวลาออกมาเพ่นพ่านในวงปฏิบัติ
จะมาทำลายธรรมอันเป็นแนวทางที่ถูกและ
เป็นแบบฉบับแห่งการดำเนินเพื่อความพ้นทุกข์ จะทำ
ให้ทุกสิ่งที่มุ่งปรารถนาเสียไปโดยลำดับ
ธรรมวินัยหนึ่ง
คำพูดของครูอาจารย์หนึ่ง ที่เราถือเป็นที่เคารพ
ไม่ควรฝ่าฝืน การฝ่าฝืนพระธรรมวินัย
และการฝ่าฝืนคำครูอาจารย์
เป็นการทำลายตัวเอง และเป็นการส่งเสริมนิสัย
ไม่ดีให้มีกำลังเพื่อทำลายตนและผู้อื่นต่อไป
ไม่มีทางสิ้นสุด น้ำบ่อนี้มิใช่มีแต่ดินเหนียวล้วน ๆ
แต่มีดินทรายอยู่ข้างล่างด้วย
หากขุดลึกลงไปมากดินทรายจะพังลงไปกันบ่อ
และจะทำให้ดินเหนียวขาดตกลงไปด้วย ดี
ไม่ดีทับหัวคนตายก็ได้จึงได้ห้ามมิให้พากันทำ
การห้ามมิให้ทำหรือการสั่งให้ทำในกิจ
ใด ๆ ก็ตาม ได้พิจารณาก่อนแล้วทุกอย่างถึง
ได้สั่งลงไป
ผู้มารับการอบรมก็ควรพิจารณาตามบ้าง
บางอย่างก็เป็นเรื่องภายในโดยเฉพาะ ไม่จำ
ต้องแสดงออกต่อผู้อื่นเสียจนทุกแง่ทุกมุม
เท่าที่แสดงออกเพื่อผู้อื่นก็พอเข้าใจความมุ่งหมายดีพอ
แต่ทำไมจึงไม่เข้าใจ เช่น อย่าทำสิ่งนั้น แต่กลับทำ
ในสิ่งนั้น ให้ทำสิ่งนั้น แต่กลับไม่ทำในสิ่งนั้นดังนี้ เรื่อง
ทั้งนี้มิใช่ไม่เข้าใจ ต้องเข้าใจกันแน่นอน
แต่ที่ทำไปอีกอย่างหนึ่งนั้น เป็น
ความดื้อดึงตามนิสัยที่เคยดื้อดึงต่อพ่อแม่มาแต่เป็นเด็ก
เพราะท่านเอาใจ นิสัยนั้นเลยติดตัวและฝังใจมาจน
ถึงขั้นพระขั้นเณร ซึ่งเป็นขั้นผู้ใหญ่เต็มที่แล้ว
แล้วก็มาดื้อดึงต่อครูอาจารย์ต่อพระธรรมวินัยอัน
เป็นทางเสียหายเข้าอีก ความดื้อดึงในวัยและเพศนี้ ไม่
ใช่ความดื้อดึงที่ควรได้รับอภัย
และเอาใจเหมือนคราวเป็นเด็ก
แต่ควรตำหนิอย่างยิ่ง ถ้าขืนดื้อดึงต่อไปอีกก็จะ
เป็นการส่งเสริมนิสัยไม่ดีนั้นให้ยิ่งขึ้นและควร
ได้รับสมัญญาว่า “พระธุดงค์หัวดื้อ”บริขาร
ใช้สอยทุกชิ้นที่เกี่ยว
กับตัวก็ควรเรียกว่าบริขารของพระหัวดื้อไปด้วย
องค์นี้ก็ดื้อ องค์นั้นก็ด้าน องค์โน้นก็มึน
และดื้อด้านกันทั้งวัด อาจารย์ก็ได้ลูกศิษย์หัวดื้อ
อะไรก็กลายเป็นเรื่องดื้อด้านไปเสียหมด โลกนี้เห็น
จะแตก ศาสนาก็จะล่มจมแน่นอน
แล้วก็แสดงเป็นเชิงถามว่า
ใครบ้างที่ต้องการเป็นพระหัวดื้อและ
ต้องการให้อาจารย์เป็นอาจารย์ของพระหัวดื้อ
มีไหมในที่นี่ ถ้ามีพรุ่งนี้ให้พากันไปรื้อไปขุดน้ำบ่ออีก
ให้ดินพังลงทับตาย จะ
ได้ไปเกิดบนสวรรค์วิมานหัวดื้อ เผื่อชาวเทพ
ทั้งหลายชั้นต่าง ๆ จะได้มาชมบารมีบ้างว่าเก่งจริง
ไม่มีชาวเทพพวกไหนแม้ชั้นพรหมโลกที่เคยเห็น
และเคยได้อยู่วิมานประหลาดเช่นนี้มาก่อน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2014, 15:20 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จากนั้นก็แสดงอ่อนลงทั้งเสียง
และเนื้อธรรม ทำให้ผู้ฟังเห็นโทษแห่ง
ความดื้อดึงฝ่าฝืนของตนอย่างถึงใจ ผู้นั่งฟังอยู่ในขณะ
นั้นคล้ายกับลืมหายใจไปตาม ๆ กัน
พอจบการแสดงธรรม
และเลิกประชุมแล้ว ต่างก็ออกมาถาม
และยกโทษกันวุ่นวายไปว่า
มีใครไปกราบเรียนท่านถึงได้เทศน์ขนาดหนัก
ทำเอาผู้ฟังแทบสลบไปตาม ๆ กันในขณะนั้น
ทุกองค์ต่างก็ปฏิเสธเป็นเสียงเดียวกันว่า
ไม่มีใครกล้าไปกราบเรียน
เพราะต่างก็กลัวว่าท่านจะทราบ
และถูกโดนเทศน์หนักอยู่แล้ว เรื่องก็เป็นอันผ่านไป
โดยมิได้ต้นสายปลายเหตุ
ตามปกติ ท่านพระอาจารย์มั่นท่านมี
ความรู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่าง ๆ
มาแต่สมัยท่านจำพรรษาอยู่ถ้ำสาริกา
จังหวัดนครนายกตลอดมา และมี
ความชำนาญกว้างขวางขึ้นเป็นลำดับจนแทบจะพูด
ได้ว่าไม่มีประมาณ เวลาปกติก็ดี ขณะ
เข้าประชุมฟังการอบรมก็ดี พระที่อยู่กับท่าน
ซึ่งรู้เรื่องของท่านได้ดีต้องมี
ความระวังสำรวมจิตอย่างเข้มงวดกวดขัน
อยู่ตลอดไป จะเผลอตัวคิดไปต่าง ๆ นานาไม่ได้
เวลาเข้าประชุมความคิดนั้นต้องกลับมา
เป็นกัณฑ์เทศน์ให้เจ้าของฟังอีกจนได้
ยิ่งขณะที่ท่านกำลังให้การอบรมอยู่ด้วยแล้วยิ่ง
เป็นเวลาที่สำคัญมากกว่าเวลาอื่นใด ทั้ง ๆ
ที่แสดงธรรมอยู่ แต่ขณะที่หยุดหายใจ
หรือหยุดเพื่อสังเกตการณ์อะไรก็สุดจะเดา
เพียงขณะเดียวเท่านั้น ถ้ามีราย
ใดคิดเปะปะออกนอกลู่นอกทางไปบ้าง ขณะนั้นแล
เป็นต้องได้เรื่อง และได้ยินเสียงเทศน์แปลก ๆ
ออกมาทันที ซึ่งตรงกับความคิดที่ไม่มีสติรายนั้น ๆ
เป็นแต่ท่านไม่ระบุรายชื่อออกมาอย่างเปิดเผยเท่านั้น
แม้เช่นนั้นก็ทำให้ผู้คิดสะดุดใจในความคิดของตนทันที
และกลัวท่านมาก ไม่กล้าคิดแบบนั้นต่อไปอีก
กับเวลาออกบิณฑบาตตามหลังท่าน
นั้นหนึ่ง จะต้องระวัง ไม่เช่นนั้นจะ
ได้ยินเสียงเทศน์เรื่องความคิดไม่ดีของตนในเวลา
เข้าประชุมแน่นอน บางทีก็น่าอับอายหมู่เพื่อนที่นั่งฟัง
อยู่ด้วยกันหลายท่านซึ่ง
ได้ยินแต่เสียงท่านเทศน์ระบุเรื่องความคิด แต่มิ
ได้ระบุตัวผู้คิด ผู้ถูกเทศน์แทบมุดดิน
ให้จมหายหน้าไปเลยก็มี เพราะบางครั้งเวลา
ได้ยินท่านเทศน์แบบนั้น ทำให้ผู้นั่งฟังอยู่ด้วย
กันหลายท่านต่างหันหน้ามององค์นั้นชำเลืองดูองค์นี้
เพราะไม่แน่ใจว่าเป็นองค์ไหนแน่ที่ถูกเทศน์เรื่องนั้น
อยู่ขณะนั้น บรรดาพระเณรจำนวนมากรู้สึก
จะมีนิสัยคล้ายคลึงกัน พอโดนเจ็บ ๆ ออกมา
แล้วแทนที่จะเสียใจหรือโกรธ
พอพ้นเขตดัดสันดานออกมาต่างแสดง
ความยิ้มแย้มขบขันพอใจ และไต่ถามซึ่งกันและกันว่า
วันนี้โดนใคร? วันนี้โดนใคร?
แต่น่าชมเชยอยู่อย่างหนึ่ง ที่พระท่านมี
ความสัตย์ซื่อต่อความคิดผิดของตัวและต่อเพื่อนฝูง
ไม่ปกปิดไว้เฉพาะตัว พอมีผู้ถาม จะเป็นองค์
ใดก็ตามที่คิดผิดทำนองท่านเทศน์นั้น องค์นั้น
ต้องสารภาพตนทันทีว่า วันนี้โดนผมเอง
เพราะผมมันดื้อไม่เข้าเรื่องไปหาญคิดเรื่อง…..
ทั้งที่ตามปกติก็รู้อยู่ว่าจะโดนเทศน์ถ้าขืนคิดอย่างนั้น
แต่พอไปเจอเข้ามันลืมเรื่องที่เคยกลัวเสียสิ้น
มีแต่เรื่องกล้าแบบบ้า ๆ บอ ๆ ออกมาท่าเดียว
ที่ท่านเทศน์นั้นสมควรอย่างยิ่งแล้ว จะ
ได้ดัดสันดานเราที่คิดไม่ดีเสียที
ต้องขออภัยจากท่านผู้อ่านมาก ๆ
ที่บางเรื่องผู้เขียนก็ไม่สะดวกใจที่จะเขียน
แต่เรื่องที่ว่าไม่สะดวกก็มีผู้ก่อไว้แล้ว พอ
ให้เกิดปัญหากลืนไม่ได้คายไม่ออกขวางอยู่ในคอดี ๆ
นี่เอง ถ้าได้ระบายออกตามความจริงก็น่าจะ
เป็นธรรม เหมือนพระท่านแสดงอาบัติ ก็เป็นวิธีที่ทำ
ให้หมดโทษหมดกังวล ไม่กำเริบต่อไป จึงขอเรียน
เป็นบางตอนพอเป็นข้อคิด จากทั้งท่านผู้
เป็นเจ้าของเรื่อง ทั้งท่านผู้ชำระเรื่อง ทั้งพวกเรา
ผู้มีหัวใจที่อาจมีความคิดอย่างนั้นบ้าง
โดยมากนักบวช
และนักปฏิบัติที่โดนเทศน์เจ็บ ๆ อยู่บ่อย ๆ ก็เนื่อง
จากอายตนะภายนอก คือ รูป เสียง เป็นต้น ที่
เป็นวิสภาคต่อกันนั่นเอง มากกว่าเรื่องอื่น ๆ
ต้นเหตุที่ถูกเทศน์ โดยมากก็เวลาบิณฑบาต ซึ่ง
เป็นกิจจำเป็นของพระ จะละเว้นมิได้ เวลาไปก็
ต้องเจอ เวลาเจอก็จำต้องคิดไปต่าง ๆ
บางรายพอเจอเข้าเกิดความรักชอบ ความคิดกลาย
เป็นกงจักรไปโดยไม่รู้สึกตัว
นี่แลคือต้นเหตุสำคัญที่ฉุดลากใจ
ให้คิดออกไปนอกลู่นอกทาง ทั้งที่ไม่อยากจะให้เป็นเช่น
นั้น พอได้สติรั้งกลับมาได้ ตกตอนเย็นมาก็โดนเทศน์
แล้วพยายามทำความสำรวมต่อไป
พอวาระต่อไปก็ไปเจอเอาของดีเข้าอีก ทำ
ให้แผลกำเริบขึ้นอีก
ขากลับมาวัดก็โดนยาเม็ดขนานเด็ด ๆ ใส่แผลเข้าอีก
คือ โดนเทศน์นั่นเอง ถ้าองค์นี้ไม่โดนของดี แต่องค์
นั้นก็โดนเข้าจนได้ เพราะพระเณรมีมากต่อมาก
และต่างองค์ก็มีแผลเครื่องรับของแสลงด้วยกัน
ฉะนั้น จึงไปโดนแต่ของดีมาจนไม่ชนะ
จะหลบหลีกแก้ไข พอมาถึงวัด
และสบจังหวะก็โดนเทศน์จากท่านเข้าอีก
ธรรมดาความคิดของคนมีกิเลสก็
ต้องมีคิดไปต่าง ๆ ดีบ้างชั่วบ้าง ท่านเองก็ไม่
ใช่นักดุด่าไปเสียทุกขณะจิตที่คิด
ที่ท่านตำหนิก็คือสิ่งที่ท่านอยากให้คิด เช่น
คิดอรรถคิดธรรม
ด้วยสติปัญญาเพื่อหาทางปลดเปลื้องตนออกจากทุกข์
อันเป็นความคิดที่ถูกทางและเบาใจแก่ผู้อบรมสั่งสอน
นั้นไม่ค่อยชอบคิดกัน แต่ชอบไปคิดในสิ่งที่ไม่อยาก
ให้คิด จึงโดนเทศน์กันอยู่เสมอแทบทุกคืน เพราะผู้ทำ
ให้ท่านต้องเทศน์บ่อย ๆ มีมาก
ทั้งนี้กล่าวถึงความรู้
ความละเอียดแห่งปรจิตตวิชชา คือการกำหนดรู้ใจ
ผู้อื่นของท่านพระอาจารย์มั่น ว่าท่านรู้และ
สามารถจริงๆ ส่วนความคิดที่น่าตำหนินั้นก็มิได้
เป็นขึ้นด้วยเจตนาจะสั่งสมของผู้คิด หากแต่เป็นขึ้น
เพราะความเผอเรอที่สติตามไม่ทันเป็นบางครั้งเท่า
นั้น แม้เช่นนั้นในฐานะที่ท่านเป็นอาจารย์ผู้คอยให้
ความรู้ความฉลาดแก่ลูกศิษย์ เมื่อเห็นว่า
ไม่เหมาะสมก็รีบเตือนเพื่อผู้นั้นจะได้สติ
และเข็ดหลาบแล้วระวังสำรวมต่อไป
ไม่หลวมตัวคิดอย่างนั้นอีก จะเป็นทางเบิกกว้างเพื่อ
ความเสียหายต่อไป เพราะความคิดซ้ำซาก
เป็นเครื่องส่งเสริม
การสั่งสอนพระ
รู้สึกว่าท่านสั่งสอนละเอียดถี่ถ้วนมาก ศีลที่
เป็นฝ่ายวินัยท่านก็สอนละเอียด สมาธิและปัญญาที่
เป็นฝ่ายธรรมท่านยิ่งสอนละเอียดลออมาก
แต่ปัญญาขั้นสูงสุด
จะเขียนลงข้างหน้าตามประวัติท่านที่บำเพ็ญธรรมขั้นสูงขึ้นไป
เป็นลำดับ ส่วนสมาธิทุกขั้นและปัญญาขั้นกลาง
ท่านเริ่มมีความชำนาญมาแล้วจากถ้ำสาริกา
นครนายก พอมาฝึกซ้อม
อยู่ทางภาคอีสานนานพอควรก็ยิ่งมี
ความชำนิชำนาญยิ่งขึ้น ฉะนั้น การอธิบายสมาธิทุกขั้น
และวิปัสสนาขั้นกลางแก่พระเณร ท่านจึงอธิบาย
ได้อย่างคล่องแคล่วมาก ไม่มีการเคลื่อนคลาด
จากหลักสมาธิปัญญาที่ถูกต้องเลย
ผู้รับการอบรมได้ฟังอย่างถึงใจทุกขั้นของสมาธิ
และปัญญาขั้นกลาง
สมาธิท่านรู้สึกแปลกและพิสดารมาก
ทั้งขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ
คือขณะจิตรวมเป็นขณิกสมาธิแล้วตั้งอยู่ได้ขณะเดียว
แต่มิได้ถอนออกมาเป็นจิตธรรมดา
หากแต่ถอนออกมาสู่อุปจารสมาธิ แล้วออกรู้สิ่งต่าง
ๆ ไม่มีประมาณ บางครั้งเกี่ยวกับพวกภูตผี เทวบุตร
เทวธิดา พญานาคต่าง ๆ นับภพนับภูมิได้ที่มาเกี่ยวข้อง
กับสมาธิประเภทนี้ ซึ่งท่านใช้รับแขกจำพวก มีรูป
ไม่ปรากฏด้วยตา มีเสียงไม่ปรากฏด้วยหู มา
เป็นประจำ บางครั้งจิตก็เหาะลอยออกจากกาย
แล้วเที่ยวชมสวรรค์วิมานและพรหมโลกชั้นต่าง

และลงไปเที่ยวดูภพภูมิของสัตว์นรกที่กำลังเสวยกรรมมีประเภทต่าง
กันอยู่ที่ที่ทรมานต่าง ๆ กันตามกรรมของตน
คำว่า ขึ้นลง ตามคำสมมุติที่โลกนำมา
ใช้กัน ตามกิริยาของกาย ซึ่งเป็นอวัยวะหยาบนั้น ผิด
กับกิริยาของจิตซึ่งเป็นของละเอียดอยู่มาก
จนกลายเป็นคนละโลกเอาเลย
คำว่า ขึ้นหรือลงของกาย รู้สึก
เป็นประโยคพยายามอย่างเอาจริงเอาจัง แต่จิตถ้า
ใช้กิริยาแบบกายบ้างว่า ขึ้นหรือลง ก็สักแต่ว่าเท่า
นั้น แต่มิได้เป็นประโยคพยายามว่า จิตขึ้น
หรือลงเลย
คำว่าสวรรค์ พรหมโลก
และนิพพาน อยู่สูงขึ้นไปตามลำดับแห่ง
ความละเอียดของชั้นนั้น ๆ ก็ดี คำว่านรก
อยู่ต่ำลงไปตามลำดับของความต่ำแห่งภูมิและ
ผู้มีกรรมต่าง ๆ กันก็ดีนี้ เรานำด้านวัตถุ เข้าไปวัด
กับนามธรรมเหล่านั้นต่างหาก นรก สวรรค์
เป็นต้น จึงมีต่ำสูงไปตามโลก
เราพอเทียบกันได้บ้าง เช่น นักโทษ
ทั้งลหุโทษและครุโทษที่อยู่ในเรือนจำอันเดียวกัน
ซึ่งตั้งอยู่ในที่ที่มนุษย์ผู้ไม่มีโทษทัณฑ์อะไรอยู่กัน
ในนักโทษทั้งสองชนิดไม่มีการขึ้นลงต่าง
กันที่ตรงไหนบ้างเลย เพราะอยู่ในเรือนจำอันเดียว
กันและไม่มีขึ้นลงต่างกันกับมนุษย์ผู้ไม่มีโทษอีกด้วย
เพราะเรือนจำหรือตะรางอันเป็นที่
อยู่ของนักโทษทุกชนิดอยู่กัน กับสถานที่ที่มนุษย์อยู่กัน
มันเป็นแผ่นดินอันเดียวกัน บ้านเมืองอันเดียวกัน
เป็นแต่แยกเป็นเอกเทศกันอยู่คนละส่วนเท่านั้น
เมื่อต่างคนต่างมีตาดีหูดี ทั้งลหุโทษ
ครุโทษ และมนุษย์ผู้ปราศจากโทษ ต่างก็มองเห็น
ได้ยินและรู้เรื่องของกันได้อย่างธรรมดา ทั่ว ๆ
ไป ไม่เป็นปัญหาเหมือนระหว่างพวกนรกกับเทวดา
ระหว่างเทวดากับพรหม และระหว่างพวกเทพฯ
ทุกชั้นกับสัตว์นรกทุกภูมิ
และระหว่างสัตว์นรกทุกภูมิและเทวดา
พรหมทุกชั้นกับพวกมนุษย์ที่ไม่รู้เรื่องของ
กันเอาเลย
แม้กระแสใจของทุก ๆ จำพวก
จะส่งประสานผ่านภูมิที่อยู่ของกันและกัน
อยู่ตลอดเวลา แต่ก็เหมือนไม่ได้ผ่านและเหมือน
ไม่มีอะไรมีอยู่ในโลก นอก
จากเราคนเดียวที่รู้เรื่องของตัวทุกอย่างเท่านั้น
จะรับรองตนได้ว่า การมีอยู่ในโลก เพียงใจที่มีอยู่
กับทุกคนตลอดสัตว์ก็ยังไม่สามารถรู้เรื่อง
ความคิดดีชั่วของกันและกันได้ ถ้า
จะปฏิเสธว่าใจของคนและสัตว์ไม่มี และถ้ามีทำไม
ไม่รู้ไม่เห็นใจเรื่องใจกันบ้าง ดังนี้ ก็พอจะปฏิเสธได้
ถ้าจะเป็นความจริงตามคำปฏิเสธ แต่จะปฏิเสธวัน
ยังค่ำก็คงผิดไปทั้งวัน เพราะปกติคนและสัตว์ที่
ยังครองตัวอยู่ย่อมมีใจด้วยกันทุกราย แม้จะไม่รู้
ไม่เห็นความคิดของกัน ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ใจไม่มี
ในร่างที่เราไม่สามารถมองเห็นและได้ยิน
สิ่งละเอียดที่สุดวิสัยของตาหูจะรับรู้ได้
ในโลกแห่งสัตว์ทั้งหลาย ก็คงขึ้นอยู่กับความไม่
สามารถของแต่ละราย ไม่ขึ้นกับสิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่
จะปกปิดตัวเอง
คำว่าสวรรค์และพรหมโลกชั้นนั้น ๆ
สูงขึ้นไปเป็นลำดับนั้น ก็มิ
ได้สูงขึ้นไปแบบบ้านที่มีหลายชั้นซึ่งเป็นด้านวัตถุ
ดังที่รู้ ๆ กันที่จะต้องใช้บันไดหรือลิฟท์ขึ้นไปเป็นชั้น
ๆ หากสูงแบบนามธรรม ขึ้นแบบนามธรรม
ด้วยนามธรรม คือใจดวงมีสมรรถภาพภายในตัว
เพราะกรรมดีคือกุศลกรรม คำว่านรกต่ำก็มิ
ได้ต่ำแบบลงเหวลงบ่อ แต่ต่ำแบบนามธรรม
ลงแบบนามธรรม และดูด้วยนามธรรม
คือดวงใจมีความสามารถภายในตัว แต่
ผู้ลงไปเสวยกรรมของตนต้องไป
ด้วยอำนาจกรรมชั่วที่พาให้เป็นไปทางตรงกันข้าม
อยู่รับความทุกข์ทรมานก็อยู่ด้วยกรรมพาให้
อยู่จนกว่าจะพ้นโทษ
เหมือนคนติดคุกตะรางตามกำหนดเวลา
เมื่อพ้นโทษก็ออกจากคุกตะรางไปฉะนั้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2014, 15:27 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วน อุปจารสมาธิ ของท่านรู้สึกเริ่มเกี่ยวพัน
กันกับขณิกสมาธิมาแต่เริ่มแรกปฏิบัติ เพราะจิตท่าน
เป็นจิตที่ว่องไวผาดโผนมาดั้งเดิม
เวลารวมลงเพียงขณะเดียวที่เรียกว่าขณิกสมาธิ
ก็เริ่มออกเที่ยวรู้เห็นสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่
ในวงของอุปจาระ จนกระทั่งท่านมีความชำนาญ
และบังคับให้อยู่กับที่หรือให้ออกรู้เหตุการณ์ต่าง ๆ
ก็ได้แล้ว จากนั้นท่านต้องการ
จะปฏิบัติต่อสมาธิประเภทใดก็ได้สะดวกตามต้องการ
คือจะให้เป็น ขณิกะแล้วเลื่อนออกมา
เป็นอุปจาระเพื่อรับรู้สิ่งต่าง ๆ หรือจะ
ให้รวมสงบลงถึงฐานสมาธิอย่างเต็มที่
ที่เรียกว่าอัปปนาสมาธิ แล้วพักอยู่ในสมาธินั้นตาม
ต้องการก็ได้
อัปปนาสมาธิ เป็นสมาธิที่สงบละเอียดแนบแน่น
และเป็นความสงบสุขอย่างพอตัว ผู้ปฏิบัติ
จึงมีทางติดสมาธิประเภทนี้ได้ ท่านพระอาจารย์มั่น
ท่านเล่าว่า ท่านเคยติดสมาธิประเภทนี้บ้างเหมือนกัน
แต่ท่านเป็นนิสัยปัญญาจึงหาทางออกได้ ไม่นอนใจ
และติดอยู่ในสมาธิประเภทนี้นาน
ผู้ติดสมาธิประเภทนี้ทำให้เนิ่นช้าได้เหมือนกัน ถ้า
ไม่พยายามคิดค้นทางปัญญาต่อไป นักปฏิบัติที่ติดอยู่
ในสมาธิประเภทนี้มีเยอะแยะ เพราะ
เป็นสมาธิที่เต็มไปด้วยความสุข ความเยื่อใย
และอ้อยอิ่งน่าอาลัยเสียดายอยู่มาก
ไม่คิดอยากแยกตัวออกไปทางปัญญาอัน
เป็นทางถอนกิเลสทั้งมวล ถ้าไม่มีผู้ฉลาดมาตักเตือน
ด้วยเหตุผลจริง ๆ จะ
ไม่ยอมถอดถอนตัวออกมาสู่ทางปัญญาเอาเลย
เมื่อจิตติดอยู่ในสมาธิประเภทนี้นานไป
อาจเกิดความสำคัญตนไปต่าง ๆ ได้ เช่น
สำคัญว่านิพพานความสิ้นทุกข์ก็ต้องมีอยู่ในจุดแห่ง
ความสงบสุขนี้ หามีอยู่ในที่อื่นใดไม่ดังนี้
ความจริงจิตที่รวมตัวเข้า
เป็นจุดเดียวจนรู้เห็นจุดของจิตได้อย่างชัดเจน
และรู้เห็นความสงบสุขประจักษ์ใจ
ในสมาธิขั้นอัปปนานี้ เป็นการรวมกิเลสภพชาติอยู่
ในจิตดวงนั้นด้วยในขณะเดียวกัน ถ้าไม่ใช้ปัญญา
เป็นเครื่องบุกเบิกทำลาย ก็มีหวังตั้งภพชาติอีกต่อไป
โดยไม่ต้องสงสัย
ฉะนั้น ผู้ปฏิบัติในสมาธิขั้นใดก็ตาม
ปัญญาจึงควรมีแอบแฝงอยู่เสมอตามโอกาสที่ควร
เฉพาะอัปปนาสมาธิด้วยแล้ว ควร
ใช้ปัญญาเดินหน้าอย่างยิ่ง ถ้า
ไม่อยากรู้อยากเห็นจิตที่มีเพียงความสงบสุข
อยู่อย่างเดียว ไม่มีความฉลาดรอบตัวเลยเท่านั้น
a8a8a8a8a8a8a8a8a8a
ท่านพระอาจารย์มั่น
นับแต่ท่านกลับมาทางภาคอีสานเที่ยวนี้ ท่านชำนาญ
ในปัญญาขั้นกลางมากจริงอยู่ เพราะ
ผู้ก้าวขึ้นสู่ภูมิธรรมขั้นสาม คือพระอนาคามี
ต้องนับว่ามีปัญญาขั้นกลางอย่างพอตัว ไม่เช่นนั้น
จะพิจารณาภูมิธรรมขั้นนั้นไม่ได้
การก้าวขึ้นสู่ภูมิธรรมขั้นนี้
ต้องผ่านกายคตาสติ ทั้งสุภะความเห็นว่ากาย
เป็นของสวยงาม ทั้งอสุภะความเห็นว่ากายเป็นของ
ไม่สวยงาม ไปด้วยปัญญา มิได้ติดอยู่ โดยจิตแยกสุภะ
และอสุภะออกด้วยปัญญา แล้วก้าวผ่านไป
ในท่ามกลางคือมัชฌิมาตรงกลาง
ได้แก่ระหว่างสุภะและอสุภะต่อกัน หมดความสงสัย
และเยื่อใยในธรรมทั้งสองนั้นอัน
เป็นเพียงทางเดินผ่านเท่านั้น การพิจารณา
ถึงขั้นที่ว่านี้จัดว่าเพียงผ่านไปได้
ถ้าเทียบการสอบไล่ก็เพียงได้คะแนนตามกฎที่ตั้งไว้
เท่านั้น ยังมิได้คะแนนสูงและสูงสุดในชั้นนั้น
ผู้บรรลุธรรมถึงระดับนี้แล้ว จำ
ต้องฝึกซ้อมปัญญาเพื่อความชำนาญละเอียดขึ้นไป
จนเต็มภูมิของธรรมชั้นนั้น ที่เรียกว่าอนาคามีเต็มภูมิ
ถ้าตายในขณะนั้น ก็ไปเกิด
ในชั้นอกนิษฐาพรหมโลกชั้นที่ห้าทันที ไม่ต้องเกิด
ในพรหมโลกสี่ชั้นต่ำนั้น
ท่านพระอาจารย์มั่นท่านเล่าว่า
ท่านเคยติดอยู่ในภูมินี้นานเอาการอยู่
เพราะไม่มีผู้คอยให้อุบายใด ๆ เลย ต้องลูบคลำ
กันอย่างระมัดระวังมาก กลัวจะผิดพลาด
เพราะทางไม่เคยเดิน เท่าที่สังเกตรู้ตลอดมา
เวลาสติปัญญาละเอียด ธรรมละเอียด
ส่วนกิเลสที่จะทำให้หลง ก็ละเอียดไปตาม ๆ กัน จึง
เป็นความลำบากอยู่ไม่น้อยในธรรมแต่ละขั้นกว่า
จะผ่านไปได้ ท่านเล่า
น่าอัศจรรย์เหลือประมาณ
อุตส่าห์คลำไม้คลำตอและขวากหนามโดยมิ
ได้รับคำแนะจากใคร นอกจากธรรมในคัมภีร์เท่า
นั้น กว่าจะผ่านพ้นไปได้และมาเมตตาสั่งสอนพวกเรา
ก็อดที่จะระลึกถึงความทุกข์อย่างมหันต์ของท่านมิได้
เวลากำลังบุกป่าฝ่าดงไปองค์เดียว
มีโอกาสดี ๆ ท่านเล่า
ถึงการบำเพ็ญของท่านให้ฟัง
ที่น่าสมเพชเวทนาท่านนักหนา
ผู้เขียนเองเคยน้ำตาร่วงสองครั้งด้วย
ความเห็นทุกข์ไปตาม เวลาท่านลำบากมาก
ในการบำเพ็ญ และด้วยความอัศจรรย์
ในธรรมที่ท่านเล่าให้ฟัง ซึ่ง
เป็นธรรมละเอียดลึกซึ้ง จนเกิดความคิดขึ้นมาว่า
เรานี้จะพอมีวาสนาบารมีแค่ไหนบ้างหนอ พอ
จะถูไถเสือกคลานไปกับท่านได้เพียงใดหรือไม่ ก็มี
ในบางขณะ ตามประสาของปุถุชนอย่างนั้นเอง
แต่คำพูดท่านเป็นเครื่องปลุกประสาทให้ตื่นตัวตื่นใจ
ได้ดีมาก นี่แลเป็นเครื่องพยุงความเพียรไม่
ให้ลดละเพื่ออนาคตของตนตลอดมา
ท่านเล่าว่า พอเร่ง
ความเพียรทางปัญญาเข้ามากทีไร ยิ่งทำ
ให้จิตใจจืดจางออกจากหมู่คณะมากขึ้น
และกลับดูดดื่มทางความเพียรมากเข้าทุกที
ทั้งที่ทราบเรื่องของตัวมา
โดยลำดับว่ากำลังของเรายังไม่พอ แต่ก็จำต้อง
อยู่รออบรมหมู่คณะพอให้มีหลักฐานทางใจบ้าง
ทราบว่าท่านจำพรรษาที่จังหวัดนครพนมหลายปี
ตามแถบหมู่บ้านสามผง อำเภอศรีสงคราม ถ้าจำ
ไม่ผิดก็ราว ๓-๔ ปี ที่บ้านห้วยทราย ซึ่งตั้ง
อยู่เขตอำเภอคำชะอี จังหวัดเดียวกัน ๑ ปี
แถบหมู่บ้านห้วยทราย บ้านคำชะอี หนองสูง
โคกกลาง เหล่านี้มีภูเขามาก ท่านชอบพัก
อยู่แถบนี้มาก ที่เขาผักกูดซึ่งอยู่ใกล้หมู่บ้านแถบนั้น
ท่านว่าเทวดาก็ชุม เสือก็ชุมมาก
ตอนกลางคืนเสือก็มาเที่ยวรอบ ๆ บริเวณที่ท่านพัก
อยู่ เทวดาก็ชอบมาฟังธรรมท่านบ่อยเช่นกัน
กลางคืนเสียงเสือโคร่งใหญ่กระหึ่มอยู่ใกล้ ๆ
กับที่พักท่าน บางคืนมันกระหึ่มพร้อมกันทีละหลาย
ๆ ตัว เสียงสนั่นหวั่นไหวไปทั่วทั้งป่า เสียงมันร้องรับ
กันเหมือนเสียงคนร้องหากันนี่เอง ทางโน้นก็ร้อง
ทางนี้ก็ร้อง กระหึ่มรับกันเป็นพัก ๆ ทีละหลาย ๆ
ตัวน่ากลัวมาก พระเณรบางคืนไม่ได้หลับนอน
กันเลย กลัวเสือจะมาฉวยไปกิน
ท่านฉลาดหาอุบายพูดแปลก ๆ
ให้พระเณรกลัวเสือ เพื่อจะได้พากันขยันทำ
ความเพียร โดยพูดว่า ใครขี้เกียจทำ
ความเพียรระวังให้ดีนะ เสือใน
เขาลูกนี้ชอบพระเณรที่ขี้เกียจทำความเพียรนัก
กินก็อร่อยดี ใครไม่อยากเป็นอาหารอร่อยของมัน
ต้องขยัน ใครขยันทำความเพียร เสือกลัวและ
ไม่ชอบเอาเป็นอาหาร พอพระเณรได้ยินดังนั้น
ต่างก็พยายามทำความเพียรกัน แม้เสือกำลังกระหึ่ม
อยู่รอบ ๆ ก็จำ
ต้องฝืนออกไปเดินจงกรมแบบสละตายทั้งที่กลัว ๆ
เพราะเชื่อคำท่านว่าใครขี้เกียจเสือจะมาเอาไป
เป็นอาหารอันอร่อยของมัน เพราะที่อยู่นั้นมิได้
เป็นกุฎีเหมือนวัดทั่ว ๆ ไป แต่เป็นร้านเล็ก ๆ
พอหมกตัวเวลาหลับนอนเท่านั้น และเตี้ย ๆ ด้วย
เผื่อเสือนึกหิวขึ้นมาและโดดมาเอาไปกินต้องเสียท่า
ให้มันจริง ๆ เพราะฉะนั้น พระท่านถึงกลัว
และเชื่อคำของท่านอาจารย์
ท่านเล่าให้ฟังก็น่ากลัวด้วย
ว่าบางคืนเสือโคร่งใหญ่เข้ามาถึงบริเวณที่พระพัก
อยู่ก็มี แต่ก็ไม่ทำอะไร เป็นเพียงเดินผ่านไปเท่านั้น
ตามปกติท่านก็ทราบอยู่แล้วว่าเสือ
ไม่กล้ามาทำอะไรได้ ท่านว่า เทวดารักษา
อยู่ตลอดเวลา
คือเวลาเทวดาลงมาเยี่ยมฟังเทศน์ท่าน เขาบอก
กับท่านว่า เขาพากันอารักขาไม่ให้มีอะไรมารบกวน
และทำอันตรายได้ และขออาราธนาท่านให้พัก
อยู่ที่นั้นนาน ๆ ฉะนั้น ท่านจึงหาอุบายพูด
ให้พระเณรกลัวและสนใจต่อความเพียรมากขึ้น
เสือเหล่านั้นก็รู้สึกจะทราบว่าที่บริเวณท่านพักอยู่
เป็นสถานที่เย็นใจ พวกสัตว์เสือต่าง ๆ ไม่
ต้องระวังอันตรายจากนายพราน
เพราะตามปกติชาวบ้านทราบว่าท่านไปพักอยู่ที่ใด
เขาไม่กล้าไปเที่ยวล่าเนื้อที่นั้น เขาบอกว่ากลัว
เป็นบาป และกลัวปืนจะระเบิดทั้งลำกล้องใส่มือ
เขาตายขณะยิงสัตว์ในที่ใกล้บริเวณนั้น
สิ่งที่แปลกอยู่อย่างหนึ่งก็คือ
เวลาท่านไปพักอยู่ ณ สถานที่ใด ซึ่ง
เป็นแหล่งที่เสือชุม ๆ ที่นั้นแม้ปกติเสือ
จะเคยมาเที่ยวหากัดวัวควายกิน
เป็นประจำตามหมู่บ้านแถบนั้น แต่ก็เลิกรากันไป
ไม่ทราบว่ามันไปเที่ยวหากินกันที่ไหน เรื่อง
ทั้งนี้ท่านเองก็เคยเล่าให้ฟัง
และชาวบ้านหลายหมู่บ้านที่ท่านเคยไปพัก
อยู่ก็เคยเล่าให้ฟังเหมือนกัน ว่าเสือ
ไม่ไปทำอันตรายสัตว์เลี้ยงเขาเลย
น่าอัศจรรย์มากดังนี้
ยังมีข้อแปลก
อยู่อีกอย่างหนึ่งคือเวลาพวกเทวดามาเยี่ยมฟังเทศน์
ท่านหัวหน้าเทวดาเล่าว่า
ท่านมาพักอยู่ที่นี่ทำ
ให้พวกเทวดาสบายใจไปทั่วกัน เทวดามี
ความสุขมากผิดปกติ
เพราะกระแสเมตตาธรรมท่านแผ่กระจายครอบท้องฟ้าอากาศ
และแผ่นดินไปหมด กระแสเมตตาธรรมท่าน
เป็นกระแสที่บอกไม่ถูกและอัศจรรย์มาก
ไม่มีอะไรเหมือนเลยดังนี้
แล้วพูดต่อไปว่า
ฉะนั้น ท่านพักอยู่ที่ไหน พวกเทวดา
ต้องทราบกันจากกระแสธรรมที่แผ่ออก
จากองค์ท่านไปทุกทิศทุกทาง
แม้เวลาท่านแสดงธรรมแก่พระเณร
และประชาชน กระแสเสียงท่านก็สะเทือนไปหมด
ทั้งเบื้องบนเบื้องล่าง ไม่มีขอบเขต ใครอยู่ที่ไหนก็
ได้เห็นได้ยิน นอกจากคนตายแล้วเท่านั้นจะไม่ได้ยิน
ตอนนี้ต้องขออภัยท่านผู้อ่านมาก ๆ อีก
ด้วย
จะ
ได้เชิญอาราธนาคำพูดระหว่างท่านพระอาจารย์
กับพวกเทวดาสนทนากัน มาลงอีกเล็กน้อย ส่วน
จะจริงหรือเท็จ ก็เขียนตามที่ได้ยินได้ฟังมา
ท่านย้อนถามเขาบ้างว่า ก็มนุษย์ไม่เห็น
ได้ยินกันบ้าง ถ้าว่าเสียงเทศน์สะเทือนไปไกลดังที่ว่า
นั้น
หัวหน้าเทพฯ รีบตอบท่านทันทีว่า ก็มนุษย์
เขาจะรู้เรื่องอะไรและสนใจกับศีล
กับธรรมอะไรกันท่าน ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจของ
เขา เขาเอาไปใช้ในทางบาปทางกรรม
และขนนรกมาทับถมตัวตลอดเวลา นับแต่วัน
เขาเกิดมาจนกระทั่งเขาตายไป เขามิได้สนใจกับศีล
กับธรรมอะไรเท่าที่ควรแก่ภูมิของตนหรอกท่าน
มีน้อยเต็มทีผู้ที่สนใจจะนำตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
ไปทำประโยชน์ คือศีลธรรม ชีวิต
เขาก็น้อยนิดเดียว ถ้าเทียบกัน
แล้วมนุษย์ตายคนละกี่สิบกี่ร้อยครั้ง เทวดาที่
อยู่ภาคพื้นแม้เพียงรายหนึ่งก็ยังไม่ตายกันเลย ไม่
ต้องพูดถึงเทวดาบนสวรรค์ชั้นพรหมซึ่งมีอายุยืนนาน
กันเลย
มนุษย์จำนวนมากมีความประมาทมาก ที่มี
ความไม่ประมาทมีน้อยเต็มที มนุษย์เองเป็น
ผู้รักษาศาสนา แต่แล้วมนุษย์เสียเองไม่รู้จักศาสนา
ไม่รู้จักศีลธรรมซึ่งเป็นของดีเยี่ยม มนุษย์คน
ใดชั่วก็ยิ่งรู้จักแต่จะทำชั่วถ่ายเดียว เขา
ยังแต่ลมหายใจเท่านั้นพอเป็นมนุษย์อยู่กับโลกเขา
พอลมหายใจขาดไปเท่านั้น เขาก็จมไปกับความชั่วของ
เขาทันทีแล้ว เทวดาก็ได้ยินทำไมจะไม่ได้ยิน ปิดไม่อยู่
เวลามนุษย์ตาย
แล้วนิมนต์พระท่านมาสาธยายธรรมกุสลา ธัมมา
ให้คนตายฟัง เขาจะเอาอะไรมาฟังสำหรับคนชั่วขนาด
นั้น พอแต่ตายลงไปกรรมชั่วก็มัดดวงวิญญาณ
เขาไปแล้ว เริ่มแต่ขณะสิ้นลมหายใจ
จะมีโอกาสมาฟังเทศน์ฟังธรรมได้อย่างไร แม้ขณะที่
เขายังมีชีวิตอยู่ก็ไม่สนใจอยากฟังเทศน์ฟังธรรม นอก
จากคนที่ยังเป็นอยู่เท่านั้น พอฟังได้ถ้าสนใจอยากฟัง
แต่เขามิได้สนใจฟังหรอกท่าน
ท่านไม่สังเกตดูเขาบ้างหรือ
เวลาพระท่านสาธยายธรรมกุสลา ธัมมาให้ฟัง
เขาสนใจฟังเมื่อไร ศาสนามิได้ถึงใจมนุษย์
เท่าที่ควรหรอกท่าน เพราะเขาไม่สนใจกับศาสนา
สิ่งที่เขารักชอบที่สุดนั้น มัน
เป็นสิ่งที่ต่ำทรามที่สัตว์เดียรัจฉานบางตัวก็ยัง
ไม่อยากชอบ นั่นแลเป็นสิ่งที่มนุษย์ที่
ไม่ชอบศาสนาชอบมากกว่าสิ่งอื่นใด
และชอบแต่ไหนแต่ไรมา ทั้งชอบแบบไม่มีวันเบื่อ
ไม่รู้จักเบื่อเอาเลย ขณะจะขาดใจยังชอบ
อยู่เลยท่าน พวกเทวดารู้เรื่องของมนุษย์
ได้ดีกว่ามนุษย์จะมาสนใจรู้เรื่องของพวกเทวดา
เป็นไหน ๆ มีท่านนี่แลเป็นพระวิเศษ รู้
ทั้งเรื่องมนุษย์ ทั้งเรื่องเทวดา ทั้งเรื่องสัตว์นรก
สัตว์กี่ประเภทท่านรู้ได้ดีกว่าเป็นไหน ๆ ฉะนั้น
พวกเทวดาทั้งหลายจึงยอมตนลงกราบไหว้ท่าน
พอหัวหน้าเทวดาพูดจบลง
ท่านพระอาจารย์มั่นก็พูดเป็นเชิงปรึกษาว่า
เทวดาเป็นผู้มีตาทิพย์หูทิพย์แลเห็นได้
ไกล ฟังเสียงได้ไกล รู้เรื่องดีชั่วของชาวมนุษย์
ได้ดีกว่ามนุษย์จะรู้เรื่องของตัว
และรู้เรื่องของพวกมนุษย์ด้วยกัน จะ
ไม่พอมีทางเตือนมนุษย์ให้รู้สึกสำนึกใน
ความผิดถูกที่ตนทำได้บ้างหรือ อาตมาเข้าใจว่าจะ
ได้ผลดีกว่ามนุษย์ด้วยกันตักเตือนกันสั่งสอนกัน
จะพอมีทางได้บ้างไหม
หัวหน้าเทวดาตอบท่านว่า
เทวดายังไม่เคยเห็นมนุษย์มีกี่รายพอ
จะมีใจเป็นมนุษย์สมภูมิเหมือนอย่างพระคุณเจ้า ซึ่งให้
ความเมตตาแก่ชาวเทพฯ และชาวมนุษย์ตลอดมาเลย
พอที่เขาจะรับทราบว่าในโลกนี้มีสัตว์ชนิดต่าง ๆ
หลายต่อหลายจำพวกอยู่ด้วยกัน ทั้งที่เป็นภพหยาบ
ทั้งที่เป็นภพละเอียด ซึ่งมนุษย์
จะยอมรับว่าเทวดาประเภทต่าง ๆ มีอยู่ในโลก
และสัตว์อะไร ๆ ที่มีอยู่
ในโลกกี่หมื่นกี่แสนประเภทว่ามีจริงตามที่สัตว์เหล่า
นั้นมีอยู่
เพราะนับแต่เกิดมามนุษย์
ไม่เคยเห็นสิ่งเหล่านี้มาแต่พ่อแต่แม่แต่ปู่ย่าตายาย
แล้วมนุษย์จะมาสนใจอะไรกับเทวดาเล่าท่าน นอก
จากเห็นอะไรผิดสังเกตบ้าง จริงหรือไม่จริง
ไม่คำนึง พวกมนุษย์มีแต่พากันกล่าวตู่ว่าผีกันเท่านั้น
จะมาหวังคำตักเตือนดีชอบอะไรจากเทวดา แม้เทวดา
จะรู้เห็นพวกมนุษย์อยู่ตลอดเวลา แต่มนุษย์ก็มิ
ได้สนใจจะรู้เทวดาเลย แล้วจะ
ให้เทวดาตักเตือนสั่งสอนมนุษย์ด้วยวิธีใด
เป็นเรื่องจนใจทีเดียว
ปล่อยตามกรรมของใครของเราไว้อย่างนั้นเอง
แม้แต่พวกเทวดาเองก็ยังมีกรรมเสวยอยู่ทุกขณะ
ถ้าปราศจากกรรมแล้วเทวดาก็ไปนิพพานได้เท่า
นั้นเอง จะพากันอยู่ให้ลำบากไปนานอะไรกัน
ท่านพระอาจารย์มั่นถามเขาว่า
พวกเทวดาก็รู้นิพพานกันด้วยหรือ
ถึงว่าหมดกรรมแล้วก็ไปนิพพานกันได้
และพวกเทวดาก็มีความทุกข์เช่นสัตว์ทั้งหลายเหมือน
กันหรือ
เขาตอบท่านว่า
ทำไมจะไม่รู้ท่าน ก็
เพราะพระพุทธเจ้าองค์
ใดมาสั่งสอนโลกก็ล้วนแต่สอนให้พ้นทุกข์ไปนิพพาน
กันทั้งนั้น มิได้สอนให้จมอยู่ในกองทุกข์ แต่สัตว์โลก
ไม่สนใจพระนิพพานเท่าเครื่องเล่นที่เขาชอบเลย
จึงไม่มีใครคิดอยากไปนิพพานกัน คำว่านิพพาน
พวกเทวดาจำได้อย่างติดใจ
จากพระพุทธเจ้าแต่ละองค์ที่มาสั่งสอนสัตว์โลก
แต่เทวดาก็มีกรรมหนาจึงยังไม่พ้นจากภพของเทวดา
ให้ได้ไปนิพพานกัน จะได้หมดปัญหา ไม่
ต้องวกเวียนถ่วงตนดังที่เป็นอยู่นี้ ส่วนความทุกข์นั้น
ถ้ามีกรรมอยู่แล้ว ไม่ว่าสัตว์จำพวกใด
ต้องมีทุกข์ไปตามส่วนของกรรมดีชั่วที่มีมากน้อย
ในตัวสัตว์
ท่านถามเทวดาว่า
พระที่พูดกับเทวดารู้เรื่องกันมี
อยู่แยะไหม?
เขาตอบว่า
มีอยู่เหมือนกันท่าน แต่ไม่มากนัก
โดยมากก็เป็นพระซึ่งชอบปฏิบัติบำเพ็ญอยู่ในป่าใน
เขาเหมือนพระคุณเจ้านี่แล
ท่านถามว่า
ส่วนฆราวาสเล่ามีบ้างไหม?
เขาตอบว่า
มีเหมือนกัน แต่มีน้อยมาก และต้องเป็น
ผู้ใคร่ทางธรรมปฏิบัติ ใจผ่องใสถึงรู้ได้
เพราะกายพวกเทวดานั้นหยาบสำหรับพวกเทวดาด้วย
กัน แต่ก็ละเอียดสำหรับมนุษย์จะรู้เห็นได้ทั่วไป
นอกจากผู้มีใจผ่องใสจึงจะรู้จะเห็นได้ไม่ยากนัก
ท่านถามเขาว่า
ที่ธรรมท่านว่าพวกเทวดาไม่อยากมาอยู่
ใกล้พวกมนุษย์ เพราะเหม็นสาบคาวมนุษย์นั้น
เหม็นสาบคาวอย่างไรบ้าง ขณะที่ท่าน
ทั้งหลายมาเยี่ยมอาตมาไม่เหม็นคาวบ้างหรือ ทำไม
ถึงพากันมาหาอาตมาบ่อยนัก
เขาตอบว่า
มนุษย์ที่มีศีลธรรมมิ
ใช่มนุษย์ที่ควรรังเกียจ ยิ่งเป็นที่หอมหวนชวน
ให้เคารพบูชาอย่างยิ่ง และอยากมาเยี่ยมฟังเทศน์
อยู่เสมอไม่เบื่อเลย มนุษย์ที่เหม็นคาวน่ารังเกียจ
คือมนุษย์ที่เหม็นคาวศีลธรรม
รังเกียจศีลธรรม ไม่สนใจในศีลธรรม
มนุษย์ประเภทเบื่อศีลธรรมซึ่งเป็นของดีเลิศ
ในโลกทั้งสาม แต่ชอบในสิ่งที่น่ารังเกียจของท่าน
ผู้ดีมีศีลธรรมทั้งหลาย
มนุษย์ประเภทนี้น่ารังเกียจจึงไม่อยากเข้าใกล้
และเหม็นคาวฟุ้งไปไกลด้วย แต่เทวดามิ
ได้ตั้งข้อรังเกียจชาวมนุษย์แต่อย่างใด หาก
เป็นนิสัยของพวกเทวดามีความรู้สึกอย่าง
นั้นมาดั้งเดิมดังนี้
เวลาท่านเล่าเรื่องเทวดาภูตผีชนิดต่าง
ๆ ให้ฟัง ผู้ฟังเคลิ้มไปจนลืมตัวและลืมเวล่ำเวลา
ลืมเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าไปตาม ๆ กัน
ประหนึ่งตนก็ใคร่รู้อย่างนั้นบ้าง และคิดว่าจะรู้
จะเห็นอย่างนั้นบ้างในวันหนึ่งข้างหน้า แล้วทำให้เกิด
ความกระหยิ่มต่อความเพียรเพื่อผลอย่างนั้นขึ้นมา
กับตอนท่านเล่าอดีตชาติของท่านและของคนอื่น
เป็นบางรายที่เห็นว่าจำเป็นให้ฟัง ยิ่งทำ
ให้อยากรู้เรื่องอดีตของตนจนลืม
ความคิดที่อยากพ้นทุกข์ไปนิพพาน
ในบางครั้งพอรู้ตัวเกิดตกใจและตำหนิตนว่า อ๋อ
เรานี่จะเริ่มบ้าไปเสียแล้ว แทนที่จะคิดไป
ในทางหลุดพ้นดังที่ท่านสั่งสอน แต่กลับไปคว้า
และงมเงาในอดีตที่ผ่านมาแล้ว ก็ทำ
ให้รู้สึกตัวไปพักหนึ่ง พอเผลอตัวก็คิดไปอีกแล้ว
ต้องคอยปราบปรามตัวเองอยู่เรื่อย
เวลาท่านเล่าเรื่องพวกเทวดาภูตผีชนิดต่าง
ๆ มาเยี่ยมท่าน รู้สึกน่าฟังมาก
เฉพาะพวกภูตผีรู้สึกมีผีอันธพาลเช่นกับมนุษย์เรา
ถ้าพวกใดชอบก่อความไม่สงบมาก เขาต้องจับพวก
นั้นมาขังรวมกันไว้
ในคอกที่มนุษย์เรียกว่าห้องขังนั่นเอง ขังไว้เป็นพวก ๆ
เป็นห้อง ๆ เต็มห้องขังแต่ละห้อง มีทั้งผีอันธพาลหญิง
ผีอันธพาลชาย
และอันธพาลประเภทโหดร้ายทารุณ
จำพวกทารุณยังมีทั้งหญิงทั้งชายอีกด้วย
มองดูหน้าตาพวกนี้บอกอย่างชัดแจ้งว่าแผ่เมตตาให้
ไม่ยอมรับ พวกผีนี้
เขามีบ้านเมืองเหมือนมนุษย์เราเหมือนกัน เป็นบ้านเมือง
ใหญ่โตมาก มีหัวหน้าปกครองดูแลเหมือนกัน
ผีที่มีอุปนิสัยใฝ่บุญกุศลก็มีอยู่แยะ พวกผีธรรมดา
และผีจำพวกอันธพาลเคารพนับถือมาก เพราะ
ผู้มีอุปนิสัยวาสนาเป็นผู้มีฤทธาศักดานุภาพมาก ผี
ทั้งหลายเคารพเกรงกลัวมากตามหลักธรรมชาติ
มิใช่การประจบประแจง
ท่านเล่าว่า ที่ว่าบาปมีอำนาจน้อยกว่าบุญ
นั้น ท่านไปพบเห็นในเมืองผีเป็นพยานอีกประเด็นหนึ่ง
คือผีมีวาสนาแต่มาเสวยกรรมตามวาระ เช่น มาเกิด
เป็นภูตผี แต่นิสัยใจคอในทางบุญนั้น
ไม่เคยเปลี่ยนแปลงเลยและมีอำนาจมากด้วย
เพียงผู้เดียวเท่านั้นก็สามารถปกครองผีได้
เป็นจำนวนมากมาย เพราะเมืองผี
ไม่มีการถือพวกถือพ้องเหมือนเมืองมนุษย์เรา
แต่ถืออำนาจตามหลักธรรม แม้
จะฝืนถืออย่างมนุษย์ก็เป็นไปไม่ได้ เพราะกรรม
ไม่อำนวยไปตาม ต้องขึ้นอยู่กับกรรม ดีชั่วเท่านั้น
เป็นหลักตายตัว อำนาจที่ใช้อยู่ในเมืองมนุษย์จึงนำไป
ใช้ในปรโลกไม่ได้
ท่านเล่าตอนนี้รู้สึกพิสดารมาก แต่จำ
ได้เพียงเล็กน้อยขาด ๆ วิ่น ๆ จึงขออภัยด้วย
เวลาท่านออกเที่ยวโปรดสัตว์ตามสถานที่ที่พวกผีตั้งบ้านเรือน
อยู่โดยทางสมาธิภาวนา พอมองเห็นท่าน
เขาก็รีบโฆษณาบอกกันมาทำ
ความเคารพเหมือนมนุษย์เรา
ท่านเดินผ่านไปตามที่ต่าง ๆ ในที่ชุมนุมผี
และผ่านไปที่คุมขังผีอันธพาลหญิงชาย โดยมี
หัวหน้าผีเป็นผู้พานำทางด้วย
ความเคารพเลื่อมใสท่านมาก และอธิบายสภาพ
ความเป็นอยู่ของผีชนิดต่าง ๆ ให้ท่านฟัง
และอธิบายเรื่องผีที่ถูกคุมขังว่า เป็น
ผู้มีใจโหดร้ายคอยรบกวนผู้อื่นไม่ให้มีความสงบสุข
เท่าที่ควร ต้องขังไว้ตามแต่โทษหนักเบาของเขา
คำว่าภูตผีนั้นเป็นคำที่มนุษย์เราให้ชื่อเขาต่างหาก
ความจริงเขาก็เป็นสัตว์ชนิดหนึ่งเช่นเดียว
กับสัตว์ชนิดต่าง ๆ ที่มีอยู่ในโลกทั่วไปตามภูมิของตน
ท่านว่าที่ใดมีป่ามีเขามาก
ท่านพระอาจารย์มั่นชอบพักอยู่ที่นั้นนาน ไป ๆ มา ๆ
อยู่ตามแถบเขานั้น ๆ
เมื่อท่านพักอยู่นครพนม
และอบรมหมู่คณะนานพอสมควรแล้ว ทำให้คิด
ถึงตัวเองมากขึ้น โดยคำนึงถึง
ความรู้สึกที่โผล่ขึ้นเสมอว่ากำลังเรายังไม่พอดังนี้
ถ้าจะฝืนอยู่กับหมู่คณะไปทำนองนี้ ความเพียรก็ล่าช้า
ท่านว่าเท่าที่สังเกตดู นับแต่กลับมา
จากภาคกลางมาอบรมสั่งสอนหมู่คณะ
อยู่ทางภาคอีสาน รู้สึกว่าภูมิจิตใจไม่ค่อยก้าวไปรวด
เร็วเหมือนอยู่องค์เดียว จะต้องเร่ง
ความเพียรอีกสักพักจนบรรลุถึงความพึงใจ
แล้วนั่นแหละถึงจะหมดความกังวลห่วงใยตัวเอง
ประกอบระยะ
นั้นท่านรับโยมมารดามาบวชเป็นอุบาสิกาอบรมอยู่
ด้วยประมาณ ๖ ปี จะไปมาทางใดไม่ค่อยสะดวก ทำ
ให้เป็นอารมณ์ห่วงใยอยู่เสมอ เลยทำให้ท่านตัดสินใจ
จะเอาโยมมารดาไปส่งที่จังหวัดอุบลราชธานี
มารดาท่านก็เห็นดีด้วยไม่ขัดอัธยาศัย
จากนั้นท่านก็เริ่มพามารดาออกเดินทาง
จากนครพนม โดยเดินตัดตรงไปภูเขาแถบหนองสูง
คำชะอี ออกไปอำเภอเลิงนกทา จังหวัดอุบลฯ
ขณะที่ท่านออกเดินทางทราบว่า
มีพระเณรติดตามไปด้วยมากมาย
ปีนั้นไปจำพรรษาบ้านหนองขอน
อำเภออำนาจเจริญ อุบลฯ มีพระเณรจำพรรษา
กับท่านมาก ขณะที่จำพรรษาอยู่นี้ก็
ให้การอบรมพระเณรอุบาสกอุบาสิกาอย่างเต็มกำลัง
มีผู้คนพระเณรเกิดความเชื่อเลื่อมใสและมา
อยู่อบรมกับท่านมากขึ้นเป็นลำดับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2014, 15:42 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คืนวันหนึ่งเวลาดึกสงัด ท่านกำลัง
เข้าที่ภาวนา พอจิตสงบรวมลงไป
ปรากฏเห็นพระเณรจำนวนมากที่ค่อย ๆ
เดินตามหลังท่านมาด้วยความเคารพ
และมีระเบียบสวยงามน่าเลื่อมใสก็มี
ที่เดินแซงหน้าท่านไปข้างหน้า
ด้วยอาการลุกลี้ลุกลน ไม่มีความเคารพ
และสำรวมอินทรีย์เลยก็มี
ที่กำลังถือโอกาสเดินแซงหน้าท่านไปด้วยท่าทางที่
ไม่มีระเบียบธรรมวินัยติดตัวเลยก็มี
พวกที่กำลังเอาไม้มีลักษณะเหมือนไม้ผ่าครึ่งเหมือนหีบปิ้งปลามาคีบหัวอกท่านอย่างแน่นแทบหายใจ
ไม่ได้ก็มี
เมื่อเห็นความแตกต่างแห่งพระ
ทั้งหลายที่แสดงอาการไม่มีความเคารพ และทำ
ความโหดร้ายทรมานท่านด้วยวิธีการต่าง ๆ กันเช่นนี้
ท่านก็กำหนดจิตดูเหตุการณ์ที่เกิดเฉพาะหน้า
ให้ละเอียด ก็ทราบขึ้นมาทันทีว่า
จำพวกที่ค่อย ๆ เดินตามหลังท่านด้วย
ความเคารพและมีระเบียบสวยงามเป็นที่น่าเลื่อมใส
นั้นคือจำพวกที่
จะประพฤติปฏิบัติชอบตามโอวาทคำสั่งสอนของท่าน จะ
เป็นผู้เคารพเทิดทูนท่านและพระศาสนา
ให้เจริญรุ่งเรืองต่อไปในอนาคต จะสามารถทำตน
ให้เป็นประโยชน์แก่พระศาสนาตลอดหมู่ชนทั่วไปได้
และสามารถจะ
ยังขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามทางศาสนา
ให้คงที่ดีงามต่อไป เป็นที่น่าเคารพเลื่อมใสทั้งมนุษย์
และเทวดาอีกพรหมยมยักษ์ทั่วหน้ากัน ซึ่งนับว่าเป็น
ผู้ทรงตนและพระศาสนาไว้
ได้ตามแบบอริยประเพณีไม่เสื่อมสูญ
จำพวกที่เดินแซงหน้าท่านไปด้วยท่าทาง
ไม่ระวังสำรวมนั้นคือ จำพวกอวดรู้อวดฉลาด
เข้าใจว่าตนเรียนมากรู้มาก
ปฏิบัติดียิ่งกว่าครูอาจารย์ผู้พาปฏิบัติดำเนิน
ด้วยสามีจิกรรมมาก่อน
ไม่สนใจเคารพเอื้อเฟื้อต่อการศึกษาไต่ถามข้ออรรถข้อธรรม
ใด ๆ เพราะความสำคัญตนว่าฉลาดรอบรู้ทุกอย่าง
แล้วปฏิบัติตนไปด้วยความสำคัญนั้น ๆ อัน
เป็นทางล่มจมแก่ตนและพระศาสนา
ตลอดประชาชนผู้มาเกี่ยวข้องศึกษา ต่างจะนำยาพิษ
เพราะความเห็นผิดจากอาจารย์องค์นั้นไปใช้
แล้วกลายเป็นผู้ทำลายตน
และหมู่ชนตลอดกุลบุตรสุดท้ายภายหลัง
ให้เสียหายไปตาม โดยไม่รู้สึกระลึกได้ว่า
เป็นทางถูกต้องดีงามหรือไม่ประการใด
จำพวกที่กำลังคอยหาโอกาสเดินแซงหน้าท่านไป
ในลำดับต่อมานั้น คือจำพวกที่กำลังเริ่มก่อตั้ง
ความเสื่อมเสียแก่ตนและวงพระศาสนาต่อไป ด้วย
ความสำคัญผิดชนิดต่าง ๆ ทำนองจำพวกก่อนซึ่ง
เป็นจำพวกที่จะช่วยกันทำลายตนและพระศาสนา
อันเป็นส่วนรวมดวงใจของประชาชนชาวพุทธ
ให้ฉิบหายล่มจมลงไปโดยมิได้สนใจว่าผิด
หรือถูกประการใด
จำพวกที่เอาไม้มาคีบหัวอกท่าน นั้น
คือจำพวกที่เข้าใจว่าตนฉลาดรอบรู้และปฏิบัติไป
ด้วยความสำคัญนั้น ๆ โดยมิได้คำนึงว่าผิดหรือถูก
ทั้งที่ความจริงการปฏิบัตินั้นเป็นทางผิด และยังมี
ส่วนกระทบกระเทือนวงพระศาสนา
และครูอาจารย์ที่พาดำเนินมาก่อน ให้มี
ส่วนบอบช้ำเสียหายไปด้วย ส่วนจำพวกหลังนี้
ท่านเล่าว่า ท่านรู้ตัวและนามของพระนั้น ๆ ด้วย
ที่มาทำให้ท่านลำบากในเวลาต่อมา คือพระที่
เป็นลูกศิษย์ท่านอยู่ก่อน เป็นแต่ออกไปจำพรรษาอยู่
ไม่ห่างกันนัก ซึ่งท่านเองเป็นผู้เห็นชอบและอนุญาต
ให้ออกไป
เมื่อกำหนดดูเหตุการณ์ทราบละเอียด
แล้ว ท่านก็มารำพึงถึงพระจำพวกที่มาทำ
ความทรมานให้ท่านลำบาก ว่าเป็นพระที่มี
ความเคารพเลื่อมใสและนับถือท่านมาก ไม่น่า
จะทำอย่างนั้นได้ หลังจากนั้นท่านก็คอยสังเกต
ความเคลื่อนไหวของบรรดาลูกศิษย์เหล่า
นั้นตลอดมา โดยมิได้แสดงเรื่องที่ปรากฏในคืนวัน
นั้นให้ใครทราบเลย
ต่อมาไม่กี่วันก็มีผู้ว่าราชการจังหวัด
กับข้าราชการหลายท่าน และพระอาจารย์ที่
เป็นลูกศิษย์ท่าน และเป็นองค์ที่เป็นหัวหน้าพา
กันเอาไม้มาคีบหัวอกท่านมาเยี่ยมท่านที่สำนัก
ทั้งสองฝ่ายมาแสดงความประสงค์ขอ
ให้ท่านช่วยอนุเคราะห์ ประกาศเรี่ยไรเงิน
จากชาวบ้านในตำบล อำเภอนั้น
เพื่อสร้างโรงเรียนขึ้น ๒-๓ แห่งอันเป็นการ
ช่วยทางราชการอีกทางหนึ่งด้วย โดยความเห็นของ
ทั้งสองฝ่ายที่ตกลงกันมาก่อนแล้วว่า
ท่านพระอาจารย์มั่น
เป็นที่เคารพเลื่อมใสของประชาชนมาก
ท่านพูดอะไรขึ้นมาต้องสำเร็จแน่นอน จึงได้พา
กันมาหาท่านให้อนุเคราะห์ช่วยเหลือ
พอทราบความประสงค์ของผู้มาติดต่อ
แล้ว ท่านก็ทราบทันทีว่า พระทั้งสองรูปนี้
เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ท่านลำบาก ซึ่งเทียบ
กับเอาไม้มาคีบหัวอกท่าน โอกาสต่อไปท่าน
ได้เรียกพระทั้งสองรูปนั้นมาอบรมสั่งสอน เพื่อ
ให้รู้สิ่งที่ควรหรือไม่ควรแก่เพศสมณะปฏิบัติผู้ตั้ง
อยู่ในความสงบและสำรวมระวัง
ที่เรียนทั้งนี้ก็เพื่อท่านผู้อ่านได้ทราบว่า
จิตเป็นธรรมชาติลึกลับและสามารถรู้ได้
ทั้งสิ่งเปิดเผยและลึกลับ ทั้งอดีตอนาคต
และปัจจุบัน ดังเรื่องท่านพระอาจารย์มั่น
เป็นตัวอย่างมาหลายเรื่อง ท่านเป็นพระที่ปฏิบัติเพื่อ
ความเที่ยงตรงต่ออรรถธรรม มิได้มีความคิดที่
เป็นโลกามิสแอบแฝงอยู่ด้วยเลย คำพูดที่ออกจาก
ความรู้ความเห็นท่านแต่ละคำ จึง
เป็นคำที่ควรสะดุดใจว่ามิใช่
เป็นคำโกหกหลอกลวงท่านผู้หนึ่งผู้ใดทั้งที่อยู่
ใกล้ชิดและทั่ว ๆ ไปให้งมงายเสียหายไป
ด้วยแต่อย่างใด เพราะคำพูดท่านที่นำมาลงนี้
เป็นคำพูดที่พูดในวงจำเพาะพระที่อยู่ใกล้ชิด มิได้พูด
ทั่วไปโดยไม่มีขอบเขต แต่ผู้เขียนอาจเป็นนิสัยไม่ดี
อยู่บ้าง ที่ตัดสินใจนำเอาเรื่องท่านออกมา
ความคิดก็เพื่อท่านที่สนใจได้อ่านและพิจารณาดูบ้าง
ซึ่งอาจเกิดประโยชน์เท่าที่ควร
เรื่องของท่านพระอาจารย์มั่น
เป็นเรื่องอัศจรรย์ และพิสดารอยู่มาก
ในพระปฏิบัติสมัยปัจจุบัน ทั้งภาคปฏิบัติและ
ความรู้ที่ท่านแสดงออกแต่ละประโยค
การสั่งสอนบางประโยคก็บอกตรง ๆ
บางประโยคก็บอกเป็นอุบาย ไม่บอกตรง
ทั้งสิ่งที่ควรและไม่ควร
การทำนายทายทักทางจิตใจ
นับแต่เรื่องขรัวตาที่ชายเขาถ้ำสาริกาเป็นต้นเหตุมา
แล้ว ท่านระวังมากทั้งที่อยากเมตตาสงเคราะห์
บอกตามความคิดของผู้มาอบรมนั้น ๆ แสดงออก
ในทางผิดถูกต่าง ๆ อย่างบริสุทธิ์ใจในฐานะ
เป็นอาจารย์สอนคน แต่เวลาบอกไปตามตรงว่า ท่าน
ผู้นั้นคิดอย่างนั้นผิด ท่านผู้นี้คิดอย่างนี้ถูกต้อง แทนที่จะ
ได้รับประโยชน์ตามเจตนาอนุเคราะห์ แต่
ผู้รับฟังกลับคิดไปอีกทางหนึ่ง ซึ่งเป็น
ความเสียหายแก่ตนแทบทั้งนั้น
ไม่ค่อยมาสนใจตามเหตุผล
และเจตนาสงเคราะห์เลย
บางรายพอเห็นคิดไม่ดีและเริ่มจะ
เป็นชนวนแห่งความเสียหาย ส่วนใหญ่ท่านก็ตักเตือนบ้าง
โดยอุบายไม่บอกตรง เกรงว่าผู้ถูกเตือนจะกลัว
และอายหมู่เพื่อน เพียงเตือนให้รู้สึกตัวมิได้ระบุนาม
แม้เช่นนั้นยังเกิดความรุ่มร้อนแทบจะเป็นบ้า
เป็นหลังไปต่อหน้าต่อตาท่านและหมู่คณะก็ยังมี
เรื่องทั้งนี้จึงเท่ากับเตือนให้รู้เท่าทัน
ถึงอุบายวิธีสั่งสอนไป
ในตัวทุกระยะที่เหตุการณ์เกี่ยวข้องบังคับอยู่
ต้องขออภัยหากเป็นความไม่สบายใจ
ในบางตอนที่เขียนตามความจริงที่บันทึกและจดจำมา
จากท่านเอง และจากครูอาจารย์ที่อยู่กับท่านมา
เป็นคราว ๆ หลายท่านด้วยกัน จึงมีหลายเรื่อง
และหลายรสด้วยกัน
โดยมากสิ่งที่เป็นภัยต่อนักบวช นักปฏิบัติ
และนักบวช นักปฏิบัติชอบคิดโดยไม่มีเจตนา แต่
เป็นนิสัยที่ฝังประจำสันดานมาดั้งเดิม ก็คือ
อายตนะภายนอก ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส
ธรรมารมณ์ของเพศที่เป็นวิสภาคกัน
นั่นแลคือกัณฑ์เทศน์กัณฑ์เอกที่ท่านจำต้องเทศน์
และเตือนทั้งทางตรงทางอ้อมอยู่เสมอ มิได้รามือพอ
ให้สบายใจได้บ้าง
การนึกคิดอย่างอื่น ๆ ก็มี แต่ถ้า
ไม่สำคัญนักท่านก็ทำเป็นไม่สนใจ
ที่สำคัญอย่างยิ่งก็เวลาประชุมฟังธรรม ซึ่งท่าน
ต้องการความสงบทั้งทางกายและทางใจ ไม่
ต้องการอะไรมารบกวนทั้งผู้ฟังและผู้ให้โอวาท
จุดประสงค์ก็เพื่อได้รับประโยชน์จากการฟังจริง

ใครเกิดไปคะนองคิดเรื่องแสลงเพศแสลงธรรมขึ้นมา
ในขณะนั้น ฟ้ามักจะผ่าเปรี้ยง ๆ ลงในท่ามกลาง
ความคิดที่กำลังคิดเพลินและท่ามกลางที่ประชุม
ทำเอาผู้กำลังกล้าหาญคิดแบบ
ไม่รู้จักตายตัวสั่นแทบสลบไปในขณะนั้น ทั้งที่ไม่
ได้ระบุตัวบุคคล แต่ระบุเรื่องที่คิด ซึ่ง
เป็นเรื่องกระตุกใจของผู้กำลังคิดเรื่อง
นั้นอย่างสำคัญ แม้ผู้อื่นในที่ประชุมก็พลอยตกใจ
และบางรายตัวสั่นไปด้วยเผื่อคิดเช่น
นั้นขึ้นมาบ้างขณะเผลอ
ถ้าถูกฟ้าผ่าอยู่เรื่อย ๆ ขณะฟังเทศน์
ปรากฏว่าจิตใจผู้ฟังหมอบ
และมีสติระวังตัวอย่างเข้มงวดกวดขัน
บางรายจิตรวมสงบลงอย่างเต็มที่ก็มีในขณะนั้น ผู้
ไม่รวมในขนาดนั้นก็อยู่ในเกณฑ์สงบและระวังตัว
เพราะกลัวฟ้าจะลงเปรี้ยง หรือเหยี่ยว
จะลงโฉบเอาศีรษะขณะใดก็ไม่รู้ ถ้าเผลอคิดไม่
เข้าเรื่องในขณะนั้น
ฉะนั้น ผู้ที่อยู่กับท่านจึงมีหลักใจ
เป็นที่มั่นคงไปโดยลำดับ อยู่กับท่านไปนาน
เท่าไรก็ยิ่งทำให้นิสัยทั้งภายในภายนอกกลมกลืน
กับนิสัยท่านไปไม่มีสิ้นสุด ผู้ใดอดทนอยู่กับท่านได้นาน
ๆ ด้วยความใฝ่ใจ ยอมเป็นผ้าขี้ริ้วให้ท่านดุด่าสั่งสอน
คอยยึดเอาเหตุเอาผลจากอุบาย ต่าง ๆ ที่ท่านแสดง
ในเวลาปกติหรือเวลาแสดงธรรม ไม่ลดละ
ความสังเกต และพยายามปฏิบัติตนให้
เป็นไปตามท่านทุกวันเวลา นิสัยความใคร่ธรรม
และหนักแน่นในข้อปฏิบัติทุกด้านนี่แล จะทำให้เป็น
ผู้มั่นคงทางภายในขึ้นวันละเล็กละน้อย จน
สามารถทรงตัวได้
ที่ไม่ค่อยได้หลักเกณฑ์จากการอยู่
กับท่าน โดยมากมักจะเพ่งเล็งภายนอกยิ่งกว่าภายใน
เช่น กลัวท่านดุด่าบ้าง เวลาคิดไปต่าง ๆ ตามเรื่อง
ความโง่ของตน พอถูกท่านว่าให้บ้าง เลยกลัว โดยมิ
ได้คิดจะแก้ตัว สมกับไปศึกษาอบรมกับท่านเพื่อหา
ความดีใส่ตัว ไม่มีเหตุมีผลอะไรเลย ไปอยู่
กับท่านก็ไปแบบเรา อยู่แบบเรา ฟังแบบเรา
คิดไปร้อยแปดแบบเรา ที่เป็นทางดั้งเดิม อะไร ๆ ก็
เป็นแบบเรา ซึ่งมีกิเลสหนาอยู่แล้ว ไม่มีแบบท่าน
เข้ามาแทรกบ้างเลย เวลาจากท่านไปก็จำ
ต้องไปแบบเรา ที่เคยเป็นมาอย่างไร ก็เป็นไปอย่าง
นั้น ชื่อว่าความดีไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงพอให้
เป็นที่น่าชมเชย แต่ความชั่วที่ทับถมจนมองไม่เห็นตัว
นั้นยิ่งสั่งสมขึ้นทุกวันเวลา ไม่มีความเบื่อหน่ายอิ่มพอ
ผลจึงเป็นคนอาภัพอยู่เสมอ ไม่มีสิ่งใดมาฉุดลากพอ
ให้กลับฟื้นตัวได้บ้างเลย
ถ้าไปอยู่กับท่านแบบที่ว่านี้ จะอยู่นาน
เท่าไรก็ไม่ผิดอะไรกับทัพพีอยู่กับแกงที่มีรสอร่อย
แต่ทัพพีจะไม่รู้เรื่องอะไรกับแกง นอกจากให้
เขาจับโยนลงหม้อนั้นหม้อนี้ ไม่ได้หยุดหย่อนเท่านั้น
กิเลสตัณหาเครื่องพอกพูนความชั่วไม่มีประมาณ
จับเราโยนลงกองทุกข์หม้อนั้นหม้อนี้ก็ทำนองเดียวกัน
ผู้เขียนก็นับเข้า
ในจำนวนถูกจับโยนลงหม้อนั้นหม้อนี้ด้วย โดยไม่
ต้องสงสัย เพราะชอบขยันหมั่นเพียร แต่สิ่งหนึ่ง
นั้นคอยกระซิบให้ขี้เกียจ ชอบไปแบบท่าน อยู่แบบท่าน
ฟังแบบท่าน คิดแบบท่าน อย่างเป็นอรรถเป็นธรรม
แต่สิ่งหนึ่งก็คอยกระซิบให้ไปแบบเรา อยู่แบบเรา
ฟังแบบเรา คิดแบบเรา อะไร ๆ ก็กระซิบให้
เป็นแบบเราที่เคยเป็นมาดั้งเดิม และกระซิบไม่อยาก
ให้เปลี่ยนแปลงอะไรทั้งนั้น
สุดท้ายก็เชื่อมันจนเคลิ้มหลับสนิท
และยอมทำตามแบบดั้งเดิม เราจึงเป็นคนดั้งเดิม
ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงในทางดีขึ้นพอให้ตัวเองและ
ผู้อื่นได้ชมเชยบ้าง คำว่า “ดั้งเดิม” จึงเป็นเรื่อง
ใหญ่สำหรับเราและใคร ๆ จนมีรากฝังลึก
อยู่ภายใน ยากที่จะถอดถอนออกได้ ถ้า
ไม่สังเกตสอดรู้ความเป็นมาและ
เป็นไปของตนอย่างเอาใจใส่จริง ๆ
พอตกหน้าแล้ง
ท่านพระอาจารย์มั่นก็เริ่มพาโยมมารดาท่านออกเดินทาง
พาพักบ้านละคืนสองคืนไปเรื่อยจนถึงบ้าน และพัก
อยู่ที่บ้านท่านนานพอควร ให้การอบรมมารดา
และชาวบ้านพอมีความอบอุ่นโดยทั่วกัน
แล้วก็ลาโยมมารดา
และญาติออกเดินทางธุดงค์ไปเรื่อย ๆ
โดยมุ่งหน้าลงไปทางภาคกลาง
ไปแบบธุดงคกรรมฐาน ไม่รีบไม่ด่วน เจอหมู่บ้าน
หรือสถานที่มีน้ำท่าสมบูรณ์ก็กางกลดลงที่นั้น
แล้วพักบำเพ็ญสมณธรรมอยู่อย่างเย็นใจ
พอมีกำลังกายกำลังใจแล้วก็เดินทางต่อไป
สมัยโน้นเดินด้วยเท้ากันทั้งนั้น รถรา
ไม่มีเหมือนสมัยนี้ ท่านว่าท่านมิได้เร่งรีบ
กับเวล่ำเวลา จุดใหญ่อยู่ที่การภาวนาเท่านั้น
เดินทางทั้งวันก็เท่ากับเดินจงกรมภาวนาไปทั้งวัน
ขณะท่าน
จากหมู่คณะเดินทางลงมากรุงเทพฯ เพียงองค์เดียวนั้น
เหมือนช้างสารตัวใหญ่ออกจากโขลงเที่ยวหากิน
ในป่าลำพังตัวเดียว เป็นความเบากายเบาใจ
เหมือนถอดเสี้ยนถอดหนามออก
จากหัวอกที่เคยหนักหน่วงถ่วงกายถ่วงใจมานาน
กายก็เบา ใจก็เบา ขณะเดินทาง
ด้วยวิธีจงกรมภาวนาไปแถบทุ่งกว้างที่มีสับกันเป็นตอน
ๆ แต่ภายในใจไม่มีความรู้สึกว่าร้อน
เพราะแดดแผดเผาเลย บรรยากาศคล้ายกับ
เป็นเครื่องส่งเสริมการเดินทางให้มี
ความสะดวกสบายไปเป็นลำดับ บนบ่าที่เต็มไป
ด้วยบริขารของพระธุดงค์ มีบาตร กลด เป็นต้น
ซึ่งรวมหลายชิ้นด้วยกัน ตามปกติก็พอทำ
ความลำบากให้พอดู แต่ในความรู้สึกกลับ
ไม่หนักหนาอะไรเลย กายกับใจที่ถอดถอน
ความกังวลจากหมู่คณะออกหมดแล้ว จึงเป็นเหมือน
จะเหาะลอยขึ้นบนอากาศในขณะนั้น
เพราะหมดอาลัยหายห่วงโดยประการทั้งปวง
โยมมารดาก็ได้อบรมสั่งสอนอย่างเต็มภูมิ
จนมีหลักฐานทางจิตใจอย่างมั่นคงหมดห่วงแล้ว มี
ความรับผิดชอบเฉพาะตัวคนเดียวนับแต่บัดนี้เป็นต้นไป
นี่
เป็นคำรำพึงบริกรรมภาวนาไปตามทาง ซึ่งท่านใช้
เป็นบทธรรมเตือนสติตัวเองมิให้ประมาท เดินทาง
โดยวิธีจงกรมภาวนาไปตามสายทางที่ปราศจาก
ผู้คนสัญจรไปมา
ขณะเดินทางตอนกลางวันแดดกำลังร้อนจัด
มองดูมีต้นไม้ใบหนาตามชายป่าก็เห็นว่าเหมาะก็แวะ
เข้าไปอาศัยพักพอหายเหนื่อย นั่งภาวนาสงบอารมณ์
ใต้ร่มไม้ให้ใจเย็นสบาย ตกบ่าย ๆ
อากาศร้อนค่อยลดลงบ้างก็เริ่มออกเดินทางต่อไป
ด้วยท่าทางของผู้เห็นภัยในวัฏสงสาร
มีสติสัมปชัญญะประคองใจ ไปถึงหมู่บ้าน
ไม่กี่หลังคาเรือนพอได้อาศัย
เขาโคจรบิณฑบาตก็พอแล้ว ไม่ต้องการ
ความเหลือเฟืออะไรมากไปกว่านั้น ตามองหาที่พัก
อยู่ห่างไกลจากหมู่บ้านพอประมาณ และแวะพักไป
เป็นทอด ๆ แล้วแต่ทำเลเหมาะสม
จะพักภาวนาสะดวกเพียงไร บางแห่งก็เป็น
ความสะดวกแก่การบำเพ็ญก็พักอยู่เป็นเวลานาน
แล้วเดินทางต่อไป
ท่านเล่าว่า
ตอนเดินทางไปถึงดงพญาเย็น
ระหว่างสระบุรีกับนครราชสีมาต่อกัน มีป่า
เขาลำเนาไพรมาก ทำให้เกิดความชื่นบานหรรษา
คิดอยากพักอยู่ที่นั้นนาน ๆ
เพื่อบำเพ็ญเพียรเสริมกำลังใจที่กระหายต่อการ
อยู่คนเดียวในป่าในเขามานาน เมื่อมาเจอทำเลเหมาะ ๆ
เข้า ก็อยากพักภาวนาอยู่ที่นั้นเป็นเวลานาน
แล้วค่อยผ่านไปเรื่อย พักไปเรื่อย
ท่านว่าท่านก็เพลิดเพลินไปกับสัตว์ชนิดต่าง ๆ เหมือน
กัน เพราะป่าเขาแถบนั้นมีสัตว์นานาชนิดชุมชุมมาก
มีอีเก้ง หมู กวาง ลิง ค่าง
บ่าง ชะนี เสือ ช้าง อีเห็น ไก่ป่า ไก่ฟ้า หมี
เม่น กระจ้อน กระแต เว้นสัตว์เล็ก ๆ ที่เที่ยวหากิน
เป็นประจำเสีย สัตว์นอกนั้นยังพากันมาเที่ยวหากิน
ในเวลากลางวัน ท่านเคยเจอเขาบ่อย ซึ่งเขาก็
ไม่แสดงอาการกลัวท่านนัก
ป่าแถบนี้แต่ก่อนไม่มีบ้านผู้บ้านคน ถึงมีก็
อยู่ห่าง ๆ กันและมีเพียง ๓-๔ หลังคาเรือน ตั้งอยู่
เป็นหย่อม ๆ ซึ่งอาศัยทำไร่ข้าวและปลูกสิ่งต่าง ๆ
เป็นอาชีพ ตั้งอยู่ตามชายเขาระหว่างที่ผ่านไป
ท่านอาศัยชาวบ้านเหล่านั้นเป็นโคจรบิณฑบาตไป
เป็นระยะ ๆ หมู่บ้านที่อยู่แถบนั้นเขามีศรัทธา
ในพระธุดงค์ดีมาก พวกนี้อาศัยสัตว์ป่าเป็นอาหาร
เพราะสัตว์ป่าชนิดต่าง ๆ มีมาก เวลาพักอยู่กับเขา
ได้รับความสะดวกแก่การบำเพ็ญมาก เขา
ไม่มารบกวนให้เสียเวลาเลย ต่างคนต่างอยู่
และต่างทำหน้าที่ของตน ปรากฏว่าการเดินทาง
เป็นไปด้วยความสะดวกราบรื่น ทั้งทางกาย
และทางใจ จนถึงกรุงเทพฯ ด้วยความสวัสดี
ท่านเข้าพักวัดปทุมวัน
ท่านว่าการขึ้นล่องระหว่างกรุงเทพฯ กับภาคอีสาน
ท่านขึ้นล่องเสมอ
บางเที่ยวขึ้นรถไฟไปลงเอาที่สุดรถไฟไปถึง
เพราะแต่ก่อนรถไฟยังไม่ทันถึงที่สุดทาง
บางเที่ยวก็เดินธุดงค์ไปมาเรื่อย ๆ ก็มี เวลาท่านพัก
และจำพรรษาที่วัดปทุมวัน
ได้ไปศึกษาอรรถธรรมกับท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ
วัดบรมนิวาสเสมอ ออกพรรษาแล้วหน้าแล้ง
ท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ จะไปเชียงใหม่
ท่านนิมนต์ท่านอาจารย์ไปเชียงใหม่ด้วย
ท่านเลยไปเที่ยวทางเชียงใหม่กับท่านเจ้าคุณ อุบาลีฯ
ขณะนั่งรถไฟไปเชียงใหม่ ท่านเล่าว่าท่าน
เข้าสมาธิภาวนาไปเรื่อย ๆ เกือบตลอดทาง
มีพักนอนบ้าง ก็เวลารถไฟออกจากกรุงเทพฯ ไป
ถึงลพบุรี พอถึงอุตรดิตถ์ รถจะเริ่มเข้าเขา
ท่านก็เริ่มเข้าสมาธิภาวนาแต่บัดนั้นเป็นต้นไป จนจะ
ถึงสถานีเชียงใหม่ถึงได้ถอนจิตออกจากสมาธิ
เพราะขณะจะเริ่มทำสมาธิภาวนา ท่านตั้งจิตไว้ว่า จะ
ให้จิตถอนจากสมาธิต่อเมื่อรถไฟจวนเข้า
ถึงตัวเมืองเชียงใหม่
แล้วก็เริ่มปฏิบัติหน้าที่ภาวนาต่อไป โดยมิได้สนใจ
กับอะไรอีก
ขณะนั่งทำสมาธิไม่นาน ประมาณ ๒๐
นาที จิตก็รวมลงสู่ความสงบ
ถึงฐานของสมาธิอย่างเต็มที่ จากขณะนั้นแล้วก็
ไม่ทราบว่ารถไฟวิ่งหรือไม่ มีแต่จิตที่แน่วลงสู่
ความสงบระงับตัวจากสิ่งภายนอกทั้งมวล
ไม่มีอะไรปรากฏ แม้ที่สุดกายก็ได้หายไปใน
ความรู้สึก เป็นจิตที่ดับสนิทจากการรับรู้
และรบกวนจากสิ่งต่าง ๆ เป็นเหมือนโลกธาตุ
ไม่มีอะไรเหลืออยู่เลย ประหนึ่งได้ดับไปพร้อม
กับความคิดปรุงและความสำคัญรับรู้ต่าง ๆ
ของขันธ์โดยสิ้นเชิง ขณะนั้นเป็น
ความรู้สึกว่ากายหายไป รถไฟและเสียงรถหายไป
ผู้คนโดยสารในรถไฟหายไป ตลอดสิ่งต่าง ๆ
ที่เคยเกี่ยวข้องกันกับจิตได้หายไปจากความรู้สึก
โดยสิ้นเชิง สิ่งที่เหลืออยู่ในเวลานั้นก็น่าจะ
เป็นสมาธิสมาบัติอย่างเดียวเท่านั้น เพราะในขณะนั้นมิ
ได้สำคัญตนว่าอยู่ในที่เช่นไร
จิตทรงตัวอยู่ในลักษณะนี้ตลอดมาแต่
๒๐ นาทีแรกเริ่มสมาธิ จนถึงชานเมืองเชียงใหม่จึง
ได้ถอนตัวออกมาเป็นปกติจิต ลืมตาขึ้นมองดูสภาพ
ทั่วไป
ก็พอดีเห็นตึกรามบ้านช่องขาวดาดาษไปทุกทิศทุกทาง
จากนั้นก็เริ่มออกจากที่และเตรียม
จะเก็บสิ่งของบริขาร มองดูผู้คนในรถรอบ ๆ ข้าง
ต่างพากันมองมา
นัยน์ตาจับจ้องมองดูท่านอย่างพิศวงสงสัยไปตาม ๆ กัน
รู้สึกจะเป็นที่ประหลาดใจของคนในรถไฟทั้งขบวน
นับตั้งแต่เจ้าหน้าที่รถไฟลงมาไม่น้อยเลย มาทราบ
ได้ชัดเจนเอาตอนท่านจะขนสิ่งของบริขารลง
จากรถ ขณะที่รถจะถึงที่เจ้าหน้าที่รถไฟต่างมา
ช่วยขนสิ่งของลงรถช่วยท่าน
ด้วยสีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส ทั้งที่ไม่เคยรู้จัก
กันมาก่อนเลย ทั้งคนโดยสาร
และเจ้าหน้าที่รถไฟต่างยืนมองท่านจนวาระสุดท้ายอย่าง
ไม่กะพริบตาไปตาม ๆ กัน
แม้ก่อนจะลงจากรถก็มีเจ้าหน้าที่รถไฟ
และคนโดยสารมาถามท่านว่า ท่านอยู่วัดไหน
และท่านจะเดินทางไปไหนต่อไป ท่านก็ได้ตอบว่าท่าน
เป็นพระอยู่ตามป่า ไม่ค่อยมีหลักฐานวัดวาแน่นอนนัก
และตั้งใจจะมาเที่ยววิเวกตามเขาแถบนี้
เจ้าหน้าที่รถไฟและผู้โดยสารบางคนก็ถามท่านด้วย
ความเอื้อเฟื้อเลื่อมใสว่า ขณะนี้ท่านจะไปพักวัดไหน
และมีผู้มารับหรือตามส่งหรือยัง ท่านแสดง
ความขอบคุณเจ้าหน้าที่รถไฟ และเรียนว่ามี
ผู้มารับเรียบร้อยแล้ว เพราะท่านไป
กับท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ ซึ่งเป็นพระผู้ใหญ่และ
เป็นที่เคารพเลื่อมใสของชาวเมืองเป็นอย่างยิ่ง
นับแต่เจ้าผู้ครองนครลงมาถึงพ่อค้าประชาชน
ขณะนั้นปรากฏว่ามี
ผู้คนพระเณรไปรอรับท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ
อยู่คับคั่ง แม้รถยนต์ซึ่งเป็นของหายากในสมัยนั้น
แต่ก็ปรากฏว่ามีรถไปรอรับอยู่หลายคัน
ทั้งรถข้าราชการและพ่อค้าประชาชน
รับท่านเจ้าคุณฯ จากสถานีมาวัดเจดีย์หลวง
เมื่อประชาชนทราบว่า
ท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ มาพักที่วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียง
ใหม่ ต่างก็มากราบนมัสการเยี่ยมและฟังโอวาทท่าน
ในโอกาสที่ประชาชนมามากนั้น ท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ
ได้อาราธนาท่านพระอาจารย์มั่น
เป็นองค์แสดงธรรมให้ประชาชนฟัง
ปรากฏว่าท่านแสดงธรรมไพเราะ
เพราะพริ้งจับใจท่านผู้ฟังมากมาย ไม่อยาก
ให้จบลงง่าย ๆ เทศน์กัณฑ์นั้นทราบว่า
ท่านเริ่มแสดงมาแต่ต้นอนุปุพพิกถาขึ้นไปเป็นลำดับ
จนจบลงในท่ามกลางแห่ง
ความเสียดายของพุทธศาสนิกชนที่กำลังฟังเพลิน
พอเทศน์จบลง ท่านลงมากราบพระเถระ
แล้วหลีกออกไปหาที่พักผ่อนตามอัธยาศัย
ขณะนั้นท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ
กล่าวชมเชยธรรมเทศนาของท่าน
ในท่ามกลางบริษัทว่า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2014, 15:49 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านมั่นแสดงธรรมไพเราะมาก หา
ผู้เสมอเหมือนได้ยาก และแสดงธรรมเป็นมุตโตทัย
คือแดนแห่งความหลุดพ้น ที่ผู้ฟัง
ไม่มีที่น่าเคลือบแคลงสงสัย นับว่าท่านแสดง
ได้อย่างละเอียดลออดีมาก แม้แต่เราเองก็
ไม่อาจแสดงได้ในลักษณะแปลก ๆ และชวน
ให้ฟังเพลินไปอย่างท่านเลย
สำนวนโวหารของพระธุดงคกรรมฐานนี้แปลกมาก
ฟังแล้วทำให้ได้ข้อคิดและเพลินไปตาม
ไม่มีเวลาอิ่มพอและเบื่อง่ายเลย
ท่านเทศน์ในสิ่งที่เราเหยียบย่ำไปมา
อยู่นี่แล คือสิ่งที่เราเคยเห็นเคยได้ยินอยู่เป็นประจำ
แต่มิได้สนใจคิดและนำมาทำประโยชน์
เวลาท่านเทศน์ผ่านไปแล้วถึงระลึกได้ ท่านมั่นท่าน
เป็นพระกรรมฐานองค์สำคัญที่
ใช้สติปัญญาตามทางมรรคที่พระพุทธเจ้าทรงสอน
ไว้จริง ๆ ไม่นำมาเหยียบย่ำทำลายให้กลาย
เป็นโลก ๆ เลว ๆ ไปเสียดังที่เห็น ๆ กัน
ท่านเทศน์มีบทหนักบทเบาและเน้นหนักลงเป็นตอน ๆ
พร้อมทั้งการคลี่คลาย
ความสลับซับซ้อนแห่งเนื้อธรรมที่ลึกลับ
ซึ่งพวกเราไม่อาจแสดงออกมาได้อย่างเปิดเผย และ
สามารถแยกแยะธรรมนั้น ๆ ออกมาชี้แจงให้เราฟัง
ได้อย่างถึงใจโดยไม่มีปัญหาอะไรเลย
นับว่าท่านฉลาดแหลมคมมากในเชิงเทศนา วิธี
ซึ่งหาตัวจับได้ยาก อาตมาแม้เป็นอาจารย์ท่าน แต่ก็ยก
ให้ท่านสำหรับอุบายต่าง ๆ ที่เราไม่สามารถซึ่งมี
อยู่เยอะแยะ
เฉพาะท่านมั่นท่านสามารถจริง
อาตมาเองยังเคยถามปัญหาขัดข้องใจที่ตนไม่
สามารถแก้ได้โดยลำพังกับท่าน แต่ท่านยัง
สามารถแก้ได้อย่างคล่องแคล่วว่องไวด้วยปัญญา
เราพลอยได้คติจากท่านไม่มีประมาณ อาตมา
จะมาเชียงใหม่จึงได้นิมนต์ท่านมาด้วย ซึ่งท่านก็เต็มใจมา
ไม่ขัดข้อง ส่วนใหญ่ท่านอาจเห็นว่าที่เชียงใหม่เรามีป่า
มีภูเขามาก สะดวกแก่การแสวงหาที่วิเวก ถึง
ได้ตกลงใจมากับอาตมาก็เป็นได้ เป็นแต่ท่านมิ
ได้แสดงออกเท่านั้นเอง พระอย่างท่านมั่น
เป็นพระที่หาได้ยากมาก อาตมาแม้จะเป็นผู้
ใหญ่กว่าท่าน แต่ก็เคารพเลื่อมใสธรรมของท่าน
อยู่ภายใน ท่านเองก็ยิ่งมี
ความอ่อนน้อมถ่อมตนต่ออาตมามากจนละอายท่าน
ในบางคราว ท่านพัก
อยู่ที่นี่พอสมควรก็ออกแสวงหาที่วิเวกต่อไป อาตมาก็จำ
ต้องปล่อยตามอัธยาศัยท่าน ไม่กล้าขัดใจ
เพราะพระจะหาแบบท่านมั่นนี้รู้สึกจะหา
ได้ยากอย่างยิ่ง เมื่อท่านมีเจตนามุ่งต่อธรรมอย่างยิ่ง
เราก็ควรอนุโมทนา เพื่อท่านจะ
ได้บำเพ็ญประโยชน์แก่ตนและประชาชน
พระเณรในอนาคตอันใกล้นี้
ท่านผู้ใดมีข้อข้องใจเกี่ยว
กับการอบรมภาวนาก็เชิญไปศึกษาไต่ถามท่าน จะ
ไม่ผิดหวังแน่นอน
แต่กรุณาอย่าไปขอตะกรุดวิชาคาถาอาคม
อยู่ยงคงกระพันชาตรี
ความแคล้วคลาดปลอดภัยต่าง ๆ ที่ผิดทาง จะ
เป็นการไปรบกวนท่านให้ลำบากโดยมิใช่ทาง
บางทีท่านอาจใส่ปัญหาเจ็บแสบเอาบ้างจะว่าอาตมา
ไม่บอก เพราะท่านมั่นมิใช่พระประเภทนั้น ท่าน
เป็นพระจริง ๆ และสั่งสอนคนให้เห็นผิดเห็นถูก
เห็นชั่วเห็นดีและเห็นบาปเห็นบุญจริง ๆ มิ
ได้สั่งสอนออกนอกลู่นอกทางไปจากคลองธรรม
ท่านเป็นพระปฏิบัติจริง
และรู้ธรรมตามที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน
ไว้จริง ๆ
เท่าที่ได้สนทนาธรรมกับท่าน
แล้วรู้สึกได้ข้อคิดอย่างน่าอัศจรรย์ ซึ่งใคร ๆ
ไม่อาจพูดได้อย่างท่านเลยเท่าที่ผ่านมาในสมัยปัจจุบัน
อาตมาเคารพเลื่อมใสท่านมากภายในใจ โดยที่ท่าน
ไม่ทราบว่าอาตมาเคารพท่าน ถ้าท่านไม่ทราบ
ด้วยญาณเอง เพราะมิได้พูดให้ท่านฟัง ท่าน
เป็นพระที่น่าเคารพบูชาจริง ๆ และอยู่
ในข่ายแห่ง ปุญฺญกฺเขตฺตํ โลกสฺส ขั้นใดขั้นหนึ่งแน่นอน
ไม่สงสัย แต่ท่านเองมิได้แสดงตัวว่าเป็นพระที่ตั้งอยู่
ในธรรมขั้นนั้น ๆ หากพอรู้ได้ในเวลาสนทนากัน
โดยเฉพาะ ไม่มีใครเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
อาตมาเองเชื่อว่าเป็นผู้ตั้งอยู่
ในอริยธรรมขั้นสามอย่างเต็มภูมิ ทั้งนี้ทราบ
จากการแสดงออกแห่งธรรมที่ท่านรู้เห็น แม้ท่านจะ
ไม่บอกภูมิที่บรรลุว่าภูมินั้น ๆ แต่ก็ทราบได้อย่าง
ไม่มีข้อสงสัย เพราะธรรมที่ท่านแสดงให้ฟัง
เป็นธรรมในภูมินั้น ๆ แน่นอน ไม่ผิด
กับปริยัติที่แสดงไว้ ท่านเป็นพระที่มีความเคารพ
และจงรักภักดีต่ออาตมามากตลอดมา
ไม่เคยแสดงอากัปกิริยากระด้างวางตัวเย่อหยิ่งแต่อย่าง
ใดให้เห็นเลย นอกจากวางตัวแบบผ้าขี้ริ้ว ซึ่งเห็น
แล้วอดเลื่อมใสอย่างจับใจไม่ได้ทุก ๆ ครั้งไปเท่านั้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 78 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 2 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron