วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 21:10  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง





กลับไปยังกระทู้  [ 26 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2014, 12:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรุณา วิย สตฺเตสุ ปญฺญายสฺส มเหสิโน เญยฺยธมฺเมสุ
สพฺเพสุ ปวติติตฺถ ยถารุจี ทยาย ตาย สตฺเตสุ
สมุสฺสาหิตมานโส ฯลฯ อภิธมฺมภถํ กเถสีติ
บัดนี้จักได้รับประทานวิสัชชนา
ในพระอภิธัมมาติกา ๒๒ ติกะ ในเบื้องต้น
ฉลองศรัทธาท่านสาธุชนสัปบุรุษ
โดยสมควรแก่กาลเวลา เนื่อง
ด้วยพระอภิธัมมาติกานี้ยากที่
จะอธิบายแก้ไขแปลออกไปให้พิศดารได้ มีแต่
ใช้มาติกาบังสุกุลเวลาคนตายเท่านั้น แต่ก็ยัง
เป็นภาษาบาลีอยู่ยากที่จะเข้าใจได้
ที่ท่านแปลออกไว้ก็มีแต่พระอถิธัมม์ ๗ พระคัมภีร์เท่า
นั้น ส่วนในพระอภิธัมมาติกานี้ หาได้มีผู้แปลออก
ไว้พิสดารไม่ พระอภิธัมมาติกา ๒๒ ติกะ
ในเบื้องต้นนี้ สมเด็จพระชินศรีศาสดาจารย์
เสด็จคมนาการขึ้นจำพรรษา
ในชั้นดาวดึงษ์เทวโลก ทรงตรัสเทศนาในพระอภิธัมม์
๗ คัมภีร์ โปรดหมู่เทวดาโดยมีพระพุทธมารดา
เป็นประธาน “กเถตุ กามยตา” ทรงปุจฉา
เป็นสักกวาที ปรวาที ทุก ๆ คัมภีร์เป็นลำดับ ๆ ไป
ในเบื้องต้นต่อไปนี้ อาตมาจัก
ได้วิสัชนาในพระอภิธัมมาติกา
เป็นปุจฉาวิสัชชนาตามพระพุทธฎีกา เพื่อให้เกิด
ความเลื่อมใส มีศรัทธาเชื่อมั่นในคุณพระรัตนตรัยยิ่ง
ๆ ขึ้นไป
“นิคฺคมวจนํ” ในสมัยครั้งหนึ่ง
ยังมีพระอาจารย์องค์หนึ่งชื่อว่า สักกวาทีอาจารย์
มารำพึงแต่ในใจว่า เมื่อองค์สมเด็จพระบรมศาสดา
จะทรงตรัสพระธรรมเทศนาโปรดพระพุทธมารดานั้น
พระองค์ก็
ได้ทรงเลือกคัดจัดสรรพระวินัยสุตตันตาภิธัมม์ทั้ง ๓
ปิฎกนี้แล้ว ก็ยังไม่เห็นว่าจะเสมอ
ด้วยพระคุณของพระพุทธมารดานั้นได้
ทรงเห็นแต่พระอภิธัมมาติกานี้ไซร้ จึงจะสมควร
ด้วยพระคุณของพระพุทธมารดาได้
พระอภิธัมมาติกานี้ พระบาลีก็ยังปรากฏอยู่ ๒๒
ติกะ ติกะละ ๓ รวมเป็น ๖๖ บทดังนี้
ทำไฉนหนออาตมาจึงจะรู้ จึงจะเข้าใจในเนื้อ
ความแห่งพระอภิธัมมาติกานี้ได้
เมื่อท่านสักกวาทีอาจารย์รำพึงแต่
ในใจฉะนี้แล้ว จึงเข้าไปสู่สำนักของท่าน
ปรวาทีอาจารย์ ขอโอกาสไต่ถามซึ่งบาลีและเนื้อ
ความให้แจ้งชัด ท่านปรวาทีอาจารย์ จึง
ได้ยกพระบาลีกล่าวขึ้นว่า “กุสสลา ธมฺมา” ธรรม
ทั้งหลายที่เป็นกุศลนั้นอย่างหนึ่ง “อกุสลา ธมฺมา”
ธรรมทั้งหลายที่เป็นอกุศลนั้นอย่างหนึ่ง “
อพฺยากตา ธมฺมา” ธรรมทั้งหลายที่เป็นอัพยากฤต
นั้นอย่างหนึ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2014, 12:10 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๑ “กุสสลา ธมฺมา”
โดยอธิบายในธรรมที่เป็นกุศลนั้นว่า “
ธรรมอันเป็นส่วนของบุคคลผู้ฉลาด” แปลว่าตัดเสีย
ซึ่งบาป ไม่ให้เกิดขึ้นในสันดาน
อุปมาเหมือนปลูกต้นมะม่วง ย่อมรักษามิ
ให้กาฝากเกิดขึ้นในลำต้น เพราะกลัวต้นมะม่วงนั้น
จะไม่งาม จะมีผลน้อย
เปรียบเหมือนร่างกายของบุคคลผู้ฉลาด
อันธรรมดาบุคคลผู้ฉลาดนั้นย่อมจะระวังรักษา
กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต มิให้เศร้าหมองได้ ฉะ
นั้น
ท่านสักกวาทีจึงถามขึ้นว่า
ในปฐมมาติกา คือ “กุสสลา ธมฺมา” นั้น
ท่านก็แปลถูกต้องตามพยัญชนะแล้ว
ยังอธิบายขยายความซ้ำอีกด้วย ข้าพเจ้าก็
เข้าใจแล้ว แต่ยังมีความสงสัยและวิตกถึงบุคคลที่
ยังโง่เขลากว่าข้าพเจ้าก็ยังมีอยู่อีกมาก เพราะเหตุ
นั้นจึงขอความแนะนำ
จากท่านต่อไปอีกสักหน่อยเถิด
ท่านปรวาทยาจารย์
จึงกล่าวต่อไปว่า “เอโก กิร ปุริโส”
ดูก่อนท่านสักกวาที ดังได้ยินมาว่า มีบุรุษหนึ่ง
เป็นคนฉลาด ได้เห็นเรือพลัดมาอยู่ท่าน้ำของตน
แล้วก็พิจารณาเห็นว่า เรือลำนี้เป็นเรือโจร
พวกโจรก็เก็บเอาสิ่งของในเรือไปหมดแล้ว
ปล่อยเรือนี้มาที่ท่าน้ำของเรา ถ้าเรา
ไม่ผลักออกไปเสียจากท่าน้ำของเราแล้ว
เมื่อเจ้าของเรือตามมาพบเข้าในกาลใด ก็
จะกล่าวโทษเราว่าเป็นโจร ลักเอาเรือของ
เขามาดังนี้
หรือเปรียบเหมือนบุรุษไถนาคนหนึ่ง
วันหนึ่งมีพวกโจรนำเอาถุงทรัพย์ไปทิ้งไว้ที่ริมนา
ในกาลครั้งนั้น องค์สมเด็จพระบรมศาสดา
เสด็จผ่านไปกับพระอานนท์
พระพุทธองค์ทอดพระเนตรเห็นถุงทรัพย์นั้นแล้ว
ทรงตรัสกับพระอานนท์ว่า อสรพิษอยู่ที่นี่
เมื่อบุรุษไถนาคนนั้น
ได้ฟังพระพุทธเจ้าดำรัสตรัสแก่พระอานนท์ดังนั้น
ก็สำคัญว่าเป็นอสรพิษจริง ๆ หาได้คิดว่า
พวกโจรนำเอาถุงทรัพย์มาทิ้งไว้ที่ริมนาของตนไม่
พระพุทธองค์พร้อม
ด้วยพระอานนท์ก็เสด็จหลีกไปสู่สถานที่อื่น
ต่อมาภายหลัง บุรุษผู้เป็นเจ้าของทรัพย์ตามมา
เห็นถุงทรัพย์ของตนทิ้งไว้ที่ริมนาของบุรุษไถนานั้น
ก็สำคัญมั่นหมายว่าบุรุษไถนานั้นเป็นโจร
จึงจับเอาบุรุษไถนานั้นไปฉะนี้
บุรุษผู้มีวิจารณญาณ
พิจารณาเห็นเหตุผลดังนี้แล้ว
ก็ถอยเรือของตนปล่อยไปตามกระแสน้ำ ก็จัด
ได้ชื่อว่าเป็นผู้ฉลาด สามารถตัดภัยเสียได้ดังนี้
ถ้ามิฉะนั้นก็จะเปรียบเหมือนบุรุษเลี้ยงโค
บุรุษเจ้าของโคนั้น เมื่อได้เห็นโคหลวงมาปะปนอยู่
ในคอกโคของตน ก็คิดแต่ในใจว่า ถ้าผู้ใหญ่บ้าน
หรือนายอำเภอมาเห็นโคหลวงอยู่ในคอกของเรา
แล้ว ก็หาว่าเราลักเอาโคหลวงมา แล้วก็
จะจับเอาเราไปลงทัณฑกรรมต่าง ๆ
เมื่อบุรุษเลี้ยงโคคิดดังนี้อยู่แล้ว ก็เปิดประตูคอก
ไล่โคหลวงออกไปให้พ้นจากบ้านของตน ก็จัด
ได้ชื่อว่าเป็นผู้ฉลาดตัดราชภัยให้พ้นไปเสียได้
และอีกเรื่องหนึ่ง
เมื่อครั้งสมเด็จพระบรมศาสดาจารย์ของเรา
เสวยพระชาติเป็นกุฑาลบัณฑิต ครั้งนั้นพระองค์
ได้ทำไรข้าวโพดและถั่วราชมาสเป็นต้น
อยู่ที่ริมฝั่งมหาสมุทร ครั้นเมื่อถึงฤดูร้อนแล้ว ก็บวช
เป็นฤๅษี เมื่อถึงฤดูฝน ก็สึกออกมาทำไร่ต่อไป แต่
เป็นเช่นนั้นอยู่ถึง ๗ ครั้ง ภายหลังพระองค์
จึงมาคิดว่า เรามีความเหนื่อยยากลำบากกาย
ต้องบวช ต้องสึกมา ก็เพราเราเป็นห่วงจอบ
กับข้าวโพดนี้เอง เมื่อพระองค์คิดได้ฉะนั้นแล้ว
จึงนำเอาผ้าห่อพืชพันธุ์ กับจอบนั้นไปโยนทิ้งเสีย
ในมหาสมุทร เมื่อสิ้นห่วงแล้ว พระองค์
จึงมาตั้งพระทัยเจริญสมาบัติ ก็ได้สำเร็จฌานโลกีย์
เมื่อจุติจากชาตินั้นแล้ว ก็ได้บังเกิดในพรหมโลก
ที่แสดงมานี้ ก็เป็นเพียงอุปมาอุปมัยเพื่อ
จะได้เห็นว่า ร่างกายของท่านทั้งหลาย คือ
ปัญจขันธ์ทั้ง ๕ นั้น เมื่อบุคคลยังมีความยินดีรักใคร่
อยู่ตราบใด ก็จักได้เสวยแต่กองทุกขเวทนาอยู่ตราบ
นั้น เท่ากับยินดีอยู่กับราชภัย คือพญามัจจุราช
และโจรภัย โมหะก็เนื่องกัน
ดังบาลีที่พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า “
ปญจุปาทานกฺขนฺธา ทุกฺขา” ดังนี้ โดยเนื้อ
ความว่า สัตว์โลกทั้งหลายมีความเดือดร้อนอยู่ ก็
เพราะเข้าไปยึดเอาขันธ์ทั้ง ๕ นี้ไว้ ว่าเป็นของเรา
และในธรรมที่ว่า กุศลนั้น
คือพุทธประสงค์เอาพระปัญญาตัดอาลัยในปัญจขันธ์
ทั้ง ๕ นั้นได้ เห็นว่าเป็นอนัตตา มิใช่ตัวตน
เพราะปัญจขันธ์นั้นไม่อยู่
ในอำนาจบังคับบัญชาของท่านผู้ใด เพราะฉะนั้น
จึงได้ชื่อว่า “กุสลา ธมฺมา” แปลว่า ตัดเสียซึ่งบาป
“สีลํ” แปลว่าตัดเสียซึ่งบาป ออกจากกาย วาจา
ไม่ให้ติดอยู่ในสันดาน “ปฏิปตฺติ” แปลว่า กลับกาย
วาจา ใจ ที่เป็นบาป ให้เป็นบุญ เป็นกุศลเสียฉะนี้
เพราะฉะนั้นจึงได้ชื่อว่า ศีล ว่า วินัย ว่า ปฏิบัติ
ดังนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2014, 12:13 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๒ “อกุสสลา ธมฺมา”
เบื้องหน้าแต่นี้ จักได้แก้ไขในบทที่ ๒
ต่อไป “อกุสลา ธมฺมา” ธรรมทั้งหลายอัน
เป็นอารมณ์แห่งจิต คือ ทรงไว้ซึ่งจิตอันเป็นอกุศล “
อกุสลา ธมฺมา” แปล่า ธรรมของบุคคลผู้ไม่ฉลาด
หรือแปลว่า ไม่ตัดบาปออกจาก กาย วาจา ใจ ก็
ได้
ความมีอธิบายว่า คนโง่ ไม่ระวังบาปที่
จะมาถึงแก่ตน บางคนบาปยังไม่มาถึงแก่ตนเลย
ก็ไปเที่ยวแสวงหาบาปมาใส่ตนก่อนก็มี
ท่านสักกวาทีจึงถามขึ้นว่า บาปที่จะมาถึงตน
นั้นอย่างไร ที่ว่าบาปยังไม่ทันมาถึงแก่ตน
เที่ยวไปแสวงหาบาปใส่ตนก่อนนั้นอย่างไร
ขอท่านปรวาที จงวิสัชนาความข้อนี้ให้เป็น
มทยปัญญา แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด
ท่านปรวาทีจึงอธิบายว่า บาปจะมา
ถึงแก่ตนนั้น ด้วยเหตุที่จะกระทำใจ
ให้เดือดร้อนขึ้นก่อน เป็นต้นว่า ได้ยินเสียง หรือมี
ไม้ฆ้อน ก้อนดิน เป็นต้น บุคคลที่เกิดความเดือดร้อน
นั้น เพราะไม่ปิดป้องกำบังให้ดี ปล่อยให้เสียงนั้นล่วง
เข้ามากระทบทางหู หรือทางกายตนนั้น มา
ถึงแก่ตน บุคคลนั้นก็ได้ชื่อว่า เป็นคนโง่ ไม่ฉลาด
ไม่ตัดบาป ไม่ระวังบาปที่จะมาถึงแก่ตนฉะนี้ ถ้ามิฉะ
นั้น ก็จะเปรียบเหมือนบุคคลที่มีเรือนอันไฟไหม้อยู่
เมื่อบุรุษนั้นได้เห็นไฟไหม้มาแต่ไกลแล้ว ตนก็
ไม่ระมัดระวังเรือนของตน
จนไฟลามมาไหม้เรือนของตน ตนก็
ได้รับทุกขเวทนาต่าง ๆ ฉะนั้น เพราะโทษที่
ไม่ระมัดระวังไฟ และไม่ตัดเชื้อไฟแต่ต้นทีเดียว
เพราะฉะนั้นจึงได้ชื่อว่าเป็นคนโง่ ไม่ฉลาด
ไปเที่ยวแสวงหาบาปมาใส่ตนนั้น
ได้แก่บุคคลที่ปักขวากหลาวไว้ สำหรับ
ให้สัตว์มาติดตามนั้น จัดได้ชื่อว่า
ไปเที่ยวแสวงหาบาปมาใส่ตัว ก็แหละคำที่ว่า
ไม่ตัดบาปเสียนั้น มีคำอธิบายว่า
ยังมีต้นไทรต้นหนึ่ง ไม่สู้ใหญ่นัก มีใบและก้านบริสุทธิ์
อยู่ในป่าหิมวันตประเทศ
วันหนึ่งมีฝูงนกฝูงหนึ่งบินไปกินลูกเถาวัลย์ในสถานที่
อื่น ครั้นภายหลังก็บินมาจับที่ต้นไทรนั้น
แล้วก็ถ่ายอุจจาระลงไปที่ใต้ต้นไทรนั้น ครั้นถึงฤดูฝน
เบญจเถาวัลย์นั้นก็งอกงามขึ้นมาที่ใต้ต้นไทรนั้น
ยังมีลมจำพวกหนึ่งได้บอกแก่ต้นไทรนั้นว่า
หมู่เถาวัลย์นี้ ครั้นงอกงามขึ้นมาที่นี่แล้ว ถ้าทิ้งไว้
ให้เจริญจนใหญ่โตแล้ว ก็จะปกคลุมท่านให้ถึงแก่
ความตาย ต้นไทรนั้นจึงตอบว่า มัน
ไม่ทันงอกงามขึ้นมาได้ดอก สัตว์ทั้งหลาย
มีกระต่ายและสุกรเป็นต้น ก็จะมากัดกินเป็นอาหาร
เถาวัลย์นี้ก็จะถึงแก่ความตายไป ไม่ทันที่
จะเลื้อยยาวขึ้นมาได้
ครั้นนานมาเถาวัลย์นั้นก็เจริญ
ใหญ่โตขึ้นมาได้ ไม่มีอันตรายด้วยสัตว์ทั้งหลาย
มีกระต่ายและสุกรเป็นต้น จนเถาวัลย์นั้นเลื้อยขึ้นไป
ถึงง่ามคบใหญ่
ยังมีลมอีกจำพวกหนึ่งมาตักเตือนต้นไทรนั้นว่า
เหตุไฉนท่านจึงให้โอกาสแก่เถาวัลย์นั้น
ให้เลื้อยขึ้นมาจนถึงเพียงนี้เล่า นานไปก็
จะคลุมยอดของท่าน ท่านก็จะได้รับความลำบาก
ถึงแก่ความตาย ต้นไทรได้ฟังจึงตอบขึ้นว่า
ท่านอย่าได้กลัวไปเลยว่าเถาวัลย์มันจะไม่ตาย
ถ้าพวกตัดเสาเขามาเห็นเข้า ก็
จะตัดเอาไปทำเชือกลากเสาไป ต้นเถาวัลย์นั้นก็จะ
ถึงแก่ความตาย ครั้นนานมา
ต้นเถาวัลย์ก็เลื้อยขึ้นไปคลุมยอดต้นไทรนั้นถึงแก่
ความตาย หักลงเหนือปัฐพี
แสดงมาทั้งนี้ ก็เพื่อให้เห็น
ความประมาท ที่ไม่คอยคิดตัดบาปทางกาย
วาจา ใจ เพราะฉะนั้น จึง
ต้องลำบากภายหลังเช่นนี้ ท่านสักกวาที
จึงถามขึ้นว่า บุคคลที่ไม่ตัดบาปนั้น ครั้นตายแล้ว
ได้ไปเสวยทุกขเวทนาในอบายภูมิทั้ง ๔ มีนรกเป็นต้น
นั้น จะได้แก่บุคคลจำพวกใด ท่านปรวาที
จึงชักนิทานในคัมภีร์ธรรมบทมาแสดง
ให้เห็นปรากฏว่า ยังมีบุตรเศรษฐี ๔ คนพี่น้องกัน ครั้น
ได้ทัศนาเห็นภรรยาของท่านผู้อื่นแล้ว
ก็มีจิตปฏิพัทธ์รักใคร่ในปรทารกรรม
กระทำกาเมสุมิจฉาจาร ครั้นทำกาลกิริยาแล้ว
ก็ไปตกอยู่ในโลหกุมภีนรก นานประมาณหกหมื่นปี
จนน้ำในหม้อนรกนั้นเดือดขึ้นมาถึงปากหม้อ
ตัวก็ลอยมาถึงปากหม้อแล้วก็ได้สติ มี
ความปรารถนาจะประกาศบุพกรรมของตน
ให้ปรากฎว่า ทุสนโส ดังนี้
ตนที่หนึ่งว่า ข้าพเจ้าเป็นคนชั่ว
ตนที่สองว่า ข้าพเจ้ามาตกอยู่
ในนรกนี้ประมาณหกหมื่นปีแล้ว ตนที่สามว่า
ข้าพเจ้าไม่มีที่สุดว่าจะหมดกรรมเมื่อใด ตนที่สี่ว่า
ข้าพเจ้าไม่กระทำอีกต่อไปแล้ว ยังไม่ทันจะหมดเรื่อง
เพียงคนละอักขระเท่านั้น น้ำก็พัดลงไป
ยังก้นหม้ออย่างเดิม แล้วก็
ได้เสวยทุกขเวทนาต่อไปกว่าจะสิ้นบาปกรรม
เพราะโทษที่ตนไม่ได้ตัดบาปในปรทารกรรม
นั้นตามอำนวยผล เปรตทั้งสี่ตนเหล่านี้เมื่อยัง
เป็นมนุษย์อยู่นั้น ก็แปลว่าเป็นคนโง่ ไม่ฉลาด
ไม่ตัดบาปกรรมเสีย เพราะฉะนั้นจึงต้อง
เป็นเปรตเสวยทุกขเวทนาอยู่ในโลหกุมภีนรกฉะนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2014, 12:18 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๓ “อพฺยากตา ธมฺมา”
ในลำดับนี้ จะได้แก้ไขในบทที่ ๓
สืบต่อไป โดยพระบาลีว่า อพฺยากตา ธมฺมา
แปลว่า ธรรมอันเป็นอารมณ์แห่งจิตอัน
เป็นอัพยากฤต แปลว่า ธรรมอันพระพุทธเจ้าไม่
ได้พยากรณ์ว่าเป็นบุญเป็นบาป ดังนี้
โดยอธิบายว่า ไม่ยินดียินร้าย ไม่โสมนัสโทมนัส
ได้ชื่อว่าอัพยากฤต
เปรียบเหมือนหนึ่งว่าใบบัวอันน้ำดี
และชั่วตกถูกต้องแล้ว ก็ย่อมไหลไปไม่ขังอยู่ได้ฉะนั้น
ถ้ามิฉะนั้น เปรียบเสมือนเสาไม้แก่น อันบุคคลฝัง
ไว้เหนือแผ่นดิน ถึงผงเผ้าเถ้าธุลีจะปลิวมาสักเท่าใด
ๆ ก็ดี ก็ย่อมปลิวหนีไปไม่ติดอยู่ที่เสานั้นได้ จิตที่
เป็นอัพยากฤตนั้น ถึงใครจะบูชาดี ก็ดี บูชาชั่ว ก็ดี
ไม่ยินดียินร้าย ท่านสักกวาที
จึงขออุปมาอุปมัยอีกว่า ข้าแต่ท่านปรวาที ซึ่ง
ได้ชี้แจงแสดงมาก็ถูกต้องตามพระบาลีอยู่แล้ว
ข้าพเจ้าได้ฟังก็มีความยินดีชอบใจทุกประการแล้ว
แต่ข้าพเจ้าขออุปมาอุปไมยอีกสักหน่อยเถิด
ท่านปรวาทีจึงแสดงอุปมาว่า ดูก่อนสักกวาที “
นครโธวาริกปุริโส วิย” จิตที่เป็นอัพยากฤต
นั้นเปรียบเหมือนหนึ่ง โธวาริกบุรุษ
ผู้เฝ้าประตูพระนคร จิตที่เป็นกุศล
นั้นเปรียบเหมือนชนที่เข้าไปในประตูนคร จิตที่
เป็นอกุศลนั้น เปรียบเหมือนชนที่ออกไปจากประตูนคร
นายโธวาริกผู้เฝ้าประตูนครนั้นก็ไม่ได้ไต่ถามคนที่
เข้าออกนั้น เป็นแต่รู้ เป็นแต่เห็น หาได้ไต่ถามชนที่
เข้าออกนั้นไม่ เช่นนี้แลชื่อว่า อัพยากฤต
ถ้ามิฉะนั้น เปรียบเหมือนภาชนะที่
ใส่น้ำ เป็นต้น ภาชนะที่เต็มแล้วด้วยน้ำนั้น ถึงใคร ๆ
จะเอาน้ำเทลงไปอีกสักเท่าใด ๆ ก็ดี น้ำ
นั้นก็ไหลล้นออกไปจากภาชนะ ไม่สามารถขังอยู่ได้
ฉันใดก็ดี จิตที่เป็นอัพยากฤต ที่พระพุทธเจ้า
ไม่พยากรณ์ว่าเป็นบุญและบาปนั้น ชื่อว่าบุญ
และบาปไม่มี ถึงบุญบาปจะมีสักเท่าใด ๆ ก็ดี ก็ไม่
สามารถจะติดขังอยู่ได้ อุปไมยดังภาชนะที่เต็มแล้ว
ด้วยน้ำฉะนั้น
จิตที่เป็นอัพยากฤตนี้
ย่อมมีแต่พระอริยเจ้าจำพวกเดียวเท่านั้น หา
ได้มีแก่ปุถุชนทั่วไปไม่ ปุถุชนนั้นมีแต่จิตที่เป็นบุญ
เป็นบาปทั้ง ๒ ประการ จิตที่เป็นอัพยากฤตนั้นหา
ได้มีไม่ เพราะฉะนั้นจิตที่เป็นอัพยากฤตจึงมิ
ได้บังเกิดมีแก่ปุถุชน ท่านปรวาทีได้ฟังก็ชอบใจ
จึงไต่ถามต่อไปว่า บุคคลที่มีจิตเป็นกุศล (ส่วน)
อกุศลและอัพยากฤตไม่มี บุคคลผู้ที่มีจิตเป็นกุศล
และอกุศล (ส่วน) อัพยากฤตไม่มี บุคคลใดที่มีแต่จิต
เป็นอัพยากฤต (ส่วน) กุศลและอกุศล
ไม่มีเล่าพระเจ้าข้า
พระปรวาทีจึงวิสัชนาว่า บุคคลที่มีจิต
เป็นบาปเป็นอกุศลนั้น ก็ได้แก่ นายพราน คิดแต่
จะล่าเนื้อ ฆ่าปลาอยู่เป็นนิตย์ กุศลจิต
และอัพยากฤตนั้นไม่บังเกิดมีแก่นายพรานเลยดังนี้
บุคคลที่มีจิตเป็นบุญเป็นกุศลนั้น ได้แก่
พระอริยะสัปบุรุษ ท่านคิดแต่การบำเพ็ญทาน
รักษาศีล เจริญเมตตาภาวนา
สดับฟังพระสัทธรรมเทศนาอยู่เป็นนิตย์ อกุศลจิต
และอัพยากฤตก็ไม่บังเกิดมีแก่ท่านดังนี้
เพราะฉะนั้นจึงว่า จิตที่
เป็นอัพยากฤตนี้
ย่อมบังเกิดมีแก่พระอรหันต์จำพวกเดียว
พระอรหันต์เมื่อท่านเข้าสู่นิโรธสมาบัติแล้ว จิตที่
เป็นบุญเป็นบาปนั้นไม่บังเกิดมีแก่ท่านฉะนี้
อาตมาแก้ไขมาในปฐมมาติกาบทที่
๓ ก็ขอยุติลงไว้แต่เพียงเท่านี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2014, 12:22 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๔ “สุขาย เวทนาย สมฺปยุตฺตา ธมฺมา”
ในลำดับต่อไปนี้จักได้แสดง
ในติกมาติกาบทที่ ๔ สืบต่อไป โดยนัยพระบาลีว่า “
สุขาย เวทนาย สมฺปยุตฺตา ธมฺมา” ธรรมทั้งหลาย
ซึ่งเป็นอารมณ์แห่งจิตอันสัมปยุตแล้วด้วยเวทนา ๒
แปลว่า เสวยอารมณ์ “สุขาย” แปลว่า เป็นสุข
โดยอธิบายว่า ธรรมทั้งหลายอันสัมปยุตแล้ว
ด้วยการเสวยอารมณ์เป็นสุขนั้น คือ จักขุ โสตะ
ฆานะ ชิวหา กาย ใจ ที่ได้สัมผัสรูป เสียง กลิ่น รส
โผฏฐัพพะ ธัมมารมณ์ ก็ล้วนแต่เป็นสิ่งที่รักที่เจริญใจ
คือว่าไม่ยังใจให้เดือดร้อน มีแต่ความโสมนัสยินดี
ในกาลเมื่อสัมผัสให้ถูกต้องกับทวาร มีจักขุทวาร
เป็นต้น เพราะฉะนั้นธรรมะดวงนี้ สมเด็จพระชินศรีจึง
ได้ทรงตรัสว่า “สุขาย เวทนาย สมฺปยุตฺตา ธมฺมา”
ดังนี้
พระสักกวาทีจึงขอ
ความอุปมาต่อไปว่า ข้าแต่ท่านปรวาที ขอพระผู้
เป็นเจ้าจงแสดง
ให้พิสดารออกไปอีกสักหน่อยเถิดพระเจ้าข้า
คนหนาวได้ห่มผ้า คนร้อนได้อาบน้ำ
คนหิวข้าว
ได้รับประทานอาหารบรรเทาเวทนาเก่าลงได้
และห้ามกันเวทนาใหม่มิให้กำเริบขึ้นได้ฉะนี้ ก็จัด
ได้ชื่อว่าสัมผัสถูกต้องเวทนาที่เป็นสุข
ถ้ามิฉะนั้น
เปรียบเสมือนคนยากจนเข็ญใจ เมื่อ
ได้ลาภยศที่ฐานอันใดอันหนึ่งแล้ว ก็ย่อมมี
ความชื่นชมยินดีเป็นกำลัง
เหมือนดังนายควาญช้างคนหนึ่ง เดิมทีก็
เป็นคนยากจนอนาถา ครั้นต่อมาได้รับจ้าง
เขาเลี้ยงช้างพอได้อาหารเลี้ยงอาตมาเป็นสุข ก็มี
ความดีใจเป็นกำลัง
หรือถ้ามิฉะนั้น
ก็เปรียบเหมือนพระเจ้าสักกมันธาตุราช เมื่อเดิมที
เป็นคนยากจนเข็ญใจ แม้แต่
จะแสวงหาอาหารบริโภคแต่ละมื้อก็ทั้งยาก
จนที่สุดผ้าที่จะนุ่งห่มก็ไม่มี
ต้องเอาใบไม้มานุ่งห่มแทนผ้า ครั้น
อยู่ต่อมาภายหลัง ก็ได้เสวยราชสมบัติ
เป็นบรมกษัตริย์ แล้วก็ได้เป็นถึงบรมจักร แสนที่มี
ความสุขสบายยิ่งขึ้นดังนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2014, 12:25 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๕ “ทุกฺขาย เวทนาย สมฺปยุตฺตา ธมฺมา”
เบื้องหน้าแต่นี้จักได้วิสัชชนาในบทที่ ๕
ว่า “ทุกฺขาย เวทนาย สมฺปยุตฺตา ธมฺมา” ต่อไป
แปลใจความว่า ธรรมทั้งหลายอันสัมปยุตแล้ว
ด้วยเวทนา ด้วยนามธรรมที่เสวยอารมณ์ โดยความ
เป็นทุกข์ โดยความอธิบายว่า ธรรม
ทั้งหลายอันสัมปยุตแล้วด้วยเวทนา
ด้วยนามธรรมที่เสวยอารมณ์โดยความเป็นทุกข์ โดย
ความอธิบายว่า ธรรมทั้งหลายที่ทรงไว้
ซึ่งจิตของคนที่มีแต่ความลำบากนั้น ก็
ได้แก่คนที่ยากจนเข็ญใจ
และคนที่มีโรคาพยาธิเบียดเบียนต่าง ๆ และคนที่
ต้องราชภัย โจรภัย อัคคีภัย อุทกภัย เป็นต้น
เหล่านี้แล จึงชื่อว่า ทุกฺขาย เวทนาย
ยังมีทุกข์เวทนาอีกอย่างหนึ่งนั้นคือ ทุกข์ของสัตว์
ในนรก ทุกข์ของเปรต อสุรกาย
ทุกข์ของสัตว์ดิรัจฉานกำเนิด
ทุกข์ของสัตว์ที่เวียนว่ายตายเกิดต่อไป ดังนี้แลชื่อว่า
ทุกขเวทนา ท่านสักกวาทีจึงถามขึ้นว่า บุคคลที่
ได้เสวยทุกขเวทนาอย่างที่แสดงมานี้คือใคร ผู้ใด
เป็นตัวอย่างเจ้าข้า
ท่านปรวาทยาจารย์
จึงนำบุคคลมาแสดงให้เห็น
เป็นนิสัยทัสนะอุทาหรณ์ว่า ยังมีสตรีผู้หนึ่งชื่อว่า
นางสุปวาสา เป็นเหตุ
ให้เห็นปรากฏว่าตนประกอบไปด้วยทุกข์ เหลือที่
จะอดทน พ้นที่จะพรรณนา มารดาของพระสีวลี
ซึ่งทรงครรภ์อยู่ถึง ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน ครั้นภายหลัง
นางสุปวาสาผู้เป็นมารดานั้นได้ชี้แจงแสดงเหตุ
ให้เห็นปรากฏว่า ตนประกอบไปด้วยความทุกข์ที่
จะเหลือทนทานได้เป็นต้น ดังที่พรรณนาว่า
ครรภ์ของนางนั้นใหญ่เกินประมาณ จะนั่งก็เป็นทุกข์
จะนอนก็เป็นทุกข์ จะยืนจะเดินก็เป็นทุกข์ดังนี้ เพราะฉะ
นั้นจึงได้เรียกชื่อว่า ทุกขเวทนา ทุกข์
นั้นแปลว่าลำบาก ลำบากนั้นแปลว่า ความชั่ว
ซึ่งตนกระทำไว้ไม่ดี เพราะเหตุนั้น
องค์สมเด็จพระบรมศาสดาจารย์เจ้า
จึงทรงตรัสเทศนาว่า “สพฺพปาปสฺส อกรณํ” ดังนี้
ก็มีพระพุทธประสงค์เพื่อจะไม่ให้สัตว์กระทำบาป
ทั้งปวง เพราะพระองค์ทรงมีพระกรุณาแก่หมู่สัตว์ จะ
ไม่ให้หมู่สัตว์เสวยทุกข์เวทนา ด้วยหวังพระทัยว่าจะ
ให้สัตว์ทั้งปวงได้เสวยสุขเวทนายิ่ง ๆ ขึ้นไปฉะนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2014, 12:35 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๖ “อทุกฺขมสุขาย เวทนาย สมฺปยุตฺตา ธมฺมา”
เบื้องหน้าแต่นี้ จะได้แสดงในบทที่ ๖ ว่า
“อทุกฺขมสุขาย เวทนาย สมฺปยุตฺตา ธมฺมา” นี้ต่อไป
ซึ่งแปลว่า ธรรมทั้งหลายอันสัมปยุตแล้วด้วยเวทนาดี
ไม่มีสุขไม่มีทุกข์ โดยความอธิบายว่า
ทุกข์ก็อาศัยแก่ปัญจขันธ์ทั้ง ๕ สุขก็อาศัยปัญจขันธ์ทั้ง
๕ เมื่อเห็นว่าปัญจขันธ์ทั้ง ๕ ไม่ใช่ตัวตน หรือว่าเห็น
เป็นอื่น มิใช่เราแล้ว อุปาทานก็เข้าไปใกล้
เพราะฉะนั้นจึงว่า ทุกข์สุขไม่มี ดังนี้
ส่วนอารมณ์นั้น เราก็เป็นอุเบกขา
อุเบกขานั้นแปลว่า การเข้าไปเห็นปัญจขันธ์ทั้ง ๕
ว่า ปัญจขันธ์ทั้ง ๕ นี้ เกิดขึ้นแล้วก็ดับสิ้นสูญไป
ความรู้ความเห็นนั้นก็ไม่เจือปนอยู่ด้วยปัญจขันธ์ทั้ง ๕
เพราะเหตุนั้นจึงว่า ไม่มีสุข ไม่มีทุกข์ ฉะนี้
ท่านสักกวาทีจึงถามขึ้นว่า อารมณ์ที่ไม่มีสุข
ไม่มีทุกข์นั้นจะเป็นอย่างไร จะเป็นโลกีย์หรือจะ
เป็นโลกุตตระ เป็นประการใด
ท่านปรวาทีจึงวินิจฉัยว่า ความที่
ไม่สุขไม่ทุกข์นั้น ที่เป็นโลกีย์ก็มี ที่เป็นโลกุตตระก็มี
เปรียบเหมือนหนึ่งอารมณ์ที่ร้อนแล้ว และมี
ความปรารถนาให้ตนที่ร้อนนั้นไปหาเย็น แต่ยังไป
ไม่ทันถึงความเย็นฉะนั้น
ท่านปรวาทีจึงย้อนถามขึ้นอีกว่า
ท่านสักกวาทีที่จะเห็นว่าอารมณ์ร้อนหรือเย็น
เป็นประการใด ท่านสักกวาทีจึงตอบว่า อารมณ์
นั้นร้อน ท่านปรวาทีจึงถามอีกว่า อารมณ์
นั้นร้อนอย่างไร ท่านสักกวาทีจึงตอบว่า
ถ้าอารมณ์ตนร้อนมาแล้ว อารมณ์นั้นเย็น
ท่านปรวาทีจึงว่า จะเย็นอย่างไร ก็ยังไม่ถึง
ความเย็น ท่านสักกวาทีตอบว่า ถ้าเช่นนั้น
อารมณ์นั้นก็ไม่เย็นไม่ร้อน พระปรวาทีจึงอนุโลมว่า
นั้นแล ธรรมที่สัมปยุตแล้วด้วยเวทนาที่ไม่สุขไม่ทุกข์
ท่านสักกวาทีจึงมีความสงสัย จึงถามขึ้นอีกว่า
ธรรมที่เป็นโลกีย์นั้นคือใคร ผู้ใดจะกระทำได้เล่า
ขอพระผู้เป็นเจ้า จงนำบุคคลที่เป็นโลกีย์มาแสดง
ในที่นี้ เพื่อให้เห็นเป็นแบบเป็นฉบับสักเรื่องหนึ่ง เพื่อ
เป็นเครื่องเตือนสติให้สิ้นความสงสัย
ท่านปรวาทีจึงนำบุคคลมาแสดง
ให้เห็นเป็นนิทัศนะอุทาหรณ์ว่า
ยังมีพระมหาเถระองค์หนึ่ง ไปเจริญสมณธรรมอยู่
ในอรัญราวป่า พิจารณาซึ่งสังขารธรรม
เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จนอารมณ์นั้นไม่เป็นสุข
เป็นทุกข์ เฉย ๆ อยู่ ในกาลครั้งนั้น ยังมีเสือโคร่ง
ใหญ่ตัวหนึ่ง มาคาบเอาพระมหาเถระเจ้า
นั้นไปบริโภคเป็นภักษาหาร เมื่อเดิมทีนั้น
ก็บริโภคตั้งแต่เท้าขึ้นไปถึงโคนขา พระผู้เป็นเจ้าก็ไม่
เป็นทุกข์เป็นสุข จิตของพระผู้เป็นเจ้านั้นก็ยังเป็นโลกีย์
จริงอยู่ คือว่าท่านยังเป็นปุถุชนอยู่ ยังไม่
ได้สำเร็จอะไร เมื่อเสือโคร่งนั้นบริโภคขึ้นไปถึงสะเอว
และท้องน้อย ท่านก็ยังไม่
ได้สำเร็จมรรคผลธรรมวิเศษอะไร อารมณ์ของท่านก็
ยังเฉย ๆ อยู่ ไม่เดือดร้อนหวั่นไหว ครั้นบริโภค
ถึงดวงหฤทัยของท่านแล้ว ท่านก็ได้สำเร็จอรหัตต์
ตัดกิเลสเป็นสมุทเฉทปหาน ดับขันธ์
เข้าสู่พระนิพพานในปากแห่งเสือโคร่งนั้น ดังนี้
นักปราชญ์
ผู้มีวิจารณญาณพึงสันนิษฐาน
เข้าใจตามนัยพระพุทธภาษิตอันวิจิตรพิสดาร
อาตมารับประทานวิสัชชนามาในมาติกาบทที่ ๖
ก็พอสมควรแก่เวลาด้วยประการฉะนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2014, 12:40 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๗ “วิปากา ธมฺมา”
บัดนี้จักได้แก้ไขในติกมาติกาบทที่ ๗
ตามลำดับสืบไป โดยนัยพระบาลีว่า “วิปากา
ธมฺมา” แปลว่า ธรรมทั้งหลายอันสุขต่าง ๆ กัน คือ
กรรมวิบากที่เป็นส่วนบุญนั้นเรียกว่า กุศลวิบาก ๑
กรรมวิบากที่เป็นบาปนั้นเรียกว่า อกุศลวิบาก ๑
ขันธวิบาก ๑ ปุญญวิบาก ๑ กรรมวิบากนั้นแบ่งออก
เป็น ๒ ประการคือ ได้แก่ผลทุจริต ๓ ผลสุจริต ๓
ทุจริต ๓ นั้น คือ กายทุจริต ๑ วจีทุจริต
๑ มโนทุจริต ๑ ทุจริตทั้ง ๓ เหล่านี้
เป็นฝ่ายอกุศลวิบาก
สุจริต ๓ นั้น คือ กายสุจริต ๑ วจีสุจริต
๑ มโนสุจริต ๑ สุจริตทั้ง ๓ เหล่านี้
เป็นฝ่ายกุศลวิบาก เมื่อสุขแล้ว ก็มีผลต่าง ๆ กัน
ทุจริตทั้ง ๓ นั้น ให้ผลแก่สัตว์
ได้เสวยทุกข์ยากลำบากต่าง ๆ
หลายอย่างหลายประการ เป็นต้นว่า
ให้โรคาพยาธิเบียดเบียนและให้
เป็นคนยากจนเข็ญใจไร้ทรัพย์อับปัญญา และยังสัตว์
ให้ตกไปในอบายภูมิทั้ง ๔ ฉะนี้ ชื่อว่าอกุศลวิบากที่

กรรมที่ ๑ คือสุจริตทั้ง ๓ นั้น
ให้ผลแก่สัตว์โลกเสวยความสุขสบายต่าง ๆ
หลายประการเป็นต้นว่า ให้ปราศจากโรคาพยาธิ
และให้มีทรัพย์สมบัติสมบูรณ์บริบูรณ์ และยังสัตว์ให้
ได้เสวยสมบัติในฉกามาวจรสวรรค์
เป็นต้นฉะนี้มีชื่อว่า กุศลวิบาก
ขันธวิบากที่ ๓ นั้นคือ
ยังร่างกายของสัตว์ให้มีโทษถอยกำลังและให้ฟันหัก
ผมหงอก เนื้อหนังเหี่ยวแห้ง หูตึง ตามืดไป
ทั้งสรีรกายนั้นไซร้ก็คดค้อมน้อมไปในเบื้องหน้า
ให้ทรมานทรกรรมด้วยโรคาพยาธิต่าง ๆ
ฉะนี้ชื่อว่าขันธวิบาก
ปัญญาวิบากที่ ๔ นั้น คือยังสัตว์
ให้รู้จักบาปบุญคุณโทษ ประโยชน์และมิใช่ประโยชน์
ทั้งปวงได้ และให้มีปัญญาสามารถ
รู้จักสรรพเญยยธรรมที่เป็นโลกีย์และเป็นโลกุตระได้
ฉะนี้ชื่อว่าปัญญาวิบาก
ท่านสักกวาทีได้ฟังก็ชอบใจ
จึงขอฟังอุปมาเป็นบุคคลอีก ๔ คน เพื่อ
เป็นนิทัศนนัยว่า อกุศลวิบากนั้นจะได้แก่บุคคลใด
กุศลวิบากจะได้แก่บุคคลใด ขันธวิบากนั้นจะ
ได้แก่บุคคลใด ปัญญาวิบากนั้นจะได้แก่บุคคลใด
พระปรวาทีจึงวิสัชนาวินิจฉัยต่อไปว่า
อกุศลวิบากนั้นก็ได้แก่พาลอุบาสกถูกตัดคอนั้นเอง
กุศลวิบากนั้นได้แก่ท้าวมหาชมพูบดีนั้นเอง
ขันธวิบากนั้นได้แก่ พระปูติกะติสสะเถระนั่นเอง แก้ไข
ในมาติกบทที่ ๗ ก็ขอยุติไว้เพียงเท่านี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2014, 12:50 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๘ “วิปากธมฺมธมฺมา”
ลำดับนี้ไปจักได้แสดง
ในติกมาติกาบทที่ ๘ สืบต่อไป โดยนัยพระบาลีว่า “
วิปากธมฺมธมฺมา” แปลว่า ธรรม
ทั้งหลายอันเกิดแต่วิบาก ได้แก่เหตุและปัจจัย
เปรียบเหมือนดังผลมะพร้าวแห้ง ที่ควรจะงอกออกมา
จากผลมะพร้าวได้ และมีบุคคลนำไปปลูกไว้
ในแผ่นดิน ต้นมะพร้าวนั้นก็งอกงามเจริญ
ใหญ่โตขึ้นมา จนถึงแก่แล้ว แล้วออกผล
เป็นมะพร้าวอ่อน มะพร้าวแก่
ต้นมะพร้าวที่งอกงามขึ้นมานั้นได้แก่เหตุ
บุคคลที่นำไปปลูกนั้นได้แก่ปัจจัย ผลมะพร้าวอ่อน
และแห้งที่ควรจะบริโภคนั้นได้แก่วิบาก
อีกนัยหนึ่งว่า อกุศลกรรม
นั้นเปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีพิษ เมื่อมีผลสุกแล้ว
ก็มีโทษแก่บุคคลที่บริโภคนั้น กุศลวิบาก
นั้นเปรียบเหมือนดังต้นไม้ที่ไม่มีพิษ เมื่อมีผลอันสุกแล้ว
ก็ย่อมยังประโยชน์ให้สำเร็จแก่สัตว์ทั้งหลายทั่วไป
ด้วยเหตุนี้ จึงว่าบาปเป็นเหตุ ทุกข์เป็นผล บุญเป็นเหตุ
สุขเป็นผล ดังนี้
เพราะเหตุนั้น
สมเด็จพระบรมศาสดาจารย์จึงตรัสเทศนาไว้ว่า “
วิปากธมฺมธมฺมา” ฉะนี้ โดยเนื้อความว่า ธรรม
ทั้งหลายที่เป็นเครื่องอุกหนุนของความสุขพิเศษ
เปรียบดุจดังว่า เครื่องบ่มผลไม้ทั้งปวง มีมะม่วง
และผลไม้อื่นเป็นต้น อีกประการหนึ่ง ตัวอวิชชานี้แล
เป็นตัววิปากธรรม เพราะสังขาร วิญญาณ นาม รูป
เกิดขึ้นมาได้นั้น ก็อาศัยอวิชชาเป็นเดิมเหตุ หรือ
ถ้ามิฉะนั้นก็ต้องอาศัยมูล ๖ คือ กุศลมูล ๓ อกุศลมูล
๓ มูลทั้ง ๖ นี้เป็นเหตุให้เกิดบุญและบาป เพราะฉะนั้น
จึงได้ชื่อว่า “วิปากธมฺมธมฺมา” ฉะนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2014, 13:01 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๙ “เนววิปากนวิปากธมฺมธมฺมา”
ต่อไปนี้จักแสดงในบทที่ ๙ ต่อไปว่า “
เนววิปากนวิปากธมฺมธมฺมา” นี้ต่อไป โดยเนื้อ
ความว่า ธรรมทั้งหลายมิใช่วิบากมิใช่เหตุ
แปลว่าธรรมอันไม่มีวิบาก ไม่มีเหตุ ดังนี้ อธิบายว่า
ธรรมที่ไม่มีทั้งเหตุทั้งผล
เปรียบเหมือนบุคคลที่นอนหลับฝันไปว่า
ได้บริโภคอาหารอิ่มหนำสำราญ ครั้นตื่นขึ้นแล้ว
อาหารและความอิ่มในฝันนั้นก็หายไปหมด
อาหารนั้นก็ได้แก่เหตุ ความอิ่มนั้นก็ได้แก่ผล
บุคคลที่นอนหลับฝันไปนั้นก็ได้แก่ธรรม ที่ว่า “
เนววิปากนวิปากธมฺมธมฺมา” ดังนี้
แล้วก็คือพระนิพพานนั้นเอง เมื่อยัง
ไม่เห็นพระนิพพานตราบใด ธรรมดวงนั้นก็
ต้องอาศัยบุญบาปที่สร้างกระทำอยู่ ครั้นเมื่อ
ถึงพระนิพพานแล้ว บุญบาปที่สร้างกระทำอยู่
ครั้นเมื่อถึงพระนิพพานแล้ว
บุญบาปก็หายสูญไปหมด ดังมีพระบาลีว่า “เอส
ธมฺโม สนนฺตโน” แปลว่า ธรรมดวงเดียวนี้แล
เป็นธรรมเก่า เป็นธรรมเครื่องยินดีของสัปบุรุษ
ทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน
หรือแปลอีกอย่างหนึ่งว่า เป็นธรรมของพระอริยเจ้า
ทั้งหลายที่ข้ามพ้นไปแล้วจากกิเลสดังนี้
พระสักกวาทีจึงถามขึ้นว่า
ธรรมดวงเดียวนี้เป็นธรรมของพระอริยเจ้า
ทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นนั้น ข้าพเจ้ามี
ความสงสัยมานานแล้ว ข้าพเจ้าอยากจะรู้จะ
เข้าใจโดยง่าย ๆ เพราะฉะนั้น
ขอท่านปรวาทีจงแสดงเพื่อให้เกิดสันนิษฐาน
ในกาลบัดนี้เถิด
พระปรวาทีได้แสดงเป็นอุปมาว่า
ดวงธรรมนี้เปรียบเหมือนบุคคลที่ย้อมผ้าด้วยสีต่าง ๆ
มีสีเหลือง แดง ดำ เป็นต้น บุคคลที่ได้ย้อมผ้านั้น
ได้แก่สังขารนั่นเอง สีต่าง ๆ ได้แก่วิบากธรรม
คือผลแห่งบุญและบาปนั่นเอง ผ้านั้นก็
ได้แก่ธรรมที่มีชื่อว่า “เนววิปากนวิปากธมฺมธมฺมา”
นี่เอง เมื่อบุคคลย้อมผ้าและสีต่าง ๆ หายสูญไป
จากผ้านั้นแล้ว ผ้านั้นก็มีสีขาวบริสุทธิ์อย่างเดิม
นักปราชญ์ผู้มีวิจารณญาณพึงสันนิษฐาน
เข้าใจตามนัย ดังพระพุทธภาษิตอันวิจิตรพิสดาร ที่
ได้แสดงมาในมาติกาบทที่ ๙ นี้โดยสังเขปเพียง
เท่านี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2014, 13:09 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๑๐ “อุปาทินฺนุปาทานิยา ธมฺมา”
ต่อไปนี้จักได้แสดงในติกมาติกาบทที่
๑๐ ดังพระบาลีว่า “อุปาทินฺนุปาทานิยา ธมฺมา”
อุปาทินฺนุปาทานิยา ธมฺมา แปลว่า ธรรม
ทั้งหลายอันเป็นที่ทรงไว้ซึ่งธรรมชาติ อัน
เป็นเครื่องกำหนดในอุปาทาน ความที่
เข้าไปถือเอาซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณ ว่าเป็นของถาวรมั่นคง หลงว่า
เป็นของดีของงาม ถือว่าเป็นของของตนจริง ๆ
เพราะฉะนั้นจึงได้ชื่อว่าอุปาทาน จะบังเกิดขึ้น
ได้ก็อาศัยความที่ไม่รู้จักว่าเป็นโทษ เป็นคุณ
เป็นประโยชน์แก่ตน เพราะฉะนั้นจึง
ได้หลงรักใคร่ชอบใจ แต่อันที่จริงนั้น รูป เวทนา
สัญญา สังขาร วิญญาณ เหล่านี้ ย่อม
ให้โทษหลายอย่างหลายประการ โทษของรูปนั้น
เป็นต้นว่า หนาวก็เป็นทุกข์ ร้อนก็เป็นทุกข์
อยากข้าวอยากน้ำก็เป็นทุกข์
ถ้าจะอุปมาให้เห็นชัดแล้ว ก็
ได้แก่บุคคลที่ถือว่ารูปเป็นของของตนนั้น ก็
ได้แก่บุคคลที่ทำการสุมป่า หมายว่าจะได้เต่า
ครั้นไปพบงูพิษเข้า ก็สำคัญว่าปลา เขา
จึงล้วงมือลงไปจับเอางูพิษ งูพิษนั้นก็กัดเอาถึงแก่
ความตาย ฉันใดก็ดี บุคคลที่ถือว่ารูปเป็นของตนนั้น
ย่อมหลงกระทำแต่บาปกรรม บำรุงแต่รูปของตน
และรูปของท่านผู้อื่น ครั้นตายแล้วก็
ได้เสวยแต่ทุกขเวทนาในอบายภูมิทั้ง ๔ มีนรกเป็นต้น
ก็เพราะเหตุที่เข้าไปถือว่ารูปเป็นของของตนนี่เอง
อุปมาเหมือนคนที่ถูกงูพิษกัดตายฉะนั้น
อีกประการหนึ่ง บุคคลที่ถือว่า รูป เวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณ เป็นของของตนนั้น รูป เวทนา
สัญญา ฯลฯ วิญญาณ ก็ไม่ใช่ของของตนเพราะ
เป็นปริณามธรรม รู้จักย้ายกลับกลายไปต่าง ๆ
ถึงกระนั้นยังขืนยึดถือไว้ว่าเป็นของของตน เพราะฉะ
นั้นบุคคลที่ถือไว้นั้นก็อยากแต่จะให้มีความสุข
ความสบาย ส่วนรูป เวทนา ฯลฯ วิญญาณ
นั้นก็กลับกลายยักย้ายอยู่ร่ำไร
แต่บุคคลก็ขืนยึดถือว่าเป็นของของตน เหตุนั้นจึง
ได้ประสบแต่
ความทุกข์ยากลำบากใจหลายอย่างหลายประการ
เพราะอุปาทานเข้าไปยึดถือไว้ไม่วางดังนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2014, 13:14 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๑๑ “อนุปาทินฺนุปาทานิยา ธมฺมา”
ในบทที่ ๑๑ ว่า “
อนุปาทินฺนุปาทานิยา ธมฺมา” แปลว่า ธรรม
ทั้งหลายอันเป็นเครื่องกำหนดถือเอาซึ่งอารมณ์ที่
ไม่ควรยึดถือเอา ดังนี้ มีนัยอธิบายว่า โลกธรรม
ทั้งแปดประการคือ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ทั้ง ๔
เหล่านี้เป็นอิฏฐารมณ์ ความเสื่อมลาภ เสื่อมยศ
ความนินทา ความทุกข์ ทั้ง ๔ นี้เป็นอนิฏฐารมณ์
อารมณ์ทั้ง ๘ เหล่านี้เรียกว่าโลกธรรม
เพราะโลกธรรมทั้ง ๘ เหล่านี้ทำใจ
ให้ขุ่นมัววุ่นวายไป ไม่ใช่เครื่องระงับและกระทำใจ
ให้เดือดร้อนไปต่าง ๆ เพราะฉะ
นั้นสมเด็จพระบรมศาสดาจึงได้ทรงตรัสไว้ว่า “
อนุปาทินฺนุปาทานิยา ธมฺมา” แปลว่า ธรรม
ทั้งหลายอันไม่ควรเข้าไปยึดถือเอาให้เป็นอารมณ์
ดังนี้ เพราะเหตุว่า โลกธรรมทั้ง ๘ เหล่านี้
เป็นเครื่องกวนใจของหมู่สัตว์โลกทั้งปวง
โดยอธิบายว่า โลกธรรมทั้ง ๘ เหล่านี้
เปรียบเหมือนกงจักรสำหรับพัดสัตว์โลกให้หมุนเวียนไป
ให้ได้เสวยทุกขเวทนาต่าง ๆ เหมือนอย่างเปรตที่
ต้องการกงจักรตัดศีรษะ แต่ปวงสัตว์ทั้งหลายเห็นว่า
โลกธรรมทั้ง ๘ เหล่านี้ เป็นบรมสุข ก็เช่นเดียว
กับโลกธรรมทั้ง ๘ ที่กระทำให้สัตว์วุ่นวายเดือดร้อน
ได้เสวยแต่ความทุกขเวทนาต่าง ๆ ดังนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2014, 13:18 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๑๒ “อนุปาทินฺนานุปาทานิยา ธมฺมา”
ในบทที่ ๑๒ ว่า “
อนุปาทินฺนานุปาทานิยา ธมฺมา” นั้นแปลว่า
ธรรมทั้งหลายอันเป็นเครื่องกำหนด
ถึงธรรมที่สมควรยึดถือเอา และธรรมที่ไม่สมควรที่
จะยึดถือเอา ดังนี้ โดยอธิบายว่า ธรรมที่ควร
จะยึดถือเอานั้นก็คือ พระอริยมรรคทั้ง ๘ ประการ ซึ่ง
ได้กล่าวมาแล้วนั้นเอง โดยเนื้อความว่า
ไม่ยึดถือเอาซึ่งโลกธรรมทั้ง ๘ และ
ให้ยึดถือเอาอริยมรรคทั้ง ๘ ประการ เพราะฉะนั้นจึง
ได้ชื่อว่า “อนุปาทินฺนานุปาทานิยา ธมฺมา” ฉะนี้
แก้ไขมาในติกมาติกที่ ๑๒ ก็ยุติไว้แต่เพียงเท่านี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2014, 11:10 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๑๓ “สงฺกิลิฏฺฐสงฺกิเลสิกา ธมฺมา”
ลำดับนี้จักได้แสดงในบทที่ ๑๓ สืบต่อไป
โดยมีพระบาลีว่า “สงฺกิลิฏฺฐสงฺกิเลสิกา ธมฺมา”
เป็นต้น แปลว่า ธรรมทั้งหลายอัน
เป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตใจดังนี้ มีนัยอธิบายว่า
บุคคลบางจำพวกให้วิตกคิดไปถึงบุคคลที่เขา
ได้ด่าตน ที่ได้ ฆ่าตน ที่ได้ชนะแก่ตน ที่
ได้ลักของของตนไป ดังนี้ เหตุทั้ง ๔ ประการนี้ ย่อม
เป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตทั้งสิ้น
เปรียบเหมือนตั๊กแตนที่ยินดีในเปลวไฟ เข้าใจไปว่า
นั้นเป็นของดี เมื่อบินถูกต้องเข้าแล้ว
ไฟก็ไหม้ปีกไหม้หางเอาจะตาย จึงรู้ว่าเป็นทุกข์
เพราะฉะนั้นจึงสมบาลีว่า “สงฺกิลิฏฺฐสงฺกิเลสิกา
ธมฺมา” ดังนี้ แต่เดิมทีจิตก็เศร้าหมองอยู่แล้ว
ยังไปคิดเอาอารมณ์ที่เศร้าหมองเข้ามาผสม
กับจิตที่เศร้าหมองนั้นอีก จิต
นั้นก็ยิ่งเศร้าหมองทวีขึ้นไปดังนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2014, 11:17 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๑๔ “อสงฺกิลิฏฺฐสงฺกิเลสิกา ธมฺมา”
ในมาติกาบทที่ ๑๔ นั้น โดยบาลีว่า “
อสงฺกิลิฏฺฐสงฺกิเลสิกา ธมฺมา” แปลว่า ธรรม
ทั้งหลายที่ประกอบไปด้วยจิตอันเศร้าหมองแล้ว
และไปคิดเอาแต่อารมณ์ที่ไม่เศร้าหมองดังนี้
โดยอธิบายความว่า
บุคคลบางจำพวกที่มีจิตอันเศร้าหมองอยู่แล้ว
แต่มาคิดถึงพระคุณของพระรัตนตรัยว่า พระพุทธ
พระธรรม พระสงฆ์ ทั้งไตรรัตน์นี้ ถ้าบุคคลใดนับถือ
แล้ว ผู้นั้นจะปรารถนาสิ่งใดก็สามารถจะให้สำเร็จ
ได้ทุกประการ มีอุปมาว่า
เหมือนบุคคลที่ว่ายน้ำไปย่อมคิดถึงแต่ศีล ทาน
การกุศลของตนให้เป็นอารมณ์ เหมือนดังสุปพุทธ
เป็นนิทัศน์อุทาหรณ์ว่า สุปพุทธนั้น เมื่อเดิมทีก็
เป็นคนยากจนเข็ญใจ ทั้งประกอบไปด้วยโรคาพยาธิ
นั้นก็มาก ทนยากลำบากเหลือที่ประมาณแล้ว แต่
ได้นึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณให้
เป็นอารมณ์อยู่เป็นนิตย์ ครั้นต่อมาภายหลังก็
ได้บริโภคหิรัญญสมบัติ สรรพโรคาพยาธิ
ทั้งหลายก็หายไปหมด เพราะฉะนั้น จึงสม
กับพระบาลีว่า “อสงฺกิลิฏฺฐสงฺกิเลสิกา ธมฺมา” ดัง
นั้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 26 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 8 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร